ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

    มาถึงอีกหนึ่งแก๊งค์ย่อยในคลัสเตอร์เดียวกัน คือ 2 ค่ายที่ไม่หยุดแค่ 13 หมวดหลักที่ คปภ.​กำหนดให้ ยังใส่ฟังก์ชั่นเสริมเข้าไปเพิ่มอีก ประกอบด้วย 2 ค่ายคือ F อะไรดี กับ โตเกียว มาลุย มันมีอยู่ 3 ฟังก์ชั่นเสริมที่ให้เหมือนกันทั้งสองค่าย คือ ผู้ป่วยนอกกรณีทั่วไป, ฉีดวัคซีน และ ตรวจสุขภาพประจำปี ส่วนฟังก์ชั่นเสริมอื่น ๆ F อะไรดีจะไปเน้นอะไรที่นอกเหนือจากการเจ็บป่วยสามัญ เช่น ทำฟัน รักษาสายตา จิตเวช ฯลฯ ในขณะที่โตเกียว มาลุยเน้นคุยเฉพาะเรื่องการเจ็บป่วยสามัญเป็นหลัก จะให้เพิ่มเป็นค่าพยาบาลเฝ้าไข้ที่บ้าน, ค่าเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีความแตกต่างกันที่ F อะไรดีส่วนใหญ่จะเพิ่มให้เฉพาะในแผนสูง ๆ ในขณะที่โตเกียว ให้วงเงินฟังก์ชั่นเสริมเพิ่มให้ทุกแผนลดหลั่นกันไป เบี้ยประกันก็ใกล้เคียงกันทั้งวัยทำงาน และ วัยชรา ตารางสีสันสดใสกันเลยทีเดียว

Show

เปรียบเทียบประกันสุขภาพเหมาจ่าย 7 บริษัท ที่ไหนดี 2022/2565

เปรียบเทียบประกันสุขภาพเหมาจ่าย AIA AXA BLA FWD MTL TL TM ทั้งความคุ้มครอง เบี้ยประกัน ชายและหญิงทุกช่วงอายุ ทุกทุนประกัน เข้าใจถึงจุดเด่นของแต่ละบริษัท สามารถเลือกได้ตรงความต้องการ ประหยัดเวลาค้นหา รวบรวมข้อมูล และการคิดคำถามเพื่อเลือกผู้แนะนำเครื่องมือทางการเงิน

หมายเหตุ : บทความนี้จัดทำขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับท่านที่ต้องการเปรียบเทียบประกันสุขภาพบริษัทต่างๆ ด้วยข้อมูลที่สามารถรวบรวมได้จากอินเตอร์เน็ต ซึ่งข้อมูลที่ถูกต้องควรทบทวนกับตัวแทนของบริษัทต่างๆ อีกครั้ง ทั้งนี้การเปรียบเทียบจะไม่ได้ครอบคลุมไปถึง แนวทางการดำเนินงานของบริษัท ความเชี่ยวชาญของผู้แนะนำหรือตัวแทน และความรู้ความเข้าใจของผู้ทำประกัน โดยหากท่านยังไม่เคยทำประกันสุขภาพมาก่อน จะสามารถทำความเข้าใจเพิ่มเติมจากบทความ คู่มือการเลือกประกันสุขภาพฉบับเริ่มต้น เพื่อช่วยให้เปรียบเทียบประกันสุขภาพผ่านบทความนี้ได้ง่ายมากขึ้น

❐   ปัจจุบันสัญญาประกันสุขภาพได้มีการปรับให้เป็นมาตรฐานใหม่เรียบร้อย ซึ่งมีหมวดความคุ้มครองพื้นฐานเหมือนกัน ทำให้ง่ายต่อการเปรียบเทียบขึ้นอย่างมาก

❐   แม้หมวดจะเหมือนกัน แต่รายละเอียดเงื่อนไขในการคุ้มครองมีความแตกต่างกัน รวมไปถึงหมวดความคุ้มครองเพิ่มพิเศษต่าง ๆ เพื่อทำให้แต่ละบริษัทมีความแตกต่างและสามารถแข่งขันกันได้

❐   ดังนั้นจึงต้องทำความเข้าใจจุดประสงค์ของแบบประกันแต่ละบริษัทให้ดี เพราะจะช่วยให้สามารถเลือกได้ตรงกับความคุ้มครองที่ต้องการโอนความเสี่ยงมากที่สุด มากกว่าเพียงการพิจารณาเฉพาะเบี้ยประกัน โดยไม่ทราบว่าจริง ๆ ต้องการจะคุ้มครองค่ารักษาในโรคหรืออาการใดบ้าง

Share 0

Tweet 0

Share 0

❐ สามารถกดแชร์เพื่อเก็บไว้อ่านภายหลังในยามว่างได้ค่ะ


เลือกดูการเปรียบเทียบที่สนใจ

ก่อนเปรียบเทียบ 1 : สิ่งที่ควรรู้ก่อนทำประกันสุขภาพ

ก่อนเปรียบเทียบ 2 : เบี้ยประกันสุขภาพตอนเกษียณ ควรวางแผนจัดการตั้งแต่เริ่มทำ

1.ตารางเปรียบเทียบประกันสุขภาพเน้นความคุ้มครองเฉลี่ย 5 ล้าน ค่าห้อง 3,000 บ. หรือ ค่าห้องเดี่ยวมาตรฐาน

2.ตารางเปรียบเทียบประกันสุขภาพเน้นความคุ้มครองเริ่มต้น 6 ล้าน ค่าห้องเริ่มต้น 5,500 บ.

3.ตารางเปรียบเทียบประกันสุขภาพเน้นความคุ้มครอง 12-30 ล้าน ค่าห้อง 8,000 - 12,000 บ. [แนะนำ]

4.ตารางเปรียบเทียบประกันสุขภาพเน้นความคุ้มครอง 30-60 ล้าน ค่าห้อง 12,000 บ.

5.ตารางเปรียบเทียบประกันสุขภาพเน้นความคุ้มครอง 40 - 80 ล้าน ค่าห้อง 12,000-15,000 บ.

6.ตารางเปรียบเทียบประกันสุขภาพเน้นความคุ้มครอง 100 ล้าน ค่าห้อง 21,000-25,000 บ.

บทสรุปหลังการเปรียบเทียบ


ก่อนเปรียบเทียบ 1 : สิ่งที่ควรรู้ก่อนทำประกันสุขภาพ

เลือกความเสี่ยงที่ต้องการโอนก่อนพิจารณาเบี้ยประกัน

หลายครอบครัวเลือกสัญญาประกันสุขภาพจากเงินที่เหลือของค่าใช้จ่ายที่คิดว่าจำเป็นอื่นๆ  โดยยังไม่ทราบเลยว่าค่ารักษาโรคต่างๆ ในปัจจุบันนั้นมีราคาแพงอย่างไรบ้าง ซึ่งเป็นความผิดพลาดข้อแรกในการเลือกประกันสุขภาพ

เพราะด้วยเงินที่เหลือนั้น หลายครั้งจึงมักเลือกประกันสุขภาพที่ดูแลได้เฉพาะค่ารักษานอน รพ. ทั่วไป หรือค่าผ่าตัดทั่วไปเท่านั้น แต่ไม่สามารถครอบคลุมไปถึง ค่าตรวจค่ารักษาแบบมีการผ่าตัดซับซ้อนที่เกี่ยวข้องกับ หัวใจ สมอง และค่ารักษาผู้ป่วยนอกที่ยาวนานอย่างมะเร็งได้

แผนภาพด้านล่างนี้ จึงช่วยสรุปให้คุณกับครอบครัวได้เห็นปัญหาของค่าใช้จ่ายเหล่านี้ก่อน ว่าจะพร้อมเตรียมเงินสำรองฉุกเฉินจำนวนมากพอสำหรับโรคเหล่านี้เองหรือไม่

หรือจะเลือกใช้ OPM (Other's People Money) ผ่านการเฉลี่ยภัยกับคนจำนวนมากด้วยประกันสุขภาพ ซึ่งน่าจะเป็นเครื่องมือการเงินหนึ่งที่สามารถเลือกใช้ได้ และจำเป็นต้องรีบเลือกใช้ให้เร็วพอ

เนื่องจากเมื่อทำประกันสุขภาพมานานมากกว่า 3 ปี และไม่เคยมีการเคลมโรคซับซ้อนใดๆ รวมถึงประวัติสุขภาพก่อนทำประกัน 5 ปีก็ไม่มีการรักษาโรคเรื้อรังใดๆ มาก่อน ก็ยิ่งทำให้เครื่องมือการเงินนี้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นมาก

เพราะจะทำให้มีโอกาสน้อยมากที่จะต้องสำรองจ่ายค่ารักษาจากการที่บริษัทขอสืบประวัติให้มั่นใจว่าก่อนทำประกันไม่ได้เป็นโรคเรื้อรังหรือโรคที่ยังรักษาไม่หายขาดมาก่อน เพื่อความยุติธรรมต่อผู้ร่วมเฉลี่ยภัยด้วยกันทุกคน

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

ข้อควรคำนึงเรื่องเงินกับค่ารักษามะเร็ง

หมายเหตุ : มะเร็งคือสาเหตุการตายอันดับหนึ่งในประเทศไทย ที่มีค่าตรวจค่ารักษาที่แพงมากที่สุดและไม่รับรองว่าจะหายขาด แถมยังพร้อมกลับมาเป็นซ้ำได้ทุกเมื่อ แทบจะต้องรักษาและตรวจติดตามอาการไปตลอดชีวิต ไม่นับรวมผลข้างเคียงจากการรักษาที่นำไปสู่ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่กล่าวมาในแผนภาพด้านบนทั้งผ่าตัดซับซ้อน ผ่าตัดทั่วไป และนอน รพ. ทำให้ทางออกที่ดีที่สุดคือมีประกันสุขภาพให้พร้อมไปตรวจคัดกรองมะเร็งให้เร็วที่สุด เพื่อให้เจอมะเร็งในระยะที่ 0 ซึ่งเป็นระยะที่มีสถิติการรักษาหายขาดสูงที่สุด

ข้อควรคำนึง : การมีเงินสดจำนวนมากหลายล้านบาท หรือ การมีประกันสุขภาพที่มีวงเงินเพียงพอสำหรับดูแลค่ารักษาโรคมะเร็ง ทั้งในโรงพยาบาลเอกชน และโรงพยาบาลรัฐแบบเน้นออกเงินเองได้นั้น ไม่ได้การันตีว่าจะรักษามะเร็งหายได้ เพราะการรักษาแต่ละแบบไม่ใช่ว่าจะได้ผลดีเหมือนกันในทุก ๆ คน บางคนใช้ยาหลักตามสวัสดิการภาครัฐก็ทำให้มะเร็งสงบได้ บางคนมีเงินได้เลือกยาและวิธีการรักษาที่ดีและเร็วที่สุดแต่ก็ไม่สามารถยับยั้งมะเร็งได้

ดังนั้นการมีเงินจำนวนมากหรือรวมกลุ่มเฉลี่ยภัยร่วมกันผ่านประกันสุขภาพ จึงช่วยเพียงให้มีทางเลือกในการรักษา กับทางเลือกในการรับบริการที่หลากหลายกว่า หรืออย่างน้อยไม่รู้สึกอึดอัดใจเมื่อโชคร้ายได้รับบริการที่ไม่ดีหรือไม่ถนอมน้ำใจ เพียงเพราะเราไม่มีทางเลือกอื่นแล้วเท่านั้น (ประสบการณ์ตรงของแอนนี่เองที่หลานชายเป็นโรคหัวใจตั้งแต่กำเนิดต้องรักษาติดตามอาการไปตลอดชีวิต ทั้งยังทำประกันไม่ได้ทุกรูปแบบ จึงต้องอาศัยสวัสดิการรัฐเท่านั้นเพราะค่ารักษาที่สูงมาก ซึ่งวันไหนดีก็ดีใจหาย วันไหนไม่ดีก็ได้แต่ปลอบตนเองว่าเรามาขอใช้สวัสดิการฟรี และบุคลากรวันนั้นคงจะยุ่งมากจริง ๆ)

ประกันค่ารักษาผู้ป่วยนอก OPD หนึ่งในความเสี่ยงที่ควรรับไว้เอง

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

ตัวอย่างตารางเบี้ยประกัน OPD

หมายเหตุ : จากตารางจะเห็นได้ว่า หากต้องการประกันวงเงินค่ารักษาผู้ป่วยนอก OPD 10,000 บ. ต่อปี ในช่วงอายุ 76 ปีเป็นต้นไป จะต้องจ่ายเบี้ยสูงถึง 10,000 บ. ต่อปี (เท่ากับวงเงิน OPD ที่ได้เลยนั้นเอง) หรือมีโอกาสจ่ายเบี้ยน้อยสุดตอนช่วงอายุ 16-20 ปี ซึ่งมักจะเป็นช่วงอายุที่สุขภาพแข็งแรงที่สุดและมีโอกาสใช้ OPD ที่น้อย ทั้งหมดนี้จึงเป็นการย้ำให้เห็นภาพชัดเจนว่า ประกัน OPD นั้น เป็นภัยที่เฉลี่ยร่วมรับภัยกับผู้อื่นได้ยาก หรือได้ในจำนวนคนที่น้อยมาก และเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เบี้ยแบบประกันสุขภาพที่มี OPD เบี้ยจะสูงกว่าแบบประกันสุขภาพที่ไม่มี OPD อย่างเห็นได้ชัด

ข้อควรคำนึง 1 : 
- หากเตรียมเงินฉุกเฉิน OPD ไว้ 5,000 บ. ทุกปีเอง ซึ่งเงินฉุกเฉินนี้หากไม่ได้ใช้ก็ยังทบไปรวมกับงบ OPD ของปีหน้าได้เรื่อย ๆ ซึ่งสุดท้ายพออายุ 76-80 อาจจะมีเงินฉุกเฉิน OPD นี้เหลือสูงถึง 200,000-300,000 บ. เลยก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าจะหมดไปกับค่าตรวจฉายภาพขั้นสูงต่างๆ หรือไม่ (ครั้งหนึ่งอย่างต่ำก็ 30,000 บ. อย่างสูงก็เฉียด 100,000 บ. ซึ่งแน่นอนว่าเกินงบ OPD แน่นอน)

ข้อควรคำนึง 2 : 
- หากจ่ายเบี้ยประกัน OPD 5,000 บ.ทุกปี ตอนอายุ 76-80 ปี ก็จะได้วงเงินคุ้มครองที่ 5,000 บ. ต่อปีเหมือนเดิม เพราะหากไม่ได้ใช้ก็ไม่สามารถทบไปใช้ปีหน้าได้ เนื่องจากประกันมองเป็นปีต่อปีเท่านั้น
- จะเห็นได้ว่าใช้เงินเท่าๆ กันกับการเตรียมเงินฉุกเฉน OPD เอง แต่การรับภัยไว้เองจะเป็นทางออกที่ดีกว่า โดยเฉพาะกับภัยที่เฉลี่ยความเสี่ยงกับคนอื่นได้ยาก 

ทั้งนี้หากกังวลในส่วนของค่ารักษาผู้ป่วยนอกที่เกิดจากอุบัติเหตุ เช่น กระดูกหัก แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลรถล้มถลอกทางยาว ซึ่งค่ารักษา ค่าล้างแผล ติดตามอาการ ผู้ป่วยนอกเหล่านี้ ควรจะใช้ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลจ่ายมากกว่า เพราะหากต้องการค่ารักษาอุบัติเหตุ ผู้ป่วยนอก 50,000 บ. ต่อครั้งของอุบัติเหตุ พร้อมรักษาติดตามอาการ 180 วันนั้น จะมีเบี้ยประกันเพียง "หลักร้อยบาท" เท่านั้น เนื่องด้วยเป็นภัยที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง จึงทำให้เฉลี่ยภัยกับคนจำนวนมากได้ เบี้ยจึงประหยัดกว่าพอสมควรนั้นเอง 

สามารถอ่านบทความเกี่ยวกับ OPD เพิ่มเติมได้ที่บทความ ทำไมประกันสุขภาพแบบมี OPD จึงน่ากลัว

5 คำถามสำคัญที่ควรถามก่อนเลือกประกันสุขภาพ

❐ 1. เป็นประกันสุขภาพมาตรฐานใหม่ ที่มีหรือไม่มีเงื่อนไขการปรับ Copayment รายบุุคคล
- เพราะถ้าหากมี จะแสดงว่ามีโอกาสที่ถ้ามีประวัติการเคลมสูงอาจจะสามารถถูกปรับให้เป็นแบบ Copayment หรือทำการลดเบี้ยประกันให้แต่ก็ต้องร่วมจ่ายค่ารักษากับบริษัทประกันตามสัดส่วนที่บริษัทกำหนด
- มักจะปรากฏในแบบประกันที่มีวงเงินค่า OPD ให้ และสามารถจ่ายรับผิดส่วนแรกหรือ Deductible ได้

❐ 2. การเปลี่ยนแปลงตารางเบี้ยจะปรับเบี้ยทั้งแบบประกัน (portfolio) หรือจะปรับเฉพาะรายบุคคลจากประวัติการเคลม
- บางบริษัทอาจไม่มีเงื่อนไข Copayment เพราะดูเป็นบทลงโทษที่รุนแรง จริงเน้นใช้วิธีปรับเบี้ยเพิ่มรายบุคคลแทน ซึ่งก็ดูเป็นบทลงโทษที่รุนแรงน้อยลงมา

❐ 3. มีเงื่อนไขระยะรอคอยการ Fax-Claim นอกเหนือจากระยะรอคอย 30 วันในโรคทั่วไป และ 120 วันในโรคที่ซับซ้อนตามปกติหรือไม่
- บางบริษัทจะมีทั้งระยะรอคอย Fax-Claim เช่น 60 วัน หรือ 90 วัน และระยะรอคอยทั้งแบบ 30 วัน และ 120 วัน นั้นคือหากเกิน 30 วันแล้ว ก็ยังไม่สามารถ Fax-Claim ในโรคทั่วไปได้ จะต้องสำรองจ่ายไปก่อนเท่านั้น

❐ 4. มีเงื่อนไขการสำรองจ่ายทุกกรณี ในหมวดค่ารักษาที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยนอกหมวดใดบ้างหรือไม่
- บางบริษัทจะมีข้อกำหนดชัดเจนว่า ค่ายาและการรักษาที่เกี่ยวข้องกับการรักษามะเร็งผู้ป่วยนอก หรือค่าฉายภาพขั้นสูงผู้ป่วยนอก หรือค่าเวชศาสตร์ฟื้นฟูผู้ป่วยนอก หรือค่าฉีดวัคซัน จะต้องเป็นการสำรองจ่ายไปก่อนเท่านั้น
- เนื่องจากค่ารักษาผู้ป่วยนอกเหล่านี้อาจมีราคาสูงหลายแสน หรือตรวจสอบความจำเป็นทางการแพทย์ได้ยาก จึงเน้นให้สำรองจ่าย เพื่อป้องกันการที่ รพ. ให้เคลมเกินความจำเป็นไปมาก โดยใช้คนไข้ช่วยดูความเหมาะสมตามกำลังของเงินสำรองจ่ายที่มี

❐ 5. ตอนเกษียณเบี้ยสูงขนาดไหน และมีวิธีช่วยจัดการอย่างไรบ้าง
- ส่วนนี้จะไม่ได้ขึ้นอยู่กับเพียงบริษัท แต่ขึ้นอยู่กับผู้แนะนำทางการเงินด้วยว่า จะได้เตรียมพร้อมหาทางแก้ไขด้วยวิธีใดไว้บ้าง และบอกข้อดีช้อเสียของแต่ละวิธีไว้หรือไม่

ก่อนเปรียบเทียบ 2 : เบี้ยประกันสุขภาพตอนเกษียณ ควรวางแผนจัดการตั้งแต่เริ่มทำ


เบี้ยประกันสุขภาพนั้นไม่คงที่ โดยเบี้ยก่อนเกษียณจะค่อย ๆ ปรับเพิ่มขึ้น ในขณะที่ เบี้ยหลังเกษียณจะเป็นการปรับเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด!! 

การเตรียมจัดการเบี้ยหลังเกษียณจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก บางแบบประกันสุขภาพจึงพยายามนำเบี้ยทั้งหมดมาเกลี่ยให้เป็นเบี้ยที่เท่ากันทุกปี เพื่อบังคับให้จ่ายเบี้ยที่สูงขึ้นตั้งแต่แรกและนำเงินที่เกินมาใช้ในการเตรียมเงินสำหรับเบี้ยสุขภาพหลังเกษียณโดยอัตโนมัติ

แต่ก็ตามมาด้วยปัญหาสำคัญคือ เบี้ยที่สูงมาก ขาดความยืดหยุ่น และลดหย่อนภาษีได้จำกัด จึงเป็นหน้าที่ของผู้แนะนำเครื่องมือการเงินที่ควรหาทางออกให้เหมาะสมกับความต้องการมากที่สุด

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

ผู้แนะนำเครื่องมือการเงินมีความสำคัญอย่างมาก เพราะผู้แนะนำเครื่องมือการเงินที่ดีจะสามารถวางแผนช่วยให้คุณประหยัดเบี้ยได้หลายล้าน และทำให้มีโอกาสสูงที่จะไม่ต้องจ่ายเบี้ยหลังเกษียณอีก

ดังนั้นการเลือกแบบประกันสุขภาพที่เน้นเพียงประหยัดเบี้ย อาจช่วยให้จ่ายน้อยลงหลักแสนจนถึงล้าน แต่ก็ได้ความคุ้มครองที่จำเป็นน้อยลงเช่นกัน

แต่การเลือกผู้แนะนำเครื่องมือการเงินที่ดี ที่สามารถแนะนำการใช้เครื่องมือการเงินอื่นแก้ปัญหานี้ได้ จะช่วยทำให้ประหยัดเบี้ยได้สูงถึงหลักสิบล้าน และยังได้ความคุ้มครองที่จำเป็นทั้งหมด 

ทั้งนี้ผู้แนะนำเครื่องมือทางการเงิน มักจะมีวิธีการแก้ไขปัญหาเบี้ยตอนเกษียณดังต่อไปนี้

1. ตั้งเป้าหมายเก็บเงินไว้เป็นค่ารักษาเองยามเกษียณ และยกเลิกประกัน

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

❒   ที่มา : เกิดจากประกันสุขภาพสมัยก่อน เบี้ยตอนเกษียณยังไม่สูงมาก และคุ้มครองถึงเพียงอายุครบ 80 ปีเท่านั้น

❒   ข้อดี : ทำความเข้าใจได้ง่าย และสามารถใช้เครื่องมือช่วยเก็บเงินได้หลากหลาย

❒   ข้อสังเกต : ไม่ทราบว่าควรเก็บเงินเท่าใด แล้วจะเพียงพอหรือไม่ (อาจต้องใช้เบี้ยประกันเป็นเกณฑ์ช่วย),  ไม่ทราบว่าจะป่วยกี่ครั้งและครั้งละนานเท่าใด,  ไม่ทราบว่าจะป่วยด้วยโรคร้ายแรงขนาดไหน,  ไม่ทราบว่าเงินเฟ้อและค่าใช้จ่ายโรคร้ายจะเพิ่มมากขึ้นเท่าใด และสุดท้ายเงินก้อนใหญ่ที่กันไว้อาจถูกนำไปใช้กับสิ่งอื่นจนหมดได้ ดังนั้นจึงต้องทำการคำนวณให้ดี ๆ ว่าเฉลี่ยแล้วปี ๆ หนึ่งควรเก็บเงินเท่าใด โดยแยกกันระหว่างเงินบำนาญและค่ารักษาให้ชัดเจน

2. ใช้ประกันบำนาญไว้จ่ายเบี้ย และ/หรือ ปรับลดแผนประกันสุขภาพในตอนเกษียณ

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

❒   ที่มา : เกิดจากประกันสุขภาพสมัยก่อน เบี้ยตอนเกษียณยังไม่สูงมาก และคุ้มครองถึงเพียงอายุครบ 80 ปีเท่านั้น 

❒   ข้อดี : รู้เป้าหมายเงินที่จะจ่ายชัดเจน ได้ลดหย่อนภาษีเพิ่มในส่วนประกันบำนาญ การันตีผลตอบแทน

❒   ข้อสังเกตุ : จำเป็นต้องหาแบบประกันบำนาญที่ค่อย ๆ เพิ่มเงินบำนาญให้ทุก ๆ ปีในตอนเกษียณ เพื่อให้บำนาญที่ได้ทันกับเบี้ยสุขภาพที่เพิ่มสูงขึ้นของแผนสุขภาพ (ที่อาจปรับลดความคุ้มครองลงควบคู่ด้วย) เพราะแบบประกันบำนาญแบบนี้จะประหยัดเบี้ยได้มากกว่าแบบประกันบำนาญที่จ่ายบำนาญคงที่และสูงตั้งแต่แรก แต่อย่างไรก็ตามหากใช้รูปแบบนี้มีโอกาสที่ต้องจ่ายเบี้ยประกันบำนาญรวมหลักแสนขึ้นไปจนกว่าจะเกษียณ เนื่องจากประกันบำนาญปัจจุบันให้ผลตอบแทนเพียง 2-3% ต่อปี หรือน้อยกว่าเท่านั้น

3. ใช้เบี้ยเพิ่มเติมพิเศษในประกันยูนิตลิงก์ เพื่อไว้จ่ายเบี้ยประกันสุขภาพ

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

❒   ที่มา : ปกติเบี้ยประกันชีวิตจะเก็บล่วงหน้าไปก่อนตั้งแต่ตอนต้นปี แล้วจึงให้ความคุ้มครองตามหลังถึงปลายปี ดังนั้นจึงมีเบี้ยที่เก็บล่วงหน้าไปก่อนหลายเดือน ซึ่งบริษัทประกันจะได้นำเงินที่เก็บล่วงหน้านี้ไปลงทุนในตราสารหนี้หรือฝากธนาคาร และเพื่อความยุติธรรมจึงมีการการันตีผลตอบแทนการลงทุนของเงินล่วงหน้านี้ให้ประมาณ 1% ต่อปี จากนั้นจึงนำมาคิดเป็นส่วนลดค่าการประกันภัยให้เรียบร้อย ออกมาเป็นตารางเบี้ยที่การันตีถัวเฉลี่ยให้คงที่ในแต่ละอายุได้ในที่สุด

แต่พอมาเป็นยูนิตลิงก์ที่ให้ผู้เอาประกันลงทุนเองได้แต่พอร์ตการลงทุนก็มีหลากหลายไม่ใช่เพียงความเสี่ยงต่ำเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่สามารถการันตีผลตอบแทนได้  ทำให้ไม่สามารถคำนวณมูลค่ากรมธรรม์ล่วงหน้าได้

ส่งผลให้ต้องมีการบริหารค่าการประกันภัยเพื่อไม่ให้สูงมากจนกรมธรรม์ปิดตัวลง ผ่านการปรับลดทุนประกันชีวิต และ/หรือ สามารถเติมเงินเข้ามาในประกันชีวิตยูนิตลิงก์นี้ได้ รวมถึงให้เงินที่เติมนี้มาตัดจ่ายเบี้ยสัญญาเพิ่มเติมต่าง ๆ ที่อยู่ในกรมธรรม์ได้ด้วย (เมื่อมีการหยุดพักชำระเบี้ย)

จึงเริ่มเกิดแนวคิดการจ่ายเบี้ยเติมพิเศษนี้ล่วงหน้าเพื่อให้เงินเติบโตได้เร็วกว่าเบี้ยของสัญญาเพิ่มเติมอย่างประกันสุขภาพและหมุนจ่ายเบี้ยสัญญาเพิ่มเติมได้เองต่อไป 

❒   ข้อดี : สามารถจ่ายเบี้ยเพิ่มเติมพิเศษในประกันยูนิตลิงก์ เพื่อไว้จ่ายเบี้ยประกันสุขภาพแบบปกติได้ ซึ่งวิธีนี้จะต้องให้ผู้แนะนำคำนวณดูว่าควรต้องจ่ายเบี้ยเพิ่มเติมพิเศษปีละเท่าใด และจำนวนกี่ปี ถึงจะเพียงพอต่อเบี้ยประกันสุขภาพทั้งหมดจนถึงอายุครบ 99 ปี หรืออายุที่ต้องการได้ (ทั้งนี้จำนวนเบี้ยพิเศษที่เติมได้นั้นต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของแต่ละบริษัทประกัน)

❒   ข้อสังเกตุ : เงินที่จ่ายเบี้ยเพิ่มเติมพิเศษนี้จะไม่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีใดๆ ได้ และการคำนวณจำลองคาดการณ์ของผู้แนะนำนั้นไม่ควรจำลองให้ผลตอบแทนของพอร์ตเกิน 3% ต่อปี (หลังเกษียณ) เพราะเบี้ยประกันสุขภาพจะสูงและหากเลือกพอร์ตเสี่ยงสูงที่ติดลบได้มากก็จะยิ่งซ้ำเติมพอร์ตเข้าไปอีก

4. ใช้ประกันสุขภาพเบี้ยคาดหวังคงที่ (Target Premium) แนบกับประกันยูนิตลิงก์

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

❒   ที่มา : เพื่อที่ทำให้เบี้ยประกันสุขภาพที่จ่ายไปมีทั้งส่วนที่จ่ายค่าการประกันภัย และส่วนที่ไว้ลงทุนเตรียมจ่ายค่าประกันภัยล่วงหน้า แต่ปัญหาคือไม่รู้ว่าจะแบ่งเบี้ยที่จะลงทุนไว้เตรียมจ่ายเบี้ยสุขภาพล่วงหน้าเท่าใดดี ซึ่งควรจะแบ่งลงทุนให้ค่อนข้างเยอะตั้งแต่แรกๆ

จึงทำให้เกิดการคำนวณตารางเบี้ยเป้าหมายหรือคาดหวังคงที่ Target Premium ขึ้นมา ซึ่งจะเป็นการนำค่าการประกันภัยทั้งหมดที่ทยอยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่เริ่มต้นทำประกันจนถึงอายุสุดท้ายของสัญญามาถัวเฉลี่ยออกมาให้เท่าๆ กัน (คำนวณร่วมกับผลตอบแทนสมมติคงที่ประมาณ 1% ต่อปี) จนทำให้เกิด เบี้ยคาดหวังคงที่ตลอดสัญญา ขึ้นมาที่มีทั้งค่าการประภัยและค่าลงทุนอยู่ในเบี้ยนี้

ด้วยเหตุนี้หากพอร์ตการลงทุนจริงในประกันยูนิตลิงก์มีผลตอบแทนที่ดีกว่า 1% ต่อปี (ที่ใช้จัดทำตาราง Target Premium นี้) ก็ทำให้มีโอกาสที่จะเหลือเงินสะสมในพอร์ตจำนวนมากกว่าที่คาดหวังไว้ จึงทำให้เกิดประโยคการขายที่ว่า "ชำระเบี้ยเพียง 20 กว่าปี ก็สามารถปล่อยให้เงินเติบโตจ่ายเบี้ยสุขภาพได้เองแล้ว หากผลตอบแทน 5% ต่อปี"

❒   ข้อดี : บริษัทประกันมีเครื่องมือจำลองออกมาให้และแนะนำว่าควรต้องจ่ายเบี้ยคาดหวังหรือเบี้ยเป้าหมายคงที่เท่าใด ซึ่งจะแบ่งสัดส่วนเงินลงทุนและสัดส่วนค่าการประกันภัยโดยอัตโนมัติ ทำให้ไม่ต้องคิดว่าปีนี้หรือปีหน้าต้องจ่ายเท่าไรหรือต้องคอยมาคำนวณหาใหม่ เพราะบังคับจ่ายเบี้ยคงที่เท่ากันทุกปีไปเรียบร้อย

❒   ข้อสังเกตุ : ตอนสูงอายุและพอร์ตโชคร้ายเกิดติดลบมากๆ เบี้ยคาดหวังคงที่ที่ตัดจากกองทุนจะซ้ำเติมพอร์ตที่มีขนาดลดลงเพราะติดลบมากๆ เข้าไปอีก (เครื่องมือจำลองของบริษัท จะจำลองติดลบมากสุดเพียง -1% ตามข้อกำหนดของ กลต. และ คปภ. ทำให้ผู้เอาประกันไม่มีโอกาสได้เห็นความน่ากลัวของพอร์ตที่ติดลบมากกว่านี้ว่าจะเป็นอย่างไรบ้างในตอนสูงอายุ)

วิธีนี้จึงจำเป็นต้องบริหารความเสี่ยงของพอร์ตตอนเกษียณให้ต่ำเพียงพอ หรือไม่ควรเลือกพอร์ต 5%ต่อปี (มีโอกาสติดลบได้สูงถึง -10%) เพื่อทำให้โอกาสที่จะติดลบน้อยลงหรือถ้าติดลบก็ไม่มาก และไม่ควรจำลองผลตอบแทนคงที่แบบเสี่ยงสูงเช่น 5% ตลอดชีพให้กับผู้ขอเอาประกันเพราะจะมีความคลาดเคลื่อนไปมากตอนหลังเกษียณ

และอีกปัญหาหนึ่งที่สำคัญ วิธีนี้ยังลดหย่อนภาษีได้เพียง 25,000 บ. เท่านั้น ในขณะที่อาจมีการเก็บเบี้ยสุขภาพไปหลักแสนและต้องจ่ายคงที่ ซึ่งหากบางปีเกิดขาดสภาพคล่องขึ้นมา ก็ต้องลุ้นว่ามูลค่าในพอร์ตการลงทุนจะเพียงพอช่วยตัดจ่ายไปก่อนได้ แล้วค่อยมาคำนวณใหม่ว่าควรจะต้องเติมเงินเพิ่มเท่าใดดีเพื่อมาทดแทน ซึ่งส่วนนี้จะเป็นหน้าที่ของผู้แนะนำ เพราะโปรแกรมจากบริษัทจะไม่ได้ช่วยคำนวณส่วนที่ผิดแผนแบบนี้ไว้ให้

5. ใช้การทำ Tax-Optimization และการลงทุนแบบ Time-based Segmentation

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

Release your Risk จะเน้นวิธีนี้เป็นหลักเพราะมีความยืดหยุ่น มีการปรับตัวตามช่วงอายุ และการลดหย่อนภาษี

❒   ที่มา : วิธีนี้จะเน้นคำนวณเงินที่แนะนำให้ลงทุนใน กองทุน RMF/SSF ในแต่ละปีที่แตกต่างกันได้ตามสภาพคล่องปีนั้น ๆ เพื่อวางแผนมาช่วยในการจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพแบบปกติในตอนเกษียณ และได้ลดหย่อนภาษีไปในตัว รวมถึงมีการวางแผนการลงทุนหลังเกษียณแบบ Time-based Segmentation ที่จะแบ่งเงินเป็น 3 กอง กองที่ต้องใช้ใน 15-16 ปีแรกก็จะความเสี่ยงต่ำ กองที่ต้องใช้ในอีก 15 ปีข้างหน้าก็ความเสี่ยงสูง และกองที่ต้องใช้ในอีก 30 ปีข้างหน้าก็จะความเสี่ยงสูงมาก เรียกว่าปรับความเสี่ยงการลงทุนตามโอกาสที่จะอายุยืนถึงได้นั้นเองป 

❒   ข้อดี : รู้เป้าหมายเงินที่จะใช้ชัดเจน มีความยืดหยุ่นในการลงทุนไม่ต้องเท่ากันทุกปีก็ได้ ได้ลดหย่อนภาษีเพิ่มและเงินคืนจากการลดหย่อนภาษีสามารถมาชดเชยในส่วนที่คลาดเคลื่อนจากเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ การจำลองแผนการลงทุนไม่ได้ใช้อัตราผลตอบแทนคงที่ตลอดชีพจึงมีความแม่นยำมากขึ้น แยกระหว่างเบี้ยประกันที่การันตีผลตอบแทน กับการลงทุนที่ไม่การันตีผลตอบแทนออกจากกันชัดเจน และสามารถดัดแปลงใช้วิธีนี้ในการวางแผนบำนาญได้

❒   ข้อสังเกตุ : จำเป็นต้องคำนวณให้ดีว่ายอดเงินที่ต้องเก็บเฉลี่ยปีละเท่าไร หากปีนี้เก็บน้อย ปีหน้าต้องเก็บเท่าไร ซึ่งต้องมีการสร้างเครื่องมือในการคำนวณและปรับความเสี่ยงแต่ละส่วนที่ตามที่ต้องการ พร้อมระบุอายุที่ต้องการเกษียณให้ชัดเจน ซึ่งสามารถให้ทาง Release your Risk คำนวณให้ใหม่ได้ในทุกปี

ตัวอย่าง การคำนวณที่ทาง Release your Risk มีการเปรียบเทียบให้พิจารณาก่อนตัดสินใจเรื่องแผนประกันของเพศชาย อายุ 29 ปี (ยิ่งลงมือทำเร็วจะมีโอกาสประหยัดได้มากขึ้น)

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

หมายเหตุ : "จะมั่นใจได้อย่างไรว่าผลตอบแทนการลงทุนทั้งจาก RMF และ SSF จะเป็นตามที่คาดการณ์ รวมไปถึงควรเลือกกองทุนแบบใด ทั้งก่อนและหลังเกษียณ" ส่วนนี้จะเป็นคำถามสำคัญที่ทางเราได้อธิบายลงรายละเอียดไว้ในบทความต่อไปนี้

  • จุดเริ่มต้นของการพิจารณานำกองทุน RMF มาเพื่อช่วยในการหมุนเวียนจ่ายเบี้ยประกันตอนเกษียณ
  • วิธีการลงทุน RMF ให้ปลอดภัยและลดความกังวลมากที่สุด
  • วิธีการลงทุนหลังเกษียณที่ช่วยให้ได้ผลตอบแทนที่ทั้งเสถียรและสูงเพียงพอ
  • วิธีการประหยัดเบี้ยประกันก่อนเกษียณด้วย SSF

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

ด้วยค่ารักษาตามแผนภาพด้านบน จึงทำให้จำเป็นต้องวางแผนจัดสรรค์เงินออกเป็น 3+1 กอง เพื่อให้สอดคล้องกับแบบประกันสุขภาพที่เลือกดังนี้

เงิน 3+1 กองที่ต้องเตรียมไว้สำหรับค่ารักษา

เงินที่ต้องเตรียมไว้ดูแลค่ารักษา 3+1 กองสำคัญ

กองที่ 1. เงินฉุกเฉินค่ารักษาใช้แล้วหมดไป :  

  • ควรใช้กับค่ารักษาที่สามารถคาดการณ์ได้ประมาณหลักพันหลักหมื่น เพราะเก็บใหม่ได้ง่ายและมีโอกาสบานปลายค่อนข้างน้อย หรือใช้เงินสำรองฉุกเฉินส่วนปกติมาช่วยได้ 
  • แต่หลายครั้งก็ต้องใช้กับค่ารักษาส่วนเกินจากประกันสุขภาพซึ่งอาจบานปลายได้ หรือ
  • ใช้เป็นค่ารับผิดส่วนแรก Deductible ที่ระบุชัดเจน หรือ
  • ใช้เป็นค่า Copayment ที่ต้องระวังว่าจะร่วมจ่ายมากจนเงินสำรองส่วนไม่พอ

กองที่ 2. เงินสำหรับเบี้ยประกันสุขภาพ :  

  • ควรใช้เพื่อป้องกันค่ารักษาของโรคที่มีค่าใช้จ่ายหลักหลายแสนถึงหลักหลายล้าน 
  • โรคที่คาดการณ์ค่าใช้จ่ายได้ยากและสามารถบานปลายได้
  • เพื่อจะได้ไม่ต้องกันหรือเตรียมเงินหลักล้านเอาไว้ โดยไม่รู้ว่าจะใช้ตอนไหนที่ทำให้เสียโอกาสทางการเงินอย่างมาก

กองที่ 3. เงินสำรองจ่ายค่ารักษาแล้วเคลมคืนกับประกัน :

  • ควรทยอยเตรียมไว้สำรองจ่ายตามเงื่อนไขการเคลมของบริษัทประกัน หรือ
  • ไว้จ่ายดอกเบี้ยสำหรับทำสินเชื่อระยะสั้นด้านค่ารักษาโดยตรง พอได้เงินเคลมก็มาชำระหนี้ได้ทันที
  • เงินกองนี้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการทำประกันสุขภาพ (ยิ่งทำมานาน 3-5 ปีขึ้นไป โอกาสสำรองจ่ายจะลดลงเรื่อย ๆ) แต่ทั้งนี้ต้องดูว่ามีเงื่อนไขสำรองจ่ายทุกกรณีในบางหมวดค่ารักษาผู้ป่วยนอกของบริษัทประกันนั้น ๆ หรือไม่

กองที่ 3+1. เงินลงทุนให้เติบโตเพื่อจ่ายเบี้ยตอนเกษียณ :

  • เงินส่วนนี้จะขึ้นอยู่กับว่าใช้วิธีแก้ไขเบี้ยประกันสุขภาพหลังเกษียณอย่างไร และ
  • ขึ้นอยู่กับว่าเน้นให้ประกันสุขภาพคุ้มครองถึงอายุเท่าไร เพราะตั้งแต่อายุ 86-98 ปี เบี้ยประกันสุขภาพรวมทั้งหมดจะสูงกว่าเบี้ยตั้งแต่อายุ 11-85 ปี จึงส่งผลต่อเงินกองนี้มากๆ
  • การเลือกใช้วิธีที่มีความยืดหยุ่นกว่า ประหยัดกว่า ลดหย่อนภาษีได้มากกว่า แน่นอนว่าเป็นวิธีที่ที่น่าสนใจที่สุด แต่ก็ต้องหาผู้แนะนำที่สามารถคำนวณวิธีการแก้ปัญหาลักษณะนี้ได้ด้วยเช่นกัน
  • ยิ่งอายุน้อยยิ่งเตรียมเงินส่วนนี้ได้น้อยลงและมีระยะเวลาที่นานมากขึ้นในการลดความผันผวนของกองทุนรวมต่างๆ  แต่ถ้าอายุมากขึ้น ก็จำเป็นต้องเตรียมเงินก้อนนี้มากยิ่งขึ้น หรือไม่ก็จำเป็นต้องเลื่อนอายุเกษียณออกไปอีก

รูปแบบการปรับสัดส่วนของเงิน 3+1 กองในแต่ละแบบประกันสุขภาพ

เงินทั้ง 3+1 กองนี้ สัดส่วนจะเน้นไปที่กองใด จะขึ้นอยู่กับแบบประกันสุขภาพที่เลือกดังนี้
(กอง1:ฉุกเฉินค่ารักษา, กอง2:เบี้ยปัจจุบัน, กอง3:สำรองจ่าย, กอง3+1:เบี้ยตอนเกษียณ) 

  • เน้นเฉพาะกอง 1 คือ ไม่ทำประกันสุขภาพ และพร้อมกันเงินหรือเตรียมเงินไว้รับภาระที่ไม่รู้จะเกิดขึ้นตอนไหนไว้เอง รวมถึงต้องทยอยเก็บเงินเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เผื่อค่ารักษาที่สูงขึ้นในอนาคต

  • เน้นกอง 1 มาก, กอง 2 น้อย, กอง 3 น้อย, กอง 3+1 น้อย คือ ทำประกันสุขภาพเฉพาะค่ารักษาส่วนเกินที่เลือก เช่น ค่ารักษาที่เกินกว่า 1 แสนขึ้นไป หรือทำเพื่อช่วยแบ่งเบาเงินสำรองฉุกเฉินเท่านั้น

  • เน้นกอง 1 กลาง กอง 2 กลาง กอง 3 กลาง กอง 3+1 กลาง คือ ทำประกันสุขภาพที่เน้นคุ้มครองค่ารักษาผู้ป่วยในกับผู้ป่วยนอกที่ร้ายแรงซึ่งคาดการณ์ค่าใช้จ่ายได้ยาก และพร้อมกันเงินสำรองฉุกเฉินสำหรับค่ารักษาผู้ป่วยนอกที่คาดการณ์ค่าใช้จ่ายได้ รวมไปถึงส่วนเกินค่าห้องในอนาคต 20-30 ปีข้างหน้า

  • เน้นกอง 1 น้อย กอง 2 มาก กอง 3 มาก กอง 3+1 มาก คือ ทำประกันสุขภาพที่รองรับเผื่อในอนาคต รวมไปถึงค่ารักษาผู้ป่วยนอกบางหมวดที่เน้นเพิ่มความสะดวกสบายในการเคลมแทนการจ่ายเงินสำรองฉุกเฉินเอง

  • เน้นเฉพาะกอง 2 กอง 3+1 มาก คือ เน้นทำประกันสุขภาพแผนสูงสุดจ่ายค่ารักษา OPD ตามจริงที่เบี้ยจะสูงอย่างมาก แต่ก็ทราบเบี้ยชัดเจนและลดโอกาสค่ารักษาบานปลายได้ เพราะคุ้มครองแทบทุกอย่างและรองรับกับในอนาคต

ซึ่งรูปแบบการแบ่งเงิน 3+1 กองนี้ ก็จะตรงกับวิธีการวางแผนใช้เครื่องมือทางการเงินแบบบูรณาการตามความเสี่ยงต่างๆ ในแต่ละช่วงชีวิตดังนี้

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

Share 0

Tweet 0

Share 0

❐ สามารถกดแร์เพื่อเก็บไว้อ่านภายหลังในยามว่างได้ค่ะ

จากวิธีการปรับสัดส่วนเงิน 3+1 กอง กับค่ารักษาผ่าตัดซับซ้อนและมะเร็งในปัจจุบันและอนาคต จึงทำให้มีการแบ่งกลุ่มประกันสุขภาพออกได้เป็น 6 กลุ่มดังต่อไปนี้

1.ตารางเปรียบเทียบประกันสุขภาพเน้นความคุ้มครองเฉลี่ย 5 ล้าน ค่าห้อง 3,000 บ. หรือ ค่าห้องเดี่ยวมาตรฐาน

1. สำหรับเป็นประกันสุขภาพที่คุ้มครองขั้นน้อยที่สุดในปัจจุบัน

หากปัจจุบันจัดการรายรับและรายจ่ายอย่างดีแล้ว แต่ยังพบว่ามีงบให้กับประกันสุขภาพไม่มากนัก และพร้อมที่จะเตรียมกันเงินสำรองฉุกเฉินจำนวนหลักแสนถึงล้านสำหรับเพื่อช่วยดูแลค่ารักษาร่วมกับประกันสุขภาพแล้ว การทำประกันแบบที่ 1 นี้ ก็เป็นทางเลือกที่จะน่าสนใจพอสมควร เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระแทนที่จะแบกรับเองไว้ทั้งหมด

เปรียบเทียบหมวดความคุ้มครอง

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

เปรียบเทียบเบี้ยประกัน (เฉพาะส่วนสัญญาประกันสุขภาพ)

เปรียบเทียบเหมาจ่ายรายปีหรือรายครั้ง 1-5 ล้าน ค่าห้อง 3,000 บ. หรือห้องเดี่ยวมาตรฐาน

❐  กราฟเบี้ยเพศชายเน้นความคุ้มครองเฉลี่ย 5 ล้าน ค่าห้อง 3,000 บ. พอช่วยคุ้มครองมะเร็งผู้ป่วยนอก

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

อายุก่อนเกษียณ

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

อายุหลังเกษียณ

❐  กราฟเบี้ยเพศหญิงเน้นความคุ้มครองเฉลี่ย 5 ล้าน ค่าห้อง 3,000 บ. พอช่วยคุ้มครองมะเร็งผู้ป่วยนอก

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

อายุก่อนเกษียณ

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

อายุหลังเกษียณ

บทวิเคราะห์และสรุปการเปรียบเทียบ

เปรียบเทียบเหมาจ่ายรายปีหรือรายครั้ง 1-5 ล้าน

[เน้นได้ความคุ้มครองรอบด้านแต่อาจไม่เพียงพอ VS เน้นเฉพาะผู้ป่วยในทั้งปัจจุบันและอนาคต]

❐  วัตถุประสงค์ 
- สามารถดูแลค่าผ่าตัดซับซ้อนได้เพียงพอในปัจจุบัน
- ดูแลค่ามะเร็งแบบผู้ป่วยใน 
- แบ่งเบาค่ารักษามะเร็งผู้ป่วยนอกได้บ้าง และไม่กลับมาเป็นมะเร็งซ้ำอีก
- แบ่งเบาค่าห้องได้บ้าง (เว้นแต่เป็นแบบค่าห้องเดี่ยวมาตรฐานที่ดูแลเพียงพอถึงอนาคต)

❐  แบบที่ 1 เน้นเฉพาะผู้ป่วยใน IPD วงเงินเหมามะเร็งผู้ป่วยนอก (วงเงินคุ้มครองรายปี)
- AIA AXA TL โดยแบบนี้จะเหมาจ่ายตามจริงเกือบทุกอย่าง เพียงแต่จะมีการจำกัดวงเงินในส่วนค่าห้อง ค่ายากลับบ้าน ค่าแพทย์ตรวจเยี่ยม เป็นต้น (แล้วแต่บริษัท) แต่ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยนอก (ที่รักษาต่อจากผู้ป่วยใน) รวมถึงค่าล้างไต ค่ารักษามะเร็ง ค่าอุบัติเหตุผู้ป่วยนอก ค่าเวชศาสตร์ฟื้นฟูผู้ป่วยนอก จะเป็นเหมาจ่ายตามจริงต่อปี (แต่ส่วนของค่ารักษามะเร็งอาจจะน้อยไปหน่อย)

❐  แบบที่ 2 มีค่ารักษาผู้ป่วยนอก OPD วงเงินเหมามะเร็งผู้ป่วยนอก (วงเงินคุ้มครองรายปี)
- FWD TM แบบนี้จะมีความความคุ้มครองพิเศษเพิ่มขึ้นมา คือ มีค่า OPD ต่อปีหลักพันให้ด้วย รวมถึงค่าอุปกรณ์หรืออวัยวะเทียมภายนอกร่างกาย แต่ก็ทำให้เบี้ยสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

❐ แบบที่ 3 เน้นเฉพาะผู้ป่วยใน IPD วงเงินแยกส่วนมะเร็งผู้ป่วยนอก (วงเงินคุ้มครองรายครั้ง)
- BLA HHealth กับ MTL DHealth  แบบนี้เน้นผู้ป่วยใน และสามารถรองรับได้ถึงค่าผ่าตัดซับซ้อนด้านหัวใจ สมอง และมะเร็งระยะแรกที่ยังใช้การผ่าตัดรักษาหรือต้องให้ยาเคมีบำบัดแบบผู้ป่วยในเป็นหลัก รวมไปถึงหมดความกังวลเรื่องค่าห้องทั้งในปัจจุบันและในอนาคต

❐ เห็นได้ชัดเจนว่าเป็นการ Trade off ที่เน้นให้ผู้เอาประกันเลือกระหว่าง
(1.) เน้นค่าห้องค่ารักษาผู้ป่วยในครอบคลุมถึงอนาคต >> BLA MTL
(2.) เน้นพอได้ครอบคลุมหรือแบ่งเบาค่ารักษามะเร็งผู้ป่วยนอกในปัจจุบัน >> AIA AXA TL
(3.) เน้นได้ค่าคุ้มครองส่วนเสริมพิเศษ >> FWD TM

❐ ด้วยวงเงินคุ้มครองที่ไม่สูงมาก ทำให้เบี้ยหลังเกษียณจะน้อยกว่าแบบที่มีวงเงินความคุ้มครองสูงกว่า เนื่องจากเลือกที่จะเน้นเพียงการแบ่งเบาในบางอย่าง หรือดูแลบางอย่างเท่านั้น

2.ตารางเปรียบเทียบประกันสุขภาพเน้นความคุ้มครองเริ่มต้น 6 ล้าน ค่าห้องเริ่มต้น 5,500 บ.

2. เน้นเป็นประกันสุขภาพที่ครอบคลุมมะเร็งและค่าห้องที่เพียงพอในปัจจุบัน

เป็นแผนประกันที่คุ้มครองสูงขึ้นอีกระดับหนึ่ง เพิ่มความมั่นใจว่าจะสามารถครอบคลุมค่ารักษามะเร็งได้ รวมไปถึงมีค่าห้องที่สูงมากขึ้น พร้อมหมวดความคุ้มครองที่เพิ่มมากขึ้น จึงทำให้มั่นใจว่าจะสามารถลดเงินสำรองฉุกเฉินที่ต้องเตรียมไว้สำหรับค่าห้องหรือค่ารักษามะเร็งในอนาคตได้

เปรียบเทียบหมวดความคุ้มครอง

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

เปรียบเทียบเบี้ยประกัน (เฉพาะส่วนสัญญาประกันสุขภาพ)

เปรียบเทียบเหมาจ่าย 6-20 ล้าน ค่าห้อง 5,500-10,000 บ.

[เน้นได้ความคุ้มครองเพียงพอถึงค่ารักษามะเร็ง และค่าห้องที่เพียงพอ]

❐  กราฟเบี้ยเพศชายเน้นความคุ้มครองเริ่มต้น 6 ล้าน ค่าห้องเริ่มต้น 5,500 บ. รับภัยมะเร็งในปัจจุบัน

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

อายุก่อนเกษียณ

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

อายุหลังเกษียณ

❐  กราฟเบี้ยเพศหญิงเน้นความคุ้มครองเริ่มต้น 6 ล้าน ค่าห้องเริ่มต้น 5,500 บ. รับภัยมะเร็งในปัจจุบัน

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

อายุก่อนเกษียณ

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

อายุหลังเกษียณ

บทวิเคราะห์และสรุปการเปรียบเทียบ

เปรียบเทียบเหมาจ่าย 6-20 ล้าน ค่าห้อง 5,500-10,000 บ.

[เน้นได้ความคุ้มครองเพียงพอถึงค่ารักษามะเร็ง และค่าห้องที่เพียงพอ]

❐  แบบที่ 1 วงเงิน 15 ล้าน +ค่าห้อง 6,000 -ไม่มีค่า OPD -ไม่มีค่าคุ้มครองพิเศษ
- ซึ่งจะเหมือนแบบก่อนหน้า เพียงแต่อัพค่าห้องเพิ่มเล็กน้อย. และเพิ่มวงเงินคุ้มครองให้สูงเพียงพอกับค่ารักษามะเร็งผู้ป่วยนอก 
- AIA จะไม่มีความคุ้มครองพิเศษ แต่ให้ค่าเวชศาสตร์ฟื้นฟูผู้ป่วยนอก และวงเงินเบิ้ลสำหรับโรคร้าย
- TL จะไม่มีความคุ้มครองพิเศษ แต่ให้ค่าเวชศาสตร์ฟื้นฟูผู้ป่วยนอก และสามารถเลือกแบบ Deductible ได้

❐  แบบที่ 2 วงเงิน 10-20 ล้าน +ค่าห้อง 8,000-10,000 -ไม่มีค่า OPD +มีค่าคุ้มครองพิเศษ
- แบบนี้จะเน้นผู้ป่วยในและรักษามะเร็งผู้ป่วยนอกเป็นหลัก
- BLA จะเพิ่มความคุ้มครองพิเศษ คือ ค่าพยาบาลส่วนตัวจ่ายตามจริง ค่าอรรถบำบัด และ ค่าฉายภาพขั้นสูงผู้ป่วยนอกโดยไม่ต้องแอดมิต (MRI CT PET - จำเป็นสำหรับติดตามอาการมะเร็งที่ปัจจุบันค่าใช้จ่ายสูงถึง 3-8 หมื่นบาทต่อครั้งและมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ)  และ ค่าอวัยวะเทียมภายนอก
- MTL จะเพิ่มความคุ้มครองพิเศษค่าห้องเดี่ยวมาตรฐาน ค่าเวชศาสตร์ฟื้นฟูผู้ป่วยนอก ค่าเคลื่อนย้านฉุกเฉิน S.O.S.

❐  แบบที่ 3 วงเงิน 6-15 ล้าน +ค่าห้อง 5,500up +มีค่า OPD +มีค่าคุ้มครองพิเศษ
- แบบนี้จะมองว่าให้ค่าห้องที่เพิ่มขึ้นมาแล้ว ก็ควรมีค่า OPD และ Option เสริมพิเศษอื่น ๆ ให้มาด้วย
- AXA FWD จะมีค่าโรคแทรกซ้อนการตั้งครรภ์ให้มาด้วย
- TM จะเน้นค่าอุปกรณ์เทียม และค่าเตียงเสริมและ ตรวจร่างกายฉีดวัคซีน ค่าพยาบาลส่วนตัว


❐  ถ้าเน้นเฉพาะปัจจุบันอย่างเดียว TL จะเป็นหนึ่งในทางเลือกที่น่าสนใจมากของกลุ่มนี้ ด้วยเบี้ยที่ประหยัดกว่า ค่าห้องที่ยังเพียงพอในปัจจุบันสำหรับ รพ.เอกชนขนาดกลาง แต่ก็ต้องแลกมากับการต้องเตรียมเงินฉุกเฉินสำหรับหมวดความคุ้มครองพิเศษที่จำเป็นต่าง ๆ และส่วนเกินค่าห้องในปัจจุบันและอนาคต รวมไปถึงเงินฉุกเฉินค่า Deductible (หากต้องการ) ที่คาดการณ์จำนวนเงินที่ควรเตรียมกันไว้ได้ยาก ซึ่งหากพิจารณาทั้งหมดนี้ร่วมด้วยจะทำให้ BLA ดูน่าสนใจมากขึ้น แต่ด้วยวงเงิน 10 ล้านกับค่าห้อง 8,000 บ. ก็ยังอาจดูน้อยสำหรับค่ารักษามะเร็งและค่าห้องในอนาคต

❐  จะสังเกตได้ว่าแบบที่ไม่มีทั้ง OPD ทั้งความคุ้มครองพิเศษ และยังสามารถจ่ายรับผิดส่วนแรกได้นั้น  จะเป็นแบบที่ควรต้องเตรียมเงินสำรองฉุกเฉินสำหรับค่ารักษาไว้สูงที่สุด ในขณะที่แบบที่มีทั้ง OPD และทั้งค่าคุ้มครองพิเศษ จะสามารถเตรียมเงินสำรองได้น้อยลงแต่ก็แลกมากับเบี้ยที่สูงมากขึ้นดังกราฟที่ผ่านมา

❐  ดังนั้นการจะเลือกว่าควรจะเตรียมเงินสำรองฉุกเฉินอย่างไรดี ให้พิจารณาว่าภัยที่ไม่มีในแบบประกันนั้น ๆ มีค่าใช้จ่ายคาดการณ์ได้ประมาณเท่าใดก็จะช่วยให้เตรียมเงินส่วนนี้เพื่อรับภัยเองได้ หรือ

❐  ถ้าเป็นภัยที่คาดการณ์งบประมาณได้ค่อนข้างยาก อย่างค่าส่วนเกินค่าห้องในอนาคต หรือเป็นภัยที่เฉลี่ยรับความเสี่ยงกับคนจำนวนมากได้  อย่างค่าพยาบาลส่วนตัวกับค่าฉายภาพขั้นสูง การเลือกที่จะจ่ายเบี้ยเพิ่มขึ้นก็จะรู้งบประมาณและคำนวณเตรียมการวางแผนการลงทุนได้ง่ายกว่า การคำนวณเตรียมกันเงินสำรองฉุกเฉินที่จะรับภัยไว้เอง

❐ เบี้ยก่อนเกษียณจะแตกต่างกันค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับเบี้ยหลังเกษียณ ซึ่งจะส่งผลต่อการเตรียมเงินสำหรับเบี้ยหลังเกษียณได้โดยตรง รวมไปถึงการเตรียมเงินสำรองฉุกเฉินที่จำเป็นต้องคำนึงถึงควบคู่ไปกับเบี้ยประกันสุขภาพด้วย

แบบประกันสุขภาพความคุ้มครองสูงสุดที่ยังเลือกไม่เอา OPD ได้

3.ตารางเปรียบเทียบประกันสุขภาพเน้นความคุ้มครอง 12-30 ล้าน ค่าห้อง 8,000 - 12,000 บ.

3. เน้นเป็นประกันสุขภาพที่ครอบคลุมถึงมะเร็งและค่าห้องทั้งในปัจจุบันและอนาคต

ประกันสุขภาพกลุ่มนี้จะมีวงเงินที่สูงมากขึ้น รวมไปถึงค่าห้องที่มากขึ้น และจะเป็นประกันกลุ่มสุดท้ายที่จะยังมีบางแบบประกันที่ไม่มีค่ารักษาผู้ป่วยนอก OPD หรือ ไม่มีค่าคุ้มครองพิเศษต่าง ๆ จึงทำให้เบี้ยประกันอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสมเหตุสมผลที่สุดกลุ่มหนึ่ง

เปรียบเทียบหมวดความคุ้มครอง

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

เปรียบเทียบเบี้ยประกัน (เฉพาะส่วนสัญญาประกันสุขภาพ)

เปรียบเทียบเหมาจ่าย 12-30 ล้าน ค่าห้อง 8,000 - 12,000 บ.

[เน้นได้ความคุ้มครองเพียงพอถึงค่ารักษามะเร็ง และค่าห้องในอนาคต]

❐  กราฟเบี้ยเพศชายเน้นความคุ้มครอง 12-30 ล้าน ค่าห้อง 8,000 - 12,000 บ. รับภัยมะเร็งปัจจุบันและอนาคต

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

อายุก่อนเกษียณ

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

อายุหลังเกษียณ

❐  กราฟเบี้ยเพศหญิงเน้นความคุ้มครอง 12-30 ล้าน ค่าห้อง 8,000 - 12,000 บ. รับภัยมะเร็งปัจจุบันและอนาคต

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

อายุก่อนเกษียณ

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

อายุหลังเกษียณ

บทวิเคราะห์และสรุปการเปรียบเทียบ

เปรียบเทียบเหมาจ่าย 12-30 ล้าน ค่าห้อง 8,000 - 12,000 บ.

[เน้นได้ความคุ้มครองเพียงพอถึงค่ารักษามะเร็ง และค่าห้องในอนาคต]

❐  แบบที่ 1 วงเงิน 30 ล้าน +ค่าห้อง 12,000 -ไม่มีค่า OPD -ไม่มีค่าคุ้มครองพิเศษ
- อัพค่าห้องเพิ่มขึ้น และเพิ่มวงเงินคุ้มครองให้สูงเพียงพอกับค่ารักษามะเร็งผู้ป่วยนอกในอนาคต
- TL จะไม่มีความคุ้มครองพิเศษ แต่ให้ค่าเวชศาสตร์ฟื้นฟูผู้ป่วยนอก และสามารถเลือกแบบ Deductible ได้ จึงทำให้เบี้ยประกันลดลงได้อีก แต่ก็ต้องแลกมากับการวางแผนเงินฉุกเฉินของ Deductible ที่ไม่ทราบจำนวนครั้งที่จะเข้านอน รพ. จึงทำให้วางแผนเตรียมเงินฉุกเฉินจากการลงทุนค่อนข้างยากกว่าแบบรู้งบประมาณเบี้ยชัดเจนของแบบประกันปกติ

❐  แบบที่ 2 วงเงิน 20-30 ล้าน +ค่าห้อง 10,000-10,000 -ไม่มีค่า OPD +มีค่าคุ้มครองพิเศษ
- อัพค่าห้องเพิ่มขึ้น และเพิ่มวงเงินคุ้มครองให้สูงเพียงพอกับค่ารักษามะเร็งผู้ป่วยนอกในอนาคต
- BLA จะเพิ่มความคุ้มครองพิเศษ คือ ค่าพยาบาลส่วนตัวจ่ายตามจริง ค่าอรรถบำบัด และ ค่าฉายภาพขั้นสูงผู้ป่วยนอกโดยไม่ต้องแอดมิต (MRI CT PET - จำเป็นสำหรับติดตามอาการมะเร็งค่าใช้จ่ายสูง 3-8 หมื่นบาทต่อครั้ง ที่เกินวงเงิน OPD ของแบบประกันที่มี OPD ไปมาก)  และ ค่าอวัยวะเทียมภายนอก
- MTL จะเพิ่มความคุ้มครองพิเศษค่าฉายภาพขั้นสูงแบบสำรองจ่าย ค่าห้องเดี่ยวมาตรฐาน ค่าเวชศาสตร์ฟื้นฟูผู้ป่วยนอก ค่าเคลื่อนย้ายฉุกเฉิน รพ.ต่อ รพ. S.O.S.

❐  แบบที่ 3 วงเงิน 12-25 ล้าน +ค่าห้อง 8,000-10,000 +มีค่า OPD +มีค่าคุ้มครองพิเศษ
- อัพค่าห้องเพิ่มขึ้น เพิ่มวงเงินคุ้มครองให้สูงมากขึ้น รวมถึงเพิ่มค่า OPD มากกว่าเดิม (แต่ยังไม่เพียงพอกับค่าฉายภาพขั้นสูง) และเพิ่มคุ้มครองพิเศษบางหมวด
- AIA มี OPD รายครั้งครั้งละ 2,500 บ. ให้ค่าเวชศาสตร์ฟื้นฟูผู้ป่วยนอก และวงเงินเบิ้ลสำหรับโรคร้าย
- AXA FWD จะมีค่าโรคแทรกซ้อนการตั้งครรภ์ และ มีวงเงิน OPD ให้ที่ 12,000 บ. กับ 18,000 บ. ต่อปี
- TM จะเน้นค่าอุปกรณ์เทียมภายนอกต่อปี และค่าเตียงเสริมและตรวจร่างกายฉีดวัคซีน ค่าพยาบาลส่วนตัว 8,000 บ.ต่อวัน และค่า OPD ที่ 15,000 บ.ต่อปี


❐  แบบประกันกลุ่มนี้จะคล้ายกับแบบประกันกลุ่มก่อนหน้าพอสมควร เพียงแต่อัพเกรดความคุ้มครองให้สูงขึ้นเพื่อรองรับกับเงินเฟ้อของค่ารักษาในอนาคต โดยเฉพาะของ BLA ที่แบบ 10 ล้านกับ แบบ 30 ล้าน เบี้ยต่างกันไม่มาก จึงทำให้ BLA 30 ล้าน เป็นหนึ่งในแผนที่น่าสนใจที่สุดแผนหนึ่งในกลุ่มนี้ ที่ยังสามารถเลือกไม่เอา OPD ได้ โดยยังให้ค่าห้องที่สูง วงเงินคุ้มครองสูง และมีความคุ้มครองพิเศษที่จำเป็นมาให้ครบถ้วน แต่ถ้าตัดเรื่องความคุ้มครองพิเศษที่จำเป็นออกไป และยินดีที่จะเตรียมกันเงินฉุกเฉินไว้หลักแสนขึ้นไปเอง ของ TL ที่เน้นเฉพาะความคุ้มครอง 13 หมวดพื้นฐานก็จะดูน่าสนใจมากเช่นกัน หรือหากกังวลเรื่องค่าห้อง MTL ก็เป็นทางออกที่ดี

❐  ด้วยวงเงินที่มากขึ้น ค่าห้องที่สูงขึ้น รวมถึงความคุ้มครองพิเศษที่เพิ่มขึ้น จึงทำให้เบี้ยประกันทุกบริษัทเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด (เมื่อเอา MTL ที่ยังเป็นแผน 20 ล้านแบบเดิมตามกลุ่มก่อนหน้าเป็นเกณฑ์) แต่จะมีเพียง BLA ที่แม้จะอัพวงเงินเพิ่มเป็น 30 ล้านกับค่าห้องที่สูงขึ้นอีก 2,000 บ. แต่เบี้ยก็ไม่ต่างกับแผน 10 ล้านมากนัก ในขณะที่ TL เบี้ยสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดโดยเฉพาะเบี้ยตอนเกษียณด้วยค่าห้องที่สูงขึ้นกว่า 2 เท่า คือจาก 6,000 บ. มาเป็น 12,000 บ.

❐  ดังนั้นการจะตัดสินใจว่าจะเลือกระหว่างแบบประกันกลุ่มที่แล้วหรือกลุ่มนี้ดี จะจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพิจารณาถึงสถิติค่ารักษาที่เพิ่มขึ้นประมาณ 8%ต่อปี เป็นตัวช่วยตัดสินใจด้วย และต้องพิจารณาว่าระหว่างยอมจ่ายเบี้ยเพิ่มขึ้นกับต้องเตรียมกันเงินสำรองฉุกเฉินเพิ่มขึ้น อะไรจะดีกว่ากันในการวางแผนการเงิน

❐ ซึ่งแน่นอนว่าหากมองในแง่มุมของการทราบตารางเบี้ยล่วงหน้าหรือก็คือการทราบงบประมาณล่วงหน้า ย่อมช่วยให้สามารถคำนวณว่าควรเก็บเงินเท่าใดในเครื่องมือการเงินใดสำหรับเบี้ยหลังเกษียณ ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบสำคัญที่ทำให้การจ่ายเบี้ยตอนเกษียณสามารถคำนวณได้ แตกต่างกับเงินสำรองฉุกเฉินที่ค่อนข้างจะคำนวณได้ยากกว่ามาก

4.ตารางเปรียบเทียบประกันสุขภาพเน้นความคุ้มครอง 30-60 ล้าน ค่าห้อง 12,000 บ.

4. เน้นเป็นประกันสุขภาพที่ครอบคลุมถึงอนาคต และลดการเตรียมเงินสำรองฉุกเฉินได้ในระดับหนึ่ง

แบบประกันกลุ่มนี้ทุกแบบจะให้ค่าห้องมาค่อนข้างสูง และมีค่ารักษาผู้ป่วยนอก OPD มาให้ด้วย ที่จำนวนค่อนข้างเพียงพอหรือจ่ายส่วนเกินไม่มากกับการรักษาผู้ป้วยนอกทั่วไป รวมไปถึงค่าคุ้มครองพิเศษต่าง ๆ ที่เริ่มมีมากขึ้นกว่าเดิม จึงทำให้สามารถลดการกันเงินสำรองฉุกเฉินสำหรับค่ารักษาลงไปได้พอสมควร


เปรียบเทียบหมวดความคุ้มครอง

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

เปรียบเทียบเบี้ยประกัน (เฉพาะส่วนสัญญาประกันสุขภาพ)

เปรียบเทียบเหมาจ่าย 30-60 ล้าน ค่าห้อง 12,000 บ.

[เน้นความคุ้มครองสูง สะดวกสบายทั้งในปัจจุบันและอนาคต]

❐  กราฟเบี้ยเพศชายเน้นความคุ้มครอง 30-60 ล้าน ค่าห้องเริ่มต้น 12,000 บ.

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

อายุก่อนเกษียณ

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

อายุหลังเกษียณ

❐  กราฟเบี้ยเพศหญิงเน้นความคุ้มครอง 30-60 ล้าน ค่าห้องเริ่มต้น 12,000 บ.

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

อายุก่อนเกษียณ

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

อายุหลังเกษียณ

บทวิเคราะห์และสรุปการเปรียบเทียบ

เปรียบเทียบเหมาจ่าย 30-60 ล้าน ค่าห้อง 12,000 บ.

[เน้นความคุ้มครองสูง สะดวกสบายทั้งในปัจจุบันและอนาคต]

❐  แบบที่ 1 ไม่เน้นคุ้มครองภัยพิเศษที่อาจจงใจให้เกิดขึ้นได้ หรือเกิดขึ้นได้ง่าย
- AIA มีค่าอุปกรณ์เทียมภายนอกแบบรายปี ค่า OPD ที่ค่อนสูงมาก โดยสามารถใช้ร่วมกันได้ทั้ง เวชศาสตร์ฟื้นฟูผู้ป่วยนอกและกายภาพบำบัด
- BLA ยังคงมีความคุ้มครองพิเศษอื่น ๆ ทั้งค่าพยาบาลส่วนตัวจ่ายตามจริง ค่าอรรถบำบัด  ค่าฉายภาพขั้นสูงผู้ป่วยนอกโดยไม่ต้องแอดมิต (MRI CT PET) ค่าอวัยวะเทียมภายนอก และค่า OPD โดยแยกค่ากายภาพบำบัดฝังเข็มและเวชศาสตร์ฟื้นฟูผู้ป่วยนอกออกมาเป็นอีกวงเงิน
- MTL เพิ่มค่าพยาบาลส่วนตัววงเงินจำกัด ค่าอรรถบำบัด  ค่าฉายภาพขั้นสูงผู้ป่วยนอกโดยไม่ต้องแอดมิต (MRI CT PET) ค่าอวัยวะเทียมภายนอก ค่า OPD นอกเหนือจากเวชศาสตร์ฟื้นฟูผู้ป่วยนอกที่มีอยู่แล้ว

❐  แบบที่ 2 มีคุ้มครองภัยที่เกิดขึ้นได้ง่าย หรือ จงใจให้เกิดขึ้นได้บ้าง 
- FWD ให้วงเงิน OPD สูงที่สุดและแยกจากค่าเวชศาสตร์ฟื้นฟูผู้ป่วยนอก ทั้งยังมีค่าแพทย์ทางเลือกมาให้ พร้อมจัดเต็มความคุ้มครองพิเศษทั้ง ค่าสายตา ทำฟัน ทำคลอด จิตเวช ตรวจสุขภาพ ฉีดวัคซีน
- TM เพิ่มวงเงิน OPD ที่มากขึ้นยังคงสามารถนำวงเงินนี้ไปใช้ฉีดวัคซีนหรือตรวจสุขภาพได้เหมือนเดิม และเพิ่มวงเงินค่าพยาบาลส่วนตัว ค่าเตียงเสริมและค่าอุปกรณ์เทียมภายนอกกาย

❐  ด้วยบริษัทต่าง ๆ มองว่าแบบประกันกลุ่มนี้ จะเน้นตลาดระดับกลางบน จึงเริ่มใส่ความคุ้มครองพิเศษ ค่าห้องและค่า OPD ที่เพิ่มมากขึ้น จึงทำให้เบี้ยประกันเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะในแบบประกันที่มีความคุ้มครองพิเศษมาให้จำนวนมาก

❐  ดังนั้นการจะตัดสินใจเลือกแบบประกันในกลุ่มนี้ จะจำเป็นต้องพิจารณาเรื่องเงินสำรองฉุกเฉิน กับความคุ้มครองพิเศษที่สามารถเฉลี่ยภัยกับคนจำนวนมากได้ให้ดี ว่าแบบใดจะสามารถคุ้มค่าและเหมาะสมกับครอบครัวมากกว่ากัน

❐ และสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือ การจัดการเบี้ยหลังเกษียณที่จะสูงขึ้นอย่างมาก ซึ่งถ้าหากใช้เงินที่หามาได้จากการทำงานมาจ่ายเบี้ยส่วนนี้ ก็ดูจะเป็นเงินจำนวนมากพอสมควร แต่ถ้าใช้เงินที่เติบโตขึ้นมาเองตามแผนที่วางไว้ โดยเฉพาะตั้งแต่อายุยังน้อย แบบประกันกลุ่มนี้ก็ดูจะน่าสนใจขึ้นมาพอสมควร

5.ตารางเปรียบเทียบประกันสุขภาพเน้นความคุ้มครอง 40 - 80 ล้าน ค่าห้อง 12,000-15,000 บ.

5. เน้นเป็นประกันสุขภาพที่ครอบคลุมถึงอนาคต และลดการเตรียมเงินสำรองฉุกเฉินไปได้มาก

แบบประกันกลุ่มนี้จะเป็นการอัพเกรดเพิ่มเติมจากกลุ่มที่แล้ว โดยเน้นเพิ่มวงเงินที่มากขึ้นทั่งค่า OPD ค่าห้อง และค่าความคุ้มครองพิเศษต่าง ๆ

เปรียบเทียบหมวดความคุ้มครอง

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

เปรียบเทียบเบี้ยประกัน (เฉพาะส่วนสัญญาประกันสุขภาพ)

เปรียบเทียบเหมาจ่าย 40-80 ล้าน ค่าห้อง 12,000-15,000 บ.

[เน้นความคุ้มครองสูง สะดวกสบายทั้งในปัจจุบันและอนาคต]

❐  กราฟเบี้ยเพศชายเน้นความคุ้มครอง 40-80 ล้าน ค่าห้อง 12,000-15,000 บ.

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

อายุก่อนเกษียณ

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

อายุหลังเกษียณ

❐  กราฟเบี้ยเพศหญิงเน้นความคุ้มครอง 40-80 ล้าน ค่าห้อง 12,000-15,000 บ.

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

อายุก่อนเกษียณ

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

อายุหลังเกษียณ

บทวิเคราะห์และสรุปการเปรียบเทียบ

เปรียบเทียบเหมาจ่าย 40-80 ล้าน ค่าห้อง 12,000-15,000 บ.

[เน้นความคุ้มครองสูง สะดวกสบายทั้งในปัจจุบันและอนาคต]

❐  แบบที่ 1 ไม่เน้นคุ้มครองภัยที่จงใจให้เกิดขึ้นได้ หรือ เกิดขึ้นได้ง่าย 
- AIA เป็นแบบเดิมกับกลุ่มที่แล้ว
- BLA เพิ่มวงเงินความคุ้มครอง ค่าห้อง ค่า OPD ค่าอวัยวะเทียมภายนอก ค่าเวชศาสตร์ ค่ากายภาพบำบัด และค่าฝังเข็ม
- MTL เพิ่มวงเงินความคุ้มครอง ค่าห้อง ค่าพยาบาลส่วนตัว ค่าอวัยวะเทียมภายนอก ค่า OPD ค่ากายภาพบำบัด ค่าฝังเข็ม ค่าจิตเวช

❐  แบบที่ 2 มีคุ้มครองภัยที่เกิดขึ้นได้ง่าย หรือ จงใจให้เกิดขึ้นได้บ้าง
- AXA เพิ่มวงเงินความคุ้มครอง ค่าห้อง ค่า OPD สูงสุดในกลุ่ม ค่ากายภาพบำบัด ค่าฝังเข็ม ค่าทำฟัน ค่าจิตเวช ค่าหออภิบาลบุตร
- FWD เป็นแบบเดิมกับกลุ่มที่แล้ว โดยยังมีค่า OPD ค่าจิตเวชที่สูงสุดในกลุ่มเหมือนเดิม
- TM เพิ่มวงเงิน OPD ที่มากขึ้น (แต่น้อยสุดในกลุ่ม) ยังคงสามารถนำวงเงินนี้ไปใช้ฉีดวัคซีนหรือตรวจสุขภาพได้เหมือนเดิม และเพิ่มวงเงินค่าพยาบาลส่วนตัว ค่าเตียงเสริมและค่าอุปกรณ์เทียมภายนอกกาย

❐  ตารางเบี้ยจะสะท้อนตามลำดับของวงเงิน (1)ค่า OPD (2)ค่าคุ้มครองพิเศษ (3)ค่าจิตเวช (4)ค่าห้อง และ (5)วงเงินคุ้มครอง อย่างชัดเจน

❐  ดังนั้นการจะตัดสินใจเลือกแบบประกันในกลุ่มนี้ จะยังคงจำเป็นต้องพิจารณาเรื่องเงินสำรองฉุกเฉิน กับความคุ้มครองพิเศษที่ต้องจ่ายเบี้ยสูงขึ้นมาก ว่าแบบใดจะสามารถคุ้มค่าและเหมาะสมกับครอบครัวมากกว่ากัน

❐ รวมไปถึงการจัดการเบี้ยหลังเกษียณที่จะสูงขึ้นอย่างมาก แต่ถ้าหากผู้ปกครองเตรียมการวางแผนการลงทุนให้ลูกตั้งแต่เด็กก็มีโอกาสสูงที่ลูก ๆ จะสามารถมีสวัสดิการสุขภาพที่เพรียบพร้อม โดยประหยัดเบี้ยไปได้พอสมควร 

❐ ต้องเริ่มพิจารณาว่ามีแบบประกันใดที่ให้ความคุ้มครองภัยเกินเบี้ยที่จ่ายไปได้ในคนทำประกันจำนวนมาก หรือเจตนาให้เกิดภัยขึ้นได้หรือไม่ เพราะจะนำไปสู่โอกาสการถูกปรับเบี้ยเพิ่มทั้งแบบประกันภายในอนาคต หรือ อาจถูกให้มีการ Copayment รายบุคคลได้ โดยบางบริษัทเริ่มแก้ปัญหานี้โดยให้สำรองจ่ายในหมวดความคุ้มครองที่ระบุความจำเป็นทางการแพทย์ได้ยากหรือมีค่าใช้จ่ายสูงในทุกกรณี เพื่อชะลอการเคลมสินไหมเกินความจำเป็นและต้องคิดทุกครั้งเพราะต้องสำรองจ่ายเองไปก่อน

❐ นโยบายการสำรองจ่ายทุกกรณีนี่เอง ที่ได้นำไปสู่ปัญหาสำคัญคือ การต้องตั้งงบสำรองฉุกเฉินแบบเบิกเคลมคืนได้ขึ้นมา ร่วมกับเงินสำรองฉุกเฉินแบบใช้แล้วหมดไป กับงบประมาณค่าเบี้ยประกันตามปกติ

6.ตารางเปรียบเทียบประกันสุขภาพเน้นความคุ้มครอง 100 ล้าน ค่าห้อง 21,000-25,000 บ.

6. เน้นเป็นประกันสุขภาพที่ครอบคลุมถึงอนาคต และลดการกันเงินสำรองฉุกเฉินไปได้มากที่สุด

แบบประกันกลุ่มนี้จะเป็นแบบที่ทุกบริษัทเน้นทำขึ้นมาสำหรับตลาดระดับบนโดยเฉพาะ ซึ่งจะมีเบี้ยที่ฉีกตัวออกมาจากแบบประกันกลุ่มที่แล้วอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากมักให้ค่ารักษาผู้นอก OPD มาแบบจ่ายตามจริง


เปรียบเทียบหมวดความคุ้มครอง

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

เปรียบเทียบเบี้ยประกัน (เฉพาะส่วนสัญญาประกันสุขภาพ)

เปรียบเทียบเหมาจ่าย 100-120 ล้าน ค่าห้อง 21,000-25,000 บ.

[เน้นความคุ้มครองสูง สะดวกสบายตลอดชีวิต]

❐  กราฟเบี้ยเพศชายเน้นความคุ้มครองเริ่มต้น 100 ล้าน ค่าห้อง 21,000-25,000 บ.

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

อายุก่อนเกษียณ

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

อายุหลังเกษียณ

❐  กราฟเบี้ยเพศหญิงเน้นความคุ้มครองเริ่มต้น 100 ล้าน ค่าห้อง 21,000-25,000 บ.

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

อายุก่อนเกษียณ

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

อายุหลังเกษียณ

บทวิเคราะห์และสรุปการเปรียบเทียบ

เปรียบเทียบเหมาจ่าย 100-120 ล้าน ค่าห้อง 21,000-25,000 บ.

[เน้นความคุ้มครองสูง สะดวกสบายตลอดชีวิต]

❐  แบบที่ 1 ไม่เน้นคุ้มครองภัยที่จงใจให้เกิดขึ้นได้ หรือเกิดขึ้นได้ง่าย 
- BLA เพิ่มวงเงินความคุ้มครอง ค่าห้อง ค่า OPD แบบจ่ายตามจริง ค่าอวัยวะเทียมภายนอก ค่าเวชศาสตร์ ค่ากายภาพบำบัด และค่าฝังเข็ม
- MTL เพิ่มวงเงินความคุ้มครอง ค่าห้อง ค่าพยาบาลส่วนตัว ค่าอวัยวะเทียมภายนอก ค่า OPD แบบจ่ายตามจริง ค่ากายภาพบำบัดจ่ายตามจริง ค่าฝังเข็ม ค่าจิตเวช

❐  แบบที่ 2 มีคุ้มครองภัยที่เกิดขึ้นได้ง่าย หรือ จงใจให้เกิดขึ้นได้บ้าง
- AIA เพิ่มวงเงินความคุ้มครอง ค่าห้อง ค่าอุปกรณ์ภายนอกต่อปี เพิ่มค่า OPD (ไม่ได้เป็นแบบจ่ายตามจริง) รวมไปถึงเพิ่มความคุ้มครองค่าตรวจสุขภาพ ทำฟัน และฉีดวัคซีน
- AXA เพิ่มวงเงินความคุ้มครอง ค่าห้อง ค่า OPD แบบจ่ายตามจริง ค่ากายภาพบำบัดจ่ายตามจริง ค่าฝังเข็ม ค่าทำฟัน ค่าหออภิบาลบุตร ค่าจิตเวชที่ให้สูงที่สุด และเพิ่มค่าทำคลอดเข้ามา
- FWD เพิ่มวงเงินความคุ้มครอง ค่าห้อง ค่า OPD แบบจ่ายตามจริง ค่าแพทย์ทางเลือก ค่าทำฟัน ค่าจิตเวชที่ให้สูงที่สุด และเพิ่มค่าทำคลอดเข้ามา
- TM เพิ่มวงเงิน OPD ที่มากขึ้น (แต่ยังน้อยสุดในกลุ่ม) สามารถนำวงเงินนี้ไปใช้ฉีดวัคซีนหรือตรวจสุขภาพได้เหมือนเดิม และเพิ่มวงเงินค่าพยาบาลส่วนตัว ค่าเตียงเสริมและค่าอุปกรณ์เทียมภายนอกกาย

❐  OPDจ่ายตามจริง ค่าทำคลอด จะสะท้อนให้เห็นชัดเจนว่าเบี้ยของเพศหญิงจะสูงกว่าเพศชาย และจะเริ่มมีความใกล้เคียงกันมากขึ้นในช่วงหลังเกษียณที่ค่าทำคลอดไม่มีผลแล้ว

❐  การเหมาจ่ายตามจริงค่า OPD จะมีเฉพาะ AXA BLA FWD MTL ที่จะทำให้เห็นถึงความกล้าของแต่ละบริษัทประกันว่า พร้อมจะดูแลจัดสรรเงินของภัยที่เฉลี่ยความเสี่ยงกับผู้อื่นได้ยากอย่างไรบ้าง เพราะหากคำนวณเบี้ยน้อยเกินไปก็จะกลายเป็นช่องโหว่ของเงินกองกลางของผู้ทำประกันทุกคนได้ หรือถ้าเบี้ยมากเกินไปก็อาจจะทำให้คนไม่เลือกแบบประกันนี้ได้เช่นกัน

❐  ต้องยอมรับว่าแบบประกันกลุ่มนี้นั้นเบี้ยสูงขึ้นมหาศาล ซึ่งเบี้ยจะเกินจากสถิติการใช้งานจริงไปค่อนข้างไกลมาก และหมวดคุ้มครองพิเศษบางอย่างก็เป็นช่องโหว่ที่น่ากลัวในตอนอายุยังน้อย เช่น ค่ารักษาด้านจิตเวช แต่หลังเกษียณอาจไม่ใช่ปัญหาใหญ่ เพราะเก็บเบี้ยเกินความคุ้มครองพิเศษไปพอสมควรแล้วอย่างแน่นอน

❐  การตัดสินใจเลือกแบบประกันในกลุ่มนี้ จึงเหมาะกับตลาดระดับบนจริง ๆ ที่เรื่องเบี้ยไม่ใช่ปัญหาแต่ต้องการรู้งบประมาณที่ต้องใช้จ่ายจริง ๆ ดังนั้นจึงไม่แปลกที่จะเลือกแบบประกันของบริษัทที่ให้ความคุ้มครองมากที่สุดต่อเบี้ยที่จ่ายไป แต่ก็จำเป็นต้องดูแนวโน้มว่าบริษัทให้มากแบบนี้ในตอนแรกเพื่อจะมาเพิ่มเบี้ยในตอนหลังหรือไม่ (เบี้ยน้อยสุดไม่ได้ดีที่สุดเสมอไป)

❐  ในส่วนการจัดการเบี้ยหลังเกษียณที่จะสูงขึ้นอย่างมากนั้น ยังคงเหมาะกับผู้ปกครองที่มีเงินก้อนในการเตรียมการให้ลูกตั้งแต่เด็ก ๆ ซึ่งถ้าหากวางแผนให้เงินก้อนนั้นเติบโตอย่างโดยแผนสำรองอย่างดี ก็จะสามารถทำให้ลูก ๆ ได้สวัสดิการด้านสุขภาพที่ดีที่สุดไปตลอดชีวิตของลูกได้ ไม่ใช่เพียงแค่ตลอดชีวิตของผู้ปกครองเท่านั้น

บทสรุปหลังการเปรียบเทียบ

ประกันสุขภาพทั้ง 6 กลุ่มจะสามารถสรุปแนวทางการจัดการเงินค่ารักษาต่าง ๆ ได้ดังต่อไปนี้

กลุ่ม 1. เบี้ยน้อยสุด ควรต้องเตรียมเงินสำรองฉุกเฉินแบบใช้แล้วหมดไปไว้หลักล้านหรือทำประกันมะเร็งเพิ่ม รวมถึงการเตรียมเงินส่วนเกินค่าห้องไว้ให้เพียงพอในปัจจุบันและโดยเฉพาะในอนาคต

(1.) เน้นค่าห้องครอบคลุมถึงอนาคต >> BLA MTL
(2.) เน้นแบ่งเบาค่ารักษามะเร็งOPD >> AXA TL AIA
(3.) เน้นค่าคุ้มครอง OPD >> TM FWD

กลุ่ม 2. เบี้ยน้อย เน้นเพียงพอกับมะเร็ง แต่ควรเตรียมเงินสำรองฉุกเฉินใช้แล้วหมดไปหลักแสนขึ้นไปสำหรับค่าฉายภาพขั้นสูง(หากไม่คุ้มครอง) กับส่วนเกินค่าห้องในปัจจุบันและอนาคต  ในขณะที่เงินสำรองแบบเบิกเคลมคืนได้ก็ยังควรต้องเผื่อไว้หลักแสนเช่นกัน หากต้องสำรองจ่ายค่ายามะเร็ง ค่าฉายภาพขั้นสูง (ในบางบริษัท)  หรือ อีกกรณีคือยอมจ่ายดอกเบี้ยสินเชื่อค่ารักษาระยะสั้นหรือตกลงกับทาง รพ. ก็อาจลดปัญหาเงินสำรองจ่ายนี้ได้บ้าง

(1.) เน้นค่าห้อง,ค่าตรวจ/รักษามะเร็งOPD >> MTL BLA
(2.) เน้นค่ารักษามะเร็งOPD >> TL AIA AXA
(3.) เน้นค่าคุ้มครอง OPD >> TM FWD

กลุ่ม 3. เบี้ยกลาง (แบบประกันคุ้มครองสูงสุดที่ยังเลือกไม่เอา OPD ได้) เน้นเพียงพอทั้งกับมะเร็งและค่าห้องในอนาคต การเตรียมเงินฉุกเฉินแบบใช้แล้วหมดจะลดลงได้มาก โดยจะเหลือเพียงเงินสำรองที่เบิกเคลมคืนได้หลักแสนหรือน้อยกว่า ขึ้นอยู่กับว่าแบบประกันที่เลือกนั้นต้องสำรองจ่ายค่าฉายภาพขั้นสูง หรือสำรองจ่ายค่ายามะเร็งหรือไม่

(1.) เน้นค่าห้อง,ค่าตรวจ/รักษามะเร็งOPD >> BLA MTL
(2.) เน้นค่าห้อง,ค่ารักษามะเร็งOPD >> TL
(3.) เน้นค่าคุ้มครอง OPD >> AXA FWD TM AIA

กลุ่ม 4. เบี้ยสูง ทุกแบบประกันจะมีวงเงิน OPD ให้มาแล้ว หรือให้ความคุ้มครองด้าน OPD เพิ่มขึ้น จึงทำให้ลดเงินสำรองใช้แล้วหมดไปหลักพันพลักหมื่นในส่วนนี้ลงได้ แต่ก็ต้องคอยมาพิจารณาว่าจะคุ้มกับเบี้ยที่จ่ายทิ้งไปหรือไม่ (เว้นแต่วางแผนให้เงินเติบโตหมุนมาจ่ายเบี้ยเองได้) และยังอาจต้องกังวลในเรื่องการสำรองจ่ายค่าฉายภาพขั้นสูงอยู่เนื่องจากวงเงิน OPD ยังไม่มากพอ

(1.) เน้นค่าตรวจ/รักษามะเร็งOPD,ค่าOPD >> BLA MTL AIA
(2.) เน้นค่า OPD ค่าคุ้มครองพิเศษ >> FWD TM

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

กลุ่ม 5. เบี้ยสูงมาก เป็นการอัพเกรดจากกลุ่ม 4 โดยวงเงิน OPD เริ่มเพียงพอต่อการฉายภาพขั้นสูงหรือจ่ายส่วนต่างไม่มาก รวมไปถึงลดเงินสำรองใช้แล้วหมดไปในส่วนต่างค่า OPD และส่วนเกินค่าห้องในอนาคตลงได้มาก เงินสำรองฉุกเฉินที่เตรียมไว้จึงมักเป็นเงินที่ไว้สำรองจ่ายแล้วเบิกเคลมคืนได้ นอกจากนี้บางแบบเริ่มให้ความคุ้มครองค่ารักษาด้านจิตเวชที่ปกติมีค่าใช้ค่อนข้างสูง (แต่ก็ต้องสำรองจ่ายด้วยเช่นกัน)

(1.) เน้นค่าตรวจ/รักษามะเร็งOPD,ค่าOPD >> BLA MTL AIA
(2.) เน้นค่า OPD ค่าคุ้มครองพิเศษ >> AXA FWD TM

กลุ่ม 6. เบี้ยไม่ใช่ปัญหา เป็นกลุ่มที่แทบไม่ต้องเตรียมเงินสำรองฉุกเฉินทั้งแบบใช้แล้วหมดกับใช้แล้วเบิกเคลมคืนไว้เลย ด้วยวงเงิน OPD ที่สูงมากจนบางแบบประกันเป็นจ่ายตามจริง และค่าห้องที่สูงมากเพื่ออนาคต กลุ่มนี้จึงเน้นบริหารเบี้ยประกันเป็นหลักจริง ๆ ในขณะที่กลุ่มอื่น ๆ ยังต้องบริหารการเตรียมเงินสำรองฉุกเฉินจำนวนมากไว้ด้วย จึงทำให้กลุ่มนี้หากผู้ปกครองมีเงินก้อนและวางแผนบริหารเงินก้อนนี้ให้ดี ๆ สำหรับเบี้ยประกันลูก ๆ ก็จะเหมาะอย่างมากที่จะเป็นอีกหนึ่งมรดก นอกจากในเรื่องของการศึกษา

(1.) เน้นค่าห้องสูง,ค่าOPDเป็นวงเงิน >> TM AIA
(2.) ค่าOPDตามจริง,คุ้มครองพิเศษ >> AXA FWD MTL BLA

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

บทสรุป การทำประกันสุขภาพนั้น จะต้องมีการบริหารจัดการเงิน 3+1 กองอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งเบี้ยประกัน เงินฉุกเฉิน เงินสำรองเพื่อเบิกเคลมคืนภายหลัง และเงินสำหรับเบี้ยตอนเกษียณ ซึ่งการบริหารนั้นจะขึ้นอยู่กับปัจจัยของทั้ง 4 องค์ประกอบคือ

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

ที่ต้องสอดผสานกันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด แต่ถ้าหากเลือกได้เพียง 2 จาก 4 ปัจจัยให้ได้ดีที่สุดนั้น ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ต้องเลือก จะไม่ใช่ "สัญญาที่ดีสุด" หรือ "บริษัทที่ดีที่สุด" 


แต่คือ "ความเข้าใจของผู้ใช้งานที่ดีที่สุด" และ "ความสามารถของผู้แนะนำที่ดีที่สุด" เพราะ 2 ปัจจัยนี้จะทำให้ได้ทั้งสัญญาและบริษัทที่ทำงานไปตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ได้ โดยไม่เกิดปัญหาจนลุกลามกลายมาเป็นความขัดแย้ง

ดังนั้นการนำสัญญามาเปรียบเทียบกันจนได้สัญญาที่คิดว่าดีที่สุดประหยัดที่สุดนั้น จะไม่ได้ช่วยอะไรเลยหากสุดท้ายแล้วผู้ใช้งานไม่พร้อมทำความเข้าใจในเงื่อนไขสัญญา และผู้แนะนำไม่สามารถอธิบายให้กระจ่างได้

เพราะย่อมทำให้ภายหลังการทำสัญญา จะเกิดแต่ความขัดแย้งกับความไม่สบายใจตามมาอีกมากกมาย และอาจจะไม่คุ้มค่ากับเงินที่ได้ประหยัดลงไปเลย

ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ใช้งานต้องเข้าใจจุดประสงค์ของประกันสุขภาพที่เลือก อย่างเช่น

  • เพื่อให้สามารถรองรับกับโรคร้ายต่าง ๆ ในปัจจุบันและอนาคตที่ค่าใช้จ่ายสูงได้ แต่ส่วนค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ไม่สูงมาก และเป็นเพื่อความสะดวกสบาย ที่อยู่นอกเหนือจากเงื่อนไขคุ้มครอง ยินดีที่จะรับความเสี่ยงไว้เอง
  • เพื่อให้ได้ตรวจสุขภาพ ตรวจคัดกรองมะเร็งอย่างสบายใจ ว่าหากตรวจเจออะไรจะสามารถรักษาได้ทันที
  • เพื่อได้รับการตรวจรักษาอย่างรวดเร็ว ไม่ต้องต่อคิวตั้งแต่เช้ามืด รอนานหลายชั่วโมง หลายเดือน  และคำพูดที่เสียดแทงจิตใจ
  • เพื่อรองรับในค่ารักษาที่รับเองไม่ไหวหรือคำนวณเตรียมเงินฉุกเฉินได้ยาก โดยเฉพาะกับมะเร็ง
  • และ เข้าใจว่าเงินค่ารักษานี้มาจากเงินกองกลางของทุกคนที่มาเฉลี่ยรับภัยร่วมกันผ่านประกันสุขภาพ หากมีการฉ้อฉลการเคลมที่ขาดความจำเป็นทางการแพทย์จำนวนมาก ย่อมส่งผลถึงส่วนรวมในไม่ช้า

โดยหากเข้าใจจุดประสงค์ของประกันสุขภาพที่เลือกแล้ว โอกาสที่จะเกิดปัญหาลักษณะนี้ก็จะน้อยลงไปมาก ไม่ว่าจะเป็น 

"ทำไมถึงไม่คุ้มครองค่ารักษานี้ด้วยโรคเล็กน้อยเอง" 

"ทำไมอันนี้บริษัทไม่ออกให้ เงินไม่กี่บาทเองจ่ายประกันไปตั้งเยอะแล้ว"

"ทำไมต้องสำรองจ่าย"

"ทำไมต้องรอนาน"

เพราะผู้ใช้งานและผู้แนะนำ จะได้อธิบายและได้เข้าใจกันก่อนทำสัญญาเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เหนือกว่าประกันสุขภาพที่ดีที่สุด เบี้ยประหยัดที่สุด อย่างแน่นอน "เพราะความขัดแย้งแย่กว่าและแพงกว่าเสมอ"

บทส่งท้าย

เครื่องมือการเงินด้านการป้องกัน โดยเฉพาะประกันนั้น ผู้คนโดยส่วนใหญ่หากต้องจ่ายเงินเพื่อใช้เครื่องมือการเงินนี้ อาจต้องคิดแล้วคิดเอง และรู้สึกเสียดายไม่เต็มใจนักที่จะจ่าย (เช่นเดียวกับตอนไม่เต็มใจที่จ่ายค่ารักษาให้กับ รพ.) 

แต่กลับกันหากถามว่า แล้วถ้าได้เครื่องมือการเงินนี้มาแบบ ฟรี ๆ จะเอาหรือไม่ แน่นอนว่าแทบทุกคนย่อมตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า "ทำไมจะไม่เอา" แล้วจึงคิดว่าโชคดีจริง ๆ ที่ได้มาฟรี

แต่ในโลกของเครื่องมือการเงินนั้น ไม่ได้มีคำว่าโชคดีจริง ๆ ที่ได้ฟรี เพราะต้องเกิดขึ้นจากการวางแผนและจำลองหาหนทางที่เป็นไปได้มากที่สุด เพื่อที่จะทำให้ใช้ทั้ง OPM (Other's People Money) และ OPR (Other's People Resource)

"เครื่องมือการลงทุน OPR สามารถให้ผลตอบแทนมาหมุนจ่ายเครื่องมือด้านการป้องกัน OPM ได้เองในระยะยาว เสมือนไม่ต้องเสียเงินที่ต้องออกแรงหามา"

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

ดังนั้นในตอนเกษียณทุกอย่างจะเริ่มทำงานด้วยกลไกของตนเองได้ หากเริ่มวางแผนใช้เครื่องมือการเงินให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุดตั้งแต่ตอนนี้ และนั่นคือหน้าที่สำคัญที่สุดหน้าที่หนึ่งของ ผู้แนะนำเครื่องมือทางการเงิน ที่ต้องใช้จุดเด่นของทุกเครื่องมืออย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและเหมาะสมมากที่สุด

คลิกเจาะลึกประกันสุขภาพ BLA และ
ทำอย่างไรให้เงินสามารถหมุนจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพได้เอง 

Share 0

Tweet 0

Share 0

ป.ล. หากบทความนี้มีประโยชน์ คุณผู้อ่านสามารถ Share บทความนี้ เพื่อเป็นแรงใจให้ทีมงาน ในการทำบทความเจาะลึกเครื่องมือการเงินมากยิ่งขึ้นต่อไป รวมไปถึงการปรับปรุงบทความนี้และเพิ่มบริษัทประกันต่าง ๆ ให้มากยิ่ง ๆ ขึ้นต่อไปในอนาคตค่ะ

เข้าใจก่อนเลือกใช้เครื่องมือการเงิน เพื่อสามารถเกษียณสุขได้อย่างสบายใจ และนั่นคือหน้าที่ของเรา

RELEASE YOUR RISK

เราคือทีมงานที่ รวมตัวกันเพราะความเจ็บปวดจากการไม่ได้ศึกษาเครื่องมือทางการเงินอย่างจริงจัง เพราะคิดว่าไม่จำเป็น ไม่มีเวลา รู้แต่เพียงวิธีการหารายได้และจัดการการค่าใช้จ่ายเท่านั้น

จนมีวันหนึ่งได้มีคนเข้ามาเปิดใจให้ทางเราได้เห็นประโยชน์ของเครื่องมือทางการเงิน ทำให้เกิดความเชื่อใจ และทำตามคำแนะนำด้วยอารมณ์เป็นห่วงครอบครัว โดยที่ยังไม่เข้าใจเครื่องมือการเงินนั้นจริง ๆ ว่ามีวิธีการทำงานอย่างไร 

สุดท้ายเมื่อรู้สึกแปลก ๆ จึงได้เอาตนเองเข้าไปศึกษาและล้วงข้อมูล จนทำให้รู้ว่า นี่มันไม่ใช่เครื่องมือที่เหมาะสมกับเราในตอนนี้ มันมีเครื่องมืออื่นที่เหมาะสมมากกว่า แต่นั้นก็สายไปแล้ว เพราะทุกอย่างเป็นสัญญา ที่ย่อมมีบทลงโทษหากจะยกเลิกสัญญา ซึ่งสร้างบาดแผลที่เจ็บปวดแสนสาหัสให้กับทางเรา

RELEASE YOUR RISK จึงถูกก่อตั้งขึ้นมาจากความเจ็บปวดนี้ เพราะเราต้องการทำตรงกันข้าม (ทุกอย่าง) กับสิ่งที่ทำให้เราได้เคยเจ็บปวดมาอย่างแสนสาหัส

เราต้องการให้คุณได้มีข้อมูลในการศึกษาทำความเข้าใจแบบไม่ถูกกดดันและถูกเร่งรัดการตัดสินใจ

เราต้องการให้คุณเลือกใช้เครื่องมือทางการเงินด้วยข้อมูลรวมกับความเชื่อใจ ไม่ใช่เพียงเพราะความเชื่อใจอย่างเดียว

เราอยากให้คุณเข้าใจที่มาของตัวเลขและข้อควรระวัง ในการได้มาของตัวเลขนั้นๆ

หลายสิ่งที่บริษัทแนะนำมา เราอยากให้คุณวิเคราะห์สัญญาอย่างละเอียด ในทุกด้านแม้ในด้านที่บริษัทไม่บอก

ทุกอย่างที่เราอยากให้คุณทำ เป็นแรงเสียดทานต่อกาลงมือทำทั้งสิ้น แม้เครื่องมือการเงินอย่างประกัน ยิ่งทำเร็วยิ่งดีแต่ด้วยที่เป็น สัญญาระยะยาว 50-60 ปี (หรือมากกว่านี้) การใช้เวลาศึกษาทำความเข้าใจสัก 1-2 ชั่วโมงขึ้นไปนั้น ดูค่อนข้างสมเหตุสมผลมากกว่าการเชื่อตามกันมา เชื่อตามที่ถูกแนะนำ

ดังนั้นทางเราจึงได้รวบรวมข้อมูลทั้งหมดด้าน ความจริงในมุมมองของแต่ละฝ่าย เบื้องหลังและที่มาของเครื่องมือ เพื่อให้คุณกับครอบครัวได้เข้าใจ และเห็นภาพรวมกับวัตถุประสงค์ของเครื่องมือแต่ละแบบ ได้เปรียบเทียบกันในแต่ละด้าน

และสุดท้ายได้เครื่องมือที่เหมาะสมที่สุด ที่จะนำมาใช้รวมกันสำหรับการวางแผนการเงินเพื่อเกาียณสุขได้อย่างสบายใจ 

เกี่ยวกับ

RELEASE YOUR RISK

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

แอนนี่ - รุจิรา ต๊ะบุญเรือง

ผู้แนะนำให้ความรู้ในเครื่องมือการเงินแบบองค์รวม

ผู้แนะนำการลงทุนตราสารซับซ้อนประเภท 2 เลขที่ 088660

ตัวแทนกรุงเทพประกันชีวิต เลขที่ 6001021654

จากประสบการณ์ที่ผ่านมาในชีวิตการทำงานทั้งหมดของแอนนี่ในสายงาน CRM ได้พบว่า ความไม่รู้ เป็นศัตรูที่แพงอย่างมากในโลกของการเงิน และโดยส่วนใหญ่กว่าจะได้รู้ก็อาจจะสายไปแล้ว

แอนนี่จึงจะเน้นแก้ไขปัญหานี้ ผ่านการให้ความรู้ทางการเงินที่เหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา ให้ข้อมูลที่ครบถ้วนที่สุดเพื่อป้องกันการถูกเอาเปรียบจากความไม่รู้นี้ค่ะ

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ทีไหนดี

บาส - ฐิติ  รุ่งเจริญไพศาล

ผู้ค้นคว้าพัฒนา FRAMEWORK เพื่อการเกษียณสุข

ผู้วางแผนการลงทุน IP เลขที่ 105969

ที่ปรึกษทางการเงิน AFPT เลขที่ AFPT190104

ตัวแทนกรุงเทพประกันชีวิต เลขที่ 6101074044

ผมอยู่ในสายงานนักพัฒนาโปรแกรมและอาจารย์มหาวิทยาลัยมากว่า 10 ปี ซึ่งได้พบความจริงผ่านชีวิตตนเองและลูกศิษย์ว่า หากขาดความรู้ ความเข้าใจ ลำดับการใช้งานของเครื่องมือทางการเงินที่ถูกต้องแล้ว เงินที่พยายามหามาทั้งหมดสามารถหายและหมดไปได้ง่าย ๆ ในพริบตา และยังไม่รู้ว่าจะต้องทำงานหาเงินไปอีกนานเท่าไร

ผมจึงพยายามค้นคว้าพัฒนา Framework ที่จะใช้เครื่องมือการเงินครบวงจร ช่วยให้สามารถคำนวณจำนวนเงินที่จำเป็นต้องมีของคนๆ หนึ่งขึ้นมา เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้และสามารถลงมือทำได้ง่ายและมีความยืดหยุ่นตามสถานการณ์

สามารถเลือกดูคู่มือการจัดการความเสี่ยงเพิ่มเติมได้ที่นี่

5 ความเสี่ยงที่ชีวิตสู้กลับได้ทุกเมื่อ และจะกลายเป็นภาระอันหนักอึ้งของครอบครัว ซึ่งไม่คุ้มที่จะแก้ไขด้วยเงินเก็บและสินทรัพย์ที่หามาอย่างยากลำบากเพียงอย่างเดียว

แต่ควรศึกษาทำความเข้าใจเครื่องมือทางการเงินให้มาทุ่นแรงช่วย ซึ่งจะประหยัดและทันการณ์ได้มากกว่า อย่างไรก็ตามหากเลือกใช้เครื่องมือโดยขาดความรู้ความเข้าใจ ก็อาจจะถูกหลอกหรือใช้เครื่องมือที่ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์และความต้องการได้ ดังนั้นคู่มือด้านล่างนี้ทางเราจึงจัดทำขึ้นมาเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้โดยตรง ดังต่อไปนี้