ระบําสร้างสรรค์ มีอะไรบ้าง

ระบําสร้างสรรค์ มีอะไรบ้าง


                                                      การแสดงพื้นบ้าน - ระบำเก็บพริกไทย

                         ระบำเก็บพริกไทย - แนวคิดในการประดิษฐ์ท่ารำระบำเก็บพริกไทย เนื่องจาก วิทยาลัยนาฏศิลป
     จันทบุรีมีหน้าที่จะต้องอนุรักษ์ และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมทางด้านนาฏศิลป์ไทยและดนตรีไทย รวมถึงการอนุรักษ์และการ
     แสดงศิลปพื้นเมืองทางภาคตะวันออก แต่เนื่องจากการแสดงศิลปพื้นเมืองภาคตะวันออก ไม่ค่อยมีเด่นชัดนัก ทางคณะครู
     อาจารย์สายนาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรี จึงได้ประดิษฐ์ชุดการแสดงขึ้นตามสภาพความเป็นอยู่ของท้องถิ่นใน
     จังหวัดจันทบุรี

     จากคำขวัญของจังหวัดจันทบุรีที่ว่า " น้ำตกลือเลื่อง เมืองผลไม้ พริกไทยพันธุ์ดี อัญมณีมากเหลือ เสื่อจันทบูร สมบูรณ์ธรรมชาติ 
     สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รวมญาติกู้ชาติที่จันทบุรี " นั้นจะเห็นว่า จังหวัดจันทบุรีเป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์จังหวัด
     หนึ่ง มีทั้งน้ำตกที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม มีอัญมณีที่มีหลายชนิด มีเสื่อที่เป็นหัตถกรรมที่เป็นที่รู้จักกัน
     แพร่หลาย มีผลไม้และพริกไทยซึ่งเป็นสินค้าที่เป็นรายได้ให้แก่ประชาชนชาวจังหวัดจันทบุรีได้อย่างดียิ่ง ชาวจังหวัดจันทบุรี
     ส่วนใหญ่มีอาชีพหลักคือการทำเกษตร ได้แก่ การทำสวนผลไม้และการทำสวนพริกไทย ทางคณาจารย์สายนาฏศิลป์ไทย 
     วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรี เห็นว่าพริกไทยเป็นพืชเศรษฐกิจของจันทบุรีอย่างหนึ่งและมีขั้นตอนวิธีการที่น่าสนใจ จึงได้นำ
     ขั้นตอนการผลิตพริกไทยมาประดิษฐ์เป็นท่ารำ โดยนำมาดัดแปลงให้เข้ากับวิธีการผลิตดังกล่าว ระบำเก็บพริกไทยใช้ผู้แสดง
     เป็นหญิงล้วน ประมาณ ๖-๘ คน

ระบําสร้างสรรค์ มีอะไรบ้าง
    การแต่งกาย วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรีได้ดัดแปลงการแต่งกายของผู้แสดง เพื่อ
    ให้เกิดความสวยงาม โดยผู้แสดงนุ่งผ้าซิ่นยาวกรอมเท้า ห่มผ้าแถบแล้วนำชายผ้า
    พาดไหล่ขวา ( ทำคล้ายลักษณะแขนเสื้อ ) ปล่อยผมทัดดอกไม้และประดับด้วย
    เครื่องประดับ เช่น สร้อยคอ ต่างหู กำไล และเข็มขัด เป็นต้น

    อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการแสดง

    1. กระบุงใช้สำหรับใส่พริกไทยเมื่อเก็บจากต้นแล้วนำไปตาก
    2. กระด้งใช้สำหรับยีเอาเม็ดพริกไทยออกจากก้านงวง
     ดนตรี ดนตรีที่ใช้บรรเลงในการแสดงชุดระบำเก็บพริกไทยเป็นวงปี่พาทย์ไม้นวมนายฐิระพล น้อยนิตย์ อาจารย์วิทยาลัย
     นาฏศิลป ได้ประดิษฐ์ทำนองเพลงให้เมื่อครั้งมาช่วยราชการที่วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรี เมื่อปีการศึกษา ๒๕๒๗ - ๒๕๒๘



ระบําสร้างสรรค์ มีอะไรบ้าง


ระบำทอเสื่อ 


                 เสื่อ เป็นหัตถกรรมพื้นบ้านของชาวจังหวัดจันทบุรี โดยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีพระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗                              ทรงฟื้นฟูการทอเสื่อขึ้น เมื่อครั้งประทับอยู่ ณ วังสวนบ้านแก้วทรงหากรรมวิธีย้อมสีเสื่อ ออกแบบลาย และออก
     แบบรูปทรงต่าง ๆ ของวัสดุที่ทำด้วยเสื่อจนเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นหน้าตาของจังหวัดจันทบุรี

ระบําสร้างสรรค์ มีอะไรบ้าง
    คณาจารย์ของวิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรี ได้นำวิธีการทอเสื่อมาประดิษฐ์เป็นท่ารำ
    โดยเริ่มจากการตัดกก จักกก ย้อมสีกก ตลอดจนการทองเป็นผืนเสื่อ ทั้งนี้โดยได้
    รับการแนะนำจากอาจารย์สิริวิภาทิพย์สมบัติบุญ สถาบันราชภัฏรำไพพรรณี

    ผู้แสดงเป็นหญิงล้วนประมาณ ๖-๙ คน
     การแต่งกาย สวมเสื้อแขนกระบอกผ่าหน้า นุ่งผ้าถุงกรอมเท้า ผมเกล้าทำมวยสูงกลางศีรษะ ทัดดอกไม้ เครื่องประดับได้แก่ 
     ต่างหู สร้อยข้อมือ เข็มขัดถ อุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบการแสดง ๑. มีด ใช้สำหรับตัดต้นกกถ ๒. ผืนเสื่อถ ดนตรี ดนตรีที่
     ใช้ในการแสดงระบำทอเสื่อ คือ วงปี่พาทย์ไม้แข็ง เพลงและจังหวะใช้จินตนาการไปตามลีลาท่ารำ ทำนองเพลงมีสำเนียงเขมร


ระบําสร้างสรรค์ มีอะไรบ้าง


การแสดงพื้นบ้าน - ระบำชอง


                                ระบำชอง - เป็นระบำที่แสดงถึงความสนุกสนานร่าเริงของชาวชองในจังหวัดจันทบุรี ที่มาจับกลุ่ม
     กันในงานเทศกาลและร่วมเต้นระบำด้วยกัน ผู้แสดงเป็นหญิงล้วน จำนวน ๖ - ๘ คน ( หรือแล้วแต่โอกาส ) จุดมุ่งหมายของ
     การแสดงเพื่อความสนุกสนานและสวยงาม

     การแต่งกาย การแต่งกายนุ่งผ้าถุงสีเขียว สวมเสื้อแขนสั้นสีขาว สวมเครื่องประดับ ต่างหู กำไลข้อมือสีทอง กำไลข้อเท้าเป็น
     ลูกกระพรวนและทัดดอกไม้แดง ดนตรี ดนตรีเป็นวงปี่พาทย์ไม้แข็ง โดยมีทำนองเพลงดนตรีไปทางสำเนียงเขมร



ระบําสร้างสรรค์ มีอะไรบ้าง



ระบำควนคราบุร 


                          " ควนคราบุรี " หมายถึง ชื่อเมืองจันทบุรี ตามหนังสืออักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทยกล่าวว่า มองซิเออร์ 
      เอเตียนน์ เอ โมนิเออร์ (Etienne Aymonier) ได้เขียนเรื่องราวไว้ในหนังสือ " แคมโบช " (Le Cambodage) เมื่อ ค.ศ. ๑๙๐๑ 
      มีบาทหลวงคนหนึ่งได้พบศิลาจารึกอักษรสันสกฤตที่บริเวณเขาสระบาป ( ปัจจุบันเขาสระบาปอยู่ในเขตอำเภอเมืองจังหวัด
      จันทบุรี ) มีข้อความว่าเมืองจันทบุรีได้ตั้งมาช้านาน ๑,๐๐๐ กว่าปีมาแล้ว ในเวลานั้นเรียกว่า " ควนคราบุร ี" ผู้สร้างเมืองชื่อ
      หาง หรือแหง คนพื้นเมืองเป็นพวกชอง

      อนึ่ง มีคำกล่าวกันว่า ไทยกับเขมรได้รบกันเมื่อ ค.ศ.๑๒๗๓ - ๑๓๙๓ ( พ.ศ. ๑๙๑๖ - ๑๙๓๖ ) เพื่อแย่งการครอบครองเมือง
      จันทบุรี ซึ่งบางทีเรียก จันทบุรี เขียนเป็นภาษาอังกฤษ CANDRAPURIการที่ CANDRAPURI ( คานคราบุรี ) กลายเป็น
      ควนคราบุรีไปนั้น สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากการออกเสียงของภาษาไทยแล้วนำไปเขียนเป็นภาษาอังกฤษ หรือจากการฟัง
      ภาษาอังกฤษแล้วนำมาพูดภาษาไทย

      แนวความคิดในการประดิษฐ์ระบำควนคราบุรี เนื่องจากจังหวัดจันทบุรีได้รับอิทธิพลทางศิลปะจากขอม มีหลักฐานทางศิลปะ
      วัฒนธรรมของขอมเหลืออยู่ เช่น ซากกำแพงเมืองเก่า ศิลาแกะสลักเทวรูป ศิลาจารึก ภาษาขอมและภาษาขอม เป็นต้นภาษา
      ขอม - ชื่อตำบลปัถวี อำเภอมะขาม มาจากคำเขมร " ปฐวี " แปลว่าแผ่นดิน 

ระบําสร้างสรรค์ มีอะไรบ้าง
    บ้านวังสรรพรส อำเภอขลุง เพี้ยนมาจากภาษาเขมร " สปปุรส " ข.สับโปะรอะส์
    หมายถึง ฆราวาส ผู้มีศรัทธาในศาสนา เป็นต้น จึงทำให้ผู้ประดิษฐ์มีแนวคิด
    ในการประดิษฐ์ท่ารำ การแต่งกาย ทำนองเพลง โดยใช้ศิลปะไทยผสมศิลปะ
    ของขอม

    ความหมายของระบำควนคราบุรี ระบำควนคราบุรี สมมุติถึงการร่ายรำของชาย
    หญิงชาวควนคราบุรี แสดงความสนุกสนานรื่นเริงในงานนักขัตฤกษ์ต่าง ๆ
    โดยร่วมกลุ่มกันจับระบำรำฟ้อน


     โอกาสที่ใช้แสดงระบำควนคราบุร ระบำควนคราบุรีนั้นสามารถใช้แสดงได้หลายโอกาส แบ่งตามจุดประสงค์ได้ดังนี้ 
     1. เป็นการแสดงให้เห็นถึงศิลปะของไทยผสมศิลปะขอม
     2. เป็นการแสดงให้เห็นว่าจังหวัดจันทบุรีเป็นแหล่งอารยธรรมเก่าแก่แห่งหนึ่งของไทย
     3. เพื่อให้แขกผู้มาเยือนหรือผู้อื่นรู้จักจังหวัดจันทบุรียิ่งขึ้น
     4. เพื่อให้เกิดความบันเทิง

     แนวคิดประดิษฐ การแต่งกายระบำควนคราบุรี การแต่งกายได้ประดิษฐ์ขึ้นโดยอาศัยศิลปะการแต่งกายของสมัยลพบุรี ซึ่งมี
     ลักษณะคล้ายคลึงกับศิลปะของขอมเป็นหลักมีส่วนที่ดัดแปลงบ้างเล็กน้อย สตรีสมัยลพบุรี ไม่สวมเสื้อ นุ่งผ้าให้ชายมาซ้อนกัน
     ตรงหน้าแล้วปล่อยชาย ผ้าออกสองข้าง ใส่กรองคอมีลวดลายเป็นแผ่นใหญ่ มีลวดลายสวยงามปลายทำด้วยเทริด ไม่นิยมใส่
     รองเท้า ชายสมัยลพบุรี ไม่สวมเสื้อ นิยมนุ่งผ้าสูงสั้นเหนือเข่า ทิ้งชายพกออกมาด้านนอกเป็นแผ่นใหญ่ คาดเข็มขัดมีลวดลาย
     ประดับ ใส่ต่างหูและกรองคอ

     การแต่งกายชุดควนคราบุรี หญิง ใส่เสื้อรัดคอ ( สมมุติว่าไม่สวมเสื้อ ) นุ่งผ้าชายซ้อนกันตรงหน้า ใส่กรองคอ ใส่ต่างหู
     คาดเข็มขัดขนาดใหญ่มีลวดลายสวยงาม รัดต้นแขน ใส่กำไลข้อมือและกำไลเท้า แต่งผมเกล้ามุ่นเป็นมวยตรงกลางศรีษะ 
     มีเครื่องประดับศรีษะ

     หมายเหตุ สำหรับผู้แสดงเป็นตัวเอก มีเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับที่วิจิตรงดงามยิ่งขึ้น ชาย ไม่สวมเสื้อ นุ่งผ้าลักษณะ
     โจงกระเบนสูงสั้นเหนือเข่า ทิ้งชายออกมาข้างนอก คาดเข็มขัด มีลวดลายประดับ ใส่ต่างหู กรองคอ รัดต้นแขน กำไลแขน
     และกำไลเท้า ดนตรี ใช้วงปี่พาทย์ไม้แข็ง หรือวงกระจับปี่ โดยเพลงดนตรีมีทำนองคล้ายของเขมร การแสดงชุดนี้ใช้ผู้แสดง
     จำนวน ๙ คน ( ชาย ๔ คน หญิง ๔ คน และตัวเอกเป็นหญิง ๑ คน )



ระบําสร้างสรรค์ มีอะไรบ้าง



ระบำนางกลอง


         ระบำนางกลองเป็นชุดการแสดงนาฏศิลป์ร่วมสมัย เพื่อประกอบการแสดงมหกรรมกลอง โดยใช้ท่าทางประกอบนาฏศิลป์ไทยที่รุกเร้า ตื่นเต้น มีความสนุกสนานสอดคล้องกับลีลาร่ายรำที่อ่อนหวานและเข้มแข็ง แสดงออกถึงความสามัคคีรวมกันเป็นหนึ่ง เอาจังหวะดนตรีไทยและดนตรีสากลมาผสมผสานร้อยเรียงให้มีรูปแบบของจังหวะที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ โดยใช้เครื่องดนตรี4ภาคของไทย ผสมผสานกับเครื่องกำกับจังหวะของดนตรีสากล


ระบําสร้างสรรค์ มีอะไรบ้าง


ระบำสมุุทราบูรพาทิศ


          การแสดงชุดนี้มีรูปแบบการแสดงที่สะท้อนให้เห็นถึงความงดงามของห้วงท้องทะเลภาคตะวันออก ซึ่งประกอบด้วย จังหวัดตราด จังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรีและจังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ติดชายทะเล ด้วยหาดทรายที่ขาวสะอาด ชายทะเลที่สวยงาม น้ำทะเลสีฟ้าคราม รวมไปถึงความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์ชายฝั่งทะเล และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญทางธรรมชาติ จากความสำคัญดังกล่าว คณะครูและนักศึกษาระดับปริญญาตรีห้องเรียนเครือข่ายวิทยาลัยนาฏศิลปจันทรบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ จึงคิดประดิษฐ์สร้างสรรค์เป็นชุดการแสดงขึ้น โดยจินตนาการผู้แสดงเป็นคลื่นน้ำของท้องทะเล อันประกอบไปด้วย๓ช่วงคือ ช่วงทะเลสงบราบเรียบ ช่วงท้องทะเลมีคลื่นในช่วงน้ำลง และช่วงทะเลที่มีลมมรสุมและพายุ

กระบวนท่ารำ/เป็นท่ารำที่สร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่โดยอาศัยท่ารำพื้นฐานจากนาฏศิลป์ไทยและลีลาการเคลื่อนไหวตามจินตนาการของคลื่นน้ำทะเลที่มีความแตกต่างกันแต่ละช่วง

ระบําสร้างสรรค์ มีอะไรบ้าง


ระบำไก้ฟ้าหลังขาวจันทบูร


ไก่ฟ้าหลังขาวจันทบูร เป็นสัตว์พื้นเมืองในแถบภูเขาทางภาคตะวันออก มักอาศัยอยู่ในอุทยานแห่งชาติน้ำตกพริ้ว เขาคิชฌกูฏ บริเวณสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์เขาสอยดาวและพบมากที่สุดในแนวตะเข็บชายแดนของจังหวัดจันทบุรี ไก่ฟ้าหลังขาวจันทบูรหรือไก่ฟ้าสีน้ำเงิน นับว่ามีรูปร่างสีสันที่สวยงาม ตัวผู้มีลำตัวด้านบนเป็นสีน้ำเงินเข้มอมดำ มีลายเป็นรูปตัววีสีขาวอยู่ทุกเส้นขนตลอดปีกจนถึงหาง แนวขนตั้งแต่ใต้คางจนถึงท้องเป็นสีน้ำเงินเข้มอมดำหน้าสีแดงเข้ม มีขนสีน้ำเงินเข้มอมดำเป็นกระจุกงอกจากหัวยาวขนานกับลำตัว ขาสีแดงเข้ม ส่วนตัวเมียสีน้ำตาลเข้มทั้งตัว บนหัวมีหงอนสีน้ำตาล พาดชี้ยาวไปทางด้านท้ายทอย คอมีลายรูปตัววีตังแต่ใต้คางไปจนถึงอก หน้าแดง ขาแดง จึงเกิดแนวคิดในการสร้างสรรค์การแสดงขึ้นตามอัตลักษณ์และความสวยงามของไก่ฟ้าหลังขาว   จันทบูร
         
ใช้วงปี่พาทย์เครื่องคู่บรรเลงประกอบการแสดง โดยสร้างสรรค์ทำนองเพลงขึ้นมาใหม่ ให้มีความเหมาะสมกับการเคลื่อนไหวของไก่ฟ้าหลังขาวจันทบูร ใช้เครื่องดนตรีโทนชาตรี ตีกำกับจังหวะหน้าทับ

ชุดการแสดงระบํา มีอะไรบ้าง

ระบำมาตรฐาน เป็นระบำที่บรมครูทางนาฏศิลป์ได้คิดค้นไว้ ทั้งเรื่องเพลง บทร้อง การแต่งกาย ท่ารำ ซึ่งไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงได้ ระบำมาตรฐานจะมีอยู่ทั้งหมด 6 ชุด คือ ระบำสี่บท ระบำย่องหงิดหรือยู่หงิด ระบำพรมมาตร ระบำดาวดึงส์ ระบำกฤษดา ระบำเทพบันเทิง

ระบําเบ็ดเตล็ด มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

2) ระบำเบ็ดเตล็ด หมายถึง การแสดงที่ประดิษฐ์คิดค้นหรือปรับปรุงขึ้นใหม่ตามความประสงค์ ตามเหตุการณ์ ตามสมัยนิยม ตามเนื้อเรื่องที่ผู้ประพันธ์ต้องการ หรือเป็นระบำที่ใช้ประกอบการแสดงละคร การแต่งกายจะแต่งตามรูปแบบลักษณะของการแสดงนั้นๆ เช่น ระบำนพรัตน์ ระบำกราวอาสา ระบำชุมนุมเผ่าไทย ระบำเริงอรุณ ระบำวิชนี ระบำไกรลาสสำเริง ระบำ ...

ระบําปรับปรุง มีอะไรบ้าง

๒.๓ ระบำที่ปรับปรุงจากท่าทางของสัตว์ หมายถึง ระบำที่คิดประดิษฐ์ขึ้น ตามลักษณะลีลา ท่าทางของสัตว์ชนิดต่าง ๆ เช่น ระบำมยุราภิรมย์ (ระบำ นกยูง) ระบำมฤคระเริง (ระบำกวาง) ระบำบันเทิงกาสร (ระบำควายหรือกระบือ) ระบำอัศวลีลา (ระบำม้า) เป็นต้น

ระบํากฤดาภินิหาร เป็นระบำอะไร

ระบำกฤดาภินิหาร มีลักษณะท่ารำเป็นระบำหมู่คู่พระ-นาง เสมือนหนึงว่าเหล่าเทวดา นางฟ้า มาร่วมอวยพรยินดีในเกียรติยศ ชื่อเสียงของประเทศไทย ท่ารำเป็นการตีบทตามคำร้องในเพลงครวญหา (ซึ่งทั้งลักษณะของท่าที่มีความหมายตรงกับคำร้องและท่าที่ความหมายสอดคล้องกับคำร้อง) และท่ารำในเพลงจีนรัว ผู้แสดงถือพานสำหรับโปรยดอกไม้ สามารถแสดงได้สอง ...