โครงการสร้างเสริมสุขภาพ มีอะไรบ้าง

บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P) เป็นสิทธิประโยชน์เดียวในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่จัดให้กับประชาชนไทยทุกสิทธิ เป็นบริการสาธารณสุขที่ให้โดยตรงแก่บุคคลครอบครัวหรือกลุ่มบุคคล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ อัตราป่วย/อัตราตายที่เป็นภาระโรคของประเทศและส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็ก บรรลุเป้าประสงค์ที่ต้องการให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีและลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของครัวเรือน

การสร้างเสริมสุขภาพ หมายความว่า บริการหรือกิจกรรมที่ให้โดยตรงแก่บุคคลครอบครัวหรือกลุ่มบุคคล เพื่อสร้างเสริมความตระหนักและขีดความสามารถของบุคคลในการดูแลสุขภาพของตนเอง

การป้องกันโรค หมายความว่า บริการหรือกิจกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ให้โดยตรงแก่บุคคล ครอบครัวหรือกลุ่มบุคคล เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรค

การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค มีขอบเขตดังนี้

  1. การตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาภาวะเสี่ยงต่อการเสียสุขภาพและศักยภาพที่เอื้ออำนวยต่อการสร้างเสริมสุขภาพ
  2. การสร้างเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การให้คำปรึกษาแนะนำ การให้ความรู้และการสาธิตเพื่อสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
  3. การสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน การใช้ยา และการทำหัตถการเพื่อสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

ทั้งนี้ไม่รวมถึงการเฝ้าระวัง และการป้องกันไม่ให้ผู้ที่ป่วยมีอาการแทรกซ้อนหรือการชะลอความรุนแรงของการป่วย โดยให้ถือว่าบริการดังกล่าวเป็นกิจกรรมด้านการรักษาพยาบาล

เป้าหมาย

ประชาชนไทยทุกสิทธิ ได้แก่ ผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ผู้มีสิทธิประกันสังคม ผู้มีสิทธิสวัสดิการข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ/เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสิทธิอื่นๆ ย่อมมีสิทธิเข้าถึงบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคตามราชกิจจานุเบกษาเรี่องประเภทและขอบเขตบริการสาธารณสุข พ.ศ.2565 ของประชาชนแต่ละกลุ่มวัย

รายการหรือกิจกรรมบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (สิทธิประโยชน์) ที่ประชาชนทุกสิทธิจะได้รับ แยกตามกลุ่มวัยเป็น 5 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ กลุ่มเด็กเล็กอายุ 0 - 5 ปี กลุ่มเด็กโตและวัยรุ่นอายุ 6 - 24 ปี กลุ่มผู้ใหญ่อายุ 25 - 59 ปี และกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ทั้งนี้การจัดบริการตามรายการหรือกิจกรรมบริการ หน่วยบริการจะดำเนินการตามแนวทางหรือแนวเวชปฏิบัติ และมาตรฐานบริการที่กำหนดโดยกรมวิชาการของกระทรวงสาธารณสุขหรือราชวิทยาลัยหรือสมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง โดยมีรายละเอียดดังนี้

กิจกรรมบริการที่จะได้รับ

  • กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอด
  • กลุ่มเด็กเล็กอายุ 0-5 ปี
  • กลุ่มเด็กโตและวัยรุ่นอายุ 6-24 ปี
  • กลุ่มผู้ใหญ่อายุ 25-59 ปี
  • กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป

หากมีข้อสงสัยในการใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สิทธิบัตรทอง) สอบถามเพิ่มเติม สายด่วน สปสช. 1330 (ตลอด 24 ชม.)

                                                                                                                                                                 อัปเดต วันที่ 4 สิงหาคม 2565
​                                                                                                                                                                                              1330  Contact Center

  • directions_run
  • beenhere
  • attach_money
  • assessment
  • lock

stars

1. รายละเอียดโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน ประจำปี 2564
รหัสโครงการ 64-L3348-2-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านทุ่งชุมพล
วันที่อนุมัติ 23 เมษายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 23 เมษายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 21,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายชม บุญชูดำ
พี่เลี้ยงโครงการ เจ้าหน้าที่งานสาธารณสุขฯ เทศบาลตำบลลานขอย
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลานข่อย อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.831,99.78place

stars

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

stars

3. งวดสำหรับการทำรายงาน

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ

stars

5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันการแพทย์และการสาธารณสุขมีความเจริญก้าวหน้าเพิ่มมากขึ้นทำให้อายุขัยเฉลี่ยของประชาชนยืนยาวขึ้นทำให้จำนวนประชากรกลุ่มผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นด้วยด้วยความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสมัยใหม่การสื่อสารที่ฉับไวทั่วถึงทุกมุมโลกส่งผลให้จิตใจของคนเปลี่ยนไปเป็นวัตถุนิยมมีปัญหาทางสังคมบุตรหลานแยกเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น ปัญหาทางร่างกายของผู้สูงอายุก็เปลี่ยนแปลงจากที่เคยแข็งแรงทำงานได้ก็ไม่แข็งแรงทำงานน้อยลงมีผลถึงภาวะเศรษฐกิจต้องกลายเป็นผู้พึ่งพิงบุตรหลานหรือบางคนขาดการช่วยเหลือดูแลมีปัญหาทางด้านจิตใจเช่นไม่ได้รับการเคารพนับถือจากผู้เยาว์ขาดอิสรภาพส่วนบุคคลเป็นคนไม่ทันเหตุการณ์ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างวัยมากขึ้นผู้สูงอายุปรับตัวปรับใจให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ได้ก็จะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพทางจิตนี้ตามมารวมทั้งเป็นวัยแห่งการเสื่อมโทรมทางด้านร่างกายเพิ่มขึ้นเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ สมอง เกิดอัมพฤกษ์อัมพาตนำไปสู่ภาวะพึ่งพาและทุพพลภาพความต้องการการดูแลมากขึ้น การส่งเสริมสุขภาพนับว่ามีความสำคัญและเป็นหัวใจหลักของการปฏิรูประบบสุขภาพในประชากรกลุ่มผู้สูงอายุความเสื่อมของอวัยวะต่างๆทุกระบบทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพเรื้อรังตามมาทำให้ผู้สูงอายุเป็นภาระของครอบครัวและสังคมตลอดจนประเทศชาติต้องสูญเสียงบประมาณในการดูแลและรักษาพยาบาลเป็นจำนวนมาก     จากเหตุผลและความจำเป็นดังกล่าวชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) รพ.สต.ในนิคมฯบ้านลานข่อย มีแนวความคิดในการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านการส่งเสริมสุขภาพให้กับผู้สูงอายุด้านสุขภาพกายสุขภาพใจและสังคมให้ดีขึ้น ทำให้สามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้ลดภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัวสังคมในด้านการรักษาพยาบาล โดยในปีงบประมาณ2563 ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) รพ.สต.บ้านทุ่งชุมพล ได้จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะกายใจผู้สูงวัยร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในนิคมฯ บ้านลานข่อย เพื่อส่งเสริมสุขภาพให้กับผู้สูงอายุด้านสุขภาพกายสุขภาพใจและสังคมให้ดีขึ้นโดยมีแกนนำผู้สูงอายุและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยงข้อง เข้าร่วมโครงการจำนวน 50 คน

stars

6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุและผู้ดูแลมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเอง
ตัวชี้วัดความสำเร็จ :

ผู้สูงอายุและผู้ดูแลมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเอง ร้อยละ 80

1.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัย
ตัวชี้วัดความสำเร็จ :

ผู้สูงอายุได้ออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัย ร้อยละ60

1.00
3 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้เสริมสร้างความมีคุณค่าในตนเองส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีจากการเข้าร่วมกิจกรรม
ตัวชี้วัดความสำเร็จ :

ผู้สูงอายุได้เสริมสร้างความมีคุณค่าในตนเองส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีจากการเข้าร่วมกิจกรรม

1.00

stars

7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1 ขั้นเตรียมการ
1.1 ประชุม อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและชมรมผู้สูงอายุแต่ละหมู่บ้านเพื่อแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการดำเนินโครงการ
1.2 ติดต่อประสานงานกับผู้เกี่ยวข้อง
1.3 นำเสนอเพื่อขออนุมัติดำเนินโครงการ
2 ขั้นดำเนินการ
2.1 เชิญกรรมการชมรมผู้สูงอายุ และบุคคลที่เกี่ยวข้องร่วมประชุมรับฟังคำชี้แจง และร่วมเสนอความคิดเห็นในการดำเนินโครงการ
2.2 จัดตั้งคณะกรรมการประสานงานตัวแทนจากผู้สูงอายุแต่ละหมู่บ้านและผู้นำ ชุมชน
2.3 จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์พร้อมใช้ที่ใช้ในกิจกรรมต่างๆ 2.4 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่สมาชิกชมรมผู้สูงอายุ และผู้ดูแลผู้สูงอายุ 3 ขั้นการประเมินผลงานและกิจกรรมประเมินผลกิจกรรมการดำเนินงานโดยประเมินจาก
3.1 จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม
3.2 การดำเนินกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุ 3.3 สรุปผลการดำเนินโครงการ

stars

8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความสุขและสนุกสนานจากการได้เข้าร่วมกิจกรรม
2ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายและใจสมบูรณ์ไม่เป็นภาระต่อครอบครัวและสังคม
3ชุมชนให้ความสนใจในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุซึ่งจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาชุมชนอย่างเข้มแข็งและทำให้ชมรมผู้สูงอายุมีการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

stars

9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการสร้างเสริมสุขภาพ มีอะไรบ้าง

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2564 14:39 น.