หลักการทํางานของระบบกําหนดตําแหน่งบนพื้นผิวโลก ต้องอาศัย หลักการทํางานใดบ้าง

องค์ประกอบของ GPS

จีพีเอส (GPS) มีหลักการทำงานโดยอาศัยคลื่นวิทยุ และรหัสที่ส่งมาจากดาวเทียม NAVSTAR จำนวน 24 ดวง ที่โคจรอยู่รอบโลกวันละ 2 รอบและมีตำแหน่งอยู่เหนือพื้นโลกที่ความสูง 20,200 กิโลเมตร สามารถใช้ในการหาตำแหน่งบนพื้นโลกได้ตลอด 24 ชั่วโมงที่ทุกๆ จุดบนผิวโลก ใช้นำร่องจากที่หนึ่งไปที่อื่นตามต้องการ ใช้ติดตามการเคลื่อนที่ของคนและสิ่งของต่างๆ การทำแผนที่ การทำงานรังวัด (Surveying) ตลอดจนใช้อ้างอิงการวัดเวลาที่เที่ยงตรงที่สุดในโลก

องค์ประกอบของระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (GPS) ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ
1. ส่วนอวกาศ (Space segment )
2. ส่วนสถานีควบคุม (Control segment) และ
3. ส่วนผู้ใช้ (User segment)

หลักการทํางานของระบบกําหนดตําแหน่งบนพื้นผิวโลก ต้องอาศัย หลักการทํางานใดบ้าง

ส่วนอวกาศ (Space segment)  เป็นส่วนที่อยู่บนอวกาศจะประกอบด้วย ดาวเทียม    24 ดวง โดยมีดาวเทียม 21 ดวงทำหน้าที่ส่งสัญญาณคลื่นวิทยุจากอวกาศ (Space Vehicles,SVs)  ส่วนอีก 3 ดวง เป็นดาวเทียมปฏิบัติการเสริม วงโคจรของดาวเทียมแต่ละดวงจะใช้เวลาโคจร 12 ชั่วโมง ต่อ 1 รอบ โดยจะมี     ทั้งหมด 6 วงโคจร แต่ละวงโคจรมีดาวเทียม 4  ดวง วงโคจรมีมุมเอียง 55°  กับระนาบศูนย์สูตรและห่างกัน 60°  วงโคจรในลักษณะดังกล่าวจะทำให้มีดาวเทียมอย่างน้อย 4 ดวงอยู่บนท้องฟ้าทุกๆ จุดบนพื้นผิวโลก ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง    ดาวเทียมชุดแรก เรียก GPS Block I          มีทั้งหมด 10 ดวง  ดาวเทียมแต่ละดวงจะมีนาฬิกาที่มีความแม่นยำสูง ซึ่งเป็นชุดของนาฬิกาอะตอมมิค แบ่งออกเป็นแหล่งกำเนิดความถี่รูบิเดียม 2 เรือน และ ซีเซียม 2 เรือน ทำให้เวลามาตรฐานของ       ดาวเทียมมีความถูกต้องสูงมาก นาฬิกาดังกล่าวช่วยในการคำนวณระยะทางระหว่างดาวเทียม           กับเครื่องรับสัญญาณเพื่อที่จะคำนวณค่าพิกัดตำแหน่งได้

ส่วนสถานีควบคุม (Control segment) ประกอบไปด้วยสถานีภาคพื้นดินที่ควบคุมระบบ (Operational Control System : OCS) ที่กระจายอยู่ตามส่วนต่างๆ ของโลกมีหน้าที่ปรับปรุงให้ข้อมูล        ดาวเทียม มีความถูกต้องทันสมัยอยู่ตลอดเวลา โดยแบ่งออกเป็น
            สถานีควบคุมหลัก ตั้งอยู่ที่ฐานทัพอากาศในเมืองโคโลราโดสปริงส์ มลรัฐโคโรลาโด    ของสหรัฐ (Colorado Springs)  สถานีติดตามดาวเทียม 5 แห่ง ทำการรังวัดติดตามดาวเทียม        ตลอดเวลา โดยตั้งอยู่ที่  หมู่เกาะฮาวาย (Hawaii) ในมหาสมุทรแปซิฟิก หมู่เกาะแอสเซนซัน (Ascension) มหาสมุทรแอตแลนติก     หมู่เกาะดิเอโกการ์เซีย (Diego Garcia) มหาสมุทรอินเดีย      หมู่เกาะควาจาเลียน (Kwajalein) ประเทศฟิลิปปินส์ และเมืองโคโลราโดสปริงส์  สถานีรับส่งสัญญาณ 3 แห่ง ได้แก่ หมู่เกาะควาจาเลียน หมู่เกาะดิเอโกการ์เซีย และ    หมู่เกาะแอสเซนซัน

ส่วนผู้ใช้ (User segment)  ประกอบด้วยเครื่องรับสัญญาณหรือตัว GPS ที่เราใช้อยู่มีหลายขนาด สามารถพกพาได้ หรือติดไว้ในรถ เรือ หรือเครื่องบิน เครื่อง GPS จะทำหน้าที่ในการเปลี่ยนสัญญาณจาก SVs เป็นตำแหน่ง ความเร็ว และเวลาโดยประมาณ ถ้าหากต้องการทราบค่า X Y Z(Position) และเวลาต้องใช้ดาวเทียมอย่างน้อย 4 ดวง  ความถูกต้องของตำแหน่งขึ้นอยู่กับนาฬิกาและตัว GPS ซึ่งอาจจะหาตำแหน่งที่มีความผิดพลาดได้น้อยกว่า 3 ฟุต นาฬิกาที่ใช้จะมีความถูกต้องสามารถวัดได้ในเวลา 0.000000003 วินาที ซึ่งเวลาที่ใช้ในการอ้างอิงสำหรับระบบดาวเทียม GPS เรียกว่าเวลา GPS

By

in

Article

Posted

December 11, 2017 at 4:04 pm

ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (จีพีเอส) (Global positioning System : GPS) หรือ นาฟสตาร์ (Navstar) คือระบบดาวเทียมนำร่องโลก เพื่อระบุข้อมูลของตำแหน่งและเวลาโดยอาศัยการคำนวณจากความถี่สัญญาณนาฬิกาที่ส่งมาจากตำแหน่งของดาวเทียมต่างๆ ที่โคจรอยู่รอบโลก สามารถระบุตำแหน่ง ณ จุดที่รับสัญญาณได้ทั่วโลกไม่ว่าจะสภาพอากาศแบบใด สามารถคำนวณความเร็วและทิศทางเพื่อนำมาใช้ร่วมกับแผนที่ในการติดตามยานพหานะ คน สัตว์ สิ่งของ และยังใช้ร่วมกับแผนที่นำทางได้

ดาวเทียมของจีพีเอสเป็นดาวเทียมที่มีวงโคจรระดับกลาง (Medium Earth Orbit: MEO) ที่ระดับความสูงประมาณ 200 กิโลเมตร จากพื้นโลก ใช้การยืนยันตำแหน่งโดยอาศัยพิกัดจากดาวเทียมอย่างน้อย 4 ดวง สามารถยืนยันตำแหน่งได้ครอบคลุมทุกจุดบนผิวโลก ปัจจุบัน เป็นดาวเทียม GPS Block-II มีดาวเทียมสำรองประมาณ 4-61 ดวง

นอกจากระบบ GPS แล้วยังมี ระบบบอกพิกัดด้วยดาวเทียมอื่นๆ ได้แก่

  • GLONASS (Global Navigation Satellite System) เป็นระบบของรัสเซีย ที่พัฒนาเพื่อแข่งขันกับสหรัฐอเมริกา ใช้งานได้สมบูรณ์ทั่วโลกตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2555
  • Galileo เป็นระบบที่กำลังพัฒนาโดยสหภาพยุโรป ร่วมกับจีน อิสราเอล อินเดีย โมร็อกโก ซาอุดิอาระเบีย เกาหลีใต้ และยูเครน จะแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2553
  • Beidou เป็นระบบที่กำลังพัฒนาโดยประเทศจีน โดยให้บริการเฉพาะบางพื้นที่ แต่ในอนาคตมีแผนที่จะพัฒนาโดยให้ครอบคลุมทั่วโลกโดยจะใช้ชื่อว่า COMPASS
  • QZSS ระบบดาวเทียมของญี่ปุ่น ทำหน้าที่หลากหลาย ช่วยเสริมการหาตำแหน่งด้วย GPS โดยเน้นพื้นที่ประเทศญี่ปุ่น ที่มีอาคารสูงบดบังสัญญาณ GPS สำหรับ QZSS ถูกออกแบบให้มีวงโคจรเป็นเลข 8 โดยเต็มระบบจะประกอบด้วยดาวเทียม 3-4 ดวง

ข้อมูลจาก https://th.wikipedia.org/wiki/ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก

หลักการทำงานของระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก เป็นอย่างไร

GPS ทำงานโดยการรับสัญญาณจากดาวเทียมแต่ละดวง โดยสัญญาณดาวเทียมนี้ประกอบไปด้วยข้อมูลที่ระบุตำแหน่งและเวลาขณะส่งสัญญาณ ตัวเครื่องรับสัญญาณ GPS จะต้องประมวลผลความแตกต่างของเวลาในการรับสัญญาณเทียบกับเวลาจริง ณ ปัจจุบันเพื่อแปรเป็นระยะทางระหว่างเครื่องรับสัญญาณกับดาวเทียมแต่ละดวง ซึ่งได้ระบุมีตำแหน่งของมันมากับสัญญาณดังกล่าว ...

ระบบกําหนดตําแหน่งบนพื้นโลก มีอะไรบ้าง

ระบบกําหนดตําแหนงบนโลก (Global Positioning System: GPS) ระบบกําหนดตําแหนงบนโลก เปนระบบนํารองที่ใชในการหาคาพิกัดตําแหน โดยอาศัย คลื่นวิทยุจากดาวเทียม NAVSTAR (Navigation Satellite Timing and Ranging) จําวน 24 ดวงที่โคจร อยูเหนือพื้นโลก สามารถใชในการหาตําแหนงบนพื้นโลกไดตลอด 24 ชั่วโมงที่ทุกๆ จุดบนผิวโลก

ระบบการกาหนดตาแหน่งบนพื้นโลก(GPS)คืออะไร

ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (จีพีเอส) (Global positioning System : GPS) หรือ นาฟสตาร์ (Navstar) คือระบบดาวเทียมนำร่องโลก เพื่อระบุข้อมูลของตำแหน่งและเวลาโดยอาศัยการคำนวณจากความถี่สัญญาณนาฬิกาที่ส่งมาจากตำแหน่งของดาวเทียมต่างๆ ที่โคจรอยู่รอบโลก สามารถระบุตำแหน่ง ณ จุดที่รับสัญญาณได้ทั่วโลกไม่ว่าจะสภาพอากาศแบบใด สามารถคำนวณ ...

หลักการทำงานของระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลกจะมีกี่ส่วน

ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ ส่วนอวกาศ (Space segment) ส่วนสถานีควบคุม (Control segment) และส่วนผู้ใช้ (User segment)

หลักการทำงานของระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก เป็นอย่างไร ระบบกําหนดตําแหน่งบนพื้นโลก มีอะไรบ้าง ระบบการกาหนดตาแหน่งบนพื้นโลก(GPS)คืออะไร หลักการทำงานของระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลกจะมีกี่ส่วน ระบบกําหนดตําแหน่งบนพื้นโลก องค์ประกอบ ระบบกําหนดตําแหน่งบนพื้นโลก อาศัยสิ่งใดบ้าง gps ใช้ดาวเทียมกี่ดวง ระบบกําหนดตําแหน่งบนโลก gps มีประโยชน์อย่างไร ยกตัวอย่างระบบกําหนดตําแหน่งบนพื้นโลกที่นํามาประยุกต์ใช้ประโยชน์ในโลกยุคปัจจุบันในด้านต่าง ๆ ระบบกําหนดตําแหน่งบนพื้นโลก gps เครื่องระบุตําแหน่งบนพื้นโลก ฟิสิกส์ ประโยชน์ของระบบบอกตําแหน่งมา3ข้อ