หลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับนิโรธมีอะไรบ้าง

  • [หน้าหลัก]
  • อริยสัจ 4  :  อริยสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ อันเป็นหลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา

หลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับนิโรธมีอะไรบ้าง

สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ไว้แก่ชาวโลก
หนทางสู่การเป็นมนุษย์ผู้ประเสริฐเป็นเทวดา
เป็นพรหม ในร่างของมนุษย์
เผยแพร่ธรรมะให้เพื่อนมนุษย์ ขอให้ท่านทั้งหลายพบเจอแต่ความดี พ้นจากทุกข์

อริยสัจ 4  :  อริยสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ อันเป็นหลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา มีดังนี้

1) ทุกข์ คือ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ มนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ต่างก็มีความทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น ความทุกข์จึงเกิดขึ้นกับใครก็ได้ทุกขณะ เราจึงไม่ควรประมาทและพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับความจริงของทุกข์นั้นๆ


2. สมุทัย (หลักธรรมที่ควรละ)  สมุทัย คือ ความจริงที่ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งความทุกข์ เพราะความทุกข์หรือปัญหาต่างๆ  ที่เกิดขึ้น มีสาเหตุเกิดจากอะไรบางอย่าง ไม่ได้เกิดขึ้นลอยๆ โดยไม่เหตุ  หลักธรรมที่ควรละ เพื่อไม่ให้เกิดทุกข์ต่างๆ

3. นิโรธ  (หลักธรรมที่ทำให้บรรลุ) นิโรธ  คือ ความดับทุกข์หรือดับปัญหาต่างๆ   พุทธศาสนามีหลักคำสอนเกี่ยวกับเรื่องความสุขมากมาย จุดหมายสูงสุด คือ นิพพาน เป็นบรมสุขที่สูงสุด

4. มรรค (หลักธรรมที่ควรเจริญ หรือทำให้เกิดขึ้น) มรรค คือ ข้อปฏิบัติที่ทำให้พ้นจากความทุกข์หรือปัญหาต่างๆ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค คือความจริงอันประเสริฐทั้ง 4 ประการ หรือ "อริยสัจ 4" ซึ่งเป็นหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา แต่ละคำมีความหมายอย่างไรบ้าง

ทุกข์ หมายถึง ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ต่างก็มีความทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น และสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเวลา เราจึงไม่ควรประมาทและพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับความจริงของทุกข์นั้นๆ

สมุทัย หมายถึง สาเหตุที่ทำให้เกิดความทุกข์ ได้แก่ ตัณหาทั้ง 3 คือ

  • กามตัณหา คือ ความทะยานอยากในกาม ความอยากได้ทางกามารมณ์
  • ภวตัณหา คือ ความทะยานอยากในภพ ความอยากเป็นโน่นเป็นนี่
  • วิภวตัณหา คือ ความทะยานอยากในความปราศจากภพ ความอยากไม่เป็นโน่นเป็นนี่

นิโรธ หมายถึง ความจริงว่าด้วยการดับทุกข์ คือการดับหรือการละตัณหา

มรรค หมายถึง ข้อปฏิบัติที่ทำให้พ้นจากความทุกข์ หรือปัญหาต่างๆ หรือทางสายกลาง ซึ่งมีทั้งหมด 8 ข้อด้วยกันดังนี้

  1. สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ
  2. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ
  3. สัมมาวาจา เจรจาชอบ
  4. สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ
  5. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ
  6. สัมมาวายามะ พยายามชอบ
  7. สัมมาสติ ระลึกชอบ
  8. สัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ

อ้างอิงข้อมูล: ราชบัณฑิตยสถาน, พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

หลักธรรมในนิโรธ

นิโรธ (ธรรมที่ควรบรรลุ)

นิโรธ หมายถึง สภาวะที่ทุกข์ดับไป เมื่อดับสาเหตุของความทุกข์ได้ ความทุกข์ก็จะสิ้นไป อันเกิดจากการปฏิบัติธรรม ธรรมที่ควรบรรลุ คือ

1 สุข 2  คือ ความสบายกาย ความสบายใจ ความดับทุกข์หรือการสิ้นทุกข์ สุข 2 ในที่นี้หมายถึง ความสุข 2 ลักษณะคือ                                                                                                                                            1) สามิสสุข หมายถึง ความสุขทางวัตถุ คือ ความสุขที่เกิดจากกามคุณ หรือความสุขทางโลกีย์ เป็นความสุขที่เกิดจากการได้เห็นรูป ได้ลิ้มรส ได้ดมกลิ่น ได้ยินเสียง และการสัมผัส เป็นที่พึงพอใจ เช่น การได้รับประทานอาหารอร่อย การได้นอนบนที่นอนอันอ่อนนุ่ม เป็นต้น                                               2) นิรามิสสุข หมายถึง ความสุขทางใจ ไม่ยึดติดกับวัตถุ เป็นความสุขของผู้ปฏิบัติธรรม คือ ความสุขปลอดโปร่งเพราะใจสงบ หรือได้รู้แจ้งตามความเป็นจริงเป็นความสุขที่ไม่อิงอาศัยวัตถุ เป็นต้น

หลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับนิโรธมีอะไรบ้าง

This entry was posted in หลักธรรมในนิโรธ. Bookmark the permalink.

หลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับนิโรธมีอะไรบ้าง

               นิโรธ  คือ การดับทุกข์ หมายถึง การดับ หรือการละตัณหา 3 ประการดังกล่าวแล้วได้ ตัณหาเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ถ้าดับเหตุได้ ทุกข์ซึ่งเป็นผลก็ดับไปเองเหมือนการดับไฟต้องดับที่เชื้อเพลิง เช่น ฟีนหรือน้ำมัน นำเชื้อออกเสีย เมื่อเชื้อหมดไปไฟก็ดับเอง

ตัวอย่าง...การดับทุกข์

หลักธรรมที่นำไปสู่การดับทุกข์ 

              นิโรธ 5
                        1.วิกขัมภนนิโรธ ดับด้วยข่มไว้ คือ การดับกิเลสของท่านผู้บำเพ็ญฌาน ถึงปฐมฌานขึ้นไป ย่อมข่มนิวรณ์ไว้ได้ ตลอดเวลาที่อยู่ในฌานนั้น
                        2.ตทังคนิโรธ ดับด้วยองค์นั้นๆ คือ ดับกิเลสด้วยธรรมที่เป็นคู่ปรับ หรือธรรมที่ตรงข้าม เช่น ดับสักกายทิฏฐิด้วยความรู้ที่กำหนดแยกรูปนามออกได้ เป็นการดับชั่วคราวในกรณีนั้นๆ
                        3.สมุจเฉทนิโรธ  ดัยตัดขาด คือ ดับกิเลสเสร็จสิ้นเด็ดขาด ด้วยโลกุตตรมรรค ในขณะแห่งมรรคนั้น ชื่อ สมุจเฉทนิโรธ

                        4.ปฏิปัสสัทธินิโรธ ดับด้วยสงบระงับ คือ อาศัยโลกุตตรมรรค ดับกิเลสเด็ดขาดไปแล้ว บรรลุโลกุตตรผล กิเลสเป็นอันสงบระงับไปหมดแล้ว ไม่ต้องขวนขวายเพื่อดับอีก ในขณะแห่งผลนั้น ชื่อ ปฏิปัสสัทธินิโรธ

                        5.นิสสรณนิโรธ ดับด้วยสลัดออกได้ หรือดับด้วยปลอดโปร่งไป คือ ดับกิเลสเสร็จสิ้นแล้ว ดำรงอยู่ในภาวะที่ดับกิเลสแล้วนั้น ยั่งยืนตลอดไป ภาวะนั้นชื่อนิสสรณนิโรธ ได้แก่อมตธาตุ คือ นิพพาน

พุทธศาสนามีหลักคำสอนเกี่ยวกับเรื่องความสุขมากมาย จุดหมายสูงสุด คือ นิพพาน เป็นบรมสุขที่สูงสุด แบ่งได้ดังนี้

                  1. สามิสสุข คือ ความสุขทางกายที่เกิดจากวัตถุภายนอก เรียกว่า กามสุข คือความสุขที่เกิดประสาทสัมผัสทั้ง 5 (ตา หู จมูก ลิ้น กาย) ทำให้เกิดความ

พอใจ เป็นความสุขของคนทั่วไป ที่เกิดจากการกระทำความดีในด้านต่างๆ ที่สำคัญได้แก่

                            - ความสุขที่เกิดจากการมีทรัพย์ เรียกว่า อัตถิสุข

                             - ความสุขที่เกิดการใช้จ่ายทรัพย์ เรียกว่า โภคสุข

                             - ความสุขที่เกิดจากการไม่มีหนี้สิน เรียกว่า อนณสุข

                             ความสุขที่เกิดจากการประพฤติในสิ่งที่สุจริต เรียกว่า อนวัชชสุข

                    สามิสสุข เป็นความสุขที่ไม่แน่นอน เพราะความทุกข์อาจเกิดขึ้นได้เสมอถ้าประมาท

  ตัวอย่าง....สามิสสุข

หลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับนิโรธมีอะไรบ้าง

                 2. นิรามิสสุข คือ ความสุขที่ไม่อิงอาศัยวัตถุภายนอก เรียกว่า ความสุขทางใจ ความสุขประเภทนี้มีตั้งแต่ขั้นต่ำสุดไปจนถึงสูงสุด คือ นิพพาน 
                                นิรามิสสุข  ขั้นต่ำ คือ การได้รับอบอุ่นจากพ่อแม่ ความไม่มีศัตรู ไม่มีผู้เกลียดชัง มีผู้ให้ความรักใคร่ นับถือ ยกย่องสรรเสริญ ไม่คิดร้ายต่อใคร ไม่มีความวิตกกังวล ไม่หวาดระแวง ไม่คิดฟุ้งซ่าน

                                นิรามิสสุขขั้นกลาง คือ ความอิ่มใจที่ได้เสียสละ การมีจิตใจที่สงบ 

                                นิรามิสสุขขั้นสูงสุด คือ นิพพาน

ตัวอย่าง....นิรามิสสุข

หลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับนิโรธมีอะไรบ้าง