กิจกรรม ส่งเสริมโภชนาการ ผู้ สูงอายุ

การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมต่อสุขภาพเป็นเรื่องที่จำเป็น โดยเฉพาะผู้สูงวัยซึ่งเป็นวัยที่ต้องการพลังงานและสารอาหารแตกต่างจากวัยทำงาน หรือผู้ที่มีสุขภาพร่างกายปกติ เนื่องจากประสิทธิภาพการทำงานที่ลดลงของระบบต่างๆ ดังนั้น จึงต้องมีความเข้าใจเรื่องอาหารและโภชนาการเป็นอย่างดี ซึ่งความต้องการพลังงานและสารอาหารในผู้สูงอายุแต่ละรายก็จะแตกต่างกันไป ขึ้นกับอายุ น้ำหนัก ส่วนสูง และการใช้พลังงานในแต่ละวัน

แนวทางการรับประทานอาหารของผู้สูงอายุ

กลุ่มอาหารพลังงาน(กิโลแคลอรี) ต่อวัน1,400

ชาย-หญิง

(กิจกรรมเบามาก)

1,600

ชาย-หญิง

(กิจกรรมเบา)

1,800

ชาย-หญิง

(กิจกรรมปานกลาง)

ข้าวแป้ง (ทัพพี)579ผัก (ทัพพี)444ผลไม้ (ส่วน)112เนื้อสัตว์ (ช้อนกินข้าว)678ถั่วเมล็ดแห้ง (ช้อนกินข้าว)111นม (แก้ว)222น้ำ (แก้ว)888ไขมัน (ช้อนชา)666น้ำตาล (ช้อนชา)666

โภชนบัญัติ 9 ประการสำหรับผู้สูงอายุ

  1. กินอาหารให้หลากหลายในสัดส่วนที่เหมาะสม และหมั่นดูแลน้ำหนักตัว
  2. กินข้าวเป็นหลัก เน้นข้าวกล้อง ข้าวขัดสีน้อย
  3. กินพืชผักและผลไม้ตามฤดูกาลให้มากเป็นประจำ
  4. กินปลา ไข่ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ถั่วและผลิตภัณฑ์จากถั่วเป็นประจำ
  5. ดื่มนมและผลิตภัณฑ์จากนมเป็นประจำ
  6. หลีกเลี่ยงอาหาร ไขมันสูง หวานจัด เค็มจัด
  7. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มรสหวาน
  8. กินอาหารสะอาด ปลอดภัย
  9. งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

กินเพลิน เจริญตา พาจำดี มีพลัง

กิจกรรม ส่งเสริมโภชนาการ ผู้ สูงอายุ

กินเพลิน

สร้างบรรยากาศการรับประทานอาหารให้อร่อย ด้วยการรับประทานอาหารพร้อมหน้าพร้อมตาทั้งครอบครัว มีกิจกรรมทำร่วมกัน เช่น ร่วมกันปรุงประกอบอาหาร เปลี่ยนบรรยากาศรับประทานอาหารนอกบ้าน หรือไปเที่ยวทั้งครอบครัวเป็นบางโอกาส

เจริญตา

เลือกรับประทานอาหารที่อุดมด้วยวิตามิน เอ บี1 บี12 ซี อี ลูทีน ซีแซนทีน ซิลิเนียม และสังกะสี ซึ่งช่วยในการทำงานของจอประสาทตา ชะลอการเกิดต้อกระจกและจอประสาทตาเสื่อม ซึ่งพบใน ตำลึง ฟักทอง กะหล่ำดอก ผักบุ้ง บร็อคโคลี แครอท ข้าวโพด ฝรั่ง ส้ม มะละกอ ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ตับ ไข่ หอยนางรม ปลา นม และน้ำมันพืช เป็นต้น

กิจกรรม ส่งเสริมโภชนาการ ผู้ สูงอายุ

พาจำดี

บำรุงสมองและระบบประสาท ป้องกันการชาตามปลายมือปลายเท้า ด้วยการรับประทานอาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า3 สารสื่อประสาทโคลิน เลซิตินและวิตามินบีต่างๆ ได้แก่ บี1 บี6 และบี12 เป็นต้น ซึ่งพบใน ปลาทะเลน้ำลึก ใบแปะก๊วย ไข่แดง กล้วย ถั่วเหลืองและข้าวกล้อง เป็นต้น

กิจกรรม ส่งเสริมโภชนาการ ผู้ สูงอายุ

มีพลัง
ผู้สูงอายุ ต้องการพลังงาน 1,400 ถึง 1,800 กิโลแคลอรีต่อวัน ขึ้นอยู่กับอายุ น้ำหนัก ส่วนสูง และการใช้พลังงานในแต่ละวัน ซึ่งควรเสริมสร้างกล้ามเนื้อและชะลอความเสื่อมของกระดูก ด้วยการรับประทานอาหารที่อุดมด้วยโปรตีน แคลเซียม วิตามินดี เค และแมกนีเซียม ซึ่งพบใน นมและผลิตภัณฑ์จากนม ผักใบเขียวเข้ม เต้าหู้แข็ง ปลาเล็กปลาน้อย และงาดำ เป็นต้น เลือกรับประทานโปรตีนที่ดี เช่น ปลา ไข่ เนื้อสัตว์ไขมันต่ำย่อยง่าย ถั่วและธัญพืชต่างๆ

กิจกรรม ส่งเสริมโภชนาการ ผู้ สูงอายุ

รับประทานให้หลากหลายครบ 5 หมู่ ไม่รับประทานของซ้ำๆเดิมๆ มีปริมาณที่เหมาะสมกับกิจกรรมที่ทำในแต่ละวันตามตารางแนวทางการรับประทานอาหารของผู้สูงอายุ เพียงเท่านี้ผู้สูงอายุก็จะมีภาวะโภชนาการที่ดี สุขภาพร่างกายแข็งแรง ต่อสู้กับการเสื่อมถอยของร่างกายได้เป็นอย่างดี

การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมต่อสุขภาพเป็นเรื่องที่จำเป็น โดยเฉพาะผู้สูงวัยซึ่งเป็นวัยที่ต้องการพลังงานและสารอาหารแตกต่างจากวัยทำงาน หรือผู้ที่มีสุขภาพร่างกายปกติ เนื่องจากประสิทธิภาพการทำงานที่ลดลงของระบบต่างๆ ดังนั้น จึงต้องมีความเข้าใจเรื่องอาหารและโภชนาการเป็นอย่างดี ซึ่งความต้องการพลังงานและสารอาหารในผู้สูงอายุแต่ละรายก็จะแตกต่างกันไป ขึ้นกับอายุ น้ำหนัก ส่วนสูง และการใช้พลังงานในแต่ละวัน

แนวทางการรับประทานอาหารของผู้สูงอายุ

กลุ่มอาหารพลังงาน(กิโลแคลอรี) ต่อวัน1,400

ชาย-หญิง

(กิจกรรมเบามาก)

1,600

ชาย-หญิง

(กิจกรรมเบา)

1,800

ชาย-หญิง

(กิจกรรมปานกลาง)

ข้าวแป้ง (ทัพพี)579ผัก (ทัพพี)444ผลไม้ (ส่วน)112เนื้อสัตว์ (ช้อนกินข้าว)678ถั่วเมล็ดแห้ง (ช้อนกินข้าว)111นม (แก้ว)222น้ำ (แก้ว)888ไขมัน (ช้อนชา)666น้ำตาล (ช้อนชา)666

โภชนบัญัติ 9 ประการสำหรับผู้สูงอายุ

  1. กินอาหารให้หลากหลายในสัดส่วนที่เหมาะสม และหมั่นดูแลน้ำหนักตัว
  2. กินข้าวเป็นหลัก เน้นข้าวกล้อง ข้าวขัดสีน้อย
  3. กินพืชผักและผลไม้ตามฤดูกาลให้มากเป็นประจำ
  4. กินปลา ไข่ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ถั่วและผลิตภัณฑ์จากถั่วเป็นประจำ
  5. ดื่มนมและผลิตภัณฑ์จากนมเป็นประจำ
  6. หลีกเลี่ยงอาหาร ไขมันสูง หวานจัด เค็มจัด
  7. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มรสหวาน
  8. กินอาหารสะอาด ปลอดภัย
  9. งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

กินเพลิน เจริญตา พาจำดี มีพลัง

กิจกรรม ส่งเสริมโภชนาการ ผู้ สูงอายุ

กินเพลิน

สร้างบรรยากาศการรับประทานอาหารให้อร่อย ด้วยการรับประทานอาหารพร้อมหน้าพร้อมตาทั้งครอบครัว มีกิจกรรมทำร่วมกัน เช่น ร่วมกันปรุงประกอบอาหาร เปลี่ยนบรรยากาศรับประทานอาหารนอกบ้าน หรือไปเที่ยวทั้งครอบครัวเป็นบางโอกาส

เจริญตา

เลือกรับประทานอาหารที่อุดมด้วยวิตามิน เอ บี1 บี12 ซี อี ลูทีน ซีแซนทีน ซิลิเนียม และสังกะสี ซึ่งช่วยในการทำงานของจอประสาทตา ชะลอการเกิดต้อกระจกและจอประสาทตาเสื่อม ซึ่งพบใน ตำลึง ฟักทอง กะหล่ำดอก ผักบุ้ง บร็อคโคลี แครอท ข้าวโพด ฝรั่ง ส้ม มะละกอ ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ตับ ไข่ หอยนางรม ปลา นม และน้ำมันพืช เป็นต้น

กิจกรรม ส่งเสริมโภชนาการ ผู้ สูงอายุ

 

พาจำดี

บำรุงสมองและระบบประสาท ป้องกันการชาตามปลายมือปลายเท้า ด้วยการรับประทานอาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า3 สารสื่อประสาทโคลิน เลซิตินและวิตามินบีต่างๆ ได้แก่ บี1 บี6 และบี12 เป็นต้น ซึ่งพบใน ปลาทะเลน้ำลึก ใบแปะก๊วย ไข่แดง กล้วย ถั่วเหลืองและข้าวกล้อง เป็นต้น

กิจกรรม ส่งเสริมโภชนาการ ผู้ สูงอายุ

มีพลัง
ผู้สูงอายุ ต้องการพลังงาน 1,400 ถึง 1,800 กิโลแคลอรีต่อวัน ขึ้นอยู่กับอายุ น้ำหนัก ส่วนสูง และการใช้พลังงานในแต่ละวัน ซึ่งควรเสริมสร้างกล้ามเนื้อและชะลอความเสื่อมของกระดูก ด้วยการรับประทานอาหารที่อุดมด้วยโปรตีน แคลเซียม วิตามินดี เค และแมกนีเซียม ซึ่งพบใน นมและผลิตภัณฑ์จากนม ผักใบเขียวเข้ม เต้าหู้แข็ง ปลาเล็กปลาน้อย และงาดำ เป็นต้น เลือกรับประทานโปรตีนที่ดี เช่น ปลา ไข่ เนื้อสัตว์ไขมันต่ำย่อยง่าย ถั่วและธัญพืชต่างๆ

กิจกรรม ส่งเสริมโภชนาการ ผู้ สูงอายุ

รับประทานให้หลากหลายครบ 5 หมู่ ไม่รับประทานของซ้ำๆเดิมๆ มีปริมาณที่เหมาะสมกับกิจกรรมที่ทำในแต่ละวันตามตารางแนวทางการรับประทานอาหารของผู้สูงอายุ เพียงเท่านี้ผู้สูงอายุก็จะมีภาวะโภชนาการที่ดี สุขภาพร่างกายแข็งแรง ต่อสู้กับการเสื่อมถอยของร่างกายได้เป็นอย่างดี

 

 

จัดทำโดย: งานโภชนาการ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก

โทร 02-8496600 ต่อ 1084/1085

ขอบคุณข้อมูลจาก: สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข 

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

คลินิกผู้สูงอายุ

  • โทร 02 849 6600 ต่อ 2611

คลินิกอายุรกรรมทั่วไป

  • โทร 02 849 6600 ต่อ 2130,3077

บทความที่เกี่ยวข้อง

กิจกรรม ส่งเสริมโภชนาการ ผู้ สูงอายุ

ศาสตร์การแพทย์ทางเลือกกับการฟื้นฟูรักษาอาการ Long COVID

ศาสตร์การแพทย์ทางเลือกกับการฟื้นฟูรักษาอาการ Long COVID โดย พท.ป. วรรณดี ชิตเจริญธรรม พจ. ธีรวุฒิ ชาญศิริเจริญกุล และพจ. ลดาวรรณ โชติกุลวรพฤกษ์ กลุ่มอาการ ภาวะลองโควิด (Long COVID) ตามนิยามของ WHO ในปี 2021 กล่าวไว้ว่า เป็นอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นใหม่หรือต่อเนื่องภายหลังการการติดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือโรคโควิด (COVID – 2019) อาการลองโควิดโดยส่วนใหญ่เริ่มขึ้นหลังจากที่ผู้ป่วยเริ่มฟื้นตัวจากการติดเชื้อโควิด 19 แบบรุนแรงเฉียบพลัน มีความสัมพันธ์กับอาการป่วยที่รุนแรงจากการติดเชื้อที่เกิดขึ้นก่อนหน้า ระยะเวลาของอาการส่วนมากตั้งแต่ 3 เดือน นับจากวันตรวจพบเชื้อ และมีอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 2 เดือน และกลุ่มอาการมีความหลากหลายและกระทบกับหลายระบบในร่างกาย เช่น ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกันและสุขภาพจิต โดยมักพบมีอาการภายหลังการติดเชื้อ 4-12 สัปดาห์ โดยอาการที่พบสามารถดีขึ้นหรือแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไป และ/หรือมีการกลับเป็นซ้ำใหม่ได้ ลักษณะอาการลองโควิดที่พบบ่อย ได้แก่ อ่อนเพลีย หายใจลำบากหรือหอบเหนื่อย ไอ นอนไม่หลับ […]

กิจกรรม ส่งเสริมโภชนาการ ผู้ สูงอายุ

ภาวะ Long Covid กับอาการ ไอ เหนื่อยหอบ

ภาวะ Long Covid กับอาการ ไอ เหนื่อยหอบ พจ.มาลีนา บุนนาค ลู่ ปอด ในทางทฤษฎีการแพทย์แผนจีน เป็นอวัยวะที่ควบคุมพลังชี่ และการไหลเวียนลมปรานชี่ และของเหลวในร่างกาย โดยปกติปอดจะไม่ชอบความชื้น  เมื่อร่างกายรับเชื้อโควิดลงสู่ปอด ปอดติดเชื้อก่อให้เกิดการอักเสบ เกิดเสมหะอุดกั้น ทำให้การกระจายชี่ของปอดไม่สมบูรณ์ เกิดอาการหอบเหนื่อย หายใจติดขัด และการที่ชี่จากปอดไหลย้อนกลับ จะก่อให้เกิดอาการไอ เมื่อยังมีการอักเสบอยู่ การทำงานของปอดจึงยังไม่เข้าสู่ภาวะปกติ จึงทำให้เกิดการไอเรื้อรังได้ อาการ Post Covid Syndrome หรือ Long Covid คืออาการที่ผิดปกติของร่างกายในขณะที่ติดเชื้อโควิด แม้จะครบ 1 เดือน หายดีกลับบ้านได้แล้ว แต่อาจยังหลงเหลืออาการอยู่ หากพบว่ามีอาการผิดปกตินานกว่า 2 เดือน เช่น  ไอ หายใจติดขัด เหนื่อยหอบ เจ็บแน่นหน้าอก ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยให้ชัดเจนว่าเกิดจากสาเหตุใด ซึ่งอาจเกิดจากภาวะ Long Covid   เกิดจากการติดเชื้อโรคอื่น หรือโรคที่เกิดขึ้นใหม่ก็เป็นได้ อาการที่อาจหลงเหลืออยู่ […]

กิจกรรม ส่งเสริมโภชนาการ ผู้ สูงอายุ

ยามุ่งเป้า ทางเลือกใหม่ของการรักษามะเร็ง

ยามุ่งเป้า ทางเลือกใหม่ของการรักษามะเร็ง โดย นพ.วรเศรษฐ์ สายฝน ปัจจุบันการรักษามะเร็งวิวัฒนาการมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง การศึกษาพันธุกรรมของเซลล์มะเร็งทำให้ค้นพบว่าเซลล์มะเร็งมีคุณสมบัติเฉพาะตัว เช่น มีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมซึ่งส่งผลต่อการส่งสัญญาณการแบ่งตัวภายในเซลล์ (Signal transduction pathway) ทำให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโตได้เองอย่างไม่จำกัด มีความสามารถในการสร้างหลอดเลือดมาเลี้ยงตัวเอง สามารถหลบหลีกการถูกทำลายจากภูมิคุ้มกันของร่างกาย และสามารถมีความสามารถแพร่กระจายไปอวัยวะต่าง ๆ ได้ ความสามารถพิเศษเหล่านี้เกิดจากการกลายพันธุ์ของยีนบางชนิดซึ่งส่งผลต่อการทำงานของโปรตีนต่าง ๆ ที่ควบคุมการแบ่งตัวของมะเร็ง โดยมะเร็งแต่ละชนิดมีการกลายพันธุ์ของยีนต่าง ๆ ไม่เหมือนกัน เมื่อนักวิจัยสามารถศึกษาจนค้นพบว่า กลไกใดสำคัญต่อมะเร็งชนิดใด จึงสามารถพัฒนายามายับยั้งกลไกการทำงานของยีนกลายพันธุ์นั้น ๆ ทำให้เซลล์มะเร็งถูกทำลายลงได้ในที่สุด จึงเรียกยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงในกลไกการแบ่งตัวที่ถูกรบกวนเหล่านี้ว่า ยามุ่งเป้า (Targeted therapy) โดยยามุ่งเป้าในปัจจุบันจะมีชนิดออกฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งเซลล์ และชนิดที่ยับยั้งการสร้างเส้นเลือดเป็นหลัก   ความแตกต่างระหว่างยามุ่งเป้าและยาเคมีบำบัด ยามุ่งเป้าทำลายเซลล์มะเร็งเป้าหมายโดยตรง โดยอาจส่งผลต่อเซลล์ปกติเพียงเล็กน้อย ในขณะที่ยาเคมีบำบัดทำลายทั้งเซลล์มะเร็งและเซลล์ปกติที่แบ่งตัวเร็ว ยามุ่งเป้ามักมีผลข้างเคียงน้อยกว่ายาเคมีบำบัด ยามุ่งเป้าใช้ได้เฉพาะในมะเร็งบางชนิดและต้องตรวจพบยีนกลายพันธุ์ที่เข้าได้กับยามุ่งเป้านั้น ในส่วนของยาเคมีบำบัดไม่ต้องตรวจการกลายพันธุ์ของมะเร็งก่อน   รูปแบบของยามุ่งเป้า มีทั้งรูปแบบยากิน (Tyrosine kinase inhibitors) และยาฉีด (monoclonal antibody) มีทั้งการใช้เป็นยาชนิดเดียวและการใช้ร่วมกับยาอื่น เช่น ยาเคมีบำบัด […]

กิจกรรม ส่งเสริมโภชนาการ ผู้ สูงอายุ

Long Covid กับกลุ่มอาการเหนื่อยล้าหลังติดเชื้อ โดย พจ.รณกร โลหะฐานัส                 กลุ่มอาการเหนื่อยล้าหลังติดเชื้อ (Post-infective fatigue syndrome, PIFS) หมายถึงอาการเหนื่อยล้าที่รุนแรงและต่อเนื่อง หลังจากการติดเชื้อที่ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยเงื่อนไขทางการแพทย์ ซึ่งมีมาอย่างน้อย 6 เดือนและส่งผลต่อการทำงานประจำวันอย่างมีนัยสำคัญ สาเหตุของกลุ่มอาการ PIFS เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ ตั้งแต่ความเสียของเนื้อเยื่อปอดหรือหัวใจ การทำงานของไซโตไคน์ผิดปกติอย่างต่อเนื่อง การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างและการทำงานของกล้ามเนื้อ การบาดเจ็บภายในสมองหรือระบบประสาทส่วนปลาย ทั้งยังมีรายงานอีกว่ากลุ่มอาการ PIFS มีอัตราความชุกของความเหนื่อยล้าในแถบยุโรปที่สูงกว่าภูมิภาคอื่นๆ อาการแสดงของกลุ่มอาการ PIFS มักเกี่ยวข้องกับอาการทางระบบทางเดินหายใจหลายอย่าง เช่น เหนื่อยหอบ หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก ไอเรื้อรัง ปวดศีรษะ วิงเวียน เป็นต้น แนวทางการรักษา ทางการแพทย์แผนจีนจะให้การรักษาด้วยการฝังเข็มหรือจ่ายยาสมุนไพร ด้วยการตรวจวินิจฉัยตามกลุ่มอาการ ซึ่งการฝังเข็มจะเลือกใช้จุด LU7, LI4, ST36, SP6, SP9, SP10, HT7, KD6, TH5, GD41, LR3, LR8 เป็นจุดหลักในการรักษา […]