ข่าว อาหาร ป น. เปื้อน ต่างประเทศ


สำนักงานสาธารณสุขของอังกฤษ หรือพีเอชอีเผย พบผู้ป่วยในโรงพยาบาลเสียชีวิต 2 ราย เนื่องจากรับประทานแซนด์วิชที่ปนเปื้อนเชื้อลิสเทอเรีย ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ทำให้ยอดผู้เสียชีวิตจากเชื้อลิสเทอเรียที่มีการระบาดในช่วงนี้เพิ่มขึ้นเป็น 5 รายแล้ว


ก่อนหน้านี้ หน่วยงานเฝ้าระวังด้านความปลอดภัยในอาหารของอังกฤษ ระบุว่า มีผู้ป่วยในโรงพยาบาลเสียชีวิต 3 คน และอีก 6 คน มีอาการเจ็บป่วยขั้นรุนแรง หลังจากรับประทานอาหารที่โรงพยาบาล ซึ่งผลิตโดยบริษัท กู๊ด ฟู๊ด เชน จำกัด และหลังจากมีข่าวการเสียชีวิตของผู้ป่วยเนื่องจากรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อลิสเทอเรีย บริษัท กู๊ด ฟู๊ด เชน ก็ได้มีการนำแซนด์วิชและสลัดออกจากรายการอาหาร พร้อมแถลงการณ์แสดงความเสียใจต่อครอบครัวของผู้เสียชีวิตและเจ็บป่วย ขณะเดียวกันก็ระบุว่า หน่วยงานด้านสาธารณสุขกำลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบ


ด้านนายแมตต์ ฮันคุก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของอังกฤษ มีคำสั่งให้ตรวจสอบอาหารที่ให้บริการแก่ผู้ป่วยตามโรงพยาบาลต่างๆ และมีคำแนะนำให้โรงพยาบาลงดเว้นการนำอาหารจากบริษัท กู๊ด ฟู๊ด เชน ไปให้บริการแก่ผู้ป่วย


สำหรับเชื้อลิสเทอเรียสามารถพบในนมที่ไม่ผ่านการพาสเจอไรซ์ และผลิตภัณฑ์จากนมอื่นๆ รวมทั้งเนื้อสัตว์สไลด์ที่ปรุงสุก และแซลม่อนรมควัน โดยอาจทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบประสาทในกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ กลุ่มที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ และเด็กทารก


...


**13.36F174**

          ทั้งนี้ ผลทดสอบค่าเฉลี่ยปริมาณโซเดียมจากหมึกแห้ง 13 ตัวอย่าง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1,097.27 มิลลิกรัม / 100 กรัม (1 ขีด) สารอาหารที่แนะนำให้บริโภคประจำวันสำหรับคนไทย ตั้งแต่ 6 ปี ขึ้นไป (Thai RDI) แนะนำให้บริโภคโซเดียมไม่เกินวันละ 2,000 mg โซเดียมที่เราจะได้รับในแต่ละวันขึ้นอยู่กับอาหารที่เรารับประทาน โดยอาหารจานเดียวที่เรารับประทานมีโซเดียมตั้งแต่ ประมาณ 360 – 1,600 mg ดังนั้น การรับประทานที่เหมาะสม ควรจะคำนึงถึงปริมาณโซเดียมที่จะได้รับจากปลาหมึกแห้งข้างต้น ( 200 mg/20 g ) ร่วมกับปริมาณโซเดียมในอาหารอื่นที่เรารับประทานร่วมด้วยในแต่ละวันด้วย

เยื่อไผ่-เห็ดหูหนูขาว-เต้าหู้ยี้ ที่นำเข้าจากจีนพบว่ามีสารปนเปื้อนก่อมะเร็ง ไทยขึ้นบัญชีดำ ผัก ผลไม้จากจีน หลังตรวจพบบ๊วยจีน เยื่อไผ่แห้ง เห็ดหูหนูขาว เต้าหู้ยี้สารปนเปื้อนอื้อ ทั้งตะกั่ว ปรอท สารก่อมะเร็ง หวั่นเล็ดลอดเข้าทางด่านเล็กเตรียมประสานทุกฝ่ายเฝ้าระวังเข้ม สุ่มตรวจห้างสรรพสินค้า ชายแดน

วันนี้ (16 ส.ค.) นพ.ไพจิตร์ วราชิต อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ผลการดำเนินการตรวจวิเคราะห์คุณภาพอาหารนำเข้าโดยเฉพาะผัก ผลไม้ ที่บริเวณด่านนำเข้าสินค้าที่เชียงแสน จ.เชียงราย ซึ่ง จ.เชียงราย มีพื้นที่ติดต่อกับลาว พม่า และมีเส้นทางการค้าที่สามารถเชื่อมต่อไปยังประเทศจีนตอนใต้ ทำให้เป็นช่องทางในการส่งออกและนำเข้าสินค้าที่สำคัญจากประเทศจีน(เชียงรุ้ง) เข้าสู่ประเทศไทย โดยสินค้านำเข้าหลักเป็นประเภทอาหารและผลิตภัณฑ์อาหาร ได้แก่ ผักและผลไม้สด เห็ดหอมแห้ง กระเทียมแห้ง ผงบุก แป้งสาลี หัวนมผง ผลไม้แปรรูป เมล็ดทานตะวัน เมล็ดแตงโม เมล็ดฟักทอง

นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า การเปิดตลาดการค้าเสรี (FTA) ของไทยกับจีน ทำให้มีการนำเข้าและส่งออกสินค้าเป็นจำนวนมาก สำหรับข้อมูลจากด่านอาหารและยาเชียงแสน จ.เชียงราย พบว่า การตรวจอาหารนำเข้า ตั้งแต่ปี 2547-2550 มีการสุ่มตัวอย่างจำนวน 11,473 ตัวอย่าง พบปัญหาต่างๆ ได้แก่ สารตกค้างจากยาฆ่าแมลง ในผักกาดขาว ลูกแพร์ ผักสลัด ครอส คะน้า ผักปวยเล้ง รากบัว แครอท เซอร์รารี่, ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ปริมาณสูงในผักแห้ง เช่น ดอกไม้จีน เห็ดหูหนูขาว เยื่อไผ่แห้ง ดอกเก๊กฮวยแห้ง สตรอเบอร์รีในน้ำเกลือ, สีสังเคราะห์ ทั้งชนิดที่ไม่อนุญาตให้ใช้ เช่น Allura red, Quinolene Yellow ในลูกอมและหมากฝรั่ง เครื่องดื่มบรรจุภาชนะปิดสนิท ช็อกโกแลต เป็นต้น และสีที่อนุญาตให้ใช้แต่ใช้ในปริมาณสูงกว่าเกณฑ์กำหนด

นพ.ไพจิตร์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ พบการปนเปื้อนของสารให้ความหวานแทนน้ำตาล (ซัคคารีน) ในผลไม้แห้ง เช่น บ๊วยแห้ง เปลือกส้มแห้ง กิมจ้อ ผลเบย์ปรุงรส พลัม , สารอฟลาทอกซินในอาหารแห้ง เช่น Pop corn พริกแห้ง และพบสารปรอทเกินมาตรฐานกำหนด ในหัวปลาเก๋า ปลาดาบ เนื้อปลาทูน่า ปลาหมึกแห้ง เห็ดหอม เยื่อไผ่แห้ง,ตะกั่วเกินมาตรฐานกำหนด ในหูฉลามแห้ง สาหร่าย ปรุงรส ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เห็ดหูหนูแห้ง, คลอแรมฟินิคอล ในนมแพะผง Bacillus cereus ในนมดัดแปลงสำหรับทารก อาหารสำเร็จรูป (อูด้ง เต้าเจี้ยว) สิ่งปรุงแต่งอาหาร เต้าหู้ยี้ น้ำผึ้ง และยังพบเชื้อรา ในเครื่องดื่มบรรจุภาชนะปิดสนิท องุ่นดองเค็มด้วย ซึ่งสารตกค้างที่ตรวจพบในผักและผลไม้ หากเข้าสู่ร่างกายทำให้เกิดปัญหาระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท และเมื่อสะสมเป็นเวลานานอาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้

“ต้องยอมรับว่า การผลิตของจีนมีปัญหาในเรื่องมาตรฐาน เพราะค่าแรงของจีนถูกมาก ทุกบริษัทจึงพยายามไปตั้งบริษัทในจีนแล้วส่งไปขายทั่วโลก สำหรับไทยปัญหาหลัก ก็คือ สินค้านำเข้าจากจีนส่วนใหญ่เป็นผัก สด ผลไม้ ทำให้เก็บกักนานไมได้ จึงต้องใช้วิธีตรวจคัดกรองคร่าวๆ ถ้าตรวจพบจะส่งมาตรวจยืนยันที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เชียงรายหากผลยังยืนยันเป็นลบก็จะให้ส่งสินค้ากลับหรือทำลาย ซึ่งที่ผ่านมาพบสารตกค้างยาฆ่าแมลงและสารอื่นๆในผักผลไม้จากจีนมากที่สุด” นพ.ไพจิตร์ กล่าว

นพ.ไพจิตร กล่าวด้วยว่า ขณะนี้เป็นห่วงเกรงว่าจะมีการเล็ดลอดของผัก และผลไม้ผ่านทางด่านตรวจสินค้าขนาดเล็ก และการที่ไทยตรวจพบสารตกค้างในผักผลไม้จีนมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ไทยจำเป็นต้องขึ้นบัญชีดำจับตาอาหารนำเข้าจากจีนโดยเฉพาะผักและผลไม้ในเรื่องความไม่ปลอดภัยเป็นพิเศษ จึงจะประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเฝ้าระวังเข้มงวด

Ø การปนเปื้อนของสารเมลามีน

กรณีนี้พบสารเมลามีนปนเปื้อนในนมผงสำหรับทารกนี้ ทางสื่อของจีนรายงานว่าบริษัทผู้ผลิตนมผงจีนบางรายนำสารดังกล่าวมาใส่ในนมเพื่อเพิ่มความเข้มข้น ซึ่งบริษัทผู้ผลิตบางรายก็โต้ว่าเกษตรกรเป็นผู้เติมสารอันตรายนี้เข้าไปเอง แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม การมีสารเมลามีนปนเปื้อนในนมผงนี้ ก็ทำให้เด็กที่บริโภคเข้าไปเกิดอาการเป็นนิ่วในไต ซึ่งเกิดจากการที่ตะกอนของเมลามีนซึ่งเป็นสิ่งแปลกปลอมไม่สามารถย่อยสลายได้นั้นเดินทางเข้าไปสู่ระบบการย่อยอาหารพร้อมกับน้ำนม

สำหรับผู้ต้องสงสัยพัวพันกับกรณีดังกล่าวนั้นถูกจับกุมแล้ว 19 คน ในจำนวนนี้ได้แก่ 2 พี่น้องแซ่เกิ่ง ซึ่งจำหน่ายนมสด 3 ตันต่อวันให้แก่บริษัท ซานลู่ กรุ๊ป  ทั้งคู่ถูกจับกุมฐานผลิตและจำหน่ายอาหารปนเปื้อนสารพิษอันตราย โดย เกิ่ง ผู้พี่วัย 48 ปี เริ่มผสมสารเมลามีน ซึ่งเป็นสารเคมีต้องห้ามลงไปในนมเมื่อปลายปีที่แล้ว เพื่อเพิ่มปริมาณโปรตีนให้ได้ตามที่มาตรฐานกำหนด โดย เกิ่ง สารภาพว่า เขาเริ่มผสมสารเคมีลงไป หลังจากทางซานลู่ปฏิเสธรับนมจากพวกเขาหลายครั้ง ด้วยสาเหตุที่ว่านมไม่ได้มาตรฐาน ทำให้ธุรกิจของพวกเขาประสบภาวะขาดทุนอย่างหนัก   นอกจากนี้ เขายังยอมรับว่า ไม่เคยให้ครอบครัวดื่มนมที่เจือปนสารพิษดังกล่าวเลย เมื่อถามว่าเจ้าตัวรู้หรือไม่ว่าผลลัพธ์จากการกระทำดังกล่าวจะร้ายแรงเช่นนี้ เกิ่ง กล่าวว่า “ผมไม่เคยคิดเลยว่ามันจะรุนแรงขนาดนี้ ผมรู้แต่เพียงว่ามันไม่ดีต่อสุขภาพเท่านั้น”  ทั้งนี้ สองพี่น้องแซ่เกิ่งถูกตำรวจจับเป็นรายแรกๆ ส่วนผู้ต้องหาอีก 16 รายนั้นมาจากศูนย์รวบรวมนมเอกชน ส่วนอีกรายหนึ่งเป็นผู้ต้องสงสัยลักลอบจำหน่ายสารเมลามีน

จากกรณีนี้ ทางการจีนจึงได้เริ่มตรวจสอบกรณีนี้อย่างจริงจังไปทั่วประเทศ และพบว่ามีอีก 22 บริษัทที่ผลิตนมปนเปื้อนสารเมลามีนนี้ด้วยเช่นกัน หน่วยงานด้านการตรวจสอบคุณภาพอาหารของจีนก็ได้เปิดเผยว่า บริษัทกวางตุ้ง ยาชิลี กรุ๊ป และฉิงเดา ซันแคร์ ซึ่งได้ส่งออกผลิตภัณฑ์นมผงให้แก่หลายประเทศ ก็ได้ระงับการส่งออกผลิตภัณฑ์นมของตนแล้ว