หลักฐานใดที่แสดงให้เห็นว่าพระโสณะเถระและพระอุตรเถระได้เข้ามาเผยแผ่ศาสนาพุทธ ในประเทศไทย

หลักฐานใดที่แสดงให้เห็นว่าพระโสณะเถระและพระอุตรเถระได้เข้ามาเผยแผ่ศาสนาพุทธ ในประเทศไทย
พระเจ้าอโศกมหาราช แม้จะทรงอุปถัมภ์การสังคายนาครั้งที่ 3 ของนิกายเถรวาทแต่พระองค์ก็ยังทรงอุปถัมภ์เคารพนับถือสงฆ์ในนิกายอื่น ๆ ด้วย พระสงฆ์นิกายเถรวาทที่ทำสังคายนามีเพียง 1,000 รูป แต่ยังมีพระสงฆ์อรหันตเถระในนิกายอื่นอีกมาก โดยเฉพาะนิกายสราวสติวาทิน (เป็นนิกายย่อยของเถรวาท) พระที่พระองค์ส่งไปทั้ง 9 สายนั้น คงมีหลายนิกาย แต่ที่แน่ ๆ ก็คือ สายที่ 8 กับสายที่ 9 เป็นสายใต้เป็นพระนิกายเถรวาท ดังนั้น พระโสณะกับพระอุตตระและคณะจึงเป็นเถรวาท ใช้ภาษาบาลีจดจารึกพระไตรปิฏก ปรากฏในคัมภีร์สมันตปาสาทิกา ว่าพระโสณะกับพระอุตตระไปสุวรรณภูมิ ดังคำว่า

หลักฐานใดที่แสดงให้เห็นว่าพระโสณะเถระและพระอุตรเถระได้เข้ามาเผยแผ่ศาสนาพุทธ ในประเทศไทย
สุวณฺณภูมิ คจฺฉนฺตฺวาน โสณุตฺตรา มหิทฺธิกา
หลักฐานใดที่แสดงให้เห็นว่าพระโสณะเถระและพระอุตรเถระได้เข้ามาเผยแผ่ศาสนาพุทธ ในประเทศไทย
ปิสาเจ นิทฺธมิตฺวาน พฺรหฺมชาลํ อเทสิสุ

หลักฐานใดที่แสดงให้เห็นว่าพระโสณะเถระและพระอุตรเถระได้เข้ามาเผยแผ่ศาสนาพุทธ ในประเทศไทย
(ความว่า พระโสณะและพระอุตตระผู้มีฤทธิ์มาก ไปสู่สุวรรณภูมิ ปราบปรามพวกปีศาจแล้ว ได้แสดงพรหมชาลสูตร)
ตามคัมภีร์สมันตปาสาทิกา กล่าวถึงพระโสณะและพระอุตตระ แสดงอภินิหาริย์ปราบนางผีเสื้อน้ำและทรงแสดงธรรมพรหมชาลสูตร (สูตรว่าด้วยข่ายอันประเสริฐ ประกอบด้วย ศีลน้อย ศีลกลาง และศีลใหญ่) นั่นคือการประพฤติตนอยู่ในสรณะและศีล มีคนทั้งหลายในสุวรรณภูมิประเทศนี้ได้บรรลุธรรมประมาณ 60,000 คน กุลบุตรออกบวชประมาณ 3,500 คน

หลักฐานใดที่แสดงให้เห็นว่าพระโสณะเถระและพระอุตรเถระได้เข้ามาเผยแผ่ศาสนาพุทธ ในประเทศไทย
แสดงให้เห็นว่า พระโสณะและพระอุตตระ เป็นแบบอย่างของผู้ประพฤติอยู่ในสรณะและศีล จึงสามารถปราบพวกภูติผีปีศาจได้ และมีบทบาทสำคัญต่อการนับถือพระพุทธศาสนาของคนไทยก็คือ นิกายเถรวาท ซึ่งเป็นนิกายที่คนส่วนใหญ่ในประเทศไทยให้ความนับถือจนถึงปัจจุบัน

เรื่องกรรมเก่าของพระเถระรูปหนึ่งชื่อว่าพระอุตตระ

ในอดีตนานมาแล้ว พระอุตตระ ท่านทำคุณงามความดีและสั่งสมบารมีไว้เยอะมากพร้อมที่จะบรรลุอรหันต์ต่อมาได้เกิดในสมัยพระพุทธเจ้าพระนามว่า สุเมธเป็นคนที่สำเร็จวิทยาอาคมมีฤทธิ์มาก ไปไหน ? ใช้การเหาะอย่างเดียว

มีอยู่วันหนึ่ง พระพุทธเจ้าคิดจะอนุเคราะห์เขา (พระอุตตระ)พระองค์ทรงฉายรังสีจากร่างของพระองค์มีถึง 6 สี ประจวบกับพระอุตตระกำลังเหาะอยู่ได้เห็นพระรังสี ก็เกิดการเลื่อมใสลงจากอากาศแล้วเก็บดอกกรรณิการ์เข้าไปกราบบูชาพระองค์เมื่อตายจากภพนั้นแล้วท่านไปเกิดที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งท่านได้ตายเกิด ๆระหว่างเทวดาและมนุษย์ อย่างนี้เป็นเวลานาน

หลักฐานใดที่แสดงให้เห็นว่าพระโสณะเถระและพระอุตรเถระได้เข้ามาเผยแผ่ศาสนาพุทธ ในประเทศไทย

ในชาติสุดท้ายท่านได้เกิดในตระกูลพราหมณ์ที่เป็นมหาเศรษฐีที่กรุงราชคฤห์มีชื่อว่า อุตตระ เมื่อเจริญวัยท่านเป็นคนมีรูปร่างหล่อ เรียนก็เก่งเป็นคนเจ้าระเบียบเรียบร้อย ใครเห็นใครรัก

อยู่มาวันหนึ่งมีมหาอำมาตย์แห่งแคว้นมคธ ชื่อว่า วัสสการะเห็นบุคคลิกเข้าก็ชอบใจมากจึงคิดจะยกลูกสาวให้เป็นเมีย ….แต่ถูกปฏิเสธอย่างไม่มีเยื่อใยจากนายอุตตระ ทั้งนี้เพราะนายอุตตระมีใจมุ่งไปในทางบวชเพื่อมุ่งพระนิพพาน

ต่อมานายอุตตระเข้าไปฟังธรรมะที่สำนัก(วัด) ของพระสารีบุตรเมื่อฟังแล้วเกิดศรัทธาขอบวชเป็นสามเณร (อายุไม่ครบบวชพระ)บังเอิญในวันนั้นพระอาจารย์(สารีบุตร)เกิดไม่สบายหนัก สามเณรอุตตระตระเตรียมจัดยาไว้ให้พระอาจารย์ตัวเองได้ฉันแต่ด้วยพระอาจารย์ยังไม่ได้ฉันอาหาร(ไม่มีอาหารรองท้อง) สามเณรจึงหุ่มจีวรแล้วถือบาตรพร้อมเดินออกบิณฑบาตแต่เช้ามืดแต่ด้วยสามเณรยังไม่ได้ล้างหน้าจึงวางบาตรไว้ที่ริมบึงฝั่งทะเลสาบเพื่อจะเดินไปล้างหน้า

ในลำดับนั้นเองได้มีโจรผู้ร้ายที่ทำลายอุโมงค์คนหนึ่ง ถูกเจ้าหน้าที่วิ่งไล่กวดมาได้หนีออกจากพระนคร วิ่งหน้าตั้งมาทางสามเณรวางบาตรไว้โจรได้โอกาสเหมาะจึงเอาห่อรัตนะที่ลักขโมยมาใส่ไว้ในบาตรของสามเณรเสร็จแล้วรีบหนีต่อไป

ฝ่ายสามเณรเมื่อเสร็จจากการล้างหน้าจึงขึ้นมาที่ริมทะเลสาปเดินไปใกล้บาตร ก็พอดิบพอดีกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมือง(ตำรวจ) ที่วิ่งไล่ตามโจรมาเห็นห่อรัตนะอยู่ในบาตรของสามเณร จึงพูดว่า สามเณรรูปนี้เป็นโจรมีความประพฤติเยี่ยงโจรจึงตรงเข้าจับสามเณรมัดมือไพล่หลังนำตัวไปส่งให้มหาอำมาตย์วัสสการพราหมณ์ตัดสินคดี

ในสมัยนั้นวัสสการพราหมณ์เป็นผู้วินิจฉัยตัดสินคดีความแทนพระราชาส่วนมหาอำมาตย์ไม่สอบสวนทวนความเลยเพราะเคยผูกอาฆาตในครั้งก่อนเมื่อยกลูกสาวให้กลับไม่เอาดันหนีไปบวชในลัทธินอกศาสนาดั้งเดิมของตนอำมาตย์จึงสั่งให้เอาหลาวแหลมเสียบสามเณรประจานทั้ง ๆ ที่สามเณรยังเป็น ๆ อยู่

ธรรมดาของพระพุทธเจ้าเมื่อจะเสด็จออกโปรดสัตว์โลกพระองค์จะตรวจดูสัตว์โลกว่าใครควรที่จะโปรดก่อน หลังแล้วเหตุการณ์ของสามเณรก็อยู่ในข่ายแห่งพระญาณของพระพุทธองค์ ๆจึงได้เสด็จไป(โดยพระญาณ) สู่ที่สามเณรถูกเสียบ แล้วพระองค์ทรงวางพระหัตถ์ที่มีพระองคุลียาวอ่อนนุ่มแผ่พระฉัพพรรณรังสีคุลมด้วยเปลวรัศมีบนศีรษะของสามเณรอุตตระ แล้วพระองค์ตรัสว่า

ดูก่อนอุตตระ นี้เป็นผลกรรมเก่า เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ๆจงทำความอดกลั้น ด้วยกำลังแห่งความดี แล้วพิจารณาในผลของกรรมนั้น

จากนั้นพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงธรรมให้สามเณรได้ฟังตามอัธยาศัยสามเณรเมื่อได้ฟังพระธรรมแล้วเกิดความสุขปีติโสมนัสที่เกิดจากการสัมผัสด้วยพระหัตถ์ของพระพุทธองค์ คล้ายกับทรงราดด้วยน้ำอมฤต ..สามเณรยกระดับขึ้นสู่ทางวิปัสสนา ตามนิสัยที่ได้สั่งสมอบรมไว้ทำลายกิเลสอย่างหมดสิ้นด้วยความแก่กล้าแห่งญาณ

สามเณรอุตตระได้อภิญญา 6 ลุกขึ้นจากหลาวแล้วยืนอยู่กลางอากาศแสดงปาฏิหาริย์ เพื่ออนุเคราะห์แก่หาชน ๆต่างมหัศจรรย์ใจว่าปรากฏการณ์อย่างนี้ไม่เคยมีที่ไหนมาก่อนเลย

สามเณรอุตตระได้บรรลุพระอรหันต์ ณ ที่ตรงนั้น พร้อมกับกล่าวว่า
ภพอะไรที่เที่ยงไม่มี แม้สังขารที่เที่ยงก็ไม่มี ขันธ์(5) เหล่านั้นย่อมเวียนเกิด และเวียนตายไป เรารู้โทษอย่างนี้แล้วจึงไม่มีความต้องการด้วยภพ เราสลัดตัวออกจากกามทั้งปวงบรรลุถึงความสิ้นอาสวะกิเลสแล้ว”

สาระจากเรื่องนี้ ให้ข้อคิดต่อชาวพุทธหลายประการ ดังนี้

1. กรรมเป็นนิจจังผู้ทำกรรมใดไว้ก็ย่อมจะได้รับผลกรรมนั้นซึ่งเป็นของเที่ยงแท้แน่นอนจะแตกต่างกันอยู่บ้าง ก็แต่ว่าจะให้ผลช้า หรือเร็ว หนักหรือเบาต่างกันเท่านั้นเอง

2. บางกรรมก็ไม่ให้ผลโดยปกติกรรมที่เราทำย่อมจะให้ผลเสมอไป แต่มีบางกรรมอาจจะไม่ให้ผลเพราะกรรมตามไม่ทัน หรือเพราะผู้ทำนั้นทำให้กรรมชั่วนั้นอ่อนกำลังลงด้วยกรรมดี

3.ไม่มีใครโกงกรรม กรรมทำได้ 3 ทางคือ ทางกาย ทางวาจาและใจจะมีใครเห็นหรือไม่เห็น รู้หรือไม่รู้ ไม่สำคัญ ขอแต่ว่าให้มีตัวเจตนา คือตั้งใจทำกรรมก็ย่อมจะเกิดขึ้นแล้วในทันทีทันใด

ดังนั้นผู้ที่กำลังทำกรรมชั่วอยู่ แล้วยังไม่ได้รับผลบาปก็อย่าเพิ่งหลงระเริงว่ากรรมชั่วไม่ผลนั่นเพราะกรรมชั่วยังตามไม่ทันแต่กำลังตามอยู่เหมือนหมาไล่เนื้อแต่ในวันหนึ่งมันก็ต้องตามทัน อยู่ดี ยกเว้นเสียแต่ว่าเราจะบรรลุพระนิพพานเสียก่อน

เรื่องพระอุตตรเถระ ครั้งนั้น พวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลี ถือสมณบริขารนั้น เข้าไปหาท่านเรวตะแล้วเรียนว่า ท่านเจ้าข้า ขอพระเถระจงรับสมณบริขาร คือ บาตร จีวร ผ้าปูนั่ง กล่องเข็ม ผ้ากายพันธ์ ผ้ากรองน้ำ และธัมกรก              พระเรวตะกล่าวว่า อย่าเลย ท่านทั้งหลาย ไตรจีวรของเราบริบูรณ์แล้ว ไม่ปรารถนารับ              สมัยนั้น ภิกษุชื่ออุตตระมีพรรษา ๒๐ เป็นอุปฐากของท่านพระเรวตะ ครั้งนั้น พวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีเข้าไปหาท่านพระอุตตระ แล้วบอกว่า ขอท่านอุตตระจงรับสมณบริขาร คือ บาตร จีวร ผ้าปูนั่ง กล่องเข็ม ผ้ากายพันธ์ ผ้ากรองน้ำ และธัมกรก              พระอุตตระกล่าวว่า อย่าเลย ท่านทั้งหลาย ไตรจีวรของผมบริบูรณ์แล้ว ไม่ปรารถนารับ              พวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีกล่าวว่า ท่านอุตตระ คนทั้งหลาย น้อมถวายสมณบริขารแด่พระผู้มีพระภาค ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงรับ พวกเขาย่อม ดีใจเพราะการทรงรับนั้นแล ถ้าไม่ทรงรับ พวกเขาก็น้อมถวายแด่ท่านพระอานนท์ ด้วยเรียนว่า ท่านเจ้าข้า ขอพระเถระจงรับสมณบริขาร สมณบริขารที่พระเถระ รับนั้น จักเหมือนสมณบริขารที่พระผู้มีพระภาคทรงรับ ฉะนั้น ขอท่านพระอุตตระ จงรับสมณบริขารเถิด สมณบริขารที่ท่านรับนั้น จักเป็นเหมือนสมณบริขารที่พระ เถระรับ ฉะนั้น              ครั้งนั้น ท่านพระอุตตระถูกพวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีแค่นไค้อยู่ จึงรับจีวรผืนหนึ่งกล่าวว่า ท่านทั้งหลาย ท่านพึงพูดสิ่งที่ท่านต้องการ              พวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีกล่าวว่า ขอท่านพระอุตตระจงกล่าวคำ เพียงเท่านี้กะพระเถระว่า ท่านเจ้าข้า ขอพระเถระจงพูดคำมีประมาณเท่านี้ในท่าม กลางสงฆ์ว่า พระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมเสด็จอุบัติในปุรัตถิมชน- *บท พวกพระชาวปราจีนเป็นธรรมวาที พวกพระชาวเมืองปาฐาเป็นอธรรมวาที              ท่านพระอุตตระ รับคำของพวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีแล้ว เข้าไป หาท่านพระเรวตะ เรียนว่า ท่านเจ้าข้า ขอพระเถระจงพูดคำมีประมาณเท่านี้ใน ท่ามกลางสงฆ์ว่า พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมเสด็จอุบัติในปุรัตถิมชนบท พวกพระชาวปราจีนเป็นธรรมวาที พวกพระชาวเมืองปาฐา เป็นอธรรมวาที              พระเถระกล่าวว่า ภิกษุ เธอชวนเราในอธรรมหรือ แล้วประณามท่าน พระอุตตระ ครั้งนั้น พวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีได้ถามท่านพระอุตตระว่า ท่านอุตตระ พระเถระพูดอย่างไร              พระอุตตระตอบว่า ท่านทั้งหลาย พวกเราทำเลวทรามเสียแล้ว พระเถระ กล่าวว่า ภิกษุ เธอชวนเราในอธรรมหรือ แล้วประณามเรา              ว. ท่านอุตตระ ท่านเป็นผู้ใหญ่ มีพรรษา ๒๐ มิใช่หรือ              อ. ถูกละ ขอรับ แต่ผมยังถือนิสัยในพระเถระ ฯ

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ บรรทัดที่ ๗๙๗๗ – ๘๐๑๒. หน้าที่ ๓๓๑ – ๓๓๒. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=7&A=7977&Z=8012&pagebreak=0

ความรู้พื้นฐานทางศาสนาและปรัชญา Introduction to Religion and Philosophy

การเข้ามาสู่ประเทศไทยของพระพุทธศาสนา

เมื่อ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ต่อมาประมาณพุทธศตวรรษที่ 3 พระเจ้าอโศกมหาราชผู้ทรงปกครองประเทศอินเดียในสมัยนั้น มีความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา พระองค์ได้ทรงให้ความอุปถัมภ์โดยทรงจัดให้มีการทำสังคายนาพระพุทธศาสนาครั้ง ที่ 3 ขึ้นในปี พ . ศ . 236 ณ วัดอโศการาม นครปาฎลีบุตรแคว้นมคธ ( ปัจจุบันคือเมืองปัฏนะ เมืองหลวงของรัฐพิหาร ) ทรงอาราธนาพระโมคคัลลีบุตรติสสะเถระ เป็นประธาน หลังจากทำสังคายนาร้อยกรองพระธรรมวินัยเสร็จสิ้นแล้ว พระโมคคัลลีบุตรได้จัดคณะพระธรรมทูตออกเป็น 9 คณะแล้วส่งไปประกาศพระศาสนาในดินแดนต่าง ๆ ดังนี้

คณะที่ 1พระมัชฌันติกเถระเป็นหัวหน้าคณะไปเผยแผ่พุทธศาสนา ณ แคว้นกัษมีระ และคันธาระ ในปัจจุบันได้แก่ ประเทศปากีสถาน และอัฟกานิสถาน

คณะที่ 2 มีพระมหาเทวะเป็นหัวหน้าคณะ ไปเผยแผ่พุทธศาสนา ในแคว้นมหิสมณฑล ปัจจุบันได้แก่ รัฐไมซอร์ และดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำโคธาวารี ซึ่งอยู่ทางใต้ของประเทศอินเดีย

คณะที่ 3 มีพระรักขิตเถระเป็นหัวหน้าคณะไปเผยแผ่พุทธศาสนา ณ วนวาสีประเทศ ในปัจจุบัน ได้แก่ ดินแดนทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอินเดีย

คณะที่ 4 มีพระธรรมรักขิตเป็นหัวหน้าคณะ ไปเผยแผ่พุทธศาสนา ณ อปรันตกชนบท ปัจจุบันสันนิษฐานว่า คือดินแดนแถบชายทะเลเหนือเมืองบอมเบย์

คณะที่ 5 มีพระมหาธรรมรักขิตเป็นหัวหน้าคณะไปเผยแผ่พุทธศาสนา ณ แคว้นมหาราษฎร์ ปัจจุบันได้แก่ รัฐมหาราษฎร์ของประเทศอินเดีย

คณะที่ 6 มีพระมหารักขิตเป็นหัวหน้าคณะไปเผยแผ่พุทธศาสนาในเอเซียกลาง ปัจจุบัน ได้แก่ ดินแดนที่เป็นประเทศอิหร่านและตุรกี

คณะที่ 7 มีพระมัชฌิมะเป็นหัวหน้าคณะไปเผยแผ่พุทธศาสนา ณ ดินแดนแถบภูเขาหิมาลัย ปัจจุบันสันนิษฐานว่า คือ ประเทศเนปาล

คณะที่ 8 มีพระโสณะและพระอุตตระเป็นหัวหน้าคณะไปเผยแผ่พุทธศาสนา ณ ดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งปัจจุบัน คือประเทศในคาบสมุทรอินโดจีน เช่น พม่า ไทย ลาว เขมร เป็นต้น

คณะที่ 9 มีพระมหินทเถระผู้เป็น พระราชโอรสของพระเจ้าอโศกมหาราช เป็นหัวหน้าคณะไปเผยแผ่พุทธศาสนา ณ เกาะลังกา ซึ่งในปัจจุบัน ได้แก่ ประเทศศรีลังกา การเผยแผ่พระพุทธศาสนา ที่พระโมคคัลลีบุตรเถระดำเนินการ โดยจัดส่งพระธรรมทูตคณะต่างๆ ประกาศพระศาสนาในต่างแดนนั้น แม้ส่วนใหญ่จะยังอยู่ในอาณาเขตของชมพูทวีป หรือประเทศอินเดียในปัจจุบัน แต่ก็ถือว่าเป็นการประกาศศาสนา ในเชิงรุกทำให้พุทธศาสนา ได้แพร่หลายกว้างไกลออกไปยังดินแดนต่างๆ อย่างแพร่หลายเป็นที่รู้จักของมหาชน

สันนิษฐาน กันว่า พระสมณทูตสายที่ 8 คือพระโสณะกับพระอุตตระนี่เอง ที่นำพุทธศาสนาเข้ามาสู่ดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งก็คือบริเวณจังหวัดนครปฐม โดยสันนิษฐานจากการพบตราพระธรรมจักร ที่นักโบราณคดี สันนิษฐานกันว่า น่าจะอยู่ในช่วงประมาณ พ . ศ . 236 สมัยเดียวกันกับพระเจ้าอโศกมหาราชส่งพระโสณะ และพระอุตตระมาประกาศพระศาสนา แต่พม่าก็สันนิษฐานว่า มีในกลางอยู่ที่เมืองสะเทิม ภาคใต้ของพม่า

แม้ จะมีความขัดแย้งกันเรื่องหลักฐานที่ต่างฝ่ายต่างอ้างก็ตาม พุทธศาสนาก็ได้เข้ามาสู่สุวรรณภูมิแล้ว นำโดยพระโสณะและพระอุตตระ พระเถระชาวอินเดีย เดินทางมาเผยแผ่พุทธศาสนาในแถบนี้ จนเจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับ ตามยุคสมัยต่อไปนี้
1. สมัยทวาราวดี

ผืนแผ่นดินจุดแรกของ อาณาจักรสุวรรณภูมิ หรือที่เรียกกันว่า “ แหลมทอง ” ซึ่งท่าน พระโสณะกับพระอุตตระได้เดินทางจากชมพูทวีป เข้ามาประดิษฐานนั้น จดหมายเหตุของ หลวงจีนเหี้ยนจัง เรียกว่า “ ทวาราวดี ” สันนิษฐานว่าได้แก่ที่จังหวัดนครปฐม เพราะมีโบราณสถานและโบราณวัตถุต่างๆ เช่น พระปฐมเจดีย์ ศิลารูปพระธรรมจักร เป็นต้น ปรากฏว่าเป็นหลักฐานประจักษ์พยานอยู่ พระพุทธศาสนาที่เข้ามาในครั้งนี้ เป็นแบบเถรวาทดั้งเดิม พุทธศาสนิกชนได้มีความศรัทธาเลื่อมใส บวชเป็นพระภิกษุจำนวนมาก และได้สร้างสถูปเจดีย์ไว้สักการะบูชา เรียกว่า สถูปรูปฟองน้ำ เหมือนสถูปสาญจีในอินเดีย ที่พระเจ้าอโศกทรงสร้างขึ้น ศิลปะในยุคนี้เรียกว่า ศิลปะแบบทวาราวดี

2. สมัยอาณาจักรอ้ายลาว

พระพุทธศาสนาในยุคนี้เป็นแบบมหายาน ในสมัยที่ ขุนนางเม้ากษัตริย์ไทย ก่อนที่จะอพยพเข้ามาสู่ประเทศไทยปัจจุบัน ครองราชย์อยู่ใน อาณาจักรอ้ายลาว ได้รับเอาพระพุทธศาสนามหายาน ผ่านมาทางประเทศจีน โดยการนำของพระสมณทูตชาวอินเดียมาเผยแผ่ ในคราวที่ พระเจ้ากนิษกะมหาราช ทรงอุปถัมภ์การสังคายนาครั้งที่ ๔ ของฝ่ายมหายาน ณ เมืองชลันธร พระสมณทูตได้เข้ามาเผยแผ่ พระพุทธศาสนาในเอเซียกลาง พระเจ้ามิ่งตี่ กษัตริย์จีนทรงรับพระพุทธศาสนา ไปเผยแผ่ในจีน และได้ส่งทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีกับอาณาจักรอ้ายลาว คณะทูตได้นำเอาพระพุทธศาสนามาด้วย ทำให้หัวเมืองไทยทั้ง ๗๗ มีราษฎร ๕๑ , ๘๙๐ ครอบครัว หันมานับถือพระพุทธศาสนาแบบมหายานเป็นครั้งแรก

3. สมัยศรีวิชัย พ . ศ . 1300

อาณาจักรศรีวิชัยในเกาะสุมาตราเจริญรุ่งเรืองในช่วง พุทธศตวรรษที่ ๑๓ ได้แผ่อำนาจเข้ามาถึง จัดหวัดสุราษฎร์ธานี กษัตริย์ศรีวิชัยทรงนับถือ พุทธศาสนาแบบมหายาน พระพุทธศาสนาแบบมหายานจึงได้แผ่เข้ามาสู่ภาคใต้ของไทย ดังหลักฐานที่ปรากฏคือเจดีย์พระบรมธาตุไชยา พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช และ  รูปหล่อพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร

4. สมัยลพบุรี พ . ศ . 1550

ใน สมัยกษัตริย์กัมพูชาราชวงศ์สุริยวรมันเรืองอำนาจนั้น ได้แผ่อาณาเขตขยายออกมาทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางของประเทศไทย ในราว . ศ . 1540 และได้ตั้งราชธานีเป็นที่อำนวยการปกครองเมืองต่างๆ ในดินแดนดังกล่าวขึ้นหลายแห่ง เช่น

เมืองลพบุรี ปกครองเมืองที่อยู่ในอาณาเขตทวาราวดี ส่วนข้างใต้

เมืองสุโทัย ปกครองเมืองที่อยู่ในอาณาเขตทวาราวดีส่วนข้างเหนือ

เมืองศรีเทพ ปกครองหัวเมืองที่อยู่ตามลุ่มแม่น้ำป่าสัก

เมืองพิมาย ปกครองเมืองที่อยู่ในที่ราบสูงต้อนข้างเหนือ

5. สมัยเถรวาทแบบพุกาม

ในสมัยที่ พระเจ้าอนุรุทธมหาราช กษัตริย์พุกามเรืองอำนาจ ทรงรวบรวมเอาพม่ากับรามัญเข้าเป็นอาณาจักรเดียวกัน แล้วแผ่อาณาเขตเข้ามาถึงอาณาจักรล้านนา ล้านช้าง จนถึงลพบุรี และทวาราวดี พระเจ้าอนุรุทธทรงนับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ทรงส่งเสริมทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง

ส่วนชนชาติไทย หลังจากอาณาจักรอ้ายลาวสลายตัว ก็ได้มาตั้ง อาณาจักรน่านเจ้า ถึงประมาณ . ศ . 1299 ขุนท้าวกวาโอรสขุนบรมแห่งอาณาจักรน่านเจ้า ได้สถาปนา อาณาจักรโยนกเชียงแสน ใน สุวรรณภูมิ หลังจากนั้นคนไทยก็กระจัดกระจายอยู่ทั่วภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางของประเทศไทยปัจจุบัน เมื่อกษัตริย์พุกาม ( กัมพูชา ) เรืองอำนาจ คนไทยที่อยู่ในเขตอำนาจของขอม ก็ได้รับทั้งศาสนาและวัฒนธรรมของเขมรไว้ด้วย ส่วนทางล้านนาก็ได้รับอิทธิพลจากขอมเช่นเดียวกัน คือเมื่ออาณาจักรพุกามของกษัตริย์พม่าเข้ามาครอบครองดินแดนแถบนี้ ดังเห็นว่ามีปูชนียสถานแบบพม่าหลายแห่ง และเจดีย์ที่มีฉัตรอยู่บนยอด และฉัตรที่ ๔ มุมของเจดีย์ ก็ได้รับอิทธิพลมาจากพุกามแบบพม่า
6. สมัยสุโขทัย

หลังจากอาณาจักรพุกามและกัมพูชาเสื่อมอำนาจลง คนไทยจึงได้ตั้งตัวเป็นอิสระ ได้ก่อตั้งอาณาจักรขึ้นเอง 2 อาณาจักร ได้แก่ อาณาจักรล้านนา อยู่ทางภาคเหนือของไทย และ อาณาจักรสุโขทัย มีศูนย์กลางอยู่ที่จังหวัดสุโขทัยปัจจุบัน

เมื่อ พ่อขุนรามคำแหง เสด็จ ขึ้นครองราชย์ ทรงสดับกิตติศัพท์ของพระสงฆ์ลังกา จึงทรงอาราธนาพระมหาเถระสังฆราช ซึ่งเป็นพระเถระชาวลังกาที่มาเผยแผ่อยู่ที่นครศรีธรรมราช มาเผยแผ่พุทธศาสนาในกรุงสุโขทัย

พุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ได้เข้ามาเผยแผ่ในประเทศไทยถึง 2 ครั้ง คือครั้งที่ 1 ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง ครั้งที่ 2 ในสมัยพระเจ้าลิไท พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก กษัตริย์ทุกพระองค์ทรงปกครองบ้านเมืองโดยธรรม มีความสงบร่มเย็น ประชาชนเป็นอยู่โดยผาสุก ศิลปะสมัยสุโขทัยได้รับการกล่าวขานว่างดงามมาก โดยเฉพาะพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย มีลักษณะงดงาม ไม่มีศิลปะสมัยใดเหมือน

7. สมัยล้านนา

ปี พ . ศ . 1839 พระเจ้ามังรายมหาราช ทรงสร้างราชธานีขึ้น ชื่อว่า “ นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ ” ได้ตั้งถิ่นฐาน ณ ลุ่มแม่น้ำปิง ได้สร้างเมือง สร้างวัง และวัดขึ้น ทรงทำนุบำรุงพุทธศาสนา ได้สร้างวัดต่างๆ มากมาย ทั้งที่เป็นฝ่ายคามวาสี และอรัญญวาสี จนพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง เมืองต่างๆ ในอาณาจักรล้านนา เช่น เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา ต่างก็มีความเจริญรุ่งเรือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านพุทธศาสนา พิธีกรรมและความเชื่อทางศาสนามีอิทธิพลต่อชาวล้านนาอย่างมาก ในรัชสมัยของพระเจ้าติโลกราชแห่งเชียงใหม่ ได้ทำการ สังคายนาพระไตรปิฎกครั้งแรกของประเทศไทย ขึ้น ณ วัดมหาโพธาราม ( วัดเจ็ดยอด ) เมื่อ ปี พ . ศ . 2020

ในสมัย ล้านนา ได้เกิดมีพระเถระนักปราชญ์ชาวล้านนาหลายรูป ท่านเหล่านั้นได้รจนาคัมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนาไว้เป็นจำนวนมาก ได้แก่ พระสิริมังคลาจารย์ พระญาณกิตติเถระ พระรัตนปัญญา พระโพธิรังษี พระนันทาจารย์ และพระสุวรรณรังสี

8. สมัยอยุธยา

พระพุทธ ศาสนาในสมัยอยุธยาได้รับอิทธิพลของพราหมณ์เข้ามามาก พิธีกรรมต่าง ๆ ได้ปะปนพิธีของพราหมณ์ เน้นความขลังความศักดิ์สิทธิ์ และอิทธิปาฏิหาริย์ มีเรื่องไสยศาสตร์เข้ามาปะปนอยู่มาก ประชาชนมุ่งเรื่องการบุญการกุศล สร้างวัดวาอาราม สร้างปูชนียวัตถุ บำรุงศาสนาเป็นส่วนมาก ในสมัยอยุธยาต้องประสบกับภาวะสงครามกับพม่า จนเกิดภาวะวิกฤตทางศาสนาหลายครั้ง ประวัติศาสตร์อยุธยาแบ่งเป็น 4 ตอน ได้แก

อยุธยาตอนแรก ( พ . ศ . 1991-2031)

ใน สมัยพระบรมไตรโลกนาถ ทรงปกครองบ้านเมืองด้วยความสงบร่มเย็น ทรงทำนุบำรุงพุทธศาสนา ทรงผนวชเป็นเวลา 8 เดือน เมื่อ พ . ศ . 1998 และทรงให้พระราชโอรสกับพระราชนัดดาผนวชเป็นสามเณรด้วย สันนิษฐานว่าเป็นการเริ่มต้นของประเพณีการบวชเรียนของเจ้านายและข้าราชการ ในรัชสมัยของพระองค์ ได้มีการรจนาหนังสือมหาชาติคำหลวง ใน พ . ศ . 2025

สมัยอยุธยาตอนที่สอง ( พ . ศ . 2034-2173)

สมัย นี้ได้มีความนิยมในการสร้างวัดขึ้น ทั้งกษัตริย์และประชาชนทั่วไป นิยมสร้างวัดประจำตระกูล ในสมัยพระเจ้าทรงธรรมได้พบพระพุทธบาทสระบุรี ทรงให้สร้างมณฑปครอบพระพุทธบาทไว้ และโปรดให้ชุมชนราชบัณฑิตแต่งกาพย์มหาชาติ เมื่อ พ . ศ . 2170 และโปรดให้สร้างพระไตรปิฎกด้วย

สมัยอยุธยาตอนที่สาม ( พ . ศ . 2173-2310)

พระมหากษัตริย์ที่มีพระนามยิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษนี้ ได้แก่ สมเด็จพระณารายณ์มหาราช พระองค์ทรงมีบทบาทอย่างมากทั้งต่อฝ่ายอาณาจักรและศาสนจักร ทรงส่งเสริมพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า สมัยนี้พวกฝรั่งเศสได้เข้ามาติดต่อกับไทย และได้พยายามเผยแผ่พระพุทธศาสนา และทูลขอให้พระณารายณ์เข้ารีต แต่พระองค์ทรงมั่นคงในพระพุทธศาสนา ทรงนำพาประเทศชาติรอดพ้นจากการเป็นเมืองของฝรั่งเศสได้ เพราะมีพระราชศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง

สมัยอยุธยาตอนที่สี่ ( พ . ศ . 2275-2310)

พระ มหากษัตริย์ที่ทรงมีบทบาทมากในยุคนี้ ได้แก่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงเสวยราช เมื่อ พ . ศ . 2275 การบวชเรียนกลายเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาถึงยุคหลังถึงกับกำหนดให้ ผู้ที่จะเป็นขุนนาง มียศถาบรรดาศักดิ์ต้องเป็นผู้ที่ผ่านการบวชเรียนมาเท่านั้น จึงจะทรงแต่งตั้งตำแหน่งหน้าที่ให้ ในสมัยนี้ได้ส่งพระภิกษุเถระชาวไทยไปฟื้นฟูพุทธศาสนาในประเทศลังกาตามคำทูล ขอของกษัตริย์ลังกา เมื่อ พ . ศ . 2296 จนทำให้พุทธศาสนากลับเจริญรุ่งเรืองในลังกาอีกครั้ง จนถึงปัจจุบัน และเกิดนิกายของคณะสงฆ์ไทยขึ้นในลังกา ชื่อว่า นิกายสยามวงศ์ นิกายนี้ยังคงมีอยู่ถึงปัจจุบัน

9. สมัยกรุงธนบุรี

ปี พ . ศ . 2310 กรุงศรีอยุธยาถูกพม่ายกทัพเข้าตีจนบ้านเมืองแตกยับเยิน พม่าได้ทำลายบ้านเมืองเสียหายย่อยยับ เก็บเอาทรัพย์สินไป กวาดต้อนประชาชนแม้กระทั่งพระสงฆ์ไปเป็นเชลยเป็นจำนวนมาก วัดวาอารามถูกเผาทำลาย ครั้นต่อมาพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเป็นผู้นำในการกอบกู้อิสระภาพ สามารถกอบกู้เอกราชจากพม่าได้ ทรงตั้งราชธานีใหม่ คือ เมืองธนบุรี ทรงครองราชและปกครองแผ่นดินสืบมา ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามและสร้างวัดเพิ่มเติมอีกมาก ทรงรับภาระบำรุงพระพุทธศาสนารวบรวมคัมภีร์พระไตรปิฎกจากหัวเมือง มาคัดเลือกจัดเป็นฉบับหลวง แต่ไม่ยังทันเสร็จบริบูรณ์ก็สิ้นรัชกาลเสียก่อน ต่อมา พ . ศ . 2322 กองทัพไทยได้อัญเชิญ พระแก้วมรกต จากเวียงจันทน์มายังประเทศไทย ภายหลังพระองค์ถูกสำเร็จโทษเป็นอันสิ้นสุดสมัยกรุงธนบุร

10. สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

รัชกาลที่ 1 (2325-2352) พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ . ศ . 2325 ต่อจากพระเจ้าตากสินมหาราชทรงย้ายเมืองจากธนบุรี มาตั้งราชธานีใหม่ เรียกชื่อว่า “ กรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์ ” ทรงสร้างและปฏิสังขรณ์วัดต่างๆ เช่น สร้างวัด พระศรีรัตนศาสดาราม วัดสุทัศนเทพวราราม วัดสระเกศ และวัดพระเชตุพน ฯ เป็นต้น ทรงโปรดให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 9 และถือเป็นครั้งที่ 2 ในประเทศไทย ณ วัดมหาธาตุ ได้มีการสอนพระปริยัติธรรมในพระบรมมหาราชวัง ตลอดจนตามวังเจ้านายและบ้านเรือนของข้าราชการผู้ใหญ่ ทรงตรากฎหมายคณะสงฆ์ขึ้น เพื่อจัดระเบียบการปกครองของสงฆ์ให้เรียบร้อย ทรงจัดให้มีการสอบพระปริยัติธรรม ทรงสถาปนา สมเด็จพระสังฆราชองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์ โดยสถาปนาพระสังฆราช ( ศรี ) เป็นสมเด็จพระสังฆราช เมื่อปี พ . ศ . 2352

รัชกาลที่ 2 (2352-2367 ) พระ บาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อ พ . ศ . 2352 เป็นทรงทำนุบำรุงส่งเสริมพุทธศาสนา เหมือนอย่างพระมหากษัตริย์ไทยแต่โบราณใน รัชสมัยของพระองค์ได้ทรงสถาปนา
สมเด็จพระสังฆราชถึง 3 พระองค์ คือ สมเด็จพระสังฆราช ( มี ) สมเด็จพระสังฆราช ( สุก ) และสมเด็จพระสังฆราช ( สอน )

ในปี พ . ศ . 2357 ทรงจัดส่งสมณทูต 8 รูป ไปฟื้นฟูพุทธศาสนาในประเทศลังกา ได้จัดให้มีการจัดงาน วันวิสาขบูชา ขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อ . ศ . 2360 ซึ่ง แต่เดิมก็เคยปฏิบัติถือกันมาเมื่อครั้งกรุงสุโขทัย แต่ได้ขาดตอนไปตั้งแต่เสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า จึงได้มีการฟื้นฟูวันวิสาขบูชาใหม่ ได้โปรดให้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขวิธีการสอบไล่ปริยัติธรรมขึ้นใหม่ ได้ขยายหลักสูตร 3 ชั้น คือ เปรียญตรี – โท – เอก เป็น 9 ชั้น คือชั้นประโยค 1-2 – 9

รัชกาลที่ 3 (2367-2394) พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้มีการสร้าง พระไตรปิฎกฉบับหลวง เพิ่ม จำนวนขึ้นไว้อีกหลายฉบับครบถ้วนกว่ารัชกาลก่อนๆ โปรดให้แปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามหลายแห่ง และสร้างวัดใหม่ คือ วัดเทพธิดาราม วัดราชราชนัดดา และวัดเฉลิมพระเกียรติ ได้ตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อสอนหนังสือไทยแก่เด็ก

ในสมัยนี้ได้เกิด นิกายธรรมยุติ ขึ้น โดยพระวชิรญาณเถระ ( เจ้าฟ้ามงกุฏฯ ) ขณะที่ผนวชอยู่ได้ทรงศรัทธาเลื่อมใสในจริยาวัตรของพระมอญ ชื่อ ซาย ฉายา พุทฺธวํโส จึงได้ทรงอุปสมบทใหม่ เมื่อ พ . ศ . 2372 ได้ตั้งคณะธรรมยุติขึ้นในปี . ศ . 2376 แล้วเสด็จมาประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร และตั้งเป็นศูนย์กลางของคณะธรรมยุติ

รัชกาลที่ 4 (2394-2411) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เมื่อทรงเป็นเจ้าฟ้ามงกุฎได้ผนวช 27 พรรษาแล้วได้ลาสิกขาขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนมายุ 57 พรรษา ใน พ . ศ . 2394 ด้านการพระศาสนา ทรงพระราชศรัทธาสร้างวัดใหม่ขึ้นหลายวัด เช่น วัดปทุมวนาราม วัดโสมนัสวิหาร วัดมกุฎกษัตริยาราม วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม และวัดราชบพิตร เป็นต้น ตลอดจนบูรณะวัดต่างๆ อีกมาก โปรดให้มีพระราชพิธี “ มาฆบูชา ” ขึ้นเป็นครั้งแรก ใน พ . ศ . 2394 ณ ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม จนได้ถือปฏิบัติสืบมาจนถึงทุกวันนี้

รัชกาลที่ 5 (2411-2453) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อ พ . ศ . 2411 ทรงยกเลิก ระบบทาส ในเมืองไทยได้สำเร็จ ทรงสร้างวัดใหม่ขึ้น คือ วัดวัดราชบพิตร วัดเทพศิรินทราวาส วัดเบญจมบพิตร วัดอัษฎางคนิมิตร วัดจุฑาทิศราชธรรมสภา และวัดนิเวศน์ธรรมประวัติ ทรงบูรณะวัดมหาธาตุ และวัดอื่นๆ อีก ทรงนิพนธ์วรรณกรรมทางพุทธศาสนาจำนวนมาก โปรดให้มีการเริ่มต้น การศึกษาแบบสมัยใหม่ ในประเทศไทย โดยให้พระสงฆ์รับภาระช่วยการศึกษาของชาติ ครั้น พ . ศ . 2427 ได้จัดตั้ง โรงเรียนสำหรับราษฎร ขึ้นเป็นแห่งแรก ณ วัดมหรรณพาราม ถึงปี พ . ศ . 2414 โปรดให้จัดการศึกษาแก่ประชาชนในหัวเมือง โดยจัดตั้งโรงเรียนในหัวเมืองขึ้น

เมื่อ พ . ศ . 2435 มีพระบรมราชโองการประกาศตั้ง กรมธรรมการ เป็น กระทรวงธรรมการ ( กระทรวงศึกษาธิการปัจจุบัน ) โปรดให้มีการพิมพ์พระไตรปิฎกด้วยอักษรไทย จบละ 39 เล่ม จำนวน 1,000 จบ พ . ศ . 2432 โปรดให้ย้ายที่ราชบัณฑิตบอกพระปริยัติธรรมแก่พระภิกษุสามเณรจากในวัดพระศรี รัตนศาสดารามออกมาเป็นบาลีวิทยาลัย ชื่อมหาธาตุวิทยาลัยที่วัดมหาธาตุ และต่อมาปี พ . ศ . 2439 ได้ประกาศเปลี่ยนนามมหาธาตุวิทยาลัยเป็น มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นที่ศึกษาพระปริยัติธรรมและวิชาการชั้นสูงของพระภิกษุสามเณร

ปี พ . ศ . 2436 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงจัดตั้ง “ มหามกุฏราชวิทยาลัย ” ขึ้น เพื่อเป็นแหล่งศึกษาพุทธศาสนาแก่พระภิกษุสามเณรฝ่ายธรรมยุตินิกาย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จเปิดในปีเดียวกัน

รัชกาลที่ 6 (2453-2468) พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงพระปรีชาปราดเปรื่องในความรู้ทางศาสนามาก ทรงนิพนธ์หนังสือแสดงคำสอนในพุทธศาสนาหลายเรื่อง เช่น เทศนาเสือป่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร เป็นต้น ถึงกับทรงอบรมสั่งสอนอบรมข้าราชการด้วยพระองค์เอง ทรงโปรดให้ใช้ พุทธศักราช ( พ . ศ .) แทน ร . ศ . เมื่อ พ . ศ . 2456 ให้เปลี่ยนกระทรวงธรรมการเป็น กระทรวงศึกษาธิการ

ใน ปี พ . ศ . 2454 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเปลี่ยนวิธีการสอบบาลีสนามหลวงจากปากเปล่ามาเป็นข้อเขียนเป็นครั้งแรก

พ . ศ . 2469 ทรงเริ่มการศึกษาพระปริยัติธรรมใหม่ขึ้นอีกหลักสูตรหนึ่ง เรียกว่า “ นักธรรม ” โดยมีการสอบครั้งแรกเมื่อ เดือนตุลาคม ๒๔๕๔ ตอนแรกเรียกว่า “ องค์ของสามเณรรู้ธรรม ”

พ . ศ . 2462-2463 โปรดให้พิมพ์คัมภีร์อรรถกถาแห่งพระไตรปิฎกและอรรถกถาชาดก และคัมภีร์อื่นๆ เช่น วิสุทธิมรรค มิลินทปัญหา เป็นต้น

รัชกาลที่ 7 (2468-2477) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้มีการทำสังคายนาพระไตรปิฎกขึ้นตั้งแต่ พ . ศ . 2468-2473 เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เป็นการสังคายนาครั้งที่ 3 ในเมืองไทย แล้วทรงจัดให้พิมพ์ พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ ชุดละ 45 เล่ม จำนวน 1,500 ชุด และพระราชทานแก่ประเทศต่างๆ ประมาณ 500 ชุด โปรดให้ย้าย กรมธรรมการ กลับเข้ามารวมกับ กระทรวงศึกษาธิการ และเปลี่ยนชื่อกระทรวงศึกษาธิการเป็นกระทรวงธรรมการอย่างเดิม โดยมีพระราชดำริว่า “ การศึกษาไม่ควรแยกออกจากวัด ” ต่อมาปี พ . ศ . 2471 กระทรวงธรรมการประกาศเพิ่มหลักสูตรทางจริยศึกษาสำหรับนักเรียน ได้เปิดให้ฆราวาสเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม โดยจัดหลักสูตรใหม่ เรียกว่า “ ธรรมศึกษา

ใน รัชสมัยนี้เองได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งยิ่งใหญ่ของไทย เมื่อคณะราษฎร์ได้ทำการปฏิวัติ ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช เป็นระบอบ ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ . ศ . 2475 ต่อ มาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติเมื่อ พ . ศ . 2477 ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 8

รัชกาลที่ 8 (2477-2489) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่อยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จขึ้นครองราชเป็นรัชกาลที่ 8 ในขณะพระพระชนมายุเพียง 9 พรรษาเท่านั้น และยังกำลังทรงศึกษาอยู่ในต่างประเทศ จึงมีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

ในด้านการศาสนาได้มีการแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1. พระไตรปิฎก แปลโดยอรรถ พิมพ์เป็นเล่มสมุด 80 เล่ม เรียกว่า พระไตรปิฎกภาษาไทย แต่ไม่เสร็จสมบูรณ์ และทำต่อจนเสร็จเมื่องานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ เมื่อปี พ . ศ . 2500

2. พระไตรปิฎก แปลโดยสำนวนเทศนาพิมพ์ใบลาน แบ่งเป็น 1250 กัณฑ์ เรียกว่า พระไตรปิฎกฉบับหลวง เสร็จเมื่อ พ . ศ . 2492

พ . ศ . 2484 ได้เปลี่ยนชื่อกระทรวงธรรมการเป็น กระทรวงศึกษาธิการ และกรมธรรมการเปลี่ยนเป็น กรมการศาสนา และในปีเดียวกัน รัฐบาลได้ออก . ร . บ . คณะสงฆ์ พ . ศ . 2484 เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม เพื่อให้การปกครองคณะสงฆ์มีความสอดคล้องเหมาะสมกับการปกครองแบบใหม่ของทางบ้านเมือง

พ . ศ . 2488 มหามกุฎราชวิทยาลัย ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อ พ . ศ . 2436 ได้ประกาศตั้งเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ ชื่อ “ สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย ” เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม

พ . ศ . 2498 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลได้ถูกลอบปลงพระชนม์ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นครองราชเป็นรัชกาลที่ 9 รัชกาลปัจจุบัน

สมัยรัชกาลที่ 9 ( ตั้งแต่ พ . ศ . 2489 – ปัจจุบัน ) ทรงมีพระราชศรัทธาในพุทธศาสนา และทรงเป็นศาสนูปถัมภก ทรงให้การอุปถัมภ์แก่ทุกศาสนา และทรงปกครองบ้านเมืองโดยสงบร่มเย็น ตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้มีการส่งเสริมพุทธศาสนาด้านต่างๆ มากมาย ดังนี้

ด้านการศึกษา ประชาชนได้สนใจศึกษาพุทธศาสนามากขึ้นตามลำดับ ได้มีการจัดตั้งสมาคม มูลนิธิทางพุทธศาสนาเพื่อการศึกษามากมาย มีการจัดตั้งชมรมพุทธศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาต่าง ๆ

พ . ศ . 2490 มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งตั้งขึ้นตั้งแต่ พ . ศ . 2432 ได้ประกาศตั้งเป็นมหาวิทยาลัยฝ่ายพระพุทธศาสนาขึ้น เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2490 และเปิดการศึกษาเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2490 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

ส่วนการศึกษาของพระสงฆ์ได้มีการยกระดับมาตรฐานการศึกษา เช่น ยกระดับมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง 2 แห่ง คือ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และ มหามกุฏราชวิทยาลัย ได้เปิดการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษาแก่พระภิกษุสามเณรใน ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และ ปริญญาเอก โดยเน้นการศึกษาด้านพุทธศาสนา ปรัชญาเป็นหลัก ได้มีการรับรองวิทยฐานะเทียบเท่ากับมหาวิทยาลัยสากลทั่วไป และได้ออกกฎหมาย . ร . บ . มหาวิทยาลัยสงฆ์ ทั้ง 2 แห่ง โดยรัฐสภาเมื่อ . ศ . 2540 มีชื่อว่า “ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และ “ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ” ปัจจุบันนี้ มหาวิทยาลัยทั้งสองแห่งมีวิทยาเขตต่างจังหวัดอีกหลายแห่ง เช่น เชียงใหม่ พะเยา แพร่ ลำพูน นครสวรรค์ ขอนแก่น ร้อยเอ็ด เลย อุบลราชธานี นครราชสีมา หนองคาย นครปฐม นครศรีธรรมราช เป็นต้น

ส่วนการศึกษาด้านอื่น ได้มีการจัดตั้งโรงเรียนปริยัติธรรมแผนกสามัญ ระดับประถมปลาย และ ม .1 ถึง ม .6 เมื่อปี พ . ศ . 2514

ในปี พ . ศ . 2501 ได้มีการจัดตั้ง โรงเรียนพุทธศาสนาวัดอาทิตย์ ขึ้นเป็นแห่งแรก ณ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เพื่อเปิดการสอนพุทธศาสนาแก่เด็กและเยาวชน จนได้แพร่ขยายไปทั่วประเทศ .

ด้านการเผยแผ่ ได้มีการเผยแผ่พุทธศาสนาอย่างจริงจัง ทั้งในและต่างประเทศ ในประเทศไทยได้มีองค์กรเผยแผ่ธรรมในแต่ละจังหวัด โดยได้จัดตั้งพุทธสมาคมประจำจังหวัดขึ้น ส่วนพระสงฆ์ได้มีบทบาทในการเผยแผ่มากขึ้น โดยใช้สื่อของรัฐ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ เป็นต้น กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดเอาวิชาพระพุทธศาสนาเป็นวิชาภาคบังคับแก่นักเรียน ระดับมัธยมศึกษา ตั้งแต่ ม . 1 ถึง ม . 6 พระสงฆ์จึงได้มีบทบาทในการเข้าไปสอนในโรงเรียนต่างๆ มีการประยุกต์การเผยแผ่ธรรมในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การบรรยาย ปาฐกถา และเขียนหนังสืออธิบายพุทธธรรมมากขึ้น ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เช่น มีพระเถระนักปราชญ์ชาวไทยในยุคนี้ ได้แก่ ท่านพุทธทาสภิกขุ และพระธรรมปิฎก ( ประยุทธ์ ปยุตฺโต ) เป็นต้น

ในต่างประเทศได้มีการสร้างวัดไทยในต่างประเทศหลายวัด เช่น วัดไทยพุทธคยา ประเทศอินเดีย เป็นวัดไทยแห่งแรกในต่างประเทศ ต่อจากนั้นได้มีการสร้างวัดไทยในประเทศตะวันตก คือ วัดพุทธประทีป กรุงลอนดอน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จเปิด เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ . ศ . 2509 นับเป็นวัดไทยวัดแรกในประเทศตะวันตก ต่อมาปี พ . ศ . 2514 ได้มีการสร้างวัดแห่งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่นครลอสแองเจลิส รัฐแคลิฟอเนีย ชื่อว่า วัดไทยลอสแองเจลิส

นอก จากนั้นได้มีองค์การเผยแผ่พุทธศาสนาในต่างประเทศของคณะสงฆ์ไทย ได้จัดให้มีการอบรมพระธรรมทูตสายต่างประเทศขึ้นประจำทุกปี เพื่อส่งไปเผยแผ่พุทธศาสนาในต่างประเทศ โดยเฉพาะทางตะวันตก ปัจจุบันนี้ชาวตะวันตกได้หันมาสนใจพุทธศาสนากันมาก

ปี พ . ศ . 2508 ได้มีการจัดตั้งสำนักงานองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกขึ้น ณ ประเทศไทย ( พ . ส . ล . ) เพื่อเป็นศูนย์กลางของชาวพุทธทั่วโลก

ด้านพิธีกรรม ได้มีการเปลี่ยนแปลงพระราชพิธีต่าง ๆ ที่เป็นพระราชพิธีของพระมหากษัตริย์ ให้เป็นพิธีของรัฐบาล เรียกว่า “ รัฐพิธี ” โดยให้กรม กระทรวงต่าง ๆ เป็นผู้จัด ได้จัดให้มีงานส่งเสริมพระพุทธศาสนาช่วงวันวิสาขบูชาของทุกปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้พระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จแทนพระองค์ในพิธีเวียนเทียนในวันสำคัญทางพุทธศาสนาเช่นวันวิสาขบูชา มาฆบูชา อาสาฬหบูชา ณ พุทธมณฑล ซึ่งสร้างขึ้น เมื่อคราวฉลอง 25 พุทธศตวรรษ

ด้านวรรณกรรม ได้มีวรรณกรรมทางพุทธศาสนาเกิดขึ้นมากมาย มีปราชญ์ทางพุทธศาสนาเกิดขึ้นหลายรูป จึงได้เกิดวรรณกรรมทั้งประเภทร้อยแก้วและร้อยกรองมากมายหลายเล่ม เช่นพุทธประวัติจากพระโอษฐ์ ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ ของท่านพุทธทาสภิกขุ หนังสือ พุทธธรรม ของพระธรรมปิฎก ( ประยุทธ์ ปยุตฺโต ) เป็นต้น

สังคม ไทยจึงมีความผูกพันกับพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง จนไม่สามารถแยกออกจากวิถีชีวิตประจำวันได้ มีอิทธิพลต่อบุคคล สังคม และวัฒนธรรมอย่างมาก พุทธศาสนาเป็นสถาบันหลักใน 3 สถาบันของชาติ ควบคู่กับสถาบันชาติ และพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นรากฐานของวัฒนธรรมไทยด้านต่างๆ เช่น ด้านภาษา วรรณกรรม ศิลปกรรม จิตรกรรม การศึกษา การสงเคราะห์ และเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวไทยดั้งแต่อดีตกาลจนถึงปัจจุบัน

http://board.palungjit.com/showthread.php?t=144518

http://cyberclass.msu.ac.th/cyberclass/cyberclass-uploads/libs/html/40079/lesson_03_02.html

http://oilring.spaces.live.com/?_c11_BlogPart_BlogPart=blogview&_c=BlogPart&partqs=amonth%3D1%26ayear%3D2008http://cyberclass.msu.ac.th/cyberclass/cyberclass-uploads/libs/html/40079/lesson_03_slide.html#

หลักฐานใดที่แสดงให้เห็นว่าพระโสณะเถระและพระอุตรเถระได้เข้ามาเผยแผ่ศาสนาพุทธ ในประเทศไทย
หลักฐานใดที่แสดงให้เห็นว่าพระโสณะเถระและพระอุตรเถระได้เข้ามาเผยแผ่ศาสนาพุทธ ในประเทศไทย
หลักฐานใดที่แสดงให้เห็นว่าพระโสณะเถระและพระอุตรเถระได้เข้ามาเผยแผ่ศาสนาพุทธ ในประเทศไทย

lease support us by using Babylon search engine

หลักฐานใดที่แสดงให้เห็นว่าพระโสณะเถระและพระอุตรเถระได้เข้ามาเผยแผ่ศาสนาพุทธ ในประเทศไทย
Please support us by using Babylon search engine

หลักฐานใดที่แสดงให้เห็นว่าพระโสณะเถระและพระอุตรเถระได้เข้ามาเผยแผ่ศาสนาพุทธ ในประเทศไทย
หลักฐานใดที่แสดงให้เห็นว่าพระโสณะเถระและพระอุตรเถระได้เข้ามาเผยแผ่ศาสนาพุทธ ในประเทศไทย
Sorry, couldn’t find any translationPlease support us by using Babylon search engine

Sorry, couldn’t find any translatiPlease support us by using Babylon search engine