เหตุการณ์สำคัญใดที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 8

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489 ถือเป็นวันสวรรคตของ ‘พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล’ หลังทรงครองราชย์เป็นเวลา 12 ปี กับอีก 99 วัน ซึ่งต่อมาภายหลัง เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ปวงชนชาวไทยจึงมีการยึดถือวันดังกล่าวของทุกปีเป็น ‘วันอานันทมหิดล’

วันที่ 2 มีนาคม 2478 ในหลวงรัชกาลที่ 7 ทรงสละราชสมบัติ โดยมิได้มีการสมมติเจ้านายพระองค์ใดพระองค์หนึ่งเป็นรัชทายาท จึงทำให้ พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) พร้อมคณะรัฐมนตรี ได้ทำจดหมายพิจารณาลงความเห็นชอบต่อสภาผู้แทนราษฎร เพื่ออัญเชิญ ในหลวงรัชกาลที่ 8 ที่ขณะนั้นมีพระชนมายุ 9 พรรษา เสด็จขึ้นครองราชย์ เนื่องจากทรงมีฐานะเป็นเจ้านายเชื้อพระบรมวงศ์พระองค์ที่ 1 ในลำดับพระราชสันตติวงศ์ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบพระราชสันตติวงศ์ ปี 2467 โดยวันที่ 25 มีนาคม 2478 ทรงได้รับการเฉลิมพระนามใหม่ว่า ‘สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล’

อย่างไรก็ดี ช่วงเวลาดังกล่าวในหลวงรัชกาลที่ 8 ยังคงถือเป็นผู้เยาว์ไม่บรรลุนิติภาวะ และยังทรงประทับอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทำให้ต้องมีการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นเวลา 11 ปี ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ ปรีดี พนมยงค์ ก่อนในวันที่ 5 ธันวาคม 2488 จะทรงเสด็จนิวัตกลับพระนครเป็นการถาวร โดยในระหว่างนั้น ยังคงทรงศึกษาในระดับปริญญาเอก สาขานิติศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ท่ามกลางความหวังของราษฎรที่กำลังตกอยู่ภายใต้ความตึงเครียดจากเหตุสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เพิ่งสิ้นสุด

ขณะที่ในหลวงรัชกาลที่ 8 ทรงมีพระชนมายุล่วงเลยถึง 21 พรรษา และกำลังรอคอยพระราชพิธีบรมมราชาภิเษกอย่างเป็นทางการ อยู่ๆ ณ วันที่ 9 มิถุนายน 2489 เวลา 09.00 น ก็เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้น เมื่อมีรายงานว่าพระองค์เสด็จสวรรคตภายในห้องบรรทม พระที่นั่งบรมพิมาน ด้วยพระแสงปืนอย่างมีเงื่อนงำ โดยทางคณะแพทย์ผู้ชันสูตรพระศพ 3 ใน 4 ต่างลงความเห็นว่าเป็นการลอบปลงพระชนม์ ส่งผลให้ ชิต สิงหเสนี, บุศย์ ปัทมศริน และเฉลียว ปทุมรส 3 มหาดเล็กคนสำคัญ ที่เฝ้าเวรยามอยู่หน้าห้องบรรทม ณ เวลานั้น ตกเป็นจำเลย เนื่องจากบริเวณนั้นไม่มีผู้ใดอื่น

คดีการสิ้นพระชนม์ของในหลวงรัชกาลที่ 8 ศาลผู้พิเคราะห์คดียังมีการสันนิษฐานไปยัง ปรีดี พนมยงค์ ว่าเป็นผู้บงการมหาดเล็กทั้งสามให้ลอบปรงพระชนม์ ถึงแม้จะไม่มีพยานหรือหลักฐานใดๆ ที่บ่งชี้ชัดเจน แต่ก็ทำให้ปรีดีต้องตัดสินใจลี้ภัยทางการเมืองไปยังประเทศฝรั่งเศส เพราะมีการปลุกปั่นกระแสอยู่เป็นระยะ ซึ่งนักประวัติศาสตร์เห็นว่ามาจากฝีมือขั้วการเมืองฝั่งตรงข้าม ดั่งเหตุการณ์ที่โรงหนังศาลาเฉลิมกรุงที่มีผู้ตะโกนว่าปรีดีเป็นผู้ลอบสังหารในหลวงรัชกาลที่ 8

9 ปีต่อมา ถึงแม้ ชิต สิงหเสนี, บุศย์ ปัทมศริน และเฉลียว ปทุมรส จะทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ แต่ก็ไร้ผล ศาลยังคงยืนกรานคำตัดสินเนื่องจากคนที่อยู่หน้าห้องบรรทมมีแค่มหาดเล็กทั้งสาม และเป็นไปไม่ได้ที่พวกเขาจะไม่เห็นว่าใครเข้าออกห้องบรรทมเลย ท้ายที่สุดจึงตัดสินลงโทษผู้ต้องหาด้วยการประหารชีวิต โดยส่วนหนึ่งของคำแถลงการณ์ของกระทรวงมหาดไทย ระบุไว้ว่า

“ตามที่ศาลฎีกาได้พิพากษาลงโทษประหารชีวิต ชิต สิงหเสนี, บุศย์ ปัทมศริน และเฉลียว ปทุมรส จำเลยในคดีที่ถูกกล่าวหาว่าประทุษร้ายต่อองค์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล และจำเลยทั้งสามได้ทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา ขอพระราชทานอภัยโทษนั้น

“บัดนี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฎีกาของจำเลยทั้งสามเสีย ทางราชทัณฑ์จึงได้นำตัวจำเลยทั้งสาม ไปประหารชีวิตตามคำพิพากษา ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2498 เวลา 05.00 น. ณ เรือนจำกลางบางขวาง ต่อหน้าคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยผู้บัญชาการเรือนจำกลางบางขวาง เป็นประธานกรรมการ, ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี, นายแพทย์ เชื้อ พัฒนเจริญ และหลอม บุญอ่อน รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าแผนกควบคุมเรือนจำกลางบางขวาง เป็นกรรมการ ตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทยเป็นการเสร็จไปแล้ว จึงขอแถลงมาให้ทราบทั่วกัน”

อาจกล่าวได้ว่ากิจการลูกเสือในยุคนี้เป็นยุคที่มีความเคลื่อนไหว ตลอดจนพัฒนาการแห่งคณะลูกเสือน้อยที่สุด ด้วยเหตุว่า

  1. เกิดสงครามข้อพิพาทดินแดนในอินโดจีน ระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ในปี พ.ศ. 2482
  2. เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2484
  3. ยุคเริ่มต้นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ก่อให้เกิดระบอบการเมือง ที่มีความผันผวนอยู่ตลอดเวลา ความขัดแย้งระหว่างฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ ทำให้ต้องยุบสภาและเปลี่ยนรัฐบาลบ่อยๆ เมื่อการเมืองไม่นิ่งสงบทำให้ไม่มีใครเข้ามาดูแลกิจการลูกเสืออย่างจริงจัง เพราะอำนาจในการบริหารเปลี่ยนมือตลอดเวลา
  4. รัฐบาลในยุคนั้นก่อตั้งกิจการยุวชนทหาร เพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่รุนแรงของโลก ซึ่งได้ทับซ้อนกับกิจการลูกเสือ จนถึงที่สุดก็ได้ยุบกิจการลูกเสือให้เป็นเพียงหน่วยหนึ่งในกิจการยุวชนทหาร
  5. รัชสมยของพระองค์นั้นสั้นมากโดยสิ้นสุดลงในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2489 รวมเวลาในการครองสิริราชสมบัติเพียง 9 ปี

แต่อย่างไรก็ดียังมีปรากฏการณ์สำคัญของกิจการลูกเสือที่ต้องจารึกไว้คือ

เหตุการณ์สำคัญใดที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 8

  1. การมีตราสัญลักษณ์ประจำคณะลูกเสือเป็นครั้งแรก เพื่่อให้เข้ากับหลักสากลที่ลูกเสือทั่วโลกต่างก็มีตราสัญลกษณ์ของตนเองทั้ง สิ้น โดยใช้สัญลกษณ์ลูกเสือโลก คือรูป เฟอร์ เดอ ลีร์ ประกอบกับรูปหน้าเสือ มีอักษรจารึกด้านล่างว่า เสียชีพอย่าเสียสัตย์
  2. มีการออกพระราชบัญญัติลูกเสือขึ้นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2482 มีสาระคือ การกำหนดให้คณะลูกเสือแห่งชาติมีสภาพเป็นนิติบุคคล และโอนทรัพย์สินทั้งหลายในกิจการเสือป่าให้ตกเป็นของคณะลูกเสือแห่งชาติ เนื่องจากกิจการเสือป่าหยุดลงไป และไม่มีใครใส่ใจดูแล
  3. ปี พ.ศ. 2479 เมื่อถึงวันที่ 1 กรกฎาคม ซึ่งเป็นวันกำเนิดลูกเสือ แต่ทางคณะลูกเสือไม่สามารถจัดงานใหญ่ได้ เพราะสถานการณ์การเมืองและสถานการณ์ที่ตึงเครียดทั่วโลก จึงได้เปลี่ยนใหม่การจัดสร้างพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระมงกฎเกล้าเจ้าอยหัวฯ องค์ใหญ่ โดยประกาศของสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อเทิดพระเกียรติและประดิษฐานไว้ที่หน้าสวนลุมพีนี จนปัจจุบัน

 11,003 total views,  11 views today

เหตุการณ์ในข้อใดเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 8

ยกระดับกรมทหารอากาศเป็นกองทัพอากาศเมื่อ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๐ เริ่มให้มีการอุดหนุนโรงเรียนราษฎร์ เปิดใช้โทรศัพท์ติดต่อเองอัตโนมัติเมื่อ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๐ มีชุมสายวัดเลียบ ๒,๓๐๐ เลขหมาย ชุมสายบางรัก ๑,๒๐๐ เลขหมาย รวมเป็น ๓,๕๐๐ เลขหมาย สร้างกรีฑาสถานแห่งชาติสำเร็จเฟสแรก พ.ศ. ๒๔๘๓

รัชกาลที่8อยู่ในสมัยใด

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร.

รัชกาลที่ 8 มีพระราชกรณียกิจที่สำคัญด้านใดบ้าง

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการ ทั้งงานพระราชพิธี งานรัฐพิธี งานด้านการศาสนาและการศึกษา เสด็จพระราชทานปริญญาบัตรที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เสด็จเยี่ยมโรงพยาบาล หน่วยทหาร สถานที่สำคัญต่างๆ และทรงริเริ่มประเพณีการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในชนบท โดยเริ่มใน ...

รัชกาลที่8ไปไหน

พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทร มหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ประดิษฐาน ณ บริเวณลานประทักษิณ ชั้นล่างมุมทิศตะวันตกเฉียงเหนือพระวิหารหลวง วัดสุทัศนเทพวราราม เขตพระนคร กทม.