ภัยคุกคามทางคอมพิวเตอร์ มีอะไรบ้าง

ภัยคุกคามทางคอมพิวเตอร์ มีอะไรบ้าง

ใครที่ใช้บริการทางอีเมล ( Email ) ก่อนเปิดจดหมายอ่านและคลิก ต้องระมัดระวังกันสักนิด เพราะมีการระบาดภัยคุกคามทาง Email มีอีเมลหลอกลวง (Phishing email) หลายฉบับถูกส่งเข้ามายังอีเมลขององค์กร ทั้งนี้ศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ประเทศไทย หรือ ThaiCERT ได้ให้ 10 คำแนะนำ ป้องกันภัยคุกคามทาง Email เอาไว้ ได้แก่

1.ตั้งรหัสผ่าน (Password) ที่คาดเดาได้ยาก และหมั่นเปลี่ยนบ่อย ๆ

2.ดูแลช่องทางที่ใช้ในการเปลี่ยน (Reset) รหัสผ่านให้มีความมั่นคงปลอดภัย เช่น อีเมลสำรองสำหรับกู้คืนบัญชี

3.หมั่นตรวจสอบประวัติการใช้งานที่น่าสงสัย รวมถึงช่องทางในการยืนยันตัวตนอย่างสม่ำเสมอ

4.ติดตั้งโปรแกรม AntiVirus อัปเดตระบบปฏิบัติการ และ Web Browser รวมถึงตัวซอฟต์แวร์ให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดทันสมัยอยู่เสมอ

5.หลีกเลี่ยงการใช้เว็บเมลผ่านทางเครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะ และไม่ควรตั้งค่าให้ Web Browser จำรหัสผ่าน

6.ระวังในการเปิดไฟล์แนบ หรือคลิกลิงก์ที่พาไปเว็บไซต์อื่น

7.แม้อีเมลจากคนรู้จัก ก็อาจเป็นคนร้ายปลอมตัวมาก็ได้ ถ้าไม่แน่ใจ ควรยืนยันช่องทางอื่นที่ไม่ใช่อีเมล เช่น แจ้งยืนยันเปลี่ยนเลขที่บัญชีโอนเงินทางโทรศัพท์

8.ควรเปิดการใช้งานยืนยันตัวตนแบบ 2 Factor Authentication โดยใช้ เบอร์โทรศัพท์ อีเมลสำรอง หรือแอป เช่น Google Authenticator

9.ตรวจสอบรายชื่อผู้รับอีเมลก่อนกดปุ่ม Reply หรือ Reply All ทุกครั้ง เพราะผู้ร้ายมักใช้เทคนิคตั้งชื่ออีเมลที่ใกล้เคียงกับคนที่เรารู้จัก เช่น กับ (เลข 0 แทนตัวอักษร o)

10.อย่าหลงเชื่ออีเมลที่หลอกให้เปลี่ยนรหัสผ่านหรือให้อัปเดตข้อมูลส่วนตัวหากไม่แน่ใจควรสอบถามผู้ที่ส่งข้อมูลมาในทางช่องทางอื่น ๆ อีกครั้ง

ภัยคุกคามทางคอมพิวเตอร์ มีอะไรบ้าง

ข้อมูลจาก ThaiCert
ที่มา :: https://www.it24hrs.com/2018/email-phishing-warning-how-to-protect/

การป้องกันภัยคุกคามทางคอมพิวเตอร์ ภัยคุกคามต่อระบบคอมพิวเตอร ์ ภัยคุกคามต่อระบบคอมพิวเตอร์ครอบคลุมทั้งการคุกคามทางระบบฮาร์ดแวร์ระบบซอฟต์แวร์
และข้อมูล โดยสาเหตุของภัยคุกคามอาจจะมาจากทางกายภาพ เช่น อัคคีภัย ปัญหาวงจรไฟฟ้า ระบบสื่อสาร ความผิดพลาดของฮาร์ดแวร์ความผิดพลาดของซอฟต์แวร์หรือภัยคุกคามที่เกิดจากคน
หรือผู้ใช้ระบบ เช่น การบุกรุกจากผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต หรือผู้ใช้ไม่เข้าใจระบบทําให้ระบบเกิดความ เสียหาย ภัยคุกตามเหล่านี้เป็นสาเหตุให้ข้อมูลในระบบเสียหาย สูญหาย ถูกขโมย หรือแก้ไขบิดเบือน
โดยจําแนกภัยคุกคามทางระบบคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังนี้
1. ภัยคุกคามทางระบบฮาร์ดแวร์ (Hardware Security Threats) คือ ภัยที่มีต่อระบบการจ่ายไฟฟ้า
ภัยที่เกิดจากการทําลายทางกายภาพโดยตรงต่อระบบคอมพิวเตอร์นั้นๆและภัยจากการลักขโมยโดยตรง
2. ภัยคุกคามทางระบบซอฟต์แวร์ (Software Security Threats) การลบซอฟต์แวร์หรือการลบ
เพียงบางส่วนของซอฟต์แวร์นั้น ๆ การขโมยซอฟต์แวร์ (Software Theft) การเปลี่ยนแปลงแก้ไข
ซอฟต์แวร์ (Software Modification) และการขโมยข้อมูล (Information Leaks)
3.ภัยคุกคามที่มีต่อระบบข้อมูล (Data Threats) การที่ข้อมูลอาจถูกเปิดเผยโดยมิได้รับอนุญาต
การที่ข้อมูลอาจถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพื่อผลประโยชน์โดยมิได้มีการตรวจสอบแก้ไข การที่ข้อมูลนั้นถูก
ทําให้ไม่สามารถนํามาใช้งานได้
รูปแบบภัยคุกคามทางคอมพิวเตอร์
1. มัลแวร์ (Malware) คือความไม่ปกติทางโปรแกรม ที่สูญเสีย C (Confidentiality) I (Integrity)
และ A (Availability) อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งหมด สูญเสียความลับทางข้อมูล สูญเสียความไม่
เปลี่ยนแปลงของข้อมูล สูญเสียเสถียรภาพของระบบปฏิบัติการ
2. ไวรัสคอมพิวเตอร์(Computer Virus) เป็นซอฟต์แวร์ประเภทที่มีเจตนาร้ายแฝงเข้ามาในระบบ
คอมพิวเตอร์โดยจะตรวจพบได้ยาก
3. หนอนคอมพิวเตอร์(computer worm) หนอนคอมพิวเตอร์จะแพร่กระจายโดยไม่ผ่านการใช้งาน
ของผู้ใช้โดยมันจะคัดลอกและกระจายตัวมันเองข้ามเครือข่าย เช่น ระบบเครือข่าย หรืออินเทอร์เน็ต
เป็นต้น
4. ม้าโทรจัน (Trojan horse) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกบรรจุเข้าไปในคอมพิวเตอร์เพื่อลอบเก็บ
ข้อมูลของคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น เช่น ข้อมูลชื่อผู้ใช้รหัสผ่าน เลขที่บัญชีธนาคาร และข้อมูลส่วนบุคคล
อื่น ๆ โดยส่วนใหญ่แฮกเกอร์จะส่งโปรแกรมเข้าไปในคอมพิวเตอร์เพื่อดักจับข้อมูลดังกล่าว แล้วนาไปใช้
ในการเจาะระบบ
5. สปายแวร์(Spyware) ประเภทโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่บันทึกการกระทําของผู้ใช้บนเครื่อง
คอมพิวเตอร์และส่งผ่านอินเทอร์เน็ตโดยที่ผู้ใช้ไม่ได้รับทราบ โปรแกรมแอบดักข้อมูลนั้นสามารถ
รวบรวมข้อมูล สถิติการใช้งานจากผู้ใช้ได้หลายอย่างขึ้นอยู่กับการออกแบบของโปรแกรม
4
6. ประตูหลัง (Backdoor) รูรั่วของระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัยคอมพิวเตอร์ที่ผู้ออกแบบหรือ
ผู้ดูแลระบบจงใจทิ้งไว้โดยเป็นกลไกลลับทางซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ที่ใช้ข้ามผ่านการควบคุมความ
มั่นคงปลอดภัย แต่อาจเปิดทางให้ผู้ไม่ประสงค์ดีสามารถเข้ามาในระบบและก่อความเสียหายได้
7. Rootkit โปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อซ่อนอ็อบเจ็กต์ต่างๆ เช่น กระบวนงาน ไฟล์หรือข้อมูล แม้จะ
เป็นโปรแกรมที่อาจไม่เป็นอันตรายเสมอไป แต่ก็ถูกนํามาใช้ในการซ่อนกิจกรรมที่เป็นอันตรายมากขึ้น
8. การโจมตีแบบ DoS/DDoS ความพยายามโจมตีเพื่อทาให้เครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทางหยุดทางาน
หรือสูญเสียเสถียรภาพ หากเครื่องต้นทาง (ผู้โจมตี) มีเครื่องเดียว เรียกว่าการโจมตีแบบ Denial of
Service (DoS) แต่หากผู้โจมตีมีมากและกระทําพร้อมๆ กัน ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ จะเรียกว่า
การโจมตีแบบ Distributed Denial of Service (DDoS)
9. BOTNET ภัยคุกคามทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ด้วยมัลแวร์ทั้งหลายที่กล่าวในตอนต้นต้องการตัวนํา
ทางเพื่อต่อยอดความเสียหาย และทําให้ยากแก่การควบคุมมากขึ้น ตัวนําทางที่ว่านี้ก็คือ Botnet ซึ่ง
ก่อให้เกิดภัยคุกคามที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เอง เช่น Spam, DoS/DDoS และ Phishing เป็นต้น
10. Spam Mail หรืออีเมล์ขยะ เป็นขยะออนไลน์ที่ส่งตรงถึงผู้รับ โดยที่ผู้รับสารนั้นไม่ต้องการ และ
สร้างความเดือดร้อน รําคาญให้กับผู้รับได้ในลักษณะของการโฆษณาสินค้าหรือบริการ การชักชวนเข้า
ไปยังเว็บไซต์ต่างๆ ซึ่งอาจมีภัยคุกคามชนิด phishing แฝงเข้ามาด้วย ด้วยเหตุนี้จึงควรติดตั้งระบบ
anti spam หรือหากใช้ฟรีอีเมล์เช่น hotmail, yahoo ก็จะมีโปรแกรมคัดกรองอีเมล์ขยะ
ในชั้นหนึ่งแล้ว
11. Phishing คือการหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ต เพื่อขอข้อมูลที่สาคัญเช่น รหัสผ่าน หรือหมายเลข
บัตรเครดิตโดยการส่งข้อความผ่านทางอีเมลหรือเมสเซนเจอร์ตัวอย่างของการฟิชชิง เช่น การบอกแก่
ผู้รับปลายทางว่าเป็นธนาคารหรือบริษัทที่น่าเชื่อถือ และแจ้งว่ามีสาเหตุทาให้คุณต้องเข้าสู่ระบบและ
ใส่ข้อมูลที่สําคัญใหม่ โดยเว็บไซต์ที่ลิงก์ไปนั้น จะมีหน้าตาคล้ายคลึงกับเว็บที่กล่าวถึง Phishing
12. Sniffing เป็นการดักข้อมูลที่ส่งจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ไปยังอีกเครื่องหนึ่ง หรือจากเครือข่าย
หนึ่งไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง เป็นวิธีการหนึ่งที่นักโจมตีระบบนิยมใช้
13. ข้อมูลขยะ (Spam) ภัยคุกคามส่วนใหญ่ที่เกิดจากอีเมล์หรือเรียกว่า อีเมล์ขยะ เป็นขยะออนไลน์ที่
ส่งตรงถึงผู้รับโดยที่ผู้รับสารนั้นไม่ต้องการ และสร้างความเดือดร้อน รําคาญให้กับผู้รับ
14. Hacking เป็นการเจาะระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะกระทําด้วยมนุษย์หรือ อาศัย
โปรแกรมแฮก หลากรูปแบบ ที่หาได้ง่ายในโลกอินเทอร์เน็ต แถมยังใช้งานได้ง่าย ไม่ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญ
ในคอมพิวเตอร์ก็สามารถเจาะระบบได้
15. ผู้บุกรุก (Hacker)
หมายถึง ผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตในการใช้งานระบบ แต่พยายามลักลอบเข้ามาใช้งานด้วย
วัตถุประสงค์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเพื่อโจรกรรมข้อมูล ผลกําไร หรือความพอใจส่วนบุคคลก็ตาม ความเสียหาย
จากผู้บุกรุกเป็นภัยคุกตามที่หนัก

ภัยคุกคามทางคอมพิวเตอร์ มีอะไรบ้าง

Author: Tuemaster Admin

ทีมงานจากเว็บไซต์ติวกวดวิชาออนไลน์ที่ดีที่สุด !! สำหรับ การเรียนออนไลน์ ม.ปลาย (ม.4, ม.5, ม.6)

ภัยคุกคามทางคอมพิวเตอร์ คืออะไร

ภัยคุกคามต่อระบบคอมพิวเตอร์ครอบคลุมทั้งการคุกคามทางระบบฮาร์ดแวร์ระบบซอฟต์แวร์และข้อมูล โดยสาเหตุของภัยคุกคามอาจจะมาจากทางกายภาพ เช่น อัคคีภัย ปัญหาวงจรไฟฟ้า ระบบสื่อสาร ความผิดพลาด ของฮาร์ดแวร์ความผิดพรากของซอฟต์แวร์หรือภัยคุกคามที่เกิดจากคนหรือผู้ใช้ระบบ เช่น การบุกรุกจากผู้ที่ไม่ได้ รับอนุญาต หรือผู้ใช้ไม่เข้าใจระบบ ...

ภัยคุกคามทางด้านคอมพิวเตอร์มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

๒. ภัยคุกคามทางระบบซอฟต์แวร์(Software Security Threats) แบ่งได้เป็น ๔ ประเภทดังนี้ 2.1 การลบซอฟต์แวร์หรือการลบเพียงบางส่วน ของซอฟต์แวร์นั้นๆ 2.2 การขโมยซอฟต์แวร์(Software Theft) 2.3 การเปลี่ยนแปลงแก้ไขซอฟต์แวร์ (Software Modification) 2.4 การขโมยข้อมูล (Information Leaks)

ภัยคุกคามต่อผู้ใช้และระบบ คืออะไร

ต่อผู้ใช้และระบบ เป็นภัยคุกคามที่ส่งผลเสียให้แก่ผู้ใช้งานและเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอย่างมาก เช่น การล็อคเครื่องคอมพิวเตอร์ รูปแบบของภัยคุกคาม

ภัย คุกคาม คือ อะไร มี อะไร บ้าง

การคุกคาม.
1.1 อิเล็กทรอนิกส์.
1.2 โลกออนไลน์.
1.3 ตำรวจ.
1.4 เชื้อชาติ.
1.5 ศาสนา.
1.6 เพศ.