เทคโนโลยี บลูทูธ bluetooth ใช้คลื่นความถี่ย่านใด

เทคโนโลยีไร้สาย BLUETOOTH เป็นเทคโนโลยีไร้สายระยะสั้นที่สนับสนุนการสื่อสารข้อมูลแบบไร้สายระหว่างอุปกรณ์ดิจิตอล อย่างเช่น เครื่องคอมพิวเตอร์และกล้องถ่ายภาพดิจิตอล เทคโนโลยีไร้สาย BLUETOOTH สามารถใช้งานได้ภายในช่วงระยะ 10 เมตร

การเชื่อมต่ออุปกรณ์สองชิ้นเข้าด้วยกันเป็นรูปแบบการใช้งานตามปกติ แต่อุปกรณ์บางชนิดสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นมากกว่าสองชิ้นได้ในเวลาเดียวกัน

ท่านไม่จำเป็นต้องใช้สายเคเบิ้ลเพื่อทำการเชื่อมต่อ และไม่จำเป็นต้องวางอุปกรณ์ใกล้กันและหันเข้าหากันเหมือนการใช้เทคโนโลยีอินฟราเรด ตัวอย่างเช่น ท่านสามารถใช้งานอุปกรณ์ได้จากกระเป๋าถือหรือกระเป๋าเสื้อ/กางเกง

มาตรฐาน BLUETOOTH เป็นมาตรฐานสากลที่ได้รับการสนับสนุนจากหลายพันบริษัททั่วโลก และมีบริษัทจำนวนมากนำไปใช้งานจนแพร่หลายทั่วโลก

ระยะสูงสุดที่สามารถใช้สื่อสารข้อมูล

ระยะสูงสุดที่สามารถใช้สื่อสารข้อมูลอาจสั้นลงได้ในกรณีต่อไปนี้

  • มีสิ่งกีดขวางอย่างเช่น คน, โลหะ หรือกำแพง อยู่ระหว่างอุปกรณ์ที่ใช้กับอุปกรณ์ BLUETOOTH

  • มีอุปกรณ์ LAN ไร้สายใช้งานอยู่ในบริเวณใกล้กับอุปกรณ์ของท่าน

  • มีไมโครเวฟใช้งานอยู่ในบริเวณใกล้กับอุปกรณ์ของท่าน

  • มีอุปกรณ์ที่สร้างรังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าใช้งานอยู่ในบริเวณใกล้กับอุปกรณ์ของท่าน

การรบกวนจากอุปกรณ์อื่น

เนื่องจากอุปกรณ์ BLUETOOTH และระบบ LAN ไร้สาย (IEEE802.11b/g) ใช้งานความถี่เดียวกัน อาจทำให้เกิดการรบกวนกันของคลื่นไมโครเวฟได้ ส่งผลให้ความเร็วการสื่อสารข้อมูลลดลง, เกิดสัญญาณรบกวน หรือไม่สามารถทำการเชื่อมต่อได้ หากใช้งานอุปกรณ์ของท่านใกล้กับอุปกรณ์ LAN ไร้สาย หากเกิดกรณีดังกล่าว ให้ดำเนินการดังนี้

  • ใช้งานอุปกรณ์ที่ระยะห่างอย่างน้อย 10 เมตรจากอุปกรณ์ LAN ไร้สาย

  • หากใช้งานอุปกรณ์ภายในระยะ 10 เมตรจากอุปกรณ์ LAN ไร้สาย ให้ปิดอุปกรณ์ LAN ไร้สาย

การรบกวนที่มีต่ออุปกรณ์อื่น

คลื่นไมโครเวฟที่แผ่ออกมาจากอุปกรณ์ BLUETOOTH อาจส่งผลรบกวนการทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทางการแพทย์ได้ ให้ปิดอุปกรณ์ของท่านและอุปกรณ์ BLUETOOTH อื่นในสถานที่ต่อไปนี้ เพราะอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดอุบัติเหตุได้

  • ในบริเวณที่มีก๊าซติดไฟง่าย, ในโรงพยาบาล, รถไฟ, เครื่องบิน หรือในสถานีบริการน้ำมัน

  • ใกล้ประตูอัตโนมัติหรืออุปกรณ์แจ้งเตือนไฟไหม้

หมายเหตุ

  • เพื่อให้สามารถใช้งานฟังก์ชั่น BLUETOOTH ได้ อุปกรณ์ BLUETOOTH ที่จะเชื่อมต่อด้วยต้องมีโปรไฟล์เหมือนกับอุปกรณ์ของท่าน

    โปรดทราบว่าแม้อุปกรณ์จะมีโปรไฟล์แบบเดียวกัน แต่อุปกรณ์อาจมีความแตกต่างในรายละเอียดได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อมูลจำเพาะของอุปกรณ์นั้นๆ
  • โดยคุณสมบัติของเทคโนโลยีไร้สาย BLUETOOTH เสียงที่เล่นบนอุปกรณ์นี้จะดีเลย์เล็กน้อยเมื่อเทียบกับเสียงที่ส่งออกมาจากอุปกรณ์ BLUETOOTH ระหว่างที่ท่านสนทนาโทรศัพท์หรือฟังเพลง

  • อุปกรณ์นี้สนับสนุนระบบความปลอดภัยที่เป็นไปตามมาตรฐาน BLUETOOTH เพื่อจัดให้มีการเชื่อมต่อแบบปลอดภัยเมื่อใช้เทคโนโลยีไร้สาย BLUETOOTH แต่ระบบความปลอดภัยอาจไม่เพียงพอสำหรับการใช้งาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าที่ใช้ โปรดใช้การสื่อสารข้อมูลด้วยเทคโนโลยีไร้สาย BLUETOOTH อย่างรอบคอบ

  • บริษัทไม่มีหน้าที่รับผิดชอบไม่ว่ากรณีใดทั้งสิ้น ในกรณีที่ข้อมูลมีการรั่วไหลระหว่างการสื่อสารข้อมูลด้วย BLUETOOTH

  • อุปกรณ์ที่ประกอบด้วยฟังก์ชั่น BLUETOOTH ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน BLUETOOTH ที่กำหนดโดย Bluetooth SIG และต้องผ่านการรับรองแล้ว

    แม้อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อด้วยจะเป็นไปตามมาตรฐาน BLUETOOTH ตามที่ระบุข้างต้น แต่อุปกรณ์บางชนิดอาจไม่สามารถทำการเชื่อมต่อหรือใช้งานได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติหรือข้อมูลจำเพาะของอุปกรณ์ดังกล่าว
  • อาจมีเสียงรบกวนหรือเสียงกระโดดข้ามเกิดขึ้นได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ BLUETOOTH ที่เชื่อมต่ออยู่กับอุปกรณ์ของท่าน สิ่งแวดล้อมสำหรับการสื่อสารข้อมูลหรือสิ่งแวดล้อมในการใช้งาน

Bluetooth หรือ บลูทูธคือเทคโนโลยีสำหรับการติดต่อสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถรับ-ส่งข้อมูลได้ในระยะใกล้จากอุปกรณ์ดิจิทัลตัวหนึ่งไปยังอีกตัวหนึ่ง เช่นโทรศัพท์มือถือ โน้ตบุ๊ก หรือคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ โดยใช้คลื่นวิทยุความถี่ย่าน 2.4 GHz

เทคโนโลยี บลูทูธ bluetooth ใช้คลื่นความถี่ย่านใด

ชื่อ Bluetooth ถูกตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1997 โดย Jim Kardach โดยเขาคนนี้เป็นผู้ที่พัฒนาระบบที่สามารถทำให้โทรศัพท์และคอมพิวเตอร์สื่อสารกันได้จาก Intel ซึ่งในขณะที่เจ้าตัวกำลังพัฒนาระบบนี้อยู่ เจ้าตัวก็ได้อ่านนิยายเรื่อง The Long Ship ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับชาวไวกิ้ง และกษัตริย์เดนิชในศตวรรษที่ 10 ที่ชื่อว่า Harald Bluetooth โดยเหตุผลที่ Jim Kardach เลือกชื่อของกษัตริย์ Harals Bluetooth เพราะตัวกษัตริย์สามารถรวบรวมเผ่าต่าง ๆ ของเดนมาร์กให้กลายเป็นอาณาจักรเดียวกัน เหมือนกับเทคโนโลยี Bluetooth ที่รวมโปรโตคอลการสื่อสารต่างๆไว้ด้วยกัน

เทคโนโลยี บลูทูธ bluetooth ใช้คลื่นความถี่ย่านใด

Bluetooth SIG (Bluetooth Special Interest Group) คือองค์กรที่กำหนดมาตรฐาน กำกับและควบคุมการการพัฒนาเทคโนโลยี Bluetooth และเป็นองค์กรที่ออกใบอนุญาตให้ใช้เทคโนโลยีและเครื่องหมายการค้าในการผลิต โดย SIG เป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไร แลไม่มีหุ้นส่วน ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1998 ปัจจุบันสำนักงานใหญ่อยู่ที่รัฐ Washington สหรัฐอเมริกา

Bluetooth ได้มีการแบ่งความแรงของการส่งสัญญาณหรือ Class ด้วยกัน 4 Class คือ

  • Class 1 : มีกำลังส่งอยู่ที่ 100 มิลลิวัตต์ และมีระยะประมาณ 100 เมตร
  • Class 2 : มีกำลังส่งอยู่ที่ 2.5 มิลลิวัตต์ และมีระยะประมาณ 10 เมตร
  • Class 3 : มีกำลังส่งอยู่ที่ 1 มิลลิวัตต์ และมีระยะประมาณ 1 เมตร
  • Class 4 : มีกำลังส่งอยู่ที่ 0.5 มิลลิวัตต์ และมีระยะประมาณ 0.5 เมตร

Bluetooth มีกี่เวอร์ชัน? แตกต่างกันยังไง?

Bluetooth 1.0 / Bluetooth 1.0B

เป็นเวอร์ชันเริ่มต้นที่มีปัญหาตามมามากมายหลังจากที่เปิดให้คนทั่วไปใช้งาน และยังมีตัวส่งสัญญาณ  Bluetooth Hardware Device Address (BD_ADDR) สำหรับใช้ในกระบวนการเชื่อมต่อ และถือว่าเป็นปัจจัยหลักของความผิดพลาดครั้งนี้

เทคโนโลยี บลูทูธ bluetooth ใช้คลื่นความถี่ย่านใด

Bluetooth 1.1

เป็นเวอร์ชันแรกที่ได้รับการจัดเรตให้อยู่ใน IEEE Standard 802.15.1-2002 ซึ่งเป็นมาตรฐานของ IEEE Standardสำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยในเวอร์ชันนี้ได้รับการแก้ใขข้อผิดพลาดต่างๆมาจาก Bluetooth 1.0B เรียบร้อย พร้อมทั้งเพิ่มตัวบอกระดับความแรงขแงสัญญาณที่ได้รับ หรือ Received Signal Strength Indicator (RSSI) เข้ามาอีกด้วย

เทคโนโลยี บลูทูธ bluetooth ใช้คลื่นความถี่ย่านใด

Bluetooth 1.2

ฟีเจอร์ที่มีการปรับปรุงและเพิ่มให้กับเวอร์ชันนี้คือ

  • มีการเพิ่มความเร็วในการค้นหาและเชื่อมต่อ 
  • มีการต้านทานการถูกแทรกจากคลื่นสัญญาณอื่นที่แข็งแรงขึ้น 
  • มีความเร็วของการรับส่งสัญญาณเพิ่มขึ้นถึง 721 Kbit/s
  • ได้รับการจัดเรตให้อยู่ใน IEEE Standard 802.15.1-2005
  • เพิ่มฟีเจอร์  Extended Synchronous Connections (eSCO) ทำให้คุณภาพเสียงที่ได้รับดีขึ้น
  • เพิ่มระบบปฏิบัติการ Host Controller Interface (HCI) แบบ 3 สาย (UART)
  • เริ่มการใช้งานโหมดควบคุมการไหลของข้อมูลและการส่งสัญญาณซ้ำหรือ Flow Control and Retransmission Modes สำหรับ L2CAP

Bluetooth 2.0 + EDR

เวอร์ชันนี้ได้มีการเปิดตัวระบบ Enhanced Data Rate (EDR) เพิ่มเพิ่มประสิทธิภาพในการรับ-ส่งข้อมูลที่รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยมีความเร็วอยู่ที่ 3 Mbit/s

ถ้าเราสังเกตจากชื่อเวอร์ชันจะมีการเขียน + EDR ต่อท้ายเนื่องจากตัวเทคโนโลยีของ Bluetooth เวอร์ชันนี้ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงอะไรมากมาย และถ้าอุปกรณ์เครื่องไหนที่มี Bluetooth เวอร์ชัน 2.0 แต่ไม่มี EDR ก็จะมีการระบุว่า “Bluetooth v2.0 without EDR”

เทคโนโลยี บลูทูธ bluetooth ใช้คลื่นความถี่ย่านใด

Bluetooth 2.1 + EDR

เป็น Bluetooth เวอร์ชันแรกที่ได้รับการพัฒนาจาก Bluetooth SIG เปิดตัวในวันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ.2007 โดยฟีเจอร์ที่เสริมเข้ามาคือการจับคู่แบบปลอดภัยหรือ Secure Simple Pairing(SSP) ที่จะช่วยให้การจับคู่ของอุปกรณ์มีความปลอดภัยมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มการขยายสัญญาณร้องขอหรือ Extended Inquiry Response ที่จะช่วยให้เกิดการคัดกรองในการเลือกการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่น และระบบ Sniff Sunbrating ที่ช่วยให้ลดการใช้พลังงานในโหมดของการประหยัดพลังงาน

Bluetooth 3.0 + HS

ฟีเจอร์ใหม่ที่เพิ่มเข้ามาคือ AMP หรือ ALternative MAC / PHY คือการเปิดให้ใช้ MAC และ PHYs เข้ามาช่วยเสริมในเรื่องของการส่งข้อมูลโปรไฟล์บลูทูธ หลักการคือ Bluetooth จะใช้โมเดลการเชื่อมต่อพลังงานต่ำในขณะที่ระบบว่างอยู่ และจะใช้คลื่นวิทยุที่เร็วขึ้นเมื่อต้องส่งออกข้อมูลจำนวนมาก นอกจากนี้ยังพัฒนาให้การรับส่งข้อมูลเร็วขึ้นอีกด้วย

Bluetooth 4.0

บลูทูธในเวอร์ชันนี้มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง โดยมีการเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ ได้แก่ โปรโตคอล Classic Bluetooth, Bluetooth High Speed, และ Bluetooth Low Energy (BLE) โดย Bluetooth high speed หรือบลูทูธความเร็วสูงนั้น มีพื้นฐานมาจาก Wi-Fi, และ Classic Bluetooth ก็ประกอบไปด้วยโปรโตคอล Bluetooth รุ่นบุกเบิกด้วย

โดย Bluetooth เวอร์ชันนี้จะเน้นไปที่การใช้พลังงานที่ต่ำจนสามารถใช้พลังงานจากแบตเตอรี่แบบเหรียญในการรับ-ส่งข้อมูล อีกทั้งมีการออกแบบชิปให้สามารถใช้งานแบบ Dual Mode และ Single Mode กับอุปกรณ์เวอร์ชันเก่าได้อีกด้วย

เทคโนโลยี บลูทูธ bluetooth ใช้คลื่นความถี่ย่านใด

Bluetooth 4.1

Bluetooth SIG ประกาศรองรับเวอร์ชันนี้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 2013 การอัปเดตในเวอร์ชันนี้ เป็นการอัปเดตซอฟต์แวร์ให้กับบลูทูธเวอร์ชัน 4.0 ที่เพิ่มฟีเจอร์เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้หลากหลายยิ่งขึ้น เช่น

  • ยกระดับการใช้งานให้ลื่นไหลยิ่งขึ้นด้วยเทคโนโลยีมือถืออย่าง LTE
  • รักษาระดับการเชื่อมต่อให้มีการแทรกแซงแบบ Manual น้อยลง
  • แลกเปลี่ยนข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นด้วย L2CAP
  • จำกัดเวลาในการค้นพบอุปกรณ์ใหม่

Bluetooth 4.2

Bluetooth เวอร์ชันนี้เปิดตัวเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ.2014 มีการเพิ่มฟีเจอร์สำหรับ Internet of Thing หรือ IoT โดยการพัฒนาหรือฟีเจอร์หลักๆที่เพิ่มมาให้คือ

  • การเชื่อมต่อที่ปลอดภัยและใช้พลังงานต่ำกว่าเดิม
  • เพิ่มการคัดกรองเพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวของชั้นข้อมูลให้มีความปลอดภัยมากขึ้น
  • Internet Protocol Support Profile (IPSP) เวอร์ชัน 6 พร้อมใช้งานสำหรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในบ้าน สำหรับการทำระบบ Smart Home

Bluetooth 5.0

เปิดตัวเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ. 2016 โดยจะเพิ่มฟีเจอร์ที่โฟกัสไปในเรื่องของเทคโนโลยี IoT โดยตัว Bluetooth 5 มีการเชื่อมต่อแบบ BLE หรือการเชื่อมต่อแบบใช้พลังงานต่ำ ซึ่งสามารถเพิ่มความแรงและเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลเป็น 2 เท่าแต่ก็ต้องแลกมาด้วยเรื่องระยะของการรับ-ส่งที่สั้นลง

เทคโนโลยี บลูทูธ bluetooth ใช้คลื่นความถี่ย่านใด

Bluetooth 5.1

Bluetooth SIG เปิดตัวเวอร์ชันนี้วันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 2019โดยมีฟีเจอร์หลักๆที่ได้รับการเพิ่มมาคือ

  • Angle of Arrival (AoA) และ Angle of Departure (AoD) ที่เป็นเทคโนโลยีสำหรับการบอกตำแหน่งของอุปกรณ์ที่เปิด Bluetooth และใช้ในการติดตามอุปกรณ์เวลาสูญหาย
  • เพิ่มดัชนีแชนแนลที่ช่วยให้การเชื่อมต่อในสถานที่ที่มีสัญญาณ Bluetooth อยู่เยอะได้ดียิ่งขึ้น
  • การเก็บข้อมูล catch ของอุปกรณ์ BLE เรียกว่า GATT (Generic Attribute Profile) Caching
  • เพิ่มประสิทธิภาพในการรับ – ส่งข้อมูลและความปลอดภัยให้มากขึ้น
  • การซิงก์ข้อมูลในที่ที่มีสัญญาณบลูทูธเป็นจำนวนมากเป็นระยะ ๆ

Bluetooth 5.2

เปิดตัวในวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2019 โดยมีฟีเจอร์หลักๆคือ

  • LE Audio : ทำให้อุปกรณ์เช่นหูฟัง สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆพร้อมกันได้หลายตัว หรือเชื่อมต่อหูฟังหลายชิ้นเข้ากับแหล่งกำเนิดเสียงเพียง 1 ชิ้นก็ได้ โดย LE Audio สามารถรันบนคลื่นที่ใช้พลังงานต่ำอย่าง BLE ได้
  • LE Power Control : ช่วยให้เราตรวจสอบความแรงของสัญญาณที่เชื่อมต่ออยู่ได้ และช่วยให้ปรับความแรงของสัญญาณให้เข้ากับอุปกรณ์นั้นๆได้อีกด้วย
  • LE Isochronous Channel : ทำให้หูฟังในแต่ละข้างสามารถรับสัญญาณได้เองโดยตรง ช่วยลดการดีเลย์ขณะฟัง
  • เพิ่มประสิทธิภาพให้กับข้อมูลของอุปกรณ์ BLE ต่าง ๆ (Enhanced Attribute Protocol = EATT) ทำให้เชื่อมต่อได้เร็วขึ้น และลดการใช้พลังงานลง

และนี่คือเทคโนโลยี Bluetooth ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่มาของ Bluetooth ที่ไครหลายคนอาจจะเพิ่งรู้ครั้งแรก หรือวิวัฒนาการของ Bluetooth ตั้งแต่เวอร์ชันแรกจนถึงปัจจุบัน แต่เราก็ต้องรอดูกันว่าเทคโนโลยี Bluetooth จะพัฒนาไปในด้านไหนในอนาคต