ภัยคุกคามด้วยโปรแกรมประสงค์ร้ายคืออะไรให้นักเรียนอธิบายให้เข้าใจ

Cybersecurity

  • 16 ธ.ค. 64
  • ภัยคุกคามด้วยโปรแกรมประสงค์ร้ายคืออะไรให้นักเรียนอธิบายให้เข้าใจ
    20959

มัลแวร์ คือ อะไร

“มัลแวร์” หรือ “ไวรัสคอมพิวเตอร์” คืออะไร และจะส่งผลกระทบอะไรต่อคอมพิวเตอร์ของเรา

MALWARE (มัลแวร์)  นั้นย่อมาจาก MALicious และ SoftWARE หมายถึง โปรแกรมประสงค์ร้ายที่ถูกเขียนขึ้นมา เพื่อทำอันตรายกับข้อมูลในระบบ เช่น ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานผิดปกติ ขโมยหรือทำลายข้อมูลหรืออาจจะเปิดช่องทางให้ผู้ไม่หวังดีเข้ามาควบคุมเครื่องของเราได้

ประเภทของมัลแวร์ เช่น

  • Virus (ไวรัส) สามารถแพร่กระจายตัวเองไปยังเครื่องอื่น ๆ ผ่านไฟล์ที่ส่งต่อกันระหว่างเครื่อง เมื่อมันแอบเข้ามายังคอมพิวเตอร์ได้แล้ว มันก็จะเข้าไปก่อกวนการทำงานจนทำให้เกิดผลเสียต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ เหมือนเวลาที่เราป่วยเพราะไวรัส ร่างกายของเราก็จะทำงานได้ไม่เต็มที่เท่าเดิม คอมพิวเตอร์เองก็เช่นเดียวกัน
  • Worm (เวิร์ม) สามารถแพร่กระจายตัวเองไปยังเครื่องอื่น ๆ ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้เองโดยอัตโนมัติ คล้ายกับตัวหนอนที่ชอนไชไปยังเส้นทางต่าง ๆ จนทำให้เครือข่ายล่มหรือใช้งานไม่ได้
  • Trojan (โทรจัน) ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อหลอกเราว่า มันเป็นโปรแกรมทั่วไปที่ไม่มีพิษภัย แล้วให้ผู้ใช้หลงเชื่อและนำไปติดตั้ง หลังจากนั้น มันก็จะสามารถเข้าไปเล่นงานระบบของเราได้ง่าย ๆ
  • Backdoor (แบ็กดอร์) มีความสามารถในการเปิดช่องทางให้ผู้ไม่หวังดีสามารถเข้ามาควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราได้และ สามารถทำอะไรก็ได้กับเครื่องของเรา เช่น สั่งลบหรือโอนย้ายข้อมูลของเราก็ได้
  • Spyware (สปายแวร์) คอยแอบดูพฤติกรรมการใช้คอมพิวเตอร์ของเรา และยังสามารถขโมยข้อมูลส่วนตัวของเราไปได้ด้วย ซึ่งถือเป็นเรื่องที่อันตรายมาก ๆ

ระหว่างที่เราใช้คอมพิวเตอร์ รวมถึงสมาร์ตโฟน หรือแท็บเลต กำลังดูเว็บ อ่านอีเมล หรือคุยกับเพื่อนผ่านโซเชียลมีเดีย เจ้าพวกมัลแวร์ จะพยายามเจาะเข้ามาในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา โดยมันอาจจะหลอกล่อให้เราเปิดประตูให้ ด้วยการส่งไฟล์มาทางอีเมล  หลอกให้เราคลิกลิงก์แปลกปลอม หรืออาจจะเป็นการหลอกให้ติดตั้งโปรแกรมบางอย่าง ซึ่งถ้าหากเราไม่ระวังตัว และกดตกลงเปิดไฟล์หรือติดตั้งโปรแกรมนั้น ๆ ลงไปในเครื่อง ก็เท่ากับเป็นการเปิดทางให้มัลแวร์บุกเข้ามาโจมตีเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรานั่นเอง

เมื่อเจ้ามัลแวร์เข้ามาได้สำเร็จ บางตัวก็อาจจะเข้ามาสอดส่องข้อมูลของเรา ก่อนที่มันจะส่งข้อมูลสำคัญของเรากลับไปยังเจ้านายของมัน ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นก็จะมีตั้งแต่รหัสผ่านของเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เราใช้อยู่ เช่น Facebook  หรือ Twitter รหัสบัตรประชาชน บัญชีธนาคาร หรือรหัสบัตรเครดิตของเรา

เจ้าหัวขโมยนี้สามารถนำข้อมูลของเราไปใช้ประโยชน์ได้มากมาย ยกตัวอย่างเช่น เขาอาจจะนำรหัสบัตรเครดิตของเราไปทำบัตรเครดิตปลอมขึ้นมา แล้วก็จับจ่ายใช้สอยอย่างสบายใจ โดยที่เราไม่รู้เรื่องเลย กว่าเราจะรู้ตัวอีกทีก็กลายเป็นว่า เราจะต้องตามชำระค่าใช้จ่ายเหล่านั้นแทนเจ้าหัวขโมยเสียแล้ว หรือมันอาจจะสวมรอยยึด Facebook ของเราเพื่อกลั่นแกล้ง หรือใช้ประโยชน์ตามใจชอบ หรืออาจจะเข้ามา แล้วทำให้คอมพิวเตอร์ของเราไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไปก็เป็นได้

จะเห็นว่ามัลแวร์นั้นสามารถก่อให้เกิดปัญหาให้กับผู้ใช้ได้ไม่น้อยเลย ถ้าเป็นอย่างนั้น เราจะสามารถป้องกันมัลแวร์ตัวแสบนี้ได้อย่างไรบ้าง

  1. มีด่านป้องกันโดยติดตั้งและอัปเดตแอนติไวรัสอยู่เสมอ เสริมสร้างพลังป้องกัน
  2. มีด่านป้องกันชั้นที่ 2 โดยอัปเดตระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์
  3. หยุดการติดตั้งซอฟต์แวร์ แอปพลิเคชัน ที่ไม่รู้จักหรือต้องสงสัย
  4. ไม่คลิกลิงก์หรือเปิดไฟล์ในอีเมลที่น่าสงสัย ถ้าไม่ไว้ใจควรถามกลับไปยังผู้ส่งอีเมลโดยตรง โดยควรสอบถามไปทาง โทรศัพท์หรือแฟกซ์ แทนการส่งอีเมลกลับไป 
  5. สำรองข้อมูลอยู่เสมอ และควรเก็บข้อมูลสำรองเหล่านั้นไว้ ในอุปกรณ์ที่ไม่ได้เชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์หรือ ระบบเครือข่ายอื่น ๆ แม้ว่ามัลแวร์นั้นจะอันตราย

หากเราระวังและป้องกันตัวเอง ตามขั้นตอนแล้วล่ะก็ เท่านี้คอมพิวเตอร์ร สมาร์ตโฟน และแท็บเลตของเราก็จะมั่นคงปลอดภัยจากมัลแวร์แล้ว

มัลแวร์ตัวร้าย กับ 5 วิธีป้องกัน

ภัยคุกคามด้วยโปรแกรมประสงค์ร้ายคืออะไรให้นักเรียนอธิบายให้เข้าใจ

          เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) เป็นเครื่องมือและมีบทบาทสำคัญต่อการเรียนรู้ และการใช้ชีวิตประจำวัน รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายได้

          การใช้งานไอทีโดยเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต ช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารและเข้าถึงข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ได้สะดวกและรวดเร็ว แต่ในทางกลับกัน ถ้าใช้งานไม่ระมัดระวัง อาจจะก่อให้เกิดปัญหาจากการคุกคาม การหลอกลวงผ่านเครือข่ายได้ ดังนั้นการเรียนรู้การใช้งานไอทีอย่างเหมาะสม และปลอดภัยจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง

วิธีการคุกคาม

          ภัยคุกคามทางด้านไอที มีหลากหลายวิธี โดยมีตั้งแต่ใช้ความรู้ขั้นสูงด้านไอที ไปจนถึงวิธีวิธีที่ไม่จำเป็นต้องใช้ความรู้ทางด้านเทคนิคอะไรเลย อาทิ

          1. การคุกคามโดยใช้หลักจิตวิทยา เป็นการคุกคามที่ใช้การหลอกลวงเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ต้องการ เช่น การสร้างหน้าเว็บไซต์เลียนแบบเว็บไซต์ที่โด่งดัง เพื่อหลอกให้ผู้ใช้เข้าใจผิด แล้วหลงให้รหัสผ่าน การป้องกันคือผู้ใช้ต้องมีความระมัดระวัง ตรวจสอบ URL ให้มั่นใจว่าเป็นเว็บไซต์ที่เชื่อถือได้หรือไม่ก่อนกรอกข้อมูลต่างๆ ลงไป

          2. การคุกคามด้วยเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม ข้อมูลและเนื้อหาที่มีอยู่ในแหล่งต่างๆ บนอินเตอร์เน็ตมีจำนวนมาก ทำให้ข้อมูลอาจจะไม่ได้รับการตรวจสอบ และในบางแหล่งข้อมูลอาจมีเนื้อหาไม่เหมาะสม เช่น การใช้ความรุนแรง ลามกอนาจาร การพนัน ดังนั้นผู้ใช้จึงควรมีวิจารณญาณ

          3. การคุกคามโดยใช้โปรแกรม เป็นการคุกคามโดยการใช้เครื่องมือทางด้านไอที เพื่อก่อปัญหาให้กับผู้ใช้อื่นๆ ซึ่งเครื่องมือดังกล่าวเราเรียกว่า มัลแวร์ (Malicious Software: Malware) ซึ่งมีหลายประเภท ดังนี้

                   3.1 ไวรัสคอมพิวเตอร์ (Computer Virus) เป็นโปรแกรมที่เขียนด้วยเจตนาร้าย อาจทำให้ผู้ใช้งานเกิดความรำคาญ หรือเกิดความเสียหายต่อระบบของผู้ใช้ ไวรัสคอมพิวเตอร์มักติดมากับไฟล์งานต่างๆ และจะทำงานเมื่อมีการเปิดไฟล์งานนั้นๆ

ภัยคุกคามด้วยโปรแกรมประสงค์ร้ายคืออะไรให้นักเรียนอธิบายให้เข้าใจ

ภัยคุกคามด้วยโปรแกรมประสงค์ร้ายคืออะไรให้นักเรียนอธิบายให้เข้าใจ

                   3.2 เวิร์ม (Worm) มีการเรียกเป็นภาษาไทยว่า “หนอนอินเตอร์เน็ต” เป็นโปรแกรมที่สามารถทำสำเนาตัวเอง (copy) และแพร่กระจายไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ได้ ทำให้คอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายเสียหาย การป้องกันอย่างหนึ่งสำหรับเวิร์ม คือ การอัปเดตโปรแกรมที่ใช้ทั้งหมดให้ทันสมัยอยู่เสมอ ข้อสังเกตว่าคอมพิวเตอร์ติดเวิร์มหรือไม่คือ คอมพิวเตอร์ทำงานช้าลง , คอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานได้ , ไม่สามารถติดต่อระบบเครือข่ายได้ , ไม่สามารถทำงานในระบบอินเตอร์เน็ตได้ เป็นต้น นอกจากนี้เรายังวิธีการป้องกันเบื้องต้นก็คือ การติดตั้งโปรแกรมตรวจสอบไวรัสแบบ Real time และที่สำคัญ ควรหลีกเลี่ยงการเปิดเมล์ที่เราไม่รู้จัก หรือไม่แน่ใจ

                   3.3 ม้าโทรจัน (Trojan Horse Virus) คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกบรรจุเข้าไปในคอมพิวเตอร์ เพื่อลอบเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น เช่น ข้อมูลชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน เลขที่บัญชีธนาคาร หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ โดยส่วนใหญ่แฮกเกอร์จะส่งโปรแกรมเข้าไปในคอมพิวเตอร์เพื่อดักจับข้อมูลดังกล่าว แล้วนำไปใช้ในการเจาะระบบ และเพื่อโจมตีคอมพิวเตอร์, เซิร์ฟเวอร์, หรือระบบเครือข่ายอีกที ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อการโจมตีเพื่อ “ปฏิเสธการให้บริการ” (Denial of Services)

ภัยคุกคามด้วยโปรแกรมประสงค์ร้ายคืออะไรให้นักเรียนอธิบายให้เข้าใจ

ภัยคุกคามด้วยโปรแกรมประสงค์ร้ายคืออะไรให้นักเรียนอธิบายให้เข้าใจ

                   3.4 สปายแวร์ (Spyware) เป็นโปรแกรมเล็ก ๆ ที่ถูกเขียนขึ้นมาสอดส่อง (สปาย) การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ อาจจะเพื่อโฆษณาสินค้าต่าง ๆ สปายแวร์บางตัวก็สร้างความรำคาญเพราะจะเปิดหน้าต่างโฆษณาบ่อย ๆ แต่บางตัวร้ายกว่านั้น คือ ทำให้ผู้ใช้ใช้อินเตอร์เน็ตไม่ได้เลย ไม่ว่าจะไปเว็บไซต์ไหน ก็จะโชว์หน้าต่างโฆษณาตลอดเวลา

                   3.5 โปรแกรมโฆษณา (Advertising Supported Software: Adware) คือโปรแกรมที่สามารถทำงาน แสดง หรือดาวน์โหลดสื่อโฆษณาโดยอัตโนมัติ ไปยังคอมพิวเตอร์ที่ได้รับการติดตั้งโปรแกรมชนิดนี้ไว้

                   3.6 โปรแกรมเรียกค่าไถ่ (Ransomware) เป็นมัลแวร์ (Malware) ประเภทหนึ่งที่มีลักษณะการทำงานที่แตกต่างกับมัลแวร์ประเภทอื่นๆ คือไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อขโมยข้อมูลของผู้ใช้ แต่จะทำการเข้ารหัสหรือล็อกไฟล์ไม่ว่าจะเป็นไฟล์เอกสาร รูปภาพ วิดีโอ ผู้ใช้งานจะไม่สามารถเปิดไฟล์ใดๆ ได้เลยหากไฟล์เหล่านั้นถูกเข้ารหัส ซึ่งการถูกเข้ารหัสก็หมายความว่าจะต้องใช้คีย์ในการปลดล็อคเพื่อกู้ข้อมูลคืนมา ผู้ใช้งานจะต้องทำการจ่ายเงินตามข้อความ “เรียกค่าไถ่” ที่ปรากฏ

ภัยคุกคามด้วยโปรแกรมประสงค์ร้ายคืออะไรให้นักเรียนอธิบายให้เข้าใจ

รูปแบบการป้องกันภัยคุกคาม

          วิธีการหนึ่งที่ใช้สำหรับการป้องกันภัยคุกคามด้านไอที คือการตรวจสอบ และยืนยันตัวตนก่อนเริ่มใช้งาน โดยสามารถดำเนินการได้ 3 รูปแบบดังนี้

          1. ตรวจสอบจากสิ่งที่ผู้ใช้รู้ เช่น ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน

ภัยคุกคามด้วยโปรแกรมประสงค์ร้ายคืออะไรให้นักเรียนอธิบายให้เข้าใจ

          2. ตรวจสอบจากสิ่งที่ผู้ใช้มี เช่น บัตรสมาร์ทการ์ด

ภัยคุกคามด้วยโปรแกรมประสงค์ร้ายคืออะไรให้นักเรียนอธิบายให้เข้าใจ

          3. ตรวจสอบจากสิ่งที่เป็นส่วนหนึ่งของผู้ใช้ เช่น การสแกนนิ้วมือ ใบหน้า เสียง เป็นต้น

ภัยคุกคามด้วยโปรแกรมประสงค์ร้ายคืออะไรให้นักเรียนอธิบายให้เข้าใจ

การตั้งรหัสผ่าน (password) ให้ปลอดภัย

          1. ตั้งให้เป็นเอกลักษณ์เว็บไหนเว็บนั้น อย่าใช้พาสเวิร์ดเดียวแต่ครอบคลุมทุกเว็บไซต์ เช่น ตั้งเอาไว้ว่า krui3dotcom แล้วใช้กับทุกบริการ ทุกเว็บไซต์ เพื่อความสะดวก การทำแบบนี้ถือว่าอันตรายอย่างมาก เพราะถ้ามีผู้ไม่หวังดีได้พาสเวิร์ดเราไป จะสามารถเอาไปลองได้กับทุกเว็บไซต์ และทุกบริการ

          2. อย่าใช้คำทั่วไปมาตั้งพาสเวิร์ด หากเราเป็นคนชอบดอกไม้ คนก็อาจจะเดาพาสเวิร์ดของเราว่า Flower เป็นต้น

          3. ยิ่งยาวยิ่งดี พาสเวิร์ดที่มีความยาว 10 ตัวอักษรนั้นเดายากกว่าพาสเวิร์ด 8 ตัวอักษรถึง 4 พันเท่า! ถ้าเดาพาสเวิร์ด 8 ตัวอักษรใช้เวลา 1 วัน เดาพาสเวิร์ด 10 ตัวอักษรก็ต้องใช้เวลา 4000 วัน! เว็บไซต์ในทุกวันนี้มักจะต้องการพาสเวิร์ดความยาว 8 ตัวอักษรเป็นขั้นต่ำอยู่แล้ว แต่ถ้าต้องการความปลอดภัยจริง ๆ 10 ตัวอักษรจะดีกว่า

          4. ผสมผสานทั้งตัวเลข เครื่องหมาย ตัวอักษรใหญ่ และตัวอักษรเล็ก เมื่อเราใช้ตัวอักษรใหญ่ เล็ก ตัวเลขและเครื่องหมายต่างๆ ลงในพาสเวิร์ด โอกาสที่จะเดาพาสเวิร์ดถูกจะมีแค่ 1 ในหลายแสนล้าน

          5. พิมพ์พาสเวิร์ดภาษาไทยด้วยคีย์บอร์ดภาษาอังกฤษ ตัวอย่างเช่น จะใช้พาสเวิร์ดว่า “ครูไอที” ก็จะพิมพ์ได้ว่า “8i^wvmu” เป็นต้น

กิจกรรม

          ให้นักเรียนสืบค้นข่าวที่เกี่ยวข้องกับภัยคุกคามจากเทคโนโลยี แล้วนำเสนอหน้าชั้นเรียน

อ้างอิง

Nat Berman, “Five Computer Viruses That Have Ruled 2017”, http://moneyinc.com/five-computer-viruses-ruled-2017/, สืบค้นวันที่ 11 มิ.ย. 61

Comnetsite.com, “ไวรัส Worm”, http://www.comnetsite.com/what-is-worm.php, สืบค้นวันที่ 11 มิ.ย. 61

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, “ม้าโทรจัน (คอมพิวเตอร์)”, https://th.wikipedia.org/, สืบค้นวันที่ 11 มิ.ย. 61

ศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, “spyware คืออะไร”, http://ccs.sut.ac.th/2012/index.php/helpdesk/helpdesk-faqs/249-help-241105, สืบค้นวันที่ 11 มิ.ย. 61

itnews4u.com, “Spyware คืออะไร แตกต่างจากไวรัสอย่างไรมาดูกัน”, http://itnews4u.com/What-is-Spyware.html, สืบค้นวันที่ 11 มิ.ย. 61

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, “แอดแวร์”, https://th.wikipedia.org, สืบค้นวันที่ 11 มิ.ย. 61

itnews4u.com, “Adware คืออะไร ส่งผลเสียอะไรต่อคอมพิวเตอร์ของเราบ้างมาดูกัน”, http://itnews4u.com/what-is-adware-on-a-computer.html, สืบค้นวันที่ 11 มิ.ย. 61

สำนักบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, “Ransomware คืออะไร?”, https://www.it.chula.ac.th/th/node/3351, สืบค้นวันที่ 11 มิ.ย. 61

Komentaru, “Majitel? iPhone hl?s? probl?m s Touch ID – po p?echodu na verzi iOS 9.1!”, http://applehelp.cz/2015/11/07/majitele-iphone-hlasi-problem-s-touch-id-po-prechodu-na-verzi-ios-9-1/, สืบค้นวันที่ 11 มิ.ย. 61

Luck_MThai, “5 เทคนิค การตั้ง password ให้ปลอดภัย”, https://tech.mthai.com/tips-technic/43045.html, สืบค้นวันที่ 11 มิ.ย. 61

สำนักบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, “รหัสผ่าน (Password) ตั้งค่าอย่างไรให้ปลอดภัย”, https://www.it.chula.ac.th/th/node/3348, สืบค้นวันที่ 11 มิ.ย. 61

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, “เทคโนโลยี(วิทยาการคำนวณ)”, โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 หน้า 167

ภัยคุกคามดวยโปรแกรมประสงค์ร้ายคืออะไรให้นักเรียนอธิบายมาให้เข้าใจ

หมายถึง ผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตในการใช้งานระบบ แต่พยายามลักลอบเข้ามาใช้งานด้วย วัตถุประสงค์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเพื่อโจรกรรมข้อมูล ผลกําไร หรือความพอใจส่วนบุคคลก็ตาม ความเสียหาย จากผู้บุกรุกเป็นภัยคุกตามที่หนัก

ภัยคุกคามจากการใช้โปรแกรม คืออะไร จงอธิบาย

3. การคุกคามโดยใช้โปรแกรม เป็นการคุกคามโดยการใช้เครื่องมือทางด้านไอทีเพื่อก่อปัญหาให้กับผู้ใช้อื่นๆ ซึ่ง เครื่องมือดังกล่าวเราเรียกว่า มัลแวร์(Malicious Software: Malware) ซึ่งมีหลายประเภท ดังนี้

โปรแกรมมุ่งร้าย มีอะไรบ้าง

Malicious Software หรือที่เรารู้จักกันว่ามัลแวร์ (Malware) เป็นชื่อเรียกโดยรวมของเหล่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกชนิดที่ถูกออกแบบมาเพื่อมุ่งร้ายต่อคอมพิวเตอร์และเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็น ไวรัส (Virus), วอร์ม (Worm), โทรจัน (Trojan), สปายแวร์ (Spyware) เป็นต้น ดังนั้น ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทุกคนควรรู้ลักษณะและพฤติกรรมการทำงานของมั ...

ภัยคุกคามจากการโจมตีของซอฟต์แวร์ประสงค์ร้าย (Malicious Code) มีอะไรบ้าง

Malicious Code เป็นคนโปรแกรมอันตราย ที่มุ่งประสงค์ร้ายต่อระบบคอมพิวเตอร์ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ในบางครั้งอาจจะเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า มัลแวร์ ซึ่งประกอบด้วยภัยคุกคามหลากหลายด้วยกันอันได้แก่ไวรัส เวิร์ม ม้าโทรจันและหมด ไวรัส