โปรแกรม freeware มี อะไรบ้าง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โปรแกรม freeware มี อะไรบ้าง

ซอฟต์แวร์เสรี (free software) หมายถึงซอฟต์แวร์ที่สามารถนำไปใช้ แก้ไข ดัดแปลง พัฒนา และจำหน่ายแจกจ่ายได้โดยเสรี โดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์แต่อย่างใด ตามคำนิยามของมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรี (Free Software Foundation) ในบางครั้งซอฟต์แวร์เสรีจะถูกกล่าวถึงในชื่ออื่น ๆ เช่น libre software, FLOSS หรือซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ซอฟต์แวร์เสรีที่เป็นนิยมใช้งานได้แก่ ลินุกซ์ ไฟร์ฟอกซ์ และโอเพ่นออฟฟิศ

ในทางปฏิบัติ ซอฟต์แวร์เสรี และ ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส มีลักษณะร่วมที่คล้ายกัน แต่แตกต่างกันโดยแนวความคิดของกลุ่ม โดยซอฟต์แวร์เสรีเน้นในแนวทางสังคมการเมืองที่ต้องการให้มีการใช้ซอฟต์แวร์ได้อย่างอิสระ ไม่ถูกจำกัดด้วยลิขสิทธิ์ ในขณะที่ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สมีแนวความคิดในการเปิดกว้างให้แลกเปลี่ยนซอร์สโค้ดได้อิสระซึ่งเป็นแนวคิดทางด้านเทคโนโลยี อย่างไรก็ตามซอฟต์แวร์เสรีทุกตัวถูกจัดให้เป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเสมอ แต่กระนั้นเคยมีกรณีที่มูลนิธิซอฟต์แวร์เสรีไม่ยอมรับ Apple Public Source License รุ่นแรกให้อยู่อยู่ในรายการสัญญาอนุญาตแบบเสรี ขณะที่ Open Source Initiative ยอมรับว่าสัญญาอนุญาตดังกล่าวเป็นสัญญาอนุญาตแบบโอเพนซอร์ส โดยเนื้อหาใน Apple Public Source License รุ่นแรกกำหนดให้การปรับปรุงแก้ไขที่เป็นส่วนตัวจะต้องเผยแพร่ patch ออกสู่สาธารณะและรายงานให้ Apple ทราบทุกครั้ง ซึ่งทางมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรีมองว่าเป็นการไม่เคารพความเป็นส่วนตัวและจำกัดเสรีภาพในการแก้ไขซอฟต์แวร์[1]

นอกจากนี้มีการสับสนระหว่างฟรีแวร์ที่มีลักษณะนำไปใช้ได้ฟรี โดยไม่รวมถึงการนำไปดัดแปลงแก้ไข กับซอฟต์แวร์เสรีที่สามารถนำไปใช้รวมทั้งดัดแปลงแก้ไขได้อย่างสมบูรณ์

แนวคิดพื้นฐานของซอฟต์แวร์เสรี[แก้]

ซอฟต์แวร์เสรีเป็นกระบวนทัศน์ที่มีแรงผลักดันมาจากแนวคิดทางการเมือง ที่ต้องการส่งเสริมเสรีภาพของการใช้ซอฟต์แวร์เป็นสาระสำคัญ โดยมีการกำหนดลักษณะเฉพาะของซอฟต์แวร์เสรีขึ้นใช้ร่วมกันสี่ประการคือ <re>The Free Software Definition</ref>

  • เสรีภาพในการใช้งานซอฟต์แวร์ตามความต้องการ
  • เสรีภาพที่จะศึกษาการทำงานของโปรแกรมผ่านซอร์สโค้ด และนำไปใช้ตามความต้องการ
  • เสรีภาพที่จะจำหน่ายจ่ายแจกซอฟต์แวร์นั้นต่อไป
  • เสรีภาพในการดัดแปลงแก้ไขเพิ่มเติม รวมถึงจำหน่ายจ่ายแจกซอฟต์แวร์ที่ได้พัฒนาแก้ไขและดัดแปลงเพิ่มเติมนั้น

แม้ว่าเราจะสามารถขายหรือแจกจ่ายซอฟต์แวร์เสรีได้โดยไม่ผิดเงื่อนไข แต่ซอฟต์แวร์เสรีก็ยังคงเป็นซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ มีข้อบังคับตามสัญญาเช่นเดียวกับซอฟต์แวร์ทั่ว ๆ ไป ซอฟต์แวร์เสรีจึงมีรูปแบบของสัญญาอนุญาตหลายรูปแบบ ซึ่งมีเงื่อนไขต่าง ๆ กันไป อย่างไรก็ตามก็ยังมีจุดยืนร่วมกันคือเสรีภาพสี่ประการข้างต้น

ซอฟต์แวร์เสรีมีความแตกต่างกับฟรีแวร์ (freeware) กล่าวคือ ฟรีแวร์จะไม่อนุญาตให้เผยแพร่รหัสต้นฉบับเนื่องจากเป็นความลับทางการค้า

ความเป็นมาโดยย่อของซอฟต์แวร์เสรี[แก้]

แนวคิดซอฟต์แวร์เสรีเกิดขึ้นในสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ เมื่อ พ.ศ. 2526-2527 (ค.ศ. 1983-1984) โดย ริชาร์ด สตอลแมน ซึ่งมีปัญหากับระบบซอฟต์แวร์ที่ใช้กับเครื่องพิมพ์ และต้องเผชิญกับความยากลำบากในการแก้ปัญหา ซึ่งก็ล้วนแต่เป็นเรื่องของลิขสิทธิ์และการไม่มีซอร์สโค้ดของซอฟต์แวร์ สตอลแมนจึงเริ่มพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ทั้งหมดขึ้นใหม่ และกลายเป็นรากฐานที่สำคัญของระบบปฏิบัติการที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลกตัวหนึ่งคือ GNU/Linux

ตัวอย่างซอฟต์แวร์เสรีที่เป็นที่รู้จัก[แก้]

  • ลินุกซ์
  • ไฟร์ฟอกซ์
  • โอเพ่นออฟฟิศ
  • กิมป์
  • เบลนเดอร์
  • ทอร์
  • พิดจิน
  • ไฟล์ซิลลา
  • ทันเดอร์เบิร์ด
  • มีเดียวิกิ
  • Audacity
  • MySQL
  • PHP

อ้างอิง[แก้]

  1. The Problems with older versions of the Apple Public Source License

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • มหาวิหารกับตลาดสด บทความชุด สำรวจวัฒนธรรมโอเพนซอร์ส ทำไมโครงการซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ประสบความสำเร็จ จึงประสบความสำเร็จเช่นนั้น แปลจาก The Cathedral and the Bazaar ของ ESR
    • มหาวิหารและตลาดสด เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน บทความเรียบเรียงใหม่จากฉบับแปลไทยของคุณเทพพิทักษ์ การุญบุญญานันท์และคณะ โดย วิรัช เหมพรรณไพเราะ ในรูปแบบไฟล์ .pdf
  • มาเป็นแฮ็กเกอร์กันเถอะ! - บทความเกี่ยวกับวัฒนธรรมแฮ็กเกอร์ จุดกำเนิดของวัฒนธรรมซอฟต์แวร์เสรี โดย กิตติ์ เธียรธโนปจัย อ้างอิงบางส่วนจาก How to become a Hacker ของ Eric Steven Raymond (ESR)
  • ลงหลักปัญญาภูมิ - สำรวจจารีตปฏิบัติของแฮ็กเกอร์ ในเรื่องกรรมสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา วิเคราะห์และตรวจสอบ "วัฒนธรรมแห่งการให้" แปลจาก Homesteading the Noosphere โดย ESR
  • วิธีทำงานกับซอฟต์แวร์เสรี - วัฒนธรรมการทำงานของอาสาสมัครซอฟต์แวร์เสรี แปลจาก Working on Free Software ของ Havoc Pennington
  • ทบทวนซอฟต์แวร์เสรีเมืองไทย - ข้อสังเกตเงื่อนไขและอุปสรรคของวงการซอฟต์แวร์เสรีในประเทศไทย โดย เทพพิทักษ์ การุญบุญญานันท์
  • Thai Linux Working Group ชุมชนโอเพนซอร์ส/ซอฟต์แวร์เสรีรุ่นบุกเบิกของประเทศไทย

โปรแกรมประเภท Shareware มีอะไรบ้าง

ตัวอย่างโปรแกรมประเภท Shareware เช่น PhpED, cyberlink, powerdvd ,Internet download manager, DAEMON Tools , etc.

Freeware กับ Open

Open-Source Software แตกต่างจาก Freeware และ Shareware อย่างไร ? ถึงแม้ว่า โอเพ่นซอร์สซอฟต์แวร์ (Open-Source Software), ฟรีแวร์ (Freeware) และ แชร์แวร์ (Shareware) สามารถใช้งานได้ฟรีเหมือนกัน แต่มีเงื่อนไขที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง หลัก ๆ คือเงื่อนไขการใช้งานที่มากน้อยและการแจกจ่ายซอฟต์แวร์ต่อนั่นเอง Freeware.

Software License มีอะไรบ้าง

Public-domain Software (ซอฟต์แวร์สาธารณะ) ... .
2.Proprietary Software (ซอฟต์แวร์กรรมสิทธิ์) ... .
3.Commercial Software (ซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์) ... .
4.Demo (ซอฟต์แวร์ทดลองใช้แบบจำกัดความสามารถ) ... .
5.Freeware (ซอฟต์แวร์เสรี) ... .
Shareware (ซอตฟ์แวร์ทอดลองแบบจำกัดการใช้งาน) ... .
7.Open-Source Software (ซอตฟ์แวร์เปิดเผยซอร์สโค้ด).