ถนนพระร่วงคืออะไร มีประโยชน์

ลักษณะเศรษฐกิจสุโขทัย

สารบัญ Show

  • ถนนพระร่วงมีประโยชน์อย่างไรในสมัยสุโขทัย
  • ถนนพระร่วงมีความหมายว่าอย่างไร
  • ตระพังมีประโยชน์อย่างไรต่อคนในสมัยสุโขทัย
  • ถนน พระร่วง สร้างขึ้น ในสมัย ใด

                        จากปัจจัยดังกล่าว  ทำให้ลักษณะเศรษฐกิจของสุโขทัยขึ้นอยู่กับอาชีพหลักของประชาชน  คือ  เกษตรกรรม  หัตถกรรม  และการค้าขาย

                  เกษตรกรรม         อาชีพหลักของชาวสุโขทัย  คือ  เกษตรกรรม  จากข้อมูลที่ปรากฏในหลักศิลาจารึกทำให้ทราบว่า  มีทั้งการทำนา  ทำไร่  ทำสวน  บริเวณที่ใช้เป็นพื้นที่เพาะปลูก  คือ  ที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง  แม่น้ำยม  และแม่น้ำน่าน  บริเวณเมืองสุโขทัย  สองแคว  ชากังราว  ศรีสัชนาลัย  และตาก    พืชที่ปลูกกันมากในสมัยสุโขทัย  คือ  ข้าว  รองลงมาเป็นไม้ผล เช่น  มะพร้าว  มะม่วง  และหมาก  นอกจากนี้ยังมีพืชไร่อื่นๆ อีก   นอกจากจะมีการเพาะปลูกแล้ว  ยังมีการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ไว้ใช้งาน  เป็นอาหาร  และนำมาแลกเปลี่ยนค้าขายกันโดยเสรีอีกด้วย

             หัตถกรรม       ในสมัยสุโขทัยมีสิ่งประดิษฐ์ที่สนองความต้องการพื้นฐาน  ได้แก่  การทำเครื่องมือเครื่องใช้เพื่อการดำรงชีวิต ได้แก่  งานเหล็ก  เช่น  มีด  ขวาน  จอบ  เสียม  เครื่องมือทำการเพาะปลูก  งานปั้น  เช่น  โอ่ง  ไห  หม้อ  และงานจักสาน เช่น  กระบุง  ตะกร้า  และของใช้เบ็ดเตล็ด  เป็นต้น  นอกจากนี้ยังมีหัตถกรรมเกี่ยวกับการก่อสร้าง ได้แก่  การผลิตวัสดุก่อสร้าง  เช่น  พวกศิลาแลง   อิฐปูนสอ   แลพวกตกต่าง  เช่น กระเบื้องต่างๆ    หัตถกรรมที่ผลิตเพื่อการส่งออก  ได้แก่  เครื่องปั้นดินเผา  มีการผลิต  ถ้วยชาม  ไหสี่หู  โถสี่หู๔  มีฝาปิด  และกระปุกต่างๆ  ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบลวดลายให้สวยงาม  และนำเทคนิคหรือกรรมวิธีด้านการผลิตมาใช้จนมีชื่อเสียง เรียกว่า  เครื่องสังคโลก    ได้รับความนิยมมาก  แหล่งที่ผลิตเครื่องสังคโลก  ที่สำคัญมีอยู่  2  แห่ง  คือ  กรุงสุโขทัย   และเมืองศรีสัชนาลัย  ทั้งสองเมืองนี้ได้มีการขุดค้นพบเตาเผาเครื่องสังคโลก  ซี่งเรียกว่า  “เตาทุเรียง”   เป็นจำนวนมาก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เมืองศรีสัชนาลัย   มีการขุดพบเตาทุเรียงมากถึง 20  เตา  จึงอาจถือได้ว่า  เมืองศรีสัชนาลัยเป็นศูนย์กลางการผลิตเครื่องสังคโลก    

ถนนพระร่วงคืออะไร มีประโยชน์

               การผลิตเครื่องสังคโลกในสมัยสุโขทัย  นอกจากจะผลิตไว้ใช้เองในราชอาณาจักรแล้วยังได้ส่งไปขายยังต่างประเทศ  เป็นสินค้าออกที่ทำรายได้ให้ประเทศอย่างหนึ่ง  ประเทศที่รับเชื้อเครื่องสังคโลกจากสุโขทัยมีหลายประเทศ  เช่น มลายู  ชวา  และฟิลิปปินส์ เป็นต้น

              การค้าขาย       การค้าขายสมัยสุโขทัยเป็นการค้าแบบเสรี   ได้รับการส่งเสริมมาจากทางราชการมาก  มีการยกเว้นภาษีผ่านด่าน  ใครจะค้าขายสิ่งใดก็สามารถนำมาแลกเปลี่ยนซื้อขายกันได้  ทำให้ประชาชนมีความสุขสบายทั่วหน้ากัน  ดังปรากฏในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงว่า

.........  เมื่อชั่วพ่อาขุนรารมคำแหง..... เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลูท่าง   เพื่อนจูงวัวไปค้า   ขี่ม้าไปขาย  ใครจักใคร่ค้าช้างค้า   ใครจักใคร่ค้าม้า  ค้า  ใครจักใคร่ค้าเงือนค้าทอง ค้า  ไพร่ฟ้าหน้าใส...........

การค้าขายภายในประเทศ   เนื่องด้วยชุมชนต่างๆ  ของอาณาจักรสุโขทัยตั้งอยู่ตามลำน้ำ  จึงมีการติดต่อกันโดยอาศัยเส้นทางคมนาคมทั้งทางบกและทางน้ำ

ทางบก      มีทางเดินหรือถนนขนาดเล็ก  เชื่อมต่อระหว่างเมือง  มีทั้งในกลุ่มเมืองใกล้เคียงเมืองสุโขทัยเก่าและทางเหนือขึ้นไป  และในแถบริมฝั่งทะเลจากจังหวัดชุมพรลงไป

            ทางน้ำ    ใกล้เมืองสุโขทัยมีทางน้ำที่สำคัญ  คือ  แม่น้ำยม  แม่น้ำน่าน  แม่น้ำปิง   และสาขาของแม่น้ำเหล่านี้   ปรากฏหลักฐานตามเมืองต่างๆ  ที่ตั้งอยู่ริมฝั่งใกล้แม่น้ำและสาขาของแม่น้ำเหล่านี้โบราณสถาน  โบราณวัตถุสมัยสุโขทัยปรากฏอยู่  เช่น  เมืองนครชุม   เมืองกำแพงเพชร  เมืองตาก  เมืองพระบางในลุ่มแม่น้ำปิง  เมืองบางพานในลุ่มแม่น้ำยม  เมืองทุ่งยั้ง   และเมืองฝางในลุ่มแม่น้ำน่าน

          อย่างไรก็ตาม  แม้ว่าการติดต่อค้าขายระหว่างเมืองต่างๆ จะทำได้ทั้งทางบกและทางน้ำ  แต่ส่วนมากมักใช้เส้นทางทางบก  เพราะสามารถเดินทางได้สะดวกโดยใช้ถนน  ถนนสำคัญ  คือ  ถนนพระร่วง  ซึ่งมี  2 สาย คือ   สายเหนือ   จากสุโขทัยถึงเมืองศรีสัชนาลัย   และสายใต้จากสุโขทัยถึงเมืองกำแพงเพชร  ถนนนี้มีขนาดกว้างเพียงพอที่กองคาราวานที่จะนำสินค้าผ่านและแวะแลกเปลี่ยนสินค้ากันได้สะดวก   นอกจากนี้บนเส้นทางสายนี้ยังมีการขุดตระพังขนาดใหญ่  มีการสร้างบ่อน้ำกรุด้วยอิฐขนาดพอเหมาะอยู่ทั่วไป  เพื่อเก็บน้ำไว้กินไว้ใช้เป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้มาค้าขายทั้งหลาย  ซึ่งอาจต้องมีผู้หญิง  เด็กลูกหาบ   และสัตว์พาหนะติดตามมาด้วย  พร้อมกันนี้ก็เป็นการชักชวนให้ผู้คนมาตั้งถิ่นฐานทำมาหากิน  ตามหลักฐานปรากฏว่ามีชุมชนกระจายกันอยู่ตามสายนี้   การจัดทำเลค้าขายนี้น่าจะทำรายได้ในการเก็บภาษีที่ย่านตลาด  ซึ่งเป็นแหล่งซื้อขายส่งต่อสินค้าด้วย

การค้าขจายกับต่างประเทศ     สมัยสุโขทัยมีการค้าขายกับต่างประเทศหลายประเทศด้วยกัน  เช่น  จีน  ญี่ปุ่น  มลายู  ชวา  บอร์เนียว   ฟิลิปปินส์  อินเดีย   ลังกา   อิหร่าน   และอาหรับชาติอื่นๆ  โดยใช้เส้นทางในการติดต่อค้าขาย  ดังนี้

             ทางบก   มีเส้นทางที่สำคัญ  3  เส้นทาง  ได้แก่

    1.เส้นทางสุโขทัย เมาะตะมะ       จากสุโขทัยไปตามถนนพระร่วงถึงเมืองกำแพงเพชร  จากนั้นมีเส้นทางผ่านเมืองตาก  ตัดออกช่องเขาที่แม่สอด  ผ่าน

เมืองเมียวดีไปยังเมืองเมาะตะมะ

    2. เส้นทางสุโขทัย ตะนาวศรี     จากสุโขทัยผ่านเองเพชรบุรี  เมืองกุยบุรี  เมืองมะริด  จนถึงเมืองตะนาวศรี

    3. เส้นทางสุโขทัย เชียงใหม่      จากสุโขทัยผ่านเมืองตาก  เมืองลำพูน  จนถึงเมืองเชียงใหม่

ทางน้ำ    มีเส้นทางน้ำ  คือ  แม่น้ำป่าสัก  แม่น้ำเจ้าพระยา  แม่น้ำท่าจีน  และแม่น้ำแม่กลอง  ซึ่งไหลลงสู่อ่าวไทยสามแห่ง  ทำให้การลำเลียงสินค้าไป

ต่างประเทศมีหลายทาง     การคมนาคมทางน้ำใต้ประจวบคีรีขันธ์ลงไป  เป็นการคมนาคมริมฝั่งทะเลและแม่น้ำลำคลอง  ทั้งสายสั้นสายยาวที่ขนานกับฝั่งไปถึงสงขลา  ปัตตานี

         อาณาจักรสุโขทัยทำหน้าทีเป็นตลอดกลางขนถ่ายสินค้าจากดินแดนของเมืองที่ตั้งอยู่นอกเส้นทาง  โดยรับและส่งต่อไปยังเมืองชายทะเลที่ต้องการสินค้า  สินค้าที่มีการแลกเปลี่ยนเป็นสินค้าออก  ได้แก่  เครื่องสังคโลก  ผลิตผลจากการเกษตร  และของป่า   หนังสัตว์   ไม้ฝาง   ไม้กฤษณา  งาช้าง   นอแรด   และของป่าอื่นๆ   ส่วนสินค้าเข้า  ได้แก่  ผ้าแพร   ผ้าไหม   ผ้าต่วน เครื่องเหล็ก  และอาวุธต่างๆ

ถนนพระร่วงมีประโยชน์อย่างไรในสมัยสุโขทัย

๑. เพื่อเฉลิมพระเกียรติบูรพมหากษัตริย์ไทย ราชวงศ์พระร่วง และรำลึก ๑๐๐ ปี การเสด็จประพาสเมืองสุโขทัย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ๒. เพื่อศึกษา เพิ่มพูนความรู้ จัดเก็บข้อมูลทางวิชาการ และเผยแพร่สู่สาธารณชนต่อไป

ถนนพระร่วงมีความหมายว่าอย่างไร

ถนนพระร่วง หรือ ท่อปู่พระยาร่วง เป็นเส้นทางโบราณมีลักษณะเป็นแนวคันดินโบราณ ลักษณะเนินดินพูนสูงขึ้นมาเป็นแนวยาว บางแห่งจะขาดหายไปบ้าง ระยะทางประมาณ 128 กิโลเมตร กว้าง 8–12 เมตร สูง 2–5 เมตร เชื่อมระหว่างกำแพงเพชร สุโขทัย และศรีสัชนาลัย ซึ่งเป็นเมืองลูกหลวงสมัยกรุงสุโขทัย ทอดยาวจากแม่น้ำปิงจังหวัดกำแพงเพชร ผ่านเมืองต่าง ...

ตระพังมีประโยชน์อย่างไรต่อคนในสมัยสุโขทัย

บริเวณศาสนสถานต่างๆ ภายในเมืองสุโขทัย มักมีพื้นที่ กักเก็บน ้าผิวดินไว้ใช้ในโอกาสต่างๆ จึงปรากฏวัดที่มีตระพัง หลายแห่ง Page 24 การขุดสระหรือตระพังในบริเวณต่างๆ เป็นหนึ่งในการบริหาร จัดการน ้าที่ท าให้ตัวเมืองสุโขทัยมีน ้าใช้ในการอุปโภคบริโภค และหล่อเลี้ยงเมืองตลอดทั้งปี

ถนน พระร่วง สร้างขึ้น ในสมัย ใด

ระยะเวลาเพียง 85 ปี นับตั้งแต่รัชกาลที่ 6 ทรงสำรวจจนถึงปัจจุบัน ถนนพระร่วงซึ่งเป็นถนนประวัติศาสตร์ในสมัยที่อาณา จักรสุโขทัยเจริญรุ่งเรือง บัดนี้ได้ถูกทำลายไปเกือบหมดแล้ว นับว่าเป็นการสูญเสียหลักฐานที่สำคัญทางโบราณคดี

ถนนพระร่วง คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไรต่อการทำเกษตรสมัยสุโขทัย

ถนนพระร่วงเป็นเส้นทางหรือถนนที่สร้างขึ้นเชื่อมระหว่างกำแพงเพชร สุโขทัย และศรีสัชนาลัย ซึ่งเป็นเมืองลูกหลวงสมัยนั้น เป็นเส้นทางโบราณที่ทอดยาวจากแม่น้ำปิงจังหวัดกำแพงเพชร ผ่านเมืองต่าง ๆ ในจังหวัดกำแพงเพชร เมืองเพชร (คีรีมาศ) ในจังหวัดสุโขทัยและต่อไปจนจรดลำน้ำน่านที่เมืองศรีสัชนาลัยรวมระยะทางประมาณ 123 กิโลเมตร ตลอดสอง ...

ถนนสายใดมีชื่อเรียกว่า “ถนนพระร่วง”

ถนนพระร่วง หรือ ท่อปู่พระยาร่วง เป็นเส้นทางโบราณมีลักษณะเป็นแนวคันดินโบราณ ลักษณะเนินดินพูนสูงขึ้นมาเป็นแนวยาว บางแห่งจะขาดหายไปบ้าง ระยะทางประมาณ 128 กิโลเมตร กว้าง 8–12 เมตร สูง 2–5 เมตร เชื่อมระหว่างกำแพงเพชร สุโขทัย และศรีสัชนาลัย ซึ่งเป็นเมืองลูกหลวงสมัยกรุงสุโขทัย ทอดยาวจากแม่น้ำปิงจังหวัดกำแพงเพชร ผ่านเมืองต่าง ...

พระร่วง หมายถึงใคร

การเริ่มต้นใช้คำว่าพระร่วงแทนพระนามของกษัตริย์สุโขทัยนั้น ปรากฏอยู่ในพงศาวดารเหนือในเหตุการณ์ที่กษัตริย์ 3 พระองค์ที่เป็นพระสหายร่วมสาบานชี้พื้นที่สำหรับสร้างนครพิงค์ ได้แก่ พญามังรายของล้านนา พญางำเมืองของรัฐพะเยา และพระร่วงของสุโขทัย ซึ่งพระร่วงองค์นี้หมายถึง พระยารามราช หรือพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

ถนนพระร่วงเกิดขึ้นในสมัยใด

ระยะเวลาเพียง 85 ปี นับตั้งแต่รัชกาลที่ 6 ทรงสำรวจจนถึงปัจจุบัน ถนนพระร่วงซึ่งเป็นถนนประวัติศาสตร์ในสมัยที่อาณา จักรสุโขทัยเจริญรุ่งเรือง บัดนี้ได้ถูกทำลายไปเกือบหมดแล้ว นับว่าเป็นการสูญเสียหลักฐานที่สำคัญทางโบราณคดี