เอกสาร เบิกค่า ทํา ฟันประกันสังคม

วงเงินรวมไม่เกิน 900 บาทต่อปี ในกรณีที่ค่ารักษาสูงกว่า 900 บาท ผู้ประกันตนจะต้องจ่ายเงินส่วนเกินตรงนั้นเอง

ใส่ฟันปลอมชนิดถอดได้บางส่วน

ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์และค่าฟันเทียมเท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็นในวงเงินไม่เกิน 1,500 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปีนับแต่วันที่ใส่ฟันเทียมนั้น ตามหลักเกณฑ์ดังนี้

  • จำนวน 1-5 ซี่ วงเงินไม่เกิน 1,300 บาท เบิกได้ทุก 5 ปี
  • มากกว่า 5 ซี่ วงเงินไม่เกิน 1,500 บาท เบิกได้ทุก 5 ปี

ใส่ฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งปาก

ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์และค่าฟันเทียมเท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็นในวงเงินไม่เกิน 4,400 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปีนับตั้งแต่วันที่ใส่ฟันเทียมนั้น ตามหลักเกณฑ์ดังนี้

  • ฟันบนหรือล่าง (อย่างใดอย่างหนึ่ง) วงเงินไม่เกิน 2,400 บาท เบิกได้ทุก 5 ปี
  • ฟันบนและล่าง (ทั้งคู่) วงเงินไม่เกิน 4,400 บาท เบิกได้ ทุก 5 ปี

โดยสิทธิประโยชน์ของการทำฟันประกันสังคมนี้มีเฉพาะผู้ถือสิทธิประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 เท่านั้น และต้องมีการนำส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคมครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนรับบริการทำฟัน สำหรับผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมครบ 3 เดือนแล้ว แต่ได้ลาออกจากที่ทำงาน ก็ยังสามารถเข้ารับบริการทันตกรรมได้ เพราะสิทธิทำฟันประกันสังคมจะยังคุ้มครองต่ออีก 6 เดือน นับจากวันที่ลาออก

สามารถใช้สิทธิ์ได้ทั้งโรงพยาบาลรัฐบาล โรงพยาบาลเอกชน และคลินิกทันตกรรมทั่วไป ที่เข้าร่วมโครงการกรณีทันตกรรม หากวงเงินค่าใช้จ่ายไม่เกินที่กำหนดไม่ต้องสำรองจ่าย แต่ในกรณีที่ต้องทำฟันปลอม ผู้ประกันตนต้องสำรองเงินจ่ายไปก่อนแล้วจึงสามารถทำเรื่องเบิกกับประกันสังคม โดยแยกจากสิทธิทำฟัน 900 บาทต่อปี ที่ใช้ขูดหินปูน อุดฟัน ถอนฟัน และผ่าฟันคุด

เอกสาร เบิกค่า ทํา ฟันประกันสังคม
ภาพกราฟิกโดย Varanya Phae-araya

เบิกค่าทำฟันประกันสังคมได้ยังไงบ้าง

ในกรณีที่เข้ารับบริการทำฟันกับสถานพยาบาลที่ต้องสำรองจ่ายล่วงหน้าไปก่อน หรือเป็นการทำฟันปลอม สามารถยื่นขอเบิกค่าทำฟันย้อนหลังได้ที่

  • สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครทุกพื้นที่ ในวัน-เวลาราชการ
  • สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขาทุกแห่งทั่วประเทศ (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข) ในวัน-เวลาราชการ
  • ยื่นเอกสารผ่านทางไปรษณีย์ โดยส่งเอกสารไปตามที่อยู่ของสำนักงานประกันสังคมที่อยู่ใกล้บ้าน พร้อมจ่าหน้าซองว่า “ฝ่ายสิทธิประโยชน์”

เบิกค่าทำฟันประกันสังคม ใช้เอกสารอะไรบ้าง

กรณีที่ต้องทำฟันกับคลินิกทันตกรรมที่ไม่ได้ร่วมโครงการไม่ต้องสำรองจ่าย ให้ผู้ประกันตนเก็บใบเสร็จรับเงินและขอใบรับรองแพทย์ และเตรียมเอกสารต่อไปนี้เพื่อไปยื่นกับสำนักงานประกันสังคมสาขาที่สะดวก

  1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีทันตกรรม (สปส.2-16)
  2. ใบรับรองแพทย์
  3. ใบเสร็จรับเงิน
  4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้
  5. เวชระเบียนของแพทย์ผู้รักษา(กรณีเบิกฟันปลอมฐานอะคริลิก)
  6. กรณีขอรับเงินทางธนาคาร ให้แนบสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี 11 ธนาคาร ดังนี้

  • ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
  • ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)

ส่วนธนาคารออมสินกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ยังไม่สามารถใช้ยื่นได้

ทำฟันประกันสังคม เบิกได้ปีละกี่ครั้ง

ทางประกันสังคมไม่ได้จำกัดว่าให้เบิกได้กี่ครั้งต่อปี เพราะฉะนั้นหากค่าใช้จ่ายการทำฟันในปีนั้นๆ ยังไม่ถึง 900 บาท ผู้ประกันตนก็ยังสามารถยื่นเบิกได้เรื่อยๆ จนกว่าวงเงินจะครบ 900 บาท ซึ่งเป็นวงเงินที่ให้แบบปีต่อปี ไม่สามารถนำไปทบยอดเพื่อใช้ในปีถัดๆ ไปได้

นอกจากนี้ ควรยื่นเบิกค่าทำฟันประกันสังคมภายในระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่เข้ารับบริการทำฟัน โดยยึดวันที่ระบุไว้ในใบรับรองแพทย์เป็นหลัก หากเกิน 2 ปีแล้วจะหมดสิทธิ์รับเงินทำฟันประกันสังคมทันที ดังนั้นหลักจากทำฟันแล้วควรรีบทำเรื่องเบิกเพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ของเรา 

ข่าววันนี้ how-to วิธีเบิกค่าทําฟันประกันสังคม 2565 ออนไลน์ เช็กได้เลย! โดยสามารถใช้สิทธิทันตกรรมได้ จะมีขั้นตอนอย่างไร มาดูกันเลย

 

how-to วิธีเบิกค่าทําฟันประกันสังคม 2565 ออนไลน์ เช็กได้เลย!

ทำฟันฟรี 900 บาทต่อปี ถอน-อุด-ขูด-ผ่าหากสำรองจ่ายผู้ประกันตนสามารถยื่นรับเงินทำฟันออนไลน์ได้แล้วโดยสามารถใช้สิทธิทันตกรรม  

  • ถอนฟัน
  • อุดฟัน
  • ขูดหินปูน
  • ผ่าฟันคุด


สามารถเบิกได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 900 บาท/ปี  โดยยื่นเรื่องผ่าน เว็บไซต์ www.sso.go.th พร้อมแนบไฟล์ 

  • ใบเสร็จรับเงิน
  • ใบรับรองแพทย์
  • สมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ หน้าแรกที่มีชื่อและเลขบัญชีของผู้ประกันตน


และส่งใบเสร็จรับเงินและใบรับรองแพทย์ฉบับจริงมาที่ สำนักงานประกันสังคมที่ผู้ประกันตนเลือกยื่นเรื่องขอรับสิทธิประโยชน์ 
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันสังคมได้ที่ www.sso.go.th หรือโทรสายด่วน 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

กดเลย >> community แห่งความบันเทิง

ทั้งข่าว หนัง ซีรีส์ ละคร ดนตรี และศิลปินไอดอล ที่คุณชื่นชอบ บนแอปทรูไอดี

 

Tag

#ข่าว#ข่าวล่าสุด#ข่าววันนี้#ข่าวเศรษฐกิจ#ทำฟัน#ประกันสังคม#ผู้ประกันตน#สำนักงานประกันสังคม#สิทธิประกันสังคม

เบิกค่าทําฟันประกันสังคมต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

1. แบบค่าขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีทันตกรรม ( สปส. 2-16 ) 2. ใบรับรองแพทย์ 5. เวชระเบียนของแพทย์ผู้รักษา (กรณีเบิกฟันปลอมฐานอคริลิก) 6. กรณีขอรับเงินทางธนาคารให้แนบสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อและเ และเลขที่บัญชี ยื่นเอกสารได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานคร เขตพื้นที่ 1-12 แห่ง จังหวัด/สาขา ที่ ...

เบิกค่าทําฟันประกันสังคมย้อนหลังได้ไหม

A หากว่าเราเข้ารับบริการทำฟันกับสถานพยาบาลหรือคลินิค แล้วเราจะต้องสำรองจ่ายล่วงหน้าไปก่อน หรือ เป็นการทำฟันปลอม เราสามารถยื่นขอเบิกค่าทำฟันย้อนหลังได้ที่ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ รวมถึงสำนักงานประกันสังคมจังหวัดและทุกสาขาทั่วประเทศในเวลาราชการ แต่ (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)

เบิกค่าทำฟันประกันสังคมออนไลน์ได้ไหม

ส่วนกรณีผู้ประกันตนสำรองค่าใช้จ่ายไปก่อน สามารถนำเอกสารไปเบิกเงินกับสำนักงานประกันสังคมได้ โดยสามารถยื่นรับเงินทำฟันออนไลน์ได้แล้ว โดยยื่นเรื่องผ่าน เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th พร้อมแนบไฟล์ใบเสร็จรับเงิน ,ใบรับรองแพทย์ และสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ หน้าแรกที่มีชื่อและเลขบัญชีของผู้ประกันตน จาก ...

ฟันปลอมเบิกประกันสังคมยังไง

ฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งปากบนหรือล่าง เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงในวงเงินไม่เกิน 2,400 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ใส่ฟันเทียม – ฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งปากบนและล่าง เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงในวงเงินไม่เกิน 4,400 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ใส่ฟันเทียม