วิธีคํานวณภาษีธุรกิจเฉพาะ ดอกเบี้ยรับ

วันที่เอกสาร

18 กันยายน 2543

เลขที่หนังสือ

กค 0811/ก.595

ข้อหารือ

บริษัทฯ ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย โดยมี บริษัท A จำกัด เป็นผู้ถือหุ้น บริษัทฯ ประกอบกิจการ
ผลิตเครื่องยนต์ และในปี 2537 ให้บริษัท B จำกัด บริษัท C จำกัด และบริษัท D จำกัด ซึ่งเป็นบริษัท
คู่ค้าของกลุ่ม A. ทดรองเงินจากบริษัทฯ เพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตเครื่องยนต์
และอะไหล่รถเพื่อจำหน่ายให้กลุ่ม A รายรับจากดอกเบี้ยเงินกู้ยืมดังกล่าว บริษัทฯ ได้เสีย
ภาษีเงินได้นิติบุคคลและคำนวณรายได้โดยใช้เกณฑ์สิทธิ กล่าวคือ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่ยังไม่ได้รับแต่ตั้งบัญชี
ค้างรับไว้ บริษัทฯ ได้นำมารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ตามมาตรา 65 วรรคสอง
แห่งประมวลรัษฎากรและบริษัทฯ ได้เลือกใช้เกณฑ์เงินสดในการคำนวณรายรับเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
กล่าวคือ นำส่งภาษีธุรกิจเฉพาะเมื่อได้รับชำระดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามมาตรา 91/8 วรรคสอง แห่ง
ประมวลรัษฎากร บริษัทฯ หารือเกี่ยวกับคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.75/2541 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิใน
การคำนวณรายรับเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2541 ดังนี้
1. บริษัทฯ มิใช่กิจการธนาคาร กิจการธุรกิจเงินทุน ธุรกิจเงินทุนหลักทรัพย์ ธุรกิจ
เครดิตฟองซิเอร์ และธุรกิจประกันชีวิต เมื่อบริษัทฯ ได้เลือกใช้เกณฑ์เงินสดในการคำนวณรายรับเพื่อ
เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ บริษัทฯ อยู่ในหลักเกณฑ์ใช้เกณฑ์สิทธิในการคำนวณรายรับเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
สำหรับรายรับส่วนที่เป็นดอกเบี้ยที่ยังไม่ได้รับ (แต่ลงบัญชีค้างรับไว้) ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.
75/2541 ฯ หรือไม่
2. คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.75/2541 ฯ ไม่ใช่บทบังคับให้บริษัทฯ ต้องใช้เกณฑ์สิทธิใน
การคำนวณรายรับเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับรายรับส่วนที่เป็นดอกเบี้ยที่ยังไม่ได้รับ (แต่ลงบัญชีค้าง
รับไว้) ดังนั้น เมื่อบริษัทฯ ได้เลือกใช้เกณฑ์เงินสดในการคำนวณรายรับต้องปฏิบัติตลอดไป เว้นแต่จะได้
รับอนุมัติจากอธิบดีให้เปลี่ยนแปลง ตามมาตรา 91/8 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ถูกต้องหรือไม่

แนววินิจฉัย

บริษัทฯ ได้เลือกใช้เกณฑ์เงินสดในการคำนวณรายรับเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ดังนั้น บริษัทฯ
ต้องนำรายรับจากดอกเบี้ยเงินกู้ยืมมาเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามเกณฑ์เงินสด และให้ถือปฏิบัติเป็น
อย่างเดียวกันตลอดไป เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากอธิบดีให้เปลี่ยนแปลงได้ตามมาตรา 91/8 วรรคสอง
แห่งประมวลรัษฎากร และบริษัทฯ มิใช่ผู้ประกอบกิจการธนาคารกิจการธุรกิจเงินทุน ฯลฯ จึงไม่เข้า
หลักเกณฑ์การใช้เกณฑ์สิทธิในการคำนวณรายรับเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่
ป.75/2541 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคำนวณรายรับเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ลงวันที่ 26
สิงหาคม พ.ศ. 2541

กรมสรรพากรแก้ไขล่าสุด

22 พฤษภาคม 2563

ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจ่ายค่าตอบแทนให้แก่พนักงานในการยินยอมให้เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในข้อบังคับการทำงาน ระเบียบข้อบังคับการทํางาน 2563 ข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน บริษัท ปตท ข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน 2564 แบบฟอร์ม ตัวอย่าง กฎ ระเบียบบริษัท ตัวอย่างข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน 2564 ข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน ภาษาอังกฤษ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน pdf ตัวอย่างข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน 2564 word

ฐานภาษีสำหรับการประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ได้แก่ รายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ที่ผู้ประกอบกิจการได้รับ หรือพึงได้รับเนื่องจากการประกอบกิจการ

"รายรับ" หมายความว่า เงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทน หรือประโยชน์ใด ๆ อันมีมูลค่าที่ผู้ประกอบกิจการ ได้รับหรือพึงได้รับ ไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรอันเนื่องมาจากการประกอบกิจการ

กิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ จะต้องเสียภาษีโดยคำนวณจากฐานภาษี ซึ่งได้แก่ รายรับตามฐานภาษี ของแต่ละประเภทกิจการ คูณด้วยอัตราภาษีที่กำหนดไว้ และจะต้องเสียภาษีท้องถิ่นอีก ร้อยละ 10 ของจำนวนภาษี ธุรกิจเฉพาะดังกล่าว

กิจการฐานภาษีอัตราภาษีร้อยละ1.   กิจการธนาคาร,ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์, ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และการประกอบกิจการเยี่ยง ธนาคารพาณิชย์-   ดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าธรรมเนียม ค่าบริการ หรือกำไรก่อนหักรายจ่าย ใดๆ จากการซื้อหรือขายตั๋วเงินหรือ ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ใด ๆ3.0-   กำไรก่อนหักรายจ่ายใดๆ จากการ แลกเปลี่ยนหรือซื้อขายเงินตรา การออกตั๋วเงินหรือการส่งเงินไปต่างประเทศ3.02.   กิจการรับประกันชีวิต-   ดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม ค่าบริการ2.53.   กิจการโรงรับจำนำ-   ดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม2.5-  เงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทน หรือ ประโยชน์ใดๆ อันมีมูลค่าที่ได้รับ หรือพึงได้รับจากการขายของที่ จำนำหลุดเป็นสิทธิ2.54.   การค้าอสังหาริมทรัพย์- รายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆ0.15.   การขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์-   รายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆ0.1
(ยกเว้น)6.   การซื้อและการขายคืนหลัก ทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตจาก คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์-   กำไรก่อนหักรายจ่ายใดๆ จากการขายคืนหลักทรัพย์ แต่ไม่รวมถึง ดอกเบี้ย เงินปันผล หรือประโยชน์ใดๆ ที่ได้จากหลักทรัพย์3.07.   ธุรกิจแฟ็กเตอริง-   ดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าธรรมเนียม หรือค่าบริการ3.08.   การประกอบกิจการตามพระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 469-   ดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าธรรมเนียม หรือค่าบริการ0.01-   กำไรก่อนหักรายจ่ายใดๆ จากการ แลกเปลี่ยนหรือซื้อขายเงินตรา0.01-   กำไรก่อนหักรายจ่ายใดๆ จากการขายคืนหลักทรัพย์0.01

หมายเหตุ อัตราภาษีของการค้าอสังหาริมทรัพย์ให้ลดและคงจัดเก็บในอัตราร้อยละ 0.1 สำหรับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่ได้กระทำภายในหนึ่งปี นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลบังคับใช้ ( ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม 2551 ถึงวันที่ 28 มีนาคม 2552 พระราชกฤษฎีกา ( ฉบับที่ 472 ) พ.ศ.2551)

ภาษีธุรกิจเฉพาะ คํานวณยังไง

กิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ จะต้องเสียภาษีโดยคำนวณจากฐานภาษี ซึ่งได้แก่ รายรับตามฐานภาษี ของแต่ละประเภทกิจการ คูณด้วยอัตราภาษีที่กำหนดไว้ และจะต้องเสียภาษีท้องถิ่นอีก ร้อยละ 10 ของจำนวนภาษี ธุรกิจเฉพาะดังกล่าว

ฐานภาษีของธุรกิจเฉพาะเก็บอย่างไร

ฐานภาษีสำหรับการคำนวณภาษีธุรกิจเฉพาะ ได้แก่ รายรับก่อนหักรายจ่ายของผู้ประกอบการภาษีธุรกิจเฉพาะ ไม่ว่าจะมาจากในหรือนอกราชอาณาจักร โดยคำนวณจากรายรับตามฐานภาษีของกิจการแต่ละประเภท คูณด้วยอัตราภาษีที่กำหนดไว้ รวมกับภาษีท้องถิ่นอีกร้อยละ 10 ของจำนวนเงินภาษีธุรกิจเฉพาะที่คำนวณได้ โดยอัตราภาษีแสดงตามตารางดังต่อไปนี้

อัตราภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับธุรกิจประเภทรับประกันชีวิตเท่ากับเท่าใด

อัตราภาษี 1) ร้อยละ 0.1 สำหรับรายรับจากการประกอบกิจการหลักทรัพย์ ตามกฎหมายว่าด้วยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ปัจจุบันยกเว้น) 2) ร้อยละ 2.5 สำหรับรายรับจากการประกอบกิจการรับประกันชีวิต และกิจการโรงรับจำนำ

ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ อยู่หมวดไหน

มาตรา 91 เป็นภาษีอากรประเมิน