การย้ายถิ่นฐานแบ่งได้กี่รูปแบบอะไรบ้าง

    การย้ายถิ่น (Migration) หมายถึง การเคลื่อนย้ายทางประชากรจากพื้นที่หนึ่งไปอยู่ยังอีกพื้นที่หนึ่งประเภทของการย้ายถิ่น1. ย้ายถิ่นเข้า (Immigration)2. ย้ายถิ่นออก (Emigration)3. การย้ายถิ่นระหว่างประเทศ (International migration)4. การย้ายถิ่นภายในประเทศ (Internal migration)     

 สาเหตุของการย้ายถิ่น                                                                                                                                           

 1. ปัจจัยผลัก (Push factors)                                                                                                                   

 -ด้านเศรษฐกิจ เช่น การว่างงาน ค่าครองชีพ                                                                                      

-ด้านสังคมวิทยา เช่น คุณภาพชีวิต ปัญหาอาชญากรรม ความหนาแน่นของประชากร                       

-ด้านคุณภาพของการบริการทางสังคม เช่น การศึกษา                                                                   

   2. ปัจจัยดึง (Pull factors)                                                                                                                   

   -ด้านเศรษฐกิจ เช่น มีที่อยู่อาศัยที่ดีขึ้น ความสะดวกในด้านการศึกษาหาความรู้                              

  -ด้านกายภาพ เช่น สภาพภูมิอากาศดี                                                                                       

 องค์ประกอบของการย้ายถิ่น                                                                                                        

 อาร์. พี. เชาว์ (R. P. Shaw) ได้เสนอว่า การย้ายถิ่นจะมีความสัมพันธ์กับองค์ประกอบด้านเศรษฐกิจและสังคมต่าง ๆ ดังนี้

   1.การย้ายถิ่นมีความสัมพันธ์เชิงลบกับอายุกล่าว คือ สัดส่วนของการย้ายถิ่นจะลดลงเมื่อประชากรมีอายุเพิ่มขึ้น ช่วงอายุที่มีการย้ายถิ่นมากจะอยู่ระหว่าง 20-29 ปี                                                         

 2.เพศชายและเพศหญิงมีสัดส่วนของการย้ายถิ่นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ                              

3.ระดับการศึกษามีความสัมพันธ์กับการย้ายถิ่นคือ คนที่มีการศึกษามากจะมีการย้ายถิ่นมาก          

4.กลุ่มอาชีพนักบริหารและผู้เชี่ยวชาญ จะมีการย้ายถิ่นมากกว่ากลุ่มอาชีพอื่น ๆ และกลุ่มอาชีพแรงงานที่มีฝีมือ จะมีการย้ายถิ่นในระยะทางที่ไกลกว่ากลุ่มอาชีพอื่น                                                 

5.คนที่อาศัยอยู่บ้านเช่า จะมีการย้ายถิ่นมากกว่าคนที่มีบ้านอยู่อาศัยเป็นของตนเอง                         

6.การเคลื่อนที่ในการย้ายถิ่นมีความสัมพันธ์กับตัวแปรด้านอาชีพมากกว่าตัวแปรด้านวงจรชีวิต(Life-cycle)                                                                                                                                       

 7.ระยะทางเป็นปัจจัยต่อต้านการย้ายถิ่น แต่โดยทั่วไปคนจะมีการย้ายถิ่นไปอยู่ในที่ต่าง ๆ ตั้งแต่ 2 แห่งเป็นต้นไป มากกว่าจะไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในที่ใดที่หนึ่งเพียงแห่งเดียวเท่านั้น                               

 8.การย้ายถิ่นของประชากรมักจะเป็นการย้ายถิ่นจากเมืองเล็ก ๆ ไปเมืองที่ใหญ่กว่าหรือจากใจกลางเมืองออกไปอยู่ยังชานเมือง                                                                                                               

 9.การพัฒนาทางสังคมจากสังคมชนบทที่มีพื้นฐานทางเกษตรกรรมไปเป็นสังคมที่มีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี อันเป็นผลทำให้เกิดความแตกต่างเกี่ยวกับปัจจัยด้านเศรษฐกิจ เช่น รายได้ และการไม่มีงานทำ ระหว่างพื้นที่ต่าง ๆ จะมีอิทธิพลทำให้เกิดการย้ายถิ่น                         

10.การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ และการเกิดการเติบโตอย่างรวดเร็วของศูนย์กลางเมืองจะเป็นผลทำให้เกิดการย้ายถิ่นเป็นอย่างมากระหว่างชนบทกับเมือง                                                                       

11.การตัดสินใจของแต่ละบุคคลในการย้ายถิ่นจะได้รับอิทธิพลมาจากอาชีพ และเศรษฐกิจ         

12.การย้ายถิ่นจะมีความสัมพันธ์กับการย้ายงาน การเปลี่ยนอาชีพ การย้ายสถานศึกษา                 

  13.การย้ายถิ่นจะได้รับอิทธิพลจากปัจจัยดึงที่ทำให้เกิดรายได้ที่สูงขึ้นในที่แห่งใหม่มากกว่าปัจจัยผลักที่คาดว่าจะมีรายได้ลดลงในการทำงานในที่แห่งเดิม                                                               

14.คนที่ไม่มีงานทำจะมีการย้ายถิ่นมากกว่าผู้ที่มีงานทำ                                                                 

 15.การย้ายถิ่นระหว่างพื้นที่มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและตลอดเวลา                            

16.การย้ายถิ่นไม่สามารถนำไปอธิบายพฤติกรรมของบุคคลอย่างมีเหตุผลว่า เป็นการแสวงหาผลตอบแทนสูงสุด มากกว่าค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ต้องใช้                                                                     

 17.ผู้ย้ายถิ่นที่คำนึงถึงค่าใช้จ่ายและผลตอบแทนที่เกิดจากการย้ายถิ่น จะมีความสัมพันธ์กับการศึกษาและข่าวสารที่เขาจะได้รับจากที่แห่งใหม่ที่เขาจะย้ายเข้าไปอยู่                                           

 18.หากบุคคลมีสภาพความเป็นอยู่ไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตตามที่เขาคาดหวังไว้ เขาเหล่านั้นก็จะย้ายถิ่นไปอยู่ในที่แหล่งใหม่                                                                                                                  

 19.การย้ายถิ่นของคนสามารถจำแนกได้เป็น 3 ระดับ คือ กลุ่มที่ย้ายถิ่นเป็นประจำกลุ่มที่ย้ายถิ่นปานกลาง และกลุ่มที่ย้ายถิ่นน้อยหรือไม่ย้ายถิ่นเลย                                                                                

20.บุคคลที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเป็นเวลานาน จะมีแนวโน้มที่จะย้ายถิ่นออกไปอยู่ที่อื่นน้อยกว่าบุคคลอาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นในระยะสั้น ๆ

ปัญหาการอพยพย้ายถิ่นของประชากรไทย
             การดำรงชีวิตของประชากรขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างที่เอื้ออำนวย แต่ถ้าเกิดฝนแล้ง ขาดแคลนอาหาร ไม่มีงานทำ ค่าจ้างแรงงานต่ำ จะเป็นเหตุให้ประชากรอพยพย้ายถิ่นเข้าไปในเขตเมืองหรือชุมชนที่มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ทันที จึงก่อให้เกิดปัญหาทั้งต้นทาง และปัญหาปลายทางที่อพยพต่าง ๆ ดังนี้
ปัญหาต้นทาง ได้แก่
- ขาดแคลนแรงงานวัยหนุ่มสาว
- ขาดการพัฒนาชนบท
- ขาดผู้สืบทอดวัฒนธรรมท้องถิ่น
- ชนบทเงียบเหงา มีเฉพาะวัยเด็กและวัยชรา
ปัญหาปลายทาง ได้แก่
- เกิดปัญหาชุมชนแออัด
- เกิดปัญหาคนจรจัด
- เกิดปัญหาจราจรติดขัด
- เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ เช่น อากาศ เสียง ขยะมูลฝอย เป็นต้น
- เกิดปัญหาอาชญากรรม
- เกิดปัญหายาเสพย์ติด
- เกิดปัญหาความเครียดทางจิตใจ
- เกิดปัญหาการบริการทางสังคมไม่ทั่วถึง


สรุป การย้ายถิ่นของประชากรไทยยังมีปัญหาอยู่มาก เพราะปัญหาที่จะตามมาก็คือสังคมเมืองเต็มไปด้วยผู้คน และเกิดการลักขโมยหรืออาชญากรเพิ่มมากขึ้น จากกราฟจะเห็นได้ว่าเพศชายจะย้ายถิ่นมากกว่าเพศหญิงเพื่อหาเงินสร้างเนื้อสร้างตัวเพื่อนำไปสร้างครอบครัว และอายุที่ย้ายถิ่นฐานกันมากก็คืออายุ 25-59 ปี วัยผู้ใหญ่ เพราะวัยนี้มักอยากจะสร้างฐานะครอบครัวให้มีหลักแหล่ง และจะย้ายในภาคเดียวกันมากกว่าระหว่างภาค

               

                ข้อแนะนำ

1. ความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างผู้คนในเมืองจะต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับชาวชนบท
2. ความสัมพันธ์ทางสังคมของผู้คนในเมืองส่วนใหญ่จะเป็นความสัมพันธ์ที่ไม่มีความเป็นส่วนตัว มีความผิวเผิน ชั่วครั้งชั่วคราว และเป็นความสัมพันธ์เฉพาะด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น ผู้คนมีความสัมพันธ์กับคนอื่นก็เพื่อเป็นแนวทางที่จะทำให้ตนเองบรรลุเป้าหมาย ผู้คนที่ไม่มีความผูกพันอย่างใกล้ชิดกันในทางด้านอารมณ์ ทำให้เกิดการแข่งขัน ส่วนผู้คนในชนบทจะมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมีสัญชาตญาณของความร่วมมือกัน
3. เมื่อเทียบกับชาวชนบทแล้ว ผู้คนที่อยู่ในเมืองมักเป็นสมาชิกของหลายๆ กลุ่ม จึงทำให้ผู้คนขาดจิตสำนึกที่จะจงรักภักดีต่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ผู้คนจะมีการสังสรรค์ทางสังคมคบหาสมาคมกับบุคลอื่นมากกว่า

การย้ายถิ่นฐานมีอยุ่ กี่แบบ อะไรบ้าง

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากพื้นที่หรือพรมแดนนั้นสามารถได้รับการแบ่งได้หลายระดับ ดังนั้นเมื่อใช้พื้นที่ ระดับประเทศเป็นเกณฑ์จึงสามารถแบ่งลักษณะการย้ายถิ่นออกเป็น 2 ระดับได้ดังนี้ คือ การย้ายถิ่น ภายในประเทศ (internal migration) และการย้ายถิ่นระหว่างประเทศหรือการย้ายถิ่นข้ามชาติ (International Migration) (เพ็ญพร ธีระสวัสดิ์, ...

การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีกี่รูปแบบ

การตั้งถิ่นฐาน สามารถจำแนกได้เป็น ๒ ลักษณะ คือ การตั้งถิ่นฐานในเมือง และการตั้งถิ่นฐานในชนบท

การย้ายถิ่นฐานของโลก มี 3 ลักษณะอะไรบ้าง

การย้ายถิ่นระหว่างประเทศมีนัยยะที่ส าคัญเป็นอย่างมากในยุคโลกาภิวัตน์อันเป็นผลมาจาก องค์ประกอบอย่างน้อย 3 ประการ คือ 1. การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัยของการคมนาคมและการสื่อสารน ามาซึ่งความ 3. การรองรับสิทธิในการย้ายถิ่นผ่านสถาบันและกฎหมายระหว่างประเทศบนพื้นฐานของสิทธิ

การย้ายถิ่นฐานมีปัจจัยมาจากอะไร

ปัจจัยผลักดันการเคลื่อนย้ายถิ่น ฐาน 1. เศรษฐกิจ 2. สังคม 3. วัฒนธรรม 4. การเมือง