การส่งเสริมสุขภาพจิตมีอะไรบ้าง

การส่งเสริมสุขภาพจิตมีอะไรบ้าง

20 ก.พ. 2020 4,679 views

การส่งเสริมสุขภาพจิตมีอะไรบ้าง

สังคมเดี๋ยวนี้เต็มไปด้วยความเครียด เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่ยังฝืดเคืองและความไม่แน่นอนของเสถียรภาพทางการเมืองไทย ทำให้คนวัยทำงานเกิดความเครียดได้ง่าย โดยเฉพาะคนที่อาศัยอยู่ในสังคมเมือง ผลที่ตามมาคือโรคทางจิตต่างๆ เช่น โรคซึมเศร้า โรคย้ำคิดย้ำทำ ไบโพลาร์ เป็นต้น อย่าปล่อยให้ตนเองตกเป็น 1 ในผู้ป่วยเหล่านั้น ถึงแม้เราจะเปลี่ยนแปลงสังคมไม่ได้แต่สามารถหลีกเลี่ยงไม่ให้จิตใจอ่อนแอจนกลายเป็นผู้ป่วยได้ด้วยตนเอง วันนี้มาพบกับ 10 วิธีสร้างความสุขตามคำแนะนำจากกรมสุขภาพจิตกัน

โดยกรมสุขภาพจิตได้ทำแบบสำรวจจากข้อมูลสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ในรอบ 3 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2558-2560 พบว่าผู้ใช้บริการมากที่สุดคือกลุ่มวัยทำงาน อายุ 22-59 ปี จำนวน 105,967 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 62 ของผู้ใช้บริการทั้งหมด169,728 ครั้ง อันดับ 1 ร้อยละ 36 คือเรื่องการกินยารักษาอาการป่วยทางจิตใจ ,อันดับ 2 ร้อยละ 28 คือความเครียดหรือวิตกกังวล เช่นกังวลเกี่ยวกับอนาคต เรื่องคนอื่น เรื่องทั่วๆไป , อันดับ 3 ร้อยละ 10 เรื่องปัญหาสารเสพติด

และเพื่อช่วยประชาชนไทยให้มีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นกรมสุขภาพจิตจึงออกประกาศแนะนำวิธีสร้างความสุขง่ายๆรายวันให้แก่ตนเองในการทำงาน มีข้อแนะนำ 10 ข้อดังนี้
1. ทบทวนถึงสิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ชื่นชมข้อดีของตนเองและผู้อื่น พร้อมเริ่มต้นวันใหม่ด้วยความสุข
2. มีอารมณ์ขันและส่งยิ้มให้กันอยู่เสมอ
3. กล่าวคำขอบคุณให้เป็นนิสัย และขอโทษเมื่อทำผิด
5. ตั้งเป้าหมายถึงสิ่งที่จะทำให้ชีวิตมีความสุข และลงมือทำให้สำเร็จ
6. หยุดคิดเล็กคิดน้อย ยอมรับข้อบกพร่องของผู้อื่น
7. จัดสรรเวลาให้สมดุล ตามหลัก 8-8-8 คือทำงาน 8 ชั่วโมง เวลาที่เหลืออีก 2 ส่วนคือการนอนหลับและให้เวลากับครอบครัว
8. ใส่ใจสุขภาพ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3-5 วัน ช่วยคลายความเครียด นอนหลับดีขึ้น หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มสุราและสารเสพติด
9. ออฟไลน์ออกจากโลกโซเชียล แล้วหันมาพูดคุย ทำกิจกรรมต่างๆร่วมกับคนใกล้ชิดและคนรอบข้าง
10. ทำงานอดิเรกที่ชอบหรือทดลองทำอะไรใหม่ๆ

ยึดหลักความพอเพียงในการดำเนินชีวิต พอใจในสิ่งที่ตัวเองมี ผลวิจัยยืนยันว่าคนทำงานที่มีความสุขจะเพิ่มผลผลิตมากกว่าคนทำงานที่ไม่มีความสุขถึงร้อยละ 20 และนี่ก็คือ 10 วิธีสร้างความสุขง่ายๆจากกรมสุขภาพจิต ดังนั้นใครกำลังจิตตกอยู่สามารถนำแนวทางเหล่านี้ไปปรับใช้กันดูได้ แต่สำหรับคนที่สภาพจิตใจดีอยู่หากทำตามแนวทางนี้ก็จะยิ่งทำให้จิตใจคุณแข็งแรงยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามใครคิดว่าตนเองกำลังจิตตกและไม่สามารถเยียวยาได้ด้วยตนเองแล้ว ขอแนะนำให้ปรึกษากรมสุขภาพจิต สายด่วน 1323

ขอบคุณข้อมูลจาก www.sanook.com

1. ยอมรับความจริง

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจว่าเหตุการณ์โศกเศร้าที่เผชิญอยู่เป็นความจริง เกิดขึ้นจริง ๆ และไม่ควรปิดกั้นการแสดงออกถึงความรู้สึกเศร้าโศก ทว่าก็ควรแสดงออกอย่างเหมาะสม พร้อมทั้งควรพูดคุยกับคนรอบข้าง เพื่อสร้างกำลังใจและแรงจูงใจซึ่งกันและกัน ประคับประคองความรู้สึกให้ผ่านพ้นความเศร้าไปให้ได้

2. อยู่อย่างมีสติ

จงดำเนินชีวิตอยู่ด้วยความมีสติ หมั่นสังเกตปฏิกิริยาทางจิตใจและพฤติกรรมของตัวเองและคนรอบข้างให้ดี หากมีอาการคิดวนเวียน วิตกกังวล ไม่อยากพบเจอใคร หมกมุ่นกับความคิดของตัวเอง นอนไม่หลับ ฝันร้าย หรือมีพฤติกรรมแปลก ๆ เช่น เริ่มพูดพึมพำกับตัวเอง เห็นภาพหลอน หูแว่ว หรือมีความคิดว่าไม่อยากมีชีวิตอยู่ ควรรีบมาพบจิตแพทย์

3. ระบายความรู้สึกออกมาบ้าง

การได้ระบายความเศร้าโศกเสียใจหรือความรู้สึกหม่น ๆ ในใจให้กับคนรอบข้างและคนใกล้ชิดบ้างจะช่วยให้ความรู้สึกเศร้าผ่อนคลายลงบ้างไม่มากก็น้อย นอกจากนี้การได้ปรับทุกข์ซึ่งกันและกันยังจะช่วยให้ต่างฝ่ายต่างเยียวยาจิตใจซึ่งกันและกันด้วยความเข้าอกเข้าใจอีกด้วย

4. พาตัวเองออกจากสิ่งที่ทำให้รู้สึกเศร้า

ถ้าความรู้สึกซึมเศร้าถาโถมจนเกินจะรับได้ไหวอีกต่อไป ควรกันตัวเองออกจากปัจจัยที่ทำให้เศร้า เช่น พยายามไม่รับข้อมูลข่าวสารใด ๆ ไม่ดูรูปภาพหรือคลิปวิดีโอที่ดูกี่ครั้งก็ร้องไห้ และควรพักใจอยู่นิ่ง ๆ กับตัวเองสักพัก

5. พยายามคิดถึงแต่เรื่องดีๆ ที่มีต่อผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสูญเสีย

หากรู้สึกคิดถึงคนที่เราเพิ่งสูญเสียไป ให้เปลี่ยนความคิดถึงไปในทิศทางบวก เช่น คิดถึงช่วงเวลาที่ดี ๆ คิดถึงภาพความสุขและรอยยิ้มของคนที่จากไป ให้เป็นความทรงจำที่ดี ๆ และพยายามดำเนินชีวิตของตัวเองอย่างปกติ

6. หมั่นฝึกสมาธิ

ในกรณีที่รู้สึกแย่ในขั้นที่กินไม่ได้นอนไม่หลับ ให้หมั่นนั่งสมาธิ ฝึกจิตใจให้สงบ และเรียกคืนสติให้กับตัวเอง

7. ปฐมพยาบาลเบื้องต้น

สำหรับคนที่มีอาการเสียใจหนักมากจนเป็นลมล้มพับ หรือรู้สึกเหมือนจะล้ม ให้หายใจลึก ๆ ช้า ๆ พยายามอย่าตื่นตระหนก พาตัวเองออกมาอยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก ดื่มน้ำเย็น และหาผ้าเย็นมาเช็ดเนื้อเช็ดตัว พร้อมทั้งดมยาดมด้วย ซึ่งการปฐมพยาบาลดังกล่าวนี้สามารถนำไปใช้ดูแลผู้อื่นที่มีอาการเศร้าโศกเสียใจจนคุมสติและร่างกายไม่อยู่ได้ด้วย


ที่มา :  คลินิกศิริราช, คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย