แบบ ทดสอบ ทักษะภาษาไทยเชิงวิชาชีพ 30000 1101

       ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการฟัง การดู การพูด การอ่านและการเขียนภาษาไทย การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินค่าสารในงานอาชีพจากสื่อประเภทต่าง ๆ การพูดนำเสนอข้อมูลเพื่อสื่อสารในงานอาชีพ และในโอกาสต่าง ๆ การเขียนเพื่อกิจธุระ การจดบันทึกข้อมูลและเขียนรายงานการปฏิบัติงานเชิงวิชาชีพ   และจรรยาบรรณในการใช้ภาษาไทยเชิงวิชาชีพ

เพือ่ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น โดยเน้นภาษาสุภาพ หลีกเล่ยี งการใช้คำศัพท์ทีย่ าก ๆ เป็นสำนวนท่ี

เข้าใจง่าย ส่วนใหญ่มักใช้ในกลุ่มผู้มีการศึกษา ในวงราชการในหมู่ครูอาจารย์ นักเรียน นักศึกษาตล อดจน

หนว่ ยงานตา่ ง ๆ

ตัวอย่าง สำนวนภาษาสามัญ คำสุภาพ

คำสามัญ/คำสภาพ คำราชาศพั ท์

ผกั บงุ้ ผักทอดยอด

ผักตบ ผักสามหาว

ผักกระเฉด ผกั รนู้ อน

ผกั อี้รื้น ผักนางร้ิน

ดอกซ่อนชู้ ดอกซ่อนกลนิ่

1.5.2 สำนวนภาษาการประพันธ์ เปน็ สำนวนท่สี ะดดุ ตาและสะดุดใจผู้อ่านไมว่ า่ จะเป็นสำนวนภาษา

ร้อยแก้วหรือร้อยกรองประเภทใดประเภทหนึ่ง โดยผู้แต่งมีจุดมุ่งหมายเพ่ือให้ผู้อ่านเกิดจินตนาการและ

จินตนาการและเกิดอารมณ์สะเทือนใจ ผู้แต่งมักใช้โวหารต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความไพเราะทั้งเรื่องเสียงและ

ความหมาย มักพบสำนวนภาษาการประพันธ์จากงานเขียนต่าง ๆ เช่น บทร้อยกรองทุกประเภท เรื่องสั้น

การโฆษณาต่าง ๆ ยกเวน้ งานเขยี นทางวทิ ยาศาสตร์

ตัวอย่าง สำนวนภาษาการประพนั ธ์ จากบทเสภา เรอื่ ง ขุนช้างขนุ แผน

“...ฝงู ลงิ ไต่กิง่ ลางลิงไขว่ ลางลงิ แล่นไล่กันวุ่นวง่ิ

ลางลงิ ชิงค่างขนึ้ ลางลิง กาหลงลงกง่ิ กาหลงลง

เพกากาเกาะทุกก้านกิ่ง กรรณิกากาชงิ กนั ชมหลง

มดั กากากวนล้วนกาดง กาฝากกาลงทำรงั กา

เสือมองยอ่ งแอบตน้ ตาเสอื ร่มหกู วางกวางเฝอื ฝูงกวางป่า

ออ้ ยช้างช้างนา้ วเป็นราวมา สาลกิ าจบั ก่ิงพิกลุ กิน...”

1.5.3 สำนวนภาษาสื่อมวลชนและสำนวนภาษาโฆษณา สำนวนภาษาทั้งสองประเภทนี้ปะปนกัน
ไป เนื่องจากการโฆษณามักใช้สื่อประเภทต่าง ๆ เผยแพร่ข่าวสาร ดังนั้นเราจึงพบสำนวนภาษาโฆษณาใน
สื่อมวลชนมากกว่าแหล่งอื่น เช่น รายการวิทยุ รายการโทรทัศน์ เป็นต้น การทำงานของสื่อมวลชนมี
จุดมุ่งหมายหลักเพื่อเร้าความสนใจของผู้รับสาร จึงทำให้เกิดสำนวนภาษาที่สะกิดหูและสะดุดตาผู้รับสาร
ดงั นนั้ จึงควรเลือกใชส้ ำนวนภาษาสอ่ื มวลชนและสำนวนภาษาโฆษณาใหถ้ กู ต้องและเหมาะสมตามกาลเทศะ

ตวั อย่าง สำนวนภาษาส่ือมวลชน

30000-1101 ทักษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี 6

1.5.4 สำนวนภาษาบนสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นภาษาที่ใช้ในการสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์ เช่น
สอื่ สงั คมออนไลน์ต่าง ๆ อาทิ เฟซบุ๊ก ไลน์ ทวติ เตอร์ เวบ็ ไซต์ โพสต์ เปน็ ตน้

ตัวอยา่ ง สำนวนภาษาใช้สอ่ื อเิ ลก็ ทรอนกิ ส์

1.6 ระดับภาษาทีใ่ ช้ในการสอื่ สาร

ภาษานอกจากจะใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารความรู้ ความคิด ความรู้สึก ทัศนคติแล้ว ยังใช้สร้าง
ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ มนุษย์ใช้ภาษาโดยคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างกัน โอกาส กาลเทศะ และ
ประชุมชน ภาษาจึงมลี ักษณะแตกต่างกันเปน็ หลายระดบั เพอื่ ใช้ใหส้ มั ฤทธผิ์ ลสมความมุ่งหมาย

ระดับของภาษา หมายถึง ความลดหลั่นของถ้อยคำและการเรียบเรียงถ้อยคำที่ใช้โดยพิจารณาตาม
โอกาส กาลเทศะ หรือความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่เป็นผู้สื่อสาร รวมถึงเนื้อหาที่สื่อสาร ภาษาอาจแบ่งเป็น
๓ ระดบั ดังน้ี

1.6.1 ระดับพธิ กี าร หรอื เรียกอีกชื่อว่า ระดับแบบแผน เปน็ ภาษาท่เี รียบเรยี งมาเป็นอย่างดี มีความ
ไพเราะ ใช้ถ่ายทอดเรื่องราวท่ีเป็นทางการ ผู้ส่งสารมกั เป็นบุคคลสำคัญโดยใชก้ ารสื่อสารในที่ประชุมทีจ่ ัดเป็น
พิธีการ ผู้ส่งสารมักเป็นผู้ส่งสารแต่เพียงฝ่ายเดียว ข้อสังเกตภาษาระดับนี้มักจะไม่มีการโต้ตอบกันระหว่าง
ผู้ส่งสารและผู้รับสาร เช่น พิธีเปิดงานต่าง ๆ การกล่าวให้โอวาท การกล่าวสุนทรพจน์ การกล่าวถวายพระพร
เปน็ ตน้

ตวั อย่าง ภาษาระดบั พธิ ีการ
“เนื่องในวโรกาสอันเป็นมหามงคลที่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทเจริญพระชนมพรรษา

ครบ ๖ รอบ ปวงประชาชาวไทยขอน้อมเกล้าฯ ถวายพระพรชัย ขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์อันทรง
มหาพลานุภาพทั้งหลาย จงโปรดอภิบาลบันดาลดลให้ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทจงเจริญด้วย
มิ่งมหาศุภสวัสดิ์ เจริญพระชนมพรรษานับหมื่น ๆ ศตพรรษ สถิตเสถียรเป็นร่มโพธิ์ทองของปวง
ประชาชาวไทย ตราบชั่วกัลปาวสาน”

๒. ระดับกึ่งพิธีการ เรียกอีกชื่อว่า ระดับกึ่งแบบแผน เป็นภาษาที่ใช้ถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ ทั่วไป
เป็นภาษาสุภาพ อาจจะใช้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเร่ืองทางวิชาการ ผู้ส่งสารและผู้รับสารรู้จกั และคุ้นเคย
กันหรือมีความสนใจในเรื่องเดียวกัน อาจมีคำศัพท์ทางวิชาการบ้าง ผู้ส่งสารและผู้รับสารมีการแลกเปลี่ยน
ทรรศนะและแสดงความสนใจของตนเองได้ ภาษาระดับนี้ใช้ในการบรรยาย อภิปราย การประชุมย่อย
ตลอดจนการเขียนท่ีปรากฏต่อสาธารณชน เช่น การเขียนบทความหรือข่าว หนงั สือ ตำรา เป็นตน้

30000-1101 ทกั ษะภาษาไทยเชิงวชิ าชพี 7

ตัวอย่าง ภาษาระดบั กึ่งพธิ ีการ
“ธุรกิจระบบแฟรนไชส์ (franchise) คือ กระบวนการทางธุรกิจซึ่งกลุ่มบุคคลได้พัฒนา

วิธกี าร อันได้รบั การพิสูจน์แล้ววา่ ประสบความสำเร็จในการประกอบการและการจดั การธุรกิจ ได้
ถ่ายทอดสิทธิในการประกอบการธุรกิจรูปแบบดังกล่าวใหก้ ับกลุ่มบุคคลอื่นภายใต้ตราสินค้าหรือ
บริการ หรือเครื่องหมายการค้าอันหนึ่งอันใด โดยกระบวนการนี้เกี่ยวข้องกบั การทำข้อตกลงทาง
กฎหมายระหวา่ งกลุ่มบุคคล 2 กลุ่มในข้างตน้ ”

๓. ระดบั ไม่เป็นพธิ กี าร/ไม่เปน็ แบบแผน (ภาษาปาก) เปน็ ภาษาท่ีใช้สอื่ สารกับบุคคลท่ีสนิทคุ้นเคย

เป็นกันเอง จึงไมจ่ ำเป็นต้องใชใ้ ห้ ถูกตอ้ งตามแบบแผนมากนกั ภาษาปากเหล่านีไ้ ด้แก่ คำพดู ระหวา่ งบุคคลใน

ชีวติ ประจำวัน คำถิ่น และคำคะนอง เชน่

“เป็นไงบ้าง” มาจาก “เป็นอย่างไรบ้าง”

“กินข้าวยงั ” มาจาก “กินข้าวหรอื ยงั ” “ทานขา้ วหรอื ยัง”

“เปน็ จะไดพ่อง” มาจาก “เปน็ อยา่ งไรบ้าง” (คำถน่ิ เหนือ)

“อยา่ มาแอ๊บมึน” (คำคะนอง) แปลว่า อยา่ ทำเปน็ วา่ ไม่รู้เรอื่ ง

“แดงเรียนจบจากรามคำแหง” มากจาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง

“เมย์โดนแม่คา้ ตนุ๋ ซะเปอ่ื ยเลย” แปลว่า ถกู หลอก

แม้ว่าภาษาจะเป็นออกเป็น ๓ ระดับ แต่บางครั้งการสื่อสารอาจมีการใช้ระดับภาษาที่คาบเกี่ยวกัน
การเลือกใช้ภาษาจึงควรเลือกให้เหมาะสมกับกาลเทศะ จึงจะสามารถใช้ภาษาในการสื่อสารได้อย่างมี
ประสทิ ธิภาพ

30000-1101 ทักษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี 8

แบบฝึกหัดหนว่ ยท่ี 1
ความรู้ท่วั ไปเกย่ี วกับการใชภ้ าษาไทยเพื่อการส่อื สาร

ตอนท่ี 1 จงตอบคำถามต่อไปน้ี
1. ภาษาคืออะไร แบ่งได้กี่ระดบั
............................................................................................................................. ...............................................
.................................................................................... ........................................................................................
2. จงอธบิ ายคำท่ีมีความหมายนยั ประหวัด พร้อมยกตวั อย่างประกอบ
............................................................................................................. ...............................................................
............................................................................................................................. ...............................................
3. จงอธิบายคำวา่ “วัจนภาษา” และ “อวจั นภาษา” ให้ชัดเจนพรอ้ มยกตวั อย่าง
............................................................................................................................. ...............................................
................................................................................................................................................................ ............
4. ภาษาสอื่ มวลชนและภาษาปากมีลักษณะเดน่ อย่างไร จงอธิบาย
............................................................................................................................................................................
............................................................................................................................. ...............................................
5. ภาษาแบบแผน และภาษากึ่งแบบแผน มีลักษณะอยา่ งไร
............................................................................................................................. ...............................................
.................................................................................... ........................................................................................

ตอนท่ี 2 จงเลอื กเติมคำในช่องวา่ งให้ถูกต้อง
1. ผ้อู ำนวยการ......................หนงั สอื เรื่องการจัดงาน.......................อายุราชการ

(เกษียร เกษยี น เกษยี ณ)
2. เขามีความเช่อื ว่า.........................จากการชว่ ยเหลือพระ.........................จะทำให้เขาหายจากโรครา้ ย

(อานสิ งส์ อานสิ งฆ์ อาพาด อาพาธ อาพาธ)
3. งานนม้ี กี ลว้ ยไมน้ านา................มาขาย ส.ี ...........สวยงาม .......................ตน่ื ตาต่ืนใจ

(พันธุ์ พนั ธ์ สัน สรร น่า หนา้ )
4. นกั เรยี นตอ้ งปฏิบัตติ าม............................ของวทิ ยาลยั สว่ นประชาชนต้องเคารพ...........................

(กฏเกณฑ์ กฎเกณฑ์ กฎหมาย กฏหมาย)
5. ...........................ของเธอ ...............................ทำใหผ้ ูค้ นที่พบเห็น...........................ไปตาม ๆ กนั

(ทรวดทรง ซวดซง อะรา้ อะร่าม อะร้าอรา่ ม อรา้ อร่าม)

ตอนที่ 3 จงจดั หมวดหมขู่ องคำต่อไปนีต้ ามระดับของภาษา

สกุ ร สนุ ขั ดวงตราไปรษณียากร งานแตง่ งาน รถเมล์ พระราชทาน

โก้จงั เทร่ ะเบิด ขอน้อมเกล้าฯ ถวายพระพร พระราชกุศล ซปุ ’ตาร์ จักรยานยนต์

ระดับพิธกี าร ระดบั กง่ึ พธิ ีการ ระดับไมเ่ ป็นทางการ

................................................... ................................................... ...................................................

................................................... ................................................... ...................................................

................................................... ................................................... ...................................................

.................................................... ................................................... ....................................................

30000-1101 ทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชีพ 9

แบบทดสอบหลงั เรียนหนว่ ยที่ 1
ความรทู้ ่ัวไปเก่ยี วกับการใชภ้ าษาไทยเพื่อการสื่อสาร

คำชีแ้ จง ให้ทำเครอ่ื งหมายกากบาท (X) ลงหนา้ ตัวเลอื กทีถ่ กู ตอ้ งทสี่ ุด

1. องค์ประกอบของการสอื่ สารตรงกับข้อใด 6. สำนวนในข้อใดที่ชี้ให้เห็นว่าภาษาไทยเป็น

ก. ผูร้ บั สาร ผูส้ ่งสาร สาร สื่อ ภาษามีระดบั

ข. ผู้รับสาร ผูส้ ่งสาร เอกสาร สือ่ ก. ปลาหมอตายเพราะปาก

ค. ผู้นำสาร ผู้ส่งสาร เอกสาร สือ่ ข. คนยากวา่ ผี คนดีว่าศพ

ง. ผูร้ ับสาร ผสู้ ง่ สาร สาร ตวั นำสาร ค. สำเนยี งสอ่ ภาษา กริ ยิ าส่อสกุล

ง. พดู ไปสองไพเบีย้ นิง่ เสียตำลงึ ทอง

2. ขอ้ ใดใชค้ ำผดิ ความหมาย

ก. สมพรอ่านหนังสือฆา่ เวลา 7. ขอ้ ใดเขียนสะกดถูกต้องทุกคำ

ข. วาสนาทำตวั แหลกเหลว ก. นอต ย่อมเยา

ค. สมหญงิ หวิ จนหอู อ้ื ตาลาย ข. พจนานุกรม มงกุฎ

ง. ออ้ ยทำงานหนักจนเหง่ือไหลโทรมกาย ค. เครอื่ งสำอางค์ น้ำแขง็ ไส

ง. ไตรยางค์ กระเพรา

3. ขอ้ ใดใช้ภาษาได้ดีทีส่ ุด

ก. แจ็คดูอาการหนักฉันว่าไมร่ อดแน่ 8. ขอ้ ใดใช้ภาษาก่ึงทางการ

ข. ยนิ ดีดว้ ยนะท่เี ธอได้รบั รางวลั วันน้ี ก. บิ๊กไปทำบญุ กบั เพ่ือน ๆ

ค. วชิ าภาษาไทยพน้ื ฐานเธอไม่เกง่ เลยนะ ข. ดาวคยุ โทรศพั ท์กับนกทุกวัน

ง. เธอทำงานช้าทกุ อยา่ งเลย ไม่ทนั กนิ หรอก ค. แอว๋ ไปรว่ มงานแตว่ งนอ้ งสาวดา

ง. ครสู มศรกี ำลังบรรยายเรื่องปัญหาเดก็ เร่ร่อน

4. ขอ้ ใดมคี วามหมายโดยนยั

ก. เขามอี าชพี เปน็ ลกู หาบ 9. ลักษณะเดน่ ของภาษาส่อื มวลชนคอื ข้อใด

ข. แม่มีลูกมือทำขนมหลายคน ก. สั้น กระชบั สะดุดตา สะใจ

ค. ลูกมะพรา้ วลอยมาตามน้ำ ข. สนั้ กระชบั สะดดุ ตา เน้นข้อคิด

ง. ลูกพข่ี องเด็กแว้นกลุ่มนคี้ ่อนข้างมีเหตุผล ค. สนั้ กระชบั สะดุดตา สะเทือนใจ

ง. สน้ั กระชบั สะดุดตา เกิดความรู้

5. ขอ้ ใดเป็นการสง่ สารด้วยอวจั นภาษา

ก. เขาหัวเราะรว่ น เมื่อได้ฟงั เร่ืองตลก 10. ขอ้ ใดไมจ่ ัดเป็นการสื่อสาร

ข. เม่อื เขากวักมือเรียก เธอกเ็ ดินเข้ามา ก. การชมภาพยนตร์

ค. พออา่ นนวนิยายจบ นำ้ ตาเธอก็ไหลริน ข. การตะโกนในห้องนำ้

ง. เมื่อเขาฟังเพลงที่เกี่ยวกับพระคุณแม่ ค. การเขียนจดหมายลาครู

เขาถงึ กบั นำ้ ตาซมึ ง. การกวักมือเรียกคนข้างหลัง

30000-1101 ทักษะภาษาไทยเชิงวิชาชพี 10

หนว่ ยที่ 2

การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินคา่ สารจากการฟงั และการดู

ในสังคมปัจจุบันมีช่องทางการนำเสนอข้อมูลให้ฟังและดูจำนวนมาก การรู้จักเลือกที่จะฟังและดู
เมื่อได้รับขอ้ มูลแล้วรู้จักวิเคราะห์ ประเมินค่าเพื่อนำไปใช้ในทางสร้างสรรคเ์ ป็นสิ่งท่ีจำเป็น เพราะผลที่ตามมา
จากการฟังและการดูจะเป็นผลบวกหรือลบต่อสงั คมขึ้นอยู่กบั การนำไปใช้ ดงั น้นั ผู้ฟังและดูต้องรับสารอย่างมี
วจิ ารณญาณ โดยเขา้ ใจเนือ้ หาสาระ ใช้ปญั ญาคิดใครค่ รวญ อาศยั ความรู้ความคดิ เหตุผลและประสบการณ์แล้ว
นำไปใช้อย่างเหมาะสม จงึ จะเกิดประโยชนส์ งู สุดต่อตนเองและสงั คม

2.1 ลกั ษณะการสอื่ สารท่ีมีประสทิ ธภิ าพ

กระบวนการของการสื่อสารท่ีมีประสิทธภิ าพนั้น ท้ังผสู้ อ่ื สารและผูร้ บั สารเป็นองค์ประกอบที่สำคัญย่ิง
ที่จะตอ้ งมีการรบั ร้แู ละมีปฏิกริ ยิ าตอบสนองซึ่งกันและกันในลักษณะที่เรียกว่า การสอื่ สารสองทาง (two ways
communication) การพัฒนาทักษะในการส่งสารและรับสารนั้นต้องอาศัยการคิดเป็นพื้นฐานอันสำคัญ
อย่างยิ่ง ทั้งนี้เพราะในการส่งสารไม่ว่าจะด้วยวิธีพูดหรือเขียน ซึ่งเป็นทักษะการส่งสาร ผู้ส่งสารจะต้องใช้
ความคดิ ในการเรียบเรียงถ้อยคำหรือข้อความเพื่อสื่อความหมายใหผ้ ู้รับสารเกิดความเข้าใจ ขณะเดียวกันผู้รับ
สารจะต้องใช้ความคิดในการแปลสัญลักษณ์ซึ่งได้แก่ เสียง ถ้อยคำหรือข้อความที่ได้ฟัง ได้อ่านได้ดู เพื่อเกิด
เป็นความรู้ ความเข้าใจในสิ่งนั้น และจับใจความในส่วนที่อ่านมีความเห็นคล้อยตามหรือโต้แย้ง กระบวนการ
สอ่ื สารดงั กล่าวปรากฏดังแผนภาพดังน้ี

แผนภาพแสดงความสมั พันธ์ของความคดิ กับทักษะการส่งสารและรับสาร

จากแผนภาพดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าองค์ประกอบทุกส่วนในการสื่อสารสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่อง
การสื่อสารที่เหมาะสมจะต้องมีปฏิสัมพันธ์กันของทักษะการส่งสารและรับสารโดยมีความคิดเป็นหัวใจส ำคัญ
หากการส่งสารขาดความคิดในการเรียบเรียงส่งสารให้สมบูรณ์ ก็จะส่งผลให้สารคลาดเคลื่อน ขณ ะเดียวกัน
ถ้าผู้รับสารขาดความคิดในการทบทวนไตร่ตรอง ก็จะทำให้เกิดความสับสน การรับสารผิดไปจากที่ผู้ส่งสาร
ต้องการ ผู้ฟัง ผู้อ่าน และผู้ดู อยู่ในฐานะการรับสาร โดยใช้ช่องทางการเห็นและการได้ยิน ถ้าสารใช้ถ้อยคำท่ี
เข้าใจ มีเนื้อหาเหมาะสม และมีการจัดลำดับอย่างดี ผู้รับสารย่อมเข้าใจสารตรงตามวัตถุประสงค์ที่ผู้ส่งสาร
ตอ้ งการ ดงั น้นั ผทู้ ี่มที กั ษะในการรบั สาร ตอ้ งวิเคราะหแ์ ละประเมนิ สารอย่างมีประสทิ ธภิ าพ

30000-1101 ทักษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชีพ 11

2.2 ความหมายของการวเิ คราะห์และการประเมินคา่ สาร

พจนานกุ รมฉบบั ราชบณั ฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้ใหค้ วามหมายของคำว่า วิเคราะห์และสาร ดังนี้
วเิ คราะห์ หมายถงึ ใครค่ รวญ แยกออกเป็นส่วน ๆ เพื่อศกึ ษาให้ถ่องแท้
สาร หมายถึง แกน่ เนอื้ แท้ ขอ้ ความ ถอ้ ยคำ เร่ืองราว
การวิเคราะห์สาร หมายความโดยรวมว่า การพิจารณาใคร่ครวญ ถ้อยคำ ข้อความหรือเรื่องราว
อย่างละเอยี ด เพอื่ ให้เขา้ ใจอยา่ งถ่องแท้
ประเมนิ หมายถงึ การประมาณคา่ เทา่ ท่คี วรจะเป็น
คา่ หมายถึง มูลค่าหรือราคาของสิ่งใด ๆ ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมที่มีประโยชน์
ในทางใชส้ อย แลกเปลย่ี นหรอื ทางจิตใจ
การประเมินค่าสาร ความหมายโดยรวมว่า การประมาณคุณประโยชน์ของถ้อยคำ ข้อความ
เนอื้ หา หรือเรอื่ งราวน้นั ๆ

2.3 ประเภทของสาร

สารทใี่ ช้ส่อื สารในชีวติ ประจำวนั มี ๒ ประเภท ดังนี้
๑. ข้อเทจ็ จริง คอื สารท่มี อี ยูใ่ นโลกมนุษย์และสามารถตรวจสอบหรือพิสูจน์ไดว้ า่ จรงิ ตามสารนน้ั เช่น
พระอาทติ ยข์ ึน้ ทางทิศตะวนั ออก คำตอบคือจริง ซงึ่ เราสามารถหาคำตอบหรือพสิ จู น์ได้
๒. ขอ้ คดิ เหน็ คือ สารทเ่ี กิดขึ้นในใจของผู้ส่งสาร อาจเปน็ ความรู้สึก ความเชื่อ หรือแนวคิดท่ีผู้ส่งสาร
มตี อ่ สิง่ ใดสิ่งหน่ึงลักษณะของข้อคิดเห็น ตรวจสอบความจริงไม่ได้ เป็นแตเ่ พียง ส่ิงที่แสดงให้เห็นว่า ข้อคิดเห็น
เป็นที่ยอมรับหรือไม่ สมเหตุสมผลหรือไม่อย่างไร เช่น ผู้หญิงไทยแต่งตัวตามแฟชั่นตะวันตกมากเกินไป
นักเรียนมัธยมมีค่านิยมต่อการเรียนมหาวิทยาลัยมากกว่าอาชีวศึกษา ซึ่งข้อคิดเห็นนั้นแบ่งเป็น ๕ ประเภท
ไดแ้ ก่

๒.๑ ข้อคิดเห็นเชิงประมาณค่า เป็นการระบุว่า ดี–ไม่ดี เป็นประโยชน์–เป็นโทษ หรือ ยังไม่ดี–
ค่อนขา้ งดี นบั วา่ เป็นประโยชน์ คอ่ นข้างดี เช่น จากการสำรวจความนิยมของประชาชนต่อนโยบายของรัฐบาล
พบวา่ ประชาชนส่วนใหญเ่ หน็ ด้วยกบั นโยบายของรฐั บาลเพราะเป็นประโยชน์ต่อผู้มีรายได้น้อย ประชาชนเห็น
วา่ การแกป้ ัญหายาเสพตดิ ของรัฐบาลทำไดค้ อ่ นขา้ งดี

๒.๒ ข้อคิดเห็นเชิงแนะนำ คือ การบอกล่าวให้ทราบว่าสิ่งใดควรทำหรือควรปฏิบัติ มีขั้นตอนการ
ปฏิบัติอยา่ งไร เพราะอย่างไรจึงควรปฏิบตั ิเช่นนัน้ เช่น ผู้บริโภค ควรเลือกใชเ้ คร่ืองใช้ไฟฟ้าที่มีฉลากประหยัด
ไฟ เบอร์ ๕ เพราะนอกจากจะชว่ ยประหยัดคา่ ไฟฟา้ แล้วยังช่วยลดการใช้พลังงานอีกด้วย

๒.๓ ข้อคิดเห็นเชิงตัง้ ข้อสังเกต คือ การชี้ให้เห็นลกั ษณะบางประการที่แฝงอยู่ซึ่งอาจมองข้ามไป
เป็นลักษณะที่น่าสนใจ น่าพิจารณา น่าระมัดระวัง น่านำไปศึกษาต่อ เช่น น้ำท่วมประเทศไทยครั้งใหญ่ที่ผ่าน
มานา่ จะเกิดจากการตดั ไมท้ ำลายปา่ ทำใหน้ ้ำไหลบา่ อยา่ งรวดเรว็ เพราะไมม่ ีสงิ่ ขดี ขวางทางน้ำ

๒.๔ ขอ้ คดิ เหน็ เชงิ ตดั สินใจ คอื การยอมรับหรอื ไมย่ อมรับในข้อเสนอนน้ั เมื่อผ้สู ่งสารสรุปผลการ
ตัดสินใจ การที่จะยุติการพิจารณาต่าง ๆ ควรมีเหตุผลการพิจารณาต่าง ๆ ควรมีเหตุผลการพิจารณาอย่าง
ชัดเจน เช่น รัฐบาลประกาศจะข้ึนคา่ แรงขน้ั ต่ำ ๓๐๐ บาทท่ัวประเทศแน่นอนภายในปี ๒๕๕๖

๒.๕ ขอ้ คดิ เหน็ เชงิ แสดงอารมณ์ คือ สารท่แี สดงภาพอารมณ์ ความรสู้ ึกทศั นคติและอัธยาศัยของ
ผู้ส่งสาร ในข้อคิดเห็นเชิงแสดงอารมณ์อาจมีสารประเภทอื่นปะปนอยู่ด้วยเช่น ผลการเลือกตั้งออกมาแล้ว

30000-1101 ทักษะภาษาไทยเชิงวชิ าชพี 12

ขอบคุณทกุ ๆ คนทเ่ี ลือกฉนั เป็น ส.ส.หญิงเขต ๘ รัฐอิลลนิ อยส์ ฉนั ไม่สามารถขอบคุณไดเ้ พยี งพอสำหรับทุกส่ิง
ทีพ่ วกคณุ ช่วยฉันในระหว่างหาเสียง ฉันยงั รูส้ กึ ปลาบปล้มื กับการสนับสนุนที่ไม่เคยห่างหาย

2.๔ การวเิ คราะห์และประเมนิ คา่ สารจากการฟงั

การฟังเป็นกระบวนการรับรู้โดยผ่านสื่อคือเรียงในรูปแบบต่าง ๆ ขณะฟัง ผู้ฟังต้องให้ความสนใจ
สามารถตคี วามส่งิ ท่ีใชฟ้ ัง จงึ จะตอบสนองได้ถูกต้อง

๑. กระบวนการรับรสู้ ารด้วยการฟัง
กระบวนการรับรสู้ ารดว้ ยการฟงั อยา่ งสมบูรณ์ ดังแสดงเปน็ แผนภูมิตอ่ ไปน้ี

แผนภมู กิ ระบวนการรบั รสู้ ารด้วยการฟงั

จากแผนภูมิข้างต้นอธิบายไดด้ งั น้ี
ขั้นตอนที่ ๑ การได้ยนิ (Hearing) เป็นขั้นแรกของการฟงั เมื่อมเี สยี งมากระทบประสาท
ขนั้ ตอนที่ ๒ การม่งุ ความสนใจ (Concentration) ผู้ฟังจะมุ่งความสนใจไปตามเรอื่ งทไี่ ดย้ นิ น้ัน
ขั้นตอนที่ ๓ การเข้าใจ (Comprehension) ผู้ฟังรับรู้และเข้าใจสารนั้นได้ ถ้าผู้ส่งสาร ส่งสาร
อยา่ งครบถว้ นสมบูรณ์
ขนั้ ตอนท่ี ๔ การตีความ (Interpretation) เมอ่ื เข้าใจจงึ ถึงขั้นวิเคราะหค์ ้นหาความหมายของสาร
ว่ามีเจตนาที่แท้จริงอย่างไร ส่วนใดเป็นข้อเท็จจริง ส่วนใดเป็นข้อคิดเห็นพร้อมทั้งประเมินค่าสารว่ามีคุณค่า
หรอื ประโยชน์เพียงใด
ขั้นตอนที่ ๕ การตอบสนอง (Reaction) เมื่อผู้ฟังคิดวิเคราะห์ วินิจฉัยและประเมินค่าแล้วก็จะ
ตอบสนองอย่างใดอยา่ งหนึ่งตอ่ ผสู้ ่งสาร

2. ประโยชนข์ องการฟัง
ประโยชน์ของการฟัง จำแนกได้ดงั น้ี
๒.๑ ประโยชนส์ ่วนตน
๒.๑.๑ การฟังเป็นเครื่องมือของการเขียน ผู้ที่เรียนหนังสือได้ดีต้องมี การฟังที่ดีด้วย คือ

ต้องฟังคำอธิบายให้รู้เรื่องและจับใจความสำคัญให้ได้จึงจะทำให้การเรียนมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการฟัง
คำอธบิ ายในห้องเรียน การฟังอภิปราย การฟงั บทความ ลว้ นแตช่ ว่ ยพัฒนาสติปญั ญาทำให้เกดิ ความรู้และเกิด
ความเฉลยี วฉลาดจากการฟัง

๒.๑.๒ การฟังช่วยให้ผู้ฟังพัฒนาความสามารถในการพูด พัฒนาความสามารถในการใช้
ภาษา เพราะการฟังทำให้ผ้ฟู ังมีความรู้กวา้ งข้ึนและมปี ระสบการณม์ ากข้ึน

๒.๑.๓ การฟังช่วยปูพื้นฐานความคิดที่ดีให้กับผู้ฟัง ซึ่งจะได้จากการฟังเรื่องราวทีม่ ีคณุ ค่ามี
ประโยชน์จากผู้อื่น ช่วยพัฒนาสติปัญญาแก่ผู้ฟัง การได้รับข้อคิดเห็นที่มีประโยชน์ทำให้เกิดแนวความคิด
ใหม่ ๆ ได้

๒.๑.๔ การฟังช่วยให้ผู้มีมารยาทในการฟัง สามารถเข้าสังคมกับผู้อื่นได้เช่น รู้จักฟังผู้อื่น
รูจ้ กั ซกั ถามโตต้ อบไดต้ ามกาลเทศะ

30000-1101 ทักษะภาษาไทยเชงิ วิชาชพี 13

๒.๒ ประโยชน์ทางสังคม
๒.๒.๑ การฟังทำให้เกิดความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง เช่น การฟังประกาศ ฟัง

ปราศรัย ฟงั การอภปิ ราย เปน็ ตน้
๒.๒.๒ การฟังช่วยให้ประพฤติดี ปฏบิ ัติใหส้ ังคมเป็นสขุ เชน่ ฟังธรรม ฟังเทศนา ฟงั คำแนะนำ

การอบรม เป็นต้น
๒.๓ ประโยชน์ของการฟงั เชิงวิเคราะห์
๒.๓.๑ บอกไดว้ ่าสารท่ีฟังส่วนใดเป็นความจรงิ ส่วนใดเปน็ ความเห็น
๒.๓.๒ กระตุ้นให้ผ้ฟู ังเกดิ ความคิด และทศั นะทกี่ วา้ งไกล
๒.๓.๓ ไม่ทำให้ผู้ฟังตกเป็นเหยื่อของคำโฆษณาชวนเชื่อ และรู้จักตัดสินใจด้วยตนเองอย่าง

ชาญฉลาด
๒.๓.๔ รู้จักประเมินค่าเรื่องที่ฟังด้วยความรอบคอบและมีเหตุผลซึ่งนำไปใช้ประโยชน์ใน

ชีวิตประจำวันได้เปน็ อยา่ งดี

๓. ลักษณะการฟังเพอื่ วิเคราะหแ์ ละประเมินคา่
๓.๑ การฟงั เพ่ือวเิ คราะห์
ผู้ฟังต้องนำสารมาแยกย่อยเนื้อหาออกเป็นส่วน ๆ โดยอาศัยการตรึกตรอง การวิเคราะห์

แยกแยะข้อเท็จจริงจากเนื้อหาต้องพิจารณาทั้งวัจนภาษา (Verbal communication) และอวัจนภาษา
(Non-Verbal communication) ผู้ฟังต้องใคร่ครวญและพยายามขจดั ส่งิ ต่อไปนี้ออกไปในขณะท่ีฟัง ไดแ้ ก่

๓.๑.๑ ท่าทางและรูปร่างหน้าตาของผู้พูด โดยไม่เกิดอคติต่อรูปร่างหน้าตาที่ไม่สวยงามของ
ผพู้ ดู เพราะอาจทำใหใ้ จเอนเอยี งและเปน็ ปฏปิ กั ษ์ต่อเรื่องท่ีฟงั

๓.๑.๒ เสียงหรอื อากัปกิรยิ าของผู้พดู ตอ้ งไมเ่ ปน็ สาเหตุสำคัญที่ทำใหเ้ ส่อื มศรัทธาต่อผู้พูด
๓.๑.๓ การใช้ภาษาของผู้พูด ผู้พูดบางคนอาจไม่สันทัดในการใช้ภาษาที่ดี อาจใช้ถ้อยคำหรือ
สำนวนไมถ่ กู ต้อง ผฟู้ งั ต้องพยายามใจกว้างท่ีจะเข้าใจ และพยายามเลือกรับสิ่งท่ีเป็นประโยชน์และความรู้จาก
การฟังนน้ั ให้ได้
๓.๑.๔ เพศของผู้พูด บางกรณีเพศของผู้พูดอาจตรงกันข้ามกับความรู้ของผูพ้ ูด เช่น ผู้หญิงมี
ความรู้ในเรื่องวิศวกรรม หรือผู้ชายมีความรู้ทางด้านคหกรรม ผู้ฟังไม่สมควรที่จะเกิดความคิดที่ไม่อยากฟัง
หรือไม่เช่อื ในสาระทีไ่ ดฟ้ งั เพราะผพู้ ดู อาจจะมคี วามเชยี่ วชาญในเรือ่ งท่ีพดู เป็นอย่างดีก็ได้
๓.๑.๕ ความสนใจในเรื่องที่ฟัง หากเรื่องที่ฟังไม่ใช่เรื่องที่ตนสนใจ มักจะสรุปความว่าเป็น
เรื่องไร้สาระ ซึ่งความจริงอาจมีประโยชน์มาก ดังนั้นผู้ฟังไม่ควรที่จะมีความคิดคับแคบ เพราะจะทำให้ความรู้
คบั แคบ ไมห่ ลากหลาย
๓.๒ การฟังเพือ่ วนิ ิจฉยั และประเมนิ ค่า
การฟังเพื่อวินิจฉัย หมายถึง การฟังเพื่อหาคุณค่าด้วยการตัดสินใจจาก การไตร่ตรอง
ใครค่ รวญอย่างดีแล้วจากกระบวนการวิเคราะหส์ ารนน้ั อยา่ งปราศจากอคติ ผู้ฟงั จะตอ้ งพิจารณาหาคุณค่าของ
สารซึ่งจะประกอบด้วย ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็นและความน่าฟัง ผู้ฟังไม่ควรติดใจผู้พูดที่ พูดน่าฟัง จนลื มนึกถึง
ความคิดหรือขอ้ คิดเห็นซึ่งเป็นส่ิงสำคญั ท่ีสุด และข้อเท็จจริงมีความสำคัญอันดับต่อมาการประเมินค่าสารจาก
การฟงั นน้ั มีหลกั ดังต่อไปนี้
๓.๒.๑ มีใจเปน็ กลาง ผฟู้ งั ตอ้ งสามารถรบั ฟงั ขอ้ คิดเห็นที่ถูกต้องตามข้อเท็จจริง แม้ข้อคิดเห็น
นัน้ จะไม่ตรงกับข้อคดิ เหน็ ของผ้ฟู ัง

30000-1101 ทกั ษะภาษาไทยเชงิ วิชาชพี 14

๓.๒.๒ ไมใ่ ชอ้ ารมณ์หรือความรู้สึกของผู้ฟังเป็นเกณฑ์ในการตัดสินส่ิงท่ีได้ฟงั ว่าถูกต้องหรือไม่
ถกู ต้อง เพราะอารมณแ์ ละความรู้สกึ เปน็ ส่งิ ไมแ่ นน่ อน จึงไมใ่ ชเ่ กณฑม์ าตรฐานในการตัดสนิ เรือ่ งราวทฟ่ี ัง

๓.๒.๓ ความสำคญั ผิดทางเหตุผลและการชวนเชื่อ อาจเกิดข้ึนโดยการอา้ งเหตุผลที่ไม่สมควร
ความสำคัญผิดในเนือ้ หาและความสำคัญผิดในอารมณ์ท่ีถูกเร้าจนเกิดความคิดคล้อยตามอย่างไม่คิดถึงเหตุผล
การพูดบางประเภท เช่น โฆษณา การอภิปรายหาเสียง ผู้ฟังจะต้องระมัดระวังในการหาเหตุผลที่ถูกต้องก่อน
ประเมินค่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการโฆษณาซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับผู้บริโภคในชีวิตประจำวัน เราจึงต้อง
พจิ ารณาให้ถถ่ี ว้ นกอ่ นตัดสินใจ

2.5 วธิ กี ารวิเคราะหแ์ ละประเมนิ คา่ จากการฟัง

กอ่ นการประเมนิ คา่ สารจากการฟงั ผู้ฟงั ควรปฏบิ ัตดิ ังนี้
2.5.๑ ฟังด้วยความตั้งใจ ผู้ฟังต้องมีสมาธิติดตามเรื่องราวที่ฟังให้ตลอดพร้อมทั้งแยกแยะได้ว่า
ขอ้ ความใดเป็นใจความสำคญั ขอ้ ความใดเป็นพลความ
2.5.๒ ฟังแลว้ จับประเด็นได้ ผฟู้ งั ตอ้ งจบั ประเด็นหลกั ของเรอ่ื งท่ีฟังโดยพิจารณาจากบริบท
2.5.๓ ผู้ฟังต้องสังเกตกิริยาท่าทาง หรือน้ำเสียงประกอบกับถ้อยคำหรือข้อความ เพื่อหา
ความสัมพันธก์ นั แล้วสรปุ ว่าอะไรเปน็ ขอ้ เท็จจรงิ อะไรเป็นข้อคดิ เห็นของผพู้ ูด
2.5.๔ ตีความถ้อยคำ สำนวนโวหารประกอบคำพูดทีพ่ ูดขยายเรื่องตามกลวิธีการพูดเพื่อให้น่าสนใจ
สามารถสรปุ แนวคดิ หรือความหมายทีผ่ ้พู ูดแฝงไว้ในสารนนั้ ได้
2.5.๕ เมื่อจับประเด็นสำคัญของเรื่องได้ สามารถแยกแยะได้ว่าข้อความใดเปน็ ขอ้ เทจ็ จรงิ ข้อความ
ใดเป็นข้อคิดเห็นแล้วก็จะประมาณค่าได้ว่า สิ่งใดเป็นความรู้ เป็นข้อคิดที่เป็นประโยชน์หรือเป็นข้อที่ไม่ควร
ปฏบิ ตั ิ เพอ่ื นำมาปรบั ใช้ในชวี ิตประจำวนั ต่อไป

กิจกรรมเรยี งลำดบั กระบวนการรบั ร้สู ารด้วยการฟัง

(https://h5p.org/node/453784)

2.6 การวเิ คราะห์และประเมินคา่ สารจากการดู

การดูเป็นการใชส้ ายตาเพื่อให้เหน็ ประกอบกับการพจิ ารณาเพ่ือใหเ้ กดิ ความเข้าใจในการดูนัน้ การดู
ตอ้ งอาศัยการสังเกตและพจิ ารณาในรายละเอยี ด ตดิ ตามอย่างต่อเน่ืองจงึ จะทำให้การดเู กิดประสทิ ธิผล

๑. จุดมงุ่ หมายในการดู
บุคคลมีจุดมุ่งหมายของการดูในชีวิตประจำวันดงั ตอ่ ไปนี้
๑.๑ เพื่อความเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย เช่น การดูละคร ดูภาพยนตร์ ดูเกมโชว์ ดูการ์ตูน ดู

การละเล่น ดูกีฬา ดรู ายการต่าง ๆ ทางสอ่ื โทรทัศน์ เป็นตน้

30000-1101 ทกั ษะภาษาไทยเชงิ วิชาชีพ 15

๑.๒ เพื่อความรู้และความเข้าใจ เช่น รายการข่าว สารคดี หรือรายการปกิณกะอื่น ๆ เช่น
รายการกระจกหกด้าน กบนอกกะลา ท่องโลกกว้าง คุณพระช่วย ถ้าคุณแน่อย่าแพ้เด็กประถม จดหมายเหตุ
กรุงศรีฯ เปน็ ตน้

๑.๓ เพือ่ ให้เกิดความคิด นำแงค่ ดิ ที่ได้ไปใช้ในชวี ิตประจำวัน เช่น รายการสแู้ ล้วรวย เร่ืองจริง
ผ่านจอ วนั นี้ทรี่ อคอย มดคนั ไฟ ปราชญ์เดินดิน คนคน้ ฅน เปน็ ตน้

๑.๔ เพื่อความจรรโลงใจ ทำให้เกิดความรู้สึกดี เบิกบานผ่องแผ้ว ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น เช่น
รายการพระมาแล้ว คำกล่าวให้โอวาท สุนทรพจน์ แผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง การแสดงพระธรรมเทศนา
ตลอดจนละคร หรือคำประพันธ์ ซึ่งผู้ดูสามารถรับรู้ความคิดและนำไปใช้ประโยชน์นอกเหนือจากความ
เพลดิ เพลนิ ได้

๑.๕ เพื่อประเมินผลและวิจารณ์ ผู้ดูต้องพิจารณาว่าการส่งสารนั้นควรเชื่อถือได้เพียงใด เป็น
โฆษณาชวนเชือ่ หรือไม่ ผสู้ ่งสารมอี คติหรอื ไม่ มีจดุ ประสงค์อยา่ งไร เช่น โฆษณา ข่าวการเมอื ง รายการมิติล้ีลับ
บันทกึ ลึกลับ เป็นต้น

๒. ลกั ษณะของการดู
การดใู นชวี ติ ประจำวนั ของบุคคลมี ๒ ลักษณะดงั น้ี
๒.๑ ดูโดยไมผ่ ่านสือ่ เปน็ การใช้สายตาในการดสู ิ่งตา่ ง ๆ ท่ีเป็นของจรงิ และกำลังปรากฏให้เห็นอยู่

ได้แก่ การดูการแสดง เช่น ลิเก ดนตรี มายากล กายกรรม ฯลฯ การดูกีฬา กรีฑา เช่น ฟุตบอล ตะกร้อ
พุ่งแหลน วิ่ง ฯลฯ ดูสิ่งก่อสร้าง ตึกรามบ้านช่อง สถาปัตยกรรม จิตรกรรม หรือประติมากรรม ดูกิจกรรมท่ี
ตนเองกระทำ ดูการสาธิตจากผู้อื่น การดูสิ่งแวดล้อมรอบตัว เช่น ดูต้นไม้รถแล่นผ่าน คนที่เดินสวนมา
สตั ว์เล้ยี ง นก ทวิ ทศั น์ ฯลฯ

๒.๒ การดูโดยผ่านสอื่ ไดแ้ ก่ สื่อสิง่ พิมพ์ เช่น หนงั สอื หนงั สอื พิมพ์ นิตยสาร แผ่นพบั ป้ายโฆษณา
ฯลฯ สื่อโสตทศั นูปกรณ์ เช่น กลอ้ งถา่ ยรปู กล้องส่องทางไกล กลอ้ งจุลทรรศน์ ตลอดจนสอื่ อเิ ล็กทรอนิกส์ เช่น
คอมพวิ เตอร์ โทรทัศน์ ซีดีรอม วีดที ศั น์ โทรศัพทม์ ือถือ ฯลฯ เปน็ ตน้

๓. วิธวี ิเคราะหแ์ ละประเมนิ คา่ จากการดโู ดยทว่ั ไป
การวเิ คราะหแ์ ละประเมนิ คา่ จากการดู มวี ธิ กี ารดังน้ี
๓.๑ ติดตามเร่ืองที่ดอู ยา่ งต่อเน่ือง สม่ำเสมอ
๓.๒ ใช้ความรู้ประสบการณ์ พิจารณาสิ่งที่ดูอย่างละเอียด แยกแยะข้อเท็จจริงข้อคิดเห็นอย่างมี

เหตุผล
๓.๓ จับประเด็นสิ่งที่ดูจนสามารถตอบตนเองได้ว่าได้รับความรู้ ข้อคิดและความเพลิดเพลินจาก

สิ่งทด่ี ู
๓.๔ บอกประโยชน์และคณุ คา่ จากการดไู ด้

๔. การวิเคราะห์และประเมนิ ค่าสารจากการดูโทรทศั น์
โทรทัศน์เป็นสื่อประเภทโสตทัศน์ที่ได้รับความนิยมจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตในสังคม

ยุคปัจจุบัน ด้วยความสามารถในการเข้าถึงทุกครัวเรือน ความรวดเร็วในการสื่อสารความดึงดูดใจจาก
ภาพเคลอ่ื นไหวและเสยี ง ตลอดจนความหลากหลายของรายการ

๔.๑ ประเภทของรายการโทรทศั น์
รายการโทรทัศน์ จำแนกตามเนื้อหาแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้ดงั น้ี

30000-1101 ทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี 16

๔.๑.๑ รายการแนวข่าวสารและสารคดี ได้แก่ รายการข่าวและวิเคราะห์ข่าว รายการ
สารคดี รายการศึกษา รายการสนทนา รายการบรรยายนอกสถานท่ี

๔.๑.๒ รายการแนวบันเทิงคดี ได้แก่ รายการละคร รายการตลก ภาพยนตร์ การ์ตูน เกม
และแขง่ ขันตอบปญั หาปกณิ กะบนั เทิง ดนตรี เพลงและกีฬา ซ่ึงแยกย่อยแนวรายการไดอ้ ีก ๒ ลักษณะ คือ

๑) รายการแนวที่มีส่วนรว่ มของผ้ชู มและวิทยากรรับเชิญ ไดแ้ ก่ รายการเปิดสายจาก
ผชู้ ม รายการอภิปราย รายการเพ่อื ผบู้ ริโภค

๒) รายการโฆษณา ได้แก่ โฆษณาสินค้า ประกาศบริการ รายการรณรงค์เพื่อสังคม
ปัจจุบันมรี ายการผสม ๒ ลักษณะ ได้แก่ รายการแนวละครผสมตลก รายการสารคดีผสมละคร เปน็ ตน้

๔.๒ การวิเคราะห์ข่าวจากการดู
ข่าว คือ การรายงานเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นโดยนักข่าวจะเป็นผู้คอยสังเกตการณ์แล้ว

รายงานไปให้ผู้รับสารรับรู้ แต่ทั้งนี้ด้วยข้อจำกัดในด้านเนื้อที่และเวลาของสื่อ จึงทำให้ไม่สามารถรายงาน
เหตุการณ์ทุกอย่างได้ ผู้สื่อข่าวหรือนักข่าว จึงต้องเลือกนำเสนอเพียงบางข่าวบางประเด็นเท่านั้นขึ้นอยู่กับวา่
ข่าวนั้น ๆ มีคุณค่าของความเป็นข่าว (News worthiness) มากน้อยเพียงใด โดยเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณา
คณุ ค่าของข่าวสาร คือ องคป์ ระกอบของขา่ ว (News elements) ได้แก่

๔.๒.๑ องคป์ ระกอบของข่าว
๑) ความรวดเร็ว (Immediacy) หรือความสด (Timeliness) ข่าวจะต้องเป็น

เหตุการณท์ มี่ คี วามรวดเร็วในการนำเสนอและเป็นเหตกุ ารณ์ท่ีมคี วามทันสมยั สดใหม่ ทนั ต่อเหตกุ ารณ์
๒) ความใกล้ชิด (Nearness) ข่าวที่มีความใกล้ชิดกับผู้รับสารมากเท่าใดผู้รับสารก็

จะให้ความสนใจตอ่ ขา่ วมากยง่ิ ขน้ึ
๓) ความสำคัญหรือความเด่น (Prominence) ทั้งนี้อยู่ที่ว่าข่าวนั้นจะเด่นในเรื่องใด

อาจเป็นเรื่องของบุคคลที่มีความเด่น ฐานะของผู้เป็นข่าว เวลาหรือสถานที่ที่เป็นข่าวจะมีความสำคัญต่อข่าว
เช่นกัน

๔) ผลกระทบ (Impact) คือ ความใกล้ชิดเกี่ยวข้องกับผู้รับสารโดยตรงหรือมี
ผลกระทบต่อคนจำนวนมาก

๕) ความมีเงื่อนงำ (Suspense) เงื่อนงำ คือ การค้นหาข้อเท็จจริง การมีปมในข่าว
เงื่อนงำ น่าสนใจ น่าติดตาม

๖) ความผิดธรรมดา (Oddity) อาจเป็นเรื่องของคนในข่าว สิ่งของหรืออื่น ๆ ท่ี
สามารถเปน็ ข่าวไดน้ นั้ ต้องมีความแปลก เป็นทน่ี า่ สนใจของผู้บริหาร

๗) ความขดั แย้ง (Conflict) อาจเป็นความขดั แย้งระหวา่ งบุคคล กลุม่ บคุ คลประเทศ
หรือระหว่างประเทศ เช่น ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างรัฐบาลกับผู้ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย หรือ
ความขดั แย้งใน ๓ จงั หวดั ชายแดนภาคใต้ของไทย

๘) องค์ประกอบของเพศ (Sex) เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างชาย-หญิง เช่น
ความรัก การแต่งงาน การหยา่ ร้าง เพศทส่ี าม รวมท้งั การประกวดความงาม เป็นต้น

๙) อารมณ์ (Emotion) เป็นข่าวที่สะเทือนอารมณ์ผู้รับสาร เมื่อรับรู้แล้วรู้สึก
คล้อยตามขา่ ว เช่น ขา่ วการตาย การสญู เสยี ชวี ิตที่รันทด

๑๐) ความก้าวหน้า (Development) เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่
ข่าววชิ าการ การพฒั นา

๑๑) ความตลกขบขนั ของชวี ิต (Drama)

30000-1101 ทักษะภาษาไทยเชิงวชิ าชพี 17

๔.๒.๒ คณุ ภาพของข่าว
ข่าวจะตอ้ งตอบสนองต่อสงั คมอยา่ งมคี ุณภาพ โดยพิจารณาได้จากสง่ิ ต่อไปน้ี
๑) ข่าวจะตอ้ งมีความถูกตอ้ งสมบรู ณ์
๒) ขา่ วตอ้ งมคี วามสมดุลและเท่ยี งตรง
๓) ขา่ วจะต้องมีความสดและทนั ต่อเหตกุ ารณ์
๔) ข่าวจะตอ้ งมคี วามเปน็ กลาง
๕) ขา่ วจะต้องมีความกะทดั รัดชัดเจนและรายงานดว้ ยภาษาง่าย เล่ียงคำศัพทเ์ ทคนิค

๔.๒.๓ ข้อสงั เกตการนำเสนอขา่ วทางโทรทัศน์
การนำเสนอขา่ วทางโทรทัศน์มีข้อท่คี วรสังเกตดังต่อไปนี้
๑) ไม่สามารถนำเสนอข่าวได้รวดเร็วเท่าวิทยุเพราะมีข้อจำกัดเรื่องภาพ และการตัด

สัญญาณจากรายการปกติ
๒) เสนอข่าวไดเ้ ชน่ เดยี วกบั วทิ ยแุ ตอ่ าจมีปญั หาในการตดิ ตัง้ อปุ กรณ์
๓) เสนอขา่ วได้น้อยกวา่ รายการวทิ ยุ
๔) แมจ้ ะให้รายละเอียดไดม้ ากกวา่ วทิ ยแุ ตก่ น็ ้อยกวา่ หนงั สือพิมพ์
๕) เรา้ ความสนใจผูช้ มได้มากทส่ี ุดเพราะมที ั้งภาพและเสียง
๖) ตอ้ งต้ังใจดูและฟัง ยกเว้นตอ้ งการฟังเพียงอย่างเดยี ว
๗) สามารถดไู ดท้ กุ เพศทกุ วัย

ภาพการนำเสนอขา่ วทางโทรทัศน์ ของ รายการเร่อื งเล่าเช้าน้ี
(ที่มา: https://hilight.kapook.com/view/133565)

๔.๒.๔ แนวคดิ สำคญั ต่อคณุ ลักษณะและคุณค่าของข่าว
แนวคิดทางการสอ่ื สารท่ีมตี ่อคณุ ลกั ษณะของข่าวและคุณคา่ ของข่าว ประกอบดว้ ย
๑) แนวคิดตามโครงสร้างหน้าที่ แนวคิดนี้เชื่อว่าคุณค่าข่าวเป็นคุณลักษณะที่มีอยู่

แล้วโดยธรรมชาติในบางเรื่องหรือบางเหตุการณ์ สื่อมวลชนนำเสนอเพื่อช่วยให้สังคมทราบความเคลื่อนไหว
ตา่ ง ๆ ที่เกดิ ขึน้ ในชมุ ชนและโลก

๒) แนวคิดเชิงวิพากษ์ แนวคิดนี้เชื่อว่าข่าวเป็นเสมือนสินค้าที่ถกู ผลิตขึ้นมาโดยถูก
กำหนดและควบคุมโดยชนชน้ั ปกครองหรือเจ้าของทุน เพอื่ ตอบสนองความตอ้ งการของตลาดให้มากท่สี ุด ข่าว
ที่มีคุณค่าจึงหมายถึงข่าวที่ขายได้และค่านิยมต่าง ๆ ในเนื้อหาข่าวเป็นสิ่งที่ถูกกำหนดและควบคุมโดยชนชั้น
ปกครองหรอื เจ้าของทนุ

30000-1101 ทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี 18

๓) แนวคดิ ทางวฒั นธรรมศึกษา แนวคิดนี้เช่ือว่า “ขา่ ว” ไม่ใชร่ ายงานตามความเป็น
จริงทั้งหมดที่เกิดขึ้น แต่เป็นเพียง “ความจริงที่ถูกประกอบสร้าง” บนพื้นฐานข้อเท็จจริงของเหตุการณ์นั้น ๆ
โดยผรู้ ายงานข่าวจะเป็นผู้สร้างความหมายให้กบั เรื่องท่ีเกดิ ข้ึนในสังคมโดยใช้เทคนิคหรือทักษะของมืออาชีพที่
ผู้ชมคุ้นเคย มีการเข้ารหัสทางวัฒนธรรมและผ่านกระบวนการครอบงำทางสังคม ข่าวจึงเป็นสินค้าที่มีมูลค่า
และคา่ นิยมบางอยา่ งท่ีถูกสรา้ งข้ึนเพ่ือครอบงำมุมมองอนื่ ๆ

๕. การวเิ คราะห์จากการดูละครโทรทศั น์
ละคร หมายถึง ศิลปะการแสดงท่ีเกิดขึ้นจากการนำภาพ ประสบการณแ์ ละจินตนาการของมนุษย์

มาผกู เป็นเรือ่ งราวแล้วนำเสนอแกผ่ ชู้ มโดยมีผู้แสดงเปน็ ผู้ส่ือความหมาย
๕.๑ ประเภทของละคร แบ่งออกเปน็ ๒ ประเภทดังนี้
๕.๑.๑ ละครแนวเหมอื นจริง (Representation drama) คอื ละครทใ่ี ห้ภาพชีวติ ความเป็น

จรงิ สะทอ้ นชีวติ ในสังคมและความเปน็ อยู่ของชุมชนออกมาเปน็ เรือ่ งราว ดังคำกล่าวทีว่ า่ “ละครคอื ชีวติ ”
๕.๑.๒ ละครแนวไม่เหมือนจริง (Presentation drama) คือ ละครท่ใี หภ้ าพของการแสดง

หลุดออกไปจากชีวิตประจำวัน โดยยึดคนดูเป็นเป้าหมายสำคัญเพื่อให้คนดูเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน
ตื่นเต้นและผู้ดูจะเกิดความรู้สึกว่าสิ่งที่ปรากฏไม่ใช่ชีวิตจริง เช่น การแสดงโขน ละครรำ ซึ่งฉากและ
เครอ่ื งแต่งกายจะหรหู ราเกินจริง แต่ก็สวยงาม ประณีตวิจติ รบรรจง มีเสน่ห์ประทับใจคนดู

๕.๒ องคป์ ระกอบของละคร การแสดงทีเ่ ปน็ ละครจะต้องมอี งคป์ ระกอบ ดังน้ี
๕.๒.๑ เรื่อง (Story) ตัวละครเจรจาไปตามเนื้อเรื่องของบทละคร ผู้เขียนบทจะต้องมี

ความสามารถในการบรรยายบคุ ลิกลักษณะนสิ ยั ของตัวละครไดช้ ัดเจน
๕.๒.๒ เนื้อหาสรุป (Subject) หรือแนวคิด (Theme) เช่น ต้องการให้เกิดความกตัญญู

ความรักชาติหรอื มงุ่ สอนจรยิ ธรรม
๕.๒.๓ นิสัยตัวละคร (Characterization) บุคลิกลักษณะนิสัยของตัวละครต้องตรงกับ

เนอื้ หาสรุป
๕.๒.๔ บรรยากาศ (Atmosphere) หมายถึง การสร้างบรรยากาศรอบ ๆ ที่เกี่ยวกับตัว

ละคร เพ่อื ชว่ ยให้ผชู้ มละครมคี วามรสู้ กึ คล้อยตามไปกบั ตัวละคร
๕.๓ จุดมุ่งหมายของละคร ละครมีจุดมุ่งหมายเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ๓ ระดับ

ดังน้ี
๕.๓.๑ อารมณ์ ละครมีจุดมุ่งหมายให้ความบันเทิงแก่มนุษย์ได้ผ่อนคลายความเครียด

บางครงั้ อาจกระตนุ้ อารมณ์ใหเ้ กดิ ความรสู้ ึกตน่ื เตน้ ทำใหม้ นษุ ย์มคี วามสขุ กระตือรือรน้ ในการดำเนนิ ชวี ิต
๕.๓.๒ สมอง ละครให้คุณค่าทางสตปิ ัญญา โดยการดลู ะครแล้วกลับมาพจิ ารณาปญั หาตา่ ง ๆ

เก่ยี วกับตนเอง เก่ียวกบั สังคมสว่ นรวม
๕.๓.๓ จิตใจ ความสัมพันธ์ของละครกับจิตใจมนุษย์มีมาแต่โบราณ จะเห็นได้ว่าละคร

ตะวนั ออกและตะวนั ตกล้วนถือกำเนดิ มาจากพิธบี วงสรวงเทพเจ้า เพ่อื ขอพรพระและให้เทพเจ้าบันดาลส่ิงที่ตน
ปรารถนา

ดังนั้น ผู้ดูละครจึงควรดูอย่างวิเคราะห์ว่า ละครสามารถให้ได้ทั้งความบันเทิงกระตุ้นเร้าความคิด
ให้การศึกษา ความสนุกสนาน เพลินเพลิน สอนบทเรียน ให้ความฝันที่คนดูปรารถนาเป็นเสมือนโลกที่งดงาม
ให้ผู้คนหลีกหนีจากชีวิตที่สับสน ได้พักสมองคลายความเครียดได้ชั่วขณะหนึ่ง หากผู้ดูดูอย่างเข้าใจจะท ำให้
ได้รับทัง้ อรรถรสและประโยชน์จากการดูอย่างเตม็ ท่ี

30000-1101 ทักษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี 19

แบบฝึกหดั หนว่ ยที่ 2
การวิเคราะห์ สงั เคราะห์ และประเมนิ คา่ สารจากการฟัง และการดู

ตอนท่ี 1 จงตอบคำถามต่อไปน้ี
1. สารทใ่ี ช้สือ่ สารในชีวติ ประจำวนั มีกปี่ ระเภท อะไรบา้ ง
............................................................................................................................. .................................................
.................................................................................. ............................................................................................
2. กระบวนการรับรสู้ ารด้วยการฟังอย่างสมบูรณ์ มีก่ีขั้นตอน อะไรบา้ ง
............................................................................................................................. .................................................
.................................................................................. ............................................................................................
............................................................................................................................. .................................................
3. การฟังมีประโยชน์ตอ่ ตนเองอย่างไรบา้ ง จงอธบิ าย
............................................................................................................................. .................................................
................................................................................................................................................... ...........................
4. นักเรียนคิดวา่ การดลู ะครนอกจากจะให้ความบนั เทิง สามารถใหป้ ระโยชน์ด้านอื่นได้หรอื ไม่ อย่างไร
....................................................................................................................................... .......................................
........................................................................................... ...................................................................................
5. ส่งิ ใดเปน็ สิ่งสำคัญทส่ี ดุ ในการฟงั เพ่ือวนิ ิจฉยั และประเมินค่า
............................................................................................................................. .................................................

ตอนท่ี 2 ใหน้ กั ศกึ ษาดโู ฆษณาทางสถานีโทรทัศน์มาคนละ ๑ โฆษณาแลว้ ตอบคำถามต่อไปนี้
๑. รายการโฆษณาท่ีได้ดูเป็นโฆษณาสนิ ค้าอะไร
............................................................................................................................. .................................................
๒. จดุ ประสงคข์ องการโฆษณาคอื อะไร
...................................................................................................................................... ........................................
๓. สรรพคณุ ของสินค้ามีอะไรบา้ ง
............................................................................................................................. .................................................
..............................................................................................................................................................................
๔. สิ่งทที่ ำใหเ้ กดิ ความมั่นใจในสินคา้ คือ
......................................................................................................................... .....................................................
๕. ท่านคิดวา่ การโฆษณาสินค้าน้นั มคี วามน่าเชื่อถือหรือไม่ เพราะเหตุใด
............................................................................................................................. .................................................
............................................................................................................................. .................................................
๖. ถา้ นกั ศึกษาเปน็ ผบู้ ริโภค จะตดั สินใจอย่างไร จงอธิบายและให้เหตผุ ล
............................................................................................................................. .................................................
๗. กล่มุ ผ้บู รโิ ภคทเ่ี หมาะสมกับสนิ ค้าชนดิ น้ี ควรเป็นกลุ่มใด
................................................................................................................................................... ...........................

30000-1101 ทักษะภาษาไทยเชงิ วิชาชีพ 20

แบบทดสอบหลงั เรยี นหนว่ ยที่ 2
การวเิ คราะห์ สังเคราะห์ และประเมนิ ค่าสารจากการฟงั และการดู

คำชี้แจง ให้ทำเครอ่ื งหมายกากบาท (X) ลงหนา้ ตัวเลือกทถ่ี ูกต้องทส่ี ุด

1. ข้อใดสำคัญทส่ี ดุ ในการฟงั สารแบบจรรโลงใจ 7. ขอ้ ใดเปน็ รายการท่ีมุ่งให้ผูช้ มนำแง่คิดท่ีได้ไปใช้

ก. สรา้ งความเพลดิ เพลนิ ในชวี ติ ประจำวัน

ข. นำความรู้ที่ได้ไปใชป้ ระโยชน์ ก. คนค้นฅน

ค. จบั ใจความสำคัญของเรอ่ื งได้ ข. คุณพระช่วย

ง. ไดร้ บั แง่คิดที่สามารถนำไปปรบั ใช้ในชีวิตได้ ค. กบนอกกะลา

2. ข้อใดไมใ่ ช่ประโยชน์ของการฟงั ง. เรือ่ งจรงิ ผา่ นจอ

ก. ทำใหผ้ ู้ฟงั มคี วามรกู้ ว้างขึน้ 8. เหตุใดจึงกล่าวว่า“ข่าว” ไม่ใช่รายงานตาม

ข. สามารถเขา้ สงั คมกบั ผู้อื่นไดด้ ี ความเปน็ จรงิ ทง้ั หมดท่เี กดิ ข้ึน

ค. ทำใหผ้ ฟู้ ังตัดสินใจไดอ้ ยา่ งรวดเร็ว ก. ประชาชนรับฟังวามจริงของข่าวเพียง

ง. ไมต่ กเป็นเหย่อื ของคำโฆษณาชวนเชือ่ บางสว่ นเท่านั้น

3. ข้อใดเปน็ ขอ้ เทจ็ จรงิ ข. ข่าวถูกกำหนดและควบคุมโดยชนช้ัน

ก. วนั นอ้ี ากาศคร้มึ มากฝนคงจะตกหนัก ปกครองหรือเจ้าของทนุ

ข. แมวไทยมีหนา้ ตาน่ารกั และเฉลียวฉลาด ค. สื่อมวลชนช่วยนำเสนอให้สังคมทราบความ

ค. การตื่นนอนแต่เช้าตรเู่ ป็นกำไรของชีวิต เคลอ่ื นไหวของข่าว

ง. พ่อขุนรามคำแหงเปน็ ผู้ประดษิ ฐอ์ กั ษรไทย ง. ผรู้ ายงานขา่ วจะเปน็ ผูส้ ร้างความหมายให้กับ

4. เมื่อราตรีพูดจบ วิทวัสก็ปรบมือให้ทันที แสดง เรือ่ งที่เกิดขน้ึ ในสงั คม

ว่าวิทวัสมีกระบวนการรับรู้สารดว้ ยการฟังขั้นตอน 9. ขอ้ ใดกลา่ วไมถ่ กู ตอ้ งเกี่ยวกับการประเมนิ คา่ สาร

ใด ก. ต้องทำโดยปราศจากอคติ

ก. ได้ยนิ ข. อย่าให้คนอ่นื มาครอบงำความคดิ

ข. เขา้ ใจ ค. ควรใช้อารมณ์หรือความรู้สึกของตนเข้า

ค. ตคี วาม ประเมิน

ง. ตอบสนอง ง. ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบเพื่อหาคุณค่า

5. ขั้นตอนแรกในการจบั ประเด็นสำคัญจากเร่อื งท่ี ของสาร

ฟงั และดคู อื อะไร 10. ขอ้ ใดไม่ใช่สงิ่ ทีไ่ ด้จากการดูละคร

ก. มีสมาธิจดจอ่ อย่กู บั การฟงั และการดู ก. ไดร้ ับความเพลดิ เพลิน

ข. สรปุ ประเดน็ เป็นภาษาของตนเอง ข. เสริมสรา้ งโลกทศั นใ์ ห้กวา้ งข้นึ

ค. แยกแยะข้อเทจ็ จริงข้อคดิ เห็น ค. ได้รับแงค่ ิดทส่ี ามารถนำไปปรับใชใ้ นชวี ิต

ง. ทำความเข้าใจกบั จุดมุ่งหมายของการรับสาร ง. สามารถเลยี นแบบพฤติกรรมของตัวละครได้

6. ข้อใดไม่ใช่วิธีการวิเคราะห์และประเมินค่าจาก

การฟงั

ก. ฟังดว้ ยความตง้ั ใจ

ข. ฟงั แลว้ จบั ใจความได้

ค. ฟงั แล้ววิจารณ์เร่อื งทฟ่ี ังได้

ง. ตีความถอ้ ยคำสำนวนโวหารท่ผี ู้พดู พูดได้

30000-1101 ทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชีพ 21

หนว่ ยที่ 3

การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่าสารจากการอา่ น

การอ่านเป็นทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อการศึกษาหาความรู้และพัฒนาชีวิตซึ่งนอกจากจะท ำให้เกิด
ความรู้แล้ว ยังก่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลนิ และส่งเสริมให้มีความคิดริเริ่มสรา้ งสรรค์ได้รบั แนวคดิ ใน
การดำเนินชีวิต การอ่านเป็นหัวใจหลักของการศึกษาทุกระดับและเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ต่าง ๆ
ดังนั้น การอ่านจึงเป็นความรู้พื้นฐานสำคัญเพื่อใช้ในการศึกษาหาความรู้ การติดต่อสื่อสาร รวมถึงเป็น
เคร่อื งมือทใี่ ชใ้ นการดำรงชีวติ ประจำวนั

3.1 ความหมายและความสำคญั ของการอา่ น

อมรรัตน์ ชำนาญรักษา (2555, สื่อออนไลน์) ให้ความหมายไว้ว่า การอ่าน หมายถึง การแปล
ความหมายของตัวอักษรท่ีอ่านออกมาเป็นความรู้ความคดิ และเกิดความเขา้ ใจเร่อื งราวที่อา่ นตรงกับเร่ืองราวที่
ผ้เู ขยี นเขยี น ผู้อ่านสามารถนำความรู้ ความคดิ หรอื สาระจากเรื่องราวท่อี า่ นไปใชใ้ ห้เกิดประโยชนไ์ ด้

การอ่านมีความสำคญั ดงั นี้
๑) การอ่านเปน็ เครือ่ งมือในการแสวงหาความรู้ โดยเฉพาะผู้ที่อยใู่ นวัยศึกษาเล่าเรียน จำเป็นต้องอ่าน
หนังสอื เพ่ือการศึกษาหาความรู้ด้านต่าง ๆ
๒) การอ่านเป็นเครื่องมือช่วยให้ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพ เพราะสามารถนำความร้ทู ี่
ได้จากการอ่านไปพฒั นางานของตนได้
๓) การอา่ นเปน็ เคร่ืองมือสืบทอดทางวฒั นธรรมของคนรุน่ ต่อ ๆ ไป
๔) การอ่านเป็นวิธีการส่งเสริมให้คนมีความคิดอ่านและฉลาดรอบรู้ เพราะประสบการณ์ที่ได้จากการ
อา่ นเม่ือเกบ็ สะสมเพิม่ พนู นานวันเขา้ ก็จะทำให้เกดิ ความคดิ เกดิ สติปัญญา เปน็ คนฉลาดรอบรไู้ ด้
๕) การอ่านเป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความเพลิดเพลินบันเทิงใจ เป็นวิธีหนึ่งในการแสวงหาความสุข
ให้กับตนเองท่ีง่ายทส่ี ุด และไดป้ ระโยชน์คุ้มค่าทส่ี ุด
๖) การอ่านเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิต ทำให้เป็นคนที่สมบูรณ์ทั้งด้านจิตใจและบุคลิกภาพ เพราะ
เมือ่ อ่านมากยอ่ มรูม้ าก สามารถนำความรไู้ ปใช่ในการดำรงชีวิตได้อย่างมคี วามสขุ
๗) การอา่ นเปน็ เคร่อื งมือในการพฒั นาระบบการเมอื ง การปกครอง ศาสนา ประวตั ิศาสตร์ และสังคม
๘) การอ่านเป็นวิธีการหนึ่งในการพัฒนาระบบการสื่อสารและการใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์
ตา่ ง ๆ

3.2 จุดมุ่งหมายของการอา่ น

การอ่านจากหนังสอื และสื่อแต่ละครั้งของแตล่ ะคนจะมีจุดมุ่งหมายแตกตา่ งกันออกไป อาจจำแนกได้
กวา้ ง ๆ ดังน้ี

3.2.1 อ่านเพื่อหาความรู้ การอ่านเพื่อหาความรู้ ได้แก่ การอ่านหนังสือจากหนังสือประเภทตำรา
ทางวิชาการ สารคดีทางวิชาการ การวิจัยประเภทต่าง ๆ หรือการอ่านผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การอ่านจาก
หนังสือที่มีสาระเดียวกันควรอ่านจากผู้เขียนหลาย ๆ คน เพื่อเป็นการตรวจสอบความถูกต้องแม่นยำของ
เนื้อหา ผู้อ่านจะได้มีมุมมองที่กว้างขึ้น มีความรอบรู้ได้แนวคิดที่หลากหลาย และไม่ควรอ่านเฉพาะใน

30000-1101 ทกั ษะภาษาไทยเชงิ วิชาชีพ 22

เนื้อหาวิชาที่ตนชอบเท่านั้น ควรอ่านอย่างหลากหลายเพราะความรู้ในวิชาหนึ่ง อาจนำไปช่วยเสริมในอีกวิชา
หน่งึ ได้

2. อ่านเพื่อความบันเทิง การอ่านเพื่อความบันเทิง ได้แก่ การอ่านจากหนังสือประเภทสารคดี
ท่องเที่ยว นวนิยาย เรื่องสั้น เรื่องแปล การ์ตูน บทประพันธ์ บทเพลง แม้จะเป็นการอ่านเพือ่ ความบันเทิง แต่
ผู้อ่านจะได้ความรู้ที่สอดแทรกอยู่ในเรื่องด้วย การอ่านประเภทนี้มีข้อควรระวังว่าปัจจุบันหนังสือบางชนิดมี
เน้ือหาสาระและรปู ภาพทขี่ ัดต่อวฒั นธรรมและจารีตประเพณีไทย ผู้อา่ นจงึ ควรพิจารณาเลือกให้ดี

3. การอ่านเพอ่ื ทราบขา่ วสาร ความคดิ การอา่ นเพอ่ื ทราบข่าวสาร ความคิด ไดแ้ ก่ การอ่านหนังสือ
ประเภทบทความ บทวิจารณ์ ขา่ ว รายงานการประชมุ ข้อควรระวงั ในกาอ่านประเภทน้ี คอื ผ้อู ่านมักเลือกอ่าน
สื่อที่สอดคล้องกับความคิดและความชอบของตน จึงทำให้ปิดกั้นการรับรู้และแนวคิดด้านอื่น ๆ ดังนั้น ถ้าจะ
เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงต้องเลือกอ่านอย่างหลากหลายไม่เจาะจงอ่านเฉพาะสื่อที่นำเสนอตรงกับความคิด
ของตน เพราะจะทำให้มีมุมมองทีก่ ว้างขึ้นอันจะช่วยให้เรามีเหตผุ ลอืน่ ๆ มาประกอบการวิจารณ์ วิเคราะห์ได้
ลมุ่ ลกึ มากขนึ้

4. การอ่านเพื่อจุดประสงค์เฉพาะแต่ละครั้ง การอ่านเพ่ือจุดประสงค์เฉพาะแต่ละครั้ง ได้แก่
การอา่ นท่ไี มไ่ ด้เจาะจง แตเ่ ป็นการอ่านเปน็ ครงั้ คราวในเร่ืองทต่ี นสนใจหรืออยากรู้ เช่น การอ่านประกาศตา่ ง ๆ
การอ่านโฆษณา แผ่นพับประชาสัมพันธ์ สลากยา การอ่านสมุดโทรศัพท์หน้าเหลือง การอ่านข่าวสังคม ข่าว
บันเทงิ ข่าวกีฬา การอา่ นประเภทน้ีมักใช้เวลาไมน่ านและไม่กระทำทุกวัน ส่วนใหญ่เปน็ การอ่านเพ่ือให้ความรู้
แนะนำไปใช้ หรอื นำไปเป็นหวั ขอ้ สนทนา บางครงั้ กเ็ พื่อฆ่าเวลา

3.3 ลักษณะของการอา่ น

ลกั ษณะของการอา่ น แบง่ เป็น ๒ ประเภท ดงั น้ี
3.3.1 การอ่านในใจ คือ การแปลความหมายของตัวหนังสือ ออกมาเป็นความคิดความเข้าใจ และ
นำความคดิ ความเขา้ ใจนัน้ มาใชป้ ระโยชน์ การอา่ นในใจเปน็ กลไกท่ีทางานรว่ มกันระหวา่ งสายตากับสมอง เป็น
การอ่านที่มุ่งจบั ใจความสำคัญ ผ้อู ่านจงึ ควรอ่านให้ไดร้ วดเรว็ ถกู ต้อง และควรทาบันทึกย่อในเรอื่ งทอ่ี ่านด้วย
3.3.2 การอ่านออกเสียง เป็นกระบวนการที่ทางานสอดคล้องสัมพันธ์ระหว่างสายตามองเห็น
ตวั อกั ษร สมองรบั รู้แล้วเปล่งเสียงเพ่อื ใหผ้ ู้อนื่ ได้ฟงั หรอื เพ่ือฝกึ ทักษะการออกเสียง

3.4 ขน้ั ตอนของการอ่านโดยท่วั ไป

การอ่านโดยทั่วไปมีข้นั ตอนดงั นี้
3.4.๑ กำหนดจุดประสงค์ในการอ่านให้แน่นอน ก่อนการอ่านหนังสือทุกครั้งผู้อ่านต้องตั้ง
วัตถุประสงค์ไว้ว่าต้องการอ่านเพื่ออะไร เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน หรือเพื่อศึกษาหาความรู้ ขณะอ่าน
ต้องพยายามคน้ หาสงิ่ ทตี่ ้องการจากหนังสือที่อ่านให้ได้มากที่สุด เพ่ือใหไ้ ด้รบั ประโยชนจ์ ากการอา่ นอย่างคุ้มค่า
การอา่ นหนงั สอื โดยท่วั ไปมีหลายวิธดี งั น้ี

๑) อ่านผ่าน ๆ หรืออ่านคร่าว ๆ การอ่านแบบนี้ไม่ต้องอ่านรายละเอียดแต่จะอ่านเฉพาะ
หัวข้อสำคัญเพื่อหาแนวทางหรือหาสิ่งที่เราต้องการ บางตอนก็ข้ามไปบ้างเมื่อเห็นว่าข้อความนั้นไม่ใช่สิ่งที่เรา
ต้องการ ใช้กับการอ่านหนงั สือพมิ พ์หรือ นวนยิ าย

30000-1101 ทกั ษะภาษาไทยเชงิ วิชาชีพ 23

2) อ่านอย่างละเอียด วิธนี ต้ี ้องอา่ นละเอียดทุกตัวอักษร ต้องให้ ความสนใจมาก อ่านอย่างมี
สมาธิ ไม่หยุดครึ่ง ๆ กลาง ๆ ขณะอ่านต้องพยายามติดตามเรื่อง ถ้ามีข้อความตอนใดที่เห็นว่าควรจะจดจำ
ควรขดี เส้นใตไ้ ว้ใหเ้ หน็ เด่นชดั การอา่ นแบบนี้ใช้อ่านตำราเรยี น บทความ

3) อา่ นอยา่ งวเิ คราะหว์ จิ ารณ์ หมายถงึ การอ่านอย่างละเอยี ด ทุกตวั อักษร และเม่ืออ่านจบ
แลว้ ต้องแยกแยะได้วา่ อะไรคือข้อเท็จจริง อะไรคอื ความเห็น อะไรถูก อะไรผิด ถา้ ผดิ ก็ตอ้ งทราบว่าผิดอย่างไร
ขณะอ่านควรใช้ความคิดวิจารณ์ในเรื่องที่อ่านด้วยว่าวิธีเขียนเป็นอย่างไร ชอบหรือไม่ชอบ ตอนไหน
เพราะเหตุใด วธิ นี ใ้ี ช้กบั การอ่านกฎเกณฑ์ ทฤษฎตี ่าง ๆ ตลอดจนคำโฆษณาชวนเชื่อ

4) พยายามทความเข้าใจกับเร่อื งทอี่ ่าน
5) มสี มาธใิ นการอา่ น
6) เมอ่ื อา่ นจบ ทบทวนเรือ่ งทอี่ ่านอีกครัง้

3.5 ประโยชนจ์ ากการอ่าน

การอ่านมีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์ต้ังแต่เกิดจนโต และจนกระทั่งถึงวัยชรา การอ่านทำให้รู้ข่าวสาร
ข้อมูลต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งปัจจุบันเป็นโลกของข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ทั่วโลก ทำให้ผู้อ่านมีความสุข มีความหวัง
และมีความอยากรู้อยากเห็น อันเป็นความต้องการของมนุษย์ทุกคน การอ่านมีประโยชน์ในการพัฒนาตนเอง
คือ พัฒนาการศึกษา พัฒนาอาชีพ พัฒนาคุณภาพชีวิต ทำให้เป็นคนทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ แ ละมี
ความอยากรู้อยากเห็น การที่จะพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าได้ต้องอาศัยประชาชนที่มีความรู้
ความสามารถ ซ่งึ ความรูต้ ่าง ๆ ก็ได้มาจากการอ่านน่นั เอง ดังนั้นการอา่ นจงึ มปี ระโยชนด์ งั นี้

3.5.1 ช่วยใหเ้ ปน็ คนเรียนเก่ง เพราะเมอื่ อ่านเกง่ แล้วจะเรียนวชิ าตา่ ง ๆ ไดด้ ี
3.5.2 ช่วยให้เป็นผู้ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพ เพราะได้อ่านเอกสารที่ให้ความรู้ใน
การปรบั ปรงุ งานของตนอยเู่ สมอ
3.5.3 ช่วยให้ได้รับความบันเทิงในชีวิตมากขึ้น เพราะการได้อ่านวรรณกรรมดี ๆ ย่อมทำให้เกิด
ความเพลิดเพลินในยามว่าง
๒.๔ ชว่ ยทำให้ผู้ที่สังคมยอมรับ เพราะผ้ทู ีอ่ ่านมากจะรจู้ กั ปรับตวั ให้เขา้ กับสังคมไดด้ ี
๒.๕ ช่วยทำให้เปน็ คนทีน่ ่าสนใจเพราะผู้ที่อ่านหนังสือมากจะมีความคิดลกึ ซึ้งและกว้างขวางสามารถ
แสดงความรู้ ความคิดเห็นดี ๆ มปี ระโยชนไ์ ด้ทุกแห่งทกุ เวลา

๓.6 การอา่ นวิเคราะห์

การอ่านวิเคราะห์ หมายถึง การอา่ นเพ่อื แยกแยะขอ้ ความท่ีอา่ นอย่างถี่ถ้วน เพ่ือใหท้ ราบถึงโครงสร้าง
องค์ประกอบ หลกั การและเหตุผลของเรื่อง จนสรปุ ได้ว่าแตล่ ะส่วนเป็นอย่างไรสัมพันธ์กันอยา่ งไร เหมือนหรือ
แตกต่างกันอย่างไร การอ่านวิเคราะห์ช่วยให้เห็นภาพรวมและรายละเอียดของเรื่องที่อ่าน ฝึกให้อ่านอย่าง
รอบคอบ ช่วยให้เข้าใจเรื่องนั้นอย่างแท้จริง ช่วยพัฒนาสติปัญญาเพราะต้องใช้เหตุผลในการอธิบายแง่มุม
ต่าง ๆ ซึ่งทกั ษะในการอ่านนส้ี ามารถนำไปใช้ในชวี ิตประจำวนั ได้ และจะนำไปใช้ในการอา่ นประเมินค่าต่อไป

3.6.1 วธิ ีการอ่านด้วยความวิเคราะห์
๑) ผู้อ่านควรอ่านเรื่องหนึ่งเรื่องใดเป็นประจำให้ต่อเนื่องกัน และติดตามเรื่องนั้นอย่าง

สม่ำเสมอ
๒) ผูอ้ า่ นควรอา่ นเรือ่ งทีต่ นสนใจอยา่ งสม่ำเสมอ

30000-1101 ทักษะภาษาไทยเชิงวชิ าชพี 24

3) ควรอ่านบทความทมี่ กี ารวเิ คราะห์วิจารณ์ เพราะจะช่วยให้ผ้อู า่ นได้รู้ความคิดของคนอนื่ ๆ
และยังเปน็ การเพ่ิมพนู ความรใู้ หม่ ๆ อกี ด้วย

4) ถ้าผู้อ่านมีโอกาสแสดงความคิดเห็นต่อบทวิเคราะห์วิจารณ์ของผู้เขียนคนอื่น จะทำให้
ผเู้ ขยี นนน้ั ได้รูว้ ่าทเี่ ขาคดิ น้นั คดิ ถูกหรอื ผิดอย่างไร

5) ถ้าผู้อ่านมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อ่านคนอื่น จะทำให้รู้และเข้าใจความคิด
ของผอู้ า่ นคนอนื่ ซึง่ จะช่วยกระตนุ้ ใหเ้ กดิ ความคิดใหม่ ๆ หรอื เกดิ ความคดิ ในส่ิงทีเ่ ราคิดไม่ถึงมาก่อน

3.6.2 ข้อเสนอแนะในการอ่านด้วยความวิเคราะห์
๑) อ่านหนังสอื เรอ่ื งน้ัน ๆ อยา่ งละเอียดตั้งแตต่ น้ จนจบ และพนิ ิจพิจารณาหาเหตุผลประกอบ
๒) อ่านหนงั สอื อน่ื ๆ ประกอบ เพ่ือเสริมสร้างความเขา้ ใจทีถ่ ูกต้องกอ่ นทจ่ี ะประเมนิ ค่า
3) ใช้ความรู้ ประสบการณ์ และวิจารณญาณในการแยกแยะส่วนที่ดี ส่วนที่บกพร่องอย่าง

เป็นเหตุเป็นผล
4) เมื่ออ่านหนังสอื เรื่องน้ัน ๆ จบ สามารถตอบตนเองได้วา่ ได้รับอะไรบ้างจากการอ่านเร่อื ง

นัน้ ๆ เช่น ได้รบั ความรู้ ความบันเทิง ข้อคิดเห็นที่เปน็ ประโยชน์ และเรื่องนั้นมีคุณคา่ อยา่ งไร เป็นต้น

3.6.3 ประโยชน์ของการอา่ นด้วยความวเิ คราะห์
1) ได้รวู้ า่ ข้อมูลสว่ นใดเปน็ ความจริง สว่ นใดเป็นความเห็น
2) ทำให้ผอู้ ่าน มคี วามใฝ่รู้ อยากอ่านหนงั สืออยเู่ สมอ
3) เป็นการกระตุ้นให้ผู้อ่านเกิดความคิดและทัศนะที่กว้างไกลออกไปเมื่อได้ตั้งคำถาม

ถามตนเองอยเู่ สมอ ๆ
4) ผู้อา่ นจะไม่ยึดมน่ั ในตำราเพยี งเล่มหนง่ึ เลม่ ใดอีกต่อไป
5) ผอู้ า่ นจะไม่ตกเป็นเหยื่อคำโฆษณาชวนเชื่อ แต่จะรจู้ ักตดั สินใจดว้ ยตนเองอยา่ งถกู ตอ้ ง
6) รจู้ กั การประเมินค่าเรื่องทีอ่ ่าน ดว้ ยความรอบคอบและอย่างมเี หตุ มผี ลซึ่งสามารถนำไปใช้

ประโยชนใ์ นชวี ิตประจำวัน ในสังคม หรือแมแ้ ตใ่ นการศึกษาวิชาอ่นื ๆ ได้

3.7 การอา่ นประเมนิ คา่

การอา่ นประเมินค่า เป็นการอา่ นเพ่ืออธิบายลักษณะดี ลักษณะบกพร่องของงานเขียนในแง่มุมต่าง ๆ
ไดแ้ ก่ ดา้ นเน้ือเรือ่ ง ด้านความคิดเห็น ด้านทำนองแตง่ เป็นต้น อธิบายให้ผอู้ ่านเขา้ ใจแลว้ ตอ้ งวนิ จิ ฉยั วา่ งานน้ัน
เขียนดีหรือไม่ดี ผู้ประเมินค่าจะต้องหยบิ ยกส่วนประกอบที่สำคัญมาวิพากษ์วิจารณ์ทุกแง่ทกุ มุม เพื่อให้ผู้อ่าน
คลอ้ ยตามและเหน็ ดีเหน็ งามตามมุมมองของผู้ประเมินค่า ซงึ่ ผลจากการเผยแพร่การประเมนิ ค่า จะช่วยให้เกิด
งานเขียนที่สร้างสรรค์ ทำใหผ้ ู้เขียนหรือผู้แต่งสร้างสรรค์งานคณุ ภาพเพื่อผู้อ่านและชว่ ยให้งานเขียนแพร่หลาย
ยิง่ ขึ้น

3.7.1 การอา่ นประเมนิ คา่ โดยทวั่ ไป
1) ตอ้ งอาศยั หลกั เกณฑ์การประเมินค่าตามชนิดของสารท่ีอา่ น
2) ต้องมคี วามสามารถในการอา่ น ใชว้ จิ ารณญาณใครค่ รวญทุกแงท่ กุ มุมของงานเขยี น
3) ตอ้ งค้นหาข้อดี ขอ้ บกพร่องของงานเขียนให้ได้

3.7.2 รูปแบบของงานเขียน
รปู แบบของงานเขยี นโดยท่วั ไปแบง่ เปน็ ๒ รูปแบบดงั นี้

30000-1101 ทักษะภาษาไทยเชิงวิชาชพี 25

1. สารคดี เสนอความรู้ที่น่าสนใจ ถูกต้อง และน่าเชื่อถือ เสนอความเห็นที่มีเหตุผล มี
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จริงใจ และเป็นกลาง การนำเสนอเรื่องสนุกสนาน ชวนติดตามต่อเนื่อง ใช้ภาษา
ชดั เจน เข้าใจงา่ ย เหมาะกับผูอ้ า่ น

2. บนั เทิงคดี
การอ่านบันเทิงคดตี ้องพิจารณาส่วนประกอบดงั น้ี
๑) พิจารณาองค์ประกอบของเรื่อง
1.1) โครงเรื่องต้องแสดงการกระทำและเหตุการณ์ที่เกี่ยวโยงต่อเนื่องกัน มี

ลกั ษณะสมจรงิ
1.2) เน้ือเร่อื งกอ่ ใหเ้ กิดความเพลิดเพลินและสติปัญญาแกผ่ ู้อ่าน
1.๓) แนวคิดของเร่อื งชัดเจนและมคี ุณคา่ แกผ่ ู้อา่ น
1.๔) ตัวละครและฉากมลี กั ษณะสมจรงิ และช่วยเสนอแนวคิดของเรอ่ื ง

๒) การเสนอเรอ่ื งชวนตดิ ตาม เร้าความสนใจของผอู้ า่ น
๓) การใชภ้ าษาชดั เจน และเข้าใจงา่ ย

3.7.3 คุณสมบัติของผปู้ ระเมินคา่
ผู้ประเมนิ ค่าจากการอา่ นควรมีคณุ สมบัติดังนี้
1) มคี วามรู้เกีย่ วกับผลงานทป่ี ระเมนิ คา่
2) ร้หู ลกั การประเมินค่า หรอื หลกั การวิพากษว์ ิจารณ์
3) มีความรใู้ นสาขาวิชาการต่าง ๆ
4) เป็นนกั อ่านและสนใจงานทุกประเภท
5) มใี จกวา้ ง ยอมรับฟังความคดิ เห็นของผู้อน่ื

3.7.๔ หลักการอ่านประเมนิ ค่า
1) พิจารณาความถูกต้องของภาษาจากเรื่องที่อ่าน ภาษาที่ไม่ถูกต้องจะท ำให้เกิด

ความคลาดเคลื่อนไปจากความหมายที่แท้จริง ความถูกต้องของภาษามีหลายลักษณะ เช่น การใช้คำผิด
ความหมาย การเรยี งคำในประโยคผิด การไม่รจู้ กั เวน้ วรรคตอน เป็นตน้ นับเป็นองค์ประกอบสำคัญต่อการส่ือ
ความหมาย

2) พิจารณาความต่อเนื่องของประโยค ว่าเป็นข้อความที่ไปกันได้ ไม่ขัดแย้งกันหรือข้อความ
ที่ให้ความก้าวหน้าแก่กัน หากข้อความใดมีเนื้อหาสับสนวุ่นวาย ไม่เข้ากับหลักตามข้อนี้ให้ถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่
ควรอา่ น

3) พิจารณาความต่อเนื่องของความหมาย ความหมายที่ต่อเนื่องต้องมีแกนหลักในการ
เช่ือมโยงความหมาย เช่น การเขียนชวี ประวัติ อาจใช้ชว่ งเวลาของชวี ติ เปน็ หลกั เกณฑ์ เปน็ ต้น

4) เมอื่ อา่ นแล้วต้องแยกข้อเทจ็ จริงออกจากความคิดเหน็ และความรู้สึกจากเร่ืองท่อี า่ น

30000-1101 ทักษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชีพ 26

ตวั อยา่ ง
“ประเทศหนึ่ง ๆ ต่างมีระบอบการปกครองแตกต่างกันออกไป ประเทศรัสเซียได้ช่ือว่าเป็นประเทศที่

ปกครองด้วยระบบสังคมนิยม ไม่มีศาสนา ไม่มีพระมหากษัตริย์ ถ้าข้าพเจ้าต้องมีชีวิตอยู่ที่นั่นคงจะอึดอัดมิใช่
น้อย เพราะขา้ พเจ้าถอื วา่ ทง้ั สองสถาบนั นี้คือ ศูนยร์ วมจิตใจของทกุ คน”

(การพูดตามนัย เนื้อหา : อรวรรณ ปิลันธนโ์ อวาท)

ข้อเท็จจริง – ประเทศหนึ่ง ๆ ต่างมีระบอบการปกครองของตนเองไม่เหมือนประเทศอื่นประเทศ
รัสเซียมกี ารปกครองตามระบอบสงั คมนยิ ม ไม่มีศาสนา ไม่มพี ระมหากษตั ริย์

ความคดิ เห็น – เพราะขา้ พเจ้าถอื ว่าทงั้ สองสถาบนั น้ี คือศูนย์รวมจิตใจของทุกคน
ความรู้สกึ – ถา้ ขา้ พเจ้าต้องมชี วี ติ อยู่ท่ีนั่นคงจะอดึ อัดใจมิใชน่ ้อย

5) พิจารณาดูความสัมพันธ์ของหลักการและตัวอย่างว่ามีความจริงอย่างไรสมเหตุผลหรือไม่
กอ่ นทจ่ี ะเชื่อในเรอ่ื งท่ีอา่ นน้นั

6) ประเมินข้อเท็จจริง ความคิดเห็น และความรู้สึก วิเคราะห์ ความเป็นไปในความคิดของ
ผู้เขียน กับความคิดเห็นส่วนตัวของเรา ผลลัพธ์แห่งการประเมินนั้นจะก่อเป็นความคิดสร้างสรรค์ให้กับเรา
หรอื ไม่

ตัวอยา่ ง การประเมินค่าหนงั สือรวมเรื่องสั้น “ความน่าจะเปน็ ” ของปราบดา หย่นุ

“ความน่าจะเป็น” แสดงความสามารถของผู้เขียนในการนำเรื่องที่ไม่น่าจะเป็นเรื่องมาเขียนให้เป็น
เร่อื งนา่ ขบคดิ หรอื ตงั้ คำถามโดยไม่ให้คำตอบ

เรื่องสั้นในรวมเรื่องสั้นชุดนี้มีลีลาและกลวิธีการเขียนเฉพาะตัว และมีความหลากหลายแปลกใหม่ใน
ด้านกลวิธีและขนบวรรณศิลป์ นอกจากนี้ ยังมีความโดดเด่นด้านการเล่นกับภาษาอย่างมีรากฐานทาง
วัฒนธรรม

ด้วยคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้น หนังสือรวมเรื่องสั้น “ความน่าจะเป็น” ของ ปราบดา หยุ่น จึงมี
ความดีเด่นสมควรแก่การยกย่องเป็นวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ของประเทศไทย
ประจำปี ๒๕๕๕

ทม่ี า : คำประกาศของคณะกรรมการตัดสนิ รางวลั ซีไรต์

การรู้เทา่ ทนั การส่อื สาร เป็นทักษะชีวิต เปน็ วิธีคดิ ท่เี ปน็ ประโยชนต์ ่อผเู้ รยี น การวเิ คราะห์และประเมิน
ค่าสารเป็นพื้นฐานในการฝึกการรู้เท่าทันการสื่อสาร ซึ่งเป็นการฝึกให้ผู้สื่อสารรู้เท่าทันการสื่อสารทั้ง
กระบวนการ ต้ังแตก่ ารรู้เท่าทนั จุดมุ่งหมายแท้ ๆ ของผู้สง่ สาร รู้เทา่ ทนั ความหมายแท้ ๆ ของสาร รู้เท่าทันส่ือ
รู้เท่าทันผลโดยตรงและผลกระทบสืบเนื่องของการสื่อสารครั้งนั้น การวิเคราะห์สารทำให้ได้ฉุกใจคิด และ
การประเมินค่า คอื การเลือกรบั สารอย่างเหมาะสม โดยใชว้ จิ ารณญาณในการคิดไตรต่ รอง ซงึ่ เปน็ หนทางหนึ่ง
ท่ีจะช่วยฝกึ ใหผ้ ู้เรียนเป็นเดก็ ฉลาด รู้จักคิด

30000-1101 ทกั ษะภาษาไทยเชิงวชิ าชีพ 27

การที่ผู้สื่อสารสามารถวางท่าทีต่อการสื่อสารครั้งนั้น ๆ ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม มีวิธีคิดและวิธีทำ
(มกี ารคิดและการตัดสนิ ใจ การเลือกท่าทีท่ีเหมาะสม และการลงมอื ทำ) ทเี่ หมาะแก่สถานการณ์หรือภาวการณ์
นั้น โดยมีเป็นหมายสูงสุดเพื่อให้เป็นผู้มีวุฒิภาวะเข้าใจโลก และรู้เท่าทันชีวิต ดังนั้น การวิเคราะห์และ
ประเมินค่าสารเป็นทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อการสื่อสารและพัฒนาชีวิต เพราะจะทำให้มีวิจารณญาณใน
การคิดอันจะเปน็ ประโยชน์ในการดำเนนิ ชวี ติ ในยคุ ข้อมูลขา่ วสาร

***************************

30000-1101 ทกั ษะภาษาไทยเชิงวิชาชพี 28

แบบฝึกหดั หนว่ ยท่ี 3
การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมนิ คา่ สารจาการอ่าน

ตอนที่ 1 จงตอบคำถามต่อไปน้ี
1. การเขยี น หมายถึงอะไร
............................................................................................................................. .................................................
.................................................................................................................................................................... ..........
2. การอา่ นออกเสยี ง กบั การอา่ นในใจต่างกนั อย่างไร
..............................................................................................................................................................................
............................................................................................................................. .................................................
3. การอ่านวิเคราะห์มีความหมายวา่ อย่างไร จงอธิบาย
............................................................................................................................. .................................................
.................................................................................. ............................................................................................
4. ในการอ่านสารหากผู้อ่านขาดการวเิ คราะหแ์ ละประเมนิ ค่าสาร จะสง่ ผลต่อการรบั สารน้ันหรอื ไม่ อย่างไร
..............................................................................................................................................................................
............................................................................................................................. .................................................
5. การอา่ นมีประโยชน์อย่างไรบ้าง
............................................................................................................................. .................................................
..............................................................................................................................................................................
............................................................................................................................. .................................................

ตอนที่ 2 ให้นักศึกษาวิเคราะห์สังเคราะห์และประเมินค่าสารจากการอ่านบทความ มา 1 บทความ จากนั้น
ตอบคำถามตามหัวขอ้ ดงั น้ี
๑. ใหน้ ักศกึ ษาบอกรปู แบบของสาร และสรุปสาระสำคญั ของสารท่ีไดร้ ับ
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
๒. ใหน้ กั ศกึ ษาอธบิ ายความรู้สึกทีไ่ ดจ้ ากการอา่ นสารท่ีได้รับ
................................................................................................................................................. .............................
..................................................................................................... .........................................................................
๓. ให้นกั ศกึ ษาบอกคณุ ค่าท่ีได้จากการอ่านสาร
............................................................................................................................. .................................................
............................................................................................................................. .................................................
๔. ใหน้ กั ศกึ ษาบอกข้อบกพร่องของสารที่ไดอ้ ่าน
.............................................................................................................................. ................................................
.................................................................................. ............................................................................................
5. ใหน้ ักศึกษาสรุปประโยชน์ทีไ่ ด้จากการอ่านสารท่ีไดร้ ับ
............................................................................................................................. .................................................
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

30000-1101 ทักษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี 29

แบบทดสอบหลังเรียนหนว่ ยท่ี 3
การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมนิ ค่าสารจาการอ่าน

คำชี้แจง ให้ทำเคร่อื งหมายกากบาท (X) ลงหน้าตัวเลอื กที่ถูกต้องท่ีสดุ

1. ข้อใดกล่าวถึงลักษณะเบื้องต้นที่สำคัญของ 5. ข้อใดไมจ่ ำเป็นต้องวเิ คราะห์สาร

ผ้อู ่านท่ีดี ก. ป้องเลือกซื้อครมี กนั แดด

ก. ผูอ้ า่ นที่ดีตอ้ งเชือ่ ในส่ิงทอี่ ่านเปน็ สำคัญ ข. นกให้อาหารแมวอยู่ริมระเบียง

ข. ผู้อ่านที่ดีต้องเข้าใจองค์ประกอบของการ ค. ครฟู งั นกั เรียนเลา่ ปัญหาในการเรยี น

สือ่ สาร ง. ตกุ๊ ตาอ่านนวนิยายเรอ่ื ง “ความสขุ ของกะท”ิ

ค. ผู้อ่านที่ดีต้องอ่านเฉพาะประเด็นที่ตนเอง 6. ขอ้ ใดไมใ่ ช่วธิ ีการวเิ คราะหแ์ ละประเมนิ ค่าจากการฟงั

สนใจเท่าน้ัน ก. ฟังด้วยความต้งั ใจ

ง. ผูอ้ ่านทีด่ ตี อ้ งสามารถถา่ ยทอดตามความรู้สึก ข. ฟงั แล้วจบั ใจความได้

นกึ คดิ ของตนเองได้ ค. ฟังแลว้ วจิ ารณเ์ รอ่ื งท่ฟี ังได้

2. แม้วอ่านสารคดีเรื่อง ภัยธรรมชาติ โดยมุ่งที่จะ ง. ตคี วามถอ้ ยคำสำนวนโวหารทผ่ี ู้พดู พดู ได้

เข้าใจเนื้อหาสาระอย่างละเอียดและพิจารณาหา 7. ข้อใดคอื ความหมายของการวเิ คราะหส์ าร

เหตุผลของ เรื่องที่อ่าน แม้วควรใช้วิธีการอ่าน ก. คุณคา่ ราคา ประโยชน์

ประเภทใด ข. คาดคะเน กะดู คาดเดา

ก. อ่านเกบ็ ความรู้ ข. อ่านเอาเรื่อง ค. รับรู้ เขา้ ใจ ใครค่ รวญ

ค. อ่านวเิ คราะห์ ง. อา่ นตคี วาม ง. พจิ ารณา ใคร่ครวญ ไตร่ตรอง

3. ข้อใดกลา่ วถึงขน้ั ตอนการอ่านได้ถกู ต้อง อา่ นข้อความตอ่ ไปนี้แล้วตอบคำถามขอ้ 8-10
ก. ตัง้ คำถามและหาคำตอบ สำรวจ อา่ นจริงจัง “ลิงน้อยมีนิสัยซุกซน วิ่งไปเหยียบขามดแดง

ระลึกถงึ ทบทวน มดแดงบอกให้ขอโทษ แต่ลิงน้อยไม่ยอมขอโทษ มดแดงจึง
ข. สำรวจ ตั้งคำถามและหาคำตอบ อ่านจริงจัง ชวนเพื่อนมารุมกัดต่อยลิงน้อย ลิงนอ้ ยไดร้ ับความเจ็บปวด
มากจนทนไม่ไหว จึงยอมขอโทษมดแดง”
ระลึกถงึ ทบทวน
ค. ตั้งคำถามและหาคำตอบ สำรวจ อา่ นจรงิ จงั

ทบทวน ระลึกถงึ 8. ขอ้ ใดเหมือนพฤติกรรมของลิงน้อย

ง. สำรวจ อ่านจริงจัง ตั้งคำถามและหาคำตอบ ก. กล้า วิ่งไปชนตอไม้จนหกล้ม

ทบทวน ระลกึ ถึง ข. ชยั ทำการบา้ นส่งครูทนั เวลาทุกวัน

4. ขอ้ ใดไม่ใช่ลักษณะการอ่านท่ีดี ค. วินัย วิง่ ไล่เตะฟุตบอลในสนาม

ก. ปานวาดอ่านวารสารแม่และเด็กแล้วนำ ง. วนั ดี วงิ่ เล่นลิงชงิ หลัก

วธิ ีการเลยี้ งเดก็ มาชว่ ยดแู ลนอ้ ง 9. คำพูดใดตรงกบั การกระทำของลิงน้อย

ข. ธาดาอ่านนวนิยายเรื่องใหม่แลว้ นำมาเล่าให้ ก. ไมร่ ู้จักเข็ดหลาบ ข. ไมด่ ูตาม้าตาเรือ

เพอ่ื นๆ ฟังอย่างสนกุ สนาน ค. ไม่รู้จกั เอาตวั รอด ง. ไมร่ ู้จกั ประมาณตนเอง

3. นิชาอ่านข่าวสินค้าจะขึ้นราคาจึงรีบไปซ้ือ 10. ลิงควรทำตามข้อใดเหตุการณจ์ ึงจะไมจ่ บลง

สนิ ค้ามากกั ตุนไว้ที่บ้านทนั ที แบบนี้

4. สุชาติอ่านวิธีการทำอาหารเพื่อสุขภาพ แล้ว ก. เรียกเพ่ือนมาฆ่ามดแดง ข. ขอโทษมดแดง

นำมาทำให้ที่บ้านลองรบั ประทาน ค. จับมดแดงกนิ เปน็ อาหาร ง. ว่งิ ไปใหไ้ กลทสี่ ุด

30000-1101 ทักษะภาษาไทยเชิงวชิ าชพี 30

หนว่ ยที่ 4

การพดู ตามมารยาททางสงั คม

การพดู เปน็ ทักษะการส่งสารท่ีมนุษยเ์ ราใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งมีความสำคญั อย่างย่ิงในชีวิตประจำวัน
และในการประกอบอาชีพ การพูดที่ดแี ละสร้างสรรค์ย่อมทำให้ประสบความสำเร็จ การพูดในโอกาสตา่ ง ๆ ใน
หน่วยนี้ประกอบด้วย การแนะนำตนเองและผู้อื่น การกล่าวทักทายและโต้ตอบ การตอบรับและปฏิเสธ
การกล่าวแสดงความยินดี และการกล่าวแสดงความเสียใจ การพูดในโอกาสต่าง ๆ มีหลักการพูดที่ผู้เรี ยน
สามารถฝกึ ฝนจนชำนาญได้

4.1 ความหมายและความสำคัญของการพูด

การพดู เปน็ การสง่ สารจากผสู้ ง่ สารไปยังผู้รับสารด้วยเสยี ง ไม่วา่ จะเป็นเสียงพูดโดยตรงหรือเสียงพูดท่ี
เกิดจากการพูดผ่านไมโครโฟน หรือเสียงจากวิทยุ การพูดในที่นี้จึงหมายถึง การพูดหรือส่งสารให้ผู้อื่นทราบ
ความต้องการของผู้พูดโดยใช้ถ้อยคำ น้ำเสียง ตลอดจนอากัปกิริยาต่าง ๆ ดังจะเห็นว่ามีสำนวนสุภาษิตใน
คำประพันธต์ ่าง ๆ เช่น ปากเป็นเอก เลขเปน็ โท พูดดีเปน็ เงินเป็นทอง พดู ดเี ป็นศรแี ก่ตัว เปน็ ต้น

ภาพการพูดสอ่ื สารในงานอาชพี
(ที่มา: https://sites.google.com/site/karphathna104/bukhlikphaph-kab-kar-phud)

การพูดตามมารยาททางสังคมเป็นการพูดเพื่อแสดงความรู้สึกในสถานการณ์ต่าง ๆ มีความสำคัญต่อ
การนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพการงานเป็นอย่างมาก ในหน่วยน้ีจะกล่าวถึงการแนะนำ
ตนเองและผู้อื่น การกล่าวทักทายและโต้ตอบ การตอบรับและปฏิเสธ การกล่าวแสดงความยินดี และ
การกล่าวแสดงความเสียใจ

4.2 หลักการสำคัญของการพดู ตามมารยาททางสงั คม

การพูดตามมารยาททางสงั คมหรอื การพดู ในโอกาสต่าง ๆ มหี ลกั การทค่ี วรคำนึง 4 ประการดังนี้
1. วิเคราะห์ผู้ฟัง ผู้ฟังเป็นองค์ประกอบสำคัญในการช่วยกำหนดความสำเร็จในการพูด ก่อนพูดต้อง
วิเคราะหผ์ ฟู้ ัง เพือ่ กำหนดแนวทางการพูด ไดแ้ ก่ เพศ วยั อาชีพ และพนื้ ฐานความรขู้ องผู้ฟัง
2. เนื้อหาสาระ ต้องชัดเจน ตรงประเดน็ และกระชับ เพอื่ ให้การพดู น้นั สั้นและประทับใจผู้พูดควรใช้
เวลาพูดประมาณ 3.-5 นาที
3. การลำดับความและการใช้ภาษา เรียงลำดับเรื่องราวไม่ให้เกิดความสับสน เตรียมคำขึ้นต้นให้
น่าสนใจและประทับใจ ควรหลีกเลี่ยงคำซ้ำ ๆ เช่น ...รู้สึกเป็นเกียรติ ...มีความยินดีมาก ...ไม่คิดเลยว่าจะได้
รับเชิญ เป็นตน้

30000-1101 ทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชีพ 31

4. การนำเสนอ ผู้พูดควรพูดปากเปลา่ กล่าวชือ่ บุคคล สถานท่ี ชื่องานให้ถูกต้อง ควรคำนึงถึงโอกาส
ทพ่ี ูดดว้ ย เชน่ ถ้าเป็นโอกาสทเ่ี ปน็ ทางการผู้พูดควรสำรวมเปน็ พิเศษ แตห่ ากเปน็ การพูดทเี่ ป็นกันเอง ผู้พูดควร
ยมิ้ แยม้ แจม่ ใส

4.3 การแนะนำตนเองและผู้อน่ื

การแนะนำตนเองและผู้อืน่ ในแตล่ ะคร้ังมจี ดุ มงุ่ หมายแตกต่างกัน เชน่ การแนะนำตนเองในงานสังคม
การแนะนำวทิ ยากร หลักการแนะนำตนเองที่ควรปฏบิ ัติมดี งั น้ี

1. เร่มิ บทสนทนาส้ัน ๆ กอ่ น แลว้ จงึ กล่าวแนะนำตนเอง
2. เมอื่ มีผแู้ นะนำตนเองแลว้ คสู่ นทนาควรพูดนำเสนอตนเองด้วย
3. มีกิริยาทา่ ทางท่ีเปน็ มติ ร
4. กล่าวชื่อ-นามสกลุ ของตนเองให้ชดั เจนดว้ ยเสยี งดังพอสมควร
5. หากไปติดตอ่ ธรุ กจิ เมือ่ บอกชอ่ื -นามสกุลของตนเองแลว้ ควรบอกกิจธุระของตนดว้ ย
6. หากเป็นการแนะนำตนเองต่อผู้ใหญ่เมื่อเข้าไปขอสัมภาษณ์ ควรพูดด้วยน้ำเสียงที่ชัดเจน แจ่มใส
แจง้ ให้ทราบวา่ ตนเป็นใคร มาจากที่ใด มาเพ่อื การใด ดว้ ยกิรยิ ามารยาททีส่ ำรวมและสภุ าพ
การแนะนำตนเองและผอู้ นื่ มหี ลักการปฏิบัตดิ ังน้ี
1. การแนะนำตนเองในการเข้าเรยี นหรอื เขา้ ทำงานใหม่ ส่งิ ท่ีควรแนะนำ คอื

1.1 ช่อื -นามสกุล
1.2 ระดบั การศึกษา และสถาบันการศึกษา
1.3 ประสบการณเ์ ดิม
1.4 เขา้ เรยี นหรือปฏบิ ตั หิ น้าทีใ่ ด
2. การแนะนำตนเองในงานสงั คม สิ่งทีค่ วรแนะนำ คอื
2.1 ช่อื -นามสกลุ
2.2 ตำแหนง่ หน้าท่กี ารงาน หรอื ลักษณะเดน่ พเิ ศษ
2.3 ความสนใจ
3. การแนะนำเพ่อื นใหม่ให้เพื่อนเรยี นด้วยกนั รจู้ ัก สง่ิ ท่ีควรแนะนำ คือ
3.1 ชอ่ื -นามสกลุ
3.2 สถานศึกษาหรือสถานท่ที ำงานเดมิ
3.3 ความรู้ คุณวุฒิ อายุ
3.4 ภูมิลำเนา
3.5 ท่อี ยปู่ ัจจุบัน
3.6 ความสามารถพิเศษ ความสนใจ งานอดเิ รก
4. การแนะนำวิทยากร ผู้บรรยาย ผู้อภิปราย ควรแนะนำสง่ิ ต่อไปนี้
4.1 แนะนำช่ือ ยศ ตำแหนง่ ให้ถกู ต้องและชัดเจน
4.2 แนะนำงานที่เกย่ี วข้อง ความสามารถ วฒุ แิ ละความสามารถพิเศษ
4.3 ผลงานทีส่ รา้ งช่ือเสียง
4.4 ประสบการณเ์ ด่นสกั 2-3 เร่อื ง
4.5 ดา้ นที่มีความเช่ียวชาญ
4.6 ความคดิ หรือการสรา้ งคุณประโยชนแ์ ก่สงั คม

30000-1101 ทักษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี 32

4.4 การกล่าวทกั ทายและการโต้ตอบ

การกล่าวทักทายและการโต้ตอบ เป็นการกล่าวทักทายเมื่อพบกันครั้งแรก เป้นการผูกมิตรกับผู้อื่น
อาจทกั ทายปราศรยั ด้วยอวจั นภาษา นนั่ คอื การยิ้มแล้วจงึ เร่มิ พูด ลักษณะการทักทายปราศรยั ทดี่ มี ดี ังน้ี

1. ยม้ิ แยม้ แจม่ ใส แสดงความยนิ ดีทไ่ี ด้พบกนั
2. กลา่ วคำทักทายทเี่ ป็นที่ยอมรับกนั ของคนในสังคม เชน่ “สวสั ดคี รับ” “สวัสดคี ะ่ ”
3. แสดงกิริยาอาการประกอบคำทกั ทาย โดยคำนงึ ถงึ ฐานะของบุคคลที่เราทกั ทาย
4. หากผทู้ กั ทายมอี าวโุ สกวา่ ควรยมิ้ ยกมือไหว้ กลา่ วคำทกั ทาย “สวัสดคี รับ” “สวัสดีค่ะ”
5. หากผทู้ ักทายมีอายเุ ท่ากนั หรือนอ้ ยกว่า ควรยม้ิ กลา่ วคำทกั ทาย “สวัสดีครบั ” “สวสั ดีค่ะ”
6. การแนะนำจะแนะนำผู้น้อยรู้จักผุ้อาวุโส หรือแนะนำบุรุษให้รู้จักสตรีก่อน ถ้าไม่รู้จักคู่สนทนา
มากอ่ น อาจเรมิ่ ต้นการสนทนาด้วยการกล่าวคำทักทายสน้ั ๆ หรือ แนะนำตนเอง เช่น

“สวัสดีครบั /ค่ะ”
“มีอะไรให้ชว่ ยไหมค่ะ”
“ต้องการพบใครคะ นัดไว้หรอื เปลา่ คะ”
“ขอโทษนะคะ ขอถาม...................................................”
“สวัสดีครบั ผมชอ่ื นกุ ลู รักเรยี น เอกคอมพิวเตอร์ครบั จะขออนญุ าตพบท่านรองวชิ าการครบั ”

7. หากเปน็ ผคู้ ้นุ เคย อาจกลา่ วคำที่เป็นเรื่องทว่ั ไป เช่น “สวัสดีครับคุณแกว้ ไม่ได้เจอกันนานคุณแก้ว
สบายดีเหมอื นเดมิ นะครบั ”

8. จบการทกั ทาย ควรกล่าวคำอำลา และแสดงความคาดหวังว่าจะพบกันใหม่ กรณคี ูส่ นทนาอายุน้อย
กว่าควรยกมือไหวค้ สู่ นทนาทอ่ี ายุมากกว่าทุกครั้ง เชน่ “สวัสดคี ะ่ คงมโี อกาสได้พบกนั ใหมน่ ะคะ”

4.5 การตอบรบั และปฏเิ สธ

ในการใช้ชีวิตประจำวัน ผู้เรียนต้องพูดตอบรับและปฏิเสธในสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นมารยา ททาง
สงั คมและเป็นการสร้างเสนห่ ์ให้กบั ตนเอง

การพูดตอบรับ
การพูดตอบรับมักเป็นสถานการณ์ที่พึงพอใจ เลือกใช้ถ้อยคำที่น่าฟังเมื่อมีการชักชวนหรือโน้มน้าวใจ
ให้กระทำกิจกรรมอยา่ งใดอยา่ งหนึ่ง มขี ้อควรคำนงึ ดงั น้ี
1. มารยาทในการตอบรับ เช่น แสดงความขอบคุณ แสดงความพอใจ นอกจากจะมีประโยชน์ต่อ
ตนเองแลว้ ยังแสดงถึงความมนี ำ้ ใจ ใชภ้ าษางา่ ย ชัดเจน และจริงใจ
2. ไมค่ วรโอ้อวดและถ่อมตัวเองจนเกนิ ไป ร้จู ักเชยชมยกยอ่ งผ้รู ่วมงาน

การพดู ปฏิเสธ
การพูดปฏเิ สธ เปน็ การใช้คำพูดหรือกล่าวอยา่ งมีช้นั เชงิ ทุกคนมีสทิ ธ์ิทจ่ี ะปฏิเสธการชักชวนให้กระทำ
กิจกรรมที่เราไม่ชอบหรือไม่อยากทำ ไม่เต็มใจ โดยเฉพาะในเรื่องที่มีความเสี่ยงไม่ปลอดภัย ผู้พูดปฏิเสธต้อง
รกั ษามารยาทในการพูดและแสดงใหเ้ หน็ ว่าจำเป็นต้องปฏเิ สธจริง ๆ ท้ังน้ีควรพูดแสดงความเสียใจท่ีต้องปฏเิ สธ
ในครง้ั นี้ และกล่าวถึงการตอบรับในโอกาสตอ่ ไป เช่น
“ขอโทษจริง ๆ นะเพื่อน พรงุ่ น้ีเรามนี ัดกบั คุณหมอ ไวโ้ อกาสหนา้ เรานดั เจอกันอกี ทนี ะ”

30000-1101 ทักษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชีพ 33

4.6 การกลา่ วแสดงความยินดี

การกล่าวแสดงความยินดีเป็นการพูดเพื่อแสดงให้เห็นว่าผู้พูดมีความชอบใจและดีใจในสถานการณ์
ต่าง ๆ เช่น การต้อนรับพนักงานใหม่หรือได้รับรางวัล การอวยพรในงานมงคลสมรส การอวยพรวันเกิด
งาน ข้นึ บา้ นใหม่ ฯลฯ

1. การกล่าวมอบของขวัญหรือรางวัล เป็นการกล่าวเพื่อแสดงความยินดีแก่ผู้รับมอบของขวัญหรือ
โอกาสต่าง ๆ เชน่ การปฏิบตั ิงานดีเด่น ควรกล่าวดังน้ี

1.1 กล่าวถงึ ความสำคัญของโอกาส หรอื จุดมุ่งหมายของการมอบรางวัล
1.2 กลา่ วถึงความสำคัญของรางวลั
1.3 กลา่ วถึงผลงานและความสำคัญของผู้รับรางวลั
1.4 กล่าวชมเชยและกล่าวอวยพรผู้รับรางวัลให้มีความก้าวหน้า และประสบผลสำเร็จในหน้าท่ี
การงาน
2. การกลา่ วในโอกาสทไ่ี ดร้ ับรางวัล ผู้ท่ไี ดร้ บั รางวัลควรกลา่ วแสดงความรู้สึกหลงั จากท่ีได้รับรางวัล
ควรกล่าวดังนี้
2.1 กลา่ วขอบคุณคณะจัดงาน และผมู้ อบรางวัล
2.2 กลา่ วถึงคณุ ค่าของรางวลั ซง่ึ มีผลตอ่ จิตใจของผรู้ บั
2.3 ควรกล่าวปวารณาตัวจะรกั ษาความดนี ี้ไว้และจะพัฒนางานของตนใหด้ ยี ่ิงข้ึน

ตัวอย่าง การกล่าวตอบรับในโอกาสท่ไี ด้รบั รางวลั ในการประกวดคัดลายมอื
“ดิฉันขอขอบพระคุณคณะกรรมการจัดงานการประกวดคัดลายมือท่ีเปิดโอกาสให้ดิฉันได้เข้า

ร่วมการประกวด ดิฉันรู้สึกยินดีและดีใจมากที่ได้รบั รางวัลดังกล่าว การได้รับรางวัลในครั้งนี้นำมา
ซึ่งความภาคภูมิใจ และจะเป็นกำลังใจสำคัญที่จะทำให้ดิฉันตั้งใจพัฒนาฝีมือการคัดลายมือให้ดี
ย่ิงขน้ึ ไป ขอบคุณคะ่ ”

3. การกล่าวอวยพรในงานมงคลสมรส ผู้พูดพูดเพื่อแสดงความปรารถนาให้ผู้ฟังประสบสิ่งที่เป็น
สริ ิมงคล ผกู้ ลา่ วจะเตรยี มตวั ล่วงหน้า หากผู้กล่าวเปน็ ผู้ทรงคุณวฒุ ิและรจู้ ักกบั ค่สู มรสควรนัดแนะกับผู้พูดก่อน
ล่วงหนา้ หรอื อาจได้รบั เชญิ ขนึ้ กลา่ วอย่างกะทันหัน ผพู้ ูดควรคำนึงดงั น้ี

3.1 ควรเรมิ่ ดว้ ยการกลา่ วแสดงความรสู้ กึ ยนิ ดี
3.2 กล่าวถงึ ความสัมพันธร์ ะหวา่ งผพู้ ดู กบั คสู่ มรสฝา่ ยใดฝา่ ยหนึง่
3.3 กลา่ วถึงคณุ ความดีของคูส่ มรส
3.4 กล่าวให้ข้อคิดในการครองเรือนแกค่ สู่ มรส
3.5 กล่าวอวยพรแล้วชักชวนใหผ้ ้รู ่วมงานดื่มแสดงความยินดีแก่คู่สมรส

ภาพการกลา่ วอวยพรในงานมงคลสมรส 34
(ที่มา: http://www.weddinginlove.com/content/)

30000-1101 ทักษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี

ตวั อยา่ ง การกลา่ วอวยพรในงานมงคลสมรส
“กระผมมีความยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่ได้รับเชิญเป็นประธานในงานมงคลสมรสของ

คุณธนาวิทย์ และคุณรงุ่ นภา
วันนี้นับเป็นวันฤกษ์งามยามดีที่สำคัญในการเริ่มต้นชีวิตครอบครัว ซึ่งคู่บ่าวสาวทั้งสองเป็น

ผใู้ ต้บังคบั บัญชาของกระผม คุณธนาวทิ ยไ์ ดร้ ่วมงานกบั ผมตลอดระยะเวลา 3 ปี ได้แสดงศักยภาพ
ในการทำงานอย่างสูงยิ่ง ทั้งด้านมนุษยสัมพันธ์ก็เป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตนเข้ากับผู้อื่นได้ดี เป็น
ที่รักใคร่ของเพื่อนร่วมงาน สำหรับคุณรุ่งนภาเป็นคนนา่ รัก คล่องแคล่ว ทำงานเก่ง ซึ่งกระผมเห็น
ว่าเจา้ บา่ วและเจ้าสาวมีความเหมาะสมกันเป็นอย่างดีท่ีจะเปน็ ครอบครัวตัวอยา่ ง ส่ิงสำคัญท่ีสุดใน
ชีวิตสมรสคอื ความเขา้ ใจ เหน็ ใจ ซ่อื สัตย์ และการให้สิง่ ดี ๆ ตอ่ กันในทุกดา้ น

ท้ายที่สุดนี้ กระผมขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย จงบันดาลให้คู่สมรสประสบแต่ความสุข
ความเจริญ และพร้อมกันนี้ขอเชิญทุกท่านร่วมดื่มอวยพรให้แก่คู่สมรสเพื่อเป็นสิริมงคลและเป็น
สกั ขีพยานในงานแต่งงานวนั น้ี สวัสดีครบั ”

4. การกล่าวอวยพรวันเกิด ใช้ในโอกาสที่มีคุณวุฒิและอาวุโสกล่าวอวยพรให้กับผู้ที่อ่อนอาวุโสกว่า
หรอื อาจเป็นเพื่อนวยั เดียวกัน ควรกล่าวดังนี้

4.1 กลา่ วแสดงความรสู้ กึ ยินดีทีไ่ ดร้ บั เกียรติเปน็ ผกู้ ลา่ วอวยพร
4.2 กลา่ วถงึ ความสัมพนั ธ์ระหวา่ งผพู้ ูดกับเจ้าภาพ
4.3 กล่าวถึงความดแี ละเกียรติคณุ ของเจา้ ภาพ
4.4 กล่าวอวยพร

ตวั อยา่ ง การกลา่ วอวยพรวันเกดิ
สวัสดีค่ะ ท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน ก่อนอื่นดิฉันขอขอบพระคุณทุกท่านที่ให้เกียรติมาร่วมงาน

วันเกิดเพื่อนดิฉันในวันนี้ เพื่อดิฉันคนนี้สนิทสนมกันมาตั้งแต่สมัยเรียนอนุบาลแล้วค่ะ เป็นคน
สนุกสนาน มีมนษุ ยสัมพันธ์ โอบออ้ มอารี เป็นทรี่ กั และยอมรับจากเพื่อน ๆ และคนรอบข้างเสมอ

โอกาสนี้ ดฉิ นั ขออวยพรให้เพื่อนรักคนน้ี จงมแี ตค่ วามสุข ความเจรญิ อายุม่ันขวัญยืน อีกทั้ง
เจรญิ ในหนา้ ที่การงานยง่ิ ๆ ขึน้ ไป

4.7 การกล่าวแสดงความเสียใจ

การกล่าวแสดงความเสียใจเป็นการพูดที่ถือว่าเป็นมารยาททางสังคม เพื่อแสดงความไม่สบายใจหรือ
รู้สึกเสียใจที่ต้องพลัดพรากจากกัน การกล่าวแสดงความเสียใจในชีวิตประจำวัน ได้แก่ การกล่าวอำลา และ
การกลา่ วไวอ้ าลยั

1. การกลา่ วอำลา กลา่ วในโอกาสย้ายจากสถานที่ทำงาน เกษียณอายรุ าชการ หรอื ออกจากงานด้วย
เหตผุ ลส่วนตัว บริษทั จดั งานเลีย้ งและมอบช่อดอกไม้หรอื ของที่ระลึกให้แก่ผู้จากไป ผตู้ ้องกล่าวลาตามมารยาท
ทางสังคม ควรกลา่ วดงั น้ี

1.1 กลา่ วแสดงความขอบคณุ ในกรณที ม่ี กี ารจัดงานเล้ียงเพื่ออำลา
1.2 กล่าวถงึ ความจำเปน็ ท่ตี ้องจากหนว่ ยงานไป
1.3 กลา่ วถึงประสบการณแ์ ละความประทับใจที่เคยทำงานอย่ใู นหน่วยงานนั้น

30000-1101 ทักษะภาษาไทยเชงิ วิชาชีพ 35

1.4 กลา่ วถงึ ความสัมพันธ์ทดี่ ีทีม่ ตี อ่ บคุ คลและหน่วยงานที่ไดร้ ับตลอดมา ซ่งึ ยงั คงมอี ยูต่ ลอดไป
1.5 กลา่ วเชญิ ชวนใหไ้ ปเยย่ี มเยอื นเมอ่ื มีโอกาส

ภาพการกลา่ วอำลาในงานเกษยี ณอายุราชการ
(ที่มา: https://www.facebook.com/school.police4/posts/131763701/)

ตวั อย่าง การกลา่ วอำลาในโอกาสยา้ ยที่ทำงานใหม่
ดิฉันต้องขอขอบคุณทุกท่านที่ให้เกียรติจัดงานเลี้ยงให้ดิฉันที่จะต้องย้ายไปทำงานที่แห่งใหม่

ดิฉันรู้สึกซาบซึ้งใจต่อท่านทั้งหลายมากยิ่งกว่าการจัดงานเลี้ยงคือ การที่ดิฉันได้รับความเมตตา
ความร่วมมือร่วมใจและช่วยเหลือสนับสนุนการทำงานมาด้วยดีตลอดมา ตลอดระยะเวลาที่ดิฉัน
ทำงานอยู่ที่นี่ รวม 5 ปี 7 เดือน เพื่อนร่วมงานทุกท่านได้ให้ความร่วมมือและเอื้อเฟื้อต่อ
การทำงานเป็นอย่างดี ดิฉันขอขอบคุณทุกท่านอีกครั้ง และดิฉันไม่สามารถบรรยายสิ่งต่าง ๆ ที่
เพอื่ นร่วมงานทุกท่านไดท้ ำใหแ้ กด่ ฉิ นั ไดห้ มดในท่ีน้ี

ในความรู้สึกส่วนลึกของดิฉัน ดิฉันไม่อยากจะจากเพื่อนรวมงานไปเลยแต่ด้วยความจำเป็น
หลากหลายประการจึงมีวันนี้ หากเพื่อนร่วมงานทั้งหลายมีกิจธุระใดหรือผ่านสถานที่ทำงาน
แห่งใหม่ของดฉิ นั ดิฉนั ก็ยินดตี ้อนรับทกุ ทา่ นดว้ ยความยินดี

สุดท้ายนี้ หากดิฉันได้ทำสิ่งใดล่วงเกิน หรือไม่เป็นที่พอใจต่อเพื่อนร่วมงานผู้ใด ดิฉันขออภัย
ไว้ ณ ท่นี ้ีดว้ ย โอกาสนี้ดฉิ ันขอใหส้ ิง่ ศักดส์ิ ิทธท์ิ ้ังหลายที่ทา่ นเคารพนบั ถือ ได้โปรดอภิบาลคุ้มครอง
ท่านใหม้ คี วามปลอดภยั จากส่ิงอันตรายชัว่ รา้ ยท้ังปวง หากท่านมคี วามปรารถนาสิ่งใด ก็ขอให้ท่าน
ไดส้ ่งิ นน้ั สมความปรารถนาตลอดไป

2. การกล่าวไว้อาลัย เป็นการกล่าวเน่ืองในโอกาสงานศพ เพื่อแสดงความอาลัยแกผ่ ู้ตาย ซึ่งเป็นงาน
พธิ ีการ ดังน้นั การกลา่ วคำไว้อาลยั จะเป็นการพดู โดยการอา่ นจากต้นฉบับ ควรกล่าวดงั น้ี

2.1 กล่าวแสดงความเสียใจแกค่ รอบครวั ผู้เสยี ชวี ิต
2.2 กล่าวสรรเสริญผูเ้ สียชีวิต ประวัติ สถานภาพทางครอบครัว คุณงามความดีส้นั ๆ
2.3 กลา่ วถงึ ความอาลัยของญาตพิ นี่ ้อง เพอ่ื นและผทู้ อี่ ยู่เบื้องหลัง
2.4 กลา่ วแสดงความหวงั ว่าผู้เสียชีวติ คงจากไปสภู่ พภมู ทิ ีด่ ี
2.5 กล่าวให้ผู้ทีม่ ารว่ มงานศพ ยนื สงบนงิ่ ประมาณ 1 นาที

30000-1101 ทักษะภาษาไทยเชงิ วิชาชีพ 36

ภาพการกล่าวไว้อาลัย
(ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=WR-moiB3R7c)

ตัวอย่าง คำกลา่ วไวอ้ าลยั
ดิฉันมีความรู้สึกเศร้าสะเทือนใจต่อการจากไปอย่างไม่มีวันกลับของคุณนพรัตน์ นับเป็น

การสูญเสียท่ียิง่ ใหญ่ต่อครอบครัวและพวกเราทง้ั หลายเป็นอยา่ งยิ่ง
คณุ นพรัตน์ เปน็ บคุ คลท่มี ีน้ำใจ ชอบช่วยเหลือสงั คมส่วนรวมอยู่เสมอ รางวัลทท่ี ่านได้รับจาก

หนว่ ยงานตา่ ง ๆ นนั้ เป็นเคร่อื งยนื ยันถงึ คณุ งามความดีของทา่ นได้เปน็ อย่างดี
ทา่ นเปน็ บคุ คลตัวอย่างและเป็นแบบอย่างของอนุชนคนรนุ่ หลัง ท่านเป็นผู้มีความประพฤติท่ี

งดงาม ตั้งมั่นอยู่ในกฎแห่งกรรม และทำบุญอยู่เสมอ ดิฉันเชื่อว่าคุณงามความดีของท่านจะไม่
หายไปจากความทรงจำของพวกเราท้งั หลาย

ท่านได้จากไปโดยไม่มีวันกลับตามธรรมดาของสังขารของมนุษย์ แต่ชื่อเสียงและความน่ารัก
น่านับถือของท่านจะยังฝังอยู่ในใจของพวกเราไปอีกชั่วกาลนาน ท่านเป็นผู้ชอบทำบุญกุศล ดิฉัน
เช่ือเหลือเกนิ ว่าผลานิสงส์อันดีงามจากกุศลกรรมนานัปการที่ทา่ นสะสมไว้ จะนำวิญญาณของท่าน
ไปสูส่ ุคติภพ และผลสะท้อนอันดีงามแกล่ กู หลานญาติมิตร โดยท่วั กนั

โอกาสน้ี ดฉิ นั ขอเรยี นเชิญท่านทั้งหลายโปรดยนื ขึ้น เพอื่ ไวอ้ าลยั แก่ทา่ นผูน้ ี้เป็นเวลา 1 นาที
ขอบคณุ ค่ะ

การพูดคือการส่งสารให้ผู้อื่นทราบความต้องการของผู้พูดและได้รับผลสำเร็จตามท่ีผู้พูดต้องการ โดย
ใช้ถ้อยคำ สำเนียง น้ำเสียง ตลอดจนอากัปกิริยาต่าง ๆ การพูดสื่อสารตามมารยาททางสังคม ได้แก่
การแนะนำตนเองและผู้อื่น การกล่าวทักทายและโต้ตอบ การตอบรับและปฏิเสธ การกล่าวแสดงความยินดี
และการกล่าวแสดงความเสียใจ การพูดในโอกาสต่าง ๆ มีหลักการและวิธีการพูดที่แตกต่างกันไป ดังนั้น ผู้พูด
จึงควรเตรียมตวั ให้พร้อมเพื่อใหป้ ระสบผลสำเรจ็ ในการพูดทุกคร้งั

30000-1101 ทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชีพ 37

แบบฝึกหดั หนว่ ยที่ 4
การพูดตามมารยาททางสังคม

ตอนท่ี 1 จงตอบคำถามต่อไปน้ี
1. การแนะนำตนเองและผู้อ่ืน มีหลักการปฏิบตั อิ ย่างไร
............................................................................................................................. .................................................
.................................................................................. ............................................................................................
2. การแนะนำวทิ ยากร ผูบ้ รรยาย ผอู้ ภิปราย ควรแนะนำส่ิงใดบา้ ง
........................................................................................................ ......................................................................
............................................................................................................................. .................................................
3. จงบอกสำนวนสภุ าษติ ในคำประพันธ์ตา่ ง ๆ ท่ผี ูเ้ รยี นรจู้ กั มา 3 สำนวน พร้อมทงั้ อธบิ ายความหมาย
............................................................................................................................. .................................................
............................................................................................................................... ...............................................
..............................................................................................................................................................................
4. การกลา่ วทักทายปราศรยั ท่ดี มี ีลกั ษณะอยา่ งไร
....................................................................................................................... .......................................................
............................................................................................................................. .................................................
5. การพดู ตอบรับมกั เปน็ สถานการณ์ที่พงึ พอใจ ส่งิ ท่ีควรคำนงึ มอี ะไรบ้าง
............................................................................................................................. .................................................
..............................................................................................................................................................................
............................................................................................................................. .................................................
6. การวิเคราะหผ์ ูฟ้ ังมคี วามสำคญั อยา่ งไร
............................................................................................................................. .................................................
7. การพูดในโอกาสต่าง ๆ เป็นการพูดเพื่ออะไร
............................................................................................................................. .................................................

ตอนที่ 2 จากสถานการณ์ท่กี ำหนดให้ นักเรยี นจะพดู อยา่ งไร
1. ถา้ นกั เรียนจะแนะนำแฟนใหเ้ พือ่ นร้จู ัก จะแนะนำอยา่ งไร
............................................................................................................................. .................................................
................................................................................................................................... ...........................................
..............................................................................................................................................................................
2. ถา้ เพื่อนชวนโดดเรยี นเพื่อไปเท่ียวบ้านเพ่ือน นกั เรียนจะตอบปฏเิ สธอยา่ งไร
................................................................................................ ..............................................................................
............................................................................................................................. .................................................
................................................................................................................................. .............................................
3. ถา้ เพ่อื นขอร้องใหช้ ว่ ยทำรายงานแทน นักเรยี นจะตอบอย่างไร
........................................................................................................................................................ ......................
............................................................................................................. .................................................................
............................................................................................................................. ................................................

30000-1101 ทักษะภาษาไทยเชงิ วิชาชีพ 38

แบบทดสอบหลงั เรียนหนว่ ยท่ี 4
การพูดตามมารยาททางสังคม

คำชี้แจง ให้ทำเคร่อื งหมายกากบาท (X) ลงหน้าตวั เลือกทีถ่ ูกต้องที่สุด

1. เหตใุ ดจึงต้องวเิ คราะหผ์ ู้ฟังกอ่ นการพูดทกุ คร้งั

ก. ผูฟ้ ังสำคญั ข. ต้องการรจู้ ักผฟู้ งั ค. ชว่ ยกำหนดแนวทางการพูด ง. เพราะการพูดไม่ได้เตรียมตัว

2. การวิเคราะหผ์ ู้ฟงั ในการพูด ควรวเิ คราะหส์ งิ่ ใดบา้ ง

ก. เพศ การศึกษา ข. เพศ วัย อาชพี

ค. หนา้ ตา พนื้ ฐานความรู้ ง. เพศ วยั อาชพี พืน้ ฐานความรู้

3. ข้อใดถูกตอ้ ง

ก. ควรใชภ้ าษาทางการทกุ คร้ังทีพ่ ูด ข. ควรจดั ลำดบั ในการพูดโดยเฉพาะเนื้อหา

ค. ในการพูดแตล่ ะครง้ั ไมจ่ ำเปน็ ตอ้ งวิเคราะหผ์ ู้ฟงั ง. ควรใช้อวจั นภาษาใหเ้ ปน็ ธรรมชาตใิ นการพูด

4. การปฏิเสธทดี่ ีควรมีลักษณะอย่างไร

ก. รกั ษานำ้ ใจเพอ่ื น ข. รกั ษานำ้ ใจผู้ชวน

ค. อ้างความรสู้ ึกประกอบ ง. ปฏเิ สธอยา่ งชัดเจนท้ังทา่ ทาง นำ้ เสียง และคำพดู

5. การพูดโอกาสใดท่ีผรู้ ว่ มงานตอ้ งสงบนิง่ และสำรวมกาย วาจา ใจ

ก. การกล่าวอำลา ข. การกลา่ วคำไว้อาลยั ค. การกลา่ วมอบของขวญั ง. การกลา่ วอวยพรวนั เกิด

6. สง่ิ ใดเปน็ ส่งิ ทค่ี วรคำนงึ ในการพูดตอบรับ

ก. ถ่อมตนอย่าโอ้อวด

ข. ไมค่ วรถ่อมตนจนไร้ความหมาย

ค. ควรยกย่องสรรเสริญชมเชยเพอ่ื นรว่ มงาน

ง. แสดงความขอบคณุ ถา้ ไม่พอใจกบ็ อกวา่ ไม่พอใจ

7. ข้อใดไม่ใช่ประโยคปฏเิ สธทด่ี ี

ก. การถามความคดิ เห็นเป็นการรกั ษาน้ำใจผู้ชวน

ข. การอา้ งความรสู้ กึ ท่ีดีประกอบแทนการใช้เหตผุ ล

ค. ปฏิเสธอยา่ งชัดเจนทง้ั ทา่ ทาง นำ้ เสียง และคำพดู

ง. อยากปฏเิ สธอะไรก็พูดออกไปเลยไมต่ ้องออ้ มค้อม

8. ข้อใดเป็นการพูดแสดงความยนิ ดี

ก. งานศพ ข. งานเกษยี ณ ค. งานมงคลสมรส ง. งานประชุมทางวชิ าการ

9. สำนวนในข้อใดแสดงให้เห็นถงึ ความสำคัญของการพดู

ก. ปากหวานก้นเปรยี้ ว ข. ปากปราศรัย ใจเชือดคอ

ค. พดู ดีเป็นศรีแกต่ วั พูดชวั่ อัปราชยั ง. พดู ไปสองไพเบีย้ น่งิ เสยี ตำลงึ ทอง

10. ข้อใดเปน็ เหตผุ ลสำคัญท่ีทำใหเ้ กดิ การพูดการตามมารยาททางสงั คม

ก. มนุษยจ์ ำเปน็ ต้องสร้างปฏิสัมพนั ธ์กบั คนในสงั คม

ข. เพราะทุกคนเกดิ มาตอ้ งมเี พอื่ นและจำเป็นต้องเข้าสงั คม

ค. เพราะเปน็ มารยาทท่ีดแี ละปฏิบตั ติ ามประเพณีของสังคม

ง. เพราะมนุษย์อยู่รวมกนั เปน็ หมู่ เปน็ กลมุ่ กจิ กรรมทยี่ ่อมเกิดข้นึ

30000-1101 ทักษะภาษาไทยเชิงวิชาชีพ 39

หน่วยท่ี 5

การเขียนในงานอาชีพ

สังคมปัจจุบันการตดิ ตอ่ ในแตช่ ่องทางเปน็ สิง่ สำคญั และเป็นสว่ นหน่ึงที่ทำใหก้ ารดำเนินงานเป็นไปด้วย
ความราบรื่น ประสบความสำเร็จ ผู้ใดที่มีศิลปะในการใช้ภาษาทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนย่อมได้เปรียบ
ผู้เรียนจึงควรศึกษาเรื่องราวการติดต่อเพื่อกิจธุระด้วยวิธีการเขียนซึ่งมีหลากหลาย เช่น การเขียนบันทึก
การเขียนรายงานการประชุม การเขียนรายงานการปฏิบัติงาน เป็นต้น เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การประกอบ
อาชีพ

5.1 การเขยี นรายงานการประชมุ

1. ความหมายของรายงานการประชุม
ราชบัณฑิตยสถาน (2552, หน้า 953) ให้ความหมายว่า รายงานการประชุม หมายถึง

รายละเอียดหรือสาระของการประชุมทจี่ ดไว้อยา่ งเป็นทางการ
รายงานการประชุม หมายถงึ ข้อความทเ่ี ป็นสาระสำคัญของการประชุมซึ่งจดไว้เป็นหลักฐาน เพ่ือ

แจง้ ให้ผเู้ ก่ยี วข้องทราบ ใชเ้ ปน็ แนวทางการปฏบิ ตั ิงานและเป็นหลกั ฐานอา้ งอิง

2. ความสำคัญของรายการงานประชุม
รายงานการประชุม มคี วามสำคญั ต่อการดำเนินงานขององค์กรดงั น้ี
2.1 เปน็ เอกสารแจ้งผลการประชมุ ใหผ้ ้ทู เ่ี กี่ยวข้องรบั ทราบและถือปฏิบตั ติ ่อไป
2.2 เปน็ หลกั ฐานยนื ยนั ผลการปฏบิ ัติงาน การปฏบิ ัติงานในองค์กร หรือหน่วยงานตา่ ง ๆ ได้จัดให้

มีการประชุมเพื่อรายงานผลการดำเนินงานให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบความก้าวหน้า หรือปัญหาในการ
ดำเนนิ งาน

2.3 เปน็ เครือ่ งมอื ในการตดิ ตามงาน
2.4 เปน็ หลักฐานอ้างอิงท่ีเชอ่ื ถือได้

3. คุณสมบัตขิ องผบู้ ันทึกรายงานการประชุม
ผู้บันทกึ รายงานการประชุมท่ีดี ควรมคี ณุ สมบตั ดิ งั นี้
3.1 มคี วามรดู้ ี
3.2 มีสมาธิดี
3.3 มีทกั ษะการสรุปความดี
3.4 มคี วามร้ทู างภาษาและการใชภ้ าษาในการเรียบเรียงได้ดี

4. คำศพั ท์ที่ใชใ้ นการประชมุ
ในการประชมุ มีคำศพั ทท์ ใ่ี ชเ้ รยี กองค์ประกอบต่าง ๆ ของการประชมุ ดังนี้
4.1 องค์ประชุม หมายถึง คณะกรรมการหรือสมาชิก ผู้มีหน้าที่ต้องเข้าประชุม ได้แก่ ประธาน

รองประธาน (ถ้าม)ี กรรมการหรือสมาชิก เลขานกุ าร
4.2 ครบองค์ประชุม หมายความว่า ครบจำนวนผู้เข้าประชุมตามทีร่ ะบุไว้ในระเบยี บหรือจำนวน

กรรมการเกินคร่ึงหน่ึงของคณะกรรมการหรือสมาชิกท้ังหมด ถา้ มานอ้ ยถือว่าไมค่ รบ องคป์ ระชมุ ตามที่กำหนด
ประธานต้องยกเลกิ การประชมุ เพราะมตทิ ไี่ ดจ้ ากท่ปี ระชุมจะเปน็ โมฆะเน่ืองจากไมเ่ ปน็ คะแนนเสยี งข้างมาก

30000-1101 ทกั ษะภาษาไทยเชิงวิชาชพี 40

4.3 ญัตติ หมายถึง ข้อเสนอที่สมาชิกเสนอต่อที่ประชุมเพื่อพิจารณาลงมติ การเสนอโดยปกติจะ
ทำเป็นหนังสือต่อประธาน เพื่อบรรจุเข้าในระเบียบวาระการประชุม แตถ่ า้ เป็นการเร่งด่วนสมาชิกอาจเสนอใน
ทปี่ ระชมุ เลยกไ็ ด้

4.4 การแปรญัตติ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงญัตติด้วยการเพิ่ม ตัดออก หรือเสนอซ้อน ทั้งด้าน
ถ้อยคำและข้อแม้ต่าง ๆ คำศัพท์ญัตติและแปรญัตตินี้ใช้เฉพาะการประชุมบางประเภท เช่น การประชุมสภา
ผแู้ ทนราษฎร การประชมุ สภาองคก์ ารบริหารส่วนจังหวัด เป็นตัน

4.5 มติ คอื ข้อตกลงของท่ีประชุม การออกเสียงลงมติน้ีถือเสียงขา้ งมาก ซงึ่ ทกุ คนต้องยอมรับแม้
บางคนจะไม่เห็นดว้ ย การออกเสียงลงมติอาจทำโดยเปดิ เผย คือ การยกมือ หรือลงมติแบบลับคือเขียนใส่ซอง
ปดิ ผนึกและตรวจนบั ภายหลงั กไ็ ด้

4.6 ท่ีประชมุ หมายถงึ บรรดาผ้เู ข้าประชุมทง้ั หมด (ไม่รวมผ้จู ัดการประชุม)
4.7 สมัยการประชมุ หมายถงึ ช่วงเวลาทีจ่ ดั ประชุมซึ่งแบ่ง ๒ สมยั คอื

1) การประชมุ สมยั สามญั หมายถึง การประชุมตามทไี่ ด้มกี ารกำหนดเวลาไวอ้ ย่างแนน่ อน
2) การประชุมสมยั วสิ ามัญ หมายถึง การประชมุ ที่จดั เป็นพเิ ศษ เพราะมเี ร่ืองสำคัญเร่งด่วนที่
ต้องการปรกึ ษากนั หรือต้องการพจิ ารณา รวมท้งั มีเรอ่ื งสำคญั ที่ต้องการให้คณะกรรมการทราบโดยดว่ น
4.8 ระเบียบวาระการประชุม หมายถึง เรื่องที่จะนำเข้าปรึกษากันในที่ประชุมตามลำดับก่อน-
หลัง ซึ่งการประชุมส่วนมากมักมีกำหนดระเบียบวาระการประชุม ดังนี้ (เป็นการกำหนดตามระเบียบ
งานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖ คำอธบิ ายที่ ๑๐ เรือ่ งรายงานการประชุม)
ระเบียบวาระท่ี ๑ เรื่องทป่ี ระธานแจ้งใหท้ ปี่ ระชมุ ทราบ
ระเบยี บวาระท่ี ๒ เรื่องรบั รองรายงานการประชมุ
ระเบียบวาระท่ี ๓ เรื่องเสนอใหท้ ป่ี ระชมุ ทราบ
ระเบยี บวาระท่ี ๔ เรอื่ งเสนอให้ทป่ี ระชุมพจิ ารณา
ระเบยี บวาระที่ ๕ เร่ืองอื่น ๆ
4.9 จดหมายเชิญประชุม คือ จดหมายแจ้งสถานที่ วัน เวลาการประชุม พร้อมทั้งระเบียบวาระ
การประชุมตามท่ีประธานกำหนด
4.10 รายงานการประชมุ คือ การบันทกึ ความคดิ เห็นของผ้เู ข้าประชมุ ผ้เู ขา้ รว่ มประชุมและมติ

5. หลักในการเขยี นรายงานการประชมุ
การเขียนรายงานการประชุม เป็นการนำบันทึกการประชุมที่เลขานุการจดข้อความหรือ

บันทึกเสียงในขณะประชมุ ซึง่ การจดบันทกึ การประชมุ อาจทำได้ ๓ วิธี คือ
วิธที ่ี ๑ จดรายละเอยี ดทกุ คำพูดของกรรมการ หรือผู้เข้ารว่ มประชมุ ทุกคน พร้อมดว้ ยมติ
วิธีที่ ๒ จดย่อคำพูดที่เป็นประเด็นสำคัญของกรรมการหรือผู้เข้าร่วมประชุม อันเป็นเหตุผล

นำไปสมู่ ติของท่ปี ระชุม พรอ้ มด้วยมติ
วิธีที่ ๓ จดแต่เหตุผลกับมติของที่ประชุม การจดรายงานการประชุมโดยวิธีใดนั้น ให้ที่ประชุม

นั้นเองเป็นผกู้ ำหนด หรือใหป้ ระธานและเลขานกุ ารของที่ประชมุ ปรึกษาหารอื กนั และกำหนด
เม่ือบนั ทกึ การประชมุ เรียบร้อยแลว้ ให้นำมาเขียนเป็นรายงานการประชมุ ตามลำดบั หวั ขอ้ ดังน้ี
๑. รายงานการประชุม ให้ลงชื่อคณะที่ประชุม หรือชื่อการประชุมนั้น เช่น “รายงานการประชุม

คณะกรรมการ............”
๒. ครั้งที่ การลงครงั้ ที่ท่ปี ระชมุ มี ๒ วธิ ี ทส่ี ามารถเลอื กปฏิบัตไิ ด้ คอื

30000-1101 ทกั ษะภาษาไทยเชงิ วิชาชพี 41

๒.1 ลงครั้งที่ท่ีประชุมเป็นรายปี โดยเริ่มครั้งแรกจากเลข ๑ เรียงเป็นลำดับไปจนสิ้นปีปฏิทิน
ทับเลขปพี ทุ ธศักราชทป่ี ระชมุ เมื่อขึ้นปีปฏทิ ินใหมใ่ ห้ เริ่มคร้ังท่ี ใหม่ เรยี งไปตามลำดบั เช่น คร้งั ท่ี ๑/๒๕๔๔

๒.๒ ลงจำนวนครั้งที่ประชุมทั้งหมดของคณะทีป่ ระชมุ หรือการประชุมนัน้ ประกอบกับครั้งที่ท่ี
ประชมุ เปน็ รายปี เชน่ คร้ังที่ ๓๖-๑/๒๕๔

๓. เมื่อให้ลงวัน เดือน ปี ที่ประชุมโดยลงวันที่ พร้อมตัวเลขของวันที่ ชื่อเต็มของเดือนและตัวเลข
ของปีพทุ ธศกั ราช เชน่ เมอื่ วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๔

๔. ณ ใหล้ งชื่อสถานท่ี ท่ีใช้เป็นทีป่ ระชมุ
๕. ผู้มาประชุม ให้ลงช่ือและหรือตำแหน่งของผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะที่ประชุมซึ่งมาประชุม ใน
กรณีที่เปน็ ผู้ได้รับการแต่งตัง้ เป็นผูแ้ ทนหน่วยงานให้ระบุว่าเป็นผู้แทนของหน่วยงานใด พร้อมตำแหนง่ ในคณะ
ที่ประชุม ในกรณีที่เป็นผู้มาประชุมแทนให้ลงชื่อผู้มาประชุมแทนและลงด้วยว่ามาประชุมแทนผู้ใด หรื อ
ตำแหนง่ ใด หรือแทนผู้แทนหน่วยงานใด
๖. ผู้ไม่มาประชุม ให้ลงชื่อหรือตำแหน่งของผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะที่ประชุมซึ่งมิได้มา
ประชุม โดยระบุให้ทราบว่าเป็นผู้แทนจากหน่วยงานใด พร้อมทั้งเหตุผลที่ไม่สามารถมาประชุม ถ้าหากทราบ
ด้วยก็ได้
๗. ผู้เข้าร่วมประชุม ให้ลงชื่อหรือตำแหน่งของผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะที่ประชุม ซึ่งได้เข้า
มาร่วมประชุม และหนว่ ยงานท่ีสังกัด (ถ้ามี)
๘. เริม่ ประชมุ ใหล้ งเวลาทเ่ี รม่ิ ประชมุ
๙. ข้อความ ให้บันทึกข้อความที่ประชุม โดยปกติให้เริ่มด้วยประธานกล่าวเปิดประชุมและเรื่องท่ี
ประชุมกบั มตหิ รอื ขอ้ สรปุ ของทปี่ ระชมุ ในแต่ละเรื่อง ประกอบดว้ ยหวั ข้อ ดงั น้ี

วาระที่ ๑ เรื่องที่ประธานแจ้งใหท้ ่ีประชุมทราบ
วาระท่ี ๒ เรื่องรับรองรายงานการประชุม (กรณเี ป็นการประชุมทไ่ี ม่ใช่การประชมุ ครงั้ แรก)
วาระท่ี ๓ เรือ่ งท่เี สนอให้ท่ปี ระชุมทราบ
วาระท่ี ๔ เรื่องท่ีเสนอใหท้ ่ปี ระชุมพจิ ารณา
วาระท่ี ๕ เรอ่ื งอื่น ๆ (ถา้ ม)ี
๑๐. เลิกประชุมเวลา ใหล้ งเวลาท่เี ลกิ ประชุม

ผจู้ ดรายงานการประชุม ให้เลขานุการหรือผซู้ ึง่ ได้รบั มอบหมายใหจ้ ดรายงานการประชุม ลงลายมือช่ือ
พร้อมท้ังพิมพช์ อ่ื เต็มและนามสกลุ ไวไ้ ต้ลายมือชอื่ ในรายงานการประชมุ คร้งั นั้นด้วย

การบันทกึ มติท่ีประชุม
 กรณปี ระชุมตามระเบียบวาระทเ่ี สนอ ไมม่ ผี ขู้ ดั แยง้ ควรบันทึกเปน็ มติท่ีประชมุ รับทราบ หรือเห็นชอบ
 กรณีมีผเู้ สนอขัดแย้งและไมเ่ ห็นดว้ ยต้องบันทึกวา่ เหน็ ด้วย จำนวนก่ีเสยี ง ไมเ่ หน็ ดว้ ย จำนวนกีเ่ สยี ง
 กรณีทีป่ ระชมุ มคี ะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์ หรือด้วยเสียงขา้ งมากจำนวน.......เสียง
การบนั ทกึ รายงานการประชุม ผู้บนั ทกึ ตอ้ งให้ผู้เขา้ ประชมุ ลงลายมือช่ือ พรอ้ มบันทึกเร่ืองท่ีพิจารณา
และลงมติไว้ทุกเรื่อง และให้ประธานในที่ประชุม กับเลขานุการหรือกรรมการอื่นอีกคนหนึ่งที่เข้าประชุมลง
ลายมอื ชือ่ ด้วย

30000-1101 ทกั ษะภาษาไทยเชงิ วิชาชีพ 42

ตัวอยา่ ง รูปแบบรายงานการประชุม

รายงานการประชุม………………………………………….
คร้งั ท…่ี ……………………………
เมอ่ื ........................................
ณ.............................................

ผมู้ าประชุม 1..................................................................................................

2..................................................................................................

ผไู้ มม่ าประชมุ 1..................................................................................................

2..................................................................................................

ผเู้ ขา้ รว่ มประชมุ (ถา้ ม)ี 1..................................................................................................