อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้คนไม่กล้าแสดงออก

คนส่วนใหญ่ชอบคิดไปเองว่า “ไม่รู้คนอื่นคิดอย่างไร?” เมื่อความคิดนี้เกิดขึ้นเมื่อไร ความรู้สึกของเราก็จะหยุดคำพูดและการกระทำของเราทันที เพราะเราจะเริ่มจินตนาการเชิงลบขึ้นมาจากการพูดของเรา ซึ่งจะส่งผลเสีย ทำให้เราไม่สามารถติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นได้ คนอื่นก็จะไม่เข้าใจเรา เมื่อต่างคนต่างไม่เข้าใจและไม่พูดจากัน ก็ย่อมคิดในเชิงลบซึ่งกันและกัน

การกล้าแสดงออกหรือกล้าพูด ไม่ใช่เรื่องก้าวร้าวเพียงแต่ผู้พูดต้องใช้วาจาที่สุภาพและไม่คิดไปเอง โดยเปลี่ยนความคิดว่า ถ้าเราได้พูดออกไปแล้วจะได้รู้ว่าคนอื่นคิดอย่างไรกับคำพูดของเรา จะได้ปรับจูนซึ่งกันและกันต่อไป

สิ่งที่เคยเกิดขึ้นบ่อยๆ คือ
 คิดว่าจะว่ากล่าวตักเตือนลูกน้องก็ไม่กล้า กลัวคิดมาก
 อยากจะนำเสนอความคิดเห็น ก็กลัวคนอื่นไม่ยอมรับ
 ไม่แน่ใจว่าใช้คำถามแบบนี้จะดีหรือไม่
 จะชมคนที่ทำดี กลัวเขาว่าเสแสร้ง
 หาเรื่องคุยในวงสังคมที่ไม่คุ้นเคยไม่ได้

ดี๋ยวนี้ผมมีความกล้ามากขึ้น โดยการปรับเปลี่ยนแนวคิดใหม่คือ การพูดกับผู้อื่นนั้น เราต้องการสื่อสารเพื่อเข้าใจความคิดของเขามากกว่าอยากให้เขาเข้าใจเรา ทำให้สบายใจที่จะพูดมากขั้น เพราะเมื่อพูดไปแล้วก็จะตั้งใจฟัง หรือพยายามรับรู้ความรู้สึกนึกคิดของเขา เพื่อจะได้สื่อสารหรือพูดคุยต่อ ไม่ใช่ต้องการคำตอบทำให้ไม่เครียด เพราะคำตอบหรือความคิดเขาจะเป็นอย่างไร เราก็ฟังได้เพราะเราไม่ได้มีคำตอบในใจของเรา

ในที่ทำงานจะมีบรรยากาศแบบเงียบ เห็นด้วย ในห้องประชุม แต่พอออกจากห้องประชุมมาก็มาจับกลุ่มกันคุยว่าเมื่อกี้นี้น่าจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้มากกว่านะครับ อะไรเป็นสาเหตุให้เป็นเช่นนั้นคะ

ส่วนใหญ่เราจะได้คำตอบว่าคนที่นี่ไม่กล้าแสดงออก เค้าไม่ค่อยกล้าพูดครับ

ความสำคัญคือ เขาเหล่านั้นมีความคิดเห็น มีไอเดีย และอาจจะมีข้อมูลสำคัญที่เป็นประโยชน์อย่างมากกับองค์กรก็ได้ ใช่ไหมคะ แล้วเราจะทำอย่างไรดีจึงจะให้เขาได้แสดงความเห็นเหล่านั้นในห้องประชุมหรือในกลุ่มใหญ่มากกว่าแค่มาซุบซิบระหว่างกัน

ต้องโค้ชค่ะ ต้องสอนการสื่อสารครับ ต้องให้เขามีความมั่นใจในตนเองค่ะ ต้องให้เขาฝึกการนำเสนอครับ

คำตอบที่ผู้เขียนได้ยินบ่อยๆและมักเป็นโจทย์ให้เราได้ทำงานต่อค่ะ

ก่อนที่จะไปสู่ขั้นตอนการเทรนนิ่งเพื่อแก้ไขปัญหา เมื่อพูดคุยและฟังให้ดีๆหลายครั้งจะพบว่าปัญหาเกิดจากความไม่ไว้วางใจกันในองค์กร คือไม่เชื่อใจว่าหากพูดหรือนำเสนอสิ่งที่แตกต่างออกไปจะเกิดผลเสียอะไรบ้างกับตัวเอง หัวหน้าไม่ชอบใจ เพื่อนหมั่นไส้ พูดแล้วงานเข้ากลายเป็นงานงอก หรือไม่เป็นที่ถูกใจของผู้ใหญ่ในที่นั้น

สิ่งที่คนมีความเห็นหรือมีไอเดียจะทำคือ เงียบ เก็บงำความคิดของตัวเองไว้ เพื่อความปลอดภัยของตัวเอง เออ-ออไปกับคนส่วนใหญ่สบายใจและปลอดภัยที่สุด

ลองจำลองสถานการณ์ดูว่าเรื่องเล็กน้อยแบบนี้จะนำไปสู่อะไรได้อีกบ้าง

รู้แต่เฉย นำไปสู่การไม่ได้ป้องกันเรื่องที่สามารถคาดเดาได้ ทำให้พลาดโอกาสดีๆทางธุรกิจ หรือไม่สามารถป้องกันเหตุบางอย่างได้ทันท่วงทีก่อให้เกิดความเสียหายมากกว่าที่คิด เป็นต้น

กรณีแบบนี้ การแก้ไขปัญหาด้วยการจัดเทรนนิ่งเรื่องการสื่อสาร การนำเสนอ หรือการสร้างความมั่นใจในการพูดในที่ประชุมอาจจะไม่ได้ผลลัพธ์เท่าที่ตั้งใจไว้ เพราะผู้เรียนเข้าใจทฤษฎีและมีทักษะแล้ว แต่ไม่มีความกล้าที่จะนำมาปฏิบัติจริงในที่ทำงาน เมื่อสาเหตุยังคงอยู่การแก้ไขจากปลายเหตุจึงยังไม่ได้ผลตามต้องการ

การแก้ที่ต้นเหตุต้องใช้เวลาและความตั้งใจอย่างสูงรวมทั้งใช้ระยะเวลานานพอสมควร แต่เมื่อแก้ได้แล้วปัญหาทั้งหมดก็จะคลี่คลาย เรียกว่าถ้าแก้ได้ก็คือรีเซ็ตบรรยากาศทั้งหมดได้เลย

ปัญหาต้นเหตุ เช่น ผู้ใหญ่หรือหัวหน้าสถานะที่สูงกว่ามาก แตะต้องไม่ได้ พูดอะไรก็ถูกหมด ลูกน้องกลัวไม่กล้าเห็นต่าง เราอาจจะเริ่มที่ทำอย่างไรให้คนเชื่อมใจกันได้มากขึ้น ยอมรับความเห็นกันมากขึ้นโดยไม่กระทบกระเทือนต่อความสัมพันธ์ ทุกคนมีประโยชน์ขององค์กรเป็นเป้าหมายสูงสุดร่วมกัน เป็นต้น

แม้ว่าการเริ่มต้นแก้ปัญหาจากรากจะต้องใช้ความกล้าหาญและพลังงานอย่างสูง แต่ผลที่ได้ก็คล้ายกับไม้ยืนต้นที่ซ่อมแซมรากให้แข็งแรง ลำต้นก็กลับมาแข็งแรง กิ่งก้านก็แผ่ขยายได้อย่างมั่นคง เมื่อต้นไม่กลวง รากแข็งแรง ต้นไม้ต้นนี้ก็ให้ดอกผลสม่ำเสมอ เอาตัวรอดจากลมพายุ ภัยแล้ง โรคแมลง และมีอายุยืนยาวได้แน่นอนค่ะ

เด็กๆแต่ละคนมีความหลากหลายของอารมณ์และการแสดงออก เด็กบางคนเรียบร้อย บางคนขี้อาย หรือบางคนเป็นเด็กร่าเริงสมวัย ซึ่งคุณแม่หลายท่านก็คงอย่างให้ลูกมีจิตใจดี ร่าเริงสมวัย และยิ่งได้แสดงออกทางด้านอารมณ์ที่เหมาะสมตามวัยก็จะเป็นเรื่องที่ดีมากค่ะ แต่ถ้าลูกเป็นเด็กขี้อาย ไม่ชอบแสดงออก หรือไม่ชอบพบปะผู้คนจะทำยังไงดี

สาเหตุที่ลูกไม่กล้าแสดงออก

1.อาจจะเป็นเด็กที่ปรับตัวช้าเอง เด็กกลุ่มนี้จะพบอยู่ไม่มากประมาณ ร้อยละ 15 เปอร์เซ็นเท่านั้น เด็กกลุ่มนี้จะใช้เวลาซักพักในการปรับตัวหรือสร้างความคุ้นเคยกับคนแปลกหน้า และถ้าเริ่มคุ้นเคยกันแล้วก็จะแสดงพฤติกรรมตามปกติ

2.เกิดจากการเลี้ยงดูที่ ช่วยเหลือเด็กมากเกินไป ผู้ที่เลี้ยงดูเด็ก คุณพ่อคุณแม่ รวมไปถึง ปู่ย่า ตายาย ด้วย มักจะช่วยเหลือเด็กทันทีที่เห็นว่าเด็กทำอะไรบางอย่างช้าไม่ทันใจ เด็กกลุ่มนี้จึงติดที่จะอ้อนให้ผู้ใหญ่คอยทำเรื่องต่างๆให้ เช่น ให้ป้อนข้าว ให้อาบน้ำ แต่งตัว สิ่งที่ทำให้เหล่านี้จะเกิดผลเสียกับเด็กคือ เด็กจะไม่สามารถทำอะไรได้สำเร็จเลย หรือ ถ้าทำได้ก็จะช้ากว่าเพื่อนรุ่นเดียวกัน และจะทำให้เด็กไม่มีความมุ่งมั่นที่จะทำอะไรให้สำเร็จได้ด้วยตัวเอง

3.ห้ามเด็กทำนู้นทำนี่มากเกินไป ตามใจมากก็ไม่ดี ห้ามไม่ให้ทำอะไรก็ไม่ดีค่ะ อย่างเช่น ลูกอยากใช้ช้อนตักข้าวกินเองก็ห้าม เพราะว่าเดี๋ยวจะหก ห้ามวิ่งเดี๋ยวจะล้ม ห้ามทำอย่างนี้เดี๋ยวจะเป็นอันตราย การห้ามเด็กไม่ให้ทำอะไรมากเกินไปทำให้เด็กไม่อยากทำอะไรด้วยตัวเอง และไม่ค่อยกล้าคิดกล้าตัดสินใจอะไรเองเลย เด็กจะเกิดความเครียด เพราะคิดว่าไม่ทำดีกว่าเพราะถ้าทำไปแล้วอาจโดนดุ หรือ โดนห้ามไม่ให้ทำ การห้ามเด็กมากจนเกินไปนี้ทำให้เด็กไม่สามารถทำอะไรสำเร็จเลยซักอย่าง

 

ฝึกให้ลูกกล้าแสดงออก ทำได้ดังนี้

1.ให้เด็กได้ทำอะไรด้วยตัวเองมากๆ ถ้าเด็กได้ทำเองบ่อยๆจะเกิดความเคยชินว่า ฉันทำได้ ฉันเก่ง เช่น ให้ใส่รองเท้าเอง กินข้าวเอง ถือของๆตัวเอง ถ้าได้ทำมากๆแล้วเด็กจะเริ่มมีความคิดอยากทำอะไรด้วยตัวเองไม่ต้องอ้อนผู้ใหญ่ทุกเรื่องอีกแล้ว

2.สอนให้รู้จักว่าอะไรที่จะทำให้เกิดอันตราย การสอนมีหลายแบบ เช่น ยกตัวอย่าง ยกตัวอย่างจากนิทาน ลองทำให้ดู สอนและบอกหลายๆครั้งลูกจะเข้าใจเอง เพราะถ้าไปห้ามอย่างเดียวลูกก็จะไม่เข้าใจ

3.ให้ลูกแสดงออกเล็กๆน้อยๆในบ้านไปก่อน เช่น เปิดเพลงให้เต้นกันในบ้าน เต้นให้คนในบ้านดูก่อนที่จะให้เด็กขึ้นไปเต้นจริงบนเวที เมื่อชินกับคนที่บ้านแล้วก็ลองเต้นกับเพื่อนๆหรือญาติไปก่อน ถ้าเด็กเกิดความเคยชินมากขึ้นแล้วก็จะกล้าขึ้นไปเต้นบนเวทีที่โรงเรียนแน่นอน

การปรับเปลี่ยนการแสดงออกต่างๆของเด็กต้องใช้เวลา บางคนอาจช้าบางคนอาจจะปรับตัวได้เร็วไม่เหมือนกัน คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรคาดหวังว่าเมื่อไหร่จะดีขึ้น เพราะบุคลิกของเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกันนั้นเอง