วิธีกระตุ้นความกล้าแสดงออก

เด็กแต่ละคนก็มีนิสัยแตกต่างกัน เด็กบางคนอาจจะรู้สึกไม่ค่อยมั่นใจเวลาที่เจอสถานการณ์ใหม่ๆ หรือได้เจอใครที่ไม่คุ้นหน้าแต่สักพักก็ปรับตัวได้ ในขณะที่เด็กบางคนชอบเก็บตัวอยู่เงียบๆ ไม่กล้าพูดคุยกับใคร ประหม่า พูดตะกุกตะกัก และสิ่งที่เห็นได้ชัดคือมักจะยืนเกาะขาของคุณพ่อ คุณแม่ หากปล่อยไว้นานๆ อาจมีปัญหาด้านการเรียนรู้ การอยู่ร่วมกันกับเพื่อนๆ และอาจกลายเป็นโรคกลัวสังคมในอนาคต ดังนั้น เราจึงควรส่งเสริมให้ลูกรักเป็นเด็กที่มีความมั่นใจในตัวเอง กล้าคิด และกล้าแสดงออกกันด้วย 8 เทคนิคดังต่อไปนี้ค่ะ  

1. เปิดโอกาสให้ลูกได้มีอิสระในการเรียนรู้ด้วยตนเอง

วิธีกระตุ้นความกล้าแสดงออก

อย่าเพิ่งจำกัดการเรียนรู้ด้วยคำว่า “ไม่ใช่” ไม่ได้” และ “ไม่เหมือน” เลยนะคะ ลองปล่อยให้ลูกคิด ถาม ทำ และให้เขาลองแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองดูก่อน หากเขาทำได้แล้วเขาจะมีความมั่นใจมากยิ่งขึ้น

2. ลดการลงโทษลงบ้าง

วิธีกระตุ้นความกล้าแสดงออก

หากเราลงโทษ ดุ ด่าลูกมากเกินไป จะทำให้ลูกกลัวและขาดความมั่นใจในตัวเอง ไม่กล้าพูด ไม่กล้าตอบคำถามเพราะกลัวว่าตอบผิดไปแล้วจะโดนดุ

3. พาไปทำกิจกรรมใหม่ๆ

วิธีกระตุ้นความกล้าแสดงออก

เพื่อให้ลูกรู้สึกคุ้นเคยกับการอยู่ร่วมกับผู้อื่น เช่น สวนสาธารณะ สวนสัตว์ สวนสนุก หรือพิพิธภัณฑ์เด็ก

4. ไม่ให้ใช้ไอแพด/แท็บเล็ตมากเกินจำเป็น

วิธีกระตุ้นความกล้าแสดงออก

ส่วนใหญ่เด็กที่ติดไอแพดจะชอบอยู่แต่หน้าจอนานๆ ถ้าเราบอกให้ทำอะไร เขาจะโมโห ฉุนเฉียว หรือทำสิ่งนั้นเร็วๆ เพื่อจะได้รีบไปดูการ์ตูนหรือเล่นเกมต่อ ถ้าลูกเราเป็นเด็กขี้อายแล้วด้วย ก็จะยิ่งทำให้ลูกเก็บตัวและไม่สนใจผู้อื่นมากขึ้น ดังนั้นลองหากิจกรรมอื่น เช่น เล่านิทาน เล่นของเล่น หรือออกกำลังกายมาเป็นกิจกรรมที่สลับให้ลูกทำบ้างจะดีกว่าค่ะ

5. สังเกตความถนัดของลูก

วิธีกระตุ้นความกล้าแสดงออก

เด็กบางคนชอบตัวเลข เด็กบางคนเด่นภาษา เด็กบางคนชอบทำการทดลอง และเด็กบางคนก็ชอบกิจกรรมเคลื่อนไหว เราลองสังเกตความถนัดของลูกว่าเขาชอบอะไร และช่วยพัฒนาให้ถูกจุด ลูกก็จะทำสิ่งๆ นั้นได้ดี

6. สอนให้ลูกกล้ายอมรับผิด

วิธีกระตุ้นความกล้าแสดงออก

เราต้องบอกลูกว่าคนที่ทำผิดแล้วกล้ายอมรับผิดเป็นสิ่งที่ดี และคราวหน้าอย่าทำอีกก็เพียงพอแล้ว หากเราดุว่าลูกด้วยถ้อยคำแรงๆ เขาจะไม่กล้าพูดและต่อไปอาจกลายเป็นเด็กชอบโกหก

7. ให้คนเก่งช่วยพิชิตงานในบ้าน

วิธีกระตุ้นความกล้าแสดงออก

เริ่มจากการดูแลตัวเองง่ายๆ ก่อน เช่น การกินข้าว อาบน้ำ สระผม หัดแต่งกายด้วยตนเอง เมื่อเขาทำได้ดีแล้ว ค่อยให้ลูกช่วยงานในบ้าน เช่น เก็บของเล่นและหนังสือให้เข้าที่เรียบร้อย เพื่อฝึกให้ลูกมีความรับผิดชอบและมีน้ำใจต่อคนในบ้านเพิ่มมากขึ้น

8. ถ้าลูกทำดีอย่าลืมให้คำชม

วิธีกระตุ้นความกล้าแสดงออก

ข้อนี้สำคัญอย่างมากเลยค่ะ เพราะตัวเราเองยังอยากได้คำชมเลยใช่ไหมล่ะคะ หัวใจดวงน้อยของเด็กๆ ก็เช่นเดียวกัน เมื่อเขาทำสิ่งใดได้ดีแล้ว คุณพ่อ คุณแม่ให้คำชม เขาจะยิ่งมีความภาคภูมิใจ มั่นใจ และกล้าที่จะทำสิ่งอื่นเพิ่มมากขึ้น

ข้อดีของการเป็นเด็กที่กล้าแสดงออก

  1. มีความมั่นใจในตัวเอง
  2. กล้าคิด กล้าพูด กล้าทำในสิ่งที่ดี
  3. กล้าขอความช่วยเหลือเมื่อถูกเพื่อนแกล้ง
  4. อยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้ง่าย
  5. รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายได้ดี

การฝึกให้ลูกกล้าแสดงออกนั้นอาจจะต้องใช้เวลาสักหน่อย แต่ถ้าหากคุณพ่อ คุณแม่ส่งเสริมเขาอย่างสม่ำเสมอ และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ลูกน้อยก็จะมีความมั่นใจและเป็นเด็กที่กล้าคิด กล้าแสดงออกแล้วล่ะค่ะ

โดยธรรมชาติแล้ว เด็ก ๆ จะมีความกล้าแสดงออกในตัวอยู่แล้วเป็นทุนเดิม แต่จะมีมากหรือน้อยนั้นก็ขึ้นอยู่กับ สภาพแวดล้อม และการเลี้ยงดูของแต่ละครอบครัว และจากการที่บางครอบครัวมีการเลี้ยงดูที่บังคับและเข้มงวดเกินไป ทำให้มีเด็กจำนวนไม่น้อยต้องกลายเป็นคนที่ไม่กล้าแสดงออก และเมื่อบ้านซึ่งถือว่าเป็นสถาบันเริ่มต้นของการใช้ชีวิต กลับทำให้เด็กเป็นคนไม่ชอบการแสดงออก เมื่อมาโรงเรียน ครูอาจจะใช้ระบบบังคับมากกว่าสร้างให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน จึงทำให้เด็กไม่กล้าพูด หรือไม่กล้าแม้แต่จะแสดงความคิดเห็น เพราะมองว่าการอยู่เฉยๆ เป็นเรื่องที่ปลอดภัยมากกว่า 6 วิธี สร้างเด็กกล้าแสดงออก จึงเป็นอีกแนวทางที่คุณครูสามารถใช้เสริมสร้างพลังบวกด้านการกล้าแสดงออกของเด็กๆ ได้ มาดูกันเลยว่ามีวิธีอะไรกันบ้าง

1. สร้างแบบอย่างที่ดี

ตามทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมของ อัลเบิร์ต แบนดูรา นักจิตวิทยาชาวแคนาดา ที่เชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์นั้น เกิดจากการสังเกตผ่านตัวแบบ ซึ่งถ้าเป็นไปตามทฤษฎี คุณครูควรสร้างรูปแบบห้องเรียนให้เด็กๆ มีโอกาส ได้แสดงออกหรือแสดงความคิดเห็นอย่างสม่ำเสมอ การให้เกียรติและเปิดโอกาสให้เขาได้มีช่วงเวลาเล่าถึงประสบการณ์ต่างๆที่เขาพบเจอ หรือให้นำเสนองานต่างๆในรูปแบบที่เขาคิดขึ้นมาเอง วิธีการนี้จะทำให้เด็กได้มีพื้นที่ในการแสดงออกถึงความสามารถ และยังกลายเป็นแบบอย่างให้กับเด็กคนอื่นๆ อยากลุกขึ้นมามีบทบาทด้วยเช่นกัน

2. ไม่เร่งไม่บังคับ

บ่อยครั้งที่ครูอย่างเรามักจะให้เด็กออกมานำเสนอ หรืออภิปรายหน้าชั้นเรียนในเรื่องต่างๆ โดยการเรียกตามโต๊ะ เรียกตามเลขที่ หรือสุ่มเรียกตามอักษรชื่อ ซึ่งอาจจะไม่ใช่วิธีที่ดีนักในการส่งเสริมให้เด็กมีความกล้าแสดงออกนั้น คุณครูและผู้ปกครองควรมีส่วนร่วมช่วยกันสร้างไปพร้อม ๆ กัน คุณครูทุกท่านก็สามารถนำวิธีการต่างๆ นี้ไปปรับใช้ได้ให้เหมาะสมกับบริบทของตนเองได้ ดั่งคำคมที่ว่า “ ไม่มีวิธีใดที่จะสอนเด็กๆ ของเราให้กล้าแสดงออกได้ดีไปกว่าการแสดงให้เขาเห็นว่าต้องทำอย่างไร” ขอเป็นกำลังใจให้กับคุณครูทุกๆ ท่านค่ะ