ผู้บริหารระดับต้น

  • 19 May, 2021
  • admin
  • 243

องค์กรต้องการผู้นำในทุกระดับ ซึ่งอาจจะแบ่งระดับให้เห็นภาพได้ชัดเจนคือ ผู้นำระดับต้น (หัวหน้างาน) , ผู้นำระดับกลาง (ผู้จัดการ ) และ ผู้นำระดับสูง (CEO,MD) ซึ่งทุกระดับมีโจทย์ที่ท้าทายในตัวเอง มีทักษะเฉพาะที่ควรได้รับการฝึกฝนเพิ่มเติมเมื่อมีการเลื่อนตำแหน่ง

บทความนี้ผมจะขอพูดถึง"ผู้นำระดับกลาง" กันครับ

คุณสมบัติที่สำคัญของผู้นำระดับกลาง(ผู้จัดการ)ในการรับมือกับผู้บริหารระดับสูง
- ความสามารถในการจูงใจผู้อื่น
- การตัดสินใจที่เด็ดเดี่ยว
- ประสบการณ์/ความเชี่ยวชาญในสายงาน
- การกระจายงาน
- ความสามารถในการสร้างเครือข่าย

กล่าวได้ว่า
เมื่อผู้นำระดับสูง (CEO , MD) มีเป้าหมายของธุรกิจที่ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นวิสัยทัศน์ พันธกิจ หรือเป้าหมายเชิงกลยุทธ์
เป็นธรรมดาที่ผู้นำระดับรองลงไปจะมีทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย

ในการนี้ "ผู้นำระดับกลาง" จึงเป็นตัวแปรสำคัญที่จะช่วยกำหนดได้ว่า..ความต้องการของCEO จะมีโอกาสประสบผลสำเร็จมากน้อยแค่ไหน
เนื่องจากผู้นำระดับกลางจะเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างระดับบริหาร (CEO / MD) กับระดับปฏิบัติการ

ผู้นำระดับกลางที่มีแนวความคิดต่อต้าน-ขัดขวาง-เพิกเฉยกลยุทธ์ ก็มักจะมีทั้งข้ออ้าง ข้อถกเถียง ข้อโต้แย้ง ทั้งด้วยข้อมูล อารมณ์ และประสบการณ์ และมองเห็นแต่ข้อจำกัดในการทำงาน จึงมักจะมีแนวทางบริหารงานที่ไม่สอดคล้องกับทิศทางขององค์กร

ส่วนผู้นำระดับกลางที่มีแนวความคิดสนับสนุนกลยุทธ์จะใช้คุณสมบัติตามที่กล่าวไว้
ในการพยายามคิดหาไอเดียต่างๆในการเปลี่ยนเป้าหมายของผู้บริหารให้เป็นแผนงานเชิงปฏิบัติในแผนกของตนเอง
โดยไม่ยึดติดกับข้อจำกัดต่างๆ ปัจจัยที่อาจไม่เอื้ออำนวยให้ทำงานได้สะดวกลื่นไหลมากนัก
จึงต้องระดมความคิดสร้างสรรค์มากพอสมควร โดยอาศัยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในสายงาน
และใช้ความกล้าตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยวที่จะลองผิดลองถูกวิธีการหรือแผนงานที่ผ่านการวิเคราะห์มาเป็นอย่างดีแล้ว
โน้มน้าวจูงใจบุคคลรอบตัวรวมถึงผู้บริหารเพื่อให้ได้รับการสนับสนุนทั้งresources และ authority ต่างๆอย่างเหมาะสม
และกระจายงาน กระจายอำนาจหน้าที่ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องในรูปแบบของทีม

ความท้าทายของผู้นำระดับกลาง(ผู้จัดการ)ต้องเผชิญ คือ

"การสนับสนุนวิสัยทัศน์ของผู้นำที่คุณไม่ได้เป็นผู้กำหนด .... และร่วมผลักดันให้กลายเป็นความจริง"


Credit : หนังสือ How to Lead  โดยสำนักพิมพ์เชนจ์พลัส

VDO ที่เกี่ยวข้อง

บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

บทบาทและหน้าที่ของผู้บริหาร

ในการจัดการองค์กรให้ประสบความสำเร็จทั้งในด้านประสิทธิภาพโดยรวมและยังต้องสามารถแข่งขันกับคู่แข่งขันคนอื่นๆได้นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยความสามารถของผู้บริหารเป็นสำคัญ ถ้าได้ผู้บริหารที่ดีมีความสามารถก็จะทำให้การจัดการองค์กรมีประสิทธิภาพและมุ่งไปสู่ความเป็นหนึ่งได้ ในการเป็นผู้บริหารที่ดีนั้นผู้บริหารจำเป็นต้องกำหนดบทบาทหน้าที่ของตนเองให้สอดคล้องกับตำแหน่ง ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระดับดังนี้

1. ผู้บริหารระดับต้น ได้แก่ ตำแหน่งห้วหน้างาน (Leader) ผู้ควบคุม (Supervisor / Foreman) เป็นต้น

2. ผู้บริหารระดับกลาง ได้แก่ ตำแหน่งหัวหน้าแผนก (Section Chief) ผู้ช่วยผู้จัดการ (Asst. Manager) เป็นต้น

3. ผู้บริหารระดับสูง ได้แก่ ตำแหน่งผู้จัดการ (Manager) ผู้อำนวยการ (Director) ขึ้นไป 

จะเห็นว่าผู้บริหารมีภารกิจและงานตลอดทั้งวันมากมายที่จะต้องกระทำและตัดสินใจ ดังนั้นการกำหนดบทบาทให้สอดคล้องต่องานแต่ละงานจึงเป็นสิ่งจำเป็นดังนั้นผู้บริหารในโรงงานต้องทราบว่าต้องการผลิตอะไร เพื่อใคร และผู้บริหารต้องคอยควบคุมดูแลให้ผลผลิตเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ ซึ่งต้องปฏิบัติงานด้วยวิธีที่ดีที่สุดและประหยัดที่สุดในการศึกษาถึงการใช้หลักของเหตุผลในการบริหาร โดยเน้นเรื่องประสิทธิภาพในตัวบุคลากรถือว่าบุคลากรแต่ละคนเป็นปัจจัยที่สำคัญที่องค์กรสามารถที่จะปรับปรุงเพื่อเพิ่มผลผลิตได้ โดยกำหนดสมมติฐานไว้ว่าการทำงานจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ผู้บริหารเป็นผู้ที่มีบทบาทที่สำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายขององค์กร ดังนั้นผู้บริหารจะต้องดำเนินการในบทบาทของการเป็นผู้วางแผนและการตัดสินใจ ซึ่งผู้บริหารจะต้องพิจารณาถึงปัจจัยที่จะเข้ามากระทบที่จะทำให้วัตถุประสงค์ และเป้าหมายขององค์กรโดยรวมเบี่ยงเบนไปจากที่กำหนด สำหรับบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารที่ต้องดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอนมีดังนี้

1. มีการวางแผน (Planning) เป็นกระบวนการของการใช้ความคิด และการตัดสินใจ โดยการกำหนดวัตถุประสงค์ที่องค์กรต้องการ จากนั้นจึงทำการกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรทางการบริหารที่ประกอบด้วย คน เงิน วัตถุดิบ และการจัดการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และใช้วิธีปฏิบัติที่เหมาะสมที่สุด เช่น ด้านกำลังการผลิต ทำเลที่ตั้ง ผลิตภัณฑ์ การจัดแผนผังการผลิต ตารางการผลิต สำหรับหลักในการวางแผนที่ต้องคำนึงถึง ได้แก่ การพยากรณ์ถึงความต้องการในอนาคต วัตถุประสงค์ นโยบาย โปรแกรม ตารางการดำเนินงาน มาตรฐานและงบประมาณด้านการผลิต ส่วนประโยชน์ของการวางแผนนั้น คือ องค์กรสามารถไปสู่เป้าหมายได้

2. มีการจัดองค์กร (Organization) เป็นการจัดระเบียบงานโดยการแบ่งงานออกเป็นกลุ่มๆพร้อมทั้งกำหนดขอบเขตความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่ของแต่ละกลุ่มงานไว้อย่างแน่นอน ทั้งทางด้านขนาดของการกระจายอำนาจหน้าที่จนสามารถสร้างความสัมพันธ์ในหน่วยงานขึ้นเพื่อให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันทำงานมุ่งไปสู่จุดหมายอันเดียวกัน ในการจัดกลุ่มงานผู้บริหารจะต้องพิจารณาว่าในฝ่ายผลิตมีงานอะไรที่ต้องดำเนินการบ้าง เช่น งานตรวจสอบวัตถุดิบ งานซ่อมบำรุง การควบคุมคุณภาพ เพื่อให้องค์กรสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ โดยมีหลักที่ว่างานลักษณะเหมือนกันควรจัดให้อยู่ด้วยกันเพื่อให้เป็นไปตามหลักการแบ่งงานกันทำ จากนั้นจึงจัดทำคำบรรยายลักษณะงานโดยมีการระบุขอบเขตของงาน มีการมอบหมายงาน การกำหนดความรับผิดชอบและการให้อำนาจหน้าที่ ส่วนการจัดวางรูปแบบองค์กรที่ดีนั้นจะมีส่วนสัมพันธ์กับความสำเร็จขององค์กรเพราะองค์กรที่จัดไว้อย่างเหมาะสมนั้นจะช่วยให้การบริหารงานเป็นไปโดยสะดวกไม่เกิดปัญหางานที่คั่งค้างเพราะขาดคนทำ ไม่สิ้นเปลืองเพราะเกิดการทำงานที่ซ้ำซ้อน

3. มีการจัดคนเข้าทำงาน (Staffing) เป็นการคัดเลือกบุคลากรที่มีความเหมาะสมกับงานโดยผู้บริหารทำการกำหนดตำแหน่งงาน ภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบรวมทั้งอำนาจหน้าที่ที่ชัดเจนโดยมีวิธีการคัดเลือกที่เหมาะสม มีการฝึกอบรม การสร้างขวัญกำลังใจรวมทั้งการโยกย้ายสับเปลี่ยนเพื่อพัฒนาคนงานให้มีความสามารถที่สูงขึ้น จัดให้มีค่าตอบแทนที่เป็นธรรม ด้านการจัดคนทำงานที่มีการเพิ่มหรือลดจำนวน การใช้วิธีทำงานนอกเวลา รวมทั้งการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง เป็นต้น โดยกระบวนการบริหารงานบุคคลจะมีขั้นตอนที่ต้องทำต่อเนื่องกัน คือ มีการวางแผนทรัพยากรกำลังคนจากนั้นเริ่มเสาะแสวงหาบุคคลที่มีลักษณะที่ต้องการ มีการเลือกเฉพาะผู้ที่มีคุณสมบัติที่ดีที่สุดเอาไว้จากนั้นจึงทำการบรรจุ แนะนำตัวเข้าทำงาน และการปฐมนิเทศ เมื่อทำงานไประยะเวลาหนึ่งแล้วผู้บริหารควรจะทำการฝึกอบรม และพัฒนาผู้ปฏิบัติเหล่านี้ให้มีศักยภาพในการทำงานที่สูงขึ้น ทำการประเมินผลการปฏิบัติงาน การโอนย้าย การเลื่อนหรือลดตำแหน่ง การให้พ้นจากงาน เป็นต้น

4. มีการสั่งการ (Directing) เป็นการใช้ความสามารถของผู้บริหารในการจูงใจให้ผู้ปฏิบัติดำเนินงานตามที่ต้องการอย่างดีที่สุดจนองค์กรสามารถบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้ การสั่งการเป็นขั้นตอนของการดำเนินงาน ซึ่งบุคลากรจะต้องทำงานในหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด โดยการจูงใจการออกคำสั่ง การมอบหมายงาน เป็นต้น โดยผู้บริหารจะต้องให้การสนับสนุนส่งเสริมให้บุคลากรสามารถบรรลุผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพได้มากที่สุด

5. มีการควบคุม (Controlling) เป็นหน้าที่ของผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบและเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานกับมาตรฐานที่กำหนดขึ้นมาในช่วงของการวางแผน หากผลการปฏิบัติงานเกิดความแตกต่างไปจากมาตรฐานผู้ที่รับผิดชอบในงานดังกล่าวจะต้องรีบดำเนินการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้การปฏิบัติงานดังกล่าวสอดคล้องกับมาตรฐาน โดยทั่วไปในการแก้ไขปรับปรุงการปฏิบัติอาจจะอยู่ในรูปของการซ่อมแซม อุปกรณ์หรือเครื่องจักร การควบคุมสินค้าคงเหลือ คุณภาพปริมาณ ตลอดจนเวลาในการออกสินค้าสู่ตลาด เป็นต้น โดยกระบวนการในการควบคุมจะเริ่มจากการกำหนดมาตรฐานในการวัดขึ้นมาก่อน จากนั้นจึงนำผลที่ได้จากการปฏิบัติมาเปรียบเทียบผลการดำเนินงานหลังจากการเปรียบเทียบแล้วอาจจะเท่ากับ สูงหรือต่ำกว่ามาตรฐาน หากเท่ากับมาตรฐานย่อมแสดงว่าการปฏิบัติได้บรรลุเป้าหมาย แต่หากผลที่ได้รับเป็นผลลบต่อการปฏิบัติผู้บริหารจะต้องรีบหาทางแก้ไข เพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาเกิดขึ้นอีกซึ่งขอบเขตการควบคุมด้านการผลิตได้แก่ ปริมาณที่เพียงพอ คุณภาพที่เหมาะสม ทันต่อเวลาและเกิดต้นทุนที่ต่ำ เป็นต้น

มีทัศนะในการบริหารงานแบบสมัยใหม่

ผู้บริหารระดับต้น

ทัศนะการในบริหารงานสมัยใหม่นี้จะเห็นได้ว่า การดำเนินงานขององค์กรจะเป็นลักษณะแบบระบบเปิดเนื่องจากเหตุผลที่องค์กรจะต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ซึ่งผู้บริหารไม่อาจควบคุมและคาดคะเนได้ เช่น เศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม คู่แข่งขัน เทคโนโลยีผู้จำหน่ายวัตถุดิบ เป็นต้น จนส่งผลต่อวัตถุประสงค์ขององค์กรโดยรวม ซึ่งลักษณะที่สำคัญขององค์กรในระบบแบบเปิดคือการปรับตัวขององค์กรที่ต้องการให้บรรลุผลกำไร และความอยู่รอดโดยมีลักษณะการดำเนินงาน ได้แก่ องค์กรจะมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ความสำเร็จในการแข่งขันจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยการทำงานร่วมกันเป็นคณะทำงาน มีการสร้างความสมดุลโดยการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การปรับตัวโดยการหาสาเหตุและแก้ไขอย่างรวดเร็ว สำหรับหลักความสำคัญขององค์กรระบบเปิด คือ ผู้บริหารจะต้องคิดถึงความสัมพันธ์ระหว่าง องค์กร และสภาพแวดล้อม ซึ่งผู้บริหารจะต้องจัดหาปัจจัยการผลิตมาดำเนินงานดังตารางตัวอย่างด้านล่าง


 ปัจจัยการผลิตผลิตภัณฑ์  สภาพแวดล้อมที่ต้องเผชิญ
- เงินทุน

- แรงงาน

- วัตถุดิบ

- ข้อมูลข่าวสาร

- สินค้าหรือบริการ

- การขายหุ้น การกู้ยืมเงินลงทุนจากภายนอก

- ประชาชนในชุมชน

- ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ

- หน่วยงานทำวิจัย

- ลูกค้า คู่แข่งขัน


มีการกำหนดทิศทางขององค์กร การกำหนดทิศทางขององค์กรสามารถ แยกออกเป็น 4 ระดับใหญ่ๆ ดังนี้

ภารกิจ (Mission)หมายถึง เจตนาหรือเหตุผลที่องค์กรต้องการดำเนินการ ซึ่งจะบอกถึงการมอบผลิตภัณฑ์แก่ลูกค้า สังคม และการแข่งขันที่มีความแตกต่างไปจากองค์กรอื่นๆ สำหรับการกำหนดภารกิจจะเป็นหน้าที่ที่มีความสำคัญของผู้บริหารระดับสูงเป็นข้อความที่แสดงถึงแนวทางการจัดการเชิงกลยุทธ์และแนวทางหลักในการอยู่รอดขององค์กร โดยระบุถึงหน้าที่ขององค์กรที่ต้องกระทำต่อสังคมและสอดคล้องกับปรัชญาในการจัดการขององค์กร เช่น มีการระบุถึงลูกค้าเป้าหมายขององค์กร ผลิตภัณฑ์ที่จะนำออกสู่ตลาด สถานที่นำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด ระบุถึงการมุ่งความเจริญเติบโต ความอยู่รอดและกำไร เป็นต้น ความสำคัญของการกำหนดภารกิจนั้นจะมีผลต่อการกำหนดทิศทางที่จะต้องถูกถ่ายทอดสู่การดำเนินงานหรือกลยุทธ์ การกำหนดวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่มีความสอดคล้องกัน ซึ่งผู้บริหารระดับสูงจะต้องทำการกำหนดภารกิจและทำการถ่ายทอดไปสู่การดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ถ้อยคำที่เข้าใจง่าย กะทัดรัด มีเนื้อหา มีความหมายและมีรูปแบบในการกำหนดที่เฉพาะเจาะจง โดยภารกิจหลักขององค์กรแต่ละแห่งจะแตกต่างกันออกไป ภารกิจหลักจะต้องมีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ขององค์กร ช่วยถ่ายทอดความต้องการขององค์กรและสามารถสร้างแรงจูงใจให้บุคลากรสามารถนำไปปฏิบัติในแนวทางที่ต้องการได้

วิสัยทัศน์(Vision) หมายถึง การระบุถึงสิ่งที่องค์กรต้องการให้เป็นผลในอนาคตระยะยาว 5 – 10 ปี เช่นความเป็นเลิศ ความเป็นผู้นำ เป็นต้น โดยทั่วไปผู้บริหารเป็นผู้ที่มีความสำคัญต่อการกำหนดกลยุทธ์โดยใช้เหตุผลภายใต้ทัศนคติ ประสบการณ์ และความรู้ความสามารถที่สะสมไว้ ซึ่งวิสัยทัศน์มีคุณลักษณะ คือ มีการคิดอย่างเป็นระบบ โดยผู้บริหารจะมีการวิเคราะห์ มีการกำหนดแผนที่มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมขึ้นอย่างมีขั้นตอนมีความเชื่อมั่น หมายถึง การมีความเชื่อมั่นในการวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมและทำการกำหนดวิสัยทัศน์ขึ้นเพื่อการดำเนินงาน มีความเอาใจใส่ในงานที่ปฏิบัติ เป็นการให้ความสนใจและมุ่งมั่นถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด ปัจจุบันองค์กรจะต้องมีมุมมองที่กว้างขวาง ธุรกิจใดที่มีโอกาสการขยายการลงทุนผู้บริหารก็ควรตัดสินใจลงทุน คุณลักษณะ 3 ประการนี้ประกอบกับข้อมูลจากภายนอกและภายในองค์กร ทำให้ผู้บริหารสามารถกำหนดแผนกลยุทธ์เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่และสามารถกำหนดแนวทางการแข่งขันภายใต้ข้อจำกัดของทรัพยากรที่มีอยู่ นโยบาย (Policies) หมายถึง แนวทางกว้างๆ ที่กำหนดขึ้นเพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจ เพื่อให้การกำหนดกลยุทธ์กับการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติเชื่อมโยงกัน บริษัทใช้นโยบายเป็นเครื่องมือเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าพนักงานทุกคนในบริษัทตัดสินใจดำเนินงานการปฏิบัติการต่างๆ สอดคล้องสนับสนุนเป็นไปตามพันธกิจ (Mission)วัตถุประสงค์ (Objective) และกลยุทธ์ (Strategies) ของบริษัท กลยุทธ์ Strategies) หมายถึง แนวทางหรือแผนดำเนินการหลักที่มีการระบุถึงสถานภาพว่าองค์กรควรกำหนดแนวทางการดำเนินงานอย่างไรที่มีความเหมาะสมที่สุด หลังจากที่มีการกำหนดวัตถุประสงค์ที่ต้องการแล้ว เพื่อให้เกิดความได้เปรียบและการลดข้อเสียเปรียบเชิงการแข่งขัน

ผู้บริหารระดับต้น มีอะไรบ้าง

ผู้จัดการระดับต้น 1. ผู้จัดการสำนักงาน, ผู้จัดการฝ่าย, ผู้จัดการแผนก 2. หน้าที่รับผิดชอบ : - ไม่ดูแลผู้จัดการอื่นๆ - การกระตุ้น, ให้การตักเตือน, และให้รางวัลตอบแทนแก่คนทำงาน

ผู้บริหารแบ่งออกเป็นกี่ระดับ อะไรบ้าง

ผู้บริหาร คือ บุคคลที่รับผิดชอบในการดำเนินงานตามกระบวนการบริหาร ประกอบด้วยกลุ่มของกิจกรรมต่างๆ อันประกอบด้วย การวางแผน การจัดการ การสั่งการ และการควบคุม สามารถแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ 1) ผู้บริหารระดับสูง 2) ผู้บริหารระดับกลาง 3) ผู้บริหารระดับปฏิบัติการ (หัวหน้างาน)

ผู้บริหารระดับสูงมีหน้าที่อะไรบ้าง

ผู้บริหารระดับสูงหรือผู้อำนวยการมีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องต่อไปนี้ขององค์กร – การปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง – การตอบสนองต่อรายงานของหน่วยงานตรวจสอบและควบคุม และ – กระบวนการบริหารและควบคุมทรัพยากรมนุษย์ การเงิน และอื่นๆ

ผู้จัดการใหญ่เป็นตําแหน่งผู้บริหารระดับใด

ผู้บริหารระดับสูง มักประกอบด้วย ผู้จัดการใหญ่ และ/หรือรองผู้จัดการใหญ่ และผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ต่างๆซึ่งมีบทบาทหน้าที่รับผิดชอบบริหารงานขององค์การโดยรวมให้สัมพันธ์ต่อสภาพแวดล้อม กล่าวคือให้การดำเนินงานตามภารกิจนั้นๆ เป็นไปได้ด้วยดีทั้งระยะสั้นและระยะยาว