เมื่อบัตรหมดอายุผู้ถือบัตรจะต้องทำอย่างไร

การทำบัตรประชาชน จะต้องมีคุณสมบัติคือ มีสัญชาติไทย ต้องมีอายุตั้งแต่ 7 ปี แต่ไม่เกิน 70 ปี และต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) 

- ทําบัตรประชาชนครั้งแรก ต้องเตรียมอะไรบ้าง
สำหรับการเริ่มทำบัตรประชาชนครั้งแรก ควรทำภายใน 60 วัน หากพ้นกำหนดจะเสียค่าปรับไม่เกิน 100 บาท โดยต้องเตรียมหลักฐาน ดังนี้

  • ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
  • สูติบัตร หรือเอกสารอื่นๆ ที่หน่วยงานราชการออกให้เพื่อยืนยันตัวตน 
  • หากเปลี่ยนชื่อ ให้นำหลักฐานมาแสดงด้วย
  • หากบิดามารดาเป็นคนต่างด้าว ให้นำหลักฐานประจำตัวคนต่างด้าวของบิดามารดามายืนยัน
  • หากไม่มีหลักฐานสำคัญ ให้นำบุคคลน่าเชื่อถืออย่างน้อย 2 คน ไปพบเจ้าหน้าที่เพื่อให้การรับรอง

เมื่อบัตรหมดอายุผู้ถือบัตรจะต้องทำอย่างไร

- หากบัตรประชาชนเดิมหมดอายุ ต้องทำอย่างไร
หากบัตรเดิมหมดอายุ ต้องไปยื่นคำขอทำบัตรใหม่ภายใน 60 วัน นับแต่วันหมดอายุบนบัตร โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม แต่หากพ้นกำหนด มีค่าปรับไม่เกิน 100 บาท โดยต้องใช้หลักฐานดังนี้

  • บัตรประจำตัวประชาชนใบเดิม (ที่หมดอายุ)
  • หากบัตรประชาชนใบเดิมหมดอายุเป็นเวลานานแล้ว จะต้องให้เจ้าบ้าน หรือบุคคลที่น่าเชื่อถือมารับรองด้วย

- บัตรหายอย่าเพิ่งตกใจ ขอทำบัตรประชาชนใหม่ได้
ในกรณีที่บัตรประจำตัวประชาชนหาย เสียหาย หรือถูกทำลาย ไปติดต่อขอทำใหม่ ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขตเทศบาล ภายในเวลา 60 วันนับตั้งแต่วันที่บัตรหาย หากพ้นกำหนด ต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 100 บาท โดยต้องใช้หลักฐาน ดังนี้

  • เอกสารที่มีรูปถ่าย ซึ่งออกให้โดยหน่วยงานราชการ เช่น ใบอนุญาตขับขี่ หลักฐานการศึกษา หรือหนังสือเดินทาง ฯลฯ
  • หากไม่มีหลักฐานข้อแรก ให้นำเจ้าบ้าน หรือบุคคลน่าเชื่อถือไปรับรองต่อเจ้าหน้าที่

เมื่อบัตรหมดอายุผู้ถือบัตรจะต้องทำอย่างไร

ทําบัตรประชาชน ที่ไหนได้บ้าง?

การทำบัตรประชาชน สามารถไปติดต่อ ณ สถานที่ราชการ เช่น สำนักงานเขต, สำนักงานเทศบาล, สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง, ที่ว่าการอำเภอในพื้นที่ที่อาศัยอยู่ ปัจจุบันสามารถทําบัตรประชาชนนอกเขตได้แล้ว โดยยื่นขอทำบัตรประจำตัวประชาชนได้ทุกจังหวัดทั่วประเทศ 

นอกจากนี้ ก็ยังมีจุดบริการด่วนมหานคร (BMA Express Service) ที่เปิดให้ไปติดต่อทำบัตรประชาชน ณ สถานีรถไฟฟ้า BTS ในกรุงเทพฯ (ยกเว้นกรณีบัตรหาย ไม่สามารถติดต่อทำที่ BTS ได้)

  • สถานีรถไฟฟ้าสยาม (หน้าศูนย์การค้าสยามพารากอน)
    วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.30-19.00 น.
    วันเสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00-18.00 น.
  • สถานีรถไฟฟ้าหมอชิต
    วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.00-20.00 น.
    วันเสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00-18.00 น.
  • สถานีรถไฟฟ้าพร้อมพงษ์
    วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.00-20.00 น.
    วันเสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00-18.00 น.
  • สถานีรถไฟฟ้าอุดมสุข
    วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 10.00-19.00 น.
    วันเสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00-19.00 น.
  • สถานีรถไฟฟ้าวงเวียนใหญ่
    วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 10.00-19.00 น.
    วันเสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00-19.00 น.

ภายในศูนย์การค้าต่างๆ ก็มีจุดบริการทําบัตรประชาชนในห้าง เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนให้สามารถไปติดต่อได้ เช่น ศูนย์การค้าเกตเวย์เอกมัย, ห้างสรรพสินค้าแฟชั่นไอส์แลนด์, ห้างสรรพสินค้าซีคอนบางแค, ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์บางแค, ห้างสรรพสินค้าตั้งฮั่วเส็ง เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าการทำบัตรประชาชนในปัจจุบันมีความสะดวกรวดเร็วกว่าที่คิด หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการทำบัตรประชาชน สามารถติดต่อสอบถามสำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง Call Center 1548 หรือติดต่อที่สำนักงานเขต และที่ว่าการอำเภอทั่วประเทศ.

คนไทยที่เดินทางไปต่างประเทศเป็นเวลานาน โดยปกติแล้วจะต้องแจ้งย้ายชื่อออก
จากทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) เข้าไปอยู่ในทะเบียนบ้านชั่วคราวสำหรับคนที่เดินทางไปต่างประเทศ

สำนักทะเบียนแต่ละแห่งจะกำหนดให้มีทะเบียนบ้านชั่วคราวสำหรับลงรายการของบุคคลที่
เดินทางไปต่างประเทศสำนักทะเบียนละ 1 แห่ง

[ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร 2535 ข้อ 87]  

ซึ่งผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านชั่วคราวดังกล่าว จะมีสิทธิขอทำบัตรประจำตัวประชาชนในต่างประเทศได้

อย่างไรก็ดี กระทรวงมหาดไทยได้อนุโลมให้ผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน (ท.ร. 14)
ที่ยังไม่ได้โอนชื่อเข้าทะเบียนบ้านชั่วคราวสามารถต่ออายุบัตรฯ ในต่างประเทศได้ก่อน

แต่ขอให้ สอท./สกญ. แนบเอกสารที่เป็นข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปฏิบัติที่ถูกต้องตาม
พ.ร.บ. ทะเบียนราษฎรให้ผู้ร้องพิจารณาดำเนินการตามที่เห็นสมควรในภายหลัง เช่น
ผู้ยื่นขอทำบัตรอาจดำเนินการเองในการโอนชื่อเข้าทะเบียนบ้านชั่วคราว
หรือมอบอำนาจให้ญาติพี่น้องที่อยู่ในประเทศไทยยื่นคำร้องขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านชั่วคราว
สำหรับคนที่เดินทางไปต่างประเทศได้

[ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ 5) 2551 ข้อ 96/2]

กรณีหากยังไม่บรรลุนิติภาวะ ให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นผู้มอบอำนาจ
ขอโอนย้ายชื่อเข้าทะเบียนบ้านชั่วคราวแทน

"สำหรับผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกลาง จะไม่สามารถขอทำบัตรประจำตัวประชาชนในต่างประเทศได้
ขอให้ติดต่อสำนักทะเบียนที่เกี่ยวข้อง เพื่อแจ้งย้ายชื่อออกจากทะเบียนบ้านกลาง
ไปเข้าทะเบียนบ้านชั่วคราวสำหรับคนที่เดินทางไปต่างประเทศ โดยดำเนินการ
ด้วยตนเองหรือสามารถมอบอำนาจบุคคลอื่นดำเนินการแทน"