การประชุมครั้งที่ 7 ของ กลุ่มประเทศ ภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติ

​นายกฯ กล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมระดับผู้นำ COP26 ประกาศเจตนารมณ์ไทยพร้อมยกระดับการแก้ไขปัญหาภูมิอากาศอย่างเต็มที่ด้วยทุกวิถีทาง

​นายกฯ กล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมระดับผู้นำ COP26 ประกาศเจตนารมณ์ไทยพร้อมยกระดับการแก้ไขปัญหาภูมิอากาศอย่างเต็มที่ด้วยทุกวิถีทาง

นายกฯ กล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมระดับผู้นำ COP26 ประกาศเจตนารมณ์ไทยพร้อมยกระดับการแก้ไขปัญหาภูมิอากาศอย่างเต็มที่ด้วยทุกวิถีทาง ย้ำต้องหยุดทำร้ายธรรมชาติเพราะไม่มีโลกใบที่สองเหมือนโลกนี้อีกแล้ว

  วันนี้ (1 พฤศจิกายน 2564) เวลา 16.00 น. (ตามเวลาท้องถิ่นที่เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร ซึ่งตรงกับเวลา 23.00 น. ของไทย) ณ ศูนย์การประชุม The Scottish Event Campus พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้กล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมระดับผู้นำ (World Leaders Summit) ในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change Conference of the Parties: UNFCCC COP) (COP26) ณ เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร นาย ธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงสาระสำคัญการกล่าวถ้อยแถลงของนายกรัฐมนตรี ดังนี้

นายกรัฐมนตรีได้แสดงวิสัยทัศน์ต่อที่ประชุมยืนยันไทยให้ความสำคัญสูงสุดกับการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไทยพร้อมร่วมมือกับทุกประเทศ ทุกภาคส่วนเพื่อบรรลุเป้าหมายสำคัญของโลกเพื่ออนาคตของลูกหลานของพวกเราทุกคน

นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงเหตุผลสำคัญที่ไปร่วมการประชุมสุดยอดเรื่องภูมิอากาศของสหประชาชาติที่กรุงปารีสเมื่อปี ค.ศ. 2015 เพราะไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกเพียงร้อยละ 0.72 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วทั้งโลก แต่ไทยเป็น 1 ใน 10 ประเทศที่ได้รับผลกระทบร้ายแรงที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไทยจึงอยู่ในกลุ่มแรกที่ให้สัตยาบันเป็นภาคีของความตกลงปารีส และไทยได้ปฏิบัติตามคำมั่นที่ให้ไว้กับประชาคมโลกอย่างต่อเนื่อง แข็งขัน

ในส่วนของไทย ได้กำหนดเป้าหมาย NAMA (Nationally Appropriate Mitigation Actions) ภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในภาคพลังงานและขนส่งอย่างน้อย ร้อยละ 7 ภายในปี ค.ศ. 2020 แต่ไทยสามารถทำได้เกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ถึงกว่า 2 เท่า ก่อนกำหนดเวลาถึง 1 ปี เพราะในปี ค.ศ. 2019 ไทยลดก๊าซเรือนกระจกได้แล้วถึงร้อยละ 17 นอกจากนี้ ไทยยังเป็นประเทศแรก ๆ ที่จัดส่งเป้าหมายการมีส่วนร่วมของประเทศ (Nationally Determined Contributions : NDC) และได้ส่งยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกระดับต่ำให้กับ UNFCCC รวมถึงได้จัดทำแผนงานต่าง ๆ ในระดับประเทศ และระดับท้องถิ่น

ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้ประกาศเจตนารมณ์ว่าไทยพร้อมยกระดับการแก้ไขปัญหาภูมิอากาศอย่างเต็มที่ด้วยทุกวิถีทาง เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือน กระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ในปี ค.ศ. 2065 และด้วยการสนับสนุนจากความร่วมมือระหว่างประเทศ และกลไกภายใต้ กรอบอนุสัญญาฯ ไทยจะยกระดับ NDC ของเราขึ้นเป็นร้อยละ 40 ได้ ซึ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ภายในปี ค.ศ. 2050

นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปคของไทยในปี 2565 (ค.ศ. 2022) ว่าไทยได้กำหนดให้แนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว หรือ BCG เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจที่ไม่ทำลายระบบนิเวศ เป็นวาระหลักในการประชุมฯ

ซึ่งในตอนท้ายของการประชุมนายกรัฐมนตรีได้เรียกร้องให้ทุกประเทศร่วมกันดูแล รักษาโลก เพราะ “เราทุกคนไม่มี ‘แผนสอง’ ในเรื่องการรักษา เยียวยาสภาพภูมิอากาศ เพราะเราจะไม่มี ‘โลกที่สอง’ ซึ่งเป็นบ้านของพวกเราเหมือนโลกนี้อีกแล้ว”

ทั้งนี้ ภายหลังนายกรัฐมนตรีร่วมการประชุมฯ เวลา 19.00 น. (ตามเวลาท้องถิ่นที่เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร ซึ่งตรงกับวันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 เวลา 02.00 น. ของไทย) ณ พิพิธภัณฑ์ศิลปะ Kelvingrove นายกรัฐมนตรีได้ร่วมงานเลี้ยงรับรองสำหรับผู้นำที่รัฐบาลสหราชอาณาจักรเป็นเจ้าภาพ และมีพระบรมวงศานุวงศ์ของสหราชอาณาจักรเข้าร่วมในโอกาสดังกล่าวด้วย

13 พฤศจิกายน 2021

ปรับปรุงแล้ว 14 พฤศจิกายน 2021

การประชุมครั้งที่ 7 ของ กลุ่มประเทศ ภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติ

การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (COP26) ที่เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ ได้ปิดฉากลงเมื่อวันที่ 13 พ.ย. โดยมีการบรรลุข้อตกลงเพื่อควบคุมปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการผลักดันให้ยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล

อย่างไรก็ตาม ผู้นำและนักรณรงค์ด้านสภาพภูมิอากาศหลายคนระบุว่า ข้อตกลงนี้ยังไม่มีมาตรการเพียงพอที่จะควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสได้

โดยในนาทีสุดท้ายก่อนหน้าจะมีการบรรลุข้อตกลงนี้ จีนและอินเดียได้ขอให้มีการแก้ไขถ้อยคำในข้อตกลงว่าด้วยการใช้พลังงานถ่านหิน ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจกมากที่สุด จากเดิมคือคำว่า "ยุติการใช้" มาเป็นคำว่า "ลดการใช้" พลังงานถ่านหิน

แม้ว่านายอาล็อก ชาร์มา ประธานการประชุม ระบุว่า การแก้ไขถ้อยคำดังกล่าวไม่ได้หมายความว่าข้อตกลงนี้ล้มเหลว พร้อมยืนยันว่า "ข้อตกลงครั้งประวัติศาสตร์นี้" จะช่วยให้คงเป้าหมายในการจำกัดอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสได้

อย่างไรก็ตาม นายชาร์มา ได้กล่าวแสดง "ความเสียใจอย่างยิ่ง" ที่ผลการประชุมออกมาในรูปนี้ พร้อมระบุว่า อินเดียและจีนจะต้องอธิบายตัวเองต่อประเทศที่มีความเสี่ยงอันตรายจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากที่สุด

นายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ (ยูเอ็น) แสดงความยินดีกับข้อตกลงนี้ แต่เน้นว่ามันยัง "ไม่เพียงพอ" โดยชี้ว่า "เรายังคงใกล้จะเปิดประตูแห่งภัยพิบัติทางสภาพอากาศ"

COP26 คืออะไร และทำไมจึงมีการประชุมนี้ขึ้น

โลกกำลังร้อนขึ้น เพราะการปล่อยมลพิษของเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน น้ำมัน และแก๊ส จากการกระทำของมนุษย์

การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศมีส่วนทำให้เกิดสภาพอากาศรุนแรงต่าง ๆ มากขึ้นทั้งคลื่นความร้อน น้ำท่วม และไฟป่า ช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เป็นช่วงที่อุณหภูมิโลกสูงสุดเท่าที่เคยมีการบันทึกสถิติไว้ และรัฐบาลต่าง ๆ เห็นตรงกันว่าต้องร่วมมือกันอย่างเร่งด่วนในการแก้ปัญหานี้

  • รายงานสภาพภูมิอากาศโลกของ IPCC เกี่ยวกับเราทุกคนอย่างไร
  • ทำไมปี 2021 อาจเป็นจุดเปลี่ยนในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • เราเอา CO2 ที่ถูกปล่อยออกมาไปใช้ทำอะไรได้บ้าง

COP ย่อมาจาก "Conference of the Parties" หรืออาจแปลได้ว่าการประชุมสมัชชาประเทศ และนี่เป็นการประชุมสุดยอดประจำปีครั้งที่ 26 และในการประชุมครั้งนี้ 200 ประเทศมีพันธสัญญาที่จะต้องยื่นแผนการลดการปล่อยคาร์บอนภายในปี 2030

ภายใต้ข้อตกลงปารีสปี 2015 ประเทศต่าง ๆ ถูกขอให้สร้างความเปลี่ยนแปลงเพื่อรักษาอุณหภูมิของโลกไม่ให้เพิ่มเกิน 2 องศาเซลเซียส และให้พยายามตั้งเป้าไว้ที่ 1.5 องศาเซลเซียส เพื่อที่จะป้องกันหายนะภัยทางด้านสภาพภูมิอากาศ

เป้าหมายคือการตัดลดการปล่อยคาร์บอนจนกระทั่งถึงเป้าหมายเป็นศูนย์ภายในปี 2050

เปิดข้อตกลง COP26

ข้อตกลงนี้ขอให้ประเทศต่าง ๆ ตีพิมพ์แผนปฏิบัติการภายในสิ้นปีหน้า โดยที่มีเป้าหมายสูงขึ้นในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในปี 2030

ถ้อยคำในข้อตกลงฉบับนี้ได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นที่กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วจะต้องเพิ่มเงินช่วยเหลือแก่ประเทศที่ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ให้สูงกว่าเป้าหมายปัจจุบันที่ 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อช่วยประเทศเหล่านี้ในการปรับตัวและรับมือ

แม้ข้อตกลงนี้จะไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย แต่ก็เป็นการกำหนดแนวทางและเป้าหมายเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิในช่วง 10 ปีข้างหน้า

มีการตกลงอะไรกันอีกบ้างในกลาสโกว์

นอกจากร่างข้อตกลงที่ถือเป็นผลลัพธ์สำคัญที่สุดของการประชุม COP ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผู้แทนนานาประเทศและจากทุกภาคส่วนมารวมตัวกัน ยังมีการประกาศหลายเรื่องที่น่าสนใจ ดังนี้

  • ความร่วมมือของสหรัฐฯ-จีน

หนึ่งในการประกาศที่สร้างความน่าประหลาดใจให้ผู้ติดตามการประชุมลดโลกร้อนคือการที่สหรัฐอเมริการและจีนรับปากว่า จะเพิ่มความร่วมมือด้านการปกป้องสภาพภูมิอากาศระหว่างกันในช่วง 10 ปีข้างหน้า โดยประเด็นที่เห็นชอบร่วมกัน เช่น การปล่อยมีเทน การเปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาด และการลดการปล่อยคาร์บอนลงจนเหลือศูนย์

คำประกาศร่วมระบุว่า ทั้งสหรัฐฯ และจีนจะ "ยึดมั่นในคำมั่นสัญญาว่าจะทำงานร่วมกัน" เพื่อบรรลุเป้าหมายการควบคุมอุณหภูมิไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ที่ตั้งไว้ในข้อตกลงปารีสปี 2015

ในฐานะผู้ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุดในโลก 2 ประเทศ ข้อตกลงระหว่างสหรัฐฯ และจีน มีความสำคัญในการที่จะทำให้เป้าหมายการควบคุมอุณหภูมิไม่ให้เพิ่มเกิน 1.5 องศาเซลเซียสเป็นจริงได้

ก่อนหน้านี้จีนลังเลที่จะจัดการกับการปล่อยมลพิษจากถ่านหินในประเทศ ดังนั้นการออกมาประกาศเช่นนี้จึงถูกมองว่า เป็นการยอมรับถึงความความจำเป็นในการดำเนินการอย่างเร่งด่วน

  • ต้นไม้

ผู้นำจากกว่า 100 ประเทศทั่วโลก ซึ่งมีพื้นที่ป่ารวมกันคิดเป็น 85% ของป่าไม้ในโลก รับปากว่าจะยุติการตัดไม้ทำลายป่าภายในปี 2030

คำมั่นสัญญานี้มีความสำคัญเพราะต้นไม้สามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์--หนึ่งในก๊าซเรือนกระจำที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน--จำนวนมากมหาศาลไว้ได้ ดังนั้นการยุติการตัดไม้ทำลายป่าจึงเป็นวิธีการสำคัญในการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก

  • มีเทน

ในที่ประชุม COP26 ผู้แทนจากกว่า 100 ประเทศ เห็นชอบกับโครงการตัดลดการปล่อยมีเทนลง 30% ภายในปี 2030

มีเทนเป็นหนึ่งในก๊าซเรือนกระจกที่สร้างความเสียหายมากที่สุด ราว 1 ใน 3 ของการกระทำของมนุษย์ที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนเกี่ยวข้องกับการปล่อยมีเทน ของปัญหาโลกร้อนที่เกิดจากมนุษย์ มีเทนส่วนใหญ่มาจากกิจกรรมต่าง ๆ อย่างการทำปศุสัตว์และการกำจัดของเสีย

อย่างไรก็ตาม ประเทศที่เป็นผู้ปล่อยก๊าซมีเทนรายใหญ่อย่างจีน รัสเซียและอินเดีย ไม่ได้เข้าร่วมโครงการนี้

  • ถ่านหิน

มากกว่า 40 ประเทศ ซึ่งรวมถึงประเทศที่ใช้ถ่านหินรายใหญ่อย่างโปแลนด์ เวียดนาม และชิลี เห็นชอบที่จะเลิกใช้ถ่านหิน

ถ่านหินเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากที่สุด แม้ว่าจะมีความก้าวหน้าในการลดการใช้งานถ่านหิน แต่ถ่านหินก็ยังถูกใช้ในการผลิตไฟฟ้าทั่วโลกราว 37% ในปี 2019

  • มาตรการทางการเงิน

สถาบันการเงินราว 450 แห่ง ซึ่งมีการควบคุมเงินราว 130 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 4,259 ล้านล้านบาท) เห็นชอบที่จะสนับสนุน "เทคโนโลยีสะอาด" อย่างพลังงานหมุนเวียน และปฏิเสธที่จะให้การสนับสนุนทางการเงินแก่อุตสาหกรรมที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล

โครงการนี้เป็นความพยายามในการทำให้บริษัทเอกชนต่าง ๆ มีส่วนร่วมในการบรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ และทำให้บริษัทเหล่านี้รับปากว่าจะสนับสนุนการเงินในเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

คำบรรยายวิดีโอ,

การชดเชยคาร์บอนช่วยโลกของเราได้หรือไม่

ประเทศต่าง ๆ จะทำตามสัญญาหรือไม่

ส่วนใหญ่แล้ว การให้คำมั่นสัญญาที่เกิดขึ้นในการประชุม COP เป็นเรื่องของความสมัครใจและการกำกับดูแลตัวเอง

มีเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้นที่ไปไกลถึงขั้นให้มีผลผูกพันตามกฎหมาย แต่ก็มีโอกาสที่แรงผลักดันสู่การบรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ จะทำให้ประเทศต่าง ๆ ต้องเร่งมือทำตามที่ให้คำมั่นสัญญา

โดยหลักการแล้วมีความเป็นไปได้ที่จะบังคับใช้บทลงโทษต่อประเทศที่ไม่ยอมทำตามคำสัญญา แต่ก็อาจจะทำให้เกิดผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น หรืออาจจะมีหลายประเทศถอนตัวออกจากข้อตกลงระหว่างประเทศได้

ความสำคัญของการประชุมอย่าง COP26 จึงเป็นการพยายามส่งเสริมให้ทุกประเทศเข้าร่วมต่อไป