ปัจจุบันประเทศไทยปกครองด้วยการปกครองในระบอบประชาธิปไตย รูปแบบใด

ระบอบการปกครองของไทย

ปัจจุบันประเทศไทยปกครองด้วยการปกครองในระบอบประชาธิปไตย รูปแบบใด

เดิมประเทศไทยมีการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ตั้งแต่สมัยอาณาจักรอยุธยาเป็นต้นมา มีการปกครองแบบรวมศูนย์เด็ดขาดตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[47] ครั้นวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะราษฎรปฏิวัติในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว แล้วเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ

ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญแล้ว 19 ฉบับ ซึ่งมากที่สุดในทวีปเอเชีย ประเทศไทยขาดเสถียรภาพทางการเมืองสูงและมีรัฐประหารหลายครั้ง หลังเปลี่ยนรัฐบาลสำเร็จ รัฐบาลทหารมักยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับเก่าและร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยมีการเปลี่ยนสมดุลอำนาจฝ่ายการปกครองเรื่อยมา นอกจากนี้ พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ยังเปลี่ยนไปตามรัฐธรรมนูญด้วย

                                                                                                                 เพลง ผู้ปิดทองหลังพระ

วิดีโอ YouTube

ในทางพฤตินัย ปัจจุบันประเทศไทยปกครองในระบอบเผด็จการทหาร ใน พ.ศ. 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ควบคุมอำนาจการปกครองประเทศ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ต่อมา มีประกาศให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 สิ้นสุดลง และประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 แทน ซึ่งในรัฐธรรมนูญดังกล่าว ระบุว่า ประเทศไทยมีรูปแบบรัฐเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา หรือใช้ว่า ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยกำหนดรูปแบบองค์กรบริหารอำนาจทั้งสามส่วนดังนี้

อำนาจนิติบัญญัติ มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประกอบด้วยสมาชิกไม่เกินสองร้อยยี่สิบคน ทำหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา

อำนาจบริหาร มีนายกรัฐมนตรี ซึ่งมาจากการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ตามมติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และรัฐมนตรีอื่นไม่เกินสามสิบห้าคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำกราบบังคมทูลของนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีเป็นองค์กรบริหารอำนาจ นายกรัฐมนตรีเป็นประมุขแห่งอำนาจและเป็นหัวหน้ารัฐบาล ในรัฐธรรมนูญมิได้ระบุวาระของนายกรัฐมนตรี

อำนาจตุลาการ มีระบบศาล ซึ่งประกอบด้วยศาลยุติธรรม ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลปกครอง เป็นองค์กรบริหารอำนาจ มีประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นประมุขในส่วนของตน สำหรับราชการส่วนท้องถิ่น มีการแบ่งเป็นผู้บริหารท้องถิ่นและสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งข้าราชการฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนแทบทุกระดับ เดิมประเทศไทยมีรัฐสภา ซึ่งใช้ระบบสภาคู่ ประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา เป็นสภานิติบัญญัติ สภาผู้แทนราษฎรมีสมาชิก 500 คน มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต 375 คน แบบสัดส่วน 125 คน มีวาระ 4 ปี วุฒิสภามีสมาชิก 150 คน มาจากการเลือกตั้ง 77 คน มีวาระ 6 ปี นายกรัฐมนตรีมีวาระ 4 ปี ดำรงตำแหน่งได้ไม่เกินสองวาระติดต่อกัน นายกรัฐมนตรีมิได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง แต่มาจากมติของสภาผู้แทนราษฎร

ระบบพรรคการเมืองของไทยเป็นแบบหลายพรรค นายกรัฐมนตรีมาจากพรรคการเมืองต่าง ๆ แต่ก็มีนายกรัฐมนตรีที่มาจากรัฐประหารหลายคน หลัง พ.ศ. 2544 มีพรรคการเมืองครอบงำสองพรรค คือ พรรคเพื่อไทย ซึ่งเปลี่ยนมาจากพรรคพลังประชาชนและพรรคไทยรักไทยตามลำดับ และพรรคประชาธิปัตย์ พรรคการเมืองซึ่งเป็นพันธมิตรทางการเมืองของพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ชนะการเลือกตั้งทั่วไปทุกครั้งตั้งแต่ปีนั้น พรรคการเมืองอื่น เช่น พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา เป็นต้น

การแบ่งเขตการปกครอง

ดูบทความหลักที่: การแบ่งเขตการปกครองของประเทศไทย และ จังหวัดในประเทศไทย การแบ่งภูมิภาคของประเทศไทยโดยใช้เกณฑ์อย่างเป็นทางการของราชบัณฑิตยสถาน[49]

ภาคเหนือ  ภาคอีสาน  ภาคกลาง  ภาคตะวันออก  ภาคตะวันตก  ภาคใต้

ประเทศไทยแบ่งเขตการบริหารออกเป็น (1) ราชการส่วนกลาง ได้แก่ กระทรวงทบวง และกรม (2) ราชการส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย 76 จังหวัด 878 อำเภอ 7,255 ตำบล[50] และ (3) ราชการส่วนท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเทศบาลองค์การบริหารส่วนตำบลกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา

ใน พ.ศ. 2458 ประเทศสยามแบ่งการปกครองเป็น 72 จังหวัด หลัง พ.ศ. 2476 จังหวัดกลายเป็นหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคระดับสูงสุด หลังยุบมณฑลเทศาภิบาล พ.ศ. 2514 มีการรวมจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีเป็นเขตการปกครองแบบพิเศษชื่อ "นครหลวงกรุงเทพธนบุรี" ซึ่งได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กรุงเทพมหานคร" ใน พ.ศ. 2515 ปีเดียวกัน มีการแยกจังหวัดอุบลราชธานีจัดตั้งเป็นจังหวัดยโสธร พ.ศ. 2520 มีการแบ่งจังหวัดเชียงรายจัดตั้งเป็นจังหวัดพะเยา พ.ศ. 2525 มีการแบ่งจังหวัดนครพนมตั้งเป็นจังหวัดมุกดาหาร พ.ศ. 2536 มีการแยกจังหวัดอุดรธานีจัดตั้งเป็นจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดสระแก้วจัดตั้งเป็นจังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดอุบลราชธานีจัดตั้งเป็นจังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดล่าสุดของประเทศไทย คือ จังหวัดบึงกาฬซึ่งแยกจากจังหวัดหนองคายใน พ.ศ. 2554