บัญชีลงเวลาปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ doc

ระเบียบ คำสั่งและตัวอย่างเอกสารการเบิกค่าตอบแทน OT ตามระเบียบกระทรวงการคลัง 2550

By พิชิตชัย เชิดชู Duis, News 41878 Page views


  • บัญชีรายชื่อแนบท้ายขออนุมัติ OT ก.คลัง 50.xls (42.5 KB)
  • บัญชีลงเวลาปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ.doc (54.5 KB)
  • บันทึกขออนุมัติปฏิบัติงานนอกเวลา ก.คลัง 2550.docx (21.08 KB)
  • แบบฟอร์มหลักฐานเบิกจ่ายเงิน OT ก.คลัง 2550.xls (121.5 KB)
  • 2 มอบอำนาจในการอนุมัติ นอกเวลาราชการ 2550.pdf (75.31 KB)
  • ระเบียบ ก.คลังว่าด้วยค่าตอบแทนนอกเวลาราชการ 2550.pdf (59.53 KB)
  • มอบอำนาจอนุมัติปฏิบัติงานนอกเวลาตามระเบียบ ก.คลัง 2550 (แก้ไข 2563).pdf (147.79 KB)
  • บันทึกขออนุมัติปฏิบัติงานนอกเวลา ก.คลัง 2550(แก้ไขใหม่).docx (21.33 KB)

Update Delete

แชร์บทความนี้

Comments

Please enable JavaScript to view the comments powered by Disqus.

1. �ҧ����ѷ���ٻ���·������繷ҧ��� 3 - 4 �ٻ ���ҷ�� LINE: @werecruit (��@����) �����׹�ѹ��ǵ�㹡����Ѥçҹ ����кص��˹觷���ҹ����Ѥ����ҧ�Ѵਹ

2. RESUME ����ö������Ź������ �ҡ�������ö�����ô�����˹�ҷ��

3. ���ͧ�ҡʶҹ��ó� ��Է19 ����դ������繵�ͧ�Ѵ��ü����Ѥ÷�����Ѻ�Ѥ�չ�ú 2 ���������ҹ�� �ô�ʴ� ��ѡ�ҹ��éա�Ѥ�չ �ú 2 ��� (����ö���价���ͻ ��;����>������͡���� Vaccine Covid-19 Certificate> ������˹�Ҩ� ����ö�觷ҧ�Ź��������

http://www.thaigov.go.th
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

                   วันนี้ (22 พฤศจิกายน 2565)  เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ  ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้


                   1.       เรื่อง     ร่างพระราชบัญญัติความรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องของสินค้า พ.ศ. ...
                   2.       เรื่อง     ร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติอื่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา รวม 4 ฉบับ
                   3.       เรื่อง     ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมปริมาณน้ำมันสูงสุดเกิน 5 ลิตร แต่ไม่เกิน 12 ลิตร หรือเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมที่มีความดันไม่เกิน 50 กิโลปาสกาล และผลคูณของความดันกับปริมาตรเป็นลิตรไม่เกิน 200 ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ...
                     4.       เรื่อง     รายงานการดำเนินการตามมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562
                   5.       เรื่อง     รายงานความคืบหน้าการดำเนินการโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG และการขยายระยะเวลาดำเนินการโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG
                   6.       เรื่อง     รายงานการพัฒนาระบบราชการ ประจำปี 2564
                   7.       เรื่อง     ผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1  : 4000 (One Map) ของพื้นที่กลุ่มที่ 2 จำนวน 11 จังหวัด
                   8.       เรื่อง     การแก้ไขสัญญาร่วมทุนจัดตั้ง บริษัท โรงงานอุตสาหกรรมกระดาษบางปะอิน จำกัด
                   9.       เรื่อง     การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) Re-Open ธุรกิจโรงแรมและ Supply Chain ของโรงแรม
                   10.      เรื่อง     การปรับลดปริมาณงานภายใต้โครงการพัฒนาระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้าระยะที่ 9 ส่วนที่ 3 (คพส.9.3) และโครงการพัฒนาระบบส่งและจำหน่ายระยะที่ 1  (คพจ.1)
                   11.      เรื่อง     (ร่าง) นโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ  (พ.ศ. 2566 - 2580)
                   12.      เรื่อง     รายงานการรับจ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
                   13.      เรื่อง     ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
                   14.      เรื่อง     รายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย เดือนกันยายน และ 9 เดือนแรกของ ปี 2565
                   15.      เรื่อง     ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สามของปี 2565 และแนวโน้มปี 2565 - 2566
                   16.      เรื่อง     ขออนุมัติใช้งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัด และการเลือกสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
                     17.      เรื่อง     กรอบท่าทีไทยและเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมการว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา สมัยที่ 7 (The Seventh Session of the Committee on Environment and Development: CED 7) ระดับรัฐมนตรี
                   18.      เรื่อง     การขอความเห็นชอบให้ไทยร่วมรับรองข้อมติเรื่อง “Investing in the Core Structure of IOM” ขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานและการยืนยันข้อสั่งการของคณะรัฐมนตรีเรื่องการจ่ายค่าบำรุงสมาชิกองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน
                   19.      เรื่อง     เอกสารผนวกท้ายตราสารเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เครือข่ายการติดตามตรวจสอบการตกสะสมของกรดในภูมิภาคเอเชียตะวันออก (EANET) (Text for the Supplementary Document (Annex) to the Instrument for Strengthening the EANET)
                    20.      เรื่อง     ขออนุมัติกรอบการหารือสำหรับการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ครั้งที่ 29 และการประชุมระหว่างคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงกับกลุ่มหุ้นส่วนการพัฒนา ครั้งที่ 27
                   21.      เรื่อง     ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมสภารัฐมนตรีสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย ครั้งที่ 22
                     22.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
                   23.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง  (สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ)
                   24.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ในกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

1. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติความรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องของสินค้า พ.ศ. ...
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติความรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องของสินค้า พ.ศ. ... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เสนอและให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงานศาลยุติธรรมไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป
                   ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติที่ สคบ. เสนอ เป็นการปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติที่คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติหลักการ (มติคณะรัฐมนตรี 21 พฤศจิกายน 2560) เพื่อให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น โดยเป็นการกำหนดความรับผิดของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อความชำรุดบกพร่องของการขายหรือให้เช่าซื้อสินค้าบางประเภท ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล และสินค้าอื่นที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองสิทธิของประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภคในกรณีที่สินค้าเกิดความชำรุดบกพร่องให้มีความชัดเจนและสอดคล้องกับสภาพปัญหาในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น โดย สคบ. ได้นำร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้ไปดำเนินการตามแนวทางการจัดทำและการเสนอร่างกฎหมายตามบทบัญญัติมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมติคณะรัฐมนตรี (19 พฤศจิกายน 2562) เรื่อง การดำเนินการเพื่อรองรับและขับเคลื่อนการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 และได้เผยแพร่ผลการรับฟังความคิดเห็นพร้อมกับการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายให้ประชาชนได้รับทราบแล้ว
                   สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
                   1. กำหนดบทนิยามตามร่างพระราชบัญญัตินี้ ได้แก่
                             1.1 “ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า
                                      (1) ผู้ผลิตเพื่อขาย หรือผู้ว่าจ้างให้ผลิตเพื่อขาย
                                      (2) ผู้สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย
                                      (3) ผู้ขายหรือผู้ให้เช่าซื้อสินค้าที่ไม่สามารถระบุตัวผู้ผลิตผู้ว่าจ้างให้ผลิต หรือผู้สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรได้
                             1.2 “ผู้บริโภค” หมายความว่า ผู้ซื้อหรือผู้เช่าซื้อสินค้าจากผู้ประกอบธุรกิจอันมิใช่เพื่อการแสวงหาประโยชน์โดยตรงในทางการค้าหรือการประกอบธุรกิจ
                   2. กำหนดให้ร่างพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับกับสัญญาซื้อขายหรือสัญญาเช่าซื้อระหว่างผู้ประกอบธุรกิจและผู้บริโภคในสินค้า ดังนี้
                             2.1 เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นเครื่องใช้หรืออุปกรณ์ที่ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าหรือสนามแม่เหล็กไฟฟ้าในการทำงาน
                             2.2 รถยนต์ส่วนบุคคลและรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
                             2.3 สินค้าอื่นที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
                   3. กำหนดให้ร่างพระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้
                             3.1 การขายหรือให้เช่าซื้อสินค้าใช้แล้ว
                             3.2 การขายหรือให้เช่าซื้อสินค้าตามสภาพ ซึ่งผู้ขายหรือผู้ให้เช่าซื้อระบุไว้โดยชัดแจ้งว่าเป็นการขายหรือให้เช่าซื้อสินค้าตามสภาพ
                             3.3 การขายทอดตลาด
                   4. กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจต้องรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องของสินค้าอันเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมแก่
                             4.1 ประโยชน์ของสินค้าที่มุ่งหมายโดยสัญญา
                             4.2 ประโยชน์อันจะมุ่งใช้สินค้าเป็นปกติ
                             4.3 ประโยชน์อันจะมุ่งใช้สินค้าซึ่งผู้บริโภครู้จากข้อมูลของสินค้าที่ผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้แทนของผู้ประกอบธุรกิจได้เผยแพร่ให้สาธารณชนทราบ
ซึ่งมีอยู่ในเวลาส่งมอบและปรากฏขึ้นภายในสองปีนับแต่วันส่งมอบสินค้าไม่ว่าผู้ประกอบธุรกิจจะรู้ถึงความชำรุดบกพร่องของสินค้าหรือไม่ก็ตาม โดยในกรณีที่สินค้าชำรุดบกพร่องภายในหนึ่งปี นับแต่วันส่งมอบสินค้า ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าสินค้านั้นชำรุดบกพร่องในเวลาส่งมอบสินค้า นอกจากนี้ ผู้ประกอบธุรกิจยังต้องรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจเป็นผู้ติดตั้งหรือประกอบสินค้านั้น หรือในกรณีที่ผู้บริโภคเป็นผู้ติดตั้งหรือประกอบสินค้าตามคู่มือที่ผู้ประกอบธุรกิจจัดให้แต่คู่มือนั้นกำหนดวิธีติดตั้งหรือประกอบสินค้าโดยไม่ถูกต้องหรือครบถ้วน
                   5. กำหนดข้อยกเว้นให้ผู้ประกอบธุรกิจไม่ต้องรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องในกรณีดังต่อไปนี้
                             5.1 ผู้บริโภคได้รู้อยู่แล้วแต่ในเวลาซื้อขายว่าสินค้านั้นมีความชำรุดบกพร่อง
                             5.2 ผู้บริโภคได้ดัดแปลงสินค้าโดยมิได้รับอนุญาตจากผู้ประกอบธุรกิจอันเป็นเหตุให้เกิดความชำรุดบกพร่องดังกล่าว
                             5.3 ผู้บริโภคไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดที่จำเป็นและสมควรเพื่อการบำรุงรักษาสินค้าที่ระบุในคู่มือการใช้งาน อันเป็นเหตุให้เกิดความชำรุดบกพร่องดังกล่าว
                   6. กำหนดสิทธิของผู้บริโภคต่อผู้ประกอบธุรกิจที่ต้องรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่อง ดังนี้
                             6.1 เรียกให้ผู้ประกอบธุรกิจซ่อมแซมสินค้า
                             6.2 เรียกให้ผู้ประกอบธุรกิจเปลี่ยนสินค้า
                             6.3 ขอลดราคาสินค้า
                             6.4 เลิกสัญญา
โดยการใช้สิทธิดังกล่าวไม่กระทบต่อสิทธิในการเรียกค่าเสียหายอื่นจากผู้ประกอบธุรกิจ ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัตินี้ ยังกำหนดรายละเอียดและขั้นตอนการใช้สิทธิดังกล่าวไว้ด้วย
                   7. กำหนดให้ข้อตกลงที่ได้ตกลงไว้ล่วงหน้าก่อนที่ผู้บริโภคจะพบว่าสินค้านั้นชำรุดบกพร่อง ซึ่งแตกต่างจากบทบัญญัติในร่างพระราชบัญญัตินี้และเป็นผลเสียหรือภาระแก่ผู้บริโภคให้ข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ
                   8. กำหนดให้สิทธิของผู้บริโภคตามร่างพระราชบัญญัตินี้เป็นอันขาดอายุความเมื่อพ้นสองปีนับแต่เวลาที่ผู้บริโภคได้พบเห็นความชำรุดบกพร่องของสินค้าหรือเมื่อผู้ประกอบธุรกิจได้ปฏิเสธที่จะดำเนินการตามที่ผู้บริโภคร้องขอ ทั้งนี้ ในระหว่างที่ผู้ประกอบธุรกิจยอมรับที่จะซ่อมแซมหรือเปลี่ยนสินค้าให้อายุความสะดุดหยุดลง
                   9. กำหนดให้ร่างพระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบต่อการที่ผู้บริโภคจะเรียกให้ผู้ประกอบธุรกิจรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องของสินค้าโดยอาศัยสิทธิตามกฎหมายอื่น
                   10. กำหนดให้สินค้าใดที่ได้ขายหรือให้เช่าซื้อแก่ผู้บริโภคก่อนวันที่ร่างพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ไม่อยู่ภายใต้บังคับของร่างพระราชบัญญัตินี้

2. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติอื่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา รวม 4 ฉบับ
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติดังนี้
                   1. มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาทบทวนร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติอื่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา  ( ร่างพระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....   ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ฉบับที่ ..)   พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ) รวม 4 ฉบับ ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ให้สอดคล้องกับผลการประชุมหารือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2565 แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนเสนอรัฐสภาต่อไป โดยให้แจ้งประธานรัฐสภาทราบด้วยว่าร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นร่างพระราชบัญญัติที่จะตราขึ้นเพื่อดำเนินการตามหมวด 16  การปฏิรูปประเทศของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
                   2.  ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปรับปรุงแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ให้สอดคล้องกับผลการพิจารณาทบทวนของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตามข้อ 1.                  แล้วส่งไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการต่อไป
                   ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษาในสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม  ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาตามความต้องการของประเทศ และด้านการผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศ พัฒนาการเรียนการสอน การวิจัย และการสร้างนวัตกรรมร่วมกับนักวิชาการ สถาบันวิชาการ และองค์กรชั้นนำของโลก ส่งเสริมการเชื่อมโยงการเรียนการสอน การวิจัย และการสร้างนวัตกรรมกับสถานประกอบการทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม รวมทั้งสนับสนุนการใช้ความรู้ในการพัฒนาสมรรถนะของชุมชนและสังคม โดยกำหนดให้มีสำนักงานบริหารกองทุนซึ่งมีฐานะเป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินขึ้นในสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อทำหน้าที่บริหารกองทุนดังกล่าว
                   โดยที่กระทรวงการคลัง (กรมบัญชีกลาง) ยังมีข้อสังเกตเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวในประเด็นเกี่ยวกับการกำหนดรูปแบบของสำนักงานบริหารกองทุน คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้อำนวยการสำนักงานบริหารกองทุน การกำหนดระยะเวลาจัดทำรายงานการเงิน และการเสนอรายงานการเงินตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่ควรสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. 2558 ซึ่ง อว. ได้เห็นชอบตามข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง (กรมบัญชีกลาง) ด้วย รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี จึงได้มีคำสั่งให้ อว. รับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวไปหารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ข้อยุติตามประเด็นดังกล่าว ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป ซึ่ง อว. ได้ดำเนินการตามคำสั่งของรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) แล้ว โดยได้ประชุมหารือร่วมกับผู้แทนของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและกระทรวงการคลัง (กรมบัญชีกลาง) เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2565 และที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้มีการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวในประเด็นการกำหนดรูปแบบของสำนักงานบริหารกองทุน ซึ่งไม่มีลักษณะเป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ (SDU) การกำหนดระยะเวลาจัดทำรายงานการเงินและการเสนอรายงานการเงิน ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. 2558

3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมปริมาณน้ำมันสูงสุดเกิน 5 ลิตร แต่ไม่เกิน 12 ลิตร หรือเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมที่มีความดันไม่เกิน 50 กิโลปาสกาล และผลคูณของความดันกับปริมาตรเป็นลิตรไม่เกิน 200 ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ...
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทอดโดนัทเชิงพาณิชย์และเครื่องทอดน้ำมันท่วมเชิงพาณิชย์ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วและให้ดำเนินการต่อไปได้
                   ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงฯ ที่ อก. เสนอ เป็นการกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมปริมาณน้ำมันสูงสุดเกิน 5 ลิตร แต่ไม่เกิน 12 ลิตร หรือเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมที่มีความดันไม่เกิน 50 กิโลปาสกาลและผลคูณของความดันกับปริมาตรเป็นลิตรไม่เกิน 200 ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน (มาตรฐานบังคับ) เพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางวิชาการและมาตรฐานระหว่างประเทศที่ใช้ในปัจจุบันอันจะทำให้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีคุณภาพ ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และป้องกันความเสียหายอันอาจจะเกิดแก่ประชาชน ซึ่ง อก. ได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงดังกล่าวเป็นการล่วงหน้าด้วยแล้ว โดยได้แก้ไขชื่อ               ร่างกฎกระทรวงฯ เป็น “ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทอดโดนัทเชิงพาณิชย์และเครื่องทอดน้ำมันท่วมเชิงพาณิชย์ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....” เพื่อให้เกิดความชัดเจนและกระชับยิ่งขึ้น
                   สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                   1. กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมปริมาณน้ำมันสูงสุดเกิน 5 ลิตร แต่ไม่เกิน 12 ลิตร หรือเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมที่มีความดันไม่เกิน 50 กิโลปาสกาล และผลคูณของความดันกับปริมาตรเป็นลิตรไม่เกิน 200 ต้องเป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 60335 เล่ม 2 (37) - 2564
                   2. กำหนดให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
                   ผลกระทบ
                   1. ผู้ซึ่งได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมาย
                                ผู้ทำ ผู้นำเข้า และผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมปริมาณน้ำมันสูงสุดเกิน 5 ลิตร แต่ไม่เกิน 12 ลิตร หรือเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมที่มีความดันไม่เกิน 50 กิโลปาสกาล และผลคูณของความดันกับปริมาตรเป็นลิตรไม่เกิน 200
                   2. ผลกระทบที่เกิดขึ้นแก่บุคคล
                             (1) ด้านเศรษฐกิจ เป็นการส่งเสริมผู้ประกอบการและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมปริมาณน้ำมันสูงสุดเกิน 5 ลิตร แต่ไม่เกิน 12 ลิตร หรือเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมที่มีความดันไม่เกิน 50 กิโลปาสกาล และผลคูณของความดันกับปริมาตรเป็นลิตรไม่เกิน 200 ในประเทศซึ่งผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดังกล่าวจะมีคุณภาพ มีความปลอดภัย และทันสมัย
                             (2) ด้านสังคม ทำให้ผู้บริโภคได้ใช้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมปริมาณน้ำมันสูงสุดเกิน 5 ลิตร แต่ไม่เกิน 12 ลิตร หรือเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมที่มีความดันไม่เกิน 50 กิโลปาสกาล และผลคูณของความดันกับปริมาตรเป็นลิตรไม่เกิน 200 ที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัย และทันสมัย
                   3. สิทธิเสรีภาพของบุคคลที่ต้องถูกจำกัด
                      ผู้ทำหรือผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมปริมาณน้ำมันสูงสุด 5 ลิตร แต่ไม่เกิน 12 ลิตร หรือเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมที่มีความดันไม่เกิน 50 กิโลปาสกาล และผลคูณของความดันกับปริมาตรเป็นลิตรไม่เกิน 200 จะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามมาตรฐานที่กำหนดใหม่ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 และผู้จำหน่ายจะต้องจำหน่ายผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดังกล่าวที่ได้รับอนุญาต และเป็นไปตามมาตรฐาน
                   4. ประโยชน์ที่ประชาชนและสังคมจะได้รับ
                      เป็นการส่งเสริมและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ทำและผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดังกล่าว โดยทำให้ประชาชนได้ใช้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมปริมาณน้ำมันสูงสุดเกิน 5 ลิตร แต่ไม่เกิน 12 ลิตร หรือเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมที่มีความดันไม่เกิน 50 กิโลปาสกาล และผลคูณของความดันกับปริมาตรเป็นลิตรไม่เกิน 200 ที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัยและทันสมัย
  4. เรื่อง  รายงานการดำเนินการตามมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ  ผลการดำเนินการประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และการคงสถานะ วช. เป็นส่วนราชการ เพื่อขับเคลื่อนงานนโยบายสำคัญตามแนวทางการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมต่อไป
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   อว. รายงานว่า
                   1. ปัจจุบัน วช. เป็นส่วนราชการภายใน อว. ตามมาตรา 8 (4) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 โดยเมื่อครบกำหนดสามปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ (ครบกำหนดเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2565) ให้คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม1 ประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการตามหน้าที่และอำนาจของ วช. และในกรณีที่เห็นว่า ผลการปฏิบัติราชการดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงโครงสร้างและกลไกในการบริหารเพื่อให้สามารถขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้มีอำนาจเสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้จัดตั้ง วช. เป็นองค์การมหาชนตามกฎหมายว่าด้วยองค์การมหาชนโดยเสนอพร้อมร่างพระราชกฤษฎีกาด้วย (ตามมาตรา 37)
                   2. คณะกรรมการขับเคลื่อนฯ ได้มีมติเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2565 เห็นชอบผลการประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการตามหน้าที่และอำนาจของ วช. และข้อเสนอของคณะกรรมการกำกับการประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของ วช.2  พร้อมทั้งมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ (สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม) จัดทำแผนและระยะเวลาการปรับเปลี่ยนรูปแบบองค์กรของ วช. ทั้งนี้ ได้เสนอผลการประเมินและข้อเสนอดังกล่าวข้างต้นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2565 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                             2.1 ผลการประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของ วช.

ประเด็นการประเมินผลการประเมิน1. ประสิทธิภาพและประสิทธิผล
(Efficiency & Effectiveness) ของการดำเนินงานตามภารกิจของ วช.Ÿ สามารถบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมได้ตามแผนที่กำหนดไว้  แม้จะมีปัญหาและอุปสรรคในส่วนงานที่ได้รับโอนมาจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยเดิม
Ÿ บุคลากรของ วช. มีงานที่รับผิดชอบจำนวนมาก (หลายกรณีรับผิดชอบโครงการมากกว่า 100 โครงการต่อคน) ซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการดูแลคุณภาพการดำเนินงาน
Ÿ ด้านประสิทธิผลยังไม่สามารถเห็นได้ชัดเจนเนื่องจากเป็น                          การดำเนินงานภายใต้บทบาทใหม่ภายหลังจากการปฏิรูปเพียง 2-3 ปี
Ÿ สัดส่วนต้นทุนการบริหารจัดการงานวิจัยและนวัตกรรมเท่ากับร้อยละ 4.88-6.67 ของงบประมาณสนับสนุน2. การปรับเปลี่ยนองค์กร
(Organization Transformation)Ÿ มีการปรับตัวอย่างมากทั้งด้านโครงสร้างและระเบียบขั้นตอน                การดำเนินงานเพื่อให้เกิดความคล่องตัวต่อกระบวนการบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรม
Ÿ ยังขาดความชัดเจนในเรื่องการปรับระบบบริหารและพัฒนาบุคลากรโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาศักยภาพด้าน Academic Leadership ในขณะที่ วช. มีบุคลากรหลายสถานะ (เช่น ข้าราชการ พนักงานราชการ
ลูกจ้างโครงการ) หลายช่วงวัย หลากหลายทัศนคติ แนวคิดและวัฒนธรรมการทำงาน ซึ่งเป็นประเด็นท้าทายในการบริหารจัดการและการพัฒนาบทบาทขององค์กรและการพัฒนาบุคลากรในอนาคตที่รองรับกับภารกิจของ วช.3. การเรียนรู้ขององค์กร
(Organization Learning)
 Ÿ วัฒนธรรมการทำงานในภาพรวมเป็นการสั่งการจากผู้บริหารค่อนข้างมากและขาดกระบวนการที่ชัดเจนในการแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อผู้บังคับบัญชาอย่างเป็นระบบ
Ÿ ผู้บริหารมีความเข้าใจนโยบายและตอบสนองต่อพลวัตของระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้เป็นอย่างดีแต่ในระดับบุคลากรยังมีความจำเป็นต้องทำความเข้าใจนโยบายและทิศทางการเปลี่ยนแปลงในภาพใหญ่ของระบบ รวมถึงช่องทางและโอกาสที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับบุคลากรของหน่วยงานระดับนโยบายและหน่วยบริหารและจัดการทุนเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาความเข้าใจในงานร่วมกัน4. การประสานและร่วมมือกับ
หน่วยงานระดับต่าง ๆ
(Coordination & Collaboration)
 Ÿ ผู้บริหารมีการเชื่อมโยงกับหน่วยงานนโยบายและหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง
Ÿ บุคลากรมีการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานผู้ใช้ประโยชน์              ทั้งภาครัฐและภาคสังคม/ชุมชนได้เป็นอย่างดี แต่ยังมีความจำเป็นต้องพัฒนากลไก/วิธีการประสานความร่วมมือกับผู้ใช้ประโยชน์ภาคเอกชนและผู้ประกอบการเพิ่มมากขึ้น5. การสื่อสารไปสู่สังคม
และสาธารณะ (Social & Public
Communication)วช. มีความเข้มแข็งในส่วนนี้ จากการจัดกิจกรรมเชิดชูเกียรติบุคลากร องค์กร และการประกวดสิ่งประดิษฐ์และผลงานวิจัยที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง และในอนาคตมีความจำเป็นต้องต่อยอดการสื่อสารสาธารณะเพื่อสร้างความตระหนักรู้ต่อความสำคัญและคุณค่าของการวิจัยที่มีต่ออนาคตการพัฒนาประเทศ6. การพัฒนาระบบข้อมูล
และการเชื่อมโยงข้อมูล (Data
Platform and Connecting)Ÿ มีการพัฒนาการเชื่อมโยงระบบข้อมูลโดยการวางผังสถาปัตยกรรมระบบข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมร่วมกับหน่วยงาน              ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจัดทำแผนการพัฒนาระบบข้อมูลดังกล่าวซึ่งยังอยู่ระหว่างดำเนินการเชื่อมโยงข้อมูล
Ÿ ยังพบปัญหาความเสถียรของระบบข้อมูลสำหรับผู้วิจัยและหน่วยงานวิจัย (National Research and Innovation Information System: NRIS) โดยเฉพาะช่วงเวลาที่มีผู้ใช้ระบบเป็นจำนวนมาก
Ÿ ระบบข้อมูลสำหรับการบริหารและจัดการงานวิจัยและนวัตกรรมส่วนกลางยังไม่ตอบโจทย์ทั้งหน่วยงานผู้บริหารจัดการงานวิจัยและ               การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์เพื่อบริหารจัดการเชิงนโยบายอีกทั้งการนำข้อมูลไปใช้ยังไม่สามารถทำได้โดยอัตโนมัติตลอดทั้งกระบวนการ
                             2.2 ข้อเสนอการปรับปรุงโครงสร้างและกลไกการบริหารเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามภารกิจและขับเคลื่อนการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ จากการประเมินและวิเคราะห์ใน 3 ส่วน คือ (1) การประเมินประสิทธิภาพและผลการดำเนินงานของ วช. ในสถานะส่วนราชการ (2) การประเมินจุดแข็ง จุดอ่อนและประเด็นแวดล้อมของ วช. ในการดำเนินภารกิจในสถานะปัจจุบัน (ผลการประเมินปรากฏตามข้อ 2.1) และ (3) การวิเคราะห์เพื่อกำหนดและออกแบบทางเลือกการปรับปรุงโครงสร้างและกลไกการบริหารเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามภารกิจและขับเคลื่อนการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมอย่างมีประสิทธิภาพผ่านการตั้งโจทย์ 3 โจทย์ ได้แก่ (1) สถานะองค์กรแบบใดที่ส่งเสริมการพัฒนา วช. ให้เป็นองค์กรสมรรถนะสูง (2) การบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมของ วช. ควรมีบทบาทการให้ทุนประเภทและรูปแบบใดบ้าง
และ (3) ขอบเขตภารกิจของ วช. ควรครอบคลุมมากกว่าการเป็นหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมหรือไม่ ได้นำไปสู่ข้อเสนอการเปลี่ยนสภาพ วช. ไปสู่การเป็นองค์การมหาชนตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 25423 เพื่อตอบโจทย์การขับเคลื่อนการปฏิรูปและการพัฒนาองค์กรไปสู่องค์กรสมรรถนะสูง โดยให้จัดทำแผนและระยะเวลาการปรับเปลี่ยนรูปแบบองค์กรของ วช. รวมทั้งให้สำนักงาน ก.พ.ร. คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาองค์การมหาชน และ อว. หารือร่วมกันเพื่อดำเนินการในระยะต่อไป ทั้งนี้ ในส่วนของการกำหนดรูปแบบการบริหารและจัดการทุนควรมุ่งเน้นที่การวิจัยพื้นฐานเพื่อการสร้างองค์ความรู้ที่จะเป็นฐานในการพัฒนานวัตกรรมและการสร้างความเข้มแข็งของหน่วยวิจัยและนักวิจัย รวมทั้งควรมีส่วนงานหรือบุคคลที่ทำหน้าที่วางระบบการวิเคราะห์โจทย์และจัดทำ/พัฒนาแผนการวิจัยและนวัตกรรมซึ่งจะเป็นตัวอย่างที่ดีของหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรม
                   3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้พิจารณารายงานผลการประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของ วช. ร่วมกับผลงานการปฏิรูประบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของหน่วยงาน ส่วนราชการ  องค์การมหาชน รัฐวิสาหกิจ สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ สถาบันอุดมศึกษาในกำกับและสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ในการประชุมคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา  วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2565 มีข้อพิจารณาว่าการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมซึ่งเกิดขึ้นหลังจากการจัดตั้ง อว. และมีการจัดโครงสร้าง บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานครั้งใหญ่สามารถแสดงผลงานเชิงประจักษ์ได้ตามความคาดหวังของรัฐบาลและประชาชน รวมทั้งยังได้รับการยอมรับและชื่นชมจากภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ วช. ในสถานะส่วนราชการ ได้มีบทบาทและเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนงานนโยบายสำคัญตามแนวทางการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในภารกิจการเป็นกลไกขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลและ อว. พร้อมการทำงานร่วมกับหน่วยงานของรัฐในทุกรูปแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยเป็นไปตามหลักเกณฑ์การประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการ ดังนั้น เพื่อให้การปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเป็นไปอย่างต่อเนื่องมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์โดยรวมต่อประเทศ เห็นสมควรให้ วช. คงสถานะความเป็นส่วนราชการและเห็นควรเสนอคณะรัฐมนตรีทราบผลการดำเนินการประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของ วช. และทราบการคงสถานะ วช. เป็นส่วนราชการ เพื่อขับเคลื่อนงานนโยบายสำคัญตามแนวทางการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมต่อไป

1แต่งตั้งตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 209/2562 ลงวันที่ 27 สิงหาคม 2562 โดยมีรองศาสตราจารย์ศักรินทร์ ภูมิรัตน เป็นประธานฯ มีหน้าที่และอำนาจตามมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ อว.ฯ เช่น จัดทำแนวทางการพัฒนาระบบ กลไก การบูรณาการการทำงานและวิธีการปฏิบัติราชการ การจัดโครงสร้างและอัตรากำลังของหน่วยงานในบังคับบัญชาและในกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมให้แล้วเสร็จภายในสามปี เพื่อเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ และคณะรัฐมนตรี
2แต่งตั้งโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม คำสั่ง อว. ที่ 120/166685 ลงวันที่  9 มิถุนายน 2563 โดยมีศาสตราจารย์กิตติคุณ บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธาน มีหน้าที่และอำนาจ เช่น (1) เสนอแนะเกณฑ์และแนวทางการประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของ วช. ต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ  (2) เสนอแนะการพัฒนาหรือปรับปรุงโครงสร้างและกลไกการบริหารของ วช. ให้สามารถขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา  วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ และ (3) รายงานผลการปฏิบัติงานต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ เพื่อเสนอให้ อว. นำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
3เนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ อว.ฯ มาตรา 37 บัญญัติให้การปรับรูปแบบองค์กรของ วช. เป็นองค์การมหาชนตามกฎหมายว่าด้วยองค์การมหาชน

5. เรื่อง รายงานความคืบหน้าการดำเนินการโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG และการขยายระยะเวลาดำเนินการโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ ดังนี้
                   1. ความคืบหน้าการดำเนินการโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG
                   2. การขยายระยะเวลาดำเนินการโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG จากระยะเวลา 3 เดือน (1 กรกฎาคม - 30 กันยายน 2565) เป็นระยะเวลา 9 เดือน (1 กรกฎาคม 2565 - 31 มีนาคม 2566)
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   อว. รายงานว่า
                   1. โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG  เป็นการต่อยอดการดำเนินการจาก “โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ” (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย)1 โดยจะใช้ข้อมูลจาก Thailand Community Big Data (TCD)2 ที่ได้ดำเนินการมาใช้ในการบ่งบอกถึงศักยภาพและความพร้อมของทรัพยากร ความหลากหลายทางชีวภาพ และความหลากหลายทางวัฒนธรรมของพื้นที่ที่จะนำมาใช้ในการพัฒนารายพื้นที่ ด้วยยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ BCG รวมถึงการเพิ่มและรักษาระดับการจ้างงานบัณฑิตและประชาชนในพื้นที่ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                             1.1 วัตถุประสงค์ : (1) เพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการด้าน BCG ในพื้นที่ ด้วยองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (2) เพิ่มการจ้างงานบัณฑิตจบใหม่และประชาชนในพื้นที่ (3) พัฒนากำลังคนให้มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการทำงานในปัจจุบันและทักษะที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ BCG และ (4) พัฒนาฐานข้อมูล TCD ให้มีความสมบูรณ์ครอบคลุมในทุกพื้นที่ของประเทศ
                             1.2 กลุ่มเป้าหมาย : ได้แก่ บัณฑิตใหม่ ไม่เกิน 5 ปี ผู้ที่ถูกเลิกจ้าง/ประชาชนในพื้นที่ ครอบคลุม 7,435 ตำบล ทั่วประเทศ (ตำบลพื้นที่ที่เคยดำเนินการ “โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ” จำนวน 3,000 ตำบล และตำบลพื้นที่ใหม่ จำนวน 4,435 ตำบล)
                             1.3 ระยะเวลาดำเนินโครงการ : 3 เดือน เริ่มดำเนินการ ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม - 30 กันยายน 2565
                             1.4 กิจกรรมหลัก
                                      (1) กิจกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG ในพื้นที่เป้าหมายเพื่อเป็นการพัฒนา ส่งเสริม ผลักดันผลิตภัณฑ์และบริการด้าน BCG ของชุมชนออกสู่ตลาดอย่างเป็นระบบและยั่งยืน เช่น 1) การพัฒนาสินค้าและบริการชุมชนให้ได้มาตรฐานด้วยองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม 2) การทำการตลาดและขายสินค้าในรูปแบบ online/offline ทั้งในประเทศและต่างประเทศ 3) การพัฒนาบรรจุภัณฑ์หรืออัตลักษณ์ของสินค้า/บริการ ให้มีความโดดเด่น น่าสนใจ และสามารถกระจายสินค้าได้อย่างกว้างขวาง
                                      (2) การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) และส่งเสริมการใช้ประโยชน์และสนับสนุนการจัดทำข้อมูล TCD ให้สมบูรณ์ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ และการถ่ายทอดการใช้ประโยชน์จาก TCD ให้ผู้ที่จะใช้ประโยชน์ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน
                             1.5 การบริหารงบประมาณ :
                                      (1) งบประมาณสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG รวมทั้งสิ้น 965.58 ล้านบาท ในพื้นที่ตำบลเดิม จำนวน 322.50 ล้านบาท (จำนวน 107,500 บาท/ตำบล) พื้นที่ตำบลใหม่ จำนวน 643.07 ล้านบาท (จำนวน 145,000 บาท/ตำบล) โดยใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการจัดประชุม หรือจัดกิจกรรม การถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิตสินค้าและบริการ เพื่อส่งเสริมการสร้างอัตลักษณ์ การสร้าง Brand การส่งเสริมการตลาด ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการเดินทาง วัสดุใช้สอย และค่าบริหารจัดการ
                                      (2) งบประมาณค่าตอบแทนสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ (การจ้างงาน) รวมทั้งสิ้น 2,460.60 ล้านบาท ตลอดโครงการ ในพื้นที่ตำบลเดิม จำนวน 864.00 บาท [วงเงิน 288,000 บาท/ตำบล สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 8 คน/ตำบล (บัณฑิตจบใหม่ ไม่เกิน 5 ปี จำนวน 4 คน/ตำบล คนละ 45,000 บาท และผู้ที่ถูกเลิกจ้าง/ประชาชน จำนวน 4 คน/ตำบล คนละ 27,000 บาท)] และพื้นที่ตำบลใหม่ จำนวน 1,596.6 ล้านบาท [วงเงิน 360,000 บาท/ตำบล สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 10 คน/ตำบล (บัณฑิตจบใหม่  ไม่เกิน 5 ปี จำนวน 4 คน/ตำบล คนละ 45,000 บาท และผู้ที่ถูกเลิกจ้าง/ประชาชน จำนวน 4 คน/ตำบล คนละ 27,000 บาท)]
                                      (3) ค่าบริหารจัดการและกิจกรรมส่วนกลาง รวมทั้งสิ้น 139.66 ล้านบาท เช่น (1) การดำเนินการจัดทำ TCD และการจัดทำการวิเคราะห์ข้อมูล [ต่อยอดจากโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) ครอบคลุมพื้นที่ 7,435 ตำบลทั่วประเทศ] จำนวน 10 ล้านบาท (2) การสนับสนุนสถาบันอุดมศึกษาในฐานหน่วยดำเนินงานระดับจังหวัด จำนวน 10 ล้านบาท และ (3) การพัฒนา Platform เพื่อผลักดันผลที่ได้รับจากการดำเนินกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG สู่การพัฒนาด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม และการผลักดันสินค้าและบริการออกสู่ตลาดผ่านช่องทางการจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ให้กับตำบล (U2T Market Place Platform) จำนวน 70 ล้านบาท
                   2. ผลการดำเนินการ
                             2.1 ผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ จำนวน 64,428 คน คิดเป็นร้อยละ 94.26 จากเป้าหมาย 68,350 คน โดยแบ่งเป็นบัณฑิตจบใหม่ จำนวน 32,420 คน และประชาชน จำนวน 32,008 คน
                             2.2 กิจกรรมที่ดำเนินการในพื้นที่ รวม 15,631 โครงการ ดังนี้

พื้นที่จำนวน (โครงการ)ภาคกลาง3,375ภาคตะวันออก1,035ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ5,632ภาคเหนือ3,329ภาคใต้2,260                             2.3 สถาบันอุดมศึกษาที่รับผิดชอบในแต่ละพื้นที่ จำนวน 98 แห่ง ทำหน้าที่เป็นผู้บูรณาการระบบ (System Integrator) ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG ในพื้นที่ ให้มีการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยใช้องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
                             2.4 การใช้จ่ายงบประมาณ (ข้อมูล ณ วันที่ 10 กันยายน 2565) มีการใช้จ่ายงบประมาณ จำนวน 2,701.61 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 75.76 ของงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร (จำนวน 3,565.84 ล้านบาท) โดยในส่วนของงบประมาณส่วนที่เหลือสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมจะได้ประสานกับสำนักงบประมาณและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง* เกี่ยวกับการขยายระยะเวลาและการเบิกจ่ายงบประมาณสำหรับการดำเนินการโครงการดังกล่าวต่อไป ทั้งนี้ การขยายระยะเวลาการดำเนินการโครงการดังกล่าวอีก 6 เดือน (1 ตุลาคม 2565 - 31 มีนาคม 2566) จะเป็นการดำเนินการในส่วนของกิจกรรมที่จำเป็นที่ต้องดำเนินการภายหลังจากที่ได้ผลลัพธ์จากการดำเนินการในระยะเวลา 3 เดือน (กรกฎาคม - กันยายน 2565) ได้แก่ (1) การพัฒนา ส่งเสริมและผลักดันผลิตภัณฑ์และบริการ BCG ของชุมชนอย่างเป็นระบบและยั่งยืน (2) การพัฒนา Platform เพื่อผลักดันผลที่ได้รับจากการดำเนินกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG ของ 7,435 ตำบล สู่การพัฒนาด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม และการผลักดันสินค้าและบริการออกสู่ตลาดผ่านช่องทางการจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ให้กับตำบล (U2T Market Place Platform) (3) การจัดทำ TDC และการวิเคราะห์ข้อมูล และ (4) การติดตามและประเมินผลการดำเนินการโครงการ
_____________________
1เป็นโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) พ.ศ. 2563
2ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชนรายตำบล เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์และตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบมีเป้าหมายชัดเจน
*อว. แจ้งว่า จะดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการขอกันเงินงบประมาณปี พ.ศ. 2565 ไว้เบิกเหลื่อมปี ตามหนังสือ กค. ด่วนที่สุด ที่ กค 0402.5/ว138 ลงวันที่ 2 กันยายน 2565

6. เรื่อง รายงานการพัฒนาระบบราชการ ประจำปี 2564
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานการพัฒนาระบบราชการ ประจำปี 2564 ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ และให้เสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่อไป และให้สำนักงาน ก.พ.ร. รับข้อเสนอแนะของกระทรวงมหาดไทย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   รายงานการพัฒนาระบบราชการ ประจำปี 2564 สรุปได้ดังนี้
                   1. ส่วนที่ 1 ข้อมูลภาพรวมของสำนักงาน ก.พ.ร.
                             1.1 ข้อมูลเกี่ยวกับคณะกรรมการที่สำนักงาน ก.พ.ร. ทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการ
                             1.2 ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ (พ.ศ. 2564 - 2565) และสรุปผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดยุทธศาสตร์ ดังนี้
                                      (1) ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาบริการภาครัฐเพื่อประชาชน
                                      (2) ยุทธศาสตร์ที่ 2 การปรับบทบาทภารกิจโครงสร้างหน่วยงานภาครัฐให้ทันสมัย ยืดหยุ่น รองรับการเปลี่ยนแปลง
                                      (3) ยุทธศาสตร์ที่ 3 การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานภาครัฐ
                   2. ส่วนที่ 2 ข้อมูลผลการดำเนินงานที่สำคัญ ในแต่ละยุทธศาสตร์และการบริหารจัดการของภาครัฐในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สรุปได้ดังนี้
                             2.1 ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาบริการภาครัฐเพื่อประชาชน
                                      (1) ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดยุทธศาสตร์ฯ ประชาชนได้รับความสะดวกรวดเร็วในการติดต่อภาครัฐ ทุกภาคส่วนเข้าถึงบริการภาครัฐได้ง่ายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ และภาครัฐมีบริการที่เป็นมาตรฐานสากลและเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วม
                                      (2) ผลการดำเนินงานที่สำคัญ มีการผลักดันการให้บริการภาครัฐผ่าน e-Service การเชื่อมโยงบริการภาครัฐแบบ End to End Service ผ่านแพลตฟอร์มกลาง
                             2.2 ยุทธศาสตร์ที่ 2 การปรับบทบาทภารกิจโครงสร้างหน่วยงานภาครัฐให้ทันสมัย ยืดหยุ่น รองรับการเปลี่ยนแปลง
                                      (1) ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดยุทธศาสตร์ฯ ภาครัฐมีความทันสมัยมีขนาดที่เหมาะสมกับบทบาทภารกิจ และการบริหารเชิงพื้นที่มีความเข้มแข็งและมีส่วนร่วม
                                      (2) ผลการดำเนินงานที่สำคัญ การทบทวนบทบาทภารกิจ/ยุบเลิกภารกิจ/ถ่ายโอนภารกิจให้ภาคส่วนอื่น การพัฒนาแนวทางการจัดโครงสร้าง และรูปแบบที่หลากหลาย การมีระบบประเมินความเหมาะสม ความมีประสิทธิภาพ และความคุ้มค่าในการจัดส่วนราชการและองค์การมหาชน
                             2.3 ยุทธศาสตร์ที่ 3 การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานภาครัฐ
                                      (1) ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดยุทธศาสตร์ฯ การมุ่งสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลมีฐานข้อมูลและเป็นภาครัฐที่เปิดกว้าง และส่วนราชการมีรูปแบบการทำงานที่รองรับการเปลี่ยนแปลง
                                      (2) ผลการดำเนินงานที่สำคัญ การพัฒนาการเป็นภาครัฐระบบเปิด (Open Government) การพัฒนารูปแบบการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารราชการ การสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางยุทธศาสตร์ในหน่วยงาน
                             2.4 การบริหารจัดการของภาครัฐในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
                                      (1) การออกมาตรการรับมือและบรรเทาผลกระทบสำหรับผู้มาติดต่อราชการ รวม 90 กระบวนงาน เช่น กรมสรรพากรขยายระยะเวลายื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรมขนส่งทางบกขยายระยะเวลาการยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตขับรถ
                                      (2) การบริหารจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของส่วนราชการ เช่น การทำงานออนไลน์ การให้บริการประชาชนด้วย e-Service
                                      (3) การบริหารจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของจังหวัด มีข้อเสนอแนะเพื่อให้จังหวัดสามารถพัฒนาการดำเนินการได้ดียิ่งขึ้น อาทิ การบูรณาการ การทำงานระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ในพื้นที่ เพื่อให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นศูนย์กลางการสั่งการ (Command Center) การบริหารงบประมาณในระดับพื้นที่สามารถโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณแก้ไขภาวะวิกฤต

7. เรื่อง ผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000  (One Map) ของพื้นที่กลุ่มที่ 2 จำนวน 11 จังหวัด
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (สคทช.) เสนอดังนี้
                   1. เห็นชอบแนวทางการแก้ไขปัญหาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนจากการดำเนินงานปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐ และให้นำไปใช้กับทุกกล่มจังหวัด เพื่อให้เป็นแนวทางปฏิบัติอย่างเดียวกัน
                   2. เห็นชอบผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) (แผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการฯ) พื้นที่กลุ่มที่ 2 จำนวน 11 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดจันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ชัยนาท ตราด นครนายก นครสรรค์ ระยอง (ยกเว้นกรณีพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า – หมู่เกาะเสม็ด) ลพบุรี ศรีสะเกษ และสระบุรี และให้หน่วยงานที่มีที่ดินอยู่ในความรับผิดชอบปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการฯ ดังกล่าว ให้แล้วเสร็จภายใน 360 วัน โดยอาจขอขยายระยะเวลาการดำเนินการต่อคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) ได้ตามเหตุผลความจำเป็นแต่ไม่เกิน 180 วัน ทั้งนี้ หากมีผู้ได้รับผลกระทบจากกรณีดังกล่าว ให้ คทช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามแนวทางการแก้ไขปัญหาตามข้อ 1 อย่างถูกต้อง รวดเร็ว เหมาะสม ตามควรแก่กรณี โดยเป็นไปตามกฎหมาย และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
                   3. รับทราบผลการดำเนินการกรณีแนวทางปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2533 เกี่ยวกับพื้นที่ป่าไม้ถาวร โดยให้กรมพัฒนาที่ดินเร่งดำเนินการเสนอเรื่องให้คณะกรรมการพัฒนาที่ดินพิจารณา ผลเป็นประการใดให้ สคทช. เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณต่อไป
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   1. สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (สคทช.) เสนอผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) (แผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการฯ) ของพื้นที่กลุ่มที่ 2 จำนวน 11 จังหวัด มาเพื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ ซึ่งสืบเนื่องมาจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2565 ที่คณะรัฐมนตรีไม่มีมติให้ความชอบการดำเนินการปรับปรุงแผนที่  แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการฯ ของพื้นที่กลุ่มที่ 2 ดังกล่าวตามที่ สคทช. เสนอโดยให้รับความเห็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายสันติ พร้อมพัฒน์) ที่เห็นควรให้ สคทช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะร่วมกันพิจารณากำหนดแนวทางการดำเนินการกรณีแนวเขตที่ดินของรัฐซ้อนทับกับแนวเขตที่ดินที่มีเอกสารสิทธิหรือมีการเข้าครอบครองทำประโยชน์อยู่ให้ได้ข้อยุติ รวมทั้งพิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาและบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อประชาชนให้ชัดเจนด้วย และเห็นควรให้คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) พิจารณาแนวทางการดำเนินการ กรณีพื้นที่กันออกจากป่าสงวนแห่งชาติ เขตอุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ที่ทับซ้อนกับป่าไม้ถาวร ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2533 [เรื่อง การจำแนกประเภทที่ดินจังหวัดขอนแก่น (เฉพาะแห่ง)] ให้ได้ข้อยุติ ในคราวนี้ คทช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการตามความเห็นข้างต้นแล้ว
                   2. ผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการฯ กลุ่มที่ 2 จำนวน 11 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ชัยนาท ตราด นครนายก นครสรรค์ ระยอง ลพบุรี ศรีสะเกษ และสระบุรี พื้นที่รวมทั้งสิ้น 18,954,338.29 ไร่ ซึ่ง สคทช. เสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบเพิ่มเติมให้หน่วยงานที่มีที่ดินอยู่ในความรับผิดชอบ ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการฯ ดังกล่าว ให้แล้วเสร็จภายใน 360 วัน โดยอาจขอขยายระยะเวลา  การดำเนินการต่อ คทช. ได้ตามเหตุผลความจำเป็น แต่ไม่เกิน 180 วัน ทั้งนี้ หากมีผู้ได้รับผลกระทบจากกรณีดังกล่าว ให้ คทช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามแนวทางการแก้ไขปัญหาตามข้อ 3. อย่างถูกต้อง รวดเร็ว เหมาะสม ตามควรแก่กรณี โดยเป็นไปตามกฎหมาย และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
                   3. ในส่วนของแนวทางการดำเนินการกรณีแนวเขตที่ดินของรัฐซ้อนทับกับแนวเขตที่ดินที่มีเอกสารสิทธิหรือมีการเข้าครอบครองทำประโยชน์อยู่ คทช. ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2565 ได้มีมติเห็นชอบแนวทางการแก้ไขปัญหาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนจากการดำเนินงานปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐ ซึ่งหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลรักษาที่ดินของรัฐทั้ง 9 หน่วยงาน ได้จัดทำข้อเสนอแนวทางดังกล่าวขึ้น มีสาระสำคัญ เช่น (1) ยืนยันหลักการว่าการดำเนินโครงการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการฯ ไม่ได้เป็นการยกเลิกเพิกถอนเอกสารสิทธิ หรือสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดินของประชาชนแต่อย่างใด (2) กรณีมีประชาชนได้รับผลกระทบหรือได้รับความเดือดร้อนจากการดำเนินการ หน่วยงานที่มีที่ดินของรัฐอยู่ในความรับผิดชอบและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีหน้าที่จะต้องบูรณาการการแก้ไขปัญหาให้เป็นที่ยุติโดยเร็วและดำเนินการเสนอขอปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยดำเนินการตามตารางแนวทางการพิจารณาการแก้ไขผลกระทบต่อประชาชนจากการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการของทั้ง 9 หน่วยงาน ซึ่งมีลักษณะเป็นแนวทางปฏิบัติในการพิสูจน์สิทธิ แนวทางการบูรณาการการตรวจสอบแปลงที่ดินที่หน่วยงานรับผิดชอบซ้ำซ้อน (3) แนวทางการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนผู้ได้รับผลกระทบด้วยวิธีการอื่น (เช่น การอนุญาตให้เข้าใช้ประโยชน์อยู่อาศัย/ทำกินแบบแปลงรวมโดยมิให้เอกสารสิทธิ การจัดให้เช่า การอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในที่ดิน) และ (4) การเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สิทธิในที่ดิน สคทช. จึงขอเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบแนวทางแก้ไขปัญหาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนจากการดำเนินงานปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐในคราวนี้ด้วย และให้นำไปใช้กับทุกกลุ่มจังหวัด เพื่อให้เป็นแนวทางปฏิบัติอย่างเดียวกัน
                   4. ในส่วนแนวทางการดำเนินการ กรณีพื้นที่กันออกจากป่าสงวนแห่งชาติ เขตอุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ที่ทับซ้อนกับป่าไม้ถาวร ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2533 นั้น สคทช. ได้เสนอความคืบหน้าในเรื่องนี้มาให้คณะรัฐมนตรีรับทราบด้วย โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้หารือแล้วได้ข้อสรุปว่าพื้นที่ที่กันออกหรือเพิกถอนนั้นไม่เป็นพื้นที่ป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2533 และ คทช. ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2565 ได้รับทราบมติคณะอนุกรรมการกลั่นกรองกฎหมายการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน [รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธานอนุกรรมการ] ในคราวประชุม ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2565 ที่มอบหมายให้กรมพัฒนาที่ดิน โดยคณะกรรมการพัฒนาที่ดินทำความเห็นเสนอเรื่องให้ สคทช. เพื่อประกอบการนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาทบทวน หรือยืนยันมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2533 ให้มีความชัดเจนต่อไป

8. เรื่อง การแก้ไขสัญญาร่วมทุนจัดตั้ง บริษัท โรงงานอุตสาหกรรมกระดาษบางปะอิน จำกัด
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการแก้ไขสัญญาร่วมทุนจัดตั้ง บริษัท โรงงานอุตสาหกรรมกระดาษบางปะอิน จำกัด ข้อ 10 และการแก้ไขชื่อคู่สัญญาร่วมทุนตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอดังนี้
                   1. ให้มีการแก้ไขสัญญาร่วมทุนจัดตั้ง บริษัท โรงงานอุตสาหกรรมกระดาษบางปะอินฯ ข้อ 10  จากเดิมที่ระบุว่า “…คณะกรรมการบริษัท ซึ่งจะต้องประกอบด้วยกรรมการที่มาจากการเสนอชื่อของคู่สัญญาแต่ละฝ่าย โดยจำนวนสัดส่วนของกรรมการนั้นให้เป็นไปตามสัดส่วนของจำนวนหุ้นที่ถือ ทั้งนี้ จำนวนกรรมการฝ่ายรัฐต้องมีไม่น้อยกว่า 3 คน โดยมีอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรมเป็นกรรมการโดยตำแหน่งและเป็นประธานกรรมการด้วย”   เป็น “…คณะกรรมการบริษัท ซึ่งจะต้องประกอบด้วยกรรมการที่มาจากการเสนอชื่อของคู่สัญญาแต่ละฝ่าย โดยจำนวนสัดส่วนกรรมการนั้นให้เป็นไปตามสัดส่วนของจำนวนหุ้นที่ถือ ทั้งนี้ จำนวนกรรมการฝ่ายรัฐต้องมีไม่น้อยกว่า 3 คน โดยเป็นผู้แทนจาก อก. 2 คน และผู้แทนจากกระทรวงการคลัง (กค.) 1 คน เป็นกรรมการโดยผู้แทนจาก อก. เป็นประธานกรรมการ”
                   2. ให้มีการแก้ไขชื่อคู่สัญญาร่วมทุนจากเดิม “บริษัท บวรกิจร่วมทุนจำกัด” เป็น “บริษัท สนิทเสถียร จำกัด”
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   อก. รายงานว่า
                   1. โรงงานกระดาษบางปะอินก่อตั้งขึ้นโดย บริษัท ส่งเสริมเศรษฐกิจแห่งชาติ จำกัด ตั้งแต่ปี 2498 เพื่อผลิตกระดาษใช้ภายในประเทศและส่งเสริมการใช้วัตถุดิบภายในประเทศซึ่งต่อมาเมื่อมีการยุบเลิกบริษัท ส่งเสริมเศรษฐกิจแห่งชาติฯ ในวันที่ 30 กันยายน 2511 จึงได้โอนกิจการโรงงานมาขึ้นในสังกัดกรมโรงงานอุตสาหกรรม อก. เพื่อเป็นกลไกในการรักษาระดับราคาการจำหน่ายผลิตภัณฑ์และปัจจัยในการแก้ไขปัญหาด้านแรงงานแห่งชาติ แต่ผลการดำเนินการของโรงงานกระดาษบางปะอินขาดทุนติดต่อกันมาหลายปี ในปี 2527 อก. จึงมีนโยบายที่จะให้มีการแปรสภาพโรงงานกระดาษบางปะอินโดยให้เอกชนเข้าร่วมถือหุ้นและบริหารงานโรงงานกระดาษบางปะอิน เพื่อให้มีการปรับปรุงการบริหารงานและความคล่องตัวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางธุรกิจและเพื่อการขยายกำลังการผลิตให้มีความเหมาะสมทางเศรษฐกิจจึงได้เกิดสัญญาร่วมทุนจัดตั้งบริษัท โรงงานอุตสาหกรรมกระดาษบางปะอินฯ ขึ้นตาม มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2529 โดยเป็นการร่วมทุนระหว่าง บริษัท บวรกิจร่วมทุนฯ กับ อก.  ตามสัญญาร่วมทุน ลงที่ 31 มีนาคม 2530 ในสัญญาดังกล่าวระบุให้ฝ่ายรัฐถือหุ้นในอัตราร้อยละ 30 และ ฝ่ายเอกชนถือหุ้นในอัตราร้อยละ 70 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดของบริษัทที่จัดตั้งขึ้น และฝ่ายรัฐยินยอมให้ฝ่ายเอกชนร่วมเป็นผู้บริหารของบริษัท นอกจากนี้ตามข้อ 10 ของสัญญากำหนดให้บริษัท โรงงานอุตสาหกรรมกระดาษ   บางปะอินฯ มีกรรมการฝ่ายรัฐไม่น้อยกว่า 3 คน โดยกำหนดให้อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรมเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง รวมทั้งกำหนดให้เป็นประธานกรรมการด้วย (บริษัทดังกล่าวมีกรรมการทั้งหมด 10 คน)
                   2. เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2564 รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) กำหนดให้มีการประชุมเพื่อหารือในประเด็นที่นายกรัฐมนตรีได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการดำเนินงานของ บริษัท โรงงานอุตสาหกรรมกระดาษบางปะอินฯ จำนวน 2 ประเด็น ดังนี้

ประเด็นข้อสั่งการรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม)ประเด็นที่ 1 ขณะนี้บริษัทไม่สามารถดำเนินงานได้ เนื่องจากอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งเป็นประธานกรรมการบริษัทโรงงานอุตสาหกรรมกระดาษบางปะอินฯ (เป็นไปตามสัญญาร่วมทุนข้อ 10) ได้ขอหยุดปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) ได้ออกประกาศกำหนดตำแหน่งที่ห้ามมิให้ดำเนินกิจการตามความในมาตรา 126 และมาตรา 127 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 เพื่อป้องกันในเรื่องผลประโยชน์ขัดกัน และตำแหน่งอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรมเป็นตำแหน่งที่ถูกห้ามตามประกาศคณะกรรมการ ป.ป.ช ดังกล่าว
หมายเหตุ : อก. ได้หารือไปยังคณะกรรมการ ป.ป.ช. เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. แจ้งว่า อก. ควรพิจารณาว่ายังคงมีความจำเป็นที่อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรมเข้าไปเป็นประธานกรรมการและกรรมการบริษัทหรือไม่ ซึ่งต้องพิจารณาทบทวนหลักการและเหตุผลภายใต้เงื่อนไขของกฎหมายเพื่อมิให้ขัดแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 126 และมาตรา 127 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561
ประเด็นที่ 2 อก. ไม่สามารถดำเนินการซื้อขายที่ดินราชพัสดุอันเป็นที่ตั้งโรงงานให้กับบริษัทตามที่สัญญาร่วมทุนกำหนดได้ (เป็นไปตามสัญญาร่วมทุนข้อ 4) ซึ่งกรมธนารักษ์ได้ชี้แจงว่าเหตุที่ทำให้ไม่สามารถทำการขายที่ดินราชพัสดุดังกล่าวให้บริษัทได้ เนื่องจากเดิมกฎกระทรวง ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525) ออกตามความในพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บังคับใช้ในขณะทำสัญญากำหนดว่าการขายที่ดินราชพัสดุจะต้องกระทำโดยวิธีประมูลเพียงประการเดียว แต่ต่อมา กค. ได้มีการแก้ไขกฎหมายดังกล่าว โดยปัจจุบันที่ราชพัสดุสามารถทำการซื้อขายได้ตามกฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุที่มิใช่ที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ พ.ศ. 2550 โดยอนุญาตให้สามารถขายที่ราชพัสดุโดยวิธีอื่นที่ไม่ต้องใช้วิธีประมูลได้ อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมากรมธนารักษ์และบริษัทโรงงานอุตสาหกรรมกระดาษบางปะอินฯ ไม่สามารถตกลงกันได้ เนื่องจากบริษัทต้องการซื้อที่ดินในราคา ณ วันลงนามในสัญญา ตามที่สัญญาข้อ 4 ระบุ แต่กรมธนารักษ์เห็นว่าราคาดังกล่าวแตกต่างกับราคาปัจจุบันมาก ต่อมาบริษัท โรงงานอุตสาหกรรมกระดาษบางปะอินฯ จึงได้ยื่นฟ้อง อก. กค. และกรมธนารักษ์ต่อศาลแพ่ง และศาลแพ่งได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2563 ว่า สัญญาข้อ 4 ดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่กำหนดขึ้นเป็นการแตกต่างกับกฎกระทรวง ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525) ออกตามความในพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 ข้อตกลงตามสัญญาร่วมทุนดังกล่าวจึงเป็นนิติกรรมที่เสียเปล่ามาแต่ต้น ไม่มีผลใด ๆ ทางกฎหมาย ตกเป็นโมฆะ ซึ่งต่อมาบริษัทได้อุทธรณ์คำพิพากษาดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ในเรื่องตำแหน่งประธานบริษัทฯ เห็นสมควรให้ อก. ไปเจรจากับคู่สัญญาฝ่ายเอกชน ให้มีการแก้ไขสัญญาจัดตั้งฯ เพื่อให้ไม่ขัดต่อข้อกฎหมายและคำแนะนำของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ซึ่งอาจเป็นการระบุให้มีผู้แทน อก. เข้าไปเป็นประธานและกรรมการในบริษัทฯ และอาจมีผู้แทน กค. ในฐานะหน่วยงานที่ดูแลจัดการทรัพย์สินของรัฐเข้าร่วมเป็นกรรมการด้วย หากคู่สัญญาเห็นชอบในแนวทางแก้ไขให้ อก. นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบเพื่อการแก้ไขสัญญาต่อไป นอกจากนี้ได้มอบหมายให้ อก. และ กค. พิจารณาในประเด็นความจำเป็นและเหมาะสมต่อสภาวการณ์ว่า รัฐยังควรเข้าไปถือหุ้นในกิจการของบริษัทเพื่อดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมกระดาษนี้ต่อไป หรือไม่ หรือจะขายหุ้นของรัฐออกไปแล้วเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาด้วย โดยให้ อก. เร่งดำเนินการและรายงานความคืบหน้าเป็นระยะในเรื่องการซื้อขายที่ดิน 493 ไร่ ที่บางปะอินนั้นเห็นว่าเมื่อได้มีการนำคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลแล้วและยังมิได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด จึงควรให้เป็นการดำเนินกระบวนคดีระหว่างคู่ความในชั้นศาลก่อนหรือจะใช้วิธีเจรจาตกลงระหว่างกรมธนารักษ์กับฝ่ายเอกชนก็ได้                   3. ต่อมา บริษัท โรงงานอุตสาหกรรมกระดาษบางปะอินฯ ได้แจ้งว่าตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ได้สั่งการให้พิจารณาให้มีการแก้ไขสัญญาร่วมทุนฯ ข้อ 10 เรื่องประธานและกรรมการ ซึ่งผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทได้ร่วมหารือกับกรมโรงงานอุตสาหกรรมแล้ว โดยบริษัท โรงงานอุตสาหกรรมกระดาษบางปะอินฯ ขอให้พิจารณา ดังนี้
                             3.1 แก้ไขสัญญาร่วมทุนฯ ข้อ 10 เป็น “คณะกรรมการบริษัทซึ่งจะต้องประกอบด้วยกรรมการที่มาจากการเสนอชื่อของคู่สัญญาแต่ละฝ่าย โดยจำนวนสัดส่วนกรรมการนั้นให้เป็นไปตามสัดส่วนของจำนวนหุ้นที่ถือ ทั้งนี้ จำนวนกรรมการฝ่ายรัฐต้องมีไม่น้อยกว่า 3 คน โดยเป็นผู้แทนจาก อก. 2 คน และผู้แทนจาก กค. 1 คน เป็นกรรมการ โดยผู้แทนจาก อก. เป็นประธานกรรมการ”
                             3.2 ขอให้พิจารณาโอนสิทธิหน้าที่ตามสัญญาร่วมทุนและแก้ไขชื่อให้ บริษัท สนิทเสถียร จำกัด เข้าเป็นคู่สัญญาฝ่ายเอกชนแทนบริษัท บวรกิจร่วมทุนฯ เนื่องจากบริษัท บวรกิจร่วมทุนฯ ได้โอนซื้อขายหุ้นบริษัท โรงงานอุตสาหกรรมกระดาษบางปะอินฯ ให้กับบริษัทอื่นในกลุ่มเดียวกันโดยได้ควบรวมเป็นบริษัท สหหมิงฮั้วพาณิชย์ จำกัด และบริษัท สนิทเสถียรฯ ซึ่งเป็นบริษัทซึ่งมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่กลุ่มเดียวกับบริษัท สหหมิงฮั้วพาณิชย์ฯ ได้เข้ารับผิดชอบการบริหารงานของบริษัท โรงงานอุตสาหกรรมกระดาษบางปะอินฯ มาตั้งแต่ปี 2548
                   4. ในส่วนของกรณีการดำเนินการในเรื่องนี้เข้าข่ายจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายว่าด้วยการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชนหรือไม่ อก. ได้แจ้งข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับดังกล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจได้ตอบข้อหารือสรุปความได้ว่า สัญญาร่วมทุนจัดตั้งบริษัท โรงงานอุตสาหกรรมกระดาษบางปะอินฯ มีขึ้นก่อนที่พระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 จะใช้บังคับ และไม่เข้าข่ายลักษณะโครงการที่จะต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2556

9. เรื่อง การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) Re-Open ธุรกิจโรงแรมและ Supply Chain ของโรงแรม
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) Re-Open ธุรกิจโรงแรมและสาขาธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง (Supply Chain) ของโรงแรม1 เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises: SMEs) ในธุรกิจโรงแรมและ Supply Chain ของโรงแรมให้มีเงินทุนเพียงพอสำหรับ การดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป โดยให้รับข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการขยายระยะเวลาการกู้เงิน จาก 7 ปี เป็น 10 ปี และให้ผู้ประกอบการ รายย่อยสามารถเข้าร่วมโครงการได้ด้วย ไปพิจารณาดำเนินการ
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   กค. รายงานว่า
                   1. โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) Re-Open ธุรกิจโรงแรมและ Supply Chain ของโรงแรมมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนสินเชื่อเพื่อเป็นเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ในธุรกิจโรงแรมและ Supply Chain ของโรงแรมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  (โรคโควิด 19) เพื่อปรับปรุงหรือซ่อมแซมสถานประกอบกิจการหรือลงทุนในอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องอบผ้า เครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้าอุตสาหกรรม เป็นต้น รวมถึงเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ โดยปัจจุบันธนาคารออมสินอนุมัติสินเชื่อไปแล้วจำนวน 64 ราย จำนวน 124 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.48 ของวงเงินรวมทั้งหมด 5,000 ล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2565)
                   2. กค. เห็นว่า เพื่อให้สามารถช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ในธุรกิจโรงแรมและ Supply Chain ของโรงแรมให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างทั่วถึงและต่อเนื่องมากขึ้น ทำให้มีเงินทุนในการฟื้นฟูธุรกิจและ  มีสภาพคล่องที่เพียงพอให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ และเพื่อให้ธนาคารออมสินมีระยะเวลาในการประชาสัมพันธ์โครงการและนำเสนอผลิตภัณฑ์แก่กลุ่มเป้าหมาย จึงเห็นควรทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2565 โดยปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการดำเนินโครงการในส่วนของคุณสมบัติผู้กู้ วัตถุประสงค์การให้สินเชื่อ ระยะเวลาชำระเงินกู้ และระยะเวลารับคำขอสินเชื่อ สรุปได้ ดังนี้

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขหมายเหตุมติคณะรัฐมนตรี
วันที่ 26 กรกฎาคม 2565ขอปรับปรุงหลักเกณฑ์ในครั้งนี้1. คุณสมบัติผู้กู้1.1 ผู้ประกอบการ SMEs ในธุรกิจโรงแรมและ Supply Chain ของโรงแรมที่เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศ ซึ่งมีบุคคลสัญชาติไทยถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียน ซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ทั้งทางตรงและทางอ้อมคงเดิม-1.2 กรณีเป็นผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมต้องมีใบอนุญาตประกอบกิจการโรงแรมหรืออยู่ระหว่างดำเนินการขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงแรมก่อนวันที่ 31 ธันวาคม 2563กรณีเป็นผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมต้องมีใบอนุญาตประกอบกิจการโรงแรมหรืออยู่ระหว่างดำเนินการขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงแรมเพื่อให้การช่วยเหลือครอบคลุมผู้ประกอบการที่ยังอยู่ระหว่างยื่นขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงแรมด้วย1.3 มีกำไรอย่างน้อย 1 ใน 3 ปีย้อนหลังล่าสุดมีกำไรอย่างน้อย 1 ใน 5 ปีย้อนหลังล่าสุดและปัจจุบันยังประกอบกิจการอยู่เพื่อให้ครอบคุลมผู้ประกอบการที่มีผลประกอบการดีก่อนสถานณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 191.4 กรณีเป็นนิติบุคคล ส่วนของผู้ถือหุ้นต้องไม่ติดลบคงเดิม-1.5 ประวัติการชำระหนี้
          - ไม่เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loan: NPLs) ไม่ถูกดำเนินคดี ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย ณ วันยื่นคำขอ
          - กรณีลูกหนี้ปกติ ไม่มีหนี้ค้างชำระก่อนวันยื่นขอเข้าโครงการ
          - กรณีลูกหนี้เคยปรับเงื่อนไขการชำระหนี้หรือเคยปรับโครงสร้างหนี้ที่ผ่านมา ต้องไม่มีหนี้ค้างชำระก่อนวันยื่นขอเข้าโครงการ

ทั้งนี้ เป็นการให้สินเชื่อใหม่แก่ลูกค้าเดิมหรือลูกค้าใหม่ และไม่ใช่ลูกหนี้ที่โอนหนี้ (Refinance)

ประวัติการชำระหนี้ ข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้
- กรณีมีประวัติการผ่อนชำระปกติต้องมีสถานะบัญชีปกติ2 ณ วันที่ยื่นขอเข้าโครงการ
- กรณีมีประวัติค้างชำระไม่เกิน 90 วัน ต้องมีสถานะบัญชีปกติ ณ วันที่ยื่นขอเข้าโครงการ
- กรณีมีประวัติเป็น NPLs ต้องอยู่ระหว่างปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ต้องผ่อนชำระได้ตรงตามเงื่อนไข และไม่มีหนี้ค้างชำระตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ณ วันที่ยื่นขอเข้าโครงการ

โดยต้องไม่ถูกดำเนินคดีและไม่เป็นบุคคลล้มละลาย ทั้งนี้ เป็นการให้สินเชื่อใหม่แก่ลูกค้าเดิมหรือลูกค้าใหม่ และไม่ใช่ลูกหนี้ที่โอนหนี้ (Refinance)