การป้องกันอุบัติภัย หมายถึง

ที่กล่าวข้างต้นเป็นสิ่งที่พนักงานใหม่จำเป็นจะต้องรู้ เพราะมันข้องเกี่ยวกับความปลอดภัยขณะที่ทำงานทั้งนั้น แล้วเมื่อพนักงานใหม่เข้ารับการอบรมเรื่องความปลอดภัยในการทำงานก็จะได้รับข้อมูลความรู้เบื้องต้นที่สำคัญ เพื่อจะได้นำไปใช้ในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุอันเป็นการเตรียมการล่วงหน้า เพื่อไม่ให้เกิดเหตุนั้นๆ ซึ่งจะใช้หลักการ 5 ส. ได้แก่

(1) สะสาง หมายถึง การแยกสิ่งของที่สำคัญและไม่สำคัญออกจากกันอย่างชัดเจน

(2) สะดวก หมายถึง การจัดสิ่งของและเครื่องมือให้เป็นระเบียบ เพื่อความสะดวกในการใช้งาน 

(3) สะอาด หมายถึง รักษาความสะอาดของเครื่องมือเครื่องใช้และซ่อมให้พร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา 

(4) สุขลักษณะ หมายถึง การปฏิบัติ 3 ข้อข้างต้นอย่างต่อเนื่อง 

(5) สร้างนิสัย หมายถึง การฝึกนิสัยให้นำทั้ง 4 ข้อไปปฏิบัติจนติดเป็นนิสัยในระยะยาว 

นอกจากนี้ก็ยังมีกฏสำคัญที่จะได้รับรู้จากการอบรมด้วย นั่นก็คือ ‘กฏ 5 รู้’ มีดังนี้

(1) รู้งานที่ปฏิบัติว่ามีอันตราอย่างไรและมีขั้นตอนการทำงานอย่างไร หมายถึง ทำความเข้าใจในเนื้องานหรือกระบวนการดำเนินงานให้ชัดเจน รวมถึงทบทวนถึงอันตรายที่สามารถจเกิดขึ้นได้และคิดถึงวิธีการป้องกันปัญหาล่วงหน้า 

(2) รู้การเลือกใช้เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ หมายถึง ถ้าจะต้องใช้เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ในการทำงานก็ควรจะศึกษาว่าอุปกรณ์นั้นๆ เหมาะสมกับการใช้งานแบบใดและไม่ควรจะนำไปใช้ในเรื่องใด 

(3) รู้วิธีการใช้เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ หมายถึง เครื่องมือหรือเครื่องจักรที่ต้องมีทักษะในการใช้งาน หากใช้ไม่ถูกวิธีก็อาจจะทำให้เกิดอันตรายกับตนเองและคนรอบข้างได้ ฉะนั้นจึงควรจะศึกษาวิธีใช้ให้เข้าใจ เพื่อลดสาเหตุการเกิดอันตรายให้ได้มากที่สุด 

(4) รู้ข้อจำกัดการใช้เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ หมายถึง นอกจากจะรู้จักการเลือกรวมถึงวิธีการใช้เครื่องมือแล้ว ยังต้องรู้ขีดจำกัดหรือคุณสมบัติของอุปกรณ์วาทนทานแค่ไหน 

(5) รู้วิธีการบำรุงรักษาเครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ หมายถึง เมื่อรู้เรื่องเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ที่จะต้องใช้งานแล้ว สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ การบำรุงรักษา เพื่อจะให้เครื่องมือเครื่องใช้คงสภาพดีสามารถใช้งานได้ปลอดภัย รวมถึงช่วยลดค่าใช้จ่ายเรื่องการซ่อมแซมอุปกรณ์ที่ชำรุดด้วย

อีกอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้การป้องกันอุบัติเหตุเกิดความสำเร็จ สิ่งนั้นคือ บันได 5 ขั้นสู่การป้องกันอุบัติเหตุที่สมบูรณ์ ได้แก่

(1) จัดตั้งองค์กรหรือบุคคลผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง ต่อการติดตามแก้ไขอันตราย และอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นขณะทำงาน  

(2) ค้นหาสาเหตุของอุบัติเหตุด้วยวิธีการต่างๆ 

(3) วิเคราะห์อุบัติเหตุ เพื่อแยกประเด็นต่างๆ ให้ชัดเจน 

(4) คัดเลือกมาตรการป้องกันที่เห็นว่าเหมาะสม 

(5) นำมาตรการป้องกันนั้นๆ ไปประยุกต์ใช้งานและคอยติดตามผลการปฏิบัติ

แต่ละ 5 ข้อของหลักการทั้งหมดทั้งมวลนั้นเป็นสิ่งที่ได้รับการประเมินผลออกมาแล้วว่า หากสามารถปฏิบัติได้จักเกิดผลดีด้านการป้องกันความปลอดภัยในที่ทำงาน โดยเฉพาะผลดีต่อพนักงานใหม่ผู้ซึ่งยังมีประสบการณ์ในที่ทำงานไม่มากนักจึงสมควรจะจดจำและหมั่นปฏิบัติ เพื่อให้เกิดเป็นนิสัย 

เชื่อสิว่า ความปลอดภัยไม่ยากเกินกว่าความตั้งใจและการลงมือทำหรอก ขอเพียงแค่อย่าละทิ้งสิ่งที่ได้อบรมเรียนรู้เท่านั้น วันหนึ่งเมื่อทุกอย่างเข้าที่เข้าทาง ทั้งเรื่องงานและเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน มันจะกลายเป็นเรื่องปลอกกล้วยเข้าปากเลย

ความปลอดภัย เป็นสิ่งที่เราควรจะเกิดขึ้นภายในชีวิตประจำวันของเรา เพราะการใช้ชีวิตประจำวันของเรา ย่อมต้องพบกับความเสี่ยงมากมายจากหลาย ๆ ปัจจัย ซึ่งถ้าหากเราประมาทเพียงนิดเดียว ก็ทำให้เราต้องพบกับความอันตรายถึงแก่ชีวิตได้เลยนั่นเอง เพราะฉะนั้นเพื่อทำให้เรื่องแบบนั้นเกิดขึ้นได้น้อย จึงทำให้ความปลอดภัยกลายเป็นสิ่งที่เราควรจะตระหนักเอาไว้ในทุก ๆ วันที่เรายังใช้ชีวิตอยู่ ซึ่งความปลอดภัยนี้ก็ได้ถูกบัญญัติอยู่กฎหมาย เพื่อให้การคุ้มครองแก่ทุก ๆ คนอย่างเท่าเทียม และยังช่วยเหลือในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุอีกด้วย และหนึ่งในความปลอดภัยที่เป็นที่พูดถึงนั้น นั่นก็คือ ความปลอดภัยในการทำงาน

ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการหรือเอกชน ล้วนแล้วแต่จะต้องได้รับความปลอดภัยทั้งสิ้น และควรจะเป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องตระหนักและพึงระลึกถึงตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน เพราะเมื่อใดที่เกิดอุบัติเหตุขึ้นก็ย่อมทำให้เกิดความสูญเสียทั้งทรัพย์สินและชีวิตเลยทีเดียว

ก่อนที่เราจะมาทำความรู้จักกับความปลอดภัยในการทำงานนั้นเราควรที่จะมารู้ถึงสาเหตุของอุบัติเหตุก่อนเพื่อที่จะได้เข้าใจถึงวิธีการป้องกันอุบัติเหตุในภายหลังโดยสาเหตุของอุบัติเหตุสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทนั่นก็คือ

สาเหตุจากการกระทําที่ไม่ปลอดภัย ได้แก่

  • การกระทําไม่ถูกวิธีหรือไม่ถูกขั้นตอน
  • ความประมาท 
  • การมีนิสัยชอบเสี่ยง
  • การไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบความปลอดภัยในการทํางาน
  • การทํางานโดยไม่มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
  • การแต่งกายไม่เหมาะสม
  • การทํางานโดยสภาพร่างกายและจิตใจไม่ปกติ 

สาเหตุจากสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย ได้แก่

      • ส่วนที่มีความเสี่ยงไม่มีอุปกรณ์ป้องกันอันตราย
      • การวางผังไม่ถูกต้อง รวมถึงการวางสิ่งของไม่เป็นระเบียบ
      • พื้นของโรงงานขรุขระ และยังมีเศษวัสดุ น้ำมัน น้ำบนพื้น
      • สภาพการทํางานไม่ปลอดภัย เช่น เสียงดัง อากาศร้อน ฝุ่นละออง
      • เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ชํารุด
      • ระบบไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้าชํารุด

ดังนั้นแล้ว เพื่อที่จะป้องกันอุบัติเหตุเหล่านี้ เราจึงควรที่จะรู้วิธีการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ โดยแบ่งออกเป็น 3 สถานการณ์ ดังนี้

1. การป้องกันก่อนเกิดอุบัติเหตุ

หลักการ 5 ส.  ได้แก่

      • สะสาง หมายถึงการแยกแยะงานดี-งานเสีย
      • สะดวก หมายถึงการจัดการให้เป็นระเบียบเป็นหมวดหมู่
      • สะอาด หมายถึงการทำความสะอาดเครื่องมือ สถานที่ ทั้งก่อนและหลังการใช้งาน
      • สุขลักษณะ หมายถึง การที่จะต้องรักษาสุขอนามัยของตัวเอง เครื่องมือ และสถานที่
      • สร้างนิสัย หมายถึง การสร้างนิสัยที่ดีเพื่อสร้างความปลอดภัยในสถานที่

 

กฎ 5 รู้

      • รู้ ว่างานที่ปฏิบัติว่ามีอันตรายอย่างไร และมีขั้นตอนการทำงานอย่างไรบ้าง
      • รู้ ว่าควรเลือกใช้เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ อย่างไร
      • รู้ เรื่องเกี่ยวกับวิธีการใช้เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์
      • รู้ ถึงข้อจำกัดการใช้เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์
      • รู้ วิธีการบำรุงรักษาเครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์

2. การป้องกันขณะเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งจะมีสิ่งที่ควรรู้หรือหลักการ ดังนี้

การรู้จักการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลเพื่อป้องกันอวัยวะของร่างกาย ดังนี้

        • หมวกนิรภัย
        • อุปกรณ์ป้องกันใบหน้า ดวงตา
        • อุปกรณ์ลดเสียง ป้องกันหู
        • อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจ
        • อุปกรณ์ป้องกันร่างกาย แขนขา
        • อุปกรณ์ป้องกันมือ
        • อุปกรณ์ป้องกันเท้า

การปฏิบัติงานโดยใช้การ์ดเครื่องจักร ซึ่งจะมีดังนี้

  • การ์ดเครื่องกลึง
  • การ์ดเครื่องเจียระไน
  • การ์ดปิดส่วนที่หมุนของเครื่องจักร เช่น ฟันเฟือง

3. ป้องกันหลังการเกิดอุบัติเหตุ เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุเกิดขึ้นอีก ซึ่งมีวิธีการดังนี้

  • การอพยพ หลังการเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งควรมีการวางแผนการอพยพเอาไว้ก่อน หรือควรรู้จักวิธีการขนย้ายผู้ป่วยอย่างถูกวิธี
  • การปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อลดอันตรายให้น้อยลง
  • การสำรวจความเสียหายภายหลังจากเกิดอุบัติเหตุ

นอกจากนี้ สิ่งที่เราควรจะรู้ก็คือ ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการรักษาความปลอดภัยในการทำงาน อันประกอบไปด้วย

1. เครื่องแต่งกาย และแบบฟอร์มที่เหมาะสมของผู้ปฏิบัติงาน โดยจะมีการตรวจสอบว่ามีความถูกต้องเหมาะสมเพียงใด

2. อาคารโรงงาน พิจารณาในด้านวัสดุที่ใช้ก่อสร้างอาคารมีความทนไฟหรือการผุกร่อนและมีอายุงานเท่าใด เป็นต้น

3. เครื่องมือเครื่องจักรกล มีการป้องกันอันตรายไว้เพียงใด 

4. การทำความสะอาดให้เรียบร้อย รวมถึงตรวจสอบสภาพความพร้อมอีกด้วย 

5. แสงสว่างภายในโรงงาน ที่จำเป็นจะต้องพิจารณาในด้านตำแหน่งที่ตั้งที่เหมาะสมของระบบโครมไฟฟ้า 

6. การระบายอากาศ โดยการพิจารณาการหมุนเวียนของอากาศที่เข้าออกจากบริเวณทำงาน รวมทั้งคุณภาพของอากาศด้วย 

7. ระบบการจัดเก็บและการดูแลควบคุมวัสดุ ซึ่งจะพิจารณาว่ามีแยกประเภทของวัสดุออกตามประเภทหรือไม่ 

8. ระบบฉุกเฉิน อาทิ การปฐมพยาบาล การดับเพลิง ทางหนีไฟ ทางออกฉุกเฉิน เครื่องช่วยชีวิต เป็นต้น

ดังนั้นแล้ว ความปลอดภัยในการทำงาน จึงเป็นหนึ่งในสิ่งที่เราควรจะตระหนักเอาไว้อย่างยิ่ง เพราะถือว่าเป็นสิ่งที่จะช่วยทำให้ผู้ปฏิบัติงานปลอดภัยจากอุบัติเหตุที่ร้ายแรงถึงชีวิต รวมไปถึงสิ่งของมากมายที่อยู่ในสถานที่แห่งนั้น ซึ่งจะช่วยทำให้ความเสียหายเกิดขึ้นน้อยลง โดยจะสามารถแบ่งความปลอดภัยในการทำงานได้เป็น 3 สถานการณ์ โดยเริ่มจาก ก่อน ระหว่าง และหลังการเกิดอุบัติเหตุแล้ว ซึ่งทั้งสามสถานการณ์นี้ ล้วนแล้วแต่มีวิธีการที่จะช่วยหยุดการเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาได้ทั้งนั้น และที่ขาดไม่ได้ก็คืออุปกรณ์ในการป้องกันหรือช่วยชีวิต โดยในอุปกรณ์ช่วยชีวิตจะสามารถช่วยเหลือผู้คนที่ได้รับผลกระทบในยามที่เกิดอุบัติเหตุนั้นได้ทันท่วงที หรือจะเป็นอุปกรณ์นิรภัยที่จะช่วยทำให้เราสามารถทำงานได้อย่างปลอดภัย แม้ว่าเราจะต้องทำงานอยู่ในที่สูง หรือมีระดับความเสี่ยงอย่างมากเพียงใดก็ตาม ดังนั้นแล้ว ความปลอดภัยในการทำงาน จึงเป็นสิ่งที่มีคุณค่าอย่างยิ่งในการประกอบอาชีพทุก ๆ อาชีพนั่นเอง

หลักการป้องกันอุบัติภัยคืออะไร

การป้องกันก่อนการเกิดอุบัติเหตุ คือ การป้องกันหรือมีการเตรียมการล่วงหน้า เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ โดยมีหลักการต่างๆ เช่น หลักการ 5 ส. สู่การป้องกันอุบัติเหตุ เช่น •สะสาง หมายถึงการแยกแยะงานดี-งานเสีย ใช้-ไม่ใช้ •สะดวก หมายถึงการจัดการ จัดเก็บให้เป็นระเบียบเป็นหมวดหมู่

การป้องกันอุบัติภัย มีกี่แบบ

8 ขั้นตอน วีธีป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ.
1.งดใช้มือถือขณะขับรถ หนึ่งสาเหตุสำคัญของอุบัติเหตุบนท้องถนน ... .
2.คาดเข็มขัดนิรภัย ช่วยกระจายแรงกระแทกที่เกิดจากอุบัติเหตุ เช่น ... .
3.ไม่ขับรถเร็วเกินกำหนด อย่าเห็นแก่ธุระสำคัญ หรือแม้แต่ความสนุก ... .
4.นำรถเข้าศูนย์ ควรนำรถเข้าศูนย์เพื่อเช็คระยะ ... .
6.ง่วงไม่ขับ ... .
7.เมาไม่ขับ ... .
8.ปฏิบัติตามกฎจราจร.

สิ่งสำคัญอันดับแรกในการป้องกันอุบัติภัยในแต่ละหน่วยงานคืออะไร

5.6.3 องค์ประกอบสำคัญในการดำเนินการป้องกันอุบัติภัย 1. การจัดตั้งองค์กรหรือบุคคลที่รับผิดชอบในการดูแลความปลอดภัย 2. การวิเคราะห์วางแผนและค้นหาสาเหตุ 3. กำหนดนโยบายเพื่อเป็นแนวทางในการปฎิบัติ 4. ให้ความรู้และอบรมพนักงานให้มีความเข้าใจต่อการป้องกันอุบัติภัย

อุบัติภัยแบ่งเป็น 4 ประเภทคืออะไร

ประเภทของอุบัติภัย อุบัติภัยสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ 1. อุบัติภัยจากการจราจร (Traffic accident) 2. อุบัติภัยจากการทำงาน (Occupational accident) 3. อุบัติภัยในสาธารณสถาน (Phaible accident) 4. อุบัติภัยในเคหสถาน (Home accident) อุบัติภัยทุกประเภท สามารถป้องกันและลดความรุนแรงลงได้ ถ้าผู้ที่มีส่วนเกี่ยว ข้องเห็นความ ...