องค์ประกอบ ที่ สำคัญ ของ QCDSMEE การเพิ่ม ผลผลิต ที่ สำคัญ 7 ประการ คือ ข้อ ใด

เนื้อหาสาระ 

        ตอนที่  1.1  คุณภาพ
        ตอนที่  1.2  ต้นทุน
        ตอนที่  1.3  การส่งมอบ
        ตอนที่  1.4  ความปลอดภัย และขวัญกำลังใจในการทำงาน

    แนวคิด

        องค์ประกอบการเพิ่มผลผลิต 7 ประการส่งผลให้เกิดการเพิ่มผลผลิตที่ยั่งยืนและมีคุณธรรมโดยองค์ประกอบคุณภาพ ต้นทุนและการส่งมอบเป็นองค์ประกอบที่หน่วยงานต้องปฏิบัติเพื่อลูกค้า องค์ประกอบความปลอดภัยและขวัญกำลังใจในการทำงานเป็นองค์ประกอบที่หน่วยงานต้องปฏิบัติเพื่อพนักงานหน่วยงาน

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

       1.  เข้าใจรายละเอียดขององค์ประกอบของการเพิ่มผลผลิตทั้ง 7 ประการ ซึ่งได้แก่ คุณภาพ ต้นทุน การส่งมอบ ความปลอดภัย ขวัญกำลังใจในการทำงาน สิ่งแวดล้อม และจรรยาบรรณการดำเนินธุรกิจ 
       2.  เข้าใจว่าองค์ประกอบคุณภาพ ต้นทุนและการส่งมอบ เป็นองค์ประกอบที่หน่วยงานจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงเพื่อความพึงพอใจของลูกค้า
       3.  เข้าใจว่าองค์ประกอบความปลอดภัย และขวัญกำลังใจในการทำงานเป็นองค์ประกอบที่หน่วยงานต้องคำนึงถึงเพื่อพนักงาน 
       4.  เข้าใจว่าองค์ประกอบสิ่งแวดล้อมและจรรยาบรรณการดำเนินธุรกิจ เป็นองค์ประกอบที่หน่วยงานต้องคำนึงถึงเพื่อสังคม

องค์ประกอบ ที่ สำคัญ ของ QCDSMEE การเพิ่ม ผลผลิต ที่ สำคัญ 7 ประการ คือ ข้อ ใด

ตอนที่  1.1 คุณภาพ  (Quality)

หัวเรื่อง

       1.1.1  ภาพรวมองค์ประกอบการเพิ่มผลผลิต 
       1.1.2  ความหมายของคุณภาพ 
       1.1.3  ประเภทของคุณภาพ 
       1.1.4  ความสำคัญของคุณภาพ

สาระสำคัญ

  1. คุณภาพหมายถึงสิ่งที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า และสร้างความพอใจให้ลูกค้าได้
  2. คุณภาพแบ่งออกได้เป็น 1.  ด้านเทคนิค  2. ด้านจิตวิทยา 3.  ด้านความผูกพันต่อเนื่องหลังการขาย 4.  ด้านเวลา  5. ด้านจริยธรรม
  3. คุณภาพสร้างความพอใจให้กับลูกค้า ช่วยลดต้นทุน ช่วยยกระดับความต้องการของลูกค้า ช่วยส่งมอบได้ตามกำหนด และช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นในทีสุด

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม

  1. เข้าใจความหมายของคุณภาพ
  2. อธิบายถึงคุณภาพที่เกิดจากความต้องการและความพึงพอใจของลูกค้า
  3. เห็นประโยชน์จากคุณภาพที่มีต่อการเพิ่มผลผลิต

ตอนที่   1.1 คุณภาพ (Quality) 

       1.1.1  ภาพรวมองค์ประกอบการเพิ่มผลผลิต 
                ในสภาวะการแข่งขันปัจจุบันธุรกิจจะประสบความสำเร็จได้อย่างยั่งยืนนั้น  ก็ต่อเมื่อสามารถสร้างความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันด้วยการมีสินค้าและการบริการ ที่สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ด้วยคุณภาพที่ดีสม่ำเสมอ ต้นทุนต่ำ และส่งมอบได้ทันเวลา  สิ่งเหล้านี้จะเกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่องด้วยความพยายามและความร่วมมือของพนักงาน โดยธุรกิจจะต้องสร้างสภาพแวดล้อมการที่ทำงานที่ปลอดภัยตลอดจนการสร้างขวัญกำลังใจในการทำงานให้กับพนักงานอยู่อย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นการดำเนินธุรกิจจะต้องแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและมีจรรยาบรรณ สรุปได้ว่าการเพิ่มผลผลิตที่ได้คุณธรรมและยั่งยืนจะต้องมีองค์ประกอบต่าง ๆ  ข้างต้นและสามารถแสดงด้วยแผนภาพต่อไปนี้

                    

องค์ประกอบ ที่ สำคัญ ของ QCDSMEE การเพิ่ม ผลผลิต ที่ สำคัญ 7 ประการ คือ ข้อ ใด

        1.1.2   ความหมายของคุณภาพ 
                  คำว่า “คุณภาพ” เดิมนั้นหมายถึง  การผลิตสินค้าให้ได้ตรงตามข้อกำหนด (Specification) ของสินค้า ซึ่งผู้ผลิตเป็นผู้กำหนดขึ้นมาเอง แต่ปัจจุบันนี้ คำว่า “คุณภาพ” มีความหมายที่กว้างขึ้นโดยครอบคลุมไปถึง สิ่งที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า และสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าได้ ด้วยเหตุนี้ ความพึงพอใจของลูกค้าจึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ช่วยในการตัดสินใจสำหรับการเลือกซื้อสินค้าหรือใช้บริการ
        ตัวอย่าง 
                   หากเราเข้าไปรับการตรวจสุขภาพในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง สิ่งแรกที่เราพบคือ พยาบาล ที่หน้าตาบูดบึ้ง ต้องรอคิวทำบัตรเป็นเวลานานกว่าจะได้พบแพทย์เพื่อตรวจก็เสียเวลารอไปอีก เป็นชั่วโมง ทั้งๆที่คนไข้ที่นั่งรอพบแพทย์มีเพียงไม่กี่คนหลังจากได้รับการตรวจเสร็จเรียบร้อยแล้วหรือยัง ต้องมารอคิวเพื่อชำระเงินค่าตรวจอีกร่วมครึ่งชั่วโมง และเมื่อเขาไปสอบถามจากพนักงานก็ได้รับคำตอบด้วยน้ำเสียงที่โกรธเคืองว่า “ไม่เห็นหรืออย่างไร นี่ก็รีบจนตัวเป็นเกลียวอยู่แล้วรอนิดรอหน่อยบ้างจะเป็นไร” เหตุการณ์เช่นนี้คงทำให้เรารู้สึกไม่พอใจและตัดสินใจได้ว่าจะไม่ไปใช้บริการจากโรงพยาบาลแห่งนี้อีกต่อไป เนื่องจากให้บริการโดยขาดคุณภาพ

        1.1.3  ประเภทของคุณภาพ 
                 คุณภาพที่เกิดจากความต้องการและความพึงพอใจของลูกค้าสามารถแบ่งออกได้เป็นประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้ 
                 1.  คุณภาพด้านเทคนิค ได้แก่ลักษณะทางกายภาพและความสามารถในการใช้งานที่ส่งผลต่อคุณภาพของสินค้าและบริการ เช่น ความแข็งแรงของผลิตภัณฑ์  ระบบป้องกันความปลอดภัย 
                 2.  คุณภาพด้านจิตวิทยา ได้แก่ คุณลักษณะที่มีผลต่อจิตใจของผู้บริโภค  ในการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือใช้บริการ เช่น ความสวยงามการออกแบบผลิตภัณฑ์  ภาพลักษณ์ของสินค้า 
                 3.  คุณภาพด้านความผูกพันต่อเนื่องหลังการขาย เช่น  การให้บริการหลังการขาย การรับประกันสินค้า 
                 4.  คุณภาพด้านเวลา เช่น  อายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ความยากง่ายในการบำรุงรักษาความรวดเร็วในการให้บริการ 
                 5.  คุณภาพด้านจริยธรรม  เช่น  ความถูกต้องตรงตามมาตรฐานการผลิต ความจริงใจในการให้บริการ 
ในการพิจารณาเลือกซื้อสินค้าหรือใช้บริการลูกค้าจะพิจารณาจากหลาย ๆ ปัจจัย ควบคู่กันไปหรืออาจจะพิจารณาว่าคุณสมบัติหนึ่งสำคัญกว่าอีกอย่างหนึ่ง เช่น การตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์คันหนึ่ง ครอบครัวขนาดใหญ่อาจพิจารณาว่าขนาดรถเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด เนื่องจากเน้นประโยชน์ใช้สอยสำหรับสมาชิกในครอบครัว ในขณะที่บางครอบครัวอาจมุ่งเน้นเรื่องสมรรถนะของ เครื่องยนต์ ระบบความปลอดภัย หรือบริการหลังการขาย เป็นต้น 

       1.1.4  ความสำคัญของคุณภาพ 
                1.  สร้างความพอใจให้กับลูกค้า  ดังที่กล่าวมาแล้วว่า ความพอใจของลูกค้า เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ลูกค้าตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าหรือใช้บริการ ดังนั้นผู้ผลิตจำเป็นต้องผลิตสินค้าหรือให้บริการตรงตามความต้องการ ของลูกค้าเพื่อให้สินค้าหรือบริการของตนได้รับการยอมรับ และเลือกซื้อ 
                2.  ช่วยในการลดต้นทุน  หากผู้ผลิตสินค้าหรือบริการสามารถผลิตสินค้าหรือให้บริการที่มีคุณภาพโดยไม่มีจุดบกพร่องหรือข้อตำหนิใด ๆ การผลิตหรือให้บริการนั้น ๆ ก็จะสามารถช่วยลดต้นทุนที่ไม่จำเป็นได้อย่างคาดไม่ถึง 
                ลองพิจารณาดูว่าหากผลิตสินค้าหรือบริการที่ขาดคุณภาพแล้วจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง 
                - ทิ้ง  เป็นการสูญเสียที่ร้ายแรงที่สุดเนื่องจากเราต้องสูญเสียเป็นปัจจัยการผลิตทั้งหมดไปโดยไม่เกิดประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็น ต้นทุนวัตถุดิบ แรงงาน หรือ เวลาที่ใช้ไป ในขณะเดียวกันเราต้องมาเริ่มผลิตใหม่ ซึ่งทำให้สูญเสียปัจจัยการผลิตเพิ่มขึ้น 
                - แก้ไข  ผลที่ตามมาก็คือ การเสียเวลาแรงงาน และต้นทุนบางส่วนทั้งที่ทำไปแล้วและที่ต้องใช้ในการแก้ไข ซึ่งทำให้เกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 
                - นำไปหมุนเวียนใช้ใหม่  เช่น การขึ้นรูปโลหะที่ไม่ได้รูปมาตรฐาน จึงต้องนำโลหะชิ้นนั้นไปหลอมใหม่ แล้วนำกลับมาเข้ากระบวนการผลิตใหม่อีกครั้ง จะเห็นได้ว่าเสียทั้งแรงงานและเวลาที่ทำไป นอกจากนั้น การนำกลับมาเข้ากระบวนการผลิตใหม่อีกครั้ง อาจทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีคุณภาพด้อยลงเนื่องจากวัตถุดิบได้ถูกใช้ไปแล้วทำให้ขาดคุณภาพ 
                - นำไปขายเป็นสินค้ามีตำหนิ  อาจไม่ได้ราคาตามที่คาดไว้ 
                - เสียค่าใช้จ่าย เสียเวลา และแรงงาน  ในการตรวจสอบ แทนที่จะให้พนักงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบไปปฏิบัติงานอื่น ๆ 
สำหรับผู้ผลิตหรือผู้ใช้บริการแล้ว การพบสินค้าที่มีข้อบกพร่องหรือจุดตำหนิเพียง 1  หรือ  2  ชิ้น ผู้ผลิตอาจจะรู้สึกว่ามีปริมาณไม่มาก โดยถ้าคิดเป็นเปอร์เซ็นต์แล้ว อาจเป็นเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์  แต่ในมุมมองของลูกค้าแล้ว  หากลูกค้าได้รับสินค้าหรือบริการที่มีข้อบกพร่อง หรือจุดตำหนิเพียง 1 ชิ้น หรือ 1 ครั้งเท่านั้น นั่นก็คือความผิดพลาด  100%   ที่ลูกค้าได้รับจากผู้ผลิตหรือผู้ให้บริการ
                3.  ยกระดับความต้องการของลูกค้า คงเคยได้ยินคำพูดที่ว่า “ลูกค้าย่อมจ่ายเพื่อสิ่งที่ดีกว่า และพอใจกว่า” จึงเห็นได้ว่า ปัจจัยทางด้านราคาไม่ได้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า หรือใช้บริการเสมอไป
                -  สินค้าราคาเท่ากันลูกค้าจะตัดสินใจเลือกสิ่งที่ตอบสนองความต้องการได้มากกว่า เช่น นาฬิกา  2 เรือน ราคาเท่ากันแต่ต่างยีห้อกันเรือนที่มียีห้อเป็นที่รู้จักกันในท้องตลาดใช้เป็นนาฬิกาปลุกไม่ได้ในขณะที่อีกเรือนใช้เป็นนาฬิกาปลุกได้และยีห้อไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายนัก ลูกค้ากลุ่มหนึ่งอาจจะตัดสินใจเลือกซื้อนาฬิกาเรือนที่ปลุกได้ เนื่องจากคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยมากกว่าที่จะคำนึงถึงยี่ห้อผลิตภัณฑ์ 
                -  สินค้าที่ราคาแตกต่างกันไปในบางครั้ง ลูกค้าจะไม่รู้สึกว่าสินค้าที่ราคาสูงกว่ามีราคาแพงหากเขาเชื่อว่าสินค้านั้นมีคุณภาพดีกว่า เช่นปัจจุบันกลุ่มลูกค้า วัยรุ่นนิยมซื้อเสื้อผ้าที่ผลิตและเขาประทับตราต่างประเทศ ถึงแม้ว่าราคา สินาค้าเหล่านั้นจะแพงกว่ามาก แต่เนื่องจากพวกเขามีค่านิยมและเชื่อว่าสินค้าที่ผลิตจากต่างประเทศย่อมมีคุณภาพดีกว่าใส่แล้วโก้หรูกว่าสินค้าที่ผลิตในประเทศจึงไม่รู้สึกว่าแพงเกินไปนัก 
               4.  ส่งมอบได้ตามกำหนด  สินค้าหรือบริการที่ส่งมอบถึงมือลูกค้าได้ทันตามที่ลูกค้ากำหนด โดยมีคุณสมบัติครบถ้วนยอมสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าเสมอ และเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ลูกค้าตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าหรือใช้บริการในครั้งต่อ ๆ ไปด้วย   เพราะถ้าเกิดการรอคอยอาจส่งผลเสียดังนี้

  1. ลูกค้าเปลี่ยนใจไปเลือกซื้อสินค้าหรือบริการอื่น
  2. ลูกค้าตัดสินใจเลิกใช้สินค้า หรือบริการนั้น ๆ เลย
  3. ขั้นตอนต่อไปติดขัดซึ่งอาจจะทำให้ขั้นตอนสุดท้ายล่าช้าไปด้วย

                ในที่นี้ลูกค้าที่เรากล่าวถึงไม่ได้หมายถึงลูกค้าที่ซื้อสินค้าหรือใช้บริการเท่านั้น (End Users) ตัวอย่าง
ท่านรู้สึกหิวมากจึงเข้าไปรับประทานอาหารในภัตตาคารแห่งหนึ่ง หลังจากพนังงานบริการรับคำสั่งรายการอาหารด้ายท่าทางที่อ่อนน้อมไปไม่นาน อาหารก็ถูกยกมาบริการอย่างรวดเร็วและครบถ้วน ซึ่งทำให้ท่านรู้สึกพึงพอใจกับบริการที่ได้คุณภาพสมบรูณ์แบบของของภัตตาคารแห่งนี้เป็นอย่างมาก 

                                         

องค์ประกอบ ที่ สำคัญ ของ QCDSMEE การเพิ่ม ผลผลิต ที่ สำคัญ 7 ประการ คือ ข้อ ใด

                จะเห็นได้ว่าขั้นตอนต่าง ๆ ตั้งแต่การจัดซื้อถึงขั้นตอนสุดท้ายคือลูกค้านั้นจะต้องดำเนินการไปอย่างต่อเนื่อง ถ้าหากขั้นตอนใดสะดุด กระบวนการผลิตหรือให้บริการก็จะขาดตอนและชะงักลงซึ่งส่งผลให้กระทบกระบวนการอื่น ๆ ติดขัดไปด้วย และในที่สุดขั้นตอนสุดท้ายก็คือลูกค้าก็จะได้รับสินค้าหรือใช้บริการที่ล่าช้ากว่ากำหนด 
                จากกรณีตัวอย่าง เราจะพบว่าลูกค้าไม่ได้หมายถึงผู้เข้ามารับประทานอาหารในภัตตาคารเท่านั้น แต่ลูกค้าในที่นี้ยังหมายถึง ผู้ที่จะได้รับช่วงสินค้าหรือใช้บริการจากเราในขั้นตอนถัดไปด้วย ทั้งผู้ช่วยพ่อครัว พ่อครัว พนักงานบริการ และลูกค้า ต่างเป็นลูกค้าของขั้นตอนก่อนหน้านี้ทั้งสิ้น ดังนั้น ลูกค้าสามารถ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือลูกค้าภายในและลูกค้าภายนอก 
                ก.  ลูกค้าภายใน (Internal Customer) คือ  ผู้ที่อยู่ภายในหน่วยงานเดียว เช่น ผู้ช่วย พ่อครัว
พ่อครัว พนักงานบริการ 
                ข.  ลูกค้าภายนอก (External Customer)   คือ  ผู้ที่อยู่ภายนอกหน่วยงานที่ซื้อสินค้าหรือ
ใช้บริการ 
                ดังนั้น ทุกหน้าที่ในกระบวนการผลิตสินค้าหรือให้บริการจึงมีความสำคัญทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อคุณภาพทั้งสิ้น  การสร้างคุณภาพจึงเป็นหน้าที่ของทุกคน หากทุกคนทำงานโดยคำนึงถึงคุณภาพของงานที่รับผิดชอบ ก็จะทำให้ลูกค้าทั้งภายในและภายนอกได้รับสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพและตรงตามเวลา  ทำให้เกิดความพึงพอใจของลูกค้า ซึ่งส่งผลให้องค์กรอยู่รอดและเกิดความก้าวหน้าของกิจการในที่สุด
                5.  คุณภาพทำให้ชีวิตที่ดีขึ้น   ในแง่ของผู้ผลิต หากเราผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ไม่มีของเสีย ไม่มีปัญหาในการผลิตส่งมอบสินค้าหรือบริการได้ตรงตามเวลา พนักงานก็จะมีความสุขกับการทำงาน มีกำลังใจในการทำงานที่ดีเพราะไม่ต้องถูกตำหนิจากหัวหน้า ไม่ต้องทำงานเพิ่มเติม เนื่องจากต้องปรับปรุง แก้ไข หรือผลิตใหม่ ในขณะเดียวกัน ผู้บริโภคก็จะได้บริโภคสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพตรงตามมาตรฐานและวางใจได้ 
คุณภาพของสินค้าหรือบริการเป็นสิ่งลูกค้าทั้งภายในและภายนอกต้องการและพึงพอใจ โดยต้องไม่เป็นภัยต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งในการผลิตสินค้าหรือให้บริการนั้นเราควรทำให้ถูกต้องตั้งแต่ครั้งแรก นอกจากนี้แล้ว การผลิตสินค้าหรือให้บริการที่มีคุณภาพนั้นยังจะช่วยลดต้นทุนการผลิตและสามารถส่งมอบงานได้ตามกำหนด

ตอนที่  1.3   การส่งมอบ   (Delivery)

หัวเรื่อง

      1.3.1  ความหมายของการส่งมอบ 
      1.3.2  อุปสรรคของการส่งมอบ 
สาระสำคัญ

  1. การส่งมอบ  หมายถึงการส่งมอบสินค้าหรือบริการให้แก่หน่วยงานถัดไป  ซึ่งถือว่าเป็นลูกค้าของเราได้อย่างตรงเวลามีจำนวนครบถ้วน  และมีคุณสมบัติตามที่ลูกค้าต้องการ
  2. อุปสรรคสำคัญต่อการส่งมอบที่ดี  ได้แก่  วัตถุดิบขาด  ข้อมูลไม่ครบถ้วน  กำลังการผลิตไม่เพียงพอ  เครื่องจักรเสีย ใช้เวลาในการผลิตนาน  วิธีการทำงานไม่ถูกต้อง

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม             

  1. อธิบายความหมายของการส่งมอบได้อย่างถูกต้อง
  2. ประยุกต์ความรู้ที่ได้ในการปรับปรุงการส่งมอบภายในหน่วยงานของตนเอง

องค์ประกอบ ที่ สำคัญ ของ QCDSMEE การเพิ่ม ผลผลิต ที่ สำคัญ 7 ประการ คือ ข้อ ใด

ตอนที่  1.3   การส่งมอบ   (Delivery)

       1.3.1  ความหมายของการส่งมอบ 
                คุณลักษณะของสินค้าหรือบริการจัดว่ามีส่วนสำคัญที่สร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าได้แค่อย่างไรก็ตามในภาวการณ์แข่งขันที่รุนแรงในปัจจุบันนี้  คุณลักษณะต่างๆ เหล่านั้นคงไม่เพียงพออีกต่อไปเนื่องจากผู้ผลิตและผู้ให้บริการทุกรายได้เรียนรู้  และพยายามปรับปรุงสินค้าและบริการของตนเองให้รองรับความต้องการของลูกค้าได้อยู่ตลอดเวลา  ดังนั้น  สิ่งสำคัญอีก 
อย่างหนึ่งที่สร้างความได้เปรียบให้กับบริษัทก็คือการผลิตสินค้าหรือให้บริการได้อย่างรวดเร็ง  ถูกต้องและทันตามกำหนด 
                เราเคยตั้งคำถามกับตัวเองไหมว่าทำไมปัจจุบันธุรกิจอาหารจานด่วนหรือฟาสฟูดท์  (FastFood)ประเภทส่งตรงถึงมือผู้บริโภคภายในเวลาที่ต้องการจึงได้รับความนิยมมากขึ้นในสังคมไทยทั้งๆ ที่ราคาของอาหารจานด่วนก็ค่อนข้างสูงกว่าอาหารทั่งๆไป  บางคนอาจให้เหตุผลว่า  ต้องการเลี่ยงรถติดหรือเลี่ยงการเสียเวลาหาอาหารนอกบ้านรับประทาน  จึงเลือกสั่งอาหารมาที่บ้านมีจุดเด่นอย่างหนึ่งก็คือเรื่องของการส่งมอบสินค้าตามที่ลูกค้าต้องการตรงตามเวลา  ถูกต้องและครบถ้วนเหล่านี้นับว่าสร้างความพึงพอใจให้ผู้บริโภคได้อย่างมาก

                          คลังสินค้า ---  แผนกผลิต ---  แผนกประกอบ ---   แผนกบรรจุภัณฑ์ ---   แผนกจัดส่ง --- ลูกค้า

                 จากแผนภาพการผลิตข้างต้น  จะพบว่า  ในแต่ละส่วนของการผลิตจนถึงการจัดส่งจะมีลูกค้าของตนเองซึ่งเรียกว่า  ลูกค้าภายใน  (ตามที่ได้กล่าวไว้แล้วในเรื่องของคุณภาพ)  ในขณะเดียวกันบริษัทก็มีลูกค้าภายนอกซึ่งเป็นผู้ซื่อสินค้า  ดังนั้น  หากแผนกใดแผนกหนึ่งในกระยวนการผลิตเกิดปัญหาขึ้น  ก็จะส่งผลให้การส่งชิ้นงานไปยังอีกแผนกล่าช้า  ซึ่งความล่าช้านั้นก็อาจจะมีผลต่อกันไปเรื่อยๆ ยังแผนกอื่นเป็นลูกโซ่  จนกระทั่งมีผลกระทบต่อการส่งมอบในขั้นตอนสุดท้ายซึ่งก็คือลูกค้าได้รับสินค้าที่ล่าช้า  ไม่ตรงตามกำหนด ผลก็คืออาจทำให้บริษัทต้องเสียลูกค้าไปในที่สุด
                โดยทั่วไปแล้ว  ความหมายของการส่งมอบสินค้าก็คือ  การส่งงานที่ผลิตเสร็จแล้วในหน่วยงานหนึ่งไปยังอีกหน่วยงานหนึ่ง  โดยผ่านทางการจนย้าย  เช่นใช้สายพานรถเข็น  รถยก  หรือให้คนเคลื่อนย้ายและสุดท้ายส่งมอบให้ลูกค้าต่อไป  แต่ในแง่ของการเพิ่มผลผลิตแล้ว   การส่งมอบสินค้าหมายถึง การส่งมอบสินค้าหรือบริการให้แก่หน่วยงานถัดไป ซึ่งถือว่าเป็นลูกค้าของเราได้อย่างตรงเวลามีจำนวนครบถ้วน  และมีคุณสมบัติตรงตามที่ลูกค้ากำหนด 
                 วิธีการที่จะช่วยให้การส่งมอบตรงเวลา  ถูกต้องและครบถ้วนนั้น  ทำได้โดยการปรับปรุงหารส่งมอบซึ่งต้องเริ่มตั้งแต่หน่วยงานที่เล็กที่สุดก่อน  คือ  การส่งมอบระหว่างหน่วยผลิตที่ต่อกัน เช่นการส่งมอบจากพนักงานคนหนึ่งไปยังพนักงานอีกคนหนึ่ง  หรือจากเครื่องจักรหนึ่งไปยังอีกเครื่องจักรหนึ่ง  โดยยึดแนวคิดที่ว่าหน่วยงานถัดไปคือลูกค้าของเรา ถ้าทุกๆ หน่วยงานมีแนวคิดเช่นนี้ในการทำงานก็จะส่งมอบชิ้นงานให้หน่วยงานถัดไป  นอกจากที่หน่วยงานถัดไปจะได้รับชิ้นงานที่มีคุณภาพไปผลิตต่ออย่างตรงต่อเวลาแล้ว  และเมื่อแต่ละหน่วยงานผลิตสินค้าที่มีคุณสมบัติถูกต้องจำนวนถูกต้อง  ส่งตรงตามเวลาแล้ว ก็จะส่งผลถึงการส่งมอบขั้นสุดท้าย  คือการส่งมอบให้แก่ลูกค้าได้ตรงตามที่กำหนดนั่นเอง 
               
        
1.3.2  อุปสรรคของการส่งมอบ 
                 ความสูญเสียจัดว่าเป็นอุปสรรคที่สำคัญต่อการส่งมอบ ซึ่งมีตัวอย่างความสูญเสียต่างๆ ต่อไปนี้ที่มีผลกระทบต่อการส่งมอบสินค้า 
                 1. วัตถุดิบขาดเนื่องจากฝ่ายจัดซื้อไม่สามารถควบคุมวัสดุคงคลังให้พร้อมต่อความต้องการของฝ่ายผลิตได้ 
                 2. การรอคอยข้อมูลสำหรับใช้ในการออกแบบสินค้า 
                 3. กำลังการผลิตไม่เพียงพอ 
                 4. เครื่องจักรเสีย 
                 5. ระยะเวลาที่พนักงานแต่ละคนใช้ในการผลิตชิ้นงานนานเกินไป 
                 6. วิธีการทำงานพนักงานไม่เหมาะสม 
                 จากตัวอย่างดังกล่าวล้วนทำให้เกิดความสูญเสียซึ่งส่งผลต่อการส่งมอบสินค้าทั้งสิ้นความพยายามที่จะลดความสูญเสียจึงเป็นความร่วมมือกันของทุกคนในหน่วยงาน  เพื่อให้ทุกขั้นตอนการผลิตหรือการให้บริการตรงตามกำหนดอย่างต่อเนื่อง การเราทุกคนช่วยกันลดความสูญเสียในทุดขั้นตอนแล้วก็จะส่งผลดีกับหน่วยงานเอง  คือ  ประสิทธิภาพในการทำงานเป็นทีม

ตอนที่ 1.4  ความปลอดภัย   (Safety)  และขวัญกำลังใจในการทำงาน (Morale)             

หัวเรื่อง
 

  1. ความหมายของความปลอดภัย
  2. แนวทางในการสร้างความปลอดภัย  หรือวิธีการป้องกันอุบัติเหตุ
  3. ประโยชน์ของความปลอดภัย
  4. การกระทำที่ไม่ปลอดภัย
  5. สภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย
  6. ความหมายของขวัญกำลังใจในการทำงาน
  7. ปัจจัยที่มีผลต่อขวัญกำลังใจของพนักงาน

สาระสำคัญ 

     1. ความปลอดภัยหมายถึงการปลอด  (ปราศจาก)  อุบัติภัย  (สิ่งร้าย ๆ ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น)  
     2. แนวทางในการสร้างความปลอดภัย  ได้แก่  (1)  การจัดหน่วยงานและบริการงานด้านความปลอดภัย (2)  การควบคุมอันตรายทั่วไป (3) การควบคุมอันตรายในกระบวนการผลิต  (4)  การฝึกอบรมการสื่อสาร  และการจูงใจ  
     3. ประโยชน์ของความปลอดภัย  (1)  ผลิตผลเพิ่มขึ้น (2)  ต้นทุนการผลิตลดลง  (3)  กำไรมากขึ้น  (4)  สงวนทรัพยากรมนุษย์แก่ประเทศชาติ  (5)  เป็นการจูงใจในการทำงาน
     4. การกระทำที่ไม่ปลอดภัย  คือ  การกระทำที่ทำให้ตัวเอง/หรือบุคคลอื่นมีโอกาสที่จะสัมผัสกับแหล่งอันตรายได้ง่าย 
     5. ขวัญและกำลังใจในการทำงานหมายถึง  สภาพทางจิตใจของผู้ปฏิบัติงานที่มีต่อการปฏิบัติงาน 
     6. ปัจจัยที่มีผลต่อขวัญกำลังใจของพนักงาน  ได้แก่  สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการปฏิบัติงาน  และผู้ร่วมงานที่อยู่แวดล้อมพนักงาน

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
 

     1. อธิบายความหมายและความสำคัญของความปลอดภัยและขวัญกำลังใจในการทำงาน 
     2. นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการสร้างความปลอดภัยในที่ทำงาน  และสร้างขวัญกำลังใจทั้งต่อตนเองและเพื่อนร่วมงาน

องค์ประกอบ ที่ สำคัญ ของ QCDSMEE การเพิ่ม ผลผลิต ที่ สำคัญ 7 ประการ คือ ข้อ ใด

ตอนที่  1.4  ความปลอดภัย  (Safety) และขวัญกำลังใจในการทำงาน  (Morale)

      1.4.1  ความหมายของความปลอดภัย 
               เหตุการณ์โศกนาฏกรรมไฟไหม้โรงแรมรอยัลจอมเทียน  พัทยา  ซึ่งมีผู้บาดเจ็บและสูญเสียชีวิตจำนวนมากตัวอาคารรวมถึงอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ  ก็ถูกเผามอดไหม้ไปในกองเพลิงจากผลการสอบสวนพบว่าสาเหตุของเพลิงไหม้ในครั้งนั้นเกิดจากการเปิดแก๊สในห้องครัวทั้งไว้  เมื่อเกิดประกายไฟ  ก็ทำให้ไฟลุกติดประกอบกับวัสดุที่ใช้ในโรงแรมล้วนแล้วแต่เป็นวัสดุที่ง่ายต่อการติดไฟทั้งสิ้น 
               จากตัวอย่างนี้จะเห็นได้ว่าการที่เกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ครั้งใหญ่ที่โรงแรมรอยัลจอมเทียนพัทยา   นั้นได้ก่อให้เกิดการสูญเสียจำนวนมาก   ซึ่งเหตุการณ์เหล่านั้นอาจจะไม่เกิดขึ้น  หากเรารู้จักวิธีสร้างความปลอดภัยหรือวิธีป้องกันอุบัติเหตุเสียก่อนที่จะสายเกินแก้  หรือเกิดเหตุการณ์น่าสะเทือนขวัญเช่นนี้ 
ในแต่ละวันจะมีผู้ได้รับอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงาน  ในโรงงานจำนวนไม่น้อยและมีมูลค่าความสูญเสียเป็นจำนวนมาก  จากการศึกษาอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นทั้งหมดพบว่ามีสาเหตุหลักๆ ดังนี้ 
               -  เกิดจากการกระทำที่ไม่ปลอดภัยของพนักงานในโรงงาน   69%
               -  เกิดจากสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัยหรือความบกพร่องของเครื่องจักรกล  3%
               -  เกิดจากสาเหตุที่ไม่อาจป้องกัน  หรือคาดเดาได้  1%
               นอกจากการบาดเจ็บ  การเสียขวัญกำลังใจ  จนกระทั่งการสูญเสียชีวิตของพนักงานแล้วยังมีความสูญเสียอื่นๆ  ที่เราไม่ควรมองข้าม  ก็คือ  ความสูญเสียทางด้านต้นทุน  ทั้งทางตรง  เช่น  ค่ารักษาพยาบาล  เงินทดแทน  ค่าทำขวัญ  ทำศพ  อาคารเสียหาย  เครื่องมือเครื่องใช้เสียหายหรือทางอ้อม  ซึ่งได้แก่  ค่าใช้จ่ายในการหาพนักงานใหม่  การรอผลิต  เป็นต้น  ดังนั้นในตอนนี้  เราจะมาศึกษาเรื่องของความปลอดภัย  แนวทางในการสร้างความปลอดภัย  และประโยชน์ของความปลอดภัย  เพ่อตัวเราเอง  เพื่อคนที่เรารัก  และเพื่อประเทศชาติของเราหรือความสูญเสีย  หรืออาจหมายถึงการควบคุมความสูญเสียจากอุบัติเหตุ   ซึ่งเกี่ยวกับการบาดเจ็บเจ็บป่วย  ทรัพย์สินเสียหายและความสูญเสียเนื่องจากกระบวนการผลิต  นอกจากนั้นแล้ว  การควบคุมจะรวมไปถึงการป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุและการดำเนินการให้สูญเสียน้อยที่สุด   เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น

       1.4.2   แนวทางในการสร้างความปลอดภัย  หรือวิธีการป้องกันอุบัติเหตุ

  1. การจัดหน่วยงานปละบริหารงานด้านความปลอดภัย  เพื่อทำหน้าที่ความรับผลิตชอบกฎเกณฑ์และมาตรฐานด้านความปลอดภัย  รวมทั้งควบคุมอุบัติเหตุและความเสียหายตามแผนที่ตั้งไว้  และที่สำคัญที่สุดคือ  ผู้บริหารทุกระดับขั้นต้องให้ความสำคัญต่อเรื่องความปลอดภัย  และอุบัติเหตุ
  2. การควบคุมอันตรายทั่วๆ  ไป  อาทิ 
    จัดระเบียบและดูแลรักษาโรงงาน  เช่น  ใช้  5ส   มาช่วยจัดระเบียบโรงงาน 
    2.2  จัดสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสม  เช่น  มีแสงสว่างเพียงพอ  ระดับเสียงไม่เกินมาตรฐาน  
    2.3  มีการออกแบบเครื่องป้องกันอันตรายของเครื่องจักรอย่างถูกต้อง   และจัดการให้พอกับการความต้องการ 
    2.4  จัดหาอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลตามมาตรฐานที่กำหนดและฝึกอบรมให้ความรู้พนักงานเพื่อให้สามารถใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายเหล่านี้ได้อย่างถูกต้อง

      3.  การควบคุมอันตรายในกระบวนการผลิต 
          3.1  การป้องกันอันตรายจากสารเคมี  เช่น  ติดฉลากคำอธิบายสารเคมีที่เป็นอันตรายให้เห็นชัดเจนแจ้งรายละเอียดสารเคมีที่เป็นอันตรายพร้องทั้งวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้คนงานทรายก่อนปฏิบัติงาน  จัดเก็บให้อยู่ในที่ที่ปลอดภัย 
          3.2  การป้องกันอัคคีภัย  เช่น  พนักงานควรได้รับการแนะนำและฝึกอบรมเกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันอัคคีภัยอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ  ควรจัดให้มีการซ้อมหนีไฟอย่างน้อยปีละ  1 ครั้ง  เป็นต้น 
      4.   การฝึกอบรม  การสื่อสารและการจูงใจด้านความปลอดภัย  อาทิ 
          4.1   จัดปึกอบรมด้านความปลอดภัยแก่ผู้บริหารผู้ควบคุม  และพนักงาน 
          4.2   ปลูกฝึกทัศนคติด้านความปลอดภัยให้กับพนักงานเข้าใหม่ 
          4.3   ให้มีการจัดประชุมด้านความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ 
          4.4   จัดทำคู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงาน  เป็นต้น 

      1.4.3   ประโยชน์ของความปลอดภัย 
                การที่หน่วยงานมีสภาพการทำงานที่ปลอดภัยและพนักงานทุกคนทำงานด้วยความปลิดภัยแล้วผลดีที่เกิดขึ้น  ได้แก่               
                1. ผลิตผลเพิ่มขึ้น        
                    การทำงานอย่างปลอดภัยโดยมีสภาพแวดล้อมที่ดี  มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายเหมาะสมจะทำให้พนักงานมีขวัญและกำลังใจในการทำงานสูงกว่าสภาพการทงานที่อันตราย  หรือเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ  ความรู้สึกหวาดกลัวหรือวิตกกังวลก็จะหมดไป   ทำให้ทำงานได้อย่างเต็มที่  ส่งผลให้ผลิตผลเพิ่มขึ้น 
                2. ต้นทุนการผลิตลดลง   ได้แก่ 
                   -  ต้นทุนการผลิตเนื่องจากความสูญเสียในระหว่างขั้นตอนการผลิต  เช่น  พื้นที่การปฏิบัติงาน  ที่ขาดความเป็นระเบียบเรียบร้อย   ขาดการรักษาความสะอาด  อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุในระหว่างการปฏิบัติงานได้ 
                   -  ต้อนทุนการผลิตที่เกิดจากค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ  เช่น  ค่ารักษาพยาบาลเงินทดแทนการบาดเจ็บ ฯลฯ 
                3. กำไรมากขึ้น 
                    การทำงานอย่างปลิดภัยช่วยให้ผลิตผลเพิ่มสูงขึ้น  และลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลง  ซึ่งจะทำให้โอกาสที่สินค้าของโรงงานจะสามารถแข่งขัน  ด้านราคาในท้องตลาดสูงขึ้นส่งผลให้บริษัทได้กำไรมากขึ้นในที่สุด 
                4. สงวนทรัพยากรมนุษย์แก่ประเทศชาติ
                    การเกิดอุบัติเหตุในแต่ละครั้งมักจะทำให้พนักงานบาดเจ็บ  พิการ  ทุพลภาพหรือถึงขั้นเสียชีวิตได้  ซึ่งถือว่าเป็นการสูญเสียทรัพยากรที่สำคัญของประเทศไป  ดังนั้น  การทำให้สภาพการทำงานมีความปลิดภัย  จึงเป็นการสงวนไว้ซึ่งทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญ 
                5. เป็นปัจจัยในการจูงใจ
                   ความปลอดภัยในการดำรงชีวิต  และการทำงาน  เป็นความต้องการ  พื้นฐานของมนุษย์ทุกคน  ดังนั้น  การจัดสภาพการทำงานให้ปลอดภัย  จึงเป็นการสร้างแรงจูงใจให้พนักงานมีความต้องการรู้สึกสนใจในการทำงานมากยิ่งขึ้น 
การควบคุมอันตรายเพื่อลดอุบัติเหตุและสร้างความปลิดภัยนั้น  นอกจากจะเกิดผลดีดังที่กล่าวข้างต้นแล้ว  กิจกรรมด้านความปลิดภัยจะสามารถช่วยให้หน่วยงานมีการเพิ่มผลผลิตที่สูงขึ้นได้ลองพิจารณาดูแผนภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความปลอดภัยกับการเพิ่มผลผลิตดังนี้

        1.4.4  การกระทำที่ไม่ปลอดภัย  (Unsafe  Act)
                 การกระทำที่ไม่ปลอดภัย  (Unsafe  Act)  คือ  การกระทำที่ทำให้ตัวเองหรือบุคคลอื่นมีโอกาสที่จะสัมผัสกับแหล่งอันตรายได้ง่าย   การกระทำที่ไม่ปลิดภัยเกิดจาก
                 1. ปฏิบัติงานโดยไม่มีหน้าที่รับผิดชอบ
                 2. ปฏิบัติงานด้วยความเร็วที่ไม่ปลอดภัย
                     -  ลำเลียงหรือส่งของเร็วเกินไป 
                     -  วิ่งหรือกระโดด 
                     -  ขับเคลื่อนควบคุมยานพาหนะ  เครื่องจักรด้วยความเร็วที่ไม่ปลอดภัย 
                 3. ใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือชำรุด  (ทั้งๆ  ที่รู้อยู่แล้วว่าชำรุดหรือเลิกใช้แล้ว)
                 4. ไม่ตระเตรียมให้ปลิดภัยไม่ให้สัญญาณหรือใช้สัญญาณผิด
                     -  ไม่ปิดสวิทช์  ล็อค  ปิดวาวล์    ให้อุปกรณ์มั่นคงปลอดภัยจากการเคลี่อนไหวกระแสไฟฟ้า  ไอน้ำ  
                     -  ไม่ได้หยุดเครื่องมือเลิกใช้งาน 
                     -  ไม่ติดเครื่องหมาย  ป้ายสัญญาณเตือน  หรือให้สัญญาณผิด 
                     -  ปล่อยให้มีการเคลื่อนที่  เช่น  เครนเริ่มผกโดยให้สัญญาณไม่รัดกุม 
                     -  เริ่มหรือหยุดภาชนะเครื่องจักรโดยไม่ให้สัญญาณ 
                5. ไม่ใช้อุปกรณ์เครื่องป้องกันภัยส่วนบุคคล 
                6. เก็บบรรจุ  ผสม  อย่างไม่ปลอดภัย
                     -  ฉีด  ผสม  รวมสารแต่ละชนิดเข้าด้วยกันจนทำให้ระเบิด  เพลิงไหม้หรือเกิดอันตรายอื่น ๆ
                     -  จัดเก็บวัสดุ สิ่งของอย่างไม่ปลอดภัย 
                7. ดัดแปลง  แก้ไปอุปกรณ์ความปลอดภัย
                     -  จัดผูกมัด  ตัดต่อวงจร  ฯลฯ   ให้อุปกรณ์ความปลอดภัยไม่ทำงานหรือเอาออก 
                     -  ปรับ  เปลี่ยน  อุปกรณ์ความปลอดภัยจนไม่เหมาะสม

        1.4.5 สภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย 
                1. อุปกรณ์   เครื่องจักร เครื่องมือชำรุด 
                2. แต่งกายไม่เหมาะสม 
                    - ขาดอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลที่จำเป็น 
                    - เสื้อผ้าที่สวมใส่ไม่เหมาะสมปลอดภัย   เช่น  รุ่มร่าม  (เช่น  เสื่อยาวเกินไป) 
                3. สภาพและสิ่งแวดล้อมไม่ปลอดภัย 
                    - มีปัญหาด้วยสภาวะแวดล้อม  (ความร้อน แสง  เสียง  ฝุ่น  สารเคมี) 
                    - สภาพคับแคบ 
                    - ปัญหาทางเข้า – ออก  ทางเดิน   ทางจราจร
                4. จัดเก็บวัสดุ  เครื่องมือ   เครื่องใช้ไม่ถูกต้อง 
                    -  กองไม่ถูกวิธี  เกะกะ 
                    -  วางไม่ถูกตำแหน่ง 
                    -  วางเก็บไม่มั่นคง 
                5.  วิธีการทำงานที่กำหนดให้ไม่ปลอดภัย 
                    -  ใช้วัสดุหรืออุปกรณ์ที่มีอันตราย 
                    - ใช้วิธีที่เป็นอันตราย 
                    -  ไม่มีเครื่องมือที่เหมาะสม  หรือไม่เพียงพอ 
                    -  ขาดผู้ช่วยเหลือ 
                    -  ใช้คนไม่เหมาะกับงาน 
                6.  ขาดเครื่องกำบังหรือไม่เหมาะสม
                    -  ไม่มีการ์ดป้องกันอันตรายจากเครื่องจักร 
                    -  มีการ์ดที่ไม่เพียงพอ 
                    -  ขาดฉนวนหรือไม่มีสายดิน 
                    -  ขาดฉลากเตือนภัย  (ของสารมีพิษ) 
                7.  เกิดจากสภาพภายนอกที่ควบคุมไม่ได้ 
                    -  ธรรมชาติ  (แผ่นดินไหว  น้ำท่วม) 
                    -  สิ่งแวดล้อมต่าง  ๆ  ที่ควบคุมไม่ได้ 

        1.4.6  ความหมายของขวัญและกำลังใจในการทำงาน 
                 การที่หน่วยงานจะประสบความสำเร็จในธุรกิจหรือไม่นั้น  ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการมีเครื่องจักที่มีประสิทธิภาพในการผลิต  หรือการมีเงินทุนสูงเพียงพอเพ่อใช้ลงทุนในด้านเทคโนโลยีเท่านั้นแต่การมีพนักงานที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลนั้น   เป็นอึกปัจจัยหนึ่งที่สร้างความได้เปรียบในการดำเนินธุรกิจ 
ขวัญและกำลังใจในการทำงาน  หมายถึง  สภาพทางจิตใจของผู้ปฏิบัติงาน  เช่น  ความรู้สึกนึกคิดที่ได้รับอิทธิพลจากแรงกดดันสิ่งเร้า  หรือสภาพแวดล้อมในหน่วยงานที่อยู่รอบตัว  โดยผู้ปฏิบัติงานนั้นจะมีปฏิกิริยาโต้กลับซึ่งก็คือพฤติกรรมในการทำงานที่จะมีผลโดยตรงต่อผลงานของบุคคลนั้น                        
                 ดังนั้นจึงเห็นได้ชัดว่า  นอกจากทักษะ  ความรู้ความสามารถเฉพาะตัวของแต่ละบุคคลแล้วขวัญและกำลังใจของพนักงานก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้พนักงานปฏิบัติงานได้อย่างเต็มความสามารถขวัญและกำลังใจ  จึงมีผลกระทบต่อความมุ่งมั่น   และความเต็มใจในการทำงานของบุคคลนั้นตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงานภายในหน่วยงาน  ในขณะที่ขวัญและกำลังใจเป็นเรื่องของทัศนคติที่มองไม่เห็นและวัดได้อยากแต่เราก็สามารถรู้สึกและสังเกตได้โดยที่ขวัญและกำลังใจจะมีลักษณะทั้งใจเชิงบวกและลบและสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา

                1.4.7   ปัจจัยที่มีผลต่อขวัญกำลังใจของพนักงาน 
                  1.  สภาพแวดล้อมในการทำงาน   มีผลโดยตรงต่อการปฏิบัติงาน  เช่น   พื้นที่ทำงานเหมาะสมแสดงสว่าง  อุปกรณ์เครื่องใช้ในสำนักงานต่าง ๆ  เพียงพอ  ระบบการบริหารงาน  นโยบายของบริษัทระเบียบข้อบังคับถูกต้องและถูกต้องและชัดเจน  มีความก้าวหน้าในสายงาน  ฯลฯ   ดังนั้นการจัดสภาพแวดล้อมภายในหน่วยงานจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำให้ถูกต้อง   ถูกสุขลักษณะเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถปฏิบัติงาน  ต่าง ๆ  ด้วยความมั่นใจ  สบายใจ   และปลอดภัย  ซึ่งจะทำให้งานดำเนินไปด้วยความราบรื่น 
                  2.   บรรยากาศในการทำงาน   เป็นเรื่อของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล  หรือกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน  อาทิ   ผู้บังคับบัญชา   เพื่อนร่วมงานลูกค้า  ผู้ขายปัจจัยการผลิต  เป็นต้น  รวมไปถึงผู้อื่นที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน 
เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น  สามารถอธิบายความสัมพันธ์ของสภาพแวดล้อมบรรยากาศ 
ขวัญและกำลังใจในการทำงาน  รวมถึงพฤติกรรม  ซึ่งมีผลต่อผลงานของบุคคลและหน่วยงานได้ดังแผนภาพต่อไปนี้

       

องค์ประกอบ ที่ สำคัญ ของ QCDSMEE การเพิ่ม ผลผลิต ที่ สำคัญ 7 ประการ คือ ข้อ ใด
                        

              กรณีความรู้สึกและทัศนคติทางลบ

       

องค์ประกอบ ที่ สำคัญ ของ QCDSMEE การเพิ่ม ผลผลิต ที่ สำคัญ 7 ประการ คือ ข้อ ใด

               กรณีความรู้สึกและทัศนคติทางบวก 

     

องค์ประกอบ ที่ สำคัญ ของ QCDSMEE การเพิ่ม ผลผลิต ที่ สำคัญ 7 ประการ คือ ข้อ ใด

           จากแผนภาพข้างต้นจะเห็นได้ว่าทัศนคติและความรู้สึกทั้งทางบวกและลบจะมีผลต่อพฤติกรรมการทำงานในรูปแบบต่าง ๆ  ซึ่งทำให้ผลงานที่ออกมาแตกต่างกันด้วย  ในขณะเดียวกันทัศคติและความรู้สำนึกคิดเหล่านี้ก็ได้รับผลมาจากสภาพแวดล้อมและบรรยากาศในการทำงาน 

สรุป

            ในการทำงาน  นอกเหนือจากการใช้ความรู้  ความสามารถและทักษะในการปฏิบัติงานแล้วขวัญและกำลังใจในการทำงานก็มีอิทธิพลต่อความสำเร็จขอองงานไม่มากก็น้อย  ดังนั้นผู้บริหารจึงต้องตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องนี้โดยต้องเอาใจใส่และพยายามรักษาขวัญและกำลังใจของพนักงานในหน่วยงานให้อยู่ในสภาพที่ดี  ในขณะเดียวกันก็ต้องหาวิธียกระดับขวัญและกำลังใจของสมาชิกในหน่วยงานให้สูงขึ้นด้วย  แนวทางหนึ่งที่สามารถช่วยยกระดับขวัญและกำลังใจของสมาชิกในหน่วยงานได้ดีก็คือ  การดำเนินกิจกรรมการเพิ่มผลผลิตมาใช้  และทุกคนร่วมมือร่วมใจกันก็จะมีผลให้สภาพที่ทำงานน่าทำงานและสามารถทำงานได้ง่ายขึ้น  สะดวกสบายขึ้นปัญหาที่เคยมีเราก็มีส่วนในการแก้ไขปัญหาเราก็จะรู้สึกมั่นใจ  ภาคกูมิใจ  และผลก็คือขวัญและกำลังใจในการทำงานสูงขึ้นนั่นเอง