อัตถะ 3 ด้าน มี อะไร บ้าง พร้อม อธิบาย ประกอบ

February 7, 2014อัตถะ 3

อัตถะ  หมายถึง ประโยชน์ ผลที่ได้ มี 3 ประการ คือ

  1. ทิฏฐธัมมิกัตถะ  ประโยชน์ในภพนี้ได้เห็นในชาติปัจจุบัน เช่น สุขจากการมีทรัพย์ ใช้จ่ายทรัพย์ ไม่เป็นหนี้ ทำงานที่สุจริต
  2. สัมปรายิกัตถะ ประโยชน์ในภพหน้าคือสุขขั้นเลยตาเห็น เป็นประโยชน์ที่สร้างคุณค่าในภพปัจจุบันยังเป็นหลักประกันถึงภพหน้าที่่จะได้จากมนุษยสมบัติหรือสวรรคสมบัติ
  3. ปรมัตถะ  เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง นั่นคือ นิพพาน เป็นสุขอย่างแท้จริงยั่งยืนหลุดพ้นจากกิเลสและกองทุกข์ทั้งมวล

Advertisement

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

Like Loading...

Related

Written by papatsro Posted in Dhamma Tagged with ธรรมวิภาคโท, นักธรรมโท

อัตถะ แปลว่า ประโยชน์ ผลที่มุ่งหมาย จุดหมาย พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมสั่งสอนพุทธบริษัททั้งหลาย ก็เพื่อให้พุทธบริษัทนั้นได้รับประโยชน์ 3 ประการ คือ

1. ทิฏฐธัมมิกัตถะ

ทิฏฐธัมมิกัตถะ ประโยชน์ในภพนี้ ประโยชน์ในโลกนี้ หรือประโยชน์ในปัจจุบัน คือประโยชน์ที่จะได้รับในปัจจุบันชาตินี้ มุ่งถึงประโยชน์ในการแสวงหาทรัพย์และการมีฐานะที่มั่นคง จะเกิดมีขึ้นได้ด้วยการมีคุณลักษณะ 4 ประการ คือ

1) อุฏฐานสัมปทา ประกอบพร้อมด้วยความขยันในการประกอบกิจแสวงหาทรัพย์สิน

2) อารักขสัมปทา การรักษาทรัพย์ที่หามาได้ไม่ให้สูญไปโดยไร้ประโยชน์

3) กัลยาณมิตตตา การคบคนดีเป็นมิตร

4) สมชีวิตา การเลี้ยงชีพพอสมควรแก่ฐานะ

2. สัมปรายิกัตถะ

สัมปรายิกัตถะ ประโยชน์ในภพหน้า คือประโยชน์ที่จะได้รับหลังจากตายไปแล้วไปเกิดในภพหน้าต่อ ๆ ไป มุ่งถึงการบำเพ็ญคุณธรรมในปัจจุบันชาติ อันจะส่งผลดีให้ได้รับในชาติต่อไป ซึ่งคุณธรรมดังกล่าวนั้นมี 4 ประการ คือ

1) สัทธาสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา มีศรัทธาที่ประกอบด้วยปัญญา

2) สีลสัมปทา สมบูรณ์ด้วยศีล คือรักษาศีลให้บริสุทธิ์หมดจด

3) จาคสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยจาคะคือการเสียสละ คือการยอมสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อสงเคราะห์ผู้อื่น

4) ปัญญาสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยปัญญา คือการศึกษาธรรมะให้รู้แจ้ง เพื่อความเป็นสัมมาทิฏฐิ รู้ทางแห่งความเสื่อมและความเจริญ และดำเนินตามทางแห่งความเจริญ

3. ปรมัตถะ

ปรมัตถะ ประโยชน์อย่างยิ่ง หมายเอาเป้าหมายสูงสุดคือพระนิพพาน เพราะพระนิพพานถือว่าเป็นประโยชน์สูงสุดในพระพุทธศาสนา เป็นประโยชน์ที่ยิ่งยวดกว่าประโยชน์ทั้งหมด องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมสั่งสอนเหล่าสาวกก็เพื่อประโยชน์สูงสุดคือพระนิพพานนี้


  • รัตนะ 3 (พระรัตนตรัย)
  • คุณของรัตนะ 3 (คุณของพระรัตนตรัย)
  • อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน 3 อย่าง
  • โอวาทของพระพุทธเจ้า 3 ข้อ
  • ทุจริต 3 ประการ
  • สุจริต 3 ประการ
  • สมาธิ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
  • สมาธิ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
  • พระโสดาบัน 3 ประเภท
  • อกุศลมูล 3 ประการ
  • กุศลมูล 3 ประการ
  • สัปปุริสบัญญัติ 3 ประการ
  • อปัณณกปฏิปทา 3 ประการ
  • บุญกิริยาวัตถุ 3 ประการ
  • สามัญญลักษณะ (ไตรลักษณ์) 3 ประการ
  • อกุศลวิตก 3 ประการ
  • กุศลวิตก 3 ประการ
  • อัคคิ 3 ประการ
  • อัคคิปาริจริยา 3 ประการ
  • อัตถะ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
  • อัตถะ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
  • อธิปไตย 3 ประการ
  • อนุตตริยะ 3 ประการ
  • อภิสังขาร 3 ประการ
  • อาสวะ 3 ประการ
  • กรรม 3 ประการ
  • ทวาร 3 ประการ
  • ญาณ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
  • ญาณ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
  • ตัณหา 3 ประการ
  • ทิฏฐิ 3 ประการ
  • เทพ 3 ประเภท
  • ธรรมนิยาม 3 ประการ
  • นิมิต 3 ประการ

  • ภาวนา 3 ประการ
  • ปริญญา 3 ประการ
  • ปหาน 3 ประการ
  • ปาฏิหาริย์ 3 ประการ
  • ปิฎก 3 ประการ (ไตรปิฎก)
  • พุทธจริยา 3 ประการ
  • ภพ 3 ประการ
  • วัฏฏะ 3 ประการ
  • วิชชา 3 ประการ
  • โลก 3 ประการ (นัยที่ 1)
  • โลก 3 ประการ (นัยที่ 2)
  • โลก 3 ประการ (นัยที่ 3)
  • วิโมกข์ 3 ประการ
  • วิเวก 3 ประการ
  • สังขตลักษณะ 3 ประการ
  • อสังขตลักษณะ 3 ประการ
  • สังขาร 3 ประการ
  • สัทธรรม 3 ประการ
  • สมบัติ 3 ประการ
  • ทานสมบัติ 3 ประการ
  • สิกขา 3 ประการ
  • โกศล 3 ประการ
  • ทุกขตา 3 ประการ
  • เทวทูต 3 ประการ
  • ธรรม 3 ประการ
  • บุตร 3 ประเภท
  • ปปัญจะ 3 ประการ
  • ปัญญา 3 ประการ
  • ปาปณิกธรรม 3 ประการ
  • ลัทธินอกพระพุทธศาสนา 3 ประเภท
  • วิรัติ 3 ประการ
  • เวทนา 3 ประการ
  • สรณะ 3 ประการ
  • สันโดษ 3 ประการ

สนใจเรื่องเหล่านี้ไหม:

อัตถะ 3 ด้าน มี อะไร บ้าง พร้อม อธิบาย ประกอบ
บุคคลไม่ควรพร่าประโยชน์ของตน เพราะประโยชน์ของผู้อื่นแม้มาก รู้จักประโยชน์ของตนแล้ว พึงขวนขวายในประโยชน์ของตน.
        ปรมัตถะ ประโยชน์สูงสุด คือ พระนิพพาน อันเป็นธรรมที่ดับทุกข์นั่นเอง การที่พระนิพพานได้ชื่อว่า มีประโยชน์อย่างยิ่ง ประโยชน์ที่แท้จริง เป็นการหลุดพ้นจากสังสารวัฏ อันเกิดจากการปฏิบัติทางสายกลางหรือมัชฌิมาปฏิปทาหรือมรรค 8 นั่งเอง

หลักธรรมอัตถะ 3 มีอะไรบ้าง

อนึ่ง ถ้าหากจะไม่แบ่งในแง่ระดับ จะแบ่งในแง่ประโยชน์ หรือจุดหมายที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์เป็นด้านๆ ก็แบ่งไว้อีก บอกว่าประโยชน์ หรืออัตถะ มี 3 ด้าน คือ 1. ประโยชน์ตน (อัตตัตถะ) 2. ประโยชน์ผู้อื่น (ปรัตถะ) 3. ประโยชน์ร่วมกัน (อุภยัตถะ)

ลุงดําได้รับผลจากการปฏิบัติตนตามหลักธรรมอัตถะ 3 อย่างไรบ้าง

3. ปรมัตถะ (ประโยชน์ขั้นสูงสุด) คือ เป็นผู้ประพฤติดีทั้งกาย วาจา ใจ ปฏิบัติตนตามหลักอริยมรรคมีองค์ 8. 2. ลุงดำได้รับผลจากการปฏิบัติตนตามหลักธรรมอัตถะ 3 อย่างไร ได้รับการยกย่องชื่นชมว่า เป็นคนดีพร้อมทั้งกาย วาจา ใจ

อัตถะ หมายถึงข้อใด

อัตถ-, อัตถ์, อัตถะ น. เนื้อความ, ประโยชน์, ความต้องการ.

อัตถะแบ่งเป็นกี่ระดับ

ค าว่า “ประโยชน์” ในพระพุทธศาสนาเถรวาท มาจากศัพท์ภาษาบาลีสันสกฤตว่า “อัตถ” หรือ “อรรถ” หมายถึงผลที่มุ่งหมาย 3 ระดับขั้น คือ 1. ประโยชน์หรือผลที่มุ่งหมายในปัจจุบันหรือ ในภพชาตินี้เรียกว่า ทิฏฐธัมมิกัตถะ 2. ประโยชน์หรือผลที่มุ่งหมายในชาติหน้า หรือในภพชาติหน้าเรียกว่า สัมปรายิกัตถะ