ธุรกิจนําเที่ยวมีกี่ประเภท อะไรบ้าง

ธุรกิจท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับอาชีพของการท่องเที่ยว
 
     ธุรกิจท่องเที่ยวเป็นธุรกิจที่ให้บริการแก่นักท่องเที่ยวด้านการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่พักแรม ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม
ธุรกิจการขนส่ง ธุรกิจร้านค้าของที่ระลึก และธุรกิจอื่น ๆ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเหล่านี้ มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันอยู่
ตลอดเวลาตราบเท่าที่ยังมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยว และเป็นธุรกิจที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญสำหรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
มัคคุเทศก์ในฐานะผู้เป็นคนกลางติดต่อประสานงานระหว่างธุรกิจต่าง ๆ เหล่านี้กับนักท่องเที่ยว ดังนั้นการศึกษาถึงธุรกิจท่องเที่ยว
แต่ละประเภทเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง
      ธุรกิจท่องเที่ยวที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวมีด้วยกันหลายประเภท ซึ่งพอจำแนกออกได้เป็น 6 ประเภท
ได้แก่  ธุรกิจที่พักแรม ธุรกิจการขนส่ง ธุรกิจจำหน่ายสินค้าของที่ระลึก ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจนำเที่ยว และธุรกิจท่องเที่ยว
ประเภทอื่น ๆ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
        1. ธุรกิจที่พักโรงแรม 
        ธุรกิจที่พักโรงแรม (Accommodation Business) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญส่วนหนึ่งของธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจที่พักแรม
หรือธุรกิจโรงแรม (Accommodation or Hotel Business) หมายถึง ธุรกิจที่ให้บริการด้านที่พักอาศัยแก่นักท่องเที่ยว รวมทั้ง
บริการอาหารและเครื่องดื่ม ตาม ความ ต้องการของนักท่องเที่ยว โดยคิดค่าตอบแทนเพื่อผลกำไรของธุรกิจนั้นๆ ปัจจุบัน
นิยมใช้คำว่า ธุรกิจโรงแรมมากกว่า “ธุรกิจที่พักแรม”

Show

ธุรกิจนําเที่ยวมีกี่ประเภท อะไรบ้าง

       ประเภทของที่พักแรม
        การแบ่งประเภทของที่พักแรมมีความแตกต่างกันออกไปตามเกณฑ์การจัดแบ่งแล้วแต่จะเป็นการจัดจำพวกเพื่อวัตถุประสงค์ใด
เช่น เพื่อนโยบายในการลงทุน เพื่อเก็บรวบรวมสถิติ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวบางประเภท เป็นต้น เกณฑ์ต่า งๆ เหล่านี้พอสรุปได้คือ
         1. จัดตามเกณฑ์ความสะดวกสบาย โดยใช้คุณภาพของอุปกรณ์เครื่องใช้ขนาดของการบริการและราคาเป็นตัวกำหนดการเรียก
ชื่อนี้จะต่างกันในบางประเทศ เช่น ในสวิตเซอร์แลนด์ ฝรั่งเศส นิยมเรียกเป็นโรงแรมระดับ 5 ดาว หรือ 4 ดาว มากกว่าที่จะเรียกว่า
โรงแรมหรูหรา (Deluxe Hotel) หรือโรงแรมชั้นหนึ่ง (First Class Hotel)
         2. จัดตามเกณฑ์ช่วงระยะเวลาที่เปิดดำเนินการ เช่น ยึดฤดูกาลเป็นเกณฑ์ หรือโรงแรมประเภทชั่วคราว อพาร์ตเมนต์ เป็นต้น
        3. จัดตามเกณฑ์วัตถุประสงค์ของการท่องเที่ยวเป็นตัวกำหนด เช่น ที่พักบนเขาในประเทศเมืองหนาว ที่พักตามชายทะเล
ทะเลสาบที่พักในป่า สวนสาธารณะใหญ่ ๆ

ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว เอกสารแรกที่นักท่องเที่ยว ต้องพิจารณา

เผยแพร่ : 10 มิถุนายน 2561

ธุรกิจนําเที่ยวมีกี่ประเภท อะไรบ้าง

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน กระแสการท่องเที่ยวในประเทศไทยถือว่าอยู่ในช่วงขาขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้หลายคนมีความคิดที่อยากจะเริ่มต้นทำธุรกิจท่องเที่ยวเป็นของตัวเอง โดยอาจจะเป็นการตั้งโต๊ะทัวร์ การนำเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ รวมถึงการพาไปทัวร์ร้านอาหารดัง ๆ แต่ทั้งนี้ การจะประกอบธุรกิจนำเที่ยวได้ จะต้องมีการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวให้ถูกต้องตามกฎหมายเสียก่อน ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ข้อมูลทั่วไปของธุรกิจนำเที่ยว

ธุรกิจนำเที่ยว คือ การนำนักท่องเที่ยวทั้งภายในและจากต่างประเทศ เดินทางไปท่องเที่ยวในสถานที่ต่าง ๆ รวมถึงการเดินทางเพื่อจุดประสงค์อื่น โดยได้จัดให้มีบริการในการอำนวยความสะดวกอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง เช่น สถานที่พัก ร้านอาหาร ทริปทัวร์ต่าง ๆ รวมถึงการจัดให้มีมัคคุเทศก์นำทาง การจะทำธุรกิจนำเที่ยว ต้องได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวก่อน เพราะถ้าหากไม่มีใบอนุญาต ก็มีโทษสูงถึงขั้นทั้งจำและปรับได้

ประเภทของใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว

ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว มีด้วยกัน 4 ประเภท คือ

  1. ใบอนุญาตนำเที่ยวเฉพาะพื้นที่ สามารถประกอบธุรกิจนำเที่ยวได้ เฉพาะในจังหวัดที่จดทะเบียนและจังหวัดข้างเคียงเท่านั้น (เช่น จดที่เชียงใหม่ ก็จะนำเที่ยวได้แค่ที่เชียงใหม่ และจังหวัดใกล้เคียงที่ระบุเอาไว้) สามารถให้บริการได้เฉพาะนักท่องเที่ยวชาวไทยเท่านั้น การจดทะเบียนประเภทนี้ จะต้องวางเงินเพื่อเป็นหลักประกันจำนวน 10,000 บาท ที่สำนักทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ เมื่อได้รับใบอนุญาตแล้ว จะได้เลขทะเบียนที่มีเลข 13/xxxxx นำหน้า (เหมาะสำหรับไกด์ท้องถิ่น หรือธุรกิจนำเที่ยวเล็ก ๆ)
  2. ใบอนุญาตนำเที่ยวในประเทศ (Domestic) สามารถประกอบธุรกิจนำเที่ยวได้ทุกที่ในประเทศไทย แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้นำเที่ยวไปต่างประเทศ สามารถให้บริการได้เฉพาะนักท่องเที่ยวชาวไทยเท่านั้น การจดทะเบียนประเภทนี้ จะต้องวางเงินเพื่อเป็นหลักประกันจำนวน 50,000 บาท ที่สำนักทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ เมื่อได้รับใบอนุญาตแล้ว จะได้เลขทะเบียนที่มีเลข 12/xxxxx นำหน้า (เหมาะสำหรับธุรกิจท่องเที่ยวเล็ก ๆ ในประเทศ เน้นนักท่องเที่ยวไทยเป็นหลัก)
  3. ใบอนุญาตนำเที่ยวแบบอินบาวด์ (Inbound) สามารถประกอบธุรกิจนำเที่ยวได้ทุกที่ในประเทศไทย แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้นำเที่ยวไปต่างประเทศ สามารถให้บริการได้เฉพาะนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเท่านั้น การจดทะเบียนประเภทนี้ จะต้องวางเงินเพื่อเป็นหลักประกันจำนวน 100,000 บาท ที่สำนักทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ เมื่อได้รับใบอนุญาตแล้ว จะได้เลขทะเบียนที่มีเลข 14/xxxxx นำหน้า (เหมาะสำหรับธุรกิจท่องเที่ยวเล็ก ๆ เน้นการให้บริการชาวต่างชาติเป็นหลัก)
  4. ใบอนุญาตนำเที่ยวต่างประเทศ (Outbound) สามารถระกอบธุรกิจนำเที่ยวได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ สามารถให้บริการได้ทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ การจดทะเบียนประเภทนี้ จะต้องวางเงินเพื่อเป็นหลักประกันจำนวน 200,000 บาท ที่สำนักทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ เมื่อได้รับใบอนุญาตแล้ว จะได้เลขทะเบียนที่มีเลข 11/xxxxx นำหน้า (เหมาะสำหรับธุรกิจนำเที่ยวขนาดใหญ่ที่ให้บริการครบทุกความต้องการ)

ธุรกิจนําเที่ยวมีกี่ประเภท อะไรบ้าง

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว

1. ทำไมถึงต้องวางเงินประกัน?

เพราะเงินประกันที่นำมาวางนั้น จะถูกนำมาใช้หากเกิดความผิดพลาด ความเสียหายจนเป็นเหตุให้ถูกฟ้องร้องจากนักท่องเที่ยว ถ้าหากว่าสิ้นสุดการฟ้องร้อง แล้วบริษัทไม่ได้ชดใช้ให้กับนักท่องเที่ยวตามที่กฎหมายกำหนด สำนักทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ที่เป็นฝ่ายเก็บเงินหลักประกันไว้ จะเป็นผู้นำเงินประกันนั้น ๆ มาชดใช้ให้กับนักท่องเที่ยวแทน

2. การต่อใบอนุญาต

จะต้องทำการต่อใบอนุญาตทุก ๆ 2 ปี เพื่อรักษาสถานภาพใบอนุญาตประกอบธุรกิจท่องเที่ยวไว้อยู่เสมอ (ถึงแม้ว่าจะหยุดทำกิจการไปชั่วคราวก็ตาม) โดยค่าธรรมเนียมในการขอต่อใบอนุญาต มีราคา 1,000 บาท ดังนั้นผู้ที่ประกอบธุรกิจท่องเที่ยว จึงควรต่อใบอนุญาตตามกำหนดเสมอ เพื่อให้สามารถใช้ได้อย่างต่อเนื่อง และไม่มีปัญหาตามมาในภายหลัง

3. ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว และใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ ไม่เหมือนกัน

ถ้าหากว่าทำธุรกิจ โดยที่ไม่ได้เป็นผู้นำเที่ยว หรือเป็นมัคคุเทศก์เอง ก็สามารถใช้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวอย่างเดียวได้ แล้วจ้างมัคคุเทศก์ที่มีบัตรอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์อย่างถูกต้องให้ทำหน้าที่แทน แต่ถ้าเป็นผู้นำแขกไปท่องเที่ยวตามที่ต่าง ๆ ก็จะต้องมีใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ (บัตรไกด์) ควบคู่ไปด้วย มิเช่นนั้นอาจจะถูกจำคุกหรือถูกปรับเนื่องจากมีการกระทำผิดทางกฎหมาย ดังนั้นหากประกอบธุรกิจนำเที่ยวในลักษณะแบบนี้ ก็ควรขอใบอนุญาตทั้งการประกอบธุรกิจนำเที่ยวและการเป็นมัคคุเทศก์ควบคู่กันไปด้วย

4. หากต้องการขายทัวร์ในอินเตอร์เน็ต

จะต้องขอใบอนุญาตนำเที่ยวแบบอินบาวด์ (ประเภทที่ 3) ขึ้นไปเท่านั้น ถึงแม้ว่าจะมีความตั้งใจที่จะขายทัวร์ให้กับนักท่องเที่ยวชาวไทย แต่การขอใบอนุญาตนำเที่ยวในประเทศ (Domestic) จะสามารถขายได้แบบตั้งโต๊ะเท่านั้น ไม่สามารถขายผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้

บทลงโทษกรณีไม่ได้ขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว

กรณีที่ประกอบธุรกิจนำเที่ยวโดยไม่มีใบอนุญาต จะมีบทลงโทษตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551 คือ มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท ในรายที่มีการกระทำผิดพรบ.บางมาตรา เช่น มาตรา 30 ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวจะเรียกเก็บค่าบริการอื่นใดนอกจากที่ระบุไว้ตามคำโฆษณาหรือที่ตกลงกันล่วงหน้าไม่ได้ หากฝ่าฝืนอาจมีโทษถึงขั้นพักใบอนุญาต หรืออาจถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวได้ ส่วนกรณีที่กระทำการเป็นมัคคุเทศก์ โดยที่ไม่มีใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ จะมีบทลงโทษตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551 คือ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท

ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องให้ความใส่ใจ ไม่ควรละเลยเป็นอันขาด เพราะหากไม่มีใบอนุญาตก็ไม่สามารถประกอบธุรกิจได้ และหากฝ่าฝืนก็จะต้องถูกลงโทษด้วยการจำคุกและปรับ ซึ่งเป็นจำนวนเงินไม่น้อย ดังนั้นควรขอใบอนุญาติให้เรียบร้อยก่อนจะดีที่สุด

ธุรกิจนําเที่ยวออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับธุรกิจน าเที่ยว และการวางแผนจัดรายการน าเที่ยว ผศ.ฉันทัช วรรณถนอม ธุรกิจจัดนาเที่ยวแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ บริษัทนาเที่ยวที่บริการจัดนาเที่ยวให้นักท่องเที่ยวที่มาจากต่างประเทศ ▪ บริษัทนาเที่ยวที่จัดนาเที่ยวไปต่างประเทศ ▪ และบริษัทนาเที่ยวที่จัดนาเที่ยวภายในประเทศ

งานทัวร์มีกี่ประเภท

ลักษณะของการจัดนำเที่ยว 1. เที่ยวในเมือง (City Tour) 2. เที่ยวชมสถานที่ (Excursion Tour หรือ Sightseeing Tour) 3. เที่ยวยามราตรี (Night Tour) 4. เที่ยวซื้อของ (Shopping Tour)

หน้าที่ของธุรกิจนําเที่ยวมีอะไรบ้าง

ตัวแทนจำหน่ายการท่องเที่ยว (Travel Agency) ทำหน้าที่ 1. จำหน่ายรายการท่องเที่ยว ที่บริษัทนำเที่ยวจัดขึ้น 2. เป็นตัวแทนจำหน่ายตั๋วโดยสารพาหนะเดินทางทุกประเภท 3. เป็นตัวแทนจัดหาและสำรองที่พักแรมตลอดจนกิจกรรมบันเทิงต่าง ๆ 4. บริการจัดเอกสารการเดินทาง

ประเภทใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

ขณะที่ มัคคุเทศก์ประเภทเฉพาะ มี 8 ชนิด คือ 1.มัคคุเทศก์เฉพาะ (ต่างประเทศ - เฉพาะพื้นที่) บัตรสีชมพู, 2.มัคคุเทศก์เฉพาะ (ไทย - เฉพาะพื้นที่) บัตรสีฟ้า, 3.มัคคุเทศก์เฉพาะ (เดินป่า) บัตรสีเขียว, 4.มัคคุเทศก์เฉพาะ (ศิลปวัฒนธรรม) บัตรสีแดง, 5.มัคคุเทศก์เฉพาะ (ทางทะเล) บัตรสีส้ม, 6.มัคคุเทศก์เฉพาะ (ทะเลชายฝั่ง) บัตรสีเหลือง, ...