ระเบียบการเก็บเงินบํารุงการศึกษา 2565

กค 0408.5/ว371 วันที่ 22 กันยายน 2560 แนวทางการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรกรณีของบุตรของผู้มีสิทธิเปลี่ยนประเภทสถานศึกษาในระหว่างปีการศึกษา

Download

Details

กค 0408.5/ว22 วันที่ 22 มกราคม 2561 ประเภทและอัตราเงินค่าเล่าเรียนในสถานศึกษาของเอกชนประเภทอาชีวศึกษา

Download

Details

กค 0405.5/ว27 วันที่ 16 มกราคม 2561 ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร พ.ศ. 2560

ContractLastChangeSWH23 (Mar '23)553.26.4SWK23 (May '23)535.74.1SWQ23 (Aug '23)5173.6SWV23 (Oct '23)499.62.5

�ͷҹ��

ContractLastChangeZKF23 (Jan '23)2.1610ZKG23 (Feb '23)2.1610ZKH23 (Mar '23)2.1610ZKJ23 (Apr '23)2.1610

ประเด็น การดำเนินการที่สำคัญ หน่วยงานที่รับผิดชอบ 1. การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ ครั้งที่ 55 (1) การสร้างประชาคมอาเซียน (1.1) สนับสนุนข้อริเริ่มของกัมพูชาในวาระการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน โดยเฉพาะการเสริมสร้างความร่วมมือเพื่อการฟื้นตัวอย่างยั่งยืน และเตรียมพร้อมรับมือกับปัญหาท้าทายในอนาคตร่วมกัน ตามหัวข้อหลัก “ASEAN A.C.T. : Addressing Challenges Together” ในการขับเคลื่อนการสร้างประชาคมอาเซียน การจัดทำวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนภายหลังปี ค.ศ. 2025 กต. (1.2) ส่งเสริมการประสานงานของกลไกอาเซียนในการเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินและภัยพิบัติในอนาคตให้มีประสิทธิภาพตามข้อริเริ่มเชิงยุทธศาสตร์และองค์รวม เพื่อเชื่อมโยงการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินและภัยพิบัติของอาเซียนของบรูไนฯ กต. กระทรวงมหาดไทย (มท.) และกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) (1.3) ส่งเสริมการดำเนินการตามแผนงานประชาคมอาเซียนของทั้ง 3 เสาอย่างสมบูรณ์ กต. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงพาณิชย์ (พณ.) (1.4) เตรียมความพร้อมเพื่อร่วมมือกับประเทศที่จะเป็นที่ตั้ง ACPHEED ได้แก่ เวียดนาม อินโดนีเซีย และไทย กต. และ สธ. (2) ความสัมพันธ์กับประเทศภายนอกภูมิภาค เดนมาร์ก กรีซ เนเธอร์แลนด์ โอมาน กาตาร์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ลงนามตราสารภาคยานุวัติ TAC กต. (3) การแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ในภูมิภาคและระหว่างประเทศ (3.1) สถานการณ์ในเมียนมา ที่ประชุมไม่สามารถหาฉันทามติและเห็นควรเสนอให้ผู้นำพิจารณามีข้อตัดสินใจเกี่ยวกับการเข้าร่วมของผู้แทนเมียนมาในระดับการเมืองในการประชุมอาเซียนและการดำเนินการตามฉันทามติ 5 ข้อ ต่อไป กต. (3.2) สถานการณ์ในช่องแคบไต้หวัน ที่ประชุมแสดงความห่วงกังวลต่อสถานการณ์ความตึงเครียดที่อาจนำไปสู่การประเมินสถานการณ์ผิดพลาด โดยรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้ออกถ้อยแถลงร่วมเรียกร้องให้ทุกฝ่ายใช้ความยับยั้งชั่งใจ และย้ำท่าทีสนับสนุนนโยบายจีนเดียว กต. 2. การประชุมคณะกรรมาธิการสำหรับเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทิศทางความร่วมมือ ที่ประชุมมอบหมายให้คณะทำงานของคณะกรรมการบริหารสำหรับเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ฯ ดำเนินการหารือในประเด็นที่คั่งค้างของร่างข้อมติสมัชชาสหประชาชาติ เรื่อง สนธิสัญญาว่าด้วยเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ฯ เพื่อนำส่งร่างข้อมติเชิงสารัตถะให้ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญ ครั้งที่ 78 ในปี 2566 พิจารณารับรองโดยฉันทามติ กต. 3. การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-ญี่ปุ่น (1) ภาพรวมความสัมพันธ์ ที่ประชุมสนับสนุนข้อเสนอของญี่ปุ่นในการจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น สมัยพิเศษ เพื่อฉลองวาระครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์ฯ ในปี 2566 และมีมติเสนอให้ผู้นำมีข้อตัดสินใจในเรื่องดังกล่าวในการประชุมสุดยอดอาเซียนต่อไป พร้อมทั้งได้ประกาศตราสัญลักษณ์และคำขวัญสำหรับใช้ในวาระการฉลองการครบรอบ 50 ปีความสัมพันธ์ฯ กต. (2) ความร่วมมือ
ด้านสาธารณสุข
และโรคโควิด-19 ที่ประชุมยินดีต่อการสนับสนุนของญี่ปุ่นในการรับมือกับโรคโควิด-19 ของอาเซียน ทั้งการสนับสนุนเวชภัณฑ์และวัคซีน ความร่วมมือทางวิชาการและความร่วมมือผ่านการปฏิบัติตามกรอบการฟื้นฟูที่ครอบคลุมของอาเซียน กต. และ สธ. (3) เศรษฐกิจ ที่ประชุมเห็นพ้องที่จะเสริมสร้างความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุน โดยใช้ประโยชน์จากความตกลงทางเศรษฐกิจที่มีอยู่ เช่น ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค และความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ญี่ปุ่น กระทรวงการคลัง (กค.) กต. พณ. และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) 4. การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-ออสเตรเลีย (1) ความร่วมมือ
ด้านสาธารณสุข
และโรคโควิด-19 ที่ประชุมยินดีที่ออสเตรเลียสนับสนุนข้อริเริ่มของอาเซียนในการรับมือกับโรคโควิด-19 เช่น สนับสนุนเงิน 1 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย สำหรับกรอบการฟื้นฟูที่ครอบคลุมของอาเซียนและบริจาควัคซีน 36 ล้านโดสให้แก่อาเซียน กต. สธ. และสถาบันวัคซีนแห่งชาติ (2) สังคมและวัฒนธรรม ที่ประชุมให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความร่วมมือในการป้องกันและลดผลกระทบจากสาธารณภัยและการเพิ่มพูนความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการขจัดขยะทะเล ซึ่งไทยได้เสนอให้มีการใช้ประโยชน์จากเงินทุนภายใต้ข้อริเริ่ม Australia for ASEAN Futures กต. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) และ มท. 5. การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-จีน (1) ภาพรวมความสัมพันธ์ (1.1) ที่ประชุมย้ำถึงความสำคัญของสถานะความสัมพันธ์อาเซียน-จีน เป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์แบบรอบด้าน และการปฏิบัติตามแถลงการณ์ร่วมของการประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน สมัยพิเศษ เพื่อฉลองวาระครบรอบ 30 ปี ความสัมพันธ์ฯ ว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์แบบรอบด้าน เพื่อสันติภาพ ความมั่นคง ความรุ่งเรือง และการพัฒนาที่ยั่งยืน กต. (1.2) ที่ประชุมรับทราบข้อเสนอของจีนในการจัดทำแถลงการณ์ร่วมอาเซียน-จีน 2 ฉบับ ได้แก่ 1) แถลงการณ์ร่วมอาเซียน-จีน ว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาร่วมกัน และ 2) แถลงการณ์ร่วมอาเซียน-จีน ว่าด้วยความร่วมมือด้านความมั่นคงทางอาหาร เพื่อเป็นเอกสารผลลัพธ์การประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน ครั้งที่ 25 กต. และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (2) การเมืองและความมั่นคง ที่ประชุมแสดงความห่วงกังวลต่อสถานการณ์ช่องแคบไต้หวัน ซึ่งประเทศสมาชิกอาเซียนได้แสดงท่าทีสนับสนุนนโยบายจีนเดียว และย้ำว่าไม่ประสงค์จะให้มีการดำเนินการใด ๆ ที่เพิ่มความตึงเครียดและบั่นทอนสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค กต. 6. การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-สหพันธรัฐรัสเซีย การเมืองและความมั่นคงและประเด็นภูมิภาคและระหว่างประเทศ ที่ประชุมสนับสนุนบทบาทที่สร้างสรรค์ของรัสเซียและแลกเปลี่ยนความเห็นในประเด็นภูมิภาคและระหว่างประเทศ โดยเฉพาะสถานการณ์ในยูเครน ซึ่งรัสเซียอธิบายว่าเหตุการณ์ทั้งหมดเกิดขึ้นโดยมีที่มาจากการยั่วยุของฝ่ายตะวันตกและสหรัฐฯ ที่ต้องการควบคุมระเบียบโลก ในขณะที่รัสเซียพร้อมเจรจากับยูเครนและยกตัวอย่างความสำเร็จของการส่งออกเมล็ดธัญพืชในทะเลดำว่า เกิดขึ้นจากการเจรจาของฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งไม่รวมฝ่ายตะวันตก โดยประเทศสมาชิกอาเซียนส่วนใหญ่ยังคงต้องการให้มีการพูดคุยเพื่อหาทางออกอย่างสันติ ถึงแม้ว่าประเทศสมาชิกอาเซียนบางประเทศมีท่าทีเห็นต่าง กต. 7. การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนบวกสาม ครั้งที่ 23 (1) ภาพรวมความสัมพันธ์ ที่ประชุมรับทราบรายงานความคืบหน้าและผลการดำเนินการตามแผนงานความร่วมมืออาเซียนบวกสาม ค.ศ. 2018-2022 และเห็นชอบแผนงานความร่วมมืออาเซียนบวกสามฉบับใหม่ ค.ศ. 2023-2028 กต. (2) เศรษฐกิจ ที่ประชุมเน้นย้ำความสำคัญของความร่วมมือทางการเงินของอาเซียนบวกสาม มาตรการริเริ่มเชียงใหม่ไปสู่การเป็นพหุภาคีในการเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเงินในภูมิภาค รวมทั้งความสำคัญและประโยชน์ของกลไกการตรวจสอบและติดตามภาวะเศรษฐกิจโดยสำนักงานวิจัยเศรษฐกิจมหภาคของภูมิภาคอาเซียนบวกสามและมาตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย กค. พณ. และธนาคารแห่งประเทศไทย 8. การประชุม ARF ครั้งที่ 29 (1) ทิศทางความร่วมมือ ที่ประชุมรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุม 3 ฉบับ ได้แก่ 1) แถลงการณ์การประชุม ARF เพื่อส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่งคั่งผ่านการทูตเชิงป้องกัน เสนอโดยกัมพูชา และร่วมอุปถัมภ์โดยจีนและไทย 2) แถลงการณ์การประชุม ARF เพื่อเน้นย้ำพันธกิจที่จะธำรงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ เสนอโดยจีนและร่วมอุปถัมภ์โดยกัมพูชา รัสเซียและไทย และ 3) กรอบงานการประชุม ARF เรื่องกระบวนการที่ครอบคลุมสำหรับวาระสตรีฯ เสนอโดยสหภาพยุโรป สาธารณรัฐสิงคโปร์ และสหรัฐฯ กต. (2) กิจกรรม ไทยจะร่วมกับสหรัฐฯ และจีนเป็นประธานร่วมจัดการสัมมนา ARF หัวข้อ “ขยะทะเล-การจัดการขยะมูลฝอยและแนวทางแก้ไข” ซึ่งคาดว่าจะมีขึ้นในระหว่างสมัยประชุมปี 2565-2566 กต. และ ทส. ไทยจะร่วมกับรัสเซียและจีนเป็นประธานร่วมจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ ARF หัวข้อ “การต่อต้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อก่ออาชญากรรม” ซึ่งคาดว่าจะมีขึ้นในระหว่างสมัยประชุมปี 2565-2566 กต. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ไทยจะดำรงตำแหน่งประธานร่วมของการประชุมระหว่างปีว่าด้วยการลดและไม่แพร่ขยายอาวุธร่วมกับสหรัฐฯ และสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา สมัยประชุมปี 2565-2567 กระทรวงกลาโหม (กห.) กต. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ สมช.