ตรวจสุขภาพ เชียงใหม่ ศรีพัฒน์

Wondering how to get to Sriphat Medical Center (ศูนย์ศรีพัฒน์) in Muang Chiang Mai, Thailand? Moovit helps you find the best way to get to Sriphat Medical Center (ศูนย์ศรีพัฒน์) with step-by-step directions from the nearest public transit station.

Moovit provides free maps and live directions to help you navigate through your city. View schedules, routes, timetables, and find out how long does it take to get to Sriphat Medical Center (ศูนย์ศรีพัฒน์) in real time.

Looking for the nearest stop or station to Sriphat Medical Center (ศูนย์ศรีพัฒน์)? Check out this list of stops closest to your destination: แขวงการทางหลวง 1 - Office Of Highway 1; คณะแพทย์ศาสตร์ - Medicine Facuty; คณะแพทย์ศาสตร์ Medicine Facuty; คณะแพทยศาสตร์ อาคารเรียนรวม; รพ.มหาราช Maharaj Hospital; ประตูสวนดอก Suan Dok Gate; มหาราช รพ Maharaj Hospital.

You can get to Sriphat Medical Center (ศูนย์ศรีพัฒน์) by Bus. These are the lines and routes that have stops nearby - Bus: R3-YWHITEปอ.10

Want to see if there’s another route that gets you there at an earlier time? Moovit helps you find alternative routes or times. Get directions from and directions to Sriphat Medical Center (ศูนย์ศรีพัฒน์) easily from the Moovit App or Website.

We make riding to Sriphat Medical Center (ศูนย์ศรีพัฒน์) easy, which is why over 1.5 million users, including users in Muang Chiang Mai, trust Moovit as the best app for public transit. You don’t need to download an individual bus app or train app, Moovit is your all-in-one transit app that helps you find the best bus time or train time available.

For information on prices of Bus, costs and ride fares to Sriphat Medical Center (ศูนย์ศรีพัฒน์), please check the Moovit app.

Program 1 Gold for Gent & Lady < 30ปี

การเตรียมตัวก่อนตรวจสุขภาพ

  • กรุณางดน้ำ-อาหาร อย่างน้อย 10-12 ชั่วโมง ก่อนตรวจเลือด
  • กรุณาสวมใส่เสื้อผ้าที่สบาย  และง่ายต่อการเจาะเลือด
  • หากทราบ หรือ สงสัยว่าตั้งครรภ์กรุณาแจ้งก่อนเอกซเรย์ทรวงอก

คลินิกตรวจสุขภาพ โทรศัพท์  0-5393-6700 , 0-5393-4552
Call Center โทรศัพท์ 0-5393-6900-1

สิทธิพิเศษ สำหรับลูกค้ากรุงเทพประกันชีวิตที่แสดงบัตรสมาชิก BLA Happy Life Club หรือ E-card on BLA Happy Life Application

  • โปรแกรมตรวจสุขภาพราคาพิเศษ BLA HEALTHY PLUS 5 โปรแกรม

โปรแกรมและรายการตรวจสุขภาพ

BLA Healthy Plus 1 ราคา 2,550 บาท

  • ตรวจสุขภาพทั่วไปโดยแพทย์ (Physical Examination)
  • เอกซเรย์ปอดและหัวใจ (Chest X-ray)
  • ตรวจหัวใจด้วยระบบคลื่นหัวใจไฟฟ้า (EKG)
  • ตรวจปัสสาวะโดยสมบูรณ์แบบ (Urine Examination)
  • ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC)
  • ตรวจการทำงานของไต
  • ตรวจการทำงานของตับ
  • ตรวจโรคเก๊าท์ กรดยูริค
  • ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด
  • ตรวจระดับไขมันในเลือด

*งดอาหารและเครื่องดื่มประมาณ 8 ชั่วโมงก่อนตรวจ (สำหรับสุภาพสตรี ควรตรวจสุขภาพหลังประจำเดือนหมดแล้ว 7 วัน)

ตรวจสุขภาพ เชียงใหม่ ศรีพัฒน์

อ.นพ.หาญชัย  ขลิบเงิน และ อ.พญ.อนุธิดา  เชาว์วิศิษฐ์เสรี

รหัสเอกสาร PI-IMC-063-R-00

อนุมัติวันที่ 23 พฤษภาคม 2563

การตรวจสุขภาพคืออะไร  และตรวจสุขภาพเพื่ออะไร

    การตรวจสุขภาพ คือ การค้นหาความผิดปกติ (โรค) ในระยะเริ่มแรกให้เร็วที่สุด เพื่อที่จะรับมือกับความผิดปกตินั้น ตั้งแต่เริ่มแรก

    สำหรับผู้ที่ยังไม่มีอาการแสดงของการเจ็บป่วยนั้น (กลุ่มที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัยหรือได้รับการรักษามาก่อน) การตรวจสุขภาพจะนำไปสู่การตรวจเพิ่มเติมที่ละเอียดได้เหมาะสมมากขึ้น ซึ่งนำไปสู่การควบคุมความรุนแรงของโรค หรือการรักษาตั้งแต่ระยะแรก ทำให้ง่ายต่อการจัดการดูแลโรคในระยะยาว

    สำหรับกลุ่มที่มีความเสี่ยงอยู่เดิม มีโรคที่ได้รับการรักษา/ควบคุมโรคอยู่ หรือได้รับการรักษาเสร็จสิ้นไปแล้ว การตรวจสุขภาพจะเป็นไปเพื่อการตรวจติดตามเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน หรือการเป็นซ้ำ และยังได้ข้อมูลเพื่อนำไปใช้ปรับแนวทางการรักษาให้เหมาะสมได้ยิ่งขึ้น

ตรวจสุขภาพทำอะไรบ้าง

- เริ่มต้นจะมีส่วนของการซักประวัติเกี่ยวกับความเสี่ยงและสอบถามอาการทั่วๆ ไป

- การประเมินสภาพร่างกาย และตรวจสัญญาณชีพเบื้องต้น ได้แก่ ชีพจร ความดันโลหิต อัตราการหายใจน้ำหนักตัว ส่วนสูง ดัชนีมวลกาย ความยาวรอบเอว เป็นต้น

- การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจความสมบูรณ์ของเลือด ตรวจดูระดับนํ้าตาล ตรวจระดับไขมันคลอเลสเตอรอลในเลือด ตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง เซ่น ตรวจเนื้อเยื่อจากปากมดลูกเพื่อหาภาวะเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก ตรวจเลือดในอุจจาระเพื่อคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ ตรวจ Mammography เป็นต้น

- ในส่วนของศูนย์ศรีพัฒน์ฯ นั้นจะมีการซักประวัติ ตรวจร่างกายด้วยแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ครอบครัวประจำคลินิกตรวจสุขภาพ เพื่อดูแลตั้งแต่เริ่มแรกที่มีการตรวจพบความผิดปกติและให้คำแนะนำในการดูแลส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม ตลอดจนถึงการติดตามผลการรักษาและพิจารณาส่งต่อถึงแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านต่างๆ ให้ร่วมดูแลรักษาได้อย่างครบถ้วนและเหมาะสม

การตรวจสุขภาพที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย

    โดยทั่วไปแล้วการจัดการตรวจสุขภาพนั้นจะจัดตามข้อมูลพื้นฐานทางสถิติของความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอุบัติการณ์โรคที่ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพในแต่ละกลุ่มวัยเป็นหลัก ดังนั้น เราสามารถตรวจสุขภาพได้ในทุกช่วงอายุ

- ในกลุ่มวัยเด็กและวัยรุ่น ส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องการตรวจคัดกรองด้านพัฒนาการ ความสมบูรณ์ของสภาพร่างกาย การค้นหาพฤติกรรมเสี่ยงตามวัย (ปัญหาพฤติกรรม อารมณ์ การเรียน ฯลฯ) ประวัติวัคซีนที่เหมาะสมที่ควรได้รับตามวัย และมีการส่งเสริมสุขภาพด้านอื่นที่เหมาะสม (แนะนำปรึกษากุมารแพทย์)

- ในกลุ่มวัยทำงาน แล้วแต่การแบ่งช่วงอายุ ส่วนใหญ่จะอยู่ในวัยตั้งแต่ 18-60 ปี การคัดกรองโรคจะเริ่มเน้นการตรวจคัดกรองกลุ่มโรคเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์รวมถึงกลุ่มโรคมะเร็งบางประเภท (กรณีวัยทำงานตอนปลาย) เป็นต้น

- ในกลุ่มวัยสูงอายุ อยู่ในช่วงอายุตั้งแต่ 60-65 ปี ขึ้นไป โดยส่วนใหญ่การคัดกรองจะเน้นไปในการตรวจกลุ่มโรคเรื้อรัง โรคมะเร็งบางประเภท เช่นเดียวกับวัยทำงาน โดยอาจมีการประเมินในรายละเอียดบางโรคเพิ่มเติม เช่น ประเมินภาวะโภชนาการ ภาวะกระดูกพรุน ภาวะสมองเสื่อม ภาวะซึมเศร้า เป็นต้น

ถ้าผลตรวจสุขภาพไม่พบความผิดปกติใด ๆ ผลนี้จะอยู่ได้นานกี่ปี

         ผลการตรวจสุขภาพที่ได้นั้น คือ เป็นผลที่บ่งบอกถึงสภาวะสุขภาพ ณ ปัจจุบัน ว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่ทั้งนี้การดำเนินชีวิตและวัยที่เพิ่มขึ้น สิ่งที่เราได้เจอในชีวิตประจำวันสามารถกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้น หากมีพฤติกรรมที่ขาดความระมัดระวัง ทำให้การมาตรวจสุขภาพในครั้งต่อ ๆ ไป อาจพบความผิดปกติขึ้นได้เช่นกัน โดยมากหรือน้อยขึ้นกับปัจจัยเสี่ยง /สิ่งกระตุ้นที่ได้รับนั่นเอง

        ยกตัวอย่างเช่น การตรวจสุขภาพในรอบนี้ พบว่าระดับไขมัน,น้ำตาลในเลือด,ความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติดี หากชะล่าใจไม่ดูแลตัวเอง ขาดความระมัดระวังในการทานอาหาร ขาดการออกกำลังกาย มีการดื่มสุราเป็นประจำ การตรวจสุขภาพครั้งต่อไปอาจพบว่าเริ่มมีน้ำหนักเกิน เริ่มพบโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ เช่น เริ่มมีความดันโลหิตสูงขึ้น ระดับน้ำตาลและไขมันเกินเกณฑ์ได้ รวมถึงการดื่มสุรา ทำให้ค่าการทำงานของตับแปรปรวน เป็นต้น

        รวมถึงโรคบางโรคไม่อาจตรวจคัดกรองได้ด้วยวิธีทั่วไป หรือบางโรคอาจมีการดำเนินโรคที่ไวมาก ทำให้มีการจู่โจม แสดงอาการอย่างฉับพลันได้เช่นกัน ดังนั้น หากผลการตรวจสุขภาพไม่พบความผิดปกติ ก็แสดงว่าที่ผ่านมาเราใช้ชีวิตได้เหมาะสม ยังไม่พบโรคที่น่ากังวล ณ ขณะนี้นั่นเอง แต่ก็อย่าชะล่าใจ ไม่ดูแลสุขภาพตนเอง ควรสังเกตอาการหากมีอาการผิดปกติ ก็ควรมาปรึกษาแพทย์เพิ่มเติม

ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้างก่อนการตรวจสุขภาพ และข้อมูลสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อแพทย์มีอะไรบ้าง

    บทความนี้จะได้แนะนำการเตรียมพร้อมก่อนเข้ารับการตรวจ เพื่อให้ท่านได้รับประโยชน์สูงสุดในการตรวจสุขภาพ

- แนะนำงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 24 ชั่วโมงก่อนการตรวจ

- ข้อมูลที่สำคัญ เช่น ประวัติการเจ็บป่วยในอดีตที่สำคัญ,ประวัติการเจ็บป่วยของคนในครอบครัว (โรคทางพันธุกรรม), ประวัติการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับตัวเอง เช่น น้ำหนักที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วผิดปกติ,การขับถ่ายที่ผิดปกติไป เช่น ท้องผูกสลับท้องเสียเรื้อรัง อาการผิดปกติเรื้อรัง เช่น ไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด ปวดศีรษะรุนแรง, ประวัติการใช้ยาในปัจจุบัน (ทั้งที่ได้รับจากโรงพยาบาล , ยาที่ซื้อมาเอง) รวมถึงประวัติการแพ้ยาแพ้อาหาร

รวมไปถึงข้อมูลหรือเอกสาร กรณีเคยมีประวัติรับการตรวจหรือการรักษาในสถานพยาบาลอื่นๆ เพื่อเป็นประโยชน์ร่วมในการแปลผลและการวางแผนการดูแลรักษาที่เหมาะสม

- อดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ใช่น้ำเปล่าอย่างน้อย 10-12 ชั่วโมง สามารถดื่มน้ำเปล่าได้ เช่น หากวางแผนว่าจะมาโรงพยาบาลและได้เจาะเลือดประมาณ 08.00 น. ให้อดอาหารตั้งแต่เวลา 20.00-22.00 น. เป็นต้นไป (หากไม่ได้ทำการอดอาหารมาจะมีผลต่อการแปลผลค่าระดับน้ำตาลในเลือดและไขมันในเลือด รวมถึงการวินิจฉัยได้ นอกจากนี้กรณีที่ต้องการตรวจอัลตราซาวน์ช่องท้อง จะมีผลให้มีลมในช่องท้องมากจนบดบังการตรวจอวัยวะบางส่วนและทำให้ไม่สามารถมองเห็นถุงน้ำดี)

- ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 6 ชั่วโมง ก่อนรับการตรวจสุขภาพ หากอดนอนจะทำให้ผลการตรวจผิดปกติ โดยเฉพาะความดันโลหิต การเต้นของหัวใจ 

- สวมใส่เสื้อผ้าที่สะดวกต่อการเจาะเลือดบริเวณข้อพับแขน และควรถอด/ใส่ได้ง่าย เนื่องจากการตรวจบางอย่างจำเป็นต้องถอดเสื้อและเปลี่ยนเป็นชุดที่ทางโรงพยาบาลกำหนดให้ เช่น การตรวจเอกซเรย์ปอดหรือแมมโมแกรมในสุภาพสตรี 

- ควรถึงโรงพยาบาลในช่วงเช้า เพื่อไม่ให้ร่างกายอ่อนเพลียจนเกินไปจากการอดอาหาร หลังจากการเจาะเลือดและอัลตราซาวน์ช่องท้องแล้ว สามารถรับประทานอาหารและเครื่องดื่มได้

- ก่อนทำการวัดความดันโลหิต งดสูบบุหรี่อย่างน้อย 30 นาที และขณะวัดให้ปล่อยมือตามสบาย ไม่กำมือและไม่พูดขณะเครื่องวัดทำงาน เพราะจะส่งผลต่อระดับความดันโลหิตได้

- การเก็บปัสสาวะเพื่อส่งตรวจ แนะนำล้างบริเวณอวัยวะเพศและท่อปัสสาวะด้วยน้ำสะอาด แล้วเช็ดด้วยกระดาษชำระให้แห้งก่อนจึงทำการเก็บปัสสาวะ โดยควรเก็บในช่วงกลางของการปัสสาวะ (ด้วยการปัสสาวะส่วนต้นทิ้งออกไปเล็กน้อย เพื่อลดการปนเปื้อนของเซลล์ต่างๆ ที่อยู่บริเวณภายนอก เพราะมีส่วนกวนการแปลผลปัสสาวะได้) ควรเก็บปริมาณปัสสาวะให้ได้ประมาณครึ่งภาชนะ แล้วปล่อยปัสสาวะในช่วงท้ายทิ้งออกไป

- การเก็บอุจจาระ แนะนำปัสสาวะทิ้งก่อนเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของปัสสาวะที่อาจรบกวนต่อผลตรวจอุจจาระได้ หากนำภาชนะและอุปกรณ์ไปเก็บที่บ้าน ให้นำส่งห้องปฏิบัติการภายใน 4 ชั่วโมง

การเตรียมตัวเพิ่มเติมก่อนการตรวจสุขภาพสำหรับสุภาพสตรี

    เนื่องจากเพศหญิงมีลักษณะการตรวจสุขภาพเพิ่มเติมโดยเฉพาะ เช่น โรคมะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งเต้านม การทราบการเตรียมตัวและข้อควรรู้เพิ่มเติมที่เป็นประโยชน์สำหรับท่านมีดังต่อไปนี้

- การตรวจภายในของสตรีนั้น โดยทั่วไปจะทำควบคู่กับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก สำหรับสตรีที่จะเข้ารับการตรวจ ไม่ควรอยู่ในช่วงก่อนและหลังมีประจำเดือน 7 วัน แต่ในกรณีมีอาการเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดให้แจ้งเจ้าหน้าที่และแพทย์ เนื่องจากกรณีนี้การตรวจภายในจะเป็นประโยชน์ในการหาสาเหตุของอาการผิดปกติได้ นอกจากนี้ควรงดมีเพศสัมพันธ์ 48 ชั่วโมงก่อนการตรวจ และไม่สวนล้างช่องคลอดเพราะเซลล์บริเวณปาดมดลูกที่ต้องการตรวจจะถูกชะล้างออกไป

- หลังจากตรวจภายในและคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแล้ว ท่านจะทราบผลของการตรวจภายในเลยว่าอวัยวะในอุ้งเชิงกราน เช่น ช่องคลอด ปากมดลูก มดลูก ปีกมดลูก รังไข่ มีความผิดปกติหรือไม่ หากผิดปกติจะได้รับการดูแลรักษาต่อกับสูตินรีแพทย์ สำหรับผลการตรวจมะเร็งปากมดลูกที่ต้องใช้เวลาในการอ่านผลจะถูกจัดส่งไปตามที่อยู่หลังเข้ารับการตรวจภายใน 1 เดือน

- สำหรับสตรีที่ต้องการตรวจเต้านมด้วยแมมโมแกรมเพื่อหาความผิดปกติของเต้านมและคัดกรองมะเร็งเต้านม ควรทำการตรวจในช่วงที่ไม่มีประจำเดือน เพราะช่วงมีประจำเดือนจะมีความคัดตึงของเต้านม นอกจากนี้ไม่ควรทาแป้ง โลชั่นหรือสเปรย์ระงับกลิ่นใดๆ ที่บริเวณเต้านมและรักแร้

- หากมีประจำเดือน ให้งดตรวจปัสสาวะ  เพราะเลือดจะปนเปื้อนในปัสสาวะ มีผลต่อการแปลผลการตรวจ

- หากท่านตั้งครรภ์หรือสงสัยว่ามีภาวะการตั้งครรภ์ เช่น ประจำเดือนขาด โปรดแจ้งเจ้าหน้าที่ให้ทราบ เพราะหากมีการตั้งครรภ์ จำเป็นต้องงดการตรวจบางชนิด เช่น เอกซเรย์ปอด แมมโมแกรม การตรวจมวลกระดูก

    เพื่อให้ท่านเข้ารับการตรวจสุภาพได้อย่างสะดวกและทราบผลการตรวจที่น่าเชื่อถือ ส่งผลให้แพทย์สามารถวินิจฉัยได้อย่างถูกต้องแม่นยำ จะต้องมีการเตรียมตัวให้พร้อมสักนิด อย่างไรก็ตามหากท่านต้องการนัดตรวจสุขภาพล่วงหน้าหรือมีข้อสงสัยเรื่องการตรวจสุขภาพ

สามารถติดต่อคลินิกตรวจสุขภาพ ศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ ชั้น 5 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา โทร 0-5393-6700, 0-5393-4552 หรือ Call center 0-5393-6900-1