การฟังพระธรรมเทศนามีจุดมุ่งหมายเพื่ออะไร

ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาประจำชาติไทยเรา เรื่องของการทำบุญตักบาตร เป็นสิ่งที่เราเห็นกันมา ตั้งแต่เล็กแต่น้อย และทำสืบต่อกันมา ตั้งแต่สมัยโบราณจนกระทั้งทุกวันนี้ ถึงแม้บางครั้งในปัจจุบันนั้น จะมีข่าวเสียหาย ในเรื่องเกี่ยวกับพรสงฆ์บ้าง ก็ไม่ได้ทำให้ ศาสนาพุทธนั้น เสื่อมลงแต่อย่างใด เป็นเรื่องของบุคคลมากกว่า อยู่ที่เราว่าจะเลือกทำบุญ กับพระแบบไหนเท่านั้น

สิ่งที่คนชาวพุทธทำอยู่เป็นเนืองนิตย์ ก็คือการทำบุญ การใส่บาตร และการฟังเทศน์ที่วัด ถือว่าเป็นองค์ประกอบหลัก ที่เราเจอบ่อยๆ ในทุกครั้ง ที่เราเข้าวัดไปทำบุญ แล้วรู้กันหรือไม่ว่า การฟังเทศน์ฟังธรรมนั้น มีประโยชน์อย่างไรบ้าง และได้บุญอย่างไร เราลองมาดูกัน เผื่อในครั้งหน้า เราจะได้ตั้งใจฟังมากยิ่งขึ้น

-เป็นการเพิ่มความรู้ เป็นข้อแรก ที่เราได้และเห็นชัดมากที่สุด ในเรื่องที่เกี่ยวกับธรรมะ บางเรื่องที่เราไม่รู้มาก่อน เราก็มาได้ จากการฟังธรรมจากพระนั่นเอง และเราก็สามารถ เอาหลักธรรม ที่พระท่านเทศน์สอน เอามาปรับใช้ ในชีวิตประจำวันของเราได้ โดยที่เราไม่ต้องไปหาอ่านในหนังสือ เพราะพระท่านศึกษา และปฏิบัติตามหลักธรรมนั้น มาก่อนเราแล้ว จึงเอามาเทศน์ให้เราฟัง ทำให้เราได้เอาไปเป็นหลักการ ในการดำเนินชีวิต ให้มันมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

-เป็นการทบทวนความรู้ บางเรื่องที่เราเคยฟังไปก่อนแล้ว และอาจจะลืมไปบ้าง เราก็จะได้จำได้แม่น มากยิ่งขึ้น จากการเข้าไปฟังเทศน์ ฟังธรรมในวัดบ่อยๆ เพราะธรรมบางเรื่อง เราก็อาจจะจำไม่ได้เลย ในการฟังเพียงครั้งเดียว สิ่งที่จะทำให้เราจำได้ ก็คือการฟังซ้ำๆ หลายครั้ง เราจึงต้องหมั่นเข้าวัดอยู่เสมอ

-คลายความสงสัย ในเรื่องบางเรื่อง ที่เราสงสัย เกี่ยวกับธรรมะต่าง ๆ เราก็จะได้คลายความสงสัย เมื่อเราได้ฟังเทศน์จากพระนั่นเอง  เพราะธรรมมะ บางหัวข้อ มันก็อาจจากเกินไป ที่จะเข้าใจ การฟังซ้ำบ่อยๆ จึงทำให้เรา เข้าใจมากยิ่งขึ้น

-ปรับความเห็นให้ตรง บางเรื่อง ที่เรารู้มา หรือได้ยินได้ฟังมา ซึ่งอาจจะผิดไป เราก็จะมาได้คำตอบ ในสิ่งที่ถูกต้อง จากการฟังธรรมจากพระ เพราะพระสงฆ์ ท่านศึกษาธรรมะมาโดยตรง ซึ่งมีความแม่นยำ ในเรื่องหลักธรรม คำสอนต่าง ๆ ของพระพุทธเจ้า มากกว่าที่เราไปถามจากที่อื่น เป็นการทำความเห็นของเรา ให้ตรงตามหลักนั่นเอง

-จิตใจของเราสูงขึ้น การฟังเทศน์ฟังธรรม คือการอบรมจิตใจ คือการเปลี่ยนนิสัย เปลี่ยนความประพฤติของเราให้ดี มากยิ่งขึ้น เรื่องไหนที่เราเคยทำไม่ดี เราก็สามารถ ที่จะเปลี่ยนได้ จากการเอาหลักธรรมที่ได้ ไปปรับใช้ ในการดำเนินชีวิตของเรา ไม่ว่าจะเป็นการกระทำทางกาย ทางวาจา หรือความคิดภายในจิตใจของเราก็ตาม

จะเห็นได้ว่า การฟังเทศน์ฟังธรรมจากรพระนั้น มีประโยชน์อย่างมาก ที่จะช่วยทำให้เรา เป็นมนุษย์ ที่สมบูรณ์แบบ มากยิ่งขึ้น และเป็นการสั่งสมบุญของเราด้วย เหนือสิ่งอื่นใดเลย คือทำให้เราเป็นคนดีนั่นเอง เป็นการขัดเกลา ทั้งกาย และใจของเรา ให้มันสะอาดกว่าเดิม

            ��ػ��ҡ�����ҧ�ѹ���Ҿ㹾ط���ʹҹ�� ����ѹ���ҾẺ���ͪ���š����ѹ���Ҿ��ҧ� �������� � ��е�ͧ������ҧ�� ��ͧ���ѡ����͡�� ����Դ�ѹ���Ҿ��駢�ҧ���Т�ҧ�͡ ���͹㹾�оط���ʹ�������оط�������ҧ��� ���������ҹ���繡������ҵ� ���¡�͹���¡��ý֡�Ե�����ǹ� �Ѩ�غѹ���¡�����ҹ �����ǹ��ըش������� � �. ��� ���Ҵ ʧ� ���ҧ �Ե���Ҵ�����ӹҨ��� ʧ������ӹҨ��Ҹ� ���ҧ���¡����ѭ�������ҷѹ������ԧ ��ҵ�ͧ�Ѳ�ҨԵ����Ƿҧ��� �������㨡�˹����Ե�Դ�س����٧��� �Ե����Դ����ʧ������ ��觨Ե�ͧ��Ҷ��������֡�����èн֡������ �Ե���֡�����������Ӥ����آ������ԭ���������Ңͧ��觡�����觷����������ͧ������������ ��Ե������֡�Ӥ����Ժ����赹�ͧ�ҡ�����ѵ�ټ������÷���������ա

ต่อไปนี้ ทายกทายิกาทั้งหลาย มีผู้ประธานมาจากยโสธร ก็มาเพื่อนมัสการ มากราบไหว้ด้วยเครื่องสักการะทั้งหลาย และก็มีความมุ่งหวังอยากจะมารับศีลรับพร ฟังพระธรรมเทศนาตามกาลตามเวลา ต่อไปนี้จงตั้งใจ…

การฟังธรรม เป็นประเพณีของเราชาวพุทธทั้งหลายที่อยู่ในเมืองไทย และ “การฟังธรรม” ก็คือมาทำเพื่อให้มีประโยชน์นั่นเอง การฟังธรรมในสมัยก่อนนี้ โดยมากชาวญาติโยมเราทั้งหลายนั้น โดยมากก็ฟังธรรมเอาบุญกัน เมื่ออาตมายังเป็นเด็กๆ พ่อแม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ถึงวันพระ วันธรรมสวนะก็ไปฟังธรรมกัน… ไปฟังธรรมเอาบุญกัน คือ ไปแล้วก็สมาทานศีล แล้วก็อาราธนา…เทศน์ แล้วก็ฟังธรรม ญาติโยม แต่ก่อนน่ะขาดการศึกษาว่า ฟังธรรมเพื่ออะไร?… เพื่อเอาบุญน่ะ จึงนั่งฟัง ผู้เทศน์ก็เทศน์ให้ฟังเรื่องอะไรต่างๆ ก็ไม่ค่อยจะรู้เรื่อง ไอ้ผู้นั่งฟังก็นั่งฟังจะเอาบุญเท่านั้นแหละ คือได้ยินเสียง ก็เรียกว่ามันเป็นบุญ นั้นเรียกว่า ฟังธรรมเอาบุญกัน

ในสมัยต่อมาปัจจุบันนี้ การศึกษามันเจริญขึ้น ความรู้สึกนึกคิดของพวกญาติพี่น้องทั้งหลายเป็นต้น มันก็วิ่งขึ้นสู่ความเจริญ…ความฉลาด ดังนั้นการฟังธรรม มันจึงเลื่อนขึ้นไปหาเหตุผล ในปัจจุบันนี้ควรจะฟังธรรมเพื่อหาเหตุผล เพื่อให้เกิดปัญญา ว่าอะไรมันเป็นอะไรกัน ฟังธรรมเพื่ออะไร? ฟังแล้วมันเป็นอย่างไร? มีอานิสงส์อย่างไร? จิตใจเราเป็นผู้ศึกษา มันถึงรู้อย่างนี้

ฉะนั้น แต่ก่อนบรรพบุรุษเราทั้งหลาย เมื่อจะเทศน์ ก็หาตำรับตำราตัวหนังสือมาอ่านให้ฟัง แต่ในสมัยนี้คนเรียนรู้กันมาก อ่านหนังสือก็คล่องกว่าพระ ข้าราชการทั้งหลายมา นั่งฟัง ถ้าจับหนังสือขึ้นมานั่งอ่านให้ฟัง ฟังแล้วเขาง่วงนอน แล้วเขาก็หนีไป…เขารำคาญเขา โดยมากพระมาบวชก็ไม่ค่อยคล่องในอักษรพยัญชนะ อ่านก็ไม่ค่อยจะถูก อย่างนั้นเป็นต้น… เขารำคาญ ก็แปลว่ามิได้ผลอันใดเลย ดังนี้

ยกตัวอย่างเช่นว่า ที่เราทำกันนี้น่ะ ไม่ใช่อื่นไกลหรอก ไอ้ของดีน่ะ…อย่างวันนี้ มาถึงแล้วก็อาราธนาศีล…ศีลนี่ตัวสำคัญล่ะ เราสมาทานศีลกันมา ตั้งแต่ดึกดำบรรพ์มาแล้ว แต่ไม่มีใครจะสนใจว่า ศีลนี้มันคืออะไร? แล้วการเดือดร้อน ทุกวันนี้มันเป็นเพราะอะไร? ไอ้ความเจริญงอกงามรุ่งเรืองนี้ มันเกิดขึ้นมาเพราะอะไร? ไอ้ความที่มันเดือดร้อนเกิดขึ้นมาใน กลุ่มน้อยกลุ่มใหญ่ทุกวันนี้ เป็นเพราะว่าอะไร?…เพราะว่าความเห็นมันผิด ถ้าความเห็นมันผิด พูดมันก็ผิด…คิดมันก็ผิด…ทำมันก็ผิด ถ้าความผิดนั้นมันเกิดในกลุ่มใด กลุ่มนั้นก็เสียหายความถูกต้อง

เมื่อเสียหายความถูกต้อง พุทธศาสนาก็ตั้งขึ้นไม่ได้ ก็แปลว่า เราอยู่นอกธรรมะคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ถึงแม้ว่าพวกเราจะฟังธรรมกันสักเท่าไรก็ตาม บุญมันก็ไม่เกิด… ทำไม? เหมือนกับว่า เท้าเราไปเหยียบหนามอยู่ในป่า มันก็ปวดเจ็บอยู่นั่นแหละ ถ้าไม่บ่งเอาหนามออกแล้ว ไอ้ความปวด เจ็บก็ไม่หาย มันก็ยอกอยู่อย่างนั้นแหละ

เราฟังธรรมกัน เราสมาทานศีลกัน อะไรต่ออะไรกัน ตั้งหน้าทำบุญกัน แต่มีความเดือดร้อน…เป็นเพราะอะไร?… ตรงนั้นมันไม่ถูกความดีความงาม ไม่ถูกต้อง… มันผิด ก็เพราะมันไม่สงบ มันไม่ระงับ การกระทำ บุญ การกระทำความดี ทุกวันนี้มันก็แปลก อย่างที่ พระพุทธเจ้าท่านว่า ทำดีมันได้ดี ทุก วันนี้มันเปลี่ยน… ทำดีมันก็ไม่ได้ดี ถ้าทำชั่วมันดีกว่ามาก นี่มันเป็นความคิดของบุคคลที่ปัญญามันน้อย

ดังนั้น บุคคลไปทำงานในกลุ่มหนึ่ง ทำดีเหลือเกิน เช่นเป็นผู้จัดการ เป็นผู้อำนวยการ หรือเป็นครูใหญ่ เป็นประธานอะไร ทำดีที่สุดแต่ว่าไม่ค่อยจะได้ดี อย่างนี้ มีคนนินทา มีคนติเตียน มีคนเบียดเบียน ทำไปทำมาก็ไม่ค่อยจะได้ดี มีแต่คนติฉินนินทาทั้งนั้น…อย่างนี้ท้อใจ…ท้อใจทำไม?… ท้อใจเพราะคิดว่า พระพุทธเจ้าว่า ทำดีได้ดี เมื่อเรามาทำดี ทำไมมันไม่ได้ดี บางทีก็ด่าพระพุทธเจ้าด้วยว่า พระพุทธเจ้าโกหกน่ะ นึกว่าพระพุทธเจ้าสอนผิด ความจริงตัวเรา…เรานี่แหละมันผิด มันคิดไม่ถึง

ไอ้ความดีมันจะเกิดขึ้นนั้น เราลองคิดดูซิว่ามันเป็นยังไงนะ…ไอ้ความดีมันจะเกิดขึ้น มันจะพร้อมทั้งกาล…ทั้ง เวลา…ทั้งบุคคล…ทั้งกลุ่มชนทั้งหลายด้วย ไอ้ความดีจึงเกิดขึ้นมา ดูเช่น นาเราเป็นต้น ยิ่งเปล่าประโยชน์ไปเลย ไปทำดีตรงนั้น มันก็ไม่ได้ดี ถ้าหากว่านามันดี กล้ามันดี…มันก็ดี นามันดี กล้ามันดี…เจ้าของขี้เกียจ มันก็ดีไปไม่ได้ ดังนั้น ท่านจึงพูดอย่างถูกต้องว่า ไอ้ความดีนั้นมันเกิดจากการกระทำดี ไอ้ความดีมันจะโผล่ขึ้นมา มันจะต้องปราศจากอันตรายทั้งหลายทั้งปวง มันจึงเกิดความดีขึ้นมาได้ในตรงนั้น

ดังนั้น พระพุทธเจ้าท่านจึงตรัสว่า ใครทำดีมันก็ได้ดี ใครทำชั่วมันก็ได้ชั่ว เมื่อเราตั้งใจทำดี ไปทำงานในกลุ่มคนไม่มีศีลธรรม…ไม่มีศีล…ไม่มีอะไรที่สมบูรณ์ ดีนั้นมันก็เกิดขึ้นไม่ได้ ทำไมมันเกิดขึ้นไม่ได้ ถึงแม้เราทำดีสักเท่าไรก็ตาม ดีที่ตรงนั้นก็เกิดขึ้นไม่ได้…ทำไม?… เพราะกาลมันไม่ให้…เวลามันไม่ให้ กลุ่มชนมันไม่ให้ ทำดี ดีก็เกิดขึ้นไม่ได้ อย่างนี้เป็นต้น ความเป็นจริงนั้น ความดีมันจะเกิดขึ้นมาได้เพราะการกระทำดี สถานที่ก็ดี…เวลาก็เหมาะสมด้วย กลุ่มชนบุคคลก็พร้อมบริบูรณ์ ไอ้ความดีนั้นมันถึงจะเกิดขึ้นมา ไอ้ความว่า…ความดีน่ะ…ทำดีมันก็ได้ดี ทำชั่วมันก็ได้ชั่ว ยังคงที่อยู่ พระพุทธเจ้าท่านพูดถูกต้องดีแล้ว มันเป็นเพราะเราเอง

ฉะนั้นบรรดาสาธุชนทั้งหลายทุกวันนี้ เมื่อเป็นมนุษย์ เกิดขึ้นมาพบพระพุทธศาสนานี้ พระพุทธองค์ท่านว่า มันหาได้ยาก เกิดมาได้ยากเหลือเกินที่จะเป็นมนุษย์นี้ เกิดมาเป็นสัตว์เดรัจฉาน มันมากเกินไปล่ะ นี่มันก็ขัดแย้งกับความเห็นมนุษย์ทุกวันนี้ ว่ามันจะเกิดมายากยังไง มนุษย์มันเกิดทีละสองก็ได้ เยอะแยะไป มีแต่มนุษย์ทั้งนั้นแหละ เมืองไทยมันจะมากไปนะมนุษย์ เพราะเราไม่รู้ว่า แก่นมนุษย์มันคืออะไร? เปลือกมนุษย์มันคืออะไร? ต้นไม้ในป่านี่น่ะ ไอ้สิ่งที่ใช้ประโยชน์ได้มันมีกี่ต้น สิ่งที่มันไม่เกิดประโยชน์มันมีกี่ต้น แต่มันก็เรียกชื่อว่าต้นไม้เหมือนกันทั้งนั้น เราจะให้ชื่อว่า ต้นไม้ มันก็มากซิ ไอ้ต้นไม้ที่เป็นประโยชน์มันมีกี่ต้น ในวัดหนองป่าพง เนี้ย…

คนเราน่ะ…เป็นคนเหมือนต้นไม้…ก็เป็นต้นไม้ คุณสมบัติของต้นไม้ไม่มี มันก็เกิดประโยชน์ไม่ได้ มนุษย์เราทั้งหลายที่เกิดมานี้ก็เหมือนกัน นั่งอยู่ในกลุ่มนี้…นอกกลุ่มนี้ก็เหมือนกัน แต่…จิตใจซิ…แก่นมนุษย์ที่มันเกิดจากจิตใจ คุณสมบัติของมนุษย์ไม่มี มันก็ไม่เป็นมนุษย์ ดังนั้น พระพุทธเจ้าท่านจึงบอกว่า เราจะเกิดมาเป็นมนุษย์นี่มันยากแสนยาก เรามองดูด้วยตาเนื้อของเรา เห็นแต่มนุษย์กันทั้งนั้นในโลกนี้ ไม่เห็นมันเกิดยากอะไร มันง่ายที่สุดเลย ทำไมพระพุทธเจ้าท่านว่ามนุษย์มันเกิดยาก

เราก็คิดดูเข้าไปอีกซิว่า เมืองยโสธรเราน่ะ เมืองวารินเราทุกๆบ้าน โดยเฉพาะคนที่มีศีล ๕ สมบูรณ์บริบูรณ์ คือมนุษย์ที่สมบูรณ์บริบูรณ์นี้มันมีกี่คนนะ ถึงแม้จะมาฟังธรรม อยู่บ่อยๆเป็นต้น บางทีก็ฟังแต่หูเรา ใจฟังไม่เป็นนะ มันก็เป็นร่างกายเป็นมนุษย์ แต่จิตใจมันไม่เป็นมนุษย์ แต่เป็นมนุษย์โดยตาเนื้อของเขา เราก็เห็นเป็นมนุษย์ทั้งนั้นแหละ และอาตมามานึกว่า ไอ้มนุษย์นี่กับขี้ขโมย มันก็ไม่เหมือนกันนะ มันมีแข้งมีขา มีอวัยวะเหมือนกัน แต่จิตใจมันต่างกัน มันจึงมีการประพฤติปฏิบัติต่างกัน การประพฤติปฏิบัติต่างกัน มันก็มีเหตุต่างกัน เมื่อมีเหตุต่างกัน ผลจะได้รับก็ต่างกันทั้งนั้น

ดังนั้น มนุษย์มันจึงไม่เหมือนกันที่ตรงการกระทำนี่เอง ท่านจึงว่ามันหาได้ยาก มนุษย์เราทั้งหลายนี่ ทั้งๆเรานับถือพระพุทธศาสนาโดยวาจาสัตย์อย่างนี้ จิตใจเรานี่น่ะ จะพยายามรักษา อย่างบ้านเราเมืองเรา ไปที่ไหนจะให้บุญจะให้ทาน ทำบุญสุนทานทุกประการ คนแก่ คนประชาชนในกลุ่มก็ว่า มะยัง ภันเต เลย เป็นต้นนะ ของดีๆทั้งนั้นแหละ แต่ว่ามัน มะยัง ภันเต มาหลายหมื่นหลายครั้งแล้วนะ มันก็เลยเฉยๆซะ มะยังก็มะยังไปเถอะ ข้าพเจ้าไม่ยังด้วยแหละ บางทีสมาทานศีลแล้วก็ไปกินเหล้ากัน อาตมาเคยเห็นเหมือนกัน สังเกตดูในบ้านเมืองทุกวันนี้ จะต้องเป็นอย่างนั้น

ดังนั้น ศีลมันก็เหลือแต่ชื่อ ธรรมมันก็เหลือแต่ชื่อ เพราะการปฏิบัติเรามันไม่มี มันไม่มีศีล ไม่มีธรรม ถ้าหากว่า เรามีศีลมีธรรมจริงๆ ถ้าเกิดมนุษย์พร้อมๆกันทั้งกายทั้งจิตของเราแล้ว เราจะอยู่ที่ไหนมันก็สบาย มันมีความสงบ มันมีความระงับ…ทำไม?…คือศีลทำคนให้พ้นจากความผิด ถ้าคนพ้นจากความผิด มันก็ไม่มีความผิด ถ้ามันไม่มีความผิด มันจะเป็นอะไร?…มันก็มีความถูกต้อง ถ้ามันมีความถูกต้อง ก็ลงสู่ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นเอง มันก็มีความสงบระงับเท่านั้น

การกระทำดูไปมันมาก การเรียนมันมาก การสมาทานศีลนี้มันก็มาก แต่ว่าศีลจริงๆไม่ค่อยจะมีกันนะ นี้ เป็นเหตุที่ว่าเราอยู่ใกล้เกินไป ไม่ได้รับไม่ได้พิจารณาอะไร ไอ้ความเป็นจริงนั้น ของดีๆนั่นก็มีอยู่แล้ว ไอ้เรื่องไม่เบียดเบียนกันนี่ มันดีเหลือเกินนะ เรื่องปราศจากความเมานี้ มันดีเหลือเกินนะ มันดีทุกประการแหละ…มันดีแล้ว เราทั้งหลายน่ะสมาทานของดีๆทั้งนั้น ก็เหมือนเราจับผลไม้ที่มันมีหวาน แล้วก็มีหอมด้วย แต่มือของเรามันไม่รู้รสของผลไม้ เพราะว่าทำไม่ถูกต้องกัน คือไม่เอาเข้าที่ลิ้นเรา ไม่เอาเข้าที่ปากเรา มือเรามันไม่รู้รส ผลไม้ที่มันหวานเราก็ไม่รู้จักที่มือนะ มันเปรี้ยวเราก็ไม่รู้จักที่มือของเรา มันรู้จักที่ปากของเรานี่เอง

ดังนั้น ธรรมะนี่ก็เหมือนกัน…มันไม่รู้เพราะการเรียน มันต้องรู้ซึ้งเพราะการปฏิบัติ การปฏิบัติของพวกเรานี้มันมีน้อย…มันจึงไม่เกิด ดังนั้น ฟังธรรมก็อย่างนั้นแหละ สมาทานศีลก็สมาทานกันจนเบื่อแล้ว จนกว่าว่าจะมีงานการอะไร เกิดขึ้น…จะนิมนต์พระเทศน์ให้ฟัง ก็ว่าเวลามันน้อย อย่าเทศน์มากเลย นิมนต์พระคุณท่านให้โอวาทซักนิดหนึ่ง …เอานิดเดียว ไม่เอามาก พระท่านก็ขึ้นเทศน์ ไอ้นิดเดียวน่ะจะทำยังไง ไอ้แกงมันจาง…จะเอาเกลือไปนิดเดียว มันจะพอมั้ย? อย่างเราหิวข้าว…ไปกินข้าวซักนิดนึง…ดีมั้ย? หิวน้ำ…ไปกินน้ำซักนิดหนึ่ง อย่างนี้มันมีประโยชน์อะไรมั้ย? ฟังก็นิดๆ…ปฏิบัติก็นิดๆ อะไรก็นิดทั้งนั้นแหละ หมดนิดมันก็หมดเท่านั้น มันจะดีอะไร ดังนั้นประโยชน์ที่แท้จริงมันจึงไม่เกิดกับพวกเราทั้งหลาย โดยมากก็เพื่ออะไร? เพื่อจะให้โอกาสได้เต้นรำทำเพลง เพื่อจะดูรำดูฟ้อน จะกินเหล้าเมายากัน หาโอกาสให้มันมาก นิมนต์พระเทศน์ให้ฟังซักนิดนึง พอท่านเทศน์สักนิดนึง บางทีมัน มันเมา…ก็บอกว่า เออ…หลีกทางท่านพระอาจารย์เถอะ ท่านจะออกไปแล้ว ไล่พระทางอ้อมซะแล้ว จะให้พระหนี เรียกว่าไอ้ความคิดเช่นนี้น่ะ จิตใจของเรามันไม่ถึงธรรมะ ถ้ามันถึงธรรมะแล้ว มันก็ออกจากธรรมะได้ยาก

ฉะนั้น ความดีจริงๆของเราทั้งหลายนั้น เราพูดกัน อยู่ทุกวัน ลองคิดดูก็ได้ ไม่ต้องยกไปหาท่านอินทร์ ท่านพรหมยมราชหรอก…มันไม่เห็น พระพุทธเจ้าท่านไม่สอนไปตรงโน้นหรอก ท่านสอนที่มันเห็นๆอยู่นี่แหละ ให้มันรู้ตามความเป็นจริง เช่นว่า ศีล ๕ ประการนี้ เป็นคุณสมบัติของมนุษย์ ที่แท้…ที่แท้จริงๆทีเดียวแหละ การไม่เบียดเบียนกัน การไม่พยาบาทกัน การไม่อิจฉาอะไรต่างๆกัน นี้มันก็มีความเยือกเย็นเท่านั้นแหละ แม้ในกลุ่มชนหมู่ใดเป็นอย่างนั้น มันก็สบาย ในครอบครัวใดเป็นอย่างนั้นมันก็สบาย

ท่านจึงว่า มนุษย์มันเกิดได้ยาก อย่างเราเกิดมาแล้ว อย่างนี้ จะเกิดมาเป็นมนุษย์ก็ต้องมีคุณธรรมอีกชั้นหนึ่งนะ มันถึงจะเกิดมาเป็นมนุษย์ได้ เกิดมาเป็นผู้ไม่มีศีล ก็เป็นมนุษย์ที่ไม่มีศีล จะต้องให้มนุษย์ที่มันทุศีลน่ะ ตายไปเกิดใหม่ ฝึกจิตใจจนเห็น ให้มันเกิดใหม่ จนกว่ามันอายต่อบาป มันอายต่อความชั่ว มันอายต่อความผิดทั้งหลาย แล้วมาตั้งอยู่ในความที่ไม่ผิด คือเป็นคนตั้งอยู่ในศีลธรรม เป็นต้น นี่เรียกว่า มันเกิดขึ้นมาใหม่ แต่ละบ้านๆทุกวันนี้ ปีหนึ่งมันจะเกิดมา สักคนมันก็ยากเหมือนกัน อย่างเมืองยโสธร ปีนี้คงจะเกิดไม่ถึง ๑๐ คน แต่มันเกิดเป็นสัตว์น่ะมากนับไม่ถ้วนทีเดียวแหละ เป็นอย่างนี้ ให้เราพิจารณาดีๆ

ดังนั้น พระพุทธเจ้าท่านจึงตรัสว่า มนุษย์จะเกิดมา เป็นมนุษย์นี่มันยาก เกิดมาเป็นมนุษย์แล้ว จะได้เป็นมนุษย์ นี่ก็ยาก…มันยากจริงๆ ถ้ามามองเห็นโดยตาเนื้อของเรา ว่ามนุษย์มันเกิดเยอะแยะไป เกิดทีละสองก็ได้ ทีละคนก็ได้ เกิดทุกๆปีก็ได้ ไม่เห็นมันยากอะไรนะ ถ้ามองขนาดนี้ก็จริง… มันจริงอย่างนี้ แต่ว่ามันเป็นกากของมนุษย์ มันเป็นเปลือกของมนุษย์เท่านั้น ยังไม่ใช่มนุษย์ที่แท้จริง

มนุษย์ที่แท้จริง มันมีคุณสมบัติ อย่างมีศีล ๕ นี้ เป็นต้น ถ้าบ้านหนึ่งๆมีคนรักษาศีล ๕ โยมผู้หญิงก็ดี โยมผู้ชายก็ดี ไม่กล้าจะทำ…กลัว กลัวมันจะไม่บาป…กลัวความดีจะ เกิดขึ้นมา ถ้าเรากลัวความดีอย่างนี้ มันจะได้ดีที่ไหนเล่า เราจะดีแต่กราบไหว้ ให้พวกข้าดี ให้พวกข้าถึงสุข พูดเอาเท่านั้น มันจะพอมั้ย? เมื่อเราปรารถนาความดี วาจาเราก็ต้องพูดอย่างนั้น คิดอย่างนั้น การกระทำก็ต้องเป็นอย่างนั้น มันต้องพร้อมกัน ความดีมันถึงจะเกิดขึ้นมาในที่ตรงนั้น

ไอ้ความดีมันจะเกิดขึ้น ไม่ใช่เพราะการนึกเอา… คิดเอา…ปรารถนาเอา กายปณิธาน…ความปรารถนาทางกาย วจีปณิธาน…ความปรารถนาทางวาจา มโนปณิธาน…ความปรารถนาทางใจ กายก็ทำ วาจาก็ทำ ใจก็ทำ นี้ท่านเรียกว่า มันพร้อม ทำดีมันก็ได้ดี ทำชั่วมันก็ได้ชั่วจริงๆ คำสัตย์อันนี้ยังแน่นอนอยู่ปัจจุบันนี้ มิเช่นนั้นคนเราทุกวันนี้มันเมาหลาย… มันเมาไม่รู้เรื่อง ของดีๆที่เราจับไปจับมา พูดไปพูดมา แต่ว่าไม่ทำ ผลไม้ที่มีรสชาติเอร็ดอร่อยอยู่ในมือของเรา มันก็ไม่รู้จักการเอร็ดอร่อย รู้จักแต่ว่าผลไม้เท่านั้นแหละ รสเรายังไม่รู้จักเพราะเรายังไม่ได้ทานดู อันนี้ก็เหมือนกันฉันนั้น เราพูดไปๆ แต่ว่าข้อปฏิบัติเรามันยังไม่มี ทำไมมันถึงมีไม่ได้…จะปฏิบัติ คนมันกลัว กลัวความชั่วมันจะหลุดออกไปจากใจของเรา กลัวความดีมันจะเกิดขึ้นในใจของเรา แต่ไม่กล้ากระทำเช่นนั้น ก็นึกว่ามันจะดี แต่ทนไม่ไหว อย่างนี้

ทุกวันนี้ ถ้าเราต้องการความดี เชื่อความดี เราก็ได้ดีเดี๋ยวนี้ ไม่ต้องอื่นไกล…ดูซิ คนทำความดีทำไมมันยากหลาย ก็เพราะมันรักความชั่วอยู่นั่นเองแหละ… ไม่ใช่อื่นไกลหรอก คือ…ต้องการความดีอยู่ แต่ไม่ยอมทิ้งความชั่ว ก็เท่ากับว่ามันรักความชั่วอยู่นั่นเอง มันกลัวความดีนั่นแหละ ถ้าพูดกันง่ายๆตรงไปตรงมา มันก็ต้องเป็นอย่างนั้น แต่ความคิดจิตใจของมนุษย์ มันไม่เป็นอย่างนั้น มันไปไม่ไหว เพราะอะไร? ก็เพราะความเห็นยังไม่ถูกต้อง ปัญญายังไม่มี

เช่นว่า ก้อนหินก้อนหนึ่ง มันหนักประมาณสักสามกิโลอย่างนี้ ให้เด็กๆสักขวบหนึ่งมายก…มันก็หนัก อย่างพวกเรา เป็นคนโตไปยกมันก็เบา ก็ก้อนหินอันเดียวกันนั่นแหละ คนหนึ่งไปยกมันเบา คนหนึ่งไปยกมันหนัก ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น ถ้าหากว่าก้อนหินมันเบา…ก้อนหินมันหนัก เอาไปชั่งดูก็ยัง ๓ กิโลอย่างเก่า แต่เอาเด็กไปยก…มันหนัก เอาผู้ใหญ่ไปยก…มันเบา มันเป็นเพราะอะไร? มันเป็นเพราะคนหนึ่งกำลังมันน้อย คนหนึ่งกำลังมันมาก

ไอ้ความคิดปัญญาของเรา เป็นต้น เราจะรับเอาศีลธรรมมาปฏิบัติ ว่ามันยาก ก็เพราะกำลังใจของเราไม่เพียงพอ ศรัทธามันประกอบไปด้วยปัญญา พิจารณาแล้วมันก็ง่ายขึ้น ก้อนหินก้อนนั้น ถึงแม้มันจะหนัก ๓ กิโล ถ้าเรามีกำลัง มันก็เบา ถ้าคนไม่มีกำลัง มันก็หนัก นี่ก็ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน… ทำไมถึงทำไม่ได้?… เพราะยังไม่คิดตามความเป็นจริง รู้ไม่ถึง รู้…รู้ไม่ถึงความจริง มันถึงเป็นอย่างนั้น ถ้ารู้ถึงความจริงแล้ว ก็เป็นของไม่ยากเย็นอะไร เป็นของไม่ลำบากอะไรหนักหนา ถ้าเรามีศรัทธา

ฉะนั้น การฟังธรรมทุกวันนี้ของมนุษย์พุทธบริษัททั้งหลาย จงฟังเพราะให้เกิดปัญญา ฟังแล้วเอาไปคิดดูซิ…เอาไปคิดให้มันถูกต้อง ถ้ามันคิดถูกต้องดีแล้วนะ มันจะมีความผิดอยู่ในที่นั้น จะมีความถูกอยู่ในที่นั้น มันจะมีความคิดขัดแย้งอยู่ที่นั้น มีการแก้ไขอยู่ที่นั้น เช่นว่า เรามีไม้สักเมตรนึง ไปแหย่เข้าไปในรูที่ลึกสองเมตร ไม้มันก็ไม่ถึง นี่เราจะโทษอะไรมั้ย? โทษว่าไม้มันสั้นหรือ…ก็ได้ หรือจะโทษว่ารูมันลึกก็ได้ บางทีเราก็เห็นว่า เออ…รูมันลึกไป…ไปให้ข้างเดียวนะ ไอ้ไม้ เราที่แหย่มันสั้น…มันไม่เห็น เราทำไม่ได้ ก็นึกว่าธรรมะมันลำบากเกินไป เพราะเราไม่มีปัญญาจึงคิดอย่างนั้น เห็นว่าแต่ รูมันลึก…เห็นว่าแต่ไม้เรามันสั้นเท่านั้น ถ้าเอาไม้ยาวๆมา รูมันก็ตื้นเท่านั้นแหละ มันไม่ลึกหรอก

อันนี้ก็เหมือนกันฉันนั้น ธรรมะเป็นของทำยาก เพราะเราไม่พินิจ…ไม่พิจารณาตามความเป็นจริง ถ้าเราพิจารณาตามความเป็นจริงแล้ว ก็ไม่เป็นของยากอะไร ไอ้ของที่ยากเกินไปน่ะ พระพุทธเจ้าท่านไม่สอนไว้หรอก ท่านไม่ประทานโอวาทไว้หรอก เพราะมันไม่มีประโยชน์ พระพุทธเจ้าเป็นผู้สร้างประโยชน์ ประโยชน์ตนท่านก็สร้าง ประโยชน์คนอื่นท่านก็สร้าง หาแต่สิ่งที่เกิดประโยชน์มาไว้ในโลกอันนี้ให้คนศึกษา ถ้าท่านพูดสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ พระพุทธเจ้าก็โง่เท่านั้นแหละ จะมีอะไร

ถ้าให้ปฏิบัติธรรมะ ทั้งพุทธบริษัท ทางพระก็ดี ทางโยมก็ดี ถ้าให้มาประพฤติให้มันถูกต้อง ก็เห็นว่ามันตึงไป อยากได้ของหย่อนๆน่ะแหละ อะไรทุกอย่าง…จะประพฤติศีลธรรม เหมือนกัน ชาวโลกญาติโยมเราก็ว่าให้มันแก่ก่อนเถอะ หนุ่มๆ อย่าเพิ่งไป ให้มันแก่ก่อน ไม่เห็นคนแก่หรือ ในเมืองยโสธรเรา คนแก่เห็นมั้ย?…นั่งลงก็โอย…ลุกขึ้นก็โอย หูก็ไม่ได้ยิน ตาก็ ไม่สว่าง อย่างนั้นยังหลับตาว่า ให้คนแก่ทำ คนแก่จะไปทำ อะไรได้มากมายเล่า เมื่อเรามีราคา…หนุ่มๆ หูดีตาดีอย่างนี้ ไม่อยากจะเอาว่าให้มันแก่ก่อนเถอะถึงจะทำกัน เห็นมั้ย… เมืองยโสธรคนแก่ๆ ดีมั้ย อาตมาเห็นเมืองวาริน วารินเมือง อุบลฯ เรานี่ คนแก่เห็นจะไม่รู้เรื่องอะไรนะ นั่งก็ลำบาก…นอน ก็ลำบาก…ไปที่ไหนมันก็ลำบาก มันเป็นเสียอย่างนี้

ดังนั้น พวกท่านทั้งหลาย จงพากันเปลี่ยนความคิด เปลี่ยนความรู้สึกของเราใหม่เถอะ ว่าแก่นั้น…มันจะแก่แล้วล่ะ เมื่อแก่เราจะทำการงานอะไรได้ เมื่อมีกำลังกายคล่องแคล่ว ก็ทำมันเสีย ทำไปเรื่อยๆ ไม่ใช่ว่าการปฏิบัติจะมานั่งหลับตาอยู่ที่วัด จะมาเดินจงกรมอยู่ที่วัด จะมาเอาอะไรอยู่ที่วัด อันนั้นเป็นความเห็นผิด การปฏิบัตินั้นน่ะมันอยู่ที่…เราจะยืนให้ เรารู้เราอยู่… จะนั่งให้เรารู้สึกเราอยู่ อยู่เดี๋ยวนี้ เราทำงานอะไร?… เราคิดอะไรอยู่?…ไอ้สิ่งที่เราคิดมันถูกต้องมั้ย?…ไอ้การที่เราทำเดี๋ยวนี้มันถูกต้องไหม?… มันเบียดเบียนตัวเจ้าของหรือเปล่า?…มันเบียดเบียนคนอื่นหรือไม่? เราจะต้องคิดอย่างนี้ตลอดไป ที่เราทำอย่างนี้มันถูกต้องหรือเปล่า เป็นต้น

อย่างนั้นก็ต้องพูดใหม่ว่า… โยมอยู่ในบ้านก็ต้องปฏิบัติ บางคนก็พูดว่า แหม…พระคุณท่าน ฉันไม่มีเวลา…มี แต่การงานทั้งนั้นแหละ เลี้ยงลูก เลี้ยงหลาน ทำการทำงาน สอนหนังสือเป็นครูโรงเรียน ไม่มีเวลา อ้าว… เมื่อครูสอนนักเรียน อยู่ในโรงเรียน ครูได้หายใจไหม?…มีโอกาสหายใจ มั้ย?…เอ้า…ก็หายใจ อันนั้นทำไมมีโอกาสล่ะ ถามที่ตรงนี้เขาเลยไม่พูดนะ

ทีนี้จะพยายามปฏิบัตินี่ ไม่ใช่อะไร ให้มีความเห็นให้ มันถูกต้อง เรื่องจิตของเราน่ะ เราจะเขียนหนังสืออยู่…ถ้าเรามีภาวนาอยู่ มันก็ดีขึ้น แม้เราจะพูดอยู่ ถ้าเรามีภาวนาอยู่ พูดมันก็ดีขึ้น เมื่อเราทำการงานอยู่…เราภาวนาอยู่ การงานมันก็ดีขึ้น แต่เขาเข้าใจว่า ไปทำการงาน…จะภาวนา ไม่มีโอกาสจะเขียนหนังสือ…จะไปภาวนาไม่มีโอกาส อาตมาว่ามันมีโอกาสมากไป แต่เราไม่มีปัญญา มันจึงหาโอกาสไม่พบ เราทำอะไรอยู่ทุกอย่าง ถึงนอนอยู่ เราก็มีโอกาสหายใจอยู่ นั่งอยู่ ก็มีโอกาสหายใจ ยืน เดิน นั่ง นอน มีโอกาสหายใจ ทำไมมัน ถึงมีโอกาสหายใจได้ คุณต้องเข้าใจเสียใหม่ว่า โอกาสที่จะประพฤติปฏิบัตินี้ มันมีอยู่ทุกขณะ นอกจากเราตายไปแล้ว

เราจะทำไร่ก็ดี…ทำนาก็ดี อะไรๆอยู่ก็ดี ให้เรารู้จัก ความผิดชอบอยู่ในปัจจุบันนี้…ว่าเราคิดอย่างไร? ไอ้ความคิด นั้นมันถูกต้องหรือเปล่า? เบียดเบียนตน เบียดเบียนคนอื่นหรือเปล่า? ให้เราคิดให้มันได้ และการพูดของเราเดี๋ยวนี้ เราพูดถูกหรือเปล่า? การพูดนี้มันเบียดเบียนตนหรือเปล่า เบียดเบียนคนอื่นหรือเปล่า? ไอ้คำพูดเช่นนี้มันมีประโยชน์ หรือไม่มี ประโยชน์? ก็ให้เราคิดอย่างนี้ กระทำอย่างนี้ ก็เรียกว่า…มีความรู้สึกเฉพาะรู้ผิดชอบตัวเอง อันนี้ก็เป็นการเรียกว่า ภาวนาตามรักษาตัวอยู่ ผิดเราก็รู้จัก ถูกเราก็รู้จัก ดีเราก็รู้จัก ชั่วเราก็รู้จัก เมื่อมันผิด…เรารู้ว่ามันผิด ก็พยายามเขี่ยๆมันออกไป

ดังนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นต้น ท่านจึงศึกษาอยู่ในโลกนี้ เขาจะนินทาท่านก็ดี…ดียังไง? ดีที่ว่า… เขามานินทาเรานี้มันเพื่ออะไรมั้ย? มันเหมือนกับความเขาว่าหรือเปล่า เราได้ดูของเราอีก ถ้าเขาว่าเราผิด…เราดูอีก ทีซิมันผิดมั้ย?…ถ้ามันผิด ก็เขี่ยๆมันออกเสีย ถ้ามันไม่ผิดก็เก็บมันไว้นั่นแหละ ไม่เป็นอะไรหรอก ถ้าเขาสรรเสริญว่าเราดี…ก็ดูอีกทีว่า…เราดีหรือเปล่า ถ้าเราไม่ดีอยู่ เขาว่าเราดี จะไปเชื่อเขาทำไม เราก็ดูซิ อันนี้ตนต้องพิจารณาตนอย่างนี้ เรียกว่าการรู้จักความผิดชอบเจ้าของอยู่เสมอ เช่นนั้น ตัวเราเองจะต้องรับผิดชอบตัวเราเอง อย่างนั้นผู้ประพฤติธรรมะจะต้องเป็นอย่างนี้ ถ้าไม่อย่างนั้น ไอ้ความรู้หรือไอ้ความดีที่มัน เกิดขึ้นมาในตัวก็ไม่รู้เรื่อง แต่ถ้าเรารู้อย่างนี้เป็นต้น เราก็คุ้มตัวเราได้ อันนี้เรียกว่า การประพฤติธรรม การปฏิบัติธรรม

ญาติโยมทุกคนที่มานั่งอยู่นี้ อย่าเข้าใจว่า แก่เสียก่อนจึงจะเข้าวัดนะ อย่าไปคิดอย่างนั้น เดี๋ยวนี้งานเรายุ่ง ไม่มีโอกาสภาวนา…นั่นคือความเห็นผิดนะ กินข้าวอยู่ก็หายใจได้ นอนหลับอยู่ก็หายใจ ทำไมมีโอกาสหายใจล่ะ ร้องไห้อยู่ ก็ยังหายใจนะ…หัวร่ออยู่ก็หายใจนะ ทำไมถึงมีโอกาสกัน ทำไมปฏิบัติไม่มีโอกาสล่ะ มันก็เหมือนกันอย่างนั้นแหละ ถ้าเรามีโอกาสหายใจได้อย่างไร การปฏิบัติเราก็มีโอกาส อย่างนั้น ถ้าเราคิดเช่นนี้เป็น คนนั้นจะเบา…คนนั้นจะตรงเข้าไปเรื่อยๆ ถึงแม้จะอยู่บ้านก็ไม่เป็นปัญหา จะอยู่วัดก็ไม่เป็นปัญหา ถ้าเราคิดเช่นนี้ก็คล้ายๆกับเราอยู่ใกล้ธรรมะ เมื่อเราอยู่ใกล้ธรรมะ อย่างนี้ก็เหมือนกับเราอยู่ใกล้พระพุทธเจ้า เมื่อเราอยู่ใกล้พระพุทธเจ้าเป็นต้น ก็เหมือนกับว่าเราได้ฟังธรรมพระพุทธเจ้าอยู่ทุกเวลา

เพราะพระพุทธเจ้าของเรานั้นน่ะ แท้ที่จริงก็เป็นนามธรรมนี่เอง พระพุทธเจ้าองค์ที่ท่านนิพพานไปนั้น ก็ถือเป็นรูปธรรม ถ้าพูดตามความเป็นจริงแล้วท่านก็ไม่มีอะไร ก็เหมือนเราธรรมดานั่งอยู่นี่แหละ แต่ท่านได้เป็นพระพุทธเจ้าโดยนามธรรม เพราะท่านมีความคิดถูกอย่างนี้ ความคิดถูกอย่างนี้ เรียกว่าธรรมะ…เรียกว่าสัจจธรรม เมื่อท่านนิพพานไปแล้วเป็นต้น สัจจธรรมหรือธรรมะก็ยังคงที่อยู่ ในปัจจุบัน เดี๋ยวนี้ เวลานี้ ถ้าเราเข้าไปใกล้ธรรมะของท่าน เข้าใจในธรรมของท่าน ก็เท่ากันกับว่าเราเห็นพระพุทธเจ้า เมื่อเห็นพระพุทธเจ้า…ก็เห็นธรรมะ เมื่อเห็นธรรมะ…ก็เห็นพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าที่แท้จริงคือธรรมะ ก็เป็นคนๆเดียวกัน ดังนี้เป็นต้น

อย่าเพิ่งเข้าใจว่า เราล้าสมัยแล้ว เราเกิดไม่ทัน พระพุทธเจ้า ไอ้ความเป็นจริงพระพุทธเจ้าจริงๆไม่นิพพานนะ อย่างเกลือเราน่ะเห็นไหม มันละความเค็มมันมั้ย? เอาไปวาง ไว้ที่ไหนมันก็เค็มของมันอยู่อย่างนั้นแหละ จะว่ายังไง ใส่น้ำมากๆน้ำมันก็เค็มด้วย เพราะมันไม่ทิ้งความเค็มมัน ไอ้ความจริงอย่างนี้ยังมีอยู่ในโลก

มิเช่นนั้น พวกญาติโยมทั้งหลายมาฟังธรรมวันนี้ จงให้เกิดสติปัญญา เอาไปพินิจพิจารณา อะไรที่มันมีอยู่แล้ว ที่ไม่ถูกต้อง พยายามเขี่ยๆมันออกไปเสีย จะได้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์บริบูรณ์อย่างนั้น ดังนั้นคำสอนของท่านจึงว่า…มนุษย์นี้เกิดมาได้ยาก…หาได้ยาก ก็เหมือนกันกับคนที่มีความรู้อย่างนี้…เรียนอย่างนี้ มันมีน้อย แต่คำสอนของพระพุทธเจ้านั้นยังสมบูรณ์อยู่ ยังไม่ขาดตกบกพร่อง มนุษย์ทั้งหลายจะไม่ประพฤติตาม ไม่ปฏิบัติตาม ไอ้ความดี…ความจริง เป็นต้น ก็ยังไม่บกพร่องที่ไหน ยังดีอยู่ เหมือนกับเกลือที่ไม่ทิ้งความเค็มของมันฯ