เป็นประจําเดือน ควบ เดือน เป็นอะไร ไหม

การมีรอบเดือนในแต่ละเดือนนั้นสร้างความทรมานและกังวลใจให้แก่ผู้หญิงจำนวนไม่น้อย แต่กระนั้นหลายคนก็ได้แต่เก็บความกังวลใจไว้กับตัว และยอมทนทุกข์อยู่เงียบๆ

Better Health ฉบับพิเศษเพื่อคุณผู้หญิงนี้ มีคำอธิบายเกี่ยวกับความผิดปกติของรอบเดือนมาให้คุณได้อ่านกัน

จะทราบได้อย่างไรคะว่ารอบเดือนเราปกติหรือไม่

ผู้หญิงส่วนมากมักจะสงสัยว่าตัวเองอาจมีความผิดปกติบางประการเกี่ยวกับรอบเดือน แต่ก็ไม่อาจแน่ใจอะไรได้ มีวิธีง่ายๆ ที่จะดูได้เบื้องต้นว่าคุณประสบกับภาวะรอบเดือนผิดปกติเข้าแล้วดังนี้

  • รอบเดือนแต่ละรอบของคุณห่างกันเกินกว่า 35 วัน หรือห่างกันน้อยกว่า 2 สัปดาห์
  • คุณต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยทุกๆ 1 - 2 ชั่วโมง
  • ในแต่ละรอบนั้น คุณมีประจำเดือนนานเกินกว่า 7 วัน
  • มีอาการปวดหน่วงๆ รุนแรงแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
  • เมื่อคุณหมดประจำเดือนไปแล้ว หรืออายุน้อยกว่า 11 ปีแต่มีเลือดออกคล้ายประจำเดือน
  • คุณมีอายุเกิน 16 ปีแล้วแต่ยังไม่มีประจำเดือน

หากคุณมีอาการผิดปกติตามที่กล่าวมาข้างต้น รีบปรึกษาแพทย์ทันทีเพื่อรับการตรวจและรับคำแนะนำในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องต่อไป

อาการปวดประจำเดือนเป็นเรื่องปกติของการมีรอบเดือนอย่างนั้นหรือ

ในระหว่างมีรอบเดือน ผู้หญิงส่วนมากจะมีอาการปวด หรือปวดหน่วงๆ มากบ้าง น้อยบ้างตามการการบีบตัวของมดลูก ซึ่งถือว่าเป็นอาการปกติ แต่อาการปวดรุนแรงถึงขั้นที่คุณไม่สามารถไปทำงาน หรือทำกิจวัตรประจำวันได้นั้นไม่ใช่เรื่องปกติแน่นอน

โดยทั่วไปแพทย์อาจแนะนำให้รับประทานยาแก้ปวดอัยบูโพรเฟน เพื่อบรรเทาอาการปวดประจำเดือนที่อาจมาพร้อมกับอาการปวดหลัง ปวดศีรษะไมเกรน ส่วนในรายที่เป็นมากนั้นแพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดเพื่อให้ฮอร์โมนในเม็ดยาช่วยปรับรอบเดือน รวมทั้งช่วยลดอาการต่างๆ ที่เกิดระหว่างมีรอบเดือน

อย่างไรก็ตามหากรับประทานยาดังกล่าวข้างต้นแล้วไม่ดีขึ้นควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจอย่างละเอียด เพราะอาการปวดผิดปกตินี้อาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพอื่นๆ ที่ร้ายแรงก็เป็นได้

รอบเดือนดิฉันดูจะมาช้าอยู่เสมอ บางครั้งก็ไม่มาเลย ไม่ทราบว่าเป็นเพราะเหตุใดคะ

โดยปกติแล้วรอบเดือนจะห่างกันทุกๆ 28 วัน ผิดพลาดได้บวกลบไม่เกิน 7 วัน หมายความว่ารอบเดือนนั้นอาจจะเป็น 21- 22 วัน หรือ 30 - 35 วันก็ยังถือว่าเป็นปกติอยู่ ก่อนที่คุณจะเป็นกังวลลองสำรวจตัวเองว่าคุณมีประจำเดือนครั้งสุดท้ายเมื่อไร อยู่ในระหว่างคุมกำเนิดหรือไม่ ตั้งครรภ์หรือไม่

สาเหตุที่ทำให้รอบเดือนมาช้ากว่าปกติ หรือขาดไปนั้นมีหลายประการตามแต่สภาวะสุขภาพ และการดำเนินชีวิตของแต่ละบุคคล ปัจจัยที่อาจเป็นสาเหตุให้รอบเดือนมาช้า หรือขาดไปได้แก่ การตั้งครรภ์ อยู่ในระหว่างให้นมบุตร มีพฤติกรรมการกินผิดปกติ ออกกำลังกายหักโหมเกินไป ความเครียด หรือวิตกกังวล การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด ยาที่มีฮอร์โมน หรือยาเสพติด

นอกจากนี้ ความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ และระบบต่อมไร้ท่อ อาทิ ซีสต์ในรังไข่ เนื้องอกที่มดลูก การทำงานของรังไข่ล้มเหลวก่อนวัยอันควรก็เป็นสาเหตุของการมีรอบเดือนผิดปกติเช่นกัน อย่าลืมตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ และขอคำแนะนำจากแพทย์หากสงสัยว่าเกิดความผิดปกติขึ้น

รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

  • ศูนย์สูติ-นรีเวช
    8.00-20.00  (BKK Time)
    Hot line tel. +66 63 189 3406

    20.00-8.00 (BKK Time)
    เบอร์ Contact center +662 066 8888 และ 1378


ความผิดปกติของประจำเดือน ไม่ว่าจะมามากเกินไป มากระปริดกระปรอย มาขาดๆ หายๆ หรือการปวดท้องประจำเดือนที่มากจนต้องหยุดงาน อาจเป็นสัญญาณเตือนโรคร้าย จึงควรรีบปรึกษาแพทย์

20 ข้อควรรู้เกี่ยวกับประจำเดือน

  1. ปกติผู้หญิงจะมีประจำเดือนเมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่น คืออายุประมาณ 12-13 ปี แต่ก็เคยพบว่าเด็กผู้หญิงอายุ 8 ปีก็มีประจำเดือนแล้ว และในปัจจุบันเด็กผู้หญิงมีแนวโน้วการมีประจำเดือนในอายุที่น้อยลง
  2. ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้มีประจำเดือนเร็วคือ...โรคอ้วน
  3. ในช่วง 2 ปีแรกของการมีประจำเดือน มักจะมีมาไม่สม่ำเสมอ เพราะการผลิตฮอร์โมนยังไม่สมดุล
  4. โดยปกติรอบเดือนจะมีทุกๆ 28 วัน ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับอายุด้วย ถ้าอายุยังไม่ถึง 21 ปี มักจะมีระยะห่างประมาณ 33 วัน พออายุ 21 ปีขึ้นไปมักจะมีระยะห่าง 28 วัน และเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไปจะมีระยะห่างลดลง คือประมาณ 26 วัน
  5. ผู้หญิงจะมีประจำเดือนเฉลี่ยคือ 6 วัน โดยพบว่า มีผู้หญิงประมาณ 5% ที่มีประจำเดือนมาน้อยกว่า 4 วัน
  6. หากมีประจำเดือนมามากกว่า 7 วัน จะเรียกว่า ประจำเดือนมามาก
  7. ผู้หญิง 9-14% จะมีประจำเดือนมามาก คือมามากกว่า 7 วัน
  8. หากถ้าประจำเดือนมานานเกิด 8 วัน จะถือว่ามามากผิดปกติ ซึ่งเกิดในผู้หญิงราว 4%
  9. สาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนมามาก มักเกิดจากฮอร์โมนไม่สมดุล จึงเกิดการสร้างเยื่อบุโพรงมดลูกมากเกินไปหรือหนาเกินไป ทำให้กระบวนการลอกตัวของเยื่อบุโพรงมดลูกเพื่อกลายเป็นเลือดประจำเดือนมากตามไปด้วยนั่นเอง
  10. ประจำเดือนมามากผิดปกติ อาจเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยาฮอร์โมน การให้เคมีบำบัด การใส่ห่วงคุมกำเนิด ยาต้านเกล็ดเลือดหรือยาละลายลิ่มเลือด หรือการกินยาคุมกำเนิด
  11. ประจำเดือนมามากและหลายวันเกินไป อาจทำให้เป็นโรคโลหิตจางได้ อาการที่เด่นชัดคือ เพลีย เหนื่อยง่าย มีเสียงในหู ใจสั่น
  12. ผู้หญิงที่ไม่มีประจำเดือนมักจะมีฮอร์โมนเอสโตเจนต่ำ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดโรคกระดูกพรุนในอนาคต การได้รับฮอร์โมนจะช่วยได้
  13. เมื่ออายุ 50 ปีขึ้นไป หรือใกล้เข้าวัยทอง แทนที่ประจำเดือนจะมาน้อยลงกลับมามากกว่าปกติซะอีก
  14. อาการปวดประจำเดือนเกิดจากมดลูกมีการบีบตัวและคลายตัวอย่างแรงเพื่อไล่เลือดที่อยู่ในมดลูกออกมา
  15. การปวดท้องอาจจะปวดก่อนมีประจำเดือนหลายวัน เมื่อประจำเดือนมาแล้วอาการปวดจะดีขึ้นได้เอง
  16. ผู้หญิงที่ปวดประจำเดือนมาก หรือประจำเดือนมาผิดปกติบ่อยๆ อาจจะมีเนื้องอกในมดลูก และเป็นหมัน
  17. ผู้หญิงราว 10-15% จะมีอาการปวดประจำเดือนมากจนถึงขั้นต้องหยุดงาน
  18. ยาที่นิยมใช้บรรเทาปวดประจำเดือนได้แก่ aspirin, ibuprofen
  19. ความผิดปกติเกี่ยวกับประจำเดือนที่พบบ่อยๆ คือ ไม่มีประจำเดือนหรือประจำเดือนไม่มา กับประจำเดือนมามากเกินไป
  20. หากประจำเดือนมามากเกินไป อาจเกิดจากความผิดปกติของระบบอวัยวะสืบพันธุ์ จึงควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจดูช่องคลอด ปากมดลูก ว่ามีก้อน แผล หรือติ่งเนื้อหรือไม่ ทำการเก็บเซลล์จากปากมดลูกเพื่อตรวจว่าติดเชื้อหรือมีการอักเสบหรือไม่ แพทย์จะคลำตรวจมดลูกและรังไข่ว่ามีขนาดปกติหรือไม่ กดแล้วเจ็บไหม หรือพบก้อนผิดปกติหรือเปล่า

เพราะมดลูกมีความเกี่ยวโยงกับประจำเดือน หากเกิดความผิดปกติขึ้นที่มดลูก ไม่ว่าจะเป็นเนื้องอกในมดลูก เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือมะเร็งบางประเภท เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งมดลูก หรือมะเร็งรังไข่ ประจำเดือนก็จะผิดปกติไปด้วย ดังนั้น หากมีประจำเดือนมามากผิดปกติ ประจำเดือนไม่มา หรือมาๆ หายๆ รวมถึงอาการปวดประจำเดือนที่มากขึ้น หรือมีตกขาวมามาก ควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด