ไฟฟ้าในบ้านกี่วัตต์ กี่โวลต์ กี่เฮิร์ท

ไฟฟ้าในบ้านกี่วัตต์ กี่โวลต์ กี่เฮิร์ท
ไฟฟ้าในบ้านกี่วัตต์ กี่โวลต์ กี่เฮิร์ท

ความรู้พื้นฐานเรื่องระบบไฟฟ้า

ความรู้พื้นฐานเรื่องระบบไฟฟ้า
     ระบบการจ่ายแรงดันไฟฟ้าให้แก่ผู้ใช้ไฟในปัจจุบันของการไฟฟ้าฯ มีอยู่ 2 ระบบ คือ
     1. ระบบแรงดันไฟฟ้าแบบ 1 เฟส 2 สาย ( Single phase )ระบบแรงดันไฟฟ้าแบบ 1 เฟส 2 สาย ( Single phase )
คือ การจ่ายแรงดันไฟฟ้าขนาดพิกัด 220 -240 โวลท์ ระบบนี้เหมาะสำหรับบ้านพักอาศัยที่ต้องการใช้กระแสไฟจำนวน
ไม่มาก(แต่ไม่เกิน 100 แอมป์) ระบบนี้มีการติดตั้งสายไฟสำหรับการใช้งานเพียง 2 เส้น คือ สายเส้นที่มีกระแสไฟ
(สาย Line หรือ " L “)และสายเส้นที่ไม่มีกระแสไฟ หรือสายศูนย์ ( สาย Nuetron หรือ " N“ )    

ไฟฟ้าในบ้านกี่วัตต์ กี่โวลต์ กี่เฮิร์ท

      2.ระบบแรงดันไฟฟ้าแบบ 3 เฟส 4 สาย ( Three phase ) คือ การจ่ายแรงดันไฟฟ้าขนาดพิกัด 380 - 400 โวลท์ ระบบนี้
เหมาะสำหรับบ้านพักอาศัยขนาดใหญ่ หรือพวกโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการใช้กระแสไฟจำนวนมากตั้งแต่100 แอมป์
ขึ้นไป และมีเครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต้องต่อการสายไฟใช้งาน 4 เส้น ระบบนี้มีการติดตั้งสายไฟสำหรับใช้งาน 4 เส้น(ในขนาดที่เท่ากัน)โดยมีสายไฟที่มีกระแสไฟ 3 เส้น คือ สาย Line 1, สาย Line 2 และ สาย Line 3 สายเส้นที่ 4 เป็นสายเส้นที่ไม่มีกระแสไฟ หรือสายศูนย์(สาย Neutron " N “)

ไฟฟ้าในบ้านกี่วัตต์ กี่โวลต์ กี่เฮิร์ท

     รูปภาพการต่อสายไฟไปใช้งานทั้ง 2 รูปแบบ จะเห็นได้ว่าในระบบ 3 เฟส 4 สายนั้นเราสามารถต่อไฟใช้งานให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ทั้ง 2 ประเภท คือทั้งประเภทที่ต้องการใช้แรงดันไฟฟ้าขนาด 380 โวลท์ และ 220 โวลท์ได้ในเวลาเดียวกัน(ตามรูปภาพที่สอง)แต่ในระบบ 1 เฟส 2 สายนั้น เราต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าใช้งานได้เพียงขนาดแรงดันไฟฟ้า 220 โวลท์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
     เมื่อเราได้ทราบถึงพื้นฐานของระบบแรงดันไฟฟ้าเพื่อการต่อใช้งานไปพอสังเขปแล้ว คราวนี้เราก็มารู้จักขั้นตอนการติดตั้งระบบไฟฟ้าใช้งานภายในบ้านพักอาศัยกันบ้าง (จะขอกล่าวถึงเฉพาะระบบ 1 เฟส 2 สายที่แรงดันไฟฟ้า 220 โวลท์เท่านั้น)
     สมมติว่าเรากำลังคิดจะปลูกบ้านขึ้นมา สิ่งที่เราควรคำนึงถึงเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าที่จะติดตั้งภายในบ้านของเราตามความสำคัญลำดับก่อนหลังมีดังนี้
     1. ขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าที่จะขอใช้ไฟ
     2. ลักษณะ และรูปแบบของการติดตั้งสายไฟ
     3. จำนวนวงจรย่อยของอุปกรณ์ไฟฟ้า
     4. แผงรวมไฟ หรือ ตู้รวมไฟ และเมนสวิทช์ตัดตอน
     5. อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัย และอุปกรณ์เสริมความปลอดภัย (หลักดิน, สายดิน และเครื่องตัดกระแสไฟรั่ว)
     ขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าที่ขอใช้ไฟ ส่วนใหญ่จะพิจารณาจากพื้นที่ใช้ส้อยของตัวบ้าน และจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กิน
กระแสไฟมากๆ ที่จะติดตั้งภายในบ้าน เช่น เครื่องปรับอากาศ, เครื่องทำน้ำอุ่น, เครื่องทำน้ำร้อน, ตู้แช่หรือตู้เย็นขนาดใหญ่ เป็นต้นรวมไปถึงจำนวนจุดติดตั้งดวงโคมไฟแสงสว่างขนาดต่างๆ และเต้ารับไฟฟ้าที่ใช้งาน ซึ่งเราต้องรู้ว่าหากเราใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์ไฟฟ้าเหล่านั้นพร้อมกัน มันจะกินกระแสไฟเป็นปริมาณเท่าใด เราก็ไปติดต่อขอใช้มิเตอร์ไฟฟ้า
ที่การไฟฟ้าฯ เช่น
     ถ้าใช้กระแสไฟรวมกันไม่เกิน 10 แอมป์ ก็ขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า ขนาด 5 (15) แอมป์
     ถ้าใช้กระแสไฟรวมกันมากกว่า 10 แอมป์ แต่ไม่เกิน 50 แอมป์ ก็ขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า ขนาด 15 (45) แอมป์
     ถ้าใช้กระแสไฟรวมกันมากกว่า 50 แอมป์ แต่ไม่เกิน 100 แอมป์ ก็ขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า ขนาด 30 (100) แอมป์

ไฟฟ้าในบ้านกี่วัตต์ กี่โวลต์ กี่เฮิร์ท

 

ไฟฟ้าในบ้านกี่วัตต์ กี่โวลต์ กี่เฮิร์ท

สงสัยกันมั้ยครับว่า เพราะเหตุใดต่างประเทศข้าวของเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิคต่างๆ ถึงใช้ไฟ 110 โวลต์ แล้วทำไมประเทศไทยถึงไม่ใช้ไฟอย่างประเทศเหล่านั้น เช่น ญี่ปุ่น สหรัสอเมริกา แคนาดา และ เกาหลี(รองรับ 110/220 v) เป็นต้น

จริงๆแล้วประเทศไทยเคยใช้ไฟ 110 โวลต์

สืบเนื่องจากอดีตนั้น ประเทศไทยเองก็เคยใช้ไฟ 110 โวลต์ เช่นเดียวกับญี่ปุ่น และ สหรัสฯ แต่เมื่อประเทศฝั่งยุโรปค้นพบแล้วว่า การใช้ไฟ 220 โวลต์นั้น ประหยัด และลดต้นทุนการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า มอเตอร์  จึงได้ปรับเปลี่ยนจากการใช้ไฟระบบ 110 โวลต์ เป็น 220 โวลต์ ด้วยเหตุการดังกล่าว ประเทศไทยจึงได้รับอิทธิพลจากประเทศแทบยุโรป เปลี่ยนมาใช้ไฟ 220 โวลต์ถึงปัจจุบัน

แล้วทำไม ญี่ปุ่น กับ สหรัสฯ ไม่ใช้ไฟ 220 โวลต์?

เนื่องมาจากการจะเปลี่ยนระบบไฟจาก 110 โวลต์ ไปเป็น 220 โวลต์ ต้องใช้ระยะเวลา และทุนที่มหาศาล เพราะประเทศเหล่านี้ ได้วางเครือข่ายระบบสายไฟไปทั่วประเทศแล้ว ซึ่งหากจะเปลี่ยนไปใช้ 220 โวลต์ คงไม่คุ้มแก่การลงทุน จึงยังมีบางประเทศที่ใช้ไฟ 110 โวลต์อยู่ถึงปัจจุบัน

110 volts กับ 220 volts ช่วยลดต้นทุนยังไง

■ ระบบ 110 โวลต์ ต้องใช้สายไฟที่ขนาดใหญ่ และการสูญเสียพลังเยอะกว่า(losses) ดังนั้น ต้นทุน สำหรับการเดินสายไฟ จึงสูง

■ ระบบ 220 โวลต์ มีการสูญเสียพลังต่ำกว่า(losses) ใช้สายไฟขนาดเล็กกว่า จึงช่วยลดตุ้นทุน

∴ ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เป็นไปตามกฏของโอห์ม Watts = Volts x Amps

ตัวอย่าง

ไฟฟ้าในบ้านกี่วัตต์ กี่โวลต์ กี่เฮิร์ท

จะเห็นว่าระบบไฟ 110v ใช้แอมพ์(Amps)มากกว่า ระบบไฟ 220v เมื่อค่าแอมพ์เยอะก็ต้องใช้สายไฟที่มีขนาดใหญ่กว่า และเยอะว่า

ระบบ 220v นั้นต้องการ Amps น้อยกว่า กล่าวง่ายๆ คือ ใช้สายไฟที่ขนาดเล็กกว่า ซึ่งช่วยลดต้นทุนการผลิตมอเตอร์ ลดต้นทุนการเดินสายไฟสำหรับการส่งกระแสไฟฟ้าระยะทางไกล จึงนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย

สรุปจากข้างต้น : ค่าแอมพ์(Amps) ที่สูงย่อมแปรผันตามขนาดของสายไฟในการส่งกระแส หากค่าแอมพ์เยอะ ขนาดของสายย่อมมีขนาดใหญ่ตามไปด้วย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม:

● เลือกซื้อเครื่องวัดไฟฟ้า คลิ๊ก

● สามารถเยี่ยมชม บทความจาก LEGA Corparation ได้ที่นี่

● โทร. 02-746-9933

● LINE: @lega

แรงดันไฟฟ้ากี่โวลต์

ประเทศไทยเคยใช้ไฟฟ้า 110 โวลท์ และเปลี่ยนมาเป็น 220 โวลท์ เกิดอะไรขึ้นตอนเปลี่ยน มาดูกัน!! สมัยก่อนเราใช้ระบบไฟฟ้าแรงดัน ๑๑๐ โวลท์ ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็น ๒๒๐ โวลท์จนทุกวันนี้ และเปลี่ยนเมื่อปี ๒๕๐๓ มานี่เอง หลายคนทำท่าไม่อยากจะเชื่อ

50 เฮิร์ตเท่ากับกี่โวลต์

220-240 โวลต์ ความถึ่ 50 hertz frequency (โดยทั่วไปคือ ส่วนที่เหลือของโลก)

50/60hz คืออะไร

ความถี่ ความถี่ของระบบไฟฟ้าแตกต่างกันไปตามประเทศ; พลังงานไฟฟ้าส่วนใหญ่จะถูกสร้างขึ้นที่ 50 หรือ 60 เฮิรตซ์ บางประเทศมีส่วนผสมของความถี่ 50 Hz และ 60 Hz เช่นพลังงานไฟฟ้าในประเทศญี่ปุ่น ประเทศไทยใช้ความถี่ 50 Hz หรือ 50 รอบต่อวินาที หรือ ไฟฟ้าวิ่งจากโรงไฟฟ้ามาบ้านผู้ใช้ ไปกลับ 50 ครั้งต่อวินาที

ลักษณะไฟฟ้าที่ใช้ในบ้านเรือนทั่วไป เป็นอย่างไร

ไฟฟ้าที่ใช้ในบ้านเรือนทั่วไปเป็นไฟฟ้ากระแสสลับมีความต่างศักย์220 โวลต์ความถี่50 เฮิรตซ์ ➢ การส่งพลังงานไฟฟ้าเข้าบ้านจะใช้สายไฟ 2 เส้น คือ 1. สายกลาง หรือสาย N มีศักย์ไฟฟ้าเป็นศูนย์ 2. สายไฟ หรือสาย L มีศักย์ไฟฟ้าเป็น 220 โวลต์