ทำไมต้องมีการเรียนรู้ดิจิทัล digital literacy

นโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัว สำหรับผู้ใช้งานเว็บไซต์ของสำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (สบค.) ฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของท่านซึ่งได้แวะเข้าเยี่ยมชมหรือใช้งานเว็บไซต์นี้ ของ สบค.

โปรดทราบว่านโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวฉบับนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ โดยการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดจะแสดงอยู่บนเว็บไซต์นี้ ทั้งนี้ เมื่อใดที่มีการเปลี่ยนแปลงสาระของนโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัว สบค. จะมีข้อความเตือนอย่างชัดเจนเพื่อให้ท่านได้ทราบถึงการดำเนินการดังกล่าว ซึ่งจะกระทำล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วันก่อนวันที่การเปลี่ยนแปลงจะมีผลใช้บังคับ

ขอบเขตของนโยบายฉบับนี้

นโยบายฉบับนี้ครอบคลุมถึงการปฏิบัติของสบค. ต่อข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับหรือจัดเก็บอันสืบเนื่องมาจากการที่ท่านเข้าเยี่ยมชมหรือใช้งานเว็บไซต์นี้ โดยข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง ข้อมูลที่ทำให้สามารถระบุได้ถึงตัวตนของบุคคล และมิใช่ข้อมูลที่โดยปกติสาธารณชนจะเข้าถึงได้ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ตัวอย่างของข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ อายุ เพศ สัญชาติ เลขที่บัตรประจำตัวหรือหนังสือเดินทาง ที่อยู่หรือที่ทำงาน หมายเลขโทรศัพท์ หรือที่อยู่ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

นโยบายฉบับนี้ไม่ได้ใช้กับเว็บไซต์ของบุคคลที่สามซึ่งเชื่อมโยงมายังเว็บไซต์นี้ หรือเชื่อมโยงไปจากเว็บไซต์นี้

การเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งาน

ผู้ประสงค์จะใช้บริการผ่านเว็บไซต์นี้ อาจต้องให้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านที่จำเป็นต่อการให้บริการดังกล่าว ตัวอย่างของการดำเนินการที่ผู้ใช้บริการต้องแจ้งข้อมูลส่วนบุคคล เช่น การให้ชื่อสำหรับจัดทำประกาศนียบัตร การสำรวจความคิดเห็น เป็นต้น

การใช้ การแลกเปลี่ยน และการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งาน

การเข้าถึงและการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจะกระทำไปเพื่อประโยชน์เกี่ยวกับเรื่องที่ท่านขอให้ดำเนินการเท่านั้น สบค.อาจนำข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานจากหน่วยงานอื่น มารวบรวม จัดเก็บ ใช้ และเปิดเผย เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ภายใต้กฎหมายที่อยู่ในการกำกับดูแลของ สบค.

สบค. จะไม่นำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปจำหน่าย หรือนำไปแลกเปลี่ยนหรือเปิดเผยต่อบุคคลอื่นใด อันเป็นการไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เว้นแต่ ในกรณีดังต่อไปนี้

  • เป็นการดำเนินการตามกฎหมายที่อยู่ในการกำกับดูแลของ สบค.
  • เป็นการดำเนินการตามหน้าที่ ที่กำหนดตามกฎหมาย ตามคำสั่งศาล ตามคำสั่งของผู้มีอำนาจตามกฎหมาย หรือกรณีอื่นใดที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน หรือ
  • เป็นการดำเนินการตามที่จำเป็นในกรณีที่อาจกระทบถึงความปลอดภัยในสวัสดิภาพ ชีวิต และร่างกายของบุคคลอื่น หรือในกรณีที่มีการละเมิดข้อตกลงและเงื่อนไขในการใช้เว็บไซต์ของ สบค.
การรักษาความปลอดภัย

สบค. มีมาตรการและกำหนดวิธีปฏิบัติภายในเพื่อรักษาความลับและความปลอดภัยของข้อมูลข่าวสารของท่าน ซึ่งรวมถึงการกำหนดสิทธิในการเข้าถึงและใช้ข้อมูลความลับ นอกจากนี้ สบค. ยังมีการใช้โปรโตคอล Secure Socket Layer (SSL) Protocol เพื่อจัดให้การสื่อสารข้อมูลระหว่างผู้ใช้และสบค. กระทำผ่านช่องทางสื่อสารแบบปลอดภัยด้วยการเข้ารหัสลับข้อมูลดังกล่าว

การใช้คุกกี้

สบค. ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลผู้เยี่ยมชม ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะช่วยให้เว็บไซต์นั้นสามารถให้บริการท่านในครั้งต่อไปได้ตรงตามความต้องการของท่าน แต่ท่านสามารถยกเลิกการให้ข้อมูลคุกกี้ได้ อนึ่ง หากท่านเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของสบค. โดยใช้โปรแกรมค้นผ่าน (search engine) โปรแกรมค้นผ่านดังกล่าวอาจมีการใช้คุกกี้เพื่อเก็บข้อมูลของท่าน ท่านจึงควรศึกษานโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวที่กำหนดโดยโปรแกรมค้นผ่านดังกล่าวด้วย

ข้อตกลงการใช้งาน

สำนักบริการคอมพิวเตอร์ (สบค) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างประโยชน์จากการเรียนรู้ ให้กับสังคมโดยส่วนรวม ซึ่งเป็นภารกิจหลักอย่างหนึ่งของ สบค.ในการบริการวิชาการสู่สังคม

เนื้อหาและสื่อนี้ต้องการให้นักเรียน ประชาชน สามารถเข้ามาศึกษา เรียนรู้ สามารถนำเนื้อหาไปใช้ประโยชน์และ เผยแพร่ต่อได้ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์กับสาธารณะเท่านั้นและไม่ถือเป็นการให้คำแนะนำเพื่อใช้ในเชิงวิชาชีพ

ท่านมีอิสระที่จะอ่านและพิมพ์บทความ ข้อความ และสื่ออื่น ๆ นี้โดยไม่มีการเก็บค่าใช้จ่าย สามารถแบ่งปันและนำบทความและสื่ออื่น ๆ ของเรา กลับมาใช้ใหม่ภายใต้ใบอนุญาตแบบ Creative Common และ แบบเปิด ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้:

  • ความรับผิดชอบ - ท่านต้องรับผิดชอบต่อการแก้ไขของคุณ (เนื่องจากเราเป็นผู้ให้บริการเฉพาะเนื้อหา และเนื่องจาก เป็นเนื้อหาทางวิชาการ ตัวเลข ข้อมูล ความรู้ใหม่ มีการเปลี่ยนแปลงได้ ตลอดเวลา ท่านจะต้องใช้วิจารณญาณ และตรวจสอบความถูกต้องด้วยตัวเอง)
  • ความสุภาพ – ต้องเคารพสภาพแวดล้อมทางการใช้งานที่ดีต่อสังคมและไม่ก่อกวนผู้ใช้รายอื่น
  • พฤติกรรมที่ชอบด้วยกฎหมาย - ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์หรือกฎหมายอื่น ๆ
  • ไม่เป็นอันตราย – ไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีของเรา

ทักษะดิจิทัลมีความสำคัญอย่างไร

ในปี 2021 นี้ แต่ละองค์กรนั้นมองหาบุคคลที่มีทักษะด้านดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น โดยองค์กรยุคใหม่จะให้ความสำคัญกับบุคคลเหล่านี้มากยิ่งขึ้น ถ้าคุณอยากเป็นที่ต้องการขององค์กรยุคใหม่แล้ว คุณจำเป็นจะต้องปรับตัวให้มีความรู้และทักษะที่สอดคล้องกับความต้องการขององค์กรนั้นๆ

จะเห็นได้ว่าทิศทางความเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมและองค์กรทางด้านเทคโนโลยีในปีหน้าเป็นต้นไป โดยเน้นการก้าวไปสู่ Cloud computing, Big data analytics, AI, Encryption ความปลอดภัยทางด้านไซเบอร์, IOTs การเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ , กระบวนการผลิตเนื้อหา รูปภาพ และเสียง, อีคอมเมิร์สและการค้าในรูปแบบดิจิทัล, AR และ VR, Blockchain การที่เราจะก้าวทันความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้นั้น เราจำเป็นจะต้องพึ่งทักษะด้านดิจิทัล

ทำไมต้องมีการเรียนรู้ดิจิทัล digital literacy

ทักษะดิจิทัล คืออะไร

ทักษะด้านดิจิทัล (Digital Skills) คือ ทักษะที่ใช้ในการทำงานในยุคปัจจุบันที่มนุษย์นั้นจำเป็นจะต้องพึ่งเทคโนโลยีในการทำงานในหลากหลายระดับ ซึ่งในยุคนี้มีความจำเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในยุคที่เทคโนโลยีเติบโต และเข้ามามีบทบาทในการทำงานและวิถีชีวิตของทุกคน โดยทักษะด้านดิจิทัลนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็นทั้งหมด 6 ด้าน ดังนี้

1. เครื่องมือและเทคโนโลยี (Tools & Technologies) คือ ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทั้งเครื่องมือที่เป็น Hardware หรือ Software ควรจะเข้าใจพื้นฐานในการใช้เครื่องมือเหล่านี้ว่าทำงานอย่างไร

2. การค้นหาและการใช้งาน (Find & Use) คือ การวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่ทั่วไป เช่น การอ้างอิง ให้ที่มา และลิขสิทธิ์ของข้อมูลที่นำมาใช้

3. การให้ความรู้และการเรียนรู้ (Teach & Learn) คือ การเรียนการสอนที่ผู้เรียนและผู้สอนจะต้องใช้เทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง

4. การสื่อสารและการร่วมมือ (Communication & Collaborate) คือ การเรียนรู้ที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อทำให้การสื่อสาร และการทำงานร่วมกันนั้นสะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การใช้ Google Doc , Zoom ในการประชุมทางไกลเป็นต้น

5. การสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Create & Innovate) คือ ทักษะในการสร้างเนื้อหาดิจิทัลและควรมีทักษะทางด้านการเขียนโปรแกรมเพื่อสามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เช่น ข้อความ รูปภาพ วิดีโอ เป็นต้น

6. การยืนยันตัวตนและสวัสดิการ (Identity & Wellbeing) คือ ทักษะในการปกป้องข้อมูลของตัวเองก็สำคัญ เช่น รหัสผ่าน ,การดูแลปกป้องข้อมูลของผู้อื่นที่เราเป็นคนดูแล ,จรรยาบรรณในการใช้งาน เป็นต้น


ทักษะที่ดิจิทัลนำไปทำอะไรได้บ้าง ?

หากเรามีทักษะด้านดิจิทัลที่ครบถ้วนแล้วนั้น ย่อมส่งผลดีต่อการหางานและเพิ่มโอกาสในการทำงานร่วมกับองค์กรชั้นนำทางเทคโนโลยี จาก The Future of Jobs Report 2020 มีการจัดอันดับอาชีพที่จะมีความต้องการสูง ซึ่งจะเห็นได้ว่าความต้องการในการจ้างงานในปัจจุบันเปลี่ยนไปจากเดิมมากซึ่งผันตรงกับยุคดิจิทัลในตอนนี้ ซึ่งเป็นยุคที่ “ข้อมูล” นั้นมีความสำคัญอย่างมาก องค์กรต่าง ๆ จึงต้องการคนที่มีความรู้ด้านเทคโนโลยี มาช่วยในการทำให้ข้อมูลที่มีอยู่มากมายนี้สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริง โดยอาชีพที่กำลังมาแรงในช่วงนี้ ได้แก่

  1. นักวิเคราะห์ข้อมูล/ นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล ( Data Analyst/ Data Scientist)

  2. ผู้เชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์และการตลาดดิจิทัล ( Digital Marketing and Strategy Specialist)

  3. ผู้เชี่ยวชาญด้านข้มูลขนาดใหญ่ (Big Data Specialist)

  4. ผู้เชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่องจักร ( AI and Machine Learning Specialist)

  5. นักพัฒนาซอฟแวร์และแอปพลิเคชั่น (Software and Application Developers)