ขายของ หน้าบ้าน ต้องเสียภาษีไหม

เราสามารถจดทะเบียนธุรกิจได้ตาม รูปแบบของธุรกิจและสามารถเข้าสู่ระบบภาษี ได้โดยการขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและในกรณีที่มีเงินได้ เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปีต้องจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ด้วย

สำหรับร้านขายของชำที่มีการจำหน่าย เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะต้องขออนุญาต ต่อกรมสรรพสามิตเพื่อจำหน่ายเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ด้วย

เปิด "ร้านขายของชำ" ต้องเข้าใจเรื่อง "ภาษี" แม้จะเป็นร้านเล็กๆ ก็อย่าวางใจ! หากวางแผนการเงินไม่รอบคอบพอ ดีไม่ดี อาจต้องเสียภาษีย้อนหลังมหาศาลเมื่อถูกตรวจสอบพบ

ต้องยอมรับว่าอาชีพ ร้านขายของชำ ตามตรอกซอกซอย หรือตามหมู่บ้านต่างๆ แม้ว่าจะมีให้เราเห็นกันมาเนิ่นนานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แต่ก็ไม่ค่อยมีร้านไหนให้ความสำคัญกับเรื่องของ “ภาษี” มากนัก ซึ่งตามหลักการแล้วเมื่อมีรายได้ก็ย่อมมีหน้าที่ต้องเสียภาษี แม้ว่าผู้มีรายได้จะเป็นเพียงบุคคลธรรมดาที่เปิดร้านขายของชำเล็กๆ ไม่ได้มีการจดทะเบียนเป็นบริษัทก็ตาม เมื่อมีรายได้สุทธิถึงเกณฑ์กำหนด ก็จำเป็นต้องเสียภาษีด้วยกันทั้งสิ้น

แต่ส่วนใหญ่ร้านขายของชำจะไม่ค่อยทราบข้อมูลเรื่องภาษี หรือหลายๆ รายก็ไม่ได้สนใจเรื่องรายได้ที่เข้ามา ไม่ได้มีการทำ รายรับ-รายจ่าย ไว้จึงไม่สามารถคำนวณได้ว่าตนเองถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษีแล้วหรือไม่ จึงอาจทำให้ต้องเสียภาษีย้อนหลังมหาศาลเมื่อถูกตรวจสอบพบ

โดยกรมสรรพากรสามารถตรวจสอบได้จากหลายวิธี เช่น สุ่มลงพื้นที่ตรวจ การเข้าร่วมโครงการต่างๆ ของรัฐ

ดังนั้น บุคคลธรรมดาที่ เปิดร้านขายของชำ ไม่ว่าจะมีขนาดใหญ่หรือขนาดเล็ก ควรศึกษาหลักเกณฑ์เกี่ยวกับภาษีไว้ก่อน เพื่อเตรียมความพร้อมเมื่อวันที่ต้องเสียภาษีมาถึง ดังนี้

  • คนทั่วไปเปิดร้านขายของชำ รายได้เท่าไรต้องเสียภาษี

ตามกฎหมายกำหนดว่า เมื่อผู้มีรายได้มีรายได้ที่ไม่ใช่เงินค่าจ้างหรือเงินเดือน มีเฉพาะเงินประเภทอื่น เช่น เงินจากการขายของ หากเกิน 60,000 บาท จะต้องยื่นภาษี แต่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี ทว่ารายได้สุทธิหลังจากหักค่าลดหย่อนต่างๆ แล้วเกิน 150,000 บาท จะต้องเสียภาษี

โดยการเสียภาษีจะแบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ

1.หักแบบเหมา

หักแบบเหมา เป็นการเลือกหักต้นทุน 60% วิธีนี้ไม่จำเป็นต้องทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายเพื่อยื่นภาษี และไม่ต้องเก็บเอกสารประกอบเพื่อใช้ยื่นภาษี เพราะไม่ต้องพิสูจน์รายได้ ซึ่งเหมาะกับเจ้าของร้านขายของชำที่มีอัตรากำไรสูงถึง 40%

2.หักค่าใช้จ่ายตามจริง

แบบหักค่าใช้จ่ายตามจริง จะเหมาะ กับเจ้าของร้านขายของชำที่มีต้นทุนสูง และมีกำไรน้อยกว่า 40% โดยจะต้องทำบันทึกรายรับ-รายจ่ายและกำไรทุกเดือน และนำไปสรุปยอดสินปี เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการคำนวณยื่นภาษี และต้องเก็บเอกสารทุกใบให้ครบเพื่อยื่นภาษีด้วย

กรณีร้านขายของชำไม่ได้จดทะเบียนบริษัทเป็นนิติบุคคล จะต้องมีหน้าที่เสีย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งเจ้าของร้านขายของชำต้องทำรายรับ-รายจ่ายตลอดทั้งปี แล้วนำไปยื่นกรมสรรพากร มาตรา 40(8) โดยคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามสูตร คือ

(รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน)
x อัตราภาษี
= ภาษีที่ต้องจ่าย

จากนั้นนำมาเปรียบเทียบกับอัตราภาษีก้าวหน้าตั้งแต่ 5 - 35% และยื่นเสียภาษี 2 ช่วง ดังนี้

- ครั้งแรก ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ช่วงเดือนกันยายนสำหรับเงินได้ตั้งแต่เดือนมกราคม - มิถุนายน

- ครั้งที่ 2 ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ช่วงเดือนมีนาคมของปีถัดไปสำหรับเงินได้ตลอดทั้งปี (เดือนมกราคม - ธันวาคม) แล้วนำภาษีที่จ่ายครั้งแรกมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ในครั้งที่ 2

สำหรับร้านขายของชำที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภายใน 30 วัน หลังจากมียอดขายเกิน 1.8 ล้านบาท และนำยอดขายในแต่ละเดือนภาษียื่นแบบ ภ.พ.30 ทุกเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หากยื่นออนไลน์สามารถยื่นได้อีก 8 วัน คือภายในวันที่ 23 ของทุกเดือน

ทะเบียนพาณิชย์ เป็นการจดทะเบียนร้านค้าสำหรับบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ที่ทำธุรกิจค้าขายประเภทตามที่กฎหมายกำหนด และมีหน้าร้าน ซึ่งใช้กับธุรกิจค้าขายและบริการขนาดเล็ก กิจการที่มีเจ้าของเพียงคนเดียว ทำการค้าขายแบบง่ายไม่ซับซ้อน ทั้งการค้าขายแบบทั่วไปและการขายออนไลน์

ดังนั้น ร้านขายของชำ จำเป็นต้องจดทะเบียนพาณิชย์ เนื่องจากตามกฎหมายได้กำหนดว่า ธุรกิจขายสินค้าอย่างเดียวหรือหลายอย่างที่ขายได้ 20 บาทขึ้นไปต่อวัน หรือมีสต็อกสินค้าไว้ขายรวมมูลค่าทั้งหมดเป็นเงิน 500 บาทขึ้นไป จะต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่เริ่มเปิดธุรกิจ

และหากร้านขายของชำขายสินค้าประเภทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สุรา ยาสูบ ไม่ว่าจะเป็นการขายส่งหรือขายปลีก จะต้องยื่นขอใบอนุญาตและเสียภาษีที่กรมสรรพาสามิตด้วย

  • หลักการทำบัญชีทั่วไปสำหรับร้านขายของชำบุคคลธรรมดา

เจ้าของร้านขายของชำที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หากมีต้นทุนสูงและกำไรน้อยกว่า 40% แนะนำให้เลือกหักค่าใช้จ่ายตามจริง ซึ่งสิ่งที่ต้องทำตามมาคือการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย และเก็บเอกสารทางบัญชีไว้ให้ครบ ซึ่งวิธีการทำบัญชีแบบทั่วไปมีดังนี้

- รายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับร้านของตนเอง ให้ขอบิลไว้ทุกครั้ง และเก็บใบเสร็จ บิลต่างๆ ให้ครบ เช่น บิลซื้อสินค้าที่นำมาขาย บิลจากรถส่งของ

- จดต้นทุนไว้ทุกอย่างในแต่ละวัน แล้วลงบันทึกในตารางรายรับ-รายจ่ายทุกครั้ง

- จดยอดขายและสรุปกำไรไว้ในทุกๆ วัน เพื่อนำไปรวบรวมเป็นรายได้ในแต่ละเดือน

สรุป

ดังนั้น อาจถึงเวลาแล้วที่ร้านขายของชำที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล และที่ไม่เคยยื่นภาษีเลย รวมถึงเริ่มมีรายได้สูงขึ้น ต้องหันมาใส่ใจเรื่องการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ทำให้ทราบยอดรายได้ที่แท้จริง เพื่อยื่นภาษีได้อย่างถูกต้อง ไม่หลีกเลี่ยงภาษี และจะทำให้ทราบว่ารายได้กำลังจะเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปีหรือยัง ถึงเวลาต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่

ทว่าหากร้านขายของชำมีกำไรมากกว่า 60% ให้เลือกหักแบบเหมา ก็ไม่จำเป็นต้องทำรายรับ-รายจ่ายเพื่อยื่นภาษีได้ ส่วนร้านขายของชำที่มีต้นทุนสูง กำไรน้อยกว่า 40% ให้เลือกหักค่าใช้จ่ายตามจริง โดยเก็บเอกสารทุกใบไว้ให้ครบ ไปยื่นด้วยตนเองที่กรมสรรพากร หรือยื่นออนไลน์ได้ที่ เว็บไซต์ของกรมสรรพากร rd.go.th

ขายของที่บ้านต้องเสียภาษีไหม

การซื้อขายอสังหาฯ ผู้ขายจำเป็นต้องเสียภาษีขายบ้านด้วยกันหลัก ๆ 2 ตัวคือ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีธุรกิจเฉพาะ การเสียภาษีธุรกิจเฉพาะจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีก็ต่อเมื่อ ถือครองบ้านหรือคอนโดฯ เกิน 5 ปี มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเกิน 1 ปี บ้านหรือคอนโดฯ ที่ขายนั้นได้รับมาโดยมรดก และถูกเวนคืนบ้านหรือที่ดิน

พ่อค้าแม่ค้า ต้องยื่นภาษีไหม

พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์มือใหม่มาทางนี้ ไม่ว่าเราจะขายอะไรก็ตามแต่ถ้ามีรายได้ยังไงก็ต้องยื่นภาษีนะ เพราะยังถือว่าเป็นบุคคลธรรมดาที่ต้องเสียภาษีเงินได้ โดยจะเสียภาษีหรือไม่เสียภาษีนี้จะต้องขึ้นอยู่กับว่าเรามี "เงินได้สุทธิ" หรือ "กำไรสุทธิ" เมื่อหักค่าใช้จ่าย

เสียภาษีร้านค้าต้องไปเสียที่ไหน

สามารถยื่นด้วยตัวเองที่สำนักงานสรรพากรทั่วประเทศ หรือยื่นออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ www.rd.go.th (ยื่นออนไลน์อาจยื่นได้ถึงต้นเดือนตุลาคม) ครั้งที่ 2 ภ.ง.ด.90 ยื่นภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป สามารถยื่นด้วยตัวเองที่สำนักงานสรรพากรทั่วประเทศ หรือยื่นออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ (จะได้รับสิทธิขยายเวลายื่นภาษีไปอีก 8 วัน)

ขายของต้องเสียภาษีอะไรบ้าง

เรื่องที่พ่อค้าแม่ค้าต้องระวังก็คือ หากมีรายรับเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี มีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มนำส่งให้กรมสรรพากร โดยต้องจัดทำรายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ เพื่อยื่นแบบ ภ.พ.30 นำ ส่งภาษีมูลค่าเพิ่มทุกเดือน และ ชำระเงินภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป