องค์ประกอบที่ 1 การปฏิบัติตน ว26

สวัสดีครับทุกท่านเมื่อวันที่ 27 ส.ค. 2564 สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้มีการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 8/2564

ซึ่งผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 8/2564 ในวันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม 2564  โดยมีนางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน ซึ่งที่ประชุมได้มีการพิจารณาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และมีมติที่สำคัญ เกี่ยวกับ องค์ประกอบ การประเมิน เลื่อนเงินเดือน ขอวิทยฐานะ คงวิทยฐานะ ตามเกณฑ์ PA ดังนี้

การอนุมัติ (ร่าง) หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

สืบเนืองจากที่ ก.ค.ศ. ได้กำหนดมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ว 3/2564) รวมถึงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ใหม่ ทั้ง 4 สายงาน (ว 9 – ว 12 /2564) ซึ่งหลักเกณฑ์และวิธีการฯ ดังกล่าว จะสอดคล้องกับระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยกำหนดให้นำผลการประเมินการพัฒนางานตามข้อตกลง (Performance Agreement : PA) ไปใช้เป็นองค์ประกอบในการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงาน เพื่อลดความซ้ำซ้อนจากการประเมิน ลดภาระงานของข้าราชการครูฯ ลดภาระด้านงบประมาณภาครัฐ รวมทั้งเกิด การเชื่อมโยงบูรณาการกันระหว่างการประเมินแต่ละระบบ ซึ่ง ก.ค.ศ. ในคราวประชุมครั้งที่ 7/2564  เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2564 ได้มีมติอนุมัติหลักการการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยให้กำหนดรูปแบบการประเมินที่ใช้ตัวชี้วัดเดียวกัน เพื่อให้สามารถนำผลการประเมินมาใช้ ทั้งการประเมินเพื่อให้มีและเลื่อนวิทยฐานะ การประเมินเพื่อคงวิทยฐานะ รวมทั้งการประเมินผลการปฏิบัติงาน เพื่อเลื่อนเงินเดือน ที่เน้นระบบการประเมินแบบ Performance-based Appraisal เป็นหลัก โดยใช้ระบบการประเมินแบบ Result-based Appraisal ร่วมด้วย โดยทุกตำแหน่งจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) (ยกเว้นครูผู้ช่วย) ซึ่งสาระสำคัญของ (ร่าง) หลักเกณฑ์และวิธีการนี้ ประกอบด้วย

องค์ประกอบการประเมิน  (100 คะแนน) มี 3 องค์ประกอบ

1) การประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงาน 80 คะแนน

2) การประเมินการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา 10 คะแนน

3) การประเมินการปฏิบัติตนในการรักษาวินัยฯ 10 คะแนน

เครื่องมือ

การประเมินข้อตกลง PA เพื่อเลื่อนวิทยฐานะ การประเมินคงวิทยฐานะ และการประเมินผลการปฏิบัติงาน ใช้ตัวชี้วัดชุดเดียวกัน

เพื่อเตรียมความพร้อมและเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถ ทักษะ เจตคติ และบุคลิกลักษณะของครูผู้ช่วย ด้านการปฏิบัติงานในวิชาชีพครู ได้อย่างมีประประสิทธิภาพและเป็นครูที่ดีได้

ขอบเขตของงาน

การเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มเป็นกระบวนการในการพัฒนาบุคคลที่เข้ามาดำรงตำแหน่งครู ซึ่งต้องอาศัยอำนาจตามมาตรา 19 (4) และมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา พ.ศ.2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

สำนักงาน ก.ค.ศ. จึงได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ตำแหน่งครูผู้ช่วย ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.7/ว19 ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2561

คำจำกัดความ

การเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม เป็นกระบวนการในการพัฒนาบุคคลที่เข้ามาดำรงตำแหน่งครู ตามมาตรา 19 (4) และมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ให้ผู้ใดที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้เข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา ผู้ใดได้รับการบรรจุ และแต่งตั้งในตำแหน่งครู ให้ผู้นั้นเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ในตำแหน่งครูผู้ช่วย เป็นเวลา 2 ปี ก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครู เพื่อเพิ่มพูนความรู้ทักษะและ บุคลิกลักษณะในการปฏิบัติวิชาชีพทั้งในการปฏิบัติงานและการปฏิบัติหน้าที่ที่เหมาะสมกับวิชาชีพครูตาม หลักเกณฑ์และวิธีการ ที่ ก.ค.ศ. กำหนด

การเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ใช้กับผู้ดำรงตำแหน่งครูผู้ช่วย เพื่อแต่งตั้งเป็นตำแหน่งครู ส่วนการทดลองปฏิบัติหน้าที่ทางราชการ ใช้กับตำแหน่งอื่นที่บรรจุเข้ามา เช่น ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามมาตรา 38ค (2)

องค์ประกอบที่ 1 การปฏิบัติตน ว26
องค์ประกอบที่ 1 การปฏิบัติตน ว26

วิธีการดำเนินงาน

การเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มตำแหน่งครูผู้ช่วย ที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ตำแหน่งครูผู้ช่วย ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ.0206.7/ว19 ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2561) ให้ดำเนินการ ดังนี้

1. ให้สถานศึกษาเสนอรายชื่อคณะกรรมการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม จำนวน 3 คน ส่งให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โดยมีองค์ประกอบตามลำดับดังนี้

        1.1 ผู้อำนวยการสถานศึกษา เป็นประธานกรรมการ

        1.2 ผู้ดำรงตำแหน่งครูในสถานศึกษา เป็นกรรมการ

        1.3 ผู้ทรงคุณวุฒิอื่นจากภายนอกสถานศึกษา เป็นกรรมการ

        กรณีไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อ 1.1 หรือข้อ 1.2 ให้สถานศึกษาที่ครูผู้ช่วยได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง แล้วแต่กรณี ให้แต่งตั้งจากสถานศึกษาอื่นที่อยู่ใกล้เคียงกัน เป็นกรรมการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ตามองค์ประกอบได้ตามความเหมาะสม

2. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จัดส่งรายชื่อคณะกรรมการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม (ข้อที่ 1) ไปยังสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด

3. ให้ศึกษาธิการจังหวัด ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจตามมาตรา 53 แต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ข้อที่ 1 แล้ว แจ้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแล้วแต่กรณีโดยเร็ว

4. ให้คณะกรรมการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ดำเนินการดังนี้

4.1 วางแผนและดำเนินการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มร่วมกับครูผู้ช่วยด้วยรูปแบบ และวิธีการที่หลากหลาย

4.2 ส่งเสริม สนับสนุน ให้คำปรึกษา สอนงาน ช่วยเหลือ และแนะนำการปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้ครู ผู้ช่วยมีคุณลักษณะและสมรรถนะในการปฏิบัติตนและการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียน

4.3 มอบหมายให้คณะกรรมการ ข้อ 1.2 ทำหน้าที่เป็นครูพี่เลี้ยง โดยให้คำปรึกษา สอนงาน ช่วยเหลือ แนะนำการปฏิบัติตนและการปฏิบัติงาน ให้มีคุณลักษณะในหน้าที่ความรับผิดชอบตามมาตรฐานตำแหน่ง ที่ ก.ค.ศ. กำหนด

4.4 ประเมินการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่องและสรุปผลการประเมินทุก 6 เดือน โดยมุ่งเน้นการประเมินเพื่อการพัฒนา รวม 4 ครั้ง ในเวลา 2 ปี ตามแบบประเมิน ที่ ก.ค.ศ. กำหนด กรณีไม่สามารถประเมินการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มด้วยเหตุใด ๆ ให้ ผู้อำนวยการสถานศึกษารายงานผู้มีอำนาจตามมาตรา 53 ทราบโดยเร็ว

4.5 ผู้ที่ผ่านการประเมินการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มต้องมีผลการประเมินจาก กรรมการทุกคนเฉลี่ยในแต่ละครั้ง ดังนี้

                     ครั้งที่ 1 ต้องมีคะแนนในแต่ละด้าน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60

                     ครั้งที่ 2 ต้องมีคะแนนในแต่ละด้าน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60

                     ครั้งที่ 3 ต้องมีคะแนนในแต่ละด้าน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70

                     ครั้งที่ 4 ต้องมีคะแนนในแต่ละด้าน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70

          4.6 แจ้งผลการประเมินโดยมีข้อเสนอแนะ จุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา และข้อสังเกต จาการประเมินในแต่ละครั้งให้ครูผู้ช่วยทรายภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ครบรอบการประเมิน แล้วให้ผู้อำนวยการสถานศึกษารายงานผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา แล้วแต่กรณีเพื่อนำเสนอผู้มีอำนาจตามมาตรา 53 ทราบ

          4.7 สรุปผลการประเมินการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่ครบ 2 ปี แล้วให้รายงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อเสนอผู้มีอำนาจตามมาตรา 53 พิจารณา

5. ผู้มีอำนาจตามมาตรา 53 ดำเนินการดังนี้

5.1 กรณีครูผู้ช่วยผู้ใดเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มครบ 2 ปี แล้วผลการประเมินผ่านตามหลักเกณฑ์การประเมินตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด และผู้มีอำนาจตามมาตรา 53 พิจารณา เห็นว่าควรให้ผู้นั้นรับ ราชการต่อไป ให้นำเสนอสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพิจารณาอนุมัติ และให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา 53 ออกคำสั่งแต่งตั้งครูผู้ช่วยผู้นั้นให้ดำรงตำแหน่งครูในวันถัดจากวันครบกำหนดการเตรียมความพร้อมและพัฒนา อย่างเข้ม แล้วแจ้งให้ผู้นั้นทราบ

5.2 กรณีครูผู้ช่วยผู้ใดมีผลการประเมินการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มต่ำกว่าเกณฑ์ การประเมินที่ ก.ค.ศ. กำหนด และผู้มีอำนาจตามมาตรา 53 พิจารณาเห็นว่าไม่สมควรให้ผู้นั้นรับราชการต่อไป ให้ แจ้งผลการประเมินและความเห็นให้ผู้นั้นทราบ และให้โอกาสโต้แย้งแสดงพยานหลักฐานภายใน 5 วันทำการ นับแต่วันที่ได้รับการแจ้งผลการประเมิน และหากพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่สมควรให้ผู้นั้นรับราชการต่อไปก็ให้ผู้นั้นออกจากราชการและแจ้งคำสั่งให้ผู้นั้นทราบ

6. สำหรับผู้ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย อยู่ก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2561 ให้เตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ตามหนังสือส านักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.2/ว 20 ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2548 ต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ

7. กรณีที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการนี้ ให้เสนอสำนักงาน ก.ค.ศ. พิจารณา

ข้อมูลอ้างอิง

1.หลักเกณฑ์และวิธีการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มตำแหน่งครูผู้ช่วย ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.7/ว19 ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2561

2.หนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.7/ว26 ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2561 เรื่อง แบบประเมินการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม