กระทรวง ใด ใน ปัจจุบัน ที่ ยัง คง ใช้ ชื่อ เดิม

ประวัติความเป็นมา


กระทรวง ใด ใน ปัจจุบัน ที่ ยัง คง ใช้ ชื่อ เดิม

 

     ก่อนจะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นศูนย์กลางอำนาจของประเทศ ถ้าจะพูดตามหลักอธิปไตยตามที่เข้าใจในปัจจุบันก็คือ ทรงเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย หรือองค์รัฏฐาธิปัตย์ ทรงมีและทรงใช้ทั้งอำนาจในส่วนของการบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการสำเร็จเด็ดขาดในพระองค์เอง ในการบริหารราชการแผ่นดิน ทรงเป็นรัฐบาลแต่อาจทรงปรึกษาราชการกับบุคคลหรือคณะบุคคลใดก็ได้ และในทางปฏิบัติก็มักทรงปรึกษาราชการเช่นว่านั้นอยู่เสมอ ตามจดหมายเหตุพระราชานุกิจในรัชกาลต่าง ๆ ก็ระบุตรงกันว่าในแต่ละวันจะต้องมีเวลาที่เสด็จออกว่าขุนนางหรือประชุมเสนาบดี ซึ่งก็คล้ายกับการประชุมคณะรัฐมนตรีนั่นเอง แต่พระราชอำนาจสิทธิขาดจะอยู่ที่องค์พระมหากษัตริย์ เสนาบดีทั้งหลายเป็นเพียงผู้ทำการต่างพระเนตรพระกรรณ และนำราชการบ้านเมืองมากราบบังคมทูล เพื่อทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท และรับ พระบรมราชวินิจฉัยไปปฏิบัติในลักษณะนี้พระราชอำนาจจะคล้ายกับอำนาจของประมุขในระบบประธานาธิบดีมากกว่าจะเหมือนกับอำนาจของนายกรัฐมนตรีในระบบรัฐสภา ในบางสมัยก็จะทรงมีที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน เช่น ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ทรงตั้งเจ้าพระยาอภัยราชา (โรแลง ยัคแมงส์) ชาติเบลเยี่ยม เป็นที่ปรึกษาตรวจสอบราชการทุกกระทรวงก่อนจะนำขึ้นกราบบังคับทูล จนมีคนเรียกเจ้าพระยาอภัยราชาว่า “ไปรม์ มินิสเตอร์” พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงสังเกตเห็นความข้อนี้ จึงมีพระราชหัตถเลขาว่า “ราชการในเมืองเรานี้ ถ้าจะเทียบกับประเทศอื่น ๆ แต่เดิม ๆ มานั้น การเอกเสกคิวติฟกับลียิสเลติฟรวมอยู่ในเจ้าแผ่นดินกับเสนาบดีโดยมาก… เมื่อการภายหลังมามีเหตุการณ์ในคอเวอนเมนต์มากขึ้น เป็นโอกาสที่เราจะได้แซกมือลงไปได้บ่อย ๆ เราจึงได้ถือเอาอำนาจเอกเสกคิวติฟได้ทีละน้อยๆ จนภายหลังตามลำดับจนกระทั่งถึง บัดนี้ เรากลายเป็นตัวคอเวอนเมนต์” อำนาจเอกเสกคิวติฟก็คือ อำนาจในการบริหารราชการแผ่นดินนั่นเอง

กระทรวง ใด ใน ปัจจุบัน ที่ ยัง คง ใช้ ชื่อ เดิม

     ในการออกว่าราชการหรือการประชุมขุนนางและเสนาบดีต่าง ๆ ซึ่งสมัยเดิมมักเป็นการประชุมในท้องพระโรง ต่อมาเปลี่ยนเป็นการนั่งโต๊ะอย่างตะวันตกนั้น ไม่ปรากฏว่าหน่วยงานใดเป็นฝ่ายเลขานุการหรือทำหน้าที่อย่างสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีทุกวันนี้ แต่เข้าใจว่ากรมพระอาลักษณ์น่าจะเป็นหน่วยงานสำคัญด้านนี้ เพราะเป็นทั้งผู้รักษาพระราชกำหนด บทพระอัยการ เป็นทั้งผู้มีหน้าที่คัดลอกใบบอกและหนังสือรายงานข้อราชการเพื่อกราบบังคมทูล ตลอดจนเป็นผู้มีหน้าที่คัดประกาศพระบรมราชโองการ และยกร่างหนังสือพระราชหัตถเลขา เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย แจ้งไปยังหน่วยงานต่าง ๆ รวมความแล้วก็คืองานของสำนักนิติธรรม สำนักอาลักษณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์และสำนักบริหารการประชุมคณะรัฐมนตรี ของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีในเวลานี้ นั่นเอง

     กรมพระอาลักษณ์เป็นหน่วยงานราชเลขานุการด้านหนังสือของพระมหากษัตริย์มาทุกยุคทุกสมัย มีผู้บังคับบัญชารับผิดชอบเป็นขุนนางผู้ใหญ่ ปรากฏราชทินนามว่า “สุนทรโวหาร” บ้าง “สารประเสริฐ” บ้างสมัยนั้นยังไม่มีการพิมพ์ ดังนั้น การคัดลอก การจารึกหรือบันทึกข้อความต่าง ๆ ต้องใช้วิธีชุบหมึกเขียน ซึ่งต้องอาศัยลายมือที่สวยงาม และผู้เขียนต้องรักษาความลับในราชการได้ เพราะเรื่องราวที่บันทึกส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องปกปิด กรมพระอาลักษณ์จึงเป็นหน่วยงานของผู้ที่รู้หนังสือแตกฉาน มีลายมือสวยงามและเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย แม้ทางฝ่ายวังหน้าหรือกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ซึ่งก็มีงานเกี่ยวกับหนังสือของตนเอง อันจำเป็นต้องมีคนที่ไว้วางใจได้อีกกรมหนึ่ง แยกจากฝ่ายวังหลวง ก็มีกรมพระอาลักษณ์ของวังหน้าต่างหากออกไป สุนทรภู่ หรือพระสุนทรโวหาร (ภู่) นั้น ก็สังกัดกรมพระอาลักษณ์ ฝ่ายวังหน้า นอกจากกรมพระอาลักษณ์แล้ว พระมหากษัตริย์ยังทรงมี “สตาฟ” สำคัญอีกหน่วยหนึ่ง คือ ราชเลขานุการ ซึ่งกำกับดูแลงานหนังสือส่วนพระองค์ เป็นเหตุให้พลอยรับผิดชอบงานการประชุมเสนาบดี ด้วยราชเลขานุการมักเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ หรือมิฉะนั้นก็เป็นขุนนางใหญ่ งานของราชเลขานุการในอดีตตรงกับงานบางส่วนของราชเลขาธิการ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี และเลขาธิการคณะรัฐมนตรีในขณะนี้

     การปรับปรุงครั้งสำคัญเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๕ โดยได้จัดตั้งกระทรวงมุรธาธรขึ้น และแบ่งส่วนราชการพร้อมทั้งกำหนดขอบเขตหน้าที่ใหม่ให้ชัดเจนดังนี้ กรมพระอาลักษณ์ ปฏิบัติงานด้านเอกสารและหนังสือ กรมรัฐมนตรีสภา ปฏิบัติงานประชุมเสนาบดี และกรมราชเลขานุการ ปฏิบัติงานรับใช้พระมหากษัตริย์ในราชการส่วนพระองค์ตามนัยนี้ อาจกล่าวได้ว่า กรมพระอาลักษณ์และกรมรัฐมนตรีสภาที่จัดแบ่งใหม่เป็นที่มาของสำนักเลขาธิการคณะ รัฐมนตรีอย่างแท้จริง แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ใน พ.ศ. ๒๔๓๙ ได้มีการยุบกระทรวงมุรธาธร และรวมเอากรมทั้งสามไว้ในความรับผิดชอบของราชเลขานุการแต่ผู้เดียว ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ ๖ ได้มีการตั้งกระทรวงมุรธาธรขึ้นใหม่ใน พ.ศ. ๒๔๕๔ แต่ให้มีเฉพาะ กรมพระอาลักษณ์และกรมราชเลขานุการ ซึ่งภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นกรมราชเลขาธิการ ส่วนกรมรัฐมนตรีสภานั้นไม่ได้ตั้งขึ้นแต่ให้งานด้านนี้อยู่ในบังคับบัญชาของราชเลขาธิการ และกรมทั้งสองนี้ร่วมกันรับผิดชอบการประชุมเสนาบดีมาโดยตลอด

     เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว กรมราชเลขาธิการก็เปลี่ยนภารกิจไปถวายรับใช้เฉพาะพระมหากษัตริย์ในฐานะที่ทรงเป็นประมุข ส่วนงานบริหารราชการแผ่นดินที่เคยอยู่กับพระมหากษัตริย์ ก็โอนไปอยู่ที่คณะรัฐมนตรี ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ต้องตั้งหน่วยงานคล้าย ๆ กรมพระอาลักษณ์และกรมราชเลขาธิการ ขึ้นใหม่ แต่ให้ทำงานกับคณะรัฐมนตรี ซึ่งในที่สุดก็ได้ตั้งกรมเลขาธิการคณะกรรมการราษฎรขึ้นเมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๔๗๕ และต่อมาเมื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญในวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ แล้ว ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็นกรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรีให้เข้ากับชื่อของรัฐบาล ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้เรียกว่า “คณะรัฐมนตรี” โดยมีรองอำมาตย์เอกประยูร ภมรมนตรี หนึ่งในคณะผู้ก่อการฝ่ายพลเรือนเป็นเลขาธิการคนแรก

     ใน พ.ศ. ๒๔๙๕ ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๔๙๕ ซึ่งกำหนดให้มีกรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี และทำหน้าที่เป็นสำนักงานปลัดกระทรวงของสำนักนายกรัฐมนตรีด้วย โดยมีเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบ (ขณะนั้นไม่มีปลัดสำนักนายก รัฐมนตรี)ครั้นถึง พ.ศ. ๒๔๙๖ ก็ได้มีการแก้ไขกฎหมายดังกล่าว โดยเปลี่ยนชื่อสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นสำนัก คณะรัฐมนตรี และให้มีเลขาธิการคณะรัฐมนตรีสองคน คือ ฝ่ายการเมืองรับผิดชอบงานสำนักคณะรัฐมนตรีด้านการเมืองทั้งหมด และฝ่ายบริหารรับผิดชอบงานสำนักคณะรัฐมนตรีด้านบริหารและราชการประจำทั้งหมด โดยมีกรมสารบรรณคณะรัฐมนตรีฝ่ายบริหารอยู่ในบังคับบัญชา การแบ่งงานเช่นนี้ ทำให้ราชการไม่ราบรื่นเท่าใดนัก และก่อให้เกิดความสับสนในการออกหนังสือแจ้งเรื่องราวต่าง ๆ ไปยังส่วนราชการและบุคคลภายนอก ดังนั้น ใน พ.ศ. ๒๕๐๒ ก็ได้มีการออกพระราชบัญญัติ จัดระเบียบราชการสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๐๒ เปลี่ยนชื่อสำนักคณะรัฐมนตรีเป็นสำนักนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่งและให้มีสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นหน่วยงานระดับกรมสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีประกอบด้วย กองกลาง กองการประชุมคณะรัฐมนตรี กองนิติธรรม และกองประกาศิต ซึ่งจะเห็นได้ว่า กองทั้งสี่มีที่มาจากกรมพระอาลักษณ์และกรมรัฐมนตรีสภานั่นเอง แม้ตำแหน่งอาลักษณ์ก็ยังมีสืบมาจนทุกวันนี้ โดยเป็นเจ้าหน้าที่อยู่ใน สำนักอาลักษณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สำหรับหัวหน้าส่วนราชการนั้นให้มีเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นข้าราชการประจำเทียบเท่าปลัดกระทรวงเป็นผู้บังคับบัญชาส่วนตำแหน่งเลขาธิการคณะรัฐมนตรีฝ่ายการเมืองให้ยุบเลิกเสีย นายมนูญ บริสุทธิ์เป็นเลขาธิการคณะรัฐมนตรีคนแรกตามโครงสร้างใหม่นี้

     หลังจากนั้นได้มีการปรับปรุงกฎหมายอีกหลายครั้ง แต่ก็มิได้กระทบสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีแต่อย่างใด ในส่วนของหน่วยงานนี้เองได้มีการจัดตั้งส่วนงานภายในเพิ่มขึ้นอีกอันเป็นการขยายงานให้กว้างขวางขึ้น เช่นใน พ.ศ. ๒๕๑๘ มีการตั้งกองโรงพิมพ์ ใน พ.ศ. ๒๕๒๘ มีการตั้งกองประสานนโยบายและแผน กองประมวลและติดตามผลมติคณะรัฐมนตรี และศูนย์ข้อมูลคณะรัฐมนตรี และใน พ.ศ. ๒๕๓๘ ได้มีการปรับโครงสร้างของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีใหม่ โดยแบ่งเป็น ๔ สำนัก ๓ กอง คือ สำนักนิติธรรม สำนักบริหาร การประชุมคณะรัฐมนตรี สำนักบริหารงานสารสนเทศ สำนักอาลักษณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ กองกลาง กองประสานนโยบายและแผน และกองโรงพิมพ์ ต่อมาใน ๒๕๔๙ได้มีกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๙ แบ่งส่วนราชการสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี โดยแบ่งเป็น ๗ สำนัก ๑ กอง ได้แก่ สำนักบริหารกลาง สำนักนิติธรรม สำนักบริหารงานสารสนเทศ สำนักพัฒนายุทธศาสตร์และติดตามนโยบายพิเศษ สำนักวิเคราะห์เรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี สำนักส่งเสริมและประสานงานคณะรัฐมนตรี สำนักอาลักษณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ กองการประชุมคณะรัฐมนตรีในปัจจุบัน สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นส่วนราชการเทียบเท่ากรม สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีเลขาธิการคณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือน นักบริหาร ระดับสูง (ข้าราชการประจำ) เป็นผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีแยกต่างหากจากสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นผู้บังคับบัญชาและเป็นข้าราชการการเมือง ในทางปฏิบัติมักมีผู้สับสนการเรียกชื่อและภารกิจของหน่วยงานทั้งสองตลอดจนตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงานทั้งสองนี้เสมอ ถ้าจะสรุปความแตกต่างระหว่างหน่วยงาน ทั้งสองก็ต้องกล่าวว่าสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีปฏิบัติงานในส่วนของการประชุมและการให้บริการคณะรัฐมนตรีทั้งคณะ เช่น ดำเนินการประชุมคณะรัฐมนตรี การแจ้งมติคณะรัฐมนตรี การติดต่อกับรัฐสภาในนามของ คณะรัฐมนตรี การขอพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณในนามของคณะรัฐมนตรี การนำมติคณะรัฐมนตรีในเรื่องอันไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงใดไปปฏิบัติ เช่น การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ การตรา พระราชกฤษฎีกายุบสภา การเปิดและปิดสมัยประชุมรัฐสภา ส่วนสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีปฏิบัติงานเฉพาะในส่วนของนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เช่น การตั้งกรรมการ ต่าง ๆ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี การตรวจสอบและวิเคราะห์ข่าวสารเสนอนายกรัฐมนตรี การต้อนรับแขกในพิธีการต่าง ๆ ที่นายกรัฐมนตรีเป็นเจ้าภาพ และการปฏิบัติภารกิจที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นต้น


สรุป

 

๑. การเปลี่ยนแปลงของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีในช่วงก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ นั้น ส่วนใหญ่เป็นการเปลี่ยนแปลงตามพระราชประสงค์ขององค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงเฉพาะชื่อและฐานะของหน่วยงานเป็นสำคัญ ส่วนการจัดโครงสร้างองค์กรนั้น ยังคงดำรงอยู่ในรูปแบบที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนนัก ด้านภารกิจซึ่งยังคงเน้นการทำหน้าที่เลขานุการขององค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งรวมงานทั้ง ด้านการเมืองและการบริหารราชการแผ่นดินเข้าไว้ด้วยกันตามลักษณะของระบบการปกครองที่อำนาจการเมืองการบริหาร รวมศูนย์อยู่ที่องค์พระมหากษัตริย์
๒. การเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างชัดเจนเกิดขึ้นภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ ทั้งนี้ เพราะเกิดโครงสร้างของระบบคณะรัฐมนตรีใหม่ อำนาจการเมือง – การบริหาร แยกจากองค์พระมหากษัตริย์มาอยู่ที่คณะกรรมการราษฎรหรือคณะรัฐมนตรี ภารกิจเดิมของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจึงแยกออกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่เป็นภารกิจส่วนตัวนายกรัฐมนตรี และภารกิจในส่วนของคณะรัฐมนตรี
๓. ปัจจุบันโครงสร้างของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นไปตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๙ ซึ่งได้แบ่งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีออกเป็น ๗ สำนัก ๑ กอง ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น

กระทรวงใดในปัจจุบันที่ยังคงใช้ชื่อเดิมมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5

รูปที่ 5 พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2534. พ.ศ. 2545. ต่อมา ในปี 2545 ตาม พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ก็ยังคงมี กระทรวงพาณิชย์ เป็น 1 ในกระทรวง 20 กระทรวง เช่นเดิม คราวนี้ไม่ได้เปลี่ยนชื่อแช่... อีกแต่อย่างใด แต่อนาคต...

กระทรวง 12 กระทรวงมีอะไรบ้าง

12 กระทรวง ได้แก่กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวัง กระทรวงกลาโหม กระทรวงนครบาล กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ กระทรวงเกษตรพาณิชยการ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงโยธาธิการ กระทรวงธรรมการ

กระทรวงเศรษฐการในอดีต ปัจจุบัน คือ กระทรวงใด

โดยในปี 2515 มีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 216 ลงวันที่ 29 ก.ย.2515 ออกใช้บังคับดังนั้นชื่อ “กระทรวงเศรษฐการ” เปลี่ยนชื่อมาเป็น “กระทรวงพาณิชย์” จนถึงปัจจุบัน กระทรวงพาณิชย์ (พ.ศ. 2534 - ปัจจุบัน)

กระทรวงเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยใด

ในเรื่องนี้จากบันทึกของขุนวิจิตรมาตรา (ส่ง กาญจนาคพันธ์) กล่าวไว้ว่าเมื่อแรกเริ่มตั้งกระทรวงในสมัยรัชกาลที่ ๕ นั้นเจ้ากระทรวงหรือเสนาบดีมักจะใช้บ้านของตัวเองเป็นสถานที่ทำการของกระทรวงแต่กระทรวงพาณิชย์ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๖ ยังไม่มีกระทรวงเป็นของตัวเองก่อนหน้านั้นจึงได้ก่อตั้งอาคารขึ้นใหม่ตามประวัติที่ขุวิจิตรมาตรา ...