การนำเทคนิคทางพันธุวิศวกรรมมาใช้ประโยชน์ในด้านการแพทย์เป็นไปตามข้อใด

การนำเทคนิคทางพันธุวิศวกรรมมาใช้ประโยชน์ในด้านการแพทย์เป็นไปตามข้อใด

แบบใดก็ได้ที่ทำ�ให้เกิดรหัสหยุดก่อนรหัสหยุดเดิม ดังนั้นถ้ายับยั้งการแสดงออกของยีนหรือทำ�ให้ไม่มี

การสร้างโปรตีนจากยีนดังกล่าวได้จะทำ�ให้สามารถพัฒนาพันธุ์ข้าวที่มีความหอมได้ และถ้าสามารถ

ตรวจหายีนดังกล่าวได้จะทำ�ให้ตรวจสอบสายพันธุ์ข้าวที่มีความหอมได้

นอกจากนี้ครูอาจขยายความรู้เพิ่มเติมให้แก่นักเรียนโดยการอภิปรายร่วมกับนักเรียนถึงการใช้

ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ จากความรู้เกี่ยวกับข้อมูลยีนที่ทำ�หน้าที่ควบคุมลักษณะที่สนใจ รวมทั้งหน้าที่

ของยีนและโปรตีนที่สังเคราะห์ขึ้น เช่น ทำ�ให้สามารถควบคุมลักษณะของสิ่งมีชีวิตได้ สามารถ

ตรวจสอบลักษณะที่สนใจก่อนที่ลักษณะนั้นจะปรากฏในสิ่งมีชีวิต เป็นต้น

จากนั้นครูอาจนำ�ข่าวตัวอย่างประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ และให้นักเรียน

ร่วมกันอภิปรายว่าเป็นการใช้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสมบัติของสารพันธุกรรมในเรื่องใดบ้าง และใช้

ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอที่นักเรียนได้เรียนมาแล้วในด้านใดบ้าง โดยคำ�ตอบอาจมีได้

หลากหลาย เช่น

- ข่าวการสร้างสิ่งมีชีวิต GMO เป็นการใช้ความรู้เกี่ยวกับหน้าที่ของสารพันธุกรรมในการ

ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรม โดยมียีนที่ควบคุมการสังเคราะห์โปรตีนซึ่งนำ�ไปสู่ฟีโนไทป์

ของสิ่งมีชีวิต และใช้เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอในการระบุยีนที่ทำ�หน้าที่ควบคุมลักษณะที่

ต้องการ ใช้เทคนิคพันธุวิศวกรรมในการโคลนยีน การตัดต่อ และการถ่ายยีน

- ข่าวการตรวจสอบ DNA ช้างบ้านซึ่งขึ้นทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายเพื่อป้องกันการนำ�

ช้างป่ามาแอบอ้างว่าเป็นช้างบ้าน เป็นการใช้ความรู้เกี่ยวกับการที่สิ่งมีชีวิตแต่ละสิ่งมีชีวิต

มีลำ�ดับนิวคลีโอไทด์ที่แตกต่างกัน จึงสามารถใช้ในการระบุตัวตนได้

โดยครูอาจช่วยสรุปข้อมูลให้แก่นักเรียนเกี่ยวกับการนำ�ความรู้พื้นฐานเรื่องสมบัติของ

สารพันธุกรรมและเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ

6.3.1 ด้านการแพทย์และเภสัชกรรม

ครูนำ�เข้าสู่บทเรียนโดยตั้งคำ�ถามเพื่อนำ�ไปสู่การอภิปรายว่า

จากความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี

ทางดีเอ็นเอที่นักเรียนได้ศึกษามา สามารถนำ�ไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์และ

เภสัชกรรมได้อย่างไร

ซึ่งนักเรียนจะได้ศึกษาในหัวข้อนี้

การสร้างผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์และเภสัชกรรม

ครูให้นักเรียนศึกษาขั้นตอนการสร้างแบคทีเรียดัดแปรพันธุกรรมที่มียีนที่ควบคุมการผลิต

อินซูลินของมนุษย์จากรูป 6.13 ในหนังสือเรียน นอกจากนี้ครูอาจให้ข้อมูลเพิ่มเติมแก่นักเรียนว่า

พันธุวิศวกรรมยังสามารถนำ�มาใช้ในการผลิตวัคซีนบางชนิด ซึ่งวัคซีนใช้เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรค

บทความ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 6 | เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ

ชีววิทยา เล่ม 2

162

การนำเทคนิคทางพันธุวิศวกรรมมาใช้ประโยชน์ในด้านการแพทย์เป็นไปตามข้อใด

ภาพการผลิตฮอร์โมนอินซูลิน

                การใช้พันธุวิศวกรรมเพื่อผลิตโปรตีน หรือฮอร์โมนที่บกพร่องในมนุษย์ นอกจากอินซูลินแล้วยังใช้พันธุวิศวกรรมในการผลิตโกรทฮอร์โมน เพื่อที่รักษาเด็กที่เจริญเติบโตเป็นคนแคระ เนื่องจากได้รับโกรทฮอร์โมนไม่เพียงพอ เป็นต้น   

                นอกจากการผลิตฮอร์โมนเพื่อใช้ทดแทนในคนที่มีความบกพร่องของฮอร์โมนดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีการประยุกต์ใช้ในการผลิตยาเพื่อรักษาโรคบางชนิดอีกด้วย เช่น ใช้ในการผลิตยาที่จะยับยั้งไวรัส HIV โดยอาศัยเทคนิคทางพันธุวิศวกรรมในการสร้างโมเลกุลของโปรตีนที่จะป้องกันหรือเลียนแบบตัวรับที่ HIV ใช้ในการเข้าสู่เซลล์ ซึ่งตัวรับเหล่านี้จะอยู่บนเยื่อหุ้มเซลล์ของคน หากมีโมเลกุลที่เลียนแบบตัวรับเหล่านี้อยู่ในกระแสเลือด HIV จะเข้าเกาะกับโมเลกุลเหล่านี้แทนที่จะเกาะที่ตัวรับที่เซลล์เม็ดเลือดขาวแล้วเข้าทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว ตัวยาเหล่านี้จึงสามารถยับยั้งการทำงานของ HIV ได้

                การใช้พันธุวิศวกรรมยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการผลิตวัคซีน แต่เดิมนั้นใช้วัคซีนเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคที่เกิดจากไวรัส โดยใช้ไวรัสที่ไม่สามารถก่อโรค เพราะได้รับสารเคมีหรือวิธีทางกายภาพบางอย่าง หรือเป็นไวรัสในสายพันธุ์ที่ไม่นำโรคมาฉีดให้กับคน เพื่อกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน แต่เมื่อการศึกษาในระดับโมเลกุลเกี่ยวกับไวรัสมีความชัดเจนขึ้น จนทราบว่าโปรตีนชนิดใดที่ผิวของไวรัสที่เป็นตัวกระตุ้นภูมิคุ้มกันในคนได้ ก็สามารถใช้วิธีทางพันธุวิศวกรรมตัดต่อเฉพาะยีนที่เป็นต้นแบบในการสร้างโปรตีนชนิดนั้น แล้วใช้โปรตีนดังกล่าวเป็นแอนติเจนในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันแทนการใช้ไวรัสซึ่งทำให้มีความปลอดภัยยิ่งขึ้น

การประยุกต์ใช้ในเชิงนิติวิทยาศาสตร์

            DNA เป็นสารพันธุกรรม  ซึ่ง DNA ของคนๆเดียวกันไม่ว่าจะมาจากเซลล์ส่วนใดของร่างกายจะมีรูปแบบที่เหมือนกัน  ดังนั้น DNA จึงเป็นเหมือนสิ่งที่บอกให้รู้ว่าคนๆนั้นเป็นใครและแตกต่างจากคนอื่นอย่างไร

                  โดยทั่วไปแล้วการที่จะบอกได้ว่าคนๆนั้นเป็นใคร  จะพิจารณาจากรูปร่างหน้าตา  วัน  เดือน  ปีเกิด  ตามข้อมูลในบัตรประชาชน หรือ หนังสือเดินทาง และถ้าจะให้ชัดเจนยิ่งขึ้นอาจดูจากรอยแผลเป็นหรือลายพิมพ์นิ้วมือ  อย่างไรก็ตามลักษณะอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามอายุ หรือจากอุบัติเหตุ หรือจากสารเคมี แม้ว่าลายพิมพ์นิ้วมือจะไม่สามารถบอกความสัมพันธ์ทางสายเลือดได้ว่าลายพิมพ์ นิ้วมือของลูกนั้นส่วนใดได้มาจากพ่อหรือแม่  แต่ลายพิมพ์ DNA สร้างมาจาก DNA ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากพ่อและแม่อย่างละครึ่งและเปลี่ยนแปลงไม่ได้  จึงมีลักษณะเฉพาะบุคคลซึ่งทำให้สามารถบอกความ    แตกต่างของบุคคลได้  ความแตกต่างที่มีความจำเพาะของแต่ละบุคคลนี้เองเราจึงนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน เช่น การพิสูจน์ตัวบุคคล  การพิสูจน์ความสัมพันธ์ทางสายเลือด  การตรวจทางนิติเวชศาสตร์เพื่อหาผู้กระทำความผิด เป็นต้น  และจากความ       แตกต่างที่มีเฉพาะบุคคล  จึงทำให้บุคคลมีรูปแบบของ DNA ที่แตกต่างกัน  เมื่อใช้เทคนิคต่างๆ เช่น การใช้ RFLP marker ตรวจสอบ  จะเกิดเป็นแถบ DNA  รูปแบบของแถบ DNA           (DNA band)ที่เป็นความแตกต่างของขนาดชิ้น DNA ที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละบุคคล เรียกว่า ลายพิมพ์ DNA (DNAfingerprint) เพราะโอกาสที่คนสองคน (ที่ไม่ใช่ฝาแฝดแท้) จะมีรูปแบบของลายพิมพ์ DNA เหมือนกันมีน้อยมาก

การนำเทคนิคทางพันธุวิศวกรรมมาใช้ประโยชน์ในด้านการแพทย์เป็นไปตามข้อใด

ลายพิมพ์ DNA (DNA fingerprint)

                นอกจากนี้ได้มีการใช้ลายพิมพ์ DNA เพื่อพิสูจน์ความเกี่ยวพันในคดีอาญาที่รุนแรง เช่น ฆาตกรรม  ทำร้ายร่างกาย  ซึ่งสามารถใช้เป็นหลักฐานสำคัญอย่างหนึ่งประกอบการพิจารณาคดีศาล  ตัวอย่างเช่น  ในคดีฆาตกรรมคดีหนึ่ง ได้นำคราบเลือดของฆาตกรที่พบในสถานที่เกิดเหตุและเลือดของผู้ต้องสงสัยจำนวน 7 คน  มาทำลายพิมพ์ DNA และนำมาเปรียบเทียบกัน

                 เมื่อนำลายพิมพ์ DNA ของผู้ต้องสงสัยมาเปรียบเทียบกับลายพิมพ์ DNA ของคราบเลือดฆาตกรพบว่าเป็นดังนี้

การนำเทคนิคทางพันธุวิศวกรรมมาใช้ประโยชน์ในด้านการแพทย์เป็นไปตามข้อใด

ภาพการเปรียบเทียบลายพิมพ์ DNA ของผู้ต้องสงสัยกับคราบเลือดฆาตกร

                จากภาพด้านบนที่มีการเปรียบเทียบลายพิมพ์ DNA ของผู้ต้องสงสัยทั้ง 7 คน  จะเห็นได้ว่า  ผู้ต้องสงสัยหมายเลข 4 มีลายพิมพ์ DNA ใกล้เคียงกับหลักฐานคราบเลือดในที่เกิดเหตุมากที่สุด จึงอาจสรุปได้ว่าเป็นฆาตกร
                ปัจจุบันการตรวจลายพิมพ์ DNA จะใช้เทคนิค PCR เนื่องจากเป็นวิธีที่ง่าย  รวดเร็ว  ประหยัดค่าใช้จ่ายและใช้ตัวอย่างเลือดในปริมาณที่น้อยในประเทศไทย
                การตรวจลายพิมพ์
DNA เริ่มโดยกลุ่มนักวิจัยจากหลายสถาบันร่วมกันทำงานอย่างต่อเนื่อง  โดยการตรวจพิสูจน์ความสัมพันธ์ทางสายเลือด  การหาตัวคนร้ายในคดีฆาตกรรม  การสืบหาทายาทที่แท้จริงในกองมรดก  นอกจากนี้ยังนำมาใช้ในการตรวจคนเข้าเมืองให้ถูกต้อง  กรณีการให้สัญชาติไทยแก่ชาวเขาและชนกลุ่มน้อย เพื่อสืบสาวว่าบรรพบุรุษเป็นชาวเขาที่ตั้งรกรากอยู่ในประเทศไทยหรือเป็นชนต่างด้าวที่อพยพเข้ามา ซึ่งมีผลต่อการพิสูจน์ชาติพันธุ์และการให้สิทธิในการอาศัยอยู่บนแผ่นดินไทยด้วย  นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มว่าในอนาคตอาจมีการนำลายพิมพ์ DNA มาประยุกต์ใช้แทนการใช้ลายนิ้วมือ  เพื่อทำบัตรประชาชน  ทำให้สืบหาตัวบุคคลได้ถูกต้องรวดเร็ว  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีสืบหาตัวบุคคลที่เสียชีวิตในสภาพที่บอกไม่ได้ว่าเป็นใคร  เช่น  กรณีเครื่องบินตก หรือ ไฟไหม้
                ปัจจุบันในประเทศไทยมีหน่วยงานที่มีห้องปฏิบัติการที่ตรวจลายพิมพ์
DNA เช่น  สถาบันนิติเวช  กองพิสูจน์หลักฐาน  สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ  โรงพยาบาลต่างๆ เช่น โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลเชียงใหม่ และสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม
เป็นต้น

การประยุกต์ใช้ในเชิงการเกษตร

1. การทำฟาร์มสัตว์เพื่อสุขภาพของมนุษย์

                 ในการใช้เทคโนโลยี DNA เพื่อปรับปรุงพันธุ์สัตว์ในมีลักษณะที่ดีขึ้น เช่นเดียวกับป้าหมายหนึ่งคือการในการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ที่อาศัยการผสมพันธุ์ และคัดเลือกพันธุ์ดั้งเดิม แต่ด้วยเทคโนโลยี DNA ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถหาได้ว่ายีนที่จะทำให้สัตว์มีลักษณะตามต้องการ เช่น หมูมีไขมันต่ำ วัวให้นมเร็วขึ้นและมากขึ้น เมื่อทราบว่ายีนควบคุมลักษณะนั้นคือยีนใดแล้วจึงย้ายยีนดังกล่าวเข้าสู่สัตว์ที่ต้องการ  

                  อีกรูปแบบหนึ่งของการทำฟาร์มในอนาคต คือ การสร้างฟาร์มสัตว์ที่เสมือนเป็นโรงงานผลิตยาเพื่อสกัดนำไปใช้ในการแพทย์ ตัวอย่างเช่น การสร้างแกะที่ได้รับการถ่ายยีนเพื่อให้สร้างโปรตีนที่มีอยู่ในเลือดของคน และให้แกะผลิตน้ำนมที่มีโปรตีนนี้ โปรตีนชนิดนี้จะยับยั้งเอนไซม์ที่ก่อให้เกิดการทำลายเซลล์ปอดในผู้ป่วยที่เป็นโรคซิสติกไฟโปรซิส (cysticfibrosis) และโรคระบบทางเดินหายใจที่เรื้อรังชนิดอื่นๆ

                ในการสร้างสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรม (transgenic animal) จะเริ่มจากการแยกเซลล์ไข่ออกจากเพศเมียและฉีดยีนที่ต้องการเข้าไปในนิวเคลียสของเซลล์ไข่ (microinjection) ซึ่งจะมีเซลล์ไข่บางเซลล์ยอมให้ยีนดังกล่าวแทรกเข้าในจีโนมของนิวเคลียสและแสดงออกได้ จากนั้นทำการผสมพันธุ์ในหลอดทดลอง (in vitro fertilization) และถ่ายฝากเข้าในตัวแม่ผู้รับ เพื่อให้เจริญเป็นตัวใหม่ซึ่งจะมียีนที่ต้องการอยู่โดยไม่จำเป็นต้องมาจากสปีชีส์เดียวกัน

การนำเทคนิคทางพันธุวิศวกรรมมาใช้ประโยชน์ในด้านการแพทย์เป็นไปตามข้อใด

ภาพแอนดี (ANDi) ลิงดัดแปลงพันธุกรรมเรืองแสงตัวแรกของโลก

2. การสร้างพืชดัดแปลงพันธุกรรม(trensgenicplant)

                การสร้างพืชดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อให้มียีนของลักษณะตามที่ต้องการ เช่น การชะลอการสุกของผลไม้ หรือเพื่อยืดเวลาการเก็บรักษาผลผลิต มีความต้านทานโรคและแมลง มีความต้านทานต่อสารฆ่าแมลงมีคุณค่าด้านอาหารมากขึ้น เป็นต้น ในพืชสามารถทำได้ง่ายกว่าในสัตว์ เนื่องจากมีการศึกษาเทคโนโลยีในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในหลอดทดลอง ซึ่งสามารถสร้างต้นพืชขึ้นใหม่จากเซลล์เนื้อเยื่อ หรือส่วนต่างๆ ของพืชได้เป็นเวลาหลายสิบปีมาแล้ว  ดังนั้นถ้าสามารถถ่ายยีนเข้าสู่เซลล์พืชได้ และพืชนั้นมีเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชรองรับอยู่แล้ว ก็สามารถสร้างพืชดัดแปลงทางพันธุกรรมได้ตัวอย่างการสร้างพืชดัดแปลงทางพันธุกรรม ได้แก่

พืชดัดแปลงทางพันธุกรรมที่มีความสามารถในการต้านทานแมลง
โดยการถ่ายยีนบีทีที่สร้างสารพิษจากแบคทีเรีย(
Bacillua Thuringiensis;BT) สารพิษนี้สามารถทำลายตัวอ่อนของแมลงบางประเภทอย่างเฉพาะเจาะจง โดยไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น เมื่อนำยีนที่สร้างสารพิษไปใส่ในเซลล์ของพืช  เช่น ฝ้าย ข้าวโพด มันฝรั่ง ยาสูบ มะเขือเทศ พืชเหล่านี้สามารถผลิตสารทำลายตัวหนอนที่มากัดกิน ทำให้ผลผลิตของพืชเหล่านี้เพิ่มขึ้น ลดการใช้สารเคมีหรือไม่ต้องใช้เลย
พืชต้านทานต่อโรค

นักวิจัยไทยสามารถดัดแปลงพันธุกรรมของมะละกอให้ต้านทานต่อโรคใบด่างจุดวงแหวน ซึ่งเกิดจากไวรัสชนิดหนึ่ง โดยนำยีนที่สร้างโปรตีนเปลือกไวรัส (coat protein gene) ถ่ายฝากเข้าไปในเซลล์มะละกอ แล้วชักนำให้เป็นมะละกอสร้างโปรตีนดังกล่าว ทำให้สามารถต้านทานต่อเชื้อไวรัสได้ นอกจากนี้ยังมีการดัดแปลงพันธุกรรมของมันฝรั่ง ยาสูบ ให้มีความต้านทานต่อไวรัสที่มาทำลายได้
พืชดัดแปลงทางพันธุกรรมที่สามารถต้านสารปราบวัชพืช  
เช่น  นำเอายีนที่ต้านทานสารปราบวัชพืชใส่เข้าไปในพืช  เช่น  ถั่วเหลือง ข้าวโพด ฝ้าย ทำให้สามารถต้านทานสารปราบวัชพืช ทำให้สารเคมีที่ปราบวัชพืชไม่มีผลต่อพืชดังกล่าวและสามารถใช้ประโยชน์จากดินและปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ การปลูกพืชหมุนเวียนยังทำได้ง่ายขึ้นผลผลิตก็เพิ่มมากขึ้นด้วย
พืชดัดแปลงทางพันธุกรรมที่มีคุณค่าทางอาหารเพิ่มขึ้น 
เช่น ในกรณีของข้าวที่เป็นธัญพืชที่เป็นอาหารหลักของโลก ได้มีนักวิทยาศาสตร์ นำยีนจากแดฟโฟดิลและยีนจากแบคทีเรีย
Erwinia  bretaria ถ่ายฝากให้ข้าว  ทำให้ข้าวสร้างวิตามินเอในเมล็ดได้ เรียกว่า ข้าวสีทอง(goldenrice)โดยหวังว่าการสร้างข้าวสีทอง จะมีส่วนช่วยในการลดภาวะการขาดวิตามินในประเทศที่ขาดแคลนอาหารในโลกได้
พืชดัดแปลงทางพันธุกรรมเพื่อให้ยืดอายุของผลผลิตได้ยาวนานขึ้น
โดยนำยีนที่มีผลต่อเอนไซม์ที่สังเคราะห์เอทิลีนใส่เข้าไปในผลไม้ เช่น มะเขือเทศ ทำให้มะเขือเทศสุกช้าลงเนื่องจากไม่มีการสร้างเอทิลีนลดความเน่าเสียของมะเขือเทศ สามารถเก็บรักษาได้นานขึ้นและขนส่งได้เป็นระยะทางไกลขึ้น 
พืชดัดแปลงพันธุกรรม
อื่นๆ
เช่น  ทำให้พืชต้านทานความแห้งแล้ง ต้านทานดินเค็ม  ดัดแปลงพืชให้แปลกและแตกต่างไปจากเดิมเพื่อให้เหมาะสมกับตลาดและความต้องการของมนุษย์มากขึ้น  แต่อย่างไรก็ตามพืชดัดแปลงพันธุกรรม (Genetically Modified Organism : GMOs) ถึงจะมีประโยชน์มากมายแต่ก็ยังมีข้อโต้แย้งทางสังคมเป็นอย่างมากว่าอาจจะไม่ปลอดภัยกับผู้บริโภคและอาจก่อให้เกิดปัญหาทางด้านพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ความหลากหลายทางชีวภาพ การมิวเทชันและอาจเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมในอนาคตได้

3. การปรับปรุงพันธุ์โดยอาศัยวิธีการของ molecolar  breeding
              ด้วยเทคโนโลยี
DNAนำมาสู่การสร้างแบคทีเรีย และแผนที่เครื่องหมายทางพันธุกรรมต่างๆ ทำให้นักปรับปรุงพันธุ์สามารถนำองค์ความรู้ดังกล่าวมาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ โดยอาศัยการคัดเลือกจากการตรวจหาจากเครื่องหมายทางพันธุกรรมระดับโมเลกุลทดแทนการคัดเลือกจากลักษณะฟีโนไทป์เพียงอย่างเดียว ซึ่งทำให้การปรับปรุงพันธุ์ต่างๆทำได้รวดเร็วขึ้นและมีความเป็นไปได้ที่จะได้พืชหรือสัตว์พันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะต่างๆร่วมกันในเวลาที่เร็วขึ้น
                ตัวอย่างการคัดเลือกสายพันธุ์ โดยอาศัยเครื่องหมายทางพันธุกรรมระดับโมเลกุลที่สามารถเห็นได้ชัดเจน เช่น การปรับปรุงพันธุ์ข้าวได้มีการศึกษาว่ายีนที่ควบคุมความทนเค็มนั้น ถูกควบคุมด้วยยีนหลายตำแหน่งและพบว่ายีนเหล่านั้นอยู่บนโครโมโซมแท่งต่างๆซึ่งมีลิงค์เกจกับเครื่องหมายทางพันธุกรรมในระดับโมเลกุล เมื่อทำการผสมพันธุ์เพื่อถ่ายทอดลักษณะความทนเค็ม ก็สามารถใช้เครื่องหมายทางพันธุกรรมเป็นตัวคัดเลือกต้นข้าวในรุ่นลูก


การใช้พันธุศาสตร์เพื่อศึกษาค้นคว้าหายีนและหน้าที่ของยีน

              เนื่องจากเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกเซลล์มีโปรตีน เป็นตัวดำเนินกิจกรรมต่างๆของชีวิต  ดังนั้นหากมีการยับยั้งการทำงานของโปรตีนหรือทำให้เกิดการทำงานผิดปกติของยีนดังกล่าว จะมีผลต่อลักษณะของสิ่งมีชีวิตนั้นๆได้ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นที่สามารถสังเกตได้ คือการเปลี่ยนแปลงของฟีโนไทป์นั้น ด้วยการศึกษาย้อนกลับไปว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้นที่โปรตีนใด ยีนใด ก็จะทราบถึงหน้าที่ของยีนอื่นๆนั้นได้ ซึ่งนั่นคือการชักนำให้เกิดมิวเทชันในสิ่งมีชีวิตหรือการสร้างมิวแทนท์ (mutant) ที่มีการเปลี่ยนแปลงของฟีโนไทป์บางประการแล้วอาศัยเทคนิคต่างๆทางชีววิทยาระดับโมเลกุล เพื่อศึกษาว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นที่ยีนใด
                
รศ.ดร.อภิชาติ  วรรณะวิจิตรและคณะ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศึกษาลักษณะความหอมของข้าว พบว่ายีนที่ควบคุมลักษณะดังกล่าวเป็นยีนด้อย  จากการศึกษาแผนที่ยีนร่วมกับเครื่องหมายทางพันธุกรรมรวมทั้งการผสมพันธุ์  การใช้ข้อมูลชีวสารสนเทศ (bioinformation) ของจีโนมข้าว ทำให้สามารถระบุได้ว่ายีนความหอมในข้าวอยู่บนโครโมโซมแท่งที่ 8 และสามารถโคลนยีน Os  2AP ซึ่งควบคุมลักษณะความหอมของข้าวได้สำเร็จ โดยพบว่าโปรตีนที่สร้างจากยีน Os  2 AP จะช่วยยับยั้งสารที่ให้ความหอม ซึ่งถ้ายับยั้งการแสดงออกของยีนนี้ก็จะได้ข้าวที่มีความหอม
                การศึกษาทางพันธุศาสตร์นั้นสามารถนำไปสู่การค้นพบยีนที่ทำหน้าที่ต่างๆ และหากค้นคว้าอย่างลึกซึ้งถึงกลไกลการทำงานต่างๆของยีนนั้นได้ ก็จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนในอนาคต

การประยุกต์ใช้เพื่อสิ่งแวดล้อม

                นักเทคโนโลยีชีวภาพมีความพยายามที่จะใช้วิธีการทำพันธุวิศวกรรมเพื่อสร้างสายพันธุ์จุลินทรีย์ หรือพืชที่มีความสามารถในการย่อยสลายสารที่ไม่พึงประสงค์ที่ปนเปื้อนในดิน น้ำหรือของเสียในโรงงานอุตสาหกรรมหรือเหมืองแร่ก่อนปล่อยลงสู่ธรรมชาติ อย่างไรก็ดีการใช้สิ่งมีชีวิตดัดแปลงทางพันธุกรรม สอดคล้องกับกฎหมายการควบคุมการใช้ GMOs ในแต่ละประเทศ

การนำเทคนิคทางพันธุวิศวกรรมมาใช้ประโยชน์ในด้านการแพทย์เป็นไปตามข้อใด