แนวข้อสอบ งาน สารบรรณ ทบ. 2563 พร้อมเฉลย

***ห้ามมิให้ผู้ใดใช้ประโยชน์ ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง ทำให้ปรากฏหรือเผยแพร่  ไม่ว่าด้วยประการใดๆ ซึ่งข้อมูลในเอกสารนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หากผู้ใดกระทำการดังกล่าว จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย ***

(ข้อ 6 ได้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2548 ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 122 ตอนพิเศษ 99 ง หน้า 32 ลงวันที่ 23 กันยายน 3548)

 ข้อ 16 ใครเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้?
 ก. นายกรัฐมนตรี
 ข.รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
 ค.ปลัดสำนักงานสารบัญนายกรัฐมนตรี
ง.ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ตอบ ง.ให้ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (อ้างอิงจากระเบียบงานสารบัญข้อ 

แนวข้อสอบ งาน สารบรรณ ทบ. 2563 พร้อมเฉลย

ข้อ 17 ข้อใดไม่ใช่อำนาจขอผู้รักษาการตามระเบียบนี้ ?
ก.อำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
ข. การแก้ไขเพิ่มเติมภาคผนวก
ค. จัดทำคำอธิบายกับให้มีหน้าที่ดำเนินการฝึกอบรมเกี่ยวกับงานบริหารเอกสาร
ง. ถูกหมดทุกข้อ
ตอบ ค. จัดทำคำอธิบายกับให้มีหน้าที่ดำเนินการฝึกอบรมเกี่ยวกับงานบริหารเอกสาร(อ้างอิงจากระเบียบงานสารบัญข้อ 

แนวข้อสอบ งาน สารบรรณ ทบ. 2563 พร้อมเฉลย

ข้อ 18 ผู้ใดเป็นผู้ให้ความเห็นในการตีความ การวินิจฉัยปัญหา และการแก้ไขเพิ่มเติมภาคผนวก และคำอธิบายแก่ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ?
                ก.คณะกรรมการพิจารณาพัฒนาระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
 ข.คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ค.คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงและแก้ไขและพัฒนาระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ง.คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนาระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ตอบ ง.คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนาระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี(อ้างอิงจากระเบียบงานสารบัญข้อ 

แนวข้อสอบ งาน สารบรรณ ทบ. 2563 พร้อมเฉลย

ข้อ 19 หนังสือราชการ คืออะไร?
ก. เอกสารที่เป็นข้ออ้างอิงในราชการ
ข. เอกสารที่เป็นหลักฐานข้อเท็จจริงในราชการ
ค. เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ
ง. เอกสารที่เป็นข้อเท็จจริงในราชการ
ตอบ ค. เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ(อ้างอิงจากระเบียบงานสารบัญหมวดที่ 1 ข้อ 9)

 ข้อ 20 ข้อใดไม่ใช่หนังสือราชการ?
 ก. หนังสือที่มีไปมาระหว่างส่วนราชการ
 ข. หนังสือที่ส่วนราชการมีไปถึงหน่วยงานอื่นใด ซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือที่มีไปถึงบุคคลภายนอก
ค. ข้อมูลข่าวสารหรือหนังสือที่ได้รับจากระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์
 ง. หนังสือภายนอกที่จัดทำตามคำสั่ง หรือ ระเบียบงานสารบัญ
 ตอบ ง. หนังสือภายนอกที่จัดทำตามคำสั่ง หรือ ระเบียบงานสารบัญ (อ้างอิงจากระเบียบงานสารบัญหมวดที่ 1 ข้อ 9)

แนวข้อสอบ วิชา พรบ.ตำรวจแห่งชาติ 2547
ข้อ 1 พ.ร.บ.นี้เรียกอย่างไรจึงถูกต้อง?
ก.พระราชบัญญัติสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547
ข.พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ 2547
ค.พระราชบัญญัติสำนนักงานตำรวจแห่งชาติ 2547
ง.พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547
ตอบ ง.พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ( มาตรา 1 )
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “ พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๗ ”
ข้อ 2 ข้อใดถูกต้องที่สุด?
ก.พระราชบัญญัติยศตำรวจยังไม่ถูกยกเลิก
ข.พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ยกเลิกทั้งหมด 18 ฉบับ
ค.พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 คือพระราชบัญญัติที่ใช้อยุ่ในปัจจุบันนี้
ง. พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ยกเลิกทั้งหมด 17 ฉบับ
ตอบ ง. พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ยกเลิกทั้งหมด 17 ฉบับ (ตาม ม.3)
มาตรา 3 ให้ยกเลิก
(๑) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตำรวจ พ.ศ. ๒๕๒๑
(๒) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตำรวจ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๑
(๓) ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๓๘ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔
(๔) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตำรวจ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๕
(๕) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตำรวจ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๘
(๖) พระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยตำรวจ พุทธศักราช ๒๔๗๗
(๗) พระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยตำรวจแก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗
(๘) พระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยตำรวจ (ฉบับที่ ๓) พุทธศักราช ๒๔๗๙
(๙) พระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยตำรวจ (ฉบับที่ ๔) พุทธศักราช ๒๔๘๐
(๑๐) พระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยตำรวจ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๔๙๓
(๑๑) พระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยตำรวจ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๔๙๕
(๑๒) พระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยตำรวจ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๔๙๗
(๑๓) พระราชบัญญัติยศตำรวจ พุทธศักราช ๒๔๘๐
(๑๔) พระราชบัญญัติยศตำรวจ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๙๕
(๑๕) พระราชบัญญัติยศตำรวจ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๐๔
(๑๖) พระราชบัญญัติเครื่องแบบตำรวจ พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)
(๑๗) พระราชบัญญัติเครื่องแบบตำรวจ (ฉบับที่ ๓) พุทธศักราช ๒๔๘๓
บรรดากฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นในส่วนที่ได้บัญญัติไว้แล้ว ในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน
ข้อ. 3 พระราชบัญญัตินี้ประกาศใช้เมื่อใด?
ก. ประกาศใช้ 13 มกราคม พ.ศ. 2547
ข.ประกาศใช้ 12 มกราคม พ.ศ. 2547
ค. ประกาศใช้เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว
ง.ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ตอบ ง.ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ( มาตรา.2 )
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ 4 ข้อใดถูก สำหรับพระราชบัญญัตินี้
ก.เป็นปีที่ 60 ในรัชกาลปัจจุบัน
ข.โดยคำแนะนำและยินยอมของคณะรัฐมนตรี
ค.โดยประกาศถัดจากวันพระราชกฤษฏีกาแล้ว
ง.ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตำรวจ(ฉบับที่ 4) พ.ศ.2538
ตอบ ง.ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตำรวจ(ฉบับที่ 4) พ.ศ.2538 (ม.3 ข้อ 5 ดูคำเฉลย ข้อ 2)
ก.เป็นปีที่ 59 ในรัชกาลปัจจุบัน / ข.โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา / ค.ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป( ม.2)
ข้อ. 5 บรรดากฏหมาย กฏ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือ คำสั่งอื่นในส่วนที่ได้บัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้
ก.ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน
ข.ให้นายกรัฐมนตรีวินิจนัย
ค.ให้นายกรัฐมนตรี ออกกฏกระทรวง
ง.ให้ยกเลิกแล้วให้ ผบ.ตร.ตัดสิน
ตอบ ก.ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน( ม.3 วรรค 2)
ข้อ 6 ข้อใดหมายถึง”ข้าราชการตำรวจ”?
ก. ผู้ที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งตามพระราชบัญญัตินี้โดยได้รับเงินเดือนจากในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และให้หมายความรวมถึงข้าราชการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติหรือสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการตำรวจโดยได้รับเงินเดือนจากส่วนราชการ
ข. บุคคลที่มียศและไม่มียศ และให้หมายความรวมถึงข้าราชการตำรวจในสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ได้รับเงินเดือนจากส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ
ค. บุคคลซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งตามพระราชบัญญัตินี้ โดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และให้หมายความรวมถึงข้าราชการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติแต่งตั้งหรือสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการตำรวจโดยได้รับเงินเดือนจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐด้วย
ง. บุคคลซึ่งได้รับการบรรจุตามพระราชบัญญัตินี้โดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนในสำนักงานตำรวจแห่งชาติและให้หมายความรวมถึงข้าราชการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติหรือสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการตำรวจโดยได้รับเงินเดือนจากส่วนราชการ
ตอบ ค. บุคคลซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งตามพระราชบัญญัตินี้โดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และให้หมายความรวมถึงข้าราชการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติหรือสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการตำรวจโดยได้รับเงินเดือนจากส่วนราชการ( มาตรา. 4 )
มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้
“ข้าราชการตำรวจ” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งตามพระราชบัญญัตินี้ โดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และให้หมายความรวมถึงข้าราชการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติแต่งตั้งหรือสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการตำรวจโดยได้รับเงินเดือนจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐด้วย
“ประธานกรรมการ” หมายความว่า ประธานกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ
“กรรมการ” หมายความว่า กรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ
“กองทุน” หมายความว่า กองทุนเพื่อการสืบสวนและสอบสวนคดีอาญา
“กองบัญชาการ” หมายความรวมถึง ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบกองบัญชาการด้วย
“กองบังคับการ” หมายความรวมถึง ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบกองบังคับการด้วย
ข้อ 7 ผู้รักษาการตาม พรบ.นี้ คือใคร
ก. นายกรัฐมนตรี
ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ค. รองนายกรัฐมนตรี
ง. ผบ.ตร.
ตอบ นายกรัฐมนตรี (มาตรา. 5 )
(มาตรา. 5 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และมีอำนาจออกกฎกระทรวง เพื่อปฏิบัติตาม พระราชบัญญัตินี้ )
ข้อ 8 พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของบุคคลหรือหน่วยงานใด
ก. นายกรัฐมนตรี
ข. ประธานรัฐสภา
ค. วุฒิสภา
ง.รัฐสภา
ตอบ รัฐสภา
( ก่อน ม.1 ระบุว่า ......จึงทรง......ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา)
ข้อ 9 คำว่า “ กองทุน ” ตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 หมายความว่าอะไร?
ก. กองทุนสำหรับครอบครัวข้าราชการตำรวจ
ข. กองทุนช่วยเหลืองานสอบสวนคดีอาญา
ค. กองทุนเพื่อการสืบสวนและสอบสวนคดีอาญา
ง. กองทุนเพื่อการสอบสวนและวิธีพิจารณาความอาญา
ตอบ ก.กองทุนเพื่อการสืบสวนและสอบสวนคดีอาญา ( ม.4 )
ข้อ 10 ให้.............. รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้และมีอำนาจออก...........เพื่อนปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
ก.นายกรัฐมนตรี / พระกิจจานุเบกษา
ข.นายกรัฐมนตรี / กฏกระทรวง
ค. นายกรัฐมนตรี / พระราชกฤษฏีกา
ง.นายกรัฐมนตรี / ระเบียบ
ตอบ ข.นายกรัฐมนตรี / กฏกระทรวง (มาตรา. 5 )
( มาตรา. 5 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และมีอำนาจออกกฎกระทรวง เพื่อปฏิบัติตาม พระราชบัญญัตินี้ )