โครงสร้าง การ ทำงาน ของ เครือ ข่าย หรือ topology มี แบบ ใด บ้าง

โครงสร้าง การ ทำงาน ของ เครือ ข่าย หรือ topology มี แบบ ใด บ้าง

เป็นการกำหนดชุดของคุณลักษณะเฉพาะที่ใช้อธิบายโครงสร้างของระบบเครือข่าย โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ใดๆ ใช้เป็นโครงสร้างอ้างอิงในการสร้างอุปกรณ์ให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างดีบนระบบเครือข่าย โดยมีการจัดแบ่งเลเยอร์ของ OSI ออกเป็น 7 เลเยอร์ แต่ละเลเยอร์จะมีการโต้ตอบหรือรับส่งข้อมูลกับเลเยอร์ที่อยู่ข้างเคียงเท่านั้น โดยเลเยอร์ที่อยู่ชั้นล่างจะกำหนดลักษณะของอินเตอร์เฟซ เพื่อให้บริการกับเลเยอร์ที่อยู่เหนือขึ้นไปตามลำดับขั้น เริ่มตั้งแต่ส่วนล่างสุดซึ่งเป็นการจัดการลักษณะทางกายภาพของฮาร์ดแวร์และการส่งกระแสของข้อมูลในระดับบิต ไปสิ้นสุดที่แอพพลิเคชั่นเลเยอร์ในส่วนบนสุด

การจัดวางเครือข่าย

     การจัดวางเครือข่าย

                การจัดวางอุปกรณ์ต่าง ๆ ในเครือข่าย มี 2 ลักษณะคือ

1. การจัดวางเครือข่ายแบบรวมศูนย์ (centralized network layout)

    เป็นการจัดวางอุปกรณ์ที่สำคัญ ๆ เช่น ไฟล์เซิร์ฟเวอร์ พรินต์เซิร์ฟเวอร์ และดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ ไว้ในบริเวณเดียวกัน โดยสามารถใช้ได้กับโทโพโลยีแบบวงแหวน แบบดาว และแบบผสม

            การบริหารเครือข่าย ทำได้ง่ายกว่าการจัดวางรูปแบบอื่นเพราะเซิร์ฟเวอร์ต่าง ๆ จะอยู่ที่เดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความปลอดภัยสูง เพราะสามารถจัดอุปกรณ์ต่าง ๆ ไว้ในห้องหรือบริเวณที่ปิดล็อคได้

การสำรองข้อมูล ซึ่งเป็นงานที่สำคัญของผู้บริหารเครือข่าย (administrator) เพราะการสำรองข้อมูลจะช่วยให้สามารถดึงข้อมูลกลับมาใช้ได้อีกครั้ง ในกรณีข้อมูลในเครือข่ายเกิดเสียหายหรือสูญหายไปด้วยสาเหตุต่าง ๆ การสำรองข้อมูลที่เก็บไฟล์ไว้ที่เดียว จะทำได้ง่ายกว่าการสำรองในเครื่องผู้ใช้แต่ละคน เสถียรภาพของระบบ ถ้าเครือข่ายเกิดเสียขึ้นมาจะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ในเครือข่าย ซึ่งจะต้องมีการสร้างเซิร์ฟเวอร์สำรองที่เรียกว่า เซิร์ฟเวอร์กระจก (mirror server) ให้ทำงานควบคู่ไปกับเซิร์ฟเวอร์หลัก เพื่อในกรณีที่เซิร์ฟเวอร์หลักเสียจะได้ใช้เซิร์ฟเวอร์กระจกนี้แทนก่อนได้ ค่าใช้จ่าย จะค่อนข้างสูง เนื่องจากจำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่มีสมรรถนะดีที่สุด เพื่อที่จะรองรับการทำงานกับผู้ใช้จำนวนมากได้

โครงสร้าง การ ทำงาน ของ เครือ ข่าย หรือ topology มี แบบ ใด บ้าง

2. การจัดวางเครือข่ายแบบกระจาย (distributed network layout) 

    เป็นการจัดวางอุปกรณ์ต่าง ๆ ตามหน้าที่ของอุปกรณ์นั้น เช่น ในแต่ละแผนกก็จะมีไฟล์เซิร์ฟเวอร์และพรินต์เซิร์ฟเวอร์เป็นของแผนกเอง เป็นต้น ซึ่งสามารถใช้ได้กับโทโพโลยีทุกประเภท

            สมรรถนะ เครือข่ายที่จัดวางแบบกระจายสามารถใช้งานหนัก ๆ ได้เป็นอย่างดี โดยการกระจายงานไปให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายช่วยกันประมวลผล เช่น เครือข่ายงานออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีความซับซ้อนสูง จะใช้คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งในการคำนวณ ส่วนอีกเครื่องหนึ่งในการประมวลผลข้อมูล และอีกเครื่องหนึ่งใช้ในการพิมพ์ข้อมูล เป็นต้น การบริหารเครือข่าย การบริหารเครือข่ายที่จัดวางแบบกระจายค่อนข้างยากกว่าการบริหารเครือข่ายที่จัดวางแบบรวมศูนย์ เพราะทรัพยากรจะวางกระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของเครือข่าย การสำรองข้อมูล จะค่อนข้างลำบากกว่าการจัดวางแบบรวมศูนย์ เพราะเครื่องต่าง ๆ อยู่กระจายกัน โดยมากผู้ใช้มักจะมีอุปกรณ์สำรองข้อมูลเป็นของตัวเอง เช่น อุปกรณ์สำรองข้อมูลแบบพกพา เป็นต้น เสถียรภาพของระบบ มีค่อนข้างสูง เพราะถึงแม้ว่าจะมีคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสีย มันก็จะกระทบกับเครื่องอื่นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น ค่าใช้จ่าย จะมีต้นทุนที่ต่ำกว่าแบบรวมศูนย์ เพราะไม่จำเป็นต้องใช้เซิร์ฟเวอร์ราคาแพง แต่คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในเครือข่ายที่มีการจัดวางแบบนี้ ต้องใช้เครื่องที่มีสมรรถนะสูงกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วไป

โครงสร้าง การ ทำงาน ของ เครือ ข่าย หรือ topology มี แบบ ใด บ้าง

รูปแบบการเชื่อมต่อ

รูปแบบการกำหนดการเชื่อมต่อจะถูกกำหนดโดย โครงสร้างเครือข่าย หรือมักเรียกกันในภาษาเทคนิคว่า Network Topology หมายถึง รูปแบบการจัดวางคอมพิวเตอร์และการเดินสายสัญญาณคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย รวมถึงหลักการไหลเวียนข้อมูลในเครือข่ายด้วย โดยจะแบ่งการมองโครงสร้างเครือข่ายเป็น 2 ระดับ คือ

 1.ระดับกายถาพ (Physical Layer) 

    ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสื่อสาร (Transmission) ทำหน้าที่ จัดการเชื่อมต่อ และ การส่งสัญญาณทางไฟฟ้า จากผู้ส่ง ไปยังผู้รับ โดยผ่านสื่อกลาง เช่น สายทองแดง คลื่นวิทยุ สายคู่ตีเกลียว และใยแก้วนำแสงเป็นต้น โดยสัญญาณที่ผ่านอาจเป็นสัญญาณไฟฟ้า สัญญาณคลื่นวิทยุ หรือสัญญาณแสง   ซึ่งในชั้นนี้จะสนใจ พิจารณาการส่งข้อมูลเป็น Bit 0 และ 1 จากต้นทาง ไปให้ถึงปลายทาง   โวลต์ที่จะใช้แทน Bit 0 และความยาวของแต่ละบิต (microsecond) โดยสร้างสภาวะให้ทราบได้ว่า สภาวะที่กำหนดขึ้น คือจุดเริ่มต้น ของการส่งผ่านข้อมูล หรือสิ้นสุด การส่งผ่านข้อมูล และต้องมีการกำหนดมาตรฐานขึ้นมาว่าปลั้กที่ใช้เสียบ เพื่อเชื่อมโยงเน็ตเวิร์ค จะต้องมีกี่ขา ในบางกรณีที่ต้องการ ส่งผ่านข้อมูล ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น จะรวมหลายช่องทางการสื่อสาร เข้าด้วยกัน ซึ่งกรณีนี้ ระดับการเชื่อมโยงทางกายภาพ จะมองช่องทางหลายๆ ช่องทาง ที่รวมเข้าด้วยกัน เหมือนช่องทางเดียว ซึ่ง Protocol ในระดับสูงขึ้นไป จะช่วยทำหน้าที่นี้ ดังนั้น การออกแบบ จึงต้องพิจารณาครอบคลุม ไปถึงกลไกทางด้านกำลังไฟฟ้า และส่วนที่ต่อเชื่อมกัน เป็นเน็ตเวิร์คย่อยด้วย

2.ระดับตรรกะ (logical level)

    โครงสร้างเครือข่ายระดับตรรกเป็นการมองที่วิธีการวิ่ง ของข้อมูลภายในเครือข่ายว่าเป็นอย่างไร โครงสร้างเครือข่ายระดับตรรกแบบหนึ่งอาจจะรับ-ส่งไฟล์ขนาดใหญ่ได้ดี แต่อีกแบบหนึ่งอาจจะเหมาะในการรับ-ส่งไฟล์ขนาดเล็กที่วิ่งไปมาบ่อยๆ ได้ดี

การรับ-ส่งข้อมูลในระดับตรรกการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์จะใช้สัญญาณทางไฟฟ้าโดยสัญญาณนี้จะวิ่งบนสื่อกลางที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันแต่สัญญาณอาจจะใช้เส้นทางแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่การเชื่อมต่อเครือข่ายว่าเป็นอย่างไร

    โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (NETWORK TOPOLOGY)

    คือ การนำคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกันเพื่อประโยชน์ของการสื่อสารรูปแบบการจัดวางคอมพิวเตอร์ การเดินสายสัญญาญคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย รวมถึงหลักการไหลเวียนข้อมูลในเครือข่ายสามารถทำได้หลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละแบบก็มีจุดเด่นที่แตกต่างกันเครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งตามลักษณะของการเชื่อมต่อหลักได้ดังนี้

    1. เครือข่ายแบบบัส (bus topology) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยสายเคเบิ้ลยาว ต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ โดยจะมีคอนเน็กเตอร์เป็นตัวเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เข้ากับสายเคเบิ้ล ในการส่งข้อมูล จะมีคอมพิวเตอร์เพียงตัวเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลได้ในช่วงเวลาหนึ่งๆ การจัดส่งข้อมูลวิธีนี้จะต้องกำหนดวิธีการ ที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกัน เพราะจะทำให้ข้อมูลชนกัน วิธีการที่ใช้อาจแบ่งเวลาหรือให้แต่ละสถานีใช้ความถี่ สัญญาณที่แตกต่างกัน การเซตอัปเครื่องเครือข่ายแบบบัสนี้ทำได้ไม่ยากเพราะคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์แต่ละชนิด ถูกเชื่อมต่อด้วยสายเคเบิ้ลเพียงเส้นเดียวโดยส่วนใหญ่เครือข่ายแบบบัส มักจะใช้ในเครือข่ายขนาดเล็ก ซึ่งอยู่ในองค์กรที่มีคอมพิวเตอร์ใช้ไม่มากนัก

ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบบัส คือ ใช้สื่อนำข้อมูลน้อย ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย และถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเสียก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบโดยรวม แต่มี

ข้อเสียคือ การตรวจจุดที่มีปัญหา กระทำได้ค่อนข้างยาก และถ้ามีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมากเกินไป จะมีการส่งข้อมูลชนกันมากจนเป็นปัญหา

ข้อจำกัด คือ จำเป็นต้องใช้วงจรสื่อสารและซอฟต์แวร์เข้ามาช่วยเพื่อหลีกเลี่ยงการชนกันของสัญญาณข้อมูล และถ้ามีอุปกรณ์ตัวใดตัวหนึ่งเสียหาย อาจส่งผลให้ทั้งระบบหยุดทำงานได้

    2. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน (ring topology)

เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ด้วยสายเคเบิลยาวเส้นเดียว ในลักษณะวงแหวน การรับส่งข้อมูลในเครือข่ายวงแหวน จะใช้ทิศทางเดียวเท่านั้น เมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งส่งข้อมูล มันก็จะส่งไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องถัดไป ถ้าข้อมูลที่รับมาไม่ตรงตามที่คอมพิวเตอร์เครื่องต้นทางระบุ มันก็จะส่งผ่านไปยัง คอมพิวเตอร์เครื่องถัดไปซึ่งจะเป็นขั้นตอนอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะถึงคอมพิวเตอร์ปลายทางที่ถูกระบุตามที่อยู่

ข้อดีของโครงสร้าง เครือข่ายแบบวงแหวนคือ ใช้สายเคเบิ้ลน้อย และถ้าตัดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เสียออกจากระบบ ก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบเครือข่ายนี้ และจะไม่มีการชนกันของข้อมูลที่แต่ละเครื่องส่ง

ข้อจำกัด ถ้าเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย อาจทำให้ทั้งระบบหยุดทำงานได้

    3. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว(Star Network) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เข้ากับอุปกรณ์ที่เป็น จุดศูนย์กลาง ของเครือข่าย โดยการนำสถานีต่าง ๆ มาต่อร่วมกันกับหน่วยสลับสายกลางการติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้ ด้วยการ ติดต่อผ่านทางวงจรของหน่วนสลับสายกลางการทำงานของหน่วยสลับสายกลางจึงเป็นศูนย์กลางของการติดต่อ วงจรเชื่อมโยงระหว่างสถานีต่าง ๆ ที่ต้องการติดต่อกัน ข้อดี คือ ถ้าต้องการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ก็สามารถทำได้ง่ายและไม่กระทบต่อเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในระบบ ส่วนข้อเสีย คือ ค่าใช้จ่ายในการใช้สายเคเบิ้ลจะค่อนข้างสูง และเมื่อฮับไม่ทำงาน การสื่อสารของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบก็จะหยุดตามไปด้วย ข้อจำกัด ถ้าฮับเสียหายจะทำให้ทั้งระบบต้องหยุดซะงัก และมีความสิ้นเปลืองสายสัญญาณมากกว่าแบบอื่นๆ

    4. โครงสร้างเครือข่ายแบบผสม (Hybrid Topology) คือ เป็นเครือข่ายที่ผสมผสานกันทั้งแบบดาว,วงแหวน และบัส เช่น วิทยาเขตขนาดเล็กที่มีหลายอาคาร เครือข่ายของแต่ละอาคารอาจใช้แบบบัสเชื่อมต่อกับอาคารอื่นๆที่ใช้แบบดาว และแบบวงแหวน

    เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว (Star Network)   

        เป็นวิธีการที่นิยมใช้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเข้ากับคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Host Computer) ซึ่งจะใช้เป็นเครื่องศูนย์กลาง และต่อสายไปยังคอมพิวเตอร์หรือเทอร์มินัลตามจุดต่างๆ แต่ละจุดเปรียบได้กับแต่ละแฉกของดาวนั่นเอง

ในการต่อแบบนี้ คอมพิวเตอร์แต่ละตัวจะถูกต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางโดยตรง จึงไม่มีปัญหาการแย่ง การใช้สายสื่อสาร จึงทำให้มีการตอบสนองที่รวดเร็วการส่งข้อมูลแต่ละสถานี (เครื่องคอมพิวเตอร์ย่อยๆ) ก็จะส่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางก่อนแล้วตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางนี้จะเป็นผู้ส่งไปยังสถานีอื่นๆ การควบคุมการรับส่งภายในระบบทั้งหมดจะขึ้นอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางดังนั้นถ้าเครื่องศูนย์กลางมีปัญหาขัดข้องก็จะทำให้ระบบทั้งระบบต้องหยุดชะงักทันที

    ข้อดี

1. เป็นระบบที่ง่ายต่อการติดตั้ง

2. เนื่องจากการรับ – ส่งข้อมูลขึ้นอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางทั้งหมดจึงทำให้การรับ – ส่งข้อมูลทำได้ง่าย

3. หากอุปกรณ์ชิ้นใดเสียหายก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อระบบ เพราะมีการใช้อุปกรณ์ที่แยกออกจากกัน

4. การตอบสนองที่รวดเร็วเพราะไม่ต้องแย่งกันใช้สายสื่อสาร

5. หากสถานีใดเกิดความเสียหายก็สามารถที่จะตรวจสอบได้ง่าย

    ข้อเสีย

1. เสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและบำรุงรักษามาก

2. หากคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางขัดข้อง ก็จะทำให้ระบบใช้งานไม่ได้ทันที

3. ขยายระบบได้ยากเพราะต้องทำจากศูนย์กลางออกมา

4. เครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางมีราคาแพง

โครงสร้าง การ ทำงาน ของ เครือ ข่าย หรือ topology มี แบบ ใด บ้าง


        เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน (ring topology)

    เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ด้วยสายเคเบิลยาวเส้นเดียว ในลักษณะวงแหวน การรับส่งข้อมูลในเครือข่ายวงแหวน จะใช้ทิศทางเดียวเท่านั้น เมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งส่งข้อมูล มันก็จะส่งไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องถัดไป ถ้าข้อมูลที่รับมาไม่ตรงตามที่คอมพิวเตอร์เครื่องต้นทางระบุ มันก็จะส่งผ่านไปยัง คอมพิวเตอร์เครื่องถัดไปซึ่งจะเป็นขั้นตอนอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะถึงคอมพิวเตอร์ปลายทางที่ถูกระบุตามที่อยู่

    ข้อดี  เครือข่ายแบบวงแหวนคือ ใช้สายเคเบิ้ลน้อย และถ้าตัดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เสียออกจากระบบ ก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบเครือข่ายนี้ และจะไม่มีการชนกันของข้อมูลที่แต่ละเครื่องส่ง

    ข้อเสีย  ถ้าเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย อาจทำให้ทั้งระบบหยุดทำงานได้

     เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบผสม (Hybrid Network)    

    เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผสมผสานระหว่างรูปแบบต่างๆหลายๆแบบเข้าด้วยกันคือจะมีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ย่อย ๆ หลาย ๆ เครือข่ายเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงาน

ข้อดี

1. ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายเคเบิลมากนัก

1. อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ดังนั้นหากมีการขาดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องอื่นส่วนใหญ่หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วย

2. การตรวจหาโหนดเสีย ทำได้ยากเนื่องจากขณะใดขณะหนึ่งจะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อความออกมาบนสายสัญญาณ ดังนั้นถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ อาจทำให้เกิดการคับคั่งของเนตเวิร์ก ซึ่งจะทำให้ระบบช้าลงได้

โครงสร้าง การ ทำงาน ของ เครือ ข่าย หรือ topology มี แบบ ใด บ้าง

เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเมช (mesh topology)

    โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเมช มีการทำงานโดยเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีช่องสัญญาณจำนวนมาก เพื่อที่จะเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆทุกเครื่อง โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์นี้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะส่งข้อมูล ได้อิสระไม่ต้องรอการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ทำให้การส่งข้อมูลมีความรวดเร็ว แต่ค่าใช้จ่ายสายเคเบิ้ลก็สูงด้วยเช่นกัน

โมเดล iso    

โดยโครงสร้างการสื่อสารข้อมูลที่กำหนดขึ้นมีคุณสมบัติดังนี้ คือ ในแต่ละชั้นของแบบการสื่อสารข้อมูลเราจะเรียกว่า Layer หรือ “ชั้น” ของแบบการสื่อสารข้อมูล ประกอบด้วยชั้นย่อยๆ 7 ชั้น ในแต่ละชั้นหรือแต่ละ Layer จะเสมือนเชื่อมต่อเพื่อส่งข้อมูลอยู่กับชั้นเดียวกันในคอมพิวเตอร์อีกด้านหนึ่ง แต่ในการเชื่อมกันจริงๆ นั้นจะเป็นเพียงการเชื่อมในระดับ Layer1 ซึ่งเป็นชั้นล่างสุดเท่านั้น ที่มีการรับส่งข้อมูลผ่านสายส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งสองโดยที่ Layer อื่นๆ ไม่ได้เชื่อมต่อกันจริงๆ เพียงแต่ทำงานเสมือนกับว่ามีการติดต่อรับส่งข้อมูลกับชั้นเดียวกันของคอมพิวเตอร์อีกด้านหนึ่ง

โครงสร้าง การ ทำงาน ของ เครือ ข่าย หรือ topology มี แบบ ใด บ้าง

Physical layer   (layer 1)

 Picture

โครงสร้าง การ ทำงาน ของ เครือ ข่าย หรือ topology มี แบบ ใด บ้าง

    ชั้นกายภาพเป็นชั้นระดับล่างสุดที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ ทำหน้าที่ในการกำหนดวิธีควบคุมการรับและการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในระดับบิต ได้แก่ การส่งบิต 0 จะแทนด้วยกระแสไฟฟ้ากี่โวลต์ และบิต 1 จะต้องใช้กี่โวลต์,แต่ละบิตจะใช้ระยะเวลาในการส่งนานเท่าใด การส่งเป็นแบบทางเดียวหรือสองทาง, จะเริ่มติดต่ออย่างไร, การติดต่อจะสิ้นสุดอย่างไร, และสายเคเบิลที่ใช้มีกี่เส้น แต่ละเส้นใช้เพื่ออะไร เป็นต้น

Data Link layer   (layer 2)

 Picture

 

โครงสร้าง การ ทำงาน ของ เครือ ข่าย หรือ topology มี แบบ ใด บ้าง
          

    ชั้นสื่อสารเชื่อมต่อข้อมูลหน้าที่หลักของชั้นเชื่อมต่อข้อมูลคือ ทำการรวบรวมข้อมูลจากชั้นกายภาพตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยปกติผู้ส่งข้อมูลจะแบ่งข้อมูลที่มีความยาวมากออกเป็นกลุ่มข้อมูลย่อยๆแต่ละส่วนย่อยเรียกว่า ดาต้าเฟรม (data frame) ชุดของดาต้าเฟรมสำหรับข้อมูลที่ต้องการส่งไปให้ผู้รับก็จะถูกส่งไปทีละเฟรมตั้งแต่เฟรมแรกไปจนครบทุกเฟรม ไปถึงผู้ส่งเพื่อเป็นการบอกให้ทราบว่าได้รับข้อมูลครบแล้ว กระบวนการรับ-ส่งข้อมูลนี้ก็จะเสร็จสมบูรณ์

Network   layer   (layer 3)

 Picture

โครงสร้าง การ ทำงาน ของ เครือ ข่าย หรือ topology มี แบบ ใด บ้าง

        มีหน้าที่รับผิดชอบใน การควบคุมการติดต่อรับ-ส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์(เรียกว่าโหนด)ต่างๆ ในระบบเครือข่ายให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการกำหนดหาเส้นทางเดินของข้อมูลจากโหนดผู้ส่งไปตามโหนดต่างๆ จนถึงโหนดผู้รับข้อมูลในที่สุดโฮสต์บางกลุ่มจะกำหนดเส้นทางเดินข้อมูลโดยศึกษาระบบเครือข่ายแล้วสร้างตารางเส้นทางเดินข้อมูลแบบถาวร

Transport   layer   (layer 4)

 Picture

โครงสร้าง การ ทำงาน ของ เครือ ข่าย หรือ topology มี แบบ ใด บ้าง

         โปรแกรมในชั้นนำส่งข้อมูลมีหน้าที่หลักในการรับข้อมูลจากชั้นควบคุมหน้าต่างสื่อสาร(session layer) ซึ่งอาจต้องแบ่งข้อมูลออกเป็นแพกเก็ตขนาดย่อม(ในกรณีข้อมูลมีปริมาณมากๆ) หลายๆแพกเก็ต แล้วจึงส่งข้อมูลทั้งชุดต่อไปให้โปรแกรมในชั้นควบคุมเครือข่าย   โปรแกรมในชั้นนี้เป็นผู้กำหนดประเภทของการให้บริการต่างๆ รวมไปถึงการอำนวยความสะดวกในการใช้ระบบเครือข่ายซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท 

  1.   เป็นการให้บริการแบบจุด-ต่อ-จุดโดยเน้นการรับประกันความถูกต้องของข้อมูลเป็นสำคัญ 

  2.   เน้นการให้บริการข้อมูล ข้อมูลในระดับแพกเก็ตซึ่งแม้ว่าจะไม่รับประกันการสูญหายของข้อมูลแต่ก็ให้ความคล่องตัวสูงกว่าแบบแรก

  3.   เป็นการส่งข้อมูลแบบกระจายข่าวเพื่อประโยชน์ในการส่งข้อมูลชุดเดียวกันไปยังผู้ใช้หลายจุดพร้อมกัน 

Session  layer  (layer 5)

 Picture

โครงสร้าง การ ทำงาน ของ เครือ ข่าย หรือ topology มี แบบ ใด บ้าง

     เป็นผู้กำหนดวิธีการควบคุมการเชื่อมต่อระหว่างผู้รับ-ส่งข้อมูลตั้งแต่เริ่มต้นการสื่อสารไปจนยุติการสื่อสาร เช่น การติดต่อขอใช้โฮสต์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ไกลออกไป (remote login)   

     หน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งคือบริหารการแลกเปลี่ยนข่าวสาร อันได้แก่การกำหนดให้การแลกเปลี่ยนข่าวสารเป็นไปแบบสองทางในเวลาเดียวกัน

Presentation  layer  (layer6)

 Picture

โครงสร้าง การ ทำงาน ของ เครือ ข่าย หรือ topology มี แบบ ใด บ้าง

       โปรแกรมที่ทำงานในระดับชั้นควบคุมต้นๆที่กล่าวมานั้น จะให้ความสนใจในประสิทธิภาพของการรับ-ส่งข้อมูลและมองเห็นว่าข้อมูลคือกระแสบิต หรือกระแสไบต์ เท่านั้น  แต่โปรแกรมในชั้นนี้จะมองข้อมูลว่าเป็นสิ่งที่มีรูปแบบ(syntax) และความหมาย(semantics)มากกว่ากระแสของบิตหรือไบต์

Application  layer  (layer 7)

 Picture

โครงสร้าง การ ทำงาน ของ เครือ ข่าย หรือ topology มี แบบ ใด บ้าง

บทบาทที่สำคัญคือ 

     1.การเป็นตัวกลางหรือส่วนติดต่อระหว่างโปรแกรมประยุกต์กับโปรแกรมใน 6 ชั้นที่เหลือ     

      2.การกำหนดมาตรฐานของจอ

     การกำหนดมาตรฐานของจอนั้นไม่ได้เป็นการกำหนดวิธีสร้างจอเทอร์มินัลให้เหมือนกัน ทั้งนี้เพื่อให้ทำให้จอเทอร์มินัลทุกชนิดในโลกมีความเข้าใจตรงกัน   

โครงสร้าง การ ทำงาน ของ เครือ ข่าย หรือ topology มี แบบ ใด บ้าง