อิทธิพลของอารยธรรมจีนส่งผลต่อสังคมไทยอย่างไรตอบ

ปลายยุคราชวงศ์ชิง ดร.ซุนยัตเซ็น จัดตั้งสมาคมสันนิบาต เพื่อล้มล้างราชวงศ์ชิง โดยประกาศ ลัทธิไตรราษฎร์ ประกอบด้วย 1.หลักเอกราช 2.หลักแห่งอำนาจอธิปไตยของประชาชน 3.หลักความยุติธรรมในการครองชีพ ส่วนนโยบายปฏิวัติ คือ โค่นล้มราชวงศ์แมนจู และจัดตั้งรัฐบาลประชาชน จัดตั้งรัฐบาลตามระบอบสาธารณรัฐ จัดสรรที่ดินให้แก่ประชาชน และก่อตั้งพรรคชาตินิยม หรือ พรรคก๊กมินตั๋ง ขึ้นในที่สุด

ต่อมา ซุนยัตเซ็นได้ร่วมมือกับ ยวน ซีไข ทำการปฏิวัติล้มราชวงศ์ชิงได้สำเร็จเปลี่ยนการปกครองเข้าสู่ระบอบสาธารณรัฐ (จักรพรรดิปูยี เป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของจีน) มีการแย่งชิงอำนาจของผู้นำทางทหารเรียกว่า ยุคขุนศึก

ซุนยัตเซ็นได้เสนอให้ ยวน ซีไข เป็นประธานาธิบดีของสาธารณรัฐจีน

ยวน ซีไข คิดสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิและรื้อฟื้นระบบศักดินา

ดร.ซุนยัตเซ็น ตั้งพรรคก๊กมินตั๋ง

เมื่อ ยวน ซีไข เสียชีวิตลง ดร.ซุนยัตเซ็นเป็นประธานาธิบดี แต่เป็นได้ไม่นานก็เสียชีวิต

หลังจาก ดร. ซุนยัตเซ็น เสียชีวิต เจียงไคเช็ค ขึ้นเป็นผู้นำพรรคก๊กมินตั๋งและผู้นำจีน

แต่รัฐบาลเจียงไคเช็ค ประสบปัญหาฉ้อราษฎร์บังหลวง กดขี่ราษฎร

จีนเกิดการปฏิวัติอีกครั้ง โดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน ภายใต้การนำของ เหมา เจ๋อตุง รัฐบาลเจียงไคเช็ค ต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์แต่แพ้

เหมา เจ๋อตุง สถาปนา “สาธารณรัฐประชาชนจีน” ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ มีการจัดระเบียบสังคมใหม่ เรียกว่า การปฏิวัติทางวัฒนธรรม เพื่อต่อต้านจารีตศักดินาแบ่งชนชั้น

  • หลังจาก เหมา เจ๋อตุง เสียชีวิต เติ้งเสี่ยวผิงขึ้นเป็นผู้นำจีนแทน ประกาศพัฒนาประเทศด้วย นโยบายสี่ทันสมัย คือด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การทหาร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยอนุญาตให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนภายในประเทศ รวมทั้งผ่อนปรนวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนให้คลายความเข้มงวดลง

    อนุสาวรีย์วีรชนปฏิวัติของจีน

    อุทยานภายในพระราชวังฤดูร้อน

    • จิตรกรรม
        • มีวิวัฒนาการมาจากการเขียนตัวอักษรจีนจารึกบนกระดูกเสี่ยงทายเพราะตัวอักษรจีนมีลักษณะเหมือนรูปภาพ
        • งานจิตรกรรมจีนรุ่งเรืองมากในสมัยราชวงศ์ฮั่น มีการเขียนภาพและแกะสลักบนแผ่นหิน ที่นิยมมากคือ การเขียนภาพบนผ้าไหม ภาพวาดเป็นเรื่องเล่าในตำราขงจื๊อพระพุทธศาสนาและภาพธรรมชาติ
        • สมัยราชวงศ์ถัง มีการพัฒนาการใช้พู่กันสีและกระดาษภาพส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนาและลัทธิเต๋า
        • สมัยราชวงศ์ซ้อง จิตรกรรมจัดว่าเด่นมาก ภาพวาดมักเป็นภาพมนุษย์กับธรรมชาติ ทิวทัศน์ ดอกไม้
    • ประติมากรรม
        • ส่วนใหญ่เป็นเครื่องปั้นดินเผามีอายุเก่าแก่ตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ ทำจากดินสีแดง มีลวดลาย แดง ดำ และขาวเป็นลวดลายเรขาคณิต
        • สมัยราชวงศ์ชาง มีการแกะสลักงาช้าง หินอ่อน และหยกตามความเชื่อและความนิยมของชาวจีน ที่เชื่อว่า หยก ทำให้เกิดความเป็นสิริมงคล ความสุขสงบ ความรอบรู้ ความกล้าหาญ ภาชนะสำริดเป็นหม้อสามขา
        • สมัยราชวงศ์ถัง มีการพัฒนาเครื่องเคลือบดินเผาเป็นเคลือบ 3 สีคือ เหลือง น้ำเงิน เขียว ส่วนสีเขียวไข่กามีชื่อเสียงมากในสมัยราชวงศ์ซ้อง ส่วนพระพุทธรูปนิยมสร้างในสมัยราชวงศ์ถัง ทั้งงานหล่อสำริดและแกะสลักจากหิน ซึ่งมีสัดส่วนงดงาม เป็นการผสมผสานระหว่างศิลปะอินเดียและจีนที่มีลักษณะเป็นมนุษย์มากกว่าเทพเจ้า นอกจากนี้มีการปั้นรูปพระโพธิสัตว์กวนอิม
        • สมัยราชวงศ์เหม็ง เครื่องเคลือบได้พัฒนาจนกลายเป็นสินค้าออก คือ เครื่องลายครามและลายสีแดง ถึงราชวงศ์ชิง เครื่องเคลือบจะนิยมสีสันสดใส เช่น เขียว แดง ชมพู
    • สถาปัตยกรรม
        • กำแพงเมืองจีน สร้างในสมัยราชวงศ์จิ๋น เพื่อป้องกันการรุกรานของมองโกล
        • เมืองปักกิ่ง สร้างในสมัยราชวงศ์หงวน โดยกุบไลข่าน ซึ่งได้รับการยกย่องทางด้านการวางผังเมือง ส่วนพระราชวังปักกิ่งสร้างในสมัยราชวงศ์เหม็ง
        • พระราชวังฤดูร้อน สร้างในสมัยราชวงศ์เช็ง โดยพระนางซูสีไทเฮา ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างยุโรปและจีนโบราณ
    • วรรณกรรม
        • สามก๊ก สันนิษฐานว่าเขียนในคริสต์ศตวรรษที่ 14 เป็นเรื่องราวของความแตกแยกในจีนตั้งแต่ปลายสมัยราชวงศจิ๋นจนถึงราชวงศ์ฮั่น
        • ซ้องกั๋ง เป็นเรื่องประท้วงสังคม เรื่องราวความทุกข์ของผู้คนในมือชนชั้นผู้ปกครอง สะท้อนความทุกข์ของชาวจีนภายใต้การปกครองของพวกมองโกล
        • ไซอิ๋ว เป็นเรื่องราวการเดินทางไปนำพระสูตรจากสวรรค์ทางตะวันตกมายังประเทศจีน
        • จินผิงเหมย หรือดอกบัวทอง แต่งขึ้นในราวคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 เป็นนิยายเกี่ยวกับสังคมและชีวิตครอบครัว เป็นเรื่องของชีวิตที่ร่ำรวย มีอำนาจขึ้นมาด้วยเล่ห์เหลี่ยม แต่ด้วยการทำชั่วและผิดศีลธรรมในที่สุดต้องด้รับกรรม

    หงโหลวเมิ่ง หรือ ความฝันในหอแดง เด่นที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 18 เรื่องราวเต็มไปด้วยการแก่งแย่งชิงดี อิจฉาริษยากัน ผู้อ่านจะรู้สึกเศร้าสลดต่อชะตาชีวิตของพระเอกนางเอกเนื้อเรื่องสะท้อนให้เห็นสังคมศักดินาของจีนที่กำลังเสื่อมโทรมก่อนการเปลี่ยนแปลงสังคมเข้าสู่ยุคใหม่ บันทึกประวัติศาสตร์ ของ สื่อหม่าเฉียน

    การถ่ายทอดอารยธรรมจีนสู่ดินแดนต่างๆ

                  อารยธรรมจีนแผ่ขยายขอบข่ายออกไปอย่างกว้างขวางทั้งในเอเชียและยุโรป อันเป็นผลมาจากการติดต่อทางการทูต การค้า การศึกษา ตลอดจนการเผยแผ่ศาสนา อย่างไรก็ตามลักษณะการถ่ายทอดแตกต่างกันออกไป ดินแดนที่เคยตกอยู่ภายใต้การปกครองของจีนเป็นเวลานาน เช่น เกาหลี และเวียดนาม จะได้รับอารยธรรมจีนอย่างสมบูรณ์ ทั้งในด้านวัฒนธรรม การเมือง ขนบธรรมเนียมประเพณี การสร้างสรรค์ และการแสดงออกทางศิลปะ ทั้งนี้เพราะราชสำนักจีนจะเป็นผู้กำหนดนโยบายและบังคับให้ประเทศทั้งสองรับวัฒนธรรมจีนโดยตรง

                  ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อารยธรรมจีนได้รับการยอมรับในขอบเขตจำกัดมาก ที่เห็นอย่างชัดเจนคือ การยอมรับระบบบรรณาการของจีน

                  ในเอเชียใต้ ประเทศที่แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับจีนอย่างใกล้ชิด คือ อินเดีย พระพุทธศาสนามหายานของอินเดียแพร่หลายเข้ามาในจีนจนกระทั่งเป็นศาสนาสำคัญที่ชาวจีนนับถือ นอกจากนี้ศิลปะอินเดียยังมีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ศิลปะบางอย่างของจีน เช่น ประติมากรรมที่เป็นพระพุทธรูป

                  ส่วนภูมิภาคเอเชียกลางและตะวันออกกลางนั้น เนื่องจากบริเวณที่เส้นทางการค้าสานแพรไหมผ่านจึงทำหน้าที่เป็นสื่อกลางนำอารยธรรมตะวันตกและจีนมาพบกัน อารยธรรมจีนที่เผยแพร่ไป เช่น การแพทย์ การเลี้ยงไหม กระดาษ การพิมพ์ และดินปืน เป็นต้น ซึ่งชาวอาหรับจะนำไปเผยแพร่แก่ชาวยุโรปอีกต่อหนึ่ง

    อารยธรรมจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีอีกชื่อหนึ่งว่า “อินโดจีน” หมายถึงภูมิประเทศที่ได้รับอารยธรรมอินเดียและอารยธรรมจีน อันเนื่องมาจากที่ตั้งอยู่ตรงการระหว่างสองประเทศนั่นเอง และจากประวัติศาสตร์ที่มีมาอย่างยาวนาน ทั้งประเทศอินเดียและประเทศจีนก็มีการติดต่อค้าขายมาตลอด ไม่ว่าจะเป็นทางบกหรือทางเรือ ประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงกลายเป็นทางผ่านที่สำคัญ เป็นที่พักสินค้า เติมน้ำจืด และที่หลบลมมรสุม การค้าขายนี่เองทำให้เกิดการแพร่กระจายทางวัฒนธรรมทั้งจีนและอินเดียในภูมิภาคนี้ แต่เพราะเหตุใดเราจึงมองเห็นว่าอารยธรรมจีนจึงเข้มข้นน้อยกว่าอารยธรรมอินเดีย วันนี้ผู้เขียนขออธิบายอารยธรรมจีนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    อิทธิพลทางด้านการเมือง โบราณนานมากแล้วกษัตริย์จีนทุกพระองค์ถือว่าทรงเป็นสมมุติเทพมีฐานะเหนือผู้ปกครองของประเทศต่าง ๆ ในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้ปกครองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะต้องส่งเครื่องบรรณาการไปให้กับกษัตริย์จีนอย่างน้อยปีละ ๓ ครั้ง เพื่อประโยชน์ทางการค้า เรียกว่า “จิ้มก้อง” หากมีการผลัดเปลี่ยนกษัตริย์ จะต้องมีการแจ้งเรื่องให้กับกษัตริย์จีนทรงทราบ เพื่อให้จีนรับรอง ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อเสถียรภาพในการปกครองของผู้นำรัฐต่าง ๆ การจิ้มก้องนี้เป็นคุณประโยชน์กับประเทศต่าง ๆ เป็นอย่างมาก เพราะการได้สิทธิค้าขายกับจีนนั้นถือว่าเป็นความมั่นคงของรัฐต่าง ๆ อย่างแท้จริง และรัฐต่าง ๆ จะไม่ต้องถูกจีนโจมตี ยกตัวอย่างเช่นพม่า ช่วงพระเจ้ามังระที่ขณะนั้นตีกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ ๒ พม่าไม่ได้ส่งบรรณาการให้กับจีนหลายงวด จีนทวงถามหลายครั้งก็ไม่ได้รับคำตอบ จีนจึงยกกำลังมาตีพม่า พม่ายกกำลังทหารส่วนใหญ่ไปรับศึกจีน เหลือกำลังน้อยนิดไว้ในไทย นี่คือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พม่าไม่สามารถปกครองไทยได้นาน และพระเจ้าตากสินจึงกู้เอกราชได้อย่างรวดเร็วเพียงหกเดือนเศษ สำหรับประวัติศาสตร์ไทยมีหลักฐานการส่งบรรณการกับจีนมานานแล้ว อย่างน้อยที่สุดก็ตั้งแต่สมัยสุโขทัย ไทยหยุดส่งเครื่องบรรณาการให้จีนสมัยรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์นี่เอง ส่วนในระดับภูมิภาคมีหลักฐานจากเอกสารจีนว่า รัฐฟูนัน (พศว. ๘ – ๑๒) มีการส่งเครื่องบรรณาการให้จีนแล้ว

    ประเทศเวียดนามนับว่าได้รับอารยธรรมจีนมากที่สุด เพราะมีความใกล้ชิดกับจีน เมื่อจีนเข้าปกครองเวียดนามก็ใช้วิธีการปกครองแบบกลืนชาติ เวียดนามจึงมีระเบียบการปกครองแบบจีน มีการสอบเข้ารับราชการแบบจีนโดยใช้ตำราของขงจื้อ เรียกว่าสอบจองหงวน มีการใช้อักษรจีน นับถือเทพเจ้าแบบจีน นับถือขงจื้อ งานศิลปกรรม สถาปัตยกรรม แม้แต่เครื่องแต่งกาย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ พระราชวังหลวงเว้ ที่มีความเป็นจีนสูงมาก จนเมื่อฝรั่งเศสเข้าปกครองจีน ความรู้และอารยธรรมแบบตะวันตกจึงค่อย ๆ เข้ามาในประเทศเวียดนาม

    อิทธิพลทางด้านเศรษฐกิจ ในฐานะที่จีนเป็นตลาดการค้าใหญ่ มีสินค้าต่าง ๆ ที่รัฐต่าง ๆ ในเอชัยตะวันออกเฉียงใต้ต้องการ เช่นเครื่องปั้นดินเผา ผ้าไหม จีนจึงบังคับให้รัฐต่าง ๆ ส่งเครื่องบรรณาการให้กับจีนก่อน แล้วจีนจึงค้าขายด้วย แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการแลกเปลี่ยน อาจารย์ผู้สอนประวัติศาสตร์จีนให้สอนผู้เขียนว่า จีนถือตนว่าเป็นผู้ใหญ่ เมื่อผู้น้อยเอาของมาให้ ผู้ใหญ่ต้องมีของแลกเป็นการตอบแทน แต่เมื่อเป็นผู้ใหญ่ก็ต้องให้มากกว่าผู้น้อย ดังนั้นจึงเป็นที่ชื่นชอบแก่รัฐต่าง ๆ เป็นอันมาก อาณาจักรที่รุ่งเรืองกับการค้าขายกับจีน เช่น อาณาจักรฟูนัน ศรีวิชัย อันนัม สุโขทัย อยุธยา รัตนโกสินทร์ ฯลฯ

    สาเหตุที่จีนมีอิทธิพลกับทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้น้อย

                   เพราะจีนไม่ค่อยออกจากประเทศทำการค้าขายมากนักเนื่องจากความเชื่อเรื่องชาติพรรณ และเชื่อว่าตนเองเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ประเทศต่าง ๆ ต้องเข้าไปหาจีนเอง ยกเว้นช่วงราชวงศ์หมิงเท่านั้นที่การค้าทางทะเลของจีนรุ่งเรื่อง ดังนั้นการแพร่ออกของวัฒนธรรมจีนจึงมีนอ้อยกว่าอารยธรรมอินเดีย ซึ่งอินเดียเป็นเจ้าแห่งการเดินเรือค้าขาย

                   จีนไม่สนใจขายอิทธิพลทางทะเล หรือขยายดินแดน ยกเว้นช่วงราชวงศ์หยวน เพราะศึกล้อมรอบประเทศจากกลุ่มชนต่าง ๆ โดยเฉพาะทางภาคเหนือก็ทำให้จีนต้องพะวงอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งจีนเชื่อประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็เป็นเพราะป้องกันให้กับจีนดีพออยู่แล้ว อิทธิพลจีนจึงแพร่ไปสู้ประเทศในภูมิภาคเอเชียน้อย

                   ลัทธิความเชื่อของชาวจีน เช่นลัทธิขงจื้อ ไม่สนับสนุนให้ชาวจีนไม่ส่งเสริมให้จีนออกนอกประเทศ

    แต่ปัจจุบัน ชาวจีนได้แพร่กระจายออกไปทั่วโลก แทบจะทุกประเทศก็มีชุมชนจีน วัฒนธรรมจีนจึงติดตัวไปกับชาวจีนที่ย้ายถิ่นฐานต่าง ๆ ไปสู่ประเทศเหล่านั้น จากชมกลุ่มน้อยก็แทบจะกลายเป็นชนกลุ่มใหญ่ เช่นในประเทศไทย สิงค์โปร และด้วยความที่มีประชากรเยอะที่สุดในโลก ราว ๑,๓๐๐ ล้านคน การค้าของจีนทั้งซื้อและขายทั่วโลกจึงให้ความสนใจ ผู้คนต่างเริ่มศึกษาวัฒนธรรมจีนและเลือกรับวัฒนธรรมจีนไปเรื่อย ๆ และเรื่อย ๆ

    ลัทธิขงจื๊อ (551 - 479 ปีก่อน ค.ศ.)

    เป็นผู้วางรากฐานในกับลัทธิขงจื๊อที่มุ่งแก้ไขปัญหาการเมืองและสังคมของจีน ในสมัยจลาจล โดยเน้นให้มนุษย์อยู่ร่วมกันในสังคมด้วยความสงบสุขเรียบร้อย ทั้งนี้จะถือหลักการเรื่องมนุษยธรรมและจารีตประเพณี ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักแห่งสัมพันธภาพ 5 ประการ ขงจื๊อสั่งสอนลูกศิษย์โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ ลูกศิษย์ของขงจื๊อจึงมีตั้งแต่เจ้านาย ขุนนาง ข้าราชการ พ่อค้า ชาวไร่ชาวนา ทำให้เกิดชนชั้นปัญญาชนขึ้นในสังคมชีน ปัญญาชนเหล่านี้มีเป้าหมายอยู่ที่การเข้ารับราชการ โดยหวังว่าปัญญาความรู้ความสามารถที่ได้รับการอบรมมาจะเป็นประโยชน์ต่อการ ปกครองบ้านเมือง และยังเป็นการสร้างชื่อเสียงและฐานะให้กับตนเอง ครอบครัว วงศ์ตระกูลอีกด้วย ปัจจุบันลัทธิขงจื๊อแม้จะหมดบทบาทในด้านการเมือง แต่ในด้านวัฒนธรรม ลัทธิขงจื๊อยังฝังลึกอยู่ในสังคมจีนนานนับเป็นศตวรรษจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของ วิถีชีวิตในสังคมจีน

    ขงจื๊อสั่งสอนลูกศิษย์โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ ลูกศิษย์ของขงจื๊อจึงมีทุกชนชั้น ทำให้เกิดชนชั้นปัญญาชนขึ้นในสังคมจีน  ปัญญาชนเหล่านี้มีเป้าหมายอยู่ที่การเข้ารับราชการ โดยหวังว่าปัญญาความรู้ความสามารถที่ได้รับการอบรมมาจะเป็นประโยชน์ต่อการ ปกครองบ้านเมือง และยังเป็นการสร้างชื่อเสียงและฐานะให้กับตนเอง ครอบครัว วงศ์ตระกูลอีกด้วย ลัทธิขงจื๊อ เรียกกันในอีกชื่อหนึ่งว่า แนวคิดหยู ซึ่งหมายถึงแนวคิดของปัญญาชน ผู้ที่ศึกษาแนวคิดของขงจื๊อและนักคิดคนอื่นๆ ในกลุ่มนี้เรียกกันในสมัยโบราณว่า ปัญญาชนหยู หรือชาวหยู ปัจจุบันลัทธิขงจื๊อแม้จะหมดบทบาทในด้านการเมือง แต่ในด้านวัฒนธรรม ลัทธิขงจื๊อยังฝังลึกอยู่ในสังคมจีนนานนับเป็นศตวรรษจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของ วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวจีน

    ลัทธิเต๋า(ประมาณ 571 - 484 ปีก่อน ค.ศ.) นักปราชญ์คนสำคัญของลัทธิเต๋ามีชีวิตอยู่ในสมัยเดียวกับขงจื๊อ

     ลัทธิเต๋ามีกำเนิดในประเทศจีน ต้นกำเนิดเดิมของลัทธิเต๋าไม่ใช่ลัทธิหรือศาสนา แต่เป็นปรัชญาธรรม เพื่อการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่า โดยอยู่อย่างกลมกลืนกับธรรมชาติ ตัดสิ่งที่เกิน ความจำเป็นของชีวิต รวมทั้งขนบธรรมเนียมประเพณีที่ฟุ่มเฟือยและฝืนกับธรรมชาติ โดยกลับไป มีชีวิตแบบง่าย ๆ ท่ามกลางความสงบของป่าเขาลำเนาไพร แต่เมื่อเวลาผ่านพ้นไปปรัชญาเต๋าได้ถูก ดัดแปลงให้สอดคล้องกับความเชื่อดั้งเดิมของจีนซึ่งบูชาพระเจ้าประจำธรรมชาติ ผสมกับความเชื่อ ในทางไสยศาสตร์อื่น ๆ จึงเกิดเป็นลัทธิเต๋า ซึ่งจะกล่าวรายละเอียดในตอนต่อไปปรัชญาเต๋าเป็นระบบความคิดที่โดดเด่นต่างจากปรัชญาอื่น ๆ ของจีน กล่าวคือ มีแนวคิดที่นอกจากจะเน้นหนักในทางจริยศาสตร์แล้ว ยังมีแนวคิดทางด้านปรัชญาการเมืองและทัศนะในทางอภิปรัชญาค้นหาอันติมสัจจ์ที่เป็นรากฐานแห่งสรรพสิ่ง ตรงจุดนี้เองที่ทำให้ปรัชญาเต๋ายังคงยืนหยัดท่ามกลางกระแสปรัชญาอื่น ๆ ของโลกในปัจจุบันแม้นวันเวลาจะผ่านพ้นไปนานก็ตาม ปรัชญาเต๋า ยังคงเป็นสิ่งที่น่าศึกษาค้นคว้าสำหรับผู้รักการแสวงหาความจริง

                   ล่าจื้อ ไม่ชอบชีวิตหรูหรา แต่ทุกคนดูเหมือนจะมุ่งมั่นเพื่อเงินชื่อเสียงและอำนาจ ในขณะเดียวกันทั้งเมืองก็เต็มไปด้วยการโกงกินกันอย่างมโหฬาร ด้วยเหตุนี้ วันหนึ่งท่านจึงขับเกวียนเทียมวัวดำสองตัวมุ่งไปยังภูเขาด้านทิศตะวันตก (ทิเบต?) พอถึงประตูเมืองนายประตูจำได้ จึงขอร้องให้ท่านหยุดพักเพื่อเขียนปรัชญาแห่งชีวิต ท่านจึงได้เขียนตำราที่โด่งดังของท่านเป็นอักษรจีน 5,500 ตัว จากนั้นก็ได้เดินทางต่อไป ปรากฏว่าพอถึงช่องแดนระหว่างภูเขา ท่านก็หายเข้าไปในก้อนเมฆ อะไรได้เกิดขึ้นก็ตามทีเถิด ตั้งแต่นั้นมาไม่มีใครเห็นท่านอีกเลย

                    ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมจีน บันทึกการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนจีนว่า เริ่มขึ้นในสมัยกษัตริย์เม่งตี่แห่งราชวงศ์ฮั่น ซึ่งเป็นเวลาที่จีนแผ่อำนาจไปทางตะวันตกและพระพุทธศาสนาแพร่ขึ้นมาทางเหนือ ของชมพูทวีป พระจักรพรรดิจีนรับสั่งให้นิมนต์พระภิกษุจากแคว้นกุสัน พร้อมด้วยพระสูตรมายังประเทศจีน และโปรดให้สร้างวัดม้าขาว เป็นวัดพุทธแห่งแรก ในพุทธศักราช 610

    ต่อมาได้มีพระภิกษุ พระเถระเดินทางมาจากอินเดียกลาง เป็นจำนวนมาก พระเถระเหล่านั้น ได้แปลพระสูตรเป็นภาษาจีน และชาวจีนได้รับอนุญาตให้อุปสมบทได้ ในพุทธศักราช 800 เป็นครั้งแรก