Digital Technology Innovation มีอะไรบ้าง

ปัจจุบันไวรัสโคโรนายังคงสร้างผลกระทบต่อภาคธุรกิจทั่วโลก วิกฤตการณ์ในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญในการสนับสนุน Digital ผ่านภาคธุรกิจ โดยเศรษฐกิจที่ถูกเชื่อมต่อด้วยดิจิทัลนั้นช่วยให้ภาคธุรกิจและพนักงาน รวมถึงผู้บริโภคในหลายๆ ภาคส่วนยังคงมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันในการทำธุรกิจ

วิกฤตการณ์ในครั้งนี้ทำให้เห็นชัดเจนว่า ในโลกของธุรกิจ การลงทุน การสร้างธุรกิจดิจิทัลของตัวเองสามารถที่จะทำให้ธุรกิจนั้นเติบโต แม้ว่าจะมีสิ่งที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น การเติบโตอย่างมากของเครื่องมือธุรกิจบน Platform Digital ต่างๆ เช่น การซื้อขายออนไลน์ (e-commerce) การเรียนรู้ผ่านระบบดิจิตอล (Digital Learning) ระบบการเทรนนิ่งเสมือนจริง (VR-based Training) และ Application ที่ช่วยเหลือการทำธุรกิจระยะไกลสำหรับคนทำงาน

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสิ่งเหล่านี้ จะกลายเป็น New Normal ของ Business ในโลกยุคใหม่ โดย 10 เครื่องมือทางดิจิตอลที่จะสามารถช่วยมนุษยชาติให้พ้นจากการเงื้อมมือของไวรัสโคโรน่าได้ มีดังต่อไปนี้

#IFI #FutureScene #FutureIdeas #10DigitalTechnologiesForFightingTheCOVID19 #NIA

ดาวน์โหลด PDF

Show
  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

ปฏิเสธไม่ได้ว่าโลกของเรานั้นมีการเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นดิจิทัลอยู่ตลอด ไม่ว่าจะเป็นการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้ใช้ทุกคนอยู่เรื่อย ๆ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามการระบาดของไวรัส COVID-19 ได้เข้ามาเร่งให้การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมสู่ดิจิทัลนั้นรวดเร็วยิ่งขึ้นอย่างที่ไม่เคยเกิดมาก่อน ผู้คนนั้นมีแนวโน้มที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น ซึ่งความเร็ว ความสะดวกและความปลอดภัยนั้นกลายมาเป็นปัจจัยหลักที่หลาย ๆ คนนั้นต้องการ ทำให้ในปัจจุบันนี้ มีหลากหลาย Startup ได้คิดค้นนวัตกรรมการบริการที่จะเข้ามาตอบรับความต้องการทั้ง 3 อย่างที่ผู้บริโภคนั้นต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการบริการทางด้านการทำงาน ด้านการใช้ชีวิตและด้านการศึกษา

Digital Technology Innovation มีอะไรบ้าง

ซึ่งทางสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ที่ให้การสนับสนุนเหล่า Startup ไทยมาอย่างต่อเนื่อง จะพาทุกคนไปรู้จักกับ 4 Startup ที่สามารถปรับตัวให้อยู่ร่วมกับวิกฤตนี้ได้ รวมถึงสรรสร้างนวัตกรรมการบริการที่ทำให้ชีวิตของผู้คนในด้าน ด้านการทำงาน ด้านการใช้ชีวิตและด้านการศึกษานั้นง่ายดายยิ่งขึ้น

4 บริการจาก Startup ไทย เหมาะกับผู้ใช้ในยุคดิจิทัล

1. Factorium

Factorium CMMS เป็นระบบบริหารจัดการงานซ่อมบำรุงเครื่องจักรในอุตสาหกรรมการผลิต มีจุดเด่นที่รองรับการทำงานผ่านมือถือ และยังสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ Industrial IoT, Augmented Reality และ Industrial Marketplace ช่วยให้โรงงานสามารถเพิ่มความพร้อมของเครื่องจักร เพิ่มประสิทธิภาพ คุณภาพและกำลังการผลิต ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ใช้งานกว่า 2,600 โรงงานในประเทศไทย พม่า และสปป.ลาว ทั้งยังได้รางวัลจากงานประกวดแอปพลิเคชันระดับเอเชีย

โดยเป้าหมายในระยะยาวของ Factorium คือการสร้าง Ecosystem ของกลุ่มโรงงานการผลิต บริษัทได้เริ่มจากการให้บริการซอฟต์แวร์ช่วยบริหารจัดการงานซ่อมบำรุงหรือ Factorium CMMS ในรูปแบบ Subscription Fee ซึ่งมีจุดเด่นที่ราคาไม่แพง ใช้งานง่าย และเป็น Native Mobile Application ที่ใช้งานบนมือถือได้ ซึ่งปัจจุบันเป็นสินค้าหลักของบริษัท และในปี 2020 ทางบริษัทยังได้เริ่มพัฒนา VIBRO อุปกรณ์ Industrial IoT ที่สามารถตรวจจับการสั่นสะเทือนของเครื่องจักรเพื่อวิเคราะห์และแจ้งเตือนสุขภาพของเครื่องจักรล่วงหน้าได้ รวมถึงยังมีการพัฒนาระบบ Augmented Reality บน Smart glass ที่สามารถช่วยให้คำแนะนำให้แก่วิศวกรที่สวมใส่แว่นตาอัจฉริยะที่หน้างานได้อีกด้วย

Factorium จะแก้ Pain Point อย่างไร?

สิ่งที่หลากหลายโรงงานมักจะเผชิญคือปัญหาในเรื่องของเครื่องจักรเสีย ซึ่งถ้าหากเกิดขึ้น ทางโรงงานก็จำเป็นจะต้องหยุดการทำงานของเครื่องจักรชั่วคราวเพื่อซ่อมแซม ทำให้ส่งผลกระทบต่อวงจรการผลิตทั้งหมด และยังทำให้โรงงานนั้นเสียโอกาสในการผลิตไปอย่างมากมายมหาศาล โดยบริการ Factorium นั้นจะช่วยในการบริหารจัดการงานซ่อมบำรุงเครื่องจักร โดยสามารถทำได้ผ่านมือถือ และยังเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ทำให้การบริหารจัดการนั้นง่ายและสะดวกมากขึ้น

2. Green up - Morejungle.com

Morejungle.com นั้นเกิดขึ้นโดยมีเป้าหมายเพื่อกระจายต้นไม้ให้ได้มากที่สุด ที่จะทำให้คนเมืองได้ปลูกต้นไม้ได้ง่าย ๆ โดยมีความเชื่อว่าเมื่อคนได้ใกล้ชิดต้น ไม้และธรรมชาติ จะเกิดความรักและอยากดูแลธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำให้ Morejungle.com ได้ริเริ่มบริการตู้ขายต้นไม้อัตโนมัติที่ชื่อว่า Green up และตลาดขายต้นไม้ออนไลน์ โดยไม่ต้องใช้คนขาย สามารถสอบถามข้อมูลต้นไม้ผ่าน Chatbot และสามารถซื้อได้โดยการสแกน QR Code จ่ายเงินสดที่ตู้หรือโอนเงินออนไลน์ ก็สามารถเปิดเอาต้นไม้ไปได้ทันที สร้างประสบการณ์ใหม่ในการซื้อต้นไม้ โดยต้นไม้ที่จัดจำหน่ายนั้นจะเป็นต้นไม้จริงและมีทั้งกลุ่มต้นไม้ฟอกอากาศ ต้นไม้มงคล ต้นไม้กินได้ ไม้ดอก และไม้ผลให้ลูกค้าได้เลือกตามความต้องการ

Digital Technology Innovation มีอะไรบ้าง

Green up - Morejungle.com จะแก้ Pain Point ได้อย่างไร?

ในปัจจุบันการซื้อต้นไม้นั้นต้องไปตามแหล่งที่ขายต้นไม้ ซึ่งต้องใช้เวลาและการเดินทางในการไปเลือกซื้อ แต่ด้วยบริการของ Morejungle.com นั้นทำให้การหาซื้อต้นไม้นั้นง่ายขึ้น สะดวกและไม่ต้องเดินทางไกลอีกต่อไป ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปเลือกซื้อต้นไม้ผ่านช่องทางออนไลน์ และผ่านตู้ขายต้นไม้อัตโนมัติ ที่ทางบริษัทนั้นได้คัดสรรคุณภาพมาแล้วเรียบร้อย ทำให้การปลูกต้นไม้สำหรับคนเมืองนั้นไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

3. KOCHII.ME

Kochii Esports orts Academy เป็นแพลตฟอร์มออนไลน์และออฟไลน์ สอนทักษะที่สำคัญในอุตสาหกรรมเกมและอีสปอร์ต ทั้งทักษะการเล่นเกมให้เก่งขึ้น (Coach and Player) และในส่วนของ Esport Business School ก็ได้มีการจัดหาการสอนทักษะที่นำไปประกอบอาชีพในอุตสาหกรรมนี้ เช่น การบริหารทีม การทำคอนเทนต์ การตลาด การทำ Production และการจัดการแข่งขัน เป็นต้น ซึ่งบริการของ KOCHII.ME นั้นมีตั้งแต่ 

  1. Online/Offline Class และ Workshop 
  2. Video Co-user 
  3. Online 1 on 1 to Mentoring

โดยลูกค้าของ KOCHII.ME นั้นจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

  1. กลุ่มพัฒนาทักษะการเล่น: เกมเมอร์ที่ต้องการพัฒนาฝีมือให้เก่งขึ้น 
  2. กลุ่มทักษะต่อยอดอาชีพ: คนที่สนใจประกอบอาชีพทางด้านเกมและอีสปอร์ต เช่น การบริหารทีม การทำคอนเทนต์ การตลาด การทำ Production และการจัดการแข่งขัน

KOCHII.ME จะแก้ Pain Point อย่างไร?

ในปัจจุบันนี้อุตสาหกรรมเกมและอีสปอร์ตนั้นเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้มีผู้ให้ความสนใจในอุตสาหกรรมนี้เพิ่มขึ้นอย่างมาก รวมถึงในฝั่งของอุตสาหกรรมเองก็ต้องการผู้ที่มีความสามารถและประสิทธิภาพเข้ามาผลักดันอุตสาหกรรมไปข้างหน้า แต่ยังขาดแคลนแหล่งเรียนรู้ทางด้านนี้ KOCHII.ME นั้นจึงเป็นแพลตฟอร์มที่จะมอบทักษะที่สำคัญ ทั้งการเล่นและการต่อยอดอาชีพให้แก่ผู้ที่สนใจในวงการอีสปอร์ต

4. Workmate

Workmate เป็นทางออกของธุรกิจในทุกภาคส่วนในยุค COVID-19 เป็นออนไลน์แพลตฟอร์มที่ช่วยทำให้การจ้างงานระดับปฏิบัติการเป็นเรื่องง่าย ซึ่งเปิดโอกาสให้ธุรกิจมีความยืดหยุ่นมากขึ้น เพื่อตอบโจทย์สถานการณ์เศรษฐกิจและรูปแบบธุรกิจในยุคนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจ้างงานรายเดือน รายสัปดาห์ หรือรายวัน ซึ่งทาง Workmate มีทีมผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำ เพื่อช่วยออกแบบรูปแบบการจ้างงานที่จะตอบโจทย์กับธุรกิจของผู้ใช้บริการด้วย 

ในทางเดียวกัน เมื่อลูกค้าสร้างรีเควสเข้ามาในระบบแล้ว พนักงานที่ตรงกับความต้องการจะได้รับการแจ้งเตือนให้สมัคร โดยระบบจะเรียงลำดับตามความเหมาะสมเพื่อให้ลูกค้าสามารถเลือกได้ง่ายขึ้น หลังจากเลือกแล้ว พนักงานจะได้รับการแจ้งเตือนให้เซ็นสัญญาและพนักงานจะพร้อมเริ่มงานทันที 

Digital Technology Innovation มีอะไรบ้าง

โดยบริการของ Workmate จะประกอบด้วยเทคโนโลยี 4 ส่วนด้วยกัน

  1. Client Portal: สร้างรีเควส, เลือกโปรไฟล์พนักงาน, กดจ้างงาน, อนุมัติเวลาทำงาน, ประเมินพนักงาน และ Analytics
  2. Supervisor App: QR scan สำหรับ Clock In/Out, เพิ่ม OT และประเมินพนักงาน
  3. Worker App: สมัครงาน, เซ็นสัญญา, ดูรายละเอียดงานที่ทำ, ลงชื่อ เข้า-ออกงาน, ตรวจสอบยอดเงินที่จะได้รับ และให้คะแนนความพึงพอใจ
  4. Workmate Support Technology: ระบบ Machine Learning ที่ช่วยแนะนำพนักงานที่เหมาะสมที่สุดเรียงตามลำดับ และระบบ Test & Screening สามารถสร้างแบบทดสอบเพื่อลดเวลาการสัมภาษณ์

Workmate จะช่วยแก้ Pain Point อย่างไร?

ปัจจุบันลูกค้าส่วนใหญ่ใช้วิธีการสรรหาบุคลากรผ่าน Facebook Groups, Line Groups, Job Boards สิ่งที่เราเรียนรู้คือขั้นตอนการสรรหาพนักงานระดับปฏิบัติการเป็นไปอย่างยากลำบาก จะต้องมีการเปิด CV ทุกฉบับซึ่งส่วนใหญ่มีข้อมูลไม่ครบถ้วน จะต้องโทรหาพนักงานทีละคนเพื่อสัมภาษณ์เบื้องต้นและคอนเฟิร์มวันเริ่มงาน เรียกเข้ามาเซ็นสัญญาและปฐมนิเทศ ซึ่งทีม HR จะต้องทำตามขั้นตอนเดิมซ้ำ ๆ ซึ่งบริการของ Workmate มาแก้ Pain Point ด้วยการกำจัดขั้นตอนเหล่านี้ไปโดยสิ้นเชิง ด้วยเทคโนโลยีของ Workmate จะทำให้ทีม HR ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและสามารถโฟกัสเวลาไปกับงานอื่น ๆ ได้มากขึ้น

ติดตาม Startup ไทยที่มีโซลูชันและบริการดี ๆ ได้ใน “Startup Marketplace is Live Now” รายการที่จะช่วยสร้างช่องทางการตลาดให้กับ Startup ไทย ในช่วงสถานการณ์วิกฤต โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA และข้อมูลข่าวสาร ได้ที่ 

นวัตกรรม ดิจิทัล จบไปทำงานอะไร

เรียนจบแล้วทำงานอะไร.
นักพัฒนานวัตกรรมดิจิทัล (Digital Innovative Developer).
เจ้าหน้าที่วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic product research and development officer).
นักวิจัยและพัฒนาฮาร์ดแวร์ แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์และการออกแบบประดิษฐภัณฑ์ (R&D Electronics Hardware & PCB design).

Digital Innovation แปลว่าอะไร

- นวัตกรรมดิจิทัล (Digital Innovation) หมายถึง ผลิตภัณฑและบริการใหมๆ ที่ เกิดจากการประยุกตใช เทคโนโลยีดิจิทัลที่ ตอบสนองความตองการและพฤติกรรมของผูบริโภคที่ ปรับเปลี่ ยนไปตามบริบทของเทคโนโลยีที่ มีการเปลี่ ยนแปลงอยางรวดเร็ว กอใหเกิดการสรางสรรคธุรกิจใหมที่ ไมเคยมีมากอนบนพื้นฐานของการหลอมรวม เทคโนโลยีDigital Supply Chain.

Digital Technology คืออะไร มีกี่ทักษะ อะไรบ้าง

"การรู้ดิจิทัล" คือ ความหลากหลายของทักษะที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ซึ่งทักษะเหล่านั้นอยู่ภายใต้ การรู้สื่อ (Media literacy) การรู้เทคโนโลยี (Technology literacy) การรู้สารสนเทศ (Information literacy) การรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เห็น (Visual literacy) การรู้การสื่อสาร (Communication literacy) และการรู้สังคม (Social literacy)

นวัตกรรมดิจิทัล เรียนอะไร

สาขาวิชานวัตกรรมดิจิทัลมุ่งเน้นให้นักศึกษาเรียนรู้ด้านนวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะด้าน การพัฒนาซอฟแวร์แบบฟูลสแตก ความมั่นคงทางไซเบอร์และวิทยาการข้อมูล ที่สามารถทำงานและประยุกต์ใช้ในองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน