ขั้นการแสดงผลลัพธ์ของข้อมูล process

  • หน้าแรก

  • Knowledge

  • Knowledge

  • การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์

การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ สร้างขึ้นเพื่อใช้แก้ปัญหาต่างๆ ทั้งในรูปแบบที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์ ซึ่งปฏิบัติตามขั้นตอนของโปรแกรมที่ตั้งไว้สำหรับการทำงานของคอมพิวเตอร์

ขั้นการแสดงผลลัพธ์ของข้อมูล process

ขั้นตอนการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์

ขั้นตอนการทำงานพื้นฐาน 4 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 รับข้อมูล (input) เป็นการนำข้อมูลหรือคำสั่งเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยผ่านอุปกรณ์รับข้อมูลต่างๆ เช่น การพิมพ์ข้อความเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้แป้นพิมพ์ การบันทึกเสียงโดยผ่านไมโครโฟน เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 2 ประมวลผลข้อมูล (process) เป็นการนำข้อมูลมาประมวลผลตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ หรือสารสนเทศ เช่น การนำข้อมูลที่รับเข้ามาหาผลรวม เปรียบเทียบคำนวณเกรดเฉลี่ย เป็นต้น ซึ่งอุปกรณ์สำหรับประมวลที่สำคัญ คือ หน่วยประมวลผลกลาง

ขั้นตอนที่ 3 จัดเก็บข้อมูล (storage) เป็นการจัดเก็บข้อมูลชั่วคราวในขณะที่มีการประมวลผลแรม รวมถึงจัดเก็บข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลลงในอุปกรณ์เก็บข้อมูล เช่น ฮาร์ดดิสก์ (hard disk) แฟลชไดร์ฟ (flash drive) เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 4 แสดงผลข้อมูล (output) เป็นการนำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลมาแสดงผลลัพธ์ในรูปแบบที่มนุษย์เข้าใจ กล่าวคือ อยู่ในรูปแบบของข้อความ ตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ เสียง โดยผ่านอุปกรณ์แสดงผลต่างๆ เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น

1                ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเลคทรอนิคส์แบ่งได้กี่วิธี  อะไรบ้าง

ขั้นตอนในการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการประมวลผลข้อมูลโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือการนำข้อมูลเข้า (Input Data) การประมวลผล (Processing) และ การนำเสนอข้อมูล(Output Data) ซึ่งทั้ง 3 ขั้นตอนนี้ต้องทำงานต่อเนื่องกัน เราสามารถเรียกกรรมวิธีนี้ว่า วงจรการประมวลผล” (Data Processing Cycle)
          การนำข้อมูลเข้า (Input Data)
          ขั้นนี้จัดเป็นขั้นตอนที่ต้องจัดเตรียมข้อมูลที่รวบรวมมาแล้วให้อยู่ในลักษณะที่เหมาะสมและสะดวก ในการป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะนำไปประมวลผล ซึ่งขั้นตอนนี้สามารถทำได้โดยผ่านทางคีย์บอร์ด (Keyboard) และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ป้อนข้อมูลได้ (Input Devices) ซึ่งข้อมูลที่นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์จะนำเข้าผ่านตัวเชื่อมต่อ(connector) ซึ่งในทางคอมพิวเตอร์เรียกว่า พอร์ท(Port)   Port ของระบบคอมพิวเตอร์ที่สำคัญๆ ได้แก่ Serial Port จะนำข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ได้ครั้งละ 1บิต เรียงตามลำดับไปเรื่อยๆ อุปกรณ์ ที่ใช้ Serial Port ได้แก่ Mouse Parallel Port จะนำข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ได้ครั้งละหลาย เรียงตามลำดับไปเรื่อยๆ อุปกรณ์ ที่ใช้ Parallel Port ได้แก่ Printer Tape USB Port (Universal Serial Bus Port) เป็น Port ชนิดใหม่ซึ่งสามารถใช้เชื่อมต่ออุปกรณ์ได้ทั้ง Serial และ Parallel Port
        การประมวลผล (Processing)
        เป็นวิธีการจัดการกับข้อมูลที่ถูกส่งมาทางอุปกรณ์นำเข้า (Input Devices) และข้อมูลเหล่านั้นจะถูกนำไปทำการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ โดยวิธีการต่างๆ ได้แก่ อาจเป็นการคำนวณทั่วๆ ไป คือการบวก การลบ การคูณ และการหาร, การเปรียบเทียบ, การจัดกลุ่มข้อมูล, การรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน เป็นต้น ซึ่งอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดในการประมวลผลก็คือตัว CPU ทุกครั้งที่ CPU ทำงานจะทำการรับคำสั่งจากหน่วยความจำเข้ามาแล้วทำการประมวลผลและเมื่อประมวลผลเสร็จแล้วจะส่งผลที่ได้กลับไปยังหน่วยความจำอีกครั้งหนึ่งเราเรียกว่า วัฏจักรของเครื่องหรือรอบของการทำงาน(Machine Cyecle)
        การนำเสนอข้อมูล(Output Data)
        เป็นขั้นตอนที่ได้หลังจากผ่านการประมวลผลแล้ว โดยจะมีการแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลให้ผู้อื่นทราบ โดยข้อมูลที่นำออกจากระบบคอมพิวเตอร์จะถูกส่งข้อมูลผ่านตัวเชื่อมต่อ(connector) ของคอมพิวเตอร์ ซึ่งรูปแบบของผลลัพธ์สามารถแสดงได้หลายรูปแบบ เช่น รายงาน, กราฟ, ตาราง เป็นต้น นอกจากนี้ การนำเสนอข้อมูลยังรวมไปถึงการเคลื่อนย้ายข้อมูลข่าวสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารเป็นตัวกลาง เช่น คู่สายโทรศัพท์ การส่งสัญญาณดาวเทียม เป็นต้น ส่วนใหญ่แล้วมักนิยมแสดงผลลัพธ์ของข้อมูลออกมาทางหน้าจอของคอมพิวเตอร์ (Display Screen) หรือ มอนิเตอร์(Monitor) หรือเราอาจนำเสนอข้อมูลออกมาทางกระดาษ (Hard Copy) โดยใช้เครื่องพิมพ์ (Printer)

 2.                        จงเรียงลำดับโครงสร้างข้อมูลจากขนาดเล็กไปใหญ่ พร้อมอธิบายความหมายของโครงสร้างข้อมูลแต่ละแบบ

           รูปแบบของการจัดระเบียบของข้อมูล ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ ประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่ลำดับจากหน่วยที่เล็กที่สุดไปยังหน่วยที่ใหญ่ขึ้นตามลำดับต่อไปนี้

2.1 บิท (Bit : Binary Digit) คือ หน่วยของข้อมูลที่เล็กที่สุดที่เก็บอยู่ในหน่วยความจำภายในคอมพิวเตอร์ ซึ่ง Bit จะแทนด้วยตัวเลขหนึ่งตัว คือ 0 หรือ 1 อย่างใดอย่างหนึ่ง เรียกตัวเลข 0 หรือ 1 ว่าเป็น บิท 1 บิท

2.2 ไบท์ (Byte) คือ หน่วยของข้อมูลที่นำบิทหลายๆบิทมารวมกัน แทนตัวอักษรแต่ละตัว เช่น A, B, …, Z, 0, 1, 2, … ,9 และสัญลักษณ์พิเศษอื่นๆ เช่น $, &, +, -, *, / ฯลฯ โดยตัวอักษร 1 ตัวจะแทนด้วยบิท 7 บิท หรือ 8 บิท ซึ่งตัวอักษรแต่ละตัวจะเรียกว่า ไบท์ เช่น ตัว A เมื่อเก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์จะเก็บเป็น 1000001 ส่วนตัว B จะเก็บเป็น 1000010 เป็นต้น

2.3 เขตข้อมูล (Field) คือ หน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนำตัวอักขระหลายๆตัวมารวมกัน เป็นคำที่มีความหมาย

2.4 ระเบียน (Record) คือ หน่วยของข้อมูลที่มีการนำเขตข้อมูลหลายๆ เขตข้อมูล ที่มีความสัมพันธ์กันมารวมกัน หรือค่าของข้อมูลในแต่ละเขตข้อมูล

2.5 แฟ้มข้อมูล (File) คือ หน่วยของข้อมูลที่มีการนำระเบียนหลายๆ ระเบียนที่มีความสัมพันธ์กันมารวมกัน

โดยปกติแฟ้มข้อมูลจะถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำสำรอง (secondary storage) เช่น ฮาร์ดดิสก์ เนื่องจากมีความจุข้อมูลสูงและสามารถเก็บได้ถาวรแม้จะปิดเครื่องไป ซึ่งการจัดเก็บนี้จะต้องมีวิธีกำหนดโครงสร้าง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การจัดเก็บและเข้าถึงข้อมูลมีความรวดเร็ว ถูกต้อง และเหมาะสมกับความต้องการ การเข้าถึงและค้นคืนข้อมูลจะอาศัยคีย์ฟิลด์ในการเรียกค้นด้วยเสมอ การจัดโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลอาจจะแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะดังนี้

1. โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ (Sequential File Structure)
            เป็นโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลชนิดพื้นฐานที่สามารถใช้งานได้ง่ายที่สุด เนื่องจากมีลักษณะการจัดเก็บข้อมูลแบบเรียงลำดับเรคคอร์ดต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ การอ่านหรือค้นคืนข้อมูลจะข้ามลำดับไปอ่านตรงตำแหน่งใดๆที่ต้องการโดยตรงไม่ได้ เมื่อต้องการอ่านข้อมูลที่เรคคอร์ดใดๆโปรแกรมจะเริ่มอ่านตั้งแต่เรคคอร์ดแรกไปเรื่อยๆจนกว่าจะพบเรคคอร์ดที่ต้องการ ก็จะเรียกค้นคืนเรคคอร์ดนั้นขึ้นมา
            การใช้ข้อมูลเรียงลำดับนี้จึงเหมาะสมกับงานประมวลผลที่มีการอ่านข้อมูลต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆตามลำดับและปริมาณครั้งละมากๆ

            แฟ้มข้อมูลแบบนี้ถ้าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับเมนเฟรมขนาดใหญ่ก็จะจัดเก็บอยู่ในอุปกรณ์ประเภทเทปแม่เหล็ก (magnetic tape) ซึ่งมีการเข้าถึงแบบลำดับ (Sequential access) เวลาอ่านข้อมูลก็ต้องเป็นไปตามลำดับด้วย คล้ายกับการเก็บข้อมูลเพลงลงบนเทปคาสเซ็ต

2. โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม (Direct/Random File Structure)
             เป็นลักษณะของโครงสร้างแฟ้มข้อมูลที่เข้าถึงได้โดยตรง เมื่อต้องการอ่านค่าเรคคอร์ดใดๆสามารถทำการเลือกหรืออ่านค่านั้นได้ ทำให้การเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วกว่า ปกติแล้วจะมีการจัดเก็บในสื่อที่มีลักษณะการเข้าถึงได้โดยตรงประเภทจานแม่เหล็ก เช่น ดิสเก็ตต์, ฮาร์ดดิสก์หรือ CD-ROM เป็นต้น

3. โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลแบบลำดับเชิงดรรชนี (Index Sequential File Structure)
            เป็นลักษณะของโครงสร้างแฟ้มข้อมูลที่อาศัยกระบวนการที่เรียกว่า ISAM (Index Sequential Access Method ) ซึ่งรวมเอาความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลแบบสุ่มและแบบเรียงตามลำดับเข้าไว้ด้วยกัน การจัดโครงสร้างแฟ้มข้อมูลวิธีนี้ ข้อมูลจะถูกจัดเก็บเรียงกันตามลำดับไว้บนสื่อแบบสุ่ม เช่น ฮาร์ดดิสก์ และการเข้าถึงข้อมูลจะทำผ่านแฟ้มข้อมูลลำดับเชิงดรรชนี (Index Sequential File) ซึ่งทำหน้าที่ช่วยชี้และค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้ สามารถทำงานได้ยืดหยุ่นกว่าวิธีอื่นๆโดยเฉพาะกับกรณีที่ข้อมูลในการประมวลผลมีจำนวนมากๆ โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบนี้จะมีหลักการทำงานคล้ายกับรูปแบบดรรชนีท้ายเล่ม ซึ่งทำให้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น

2.6 ฐานข้อมูล (Database) คือ หน่วยของข้อมูลที่มีการนำแฟ้มข้อมูลหลายๆ แฟ้มข้อมูล ที่มีความสัมพันธ์กันมารวมกัน

3.    หากนำเอาระบบฐานข้อมูลมาใช้ในหน่วยงานที่นักศึกษาทำงานอยู่ สามารถมีแฟ้มข้อมูลใดบ้าง และระบบฐานข้อมูลนั้นมีประโยชน์ต่อองค์กรอย่างไร

3.1       ผลตรวจสุขภาพพนักงาน ซึ่งจะประกอบด้วย แฟ้ม ชื่อบริษัท  ชื่อบุคคล   เพศ  อายุ  ส่วนสูง  น้ำหนัก  โรคประจำตัว   พฤติกรรมเสี่ยงเช่นดื่มสุรา  สูบบุหรี่  ประวัติอุบัติเหตุที่ต้องเฝ้าระวัง   การตรวจสุขภาพทั่วไป  การตรวจทางรังสี  การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ทั้งเลือด ปัสสาวะและอุจาระ  การตรวจพิเศษเช่นหาสารโลหะหนัก  หรือสารเคมีบางบางชนิด  การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ  การตรวจสมรรถภาพการมองเห็น  การตรวจสมรรถภาพการได้ยิน  การตรวจสมรรถภาพปอด  การแปลผลและคำแนะนำ

3.2       การสำรวจโรงงาน(อาชีวอนามัยและความปลอดภัย) เช่น  แสง  เสียง  ความร้อน  ฝุ่น  ควัน  ฟูม ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุ  เช่น ระดับพื้น   เครื่องจักร  อุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคล

3.3       แฟ้มสำรวจทางสิ่งแวดล้อมเช่น ดิน  น้ำ  อากาศ  เพื่อหาสิ่งปนเปื้อน  ที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพกับผู้สัมผัสทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง

3.4       แฟ้มการเจ็บป่วยและอุบัติเหตุจากการทำงาน  จะดูว่าบริษัทใด  เพศ  สาเหตุการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วย  ตำแหน่งการบาดเจ็บ  ระดับความรุนแรง   ระยะเวลาทำงานก่อนป่วย/อุบัติเหตุ  สถานพยาบาล  ค่าใช้จ่ายในการรักษา  ระยะการพักฟื้น  ผลการรักษา(หายปกติ   พิการ  เสียชีวิต) การช่วยเหลือ

3.5       แฟ้มโปรแกรมการอบรมพนักงานก่อนเข้าทำงานในเขตหวงห้าม

4.จงอธิบายความแตกต่างระหว่างการประมวลผลข้อมูลแบบแบทช์และแบบเรียลไทม์

ความแตกต่างระหว่างการประมวลผลข้อมูลแบบแบทช์และแบบเรียลไทม์

แบทซ์ (Batch Processing

ระบบเรียล-ไทม์ (Real-time)

1.เก็บรวบรวมข้อมูลไว้เป็นชุดแล้วจึงส่งเข้า

1.ส่งข้อมูลไปหน่วยประมวลผลกลางในทันที

ประมวลผล

2. ข้อมูลหรือข่าวสารที่มีเก็บรวบรวมไว้

2.ข้อมูลที่เก็บบันทึกไว้ปัจจุบันอยู่เสมอ

อาจไม่เป็นปัจจุบัน

3.เหมาะสำหรับงานที่ไม่จำเป็นต้องประมวลผลในทันทีทันใด(รอได้)

3.เป็นข้อมูลปัจจุบันใช้ประโยชน์จากข้อมูลในการวางแผนและการตัดสินใจได้ทันเวลา(งานที่ต้องการความรวดเร็ว)

4.มีการกำหนดเวลาในการส่งเข้าประมวลผล

4.ไม่มีกำหนดเวลา(ส่งได้ตลอดเวลา)

5.ประหยัดค่าใช้จ่าย

5.ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง

6.อาจเกิดความผิดพลาดและความเสียหาย

6.ลดความผิดพลาดและความเสียหายในการเคลื่อนย้าย

ในการเคลื่อนย้ายข้อมูลจากแหล่งกำเนิดข้อมูลไปยังหน่วยประมวลผลกลาง

ข้อมูลจากแหล่งกำเนิดข้อมูลไปยังหน่วยประมวลผลกลาง

1. วิธีการประมวลแบบแบทซ์ (Batch Processing)

 เป็นการประมวลผลโดยเก็บรวบรวมข้อมูลหรือคำสั่งไว้ปริมาณ หนึ่งแล้วจึงนำงานชุดหรือแบทซ์ นั้นส่งเข้าประมวลผลต่อไป วิธีการประมวลผลแบบนี้มีใช้มาตั้งแต่คอมพิวเตอร์ยุคแรก การประมวลผลแบบแบทซ์พิจารณาได้ 2 ด้าน คือ ในด้านของผู้ใช้เครื่องและในด้านของผู้มีหน้าที่ควบคุมเครื่อง

2                 ในด้านผู้ใช้เครื่อง ผู้ใช้เครื่องหรือเจ้าของงานที่ต้องการประมวลผลทำการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้เป็นชุดแล้วจึงส่งเข้า ประมวลผลโดยทั่วไปผู้ใช้ถือเครื่องเอาคาบเวลาเป็นตัวกำหนดการส่งงานเข้าเครื่อง

3                 ในด้านของผู้ควบคุมเครื่อง ผู้ควบคุมเครื่องทำการรวบรวมงานที่ผู้ใช้ส่งมาเพื่อรอเข้าประมวลผลเป็นชุดแล้วจึงส่งเข้า ทำงานในเครื่องครั้งละชุด ศูนย์คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มีการกำหนดเวลาในการส่งเข้า เช่น ส่งเข้าทุก 2 ชั่วโมง ไม่ว่าจะเป็นการประมวลผลแบบแบทซ์ในด้านใดปัญหาของการทำงานที่เห็นได้ชัด คือ การประมวลผลแบบแบทซ์ต้อง ใช้เวลา แต่งานในปัจจุบันต้องการผลที่เร่งด่วนและผู้บริหารต้องการรู้ข้อมูลที่ล่าสุด เพื่อใช้ในการตัดสินใจได้ทันต่อ สถานการณ์ การประมวลผลแบบแบทซ์จึงไม่สามารถ ช่วยงานในลักษณะที่ได้เต็มที่ ลักษณะงานที่เหมาะสมกับการ ประมวลผลแบบแบทซ์ คือ

- งานที่มีข้อมูลส่งเข้าประมวลผลจำนวนมาก จำเป็นต้องมีการรอเพื่อบันทึกข้อมูลลงสื่อข้อมูลคอมพิวเตอร์

-งานที่มีการปรับปรุงข้อมูลในแฟ้มข้อมูลเป็นจำนวนมากต่อการประมวลผลแต่ละครั้ง เช่น การปรับปรุงคะแนนสะสมของ นักศึกษาเมื่อสิ้นภาคการศึกษา ข้อมูลของนักศึกษาทุกคนจะถูกปรับปรุงใหม่

2. วิธีการประมวลผลแบบออนไลน์ แนวความคิดของการประมวลแบบ ออนไลน์ (On-Line Processing) มาจากข้อเท็จ จริงที่ว่า หน่วยประมวลผลกลางของเครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วกว่าหน่วยรับและแสดงผล จึงมีผู้คิดนำเครือ่งเทอร์มินัลมาใช้ในการรับและแสดงผลข้อมูลโดยใช้เชื่อมโยงเข้ากับหน่วยประมวลผลกลาง ทำให้การป้อนข้อมูลไม่ต้องบันทึกสื่อข้อมูล สามารถส่งเข้าประมวลผลโดยตรงและผลลัพธ์แสดงผ่านเครื่องเทอร์มินัลได้โดยตรงเช่นกัน การประมวลผลแบบออนไลน์-ไลน์ แบ่งได้เป็น 2 ระบบย่อย คือ

1                 ระบบไทม์-แชริง (Time-Sharing) เป็นระบบออนไลน์ ซึ่งมีผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ผ่านเทอร์มินัลจากหลายงาน ผู้ใช้จึงมีชุดคำสั่งของตนเองส่งเข้าไปในเครื่องในเวลาเดียวกับผู้ใช้รายอื่นได้ วิธีการนี้จึงดูเหมือนว่าผู้ใช้แต่ละคนเป็นเจ้า ของคอมพิวเตอร์เอง

2                 ระบบเรียล-ไทม์ (Real-time) เป็นระบบออนไลน์ ที่มีลักษณะคล้ายกับไทม์-แชริง แต่แตกต่างกันที่งานที่ประมวลผล เป็นงานเดียวมีผู้ร่วมใช้หลายคน เทอร์มินัลทุกจุดถูกควบคุมด้วยโปรแกรมเดียวกันเพื่อให้เครื่องสามารถติดต่อกับผู้ใช้ทุกคน จึงมีการแบ่งโปรแกรมเป็นชุดย่อย ๆ ในโปรแกรมชุดย่อยเหล่านี้ทำงานไปพ้อม ๆ กันได้

ระบบการประมวลแบบออน-ไลน์ เหมาะสมกับงานซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้

-         งานที่มีข้อมูลส่งเข้าประมวลผลจำนวนน้อย

-         งานที่ไม่มีการปรับปรุงแฟ้มข้อมูลทั้งหมดในการประมวลผลแต่ละครั้ง

แต่เป็นการปรับปรุงบางรายการเท่านั้น

-         งานที่มีการแสดงผลจำนวนน้อย ไม่มีการพิมพ์รายงานขนาดใหญ่

-         งานที่ต้องการความรวดเร็ว

3.หากนำเอาระบบฐานข้อมูลมาใช้ในหน่วยงานที่นักศึกษาทำงานอยู่ สามารถมีแฟ้มข้อมูลใดบ้าง และระบบฐานข้อมูลนั้นมีประโยชน์ต่อองค์กรอย่างไร

-แฟ้มข้อมูลประวัติส่วนตัวของพนักงาน

-แฟ้มข้อมูลระบบฐานเงินเดือนและและระบบการประเมินผลงานการทำงาน

-แฟ้มข้อมูลระบบระเบียบข้อกำหนดกฏระเบียบของพนักงาน

-แฟ้มข้อมูลระบบเอกสารควบคุมระบบขั้นตอนในการทำงาน

ประโยชน์ต่อองค์กร

     มีประโยชน์ต่อการค้นหาข้อมูลในการทำงานและสามารถจัดเก็บได้อย่างรวดเร็วและสามารถสืบค้นหาได้ง่าย

ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลมีอะไรบ้าง

วิธีการประมวลผล มี 2 ลักษณะ คือ.
การรวบรวมข้อมูล.
การแยกแยะ.
การตรวจสอบความถูกต้อง.
การคำนวณ.
การจัดลำดับหรือการเรียงลำดับ.
การรายงานผล.
การสื่อสารข้อมูลหรือการแจกจ่ายข้อมูลนั้น.

ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล มี 3 ขั้นตอน อะไรบ้าง

Data Processing หรือเทคโนโลยีการประมวลผล คือกระบวนการหนึ่งในการจัดการกับข้อมูลจำนวนมากให้มาอยู่ในรูปของข้อมูลที่ต้องการ โดยต้องผ่านกระบวนการพื้นฐาน 3 ขั้นตอน นั่นคือ การนำเข้าข้อมูล (Input) การประมวลผลด้วยมนุษย์หรือซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ (Process) จากนั้นจึงแสดงผลลัพธ์และส่งข้อมูลที่ผ่านการประมวลออกมาให้อยู่ในรูปแบบที่ ...

Output คือขั้นตอนใด

ขั้นตอนที่ 4 แสดงผลข้อมูล (output) เป็นการนำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลมาแสดงผลลัพธ์ในรูปแบบที่มนุษย์เข้าใจ กล่าวคือ อยู่ในรูปแบบของข้อความ ตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ เสียง โดยผ่านอุปกรณ์แสดงผลต่างๆ เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น

การประมวลผลแบบแบตช์ เป็นอย่างไร

การประมวลผลแบบกลุ่ม (อังกฤษ: Batch processing) เป็นวิธีการประมวลผลที่ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลในแต่ละช่วงเวลาไว้ จนกว่าจะมีข้อมูลที่ประมวลผลจำนวนหนึ่ง จึงทำการประมวลผลพร้อมกัน หรืออาจรอจนกว่าครบตามเวลาที่กำหนด จึงทำการประมวลผลไม่ว่าจะมีจำนวนเท่าใดก็ตาม เช่น เวลาเข้าออกของพนักงานอาจจะพิมพ์เก็บไว้ทุกสัปดาห์ และนำมาประมวลผล ...