การจัดเก็บภาษี มีกี่ประเภท

ภาษีมีหลายประเภท จึงมีการจำแนกประเภทของภาษีโดยใช้เกณฑ์ต่างๆ และสำหรับหลักเกณฑ์ที่นิยมใช้ ได้แก่ การจำแนกตามหลักการผลักภาระภาษี โดยแบ่งออกเป็นภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อม

ภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อมคืออะไร

ภาษีทางตรง คือ ภาษีที่ภาครัฐจัดเก็บจากรายได้และทรัพย์สินต่างๆของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล โดยไม่สามารถผลักภาระภาษีไปยังผู้อื่นได้

ภาษีทางอ้อม คือ ภาษีที่ภาครัฐจัดเก็บจากผู้บริโภคเป็นภาษีที่เป็นการผลักภาระทั้งหมดหรือบางส่วนให้กับผู้ซื้อหรือผู้บริโภคเป็นผู้รับชำระภาษีอากรแทนผู้ขาย รัฐบาลจัดเก็บภาษีทางอ้อมเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาประเทศ เช่น การสร้างถนน การสนับสนุนการศึกษา สาธารณสุข การพัฒนาแหล่งน้ำ เงินสนับสนุนโครงการภาครัฐ ตลอดจนใช้เป็นงบประมาณที่จัดสรรให้กับกระทรวงต่างๆ เป็นต้น

ประเภทของภาษีทางตรง

1) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

เป็นภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป โดยเก็บเป็นรายปี ผู้เสียภาษีต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้ประจำปี ภายในวันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดไป ซึ่งรายได้ที่นำมาคำนวณภาษี มีอยู่ 8 ประเภท ได้แก่

1.1) เงินได้จากการจ้างแรงงาน
1.2) เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ
1.3) เงินได้จากค่าสิทธิ
1.4) เงินได้จากการลงทุนในทรัพย์สิน(Capital Gain)
1.5) เงินได้จากการให้เช่า
1.6) เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
1.7) เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุน ด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ
1.8) เงินได้จากการประกอบธุรกิจหรือเงินได้อื่นๆได้นอกจากที่กล่าวไว้ข้างต้น

2) ภาษีเงินได้นิติบุคคล

เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากเงินได้ของนิติบุคคล ได้แก่ เงินได้ประเภทกำไรสุทธิ ยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย เงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย หรือ การจำหน่ายเงินกำไรจากประเทศไทย

โดยส่วนใหญ่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะคำนวณภาษีจากกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมาเป็นเวลา 12 เดือนหรือน้อยกว่า 12 เดือนแล้วแต่กรณี สำหรับอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุดอยู่ที่ 20% ในการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี

3) ภาษีป้าย

เป็นภาษีที่จัดเก็บจากป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือ เครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้า หรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้า ด้วยตัวอักษร ภาพ หรือ เครื่องหมาย

4) ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีการครอบครอง เป็นภาษีที่จัดเก็บแทนภาษีโรงเรือนและภาษีบำรุงท้องที่ เพื่อเป็นการปฏิรูปโครงสร้างภาษีให้ทันสมัย ลดความซ้ำซ้อนของภาษีโรงเรือนกับภาษีเงินได้ และกระตุ้นให้เกิดการใช้ประโยชน์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

โดยผู้มีหน้าที่เสียภาษี ได้แก่เจ้าของกรรมสิทธิ์ หรือผู้ครอบครอง หรือทำประโยชน์ในทรัพย์สิน ในวันที่ 1 มกราคมของแต่ละปี ซึ่งภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างคำนวณจาก

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง = (ราคาประเมินทุนทรัพย์-มูลค่ายกเว้น)x อัตราภาษี

5) ภาษีมรดก

เป็นภาษีที่เก็บจากผู้รับมรดกหรือทายาท เมื่อได้รับการโอนทรัพย์สิน

6) ภาษีทรัพย์สินต่างๆ

เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ครอบครองทรัพย์สินที่กฎหมายกำหนดให้ต้องเสียภาษี เช่น ภาษีรถยนต์

ประเภทของภาษีทางอ้อม

การจัดเก็บภาษี มีกี่ประเภท

1) ภาษีมูลค่าเพิ่ม

เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากมูลค่าส่วนที่เกิดขึ้นจากการขายสินค้าหรือบริการ โดยเรียกเก็บจากผู้บริโภคที่เป็นผู้ซื้อสินค้าหรือได้รับบริการเป็นคนสุดท้าย โดยอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ที่ 7%

2) ภาษีธุรกิจเฉพาะ

เป็นภาษีที่จัดเก็บจากกิจการบางประเภทที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นพิเศษแยกต่างหากจากภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะได้แก่ กิจการในราชอาณาจักรดังต่อไปนี้

2.1)     กิจการธนาคาร
2.2)     ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์
2.3)     ธุรกิจประกันชีวิต
2.4)     กิจการรับจำนำ
2.5) การประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ เช่นปล่อยกู้ ค้ำประกัน แลกเปลี่ยนสกุลเงิน รับส่งเงินไปต่างประเทศ เป็นต้น
2.6) การขายอสังหาริมทรัพย์ เป็นทางค้าหรือหากำไร (ไม่ว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นจะได้มาโดยวิธีใด)
2.7) การขายหลักทรัพย์
2.8) ธุรกิจแฟ็กตอริ่ง

3) อากรแสตมป์

เป็นภาษีที่จัดเก็บจากการกระทำตราสาร ใน 28 ลักษณะตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ โดยมีการจัดพิมพ์อากรแสตมป์ในลักษณะเดียวกันกับตราไปรษณียากรแต่ต่างกันตรงที่อากรแสตมป์ไม่มีตราประทับ

โดยวิธีการเสียอากรมี 3 แบบ ดังนี้

3.1)     การใช้แสตมป์ปิดทับกระดาษ ก่อนหรือในทันทีที่ทำตราสารเป็นราคาไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียและได้มีการขีดฆ่าแสตมป์
3.2)     การใช้แสตมป์ดุน เป็นการใช้กระดาษที่มีแสตมป์ดุนเป็นราคาไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียและมีการขีดฆ่าแล้ว โดยยื่นตราสารให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประทับแสตมป์ดุน และชำระเงิน
3.3)     การชำระเป็นตัวเงิน คือการเสียค่าอากรเป็นตัวเงิน ในราคาไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสีย

ไม่ว่าจะเป็นภาษีทางตรงหรือภาษีทางอ้อม ในฐานะผู้เสียภาษีเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจ เพื่อที่จะนำส่งภาษีได้อย่างถูกต้องครบถ้วน เพราะภาษีเหล่านี้ทางรัฐบาลจะนำไปพัฒนาประเทศ เพื่อการอยู่ดีมีสุขของประชากรในประเทศ และสร้างความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆ ซึ่งหากธุรกิจมีการทำบัญชีที่ถูกต้อง ก็จะช่วยจัดการภาษีง่ายดายและเป็นระบบมากขึ้น

สมัครใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี คลิก peakaccount.com หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมทาง inbox ของ Facebook PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์

ภาษีแบ่งออกเป็น 2 ประเภทมีอะไรบ้าง

1. ภาษีทางตรง (Direct Tax) ที่เป็นรายจ่ายภาคธุรกิจและบุคคลธรรมดามากที่สุด คือ - ภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภาษีที่รัฐบาลจัดเก็บ) - ภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ภาษีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดเก็บ) 2. ภาษีทางอ้อม (Indirect Tax) ที่ผู้ประกอบการผลักภาระให้ผู้บริโภคได้มากที่สุด คือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม

หลักในการจัดเก็บภาษีมีอะไรบ้าง

จากหนังสือเรื่อง The Wealth of Nation (1776) ของ Adam Smith ได้อธิบายหลักการภาษีอากรที่ดีไว้ 4. ประการ คือ 1) ความเป็นธรรม (equity) Fuente. 2) ความแน่นอน (certainty) 3) ความสะดวก (convenience of payment) 4) ความประหยัด (economy of collection) สำหรับแนวคิดสมัยใหม่ของการปฏิรูปภาษีอากร ซึ่งนักวิชาการนำมาใช้กับประเทศต่างๆ

กรมสรรพากรจัดเก็บภาษีประเภทใดบ้าง

กรมสรรพากรทำหน้าที่จัดเก็บภาษีตาม ประมวลรัษฎากร ได้แก่.
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา.
ภาษีเงินได้นิติบุคคล.
ภาษีมูลค่าเพิ่ม.
ภาษีธุรกิจเฉพาะ.
อากรแสตมป์.

ความสําคัญของภาษีมีอะไรบ้าง

1. เพื่อหารายได้ให้เพียงพอมาใช้จ่ายในกิจการของรัฐบาล 2. เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการกระจายรายได้ 3. เพื่อให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ 4. เพื่อสนับสนุนให้เกิดการขยายตัวและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ 5. เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ หลักการจัดเก็บภาษีที่ดีมี6 ประการคือ