เครื่องดีเซลเติม B10 ได้ไหม

สำหรับคนที่ขับรถกระบะ จะใช้น้ำมันดีเซลซะเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งตามที่เราทราบกันมาสักพักแล้วว่าได้มีการเปลี่ยนชื่อเรียกน้ำมันดีเซลใหม่เป็น B7 B10 ถึงตอนนี้ก็ยังคงงงๆ กันอยู่ว่าตกลงเปลี่ยนชื่อเป็นอะไร แล้วต้องใช้แบบไหน แถมบางปั๊มก็เขียนบอก บางครั้งก็ไม่บอก ต้องถามเด็กปั๊มอยู่เรื่อยไป เอาเป็นว่าเรามาทำความเข้าใจกับชนิดของน้ำมันดีเซลที่เราเรียกใหม่กันก่อน เวลาเติมน้ำมันจะได้ไม่สับสน

เครื่องดีเซลเติม B10 ได้ไหม

น้ำมันดีเซลแบบเดิมๆ ที่เราเคยใช้กันนั้น มีชื่อพ่วงท้ายเพิ่มขึ้นมาคือ ดีเซล B7 ความแตกต่างในการเรียกนั้นอยู่ที่สัดส่วนของไบโอดีเซล โดยน้ำมันดีเซล B7 มีสัดส่วนของไบโอดีเซลผสมอยู่ในน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 6.6 – 7.0% นั่นก็หมายความว่าจะมีปริมาณน้ำมันดีเซลมากกว่าไบโอดีเซลที่ใส่ลงไป เหมาะสำหรับรถเก่าและรถยุโรป ซึ่งถ้าใครไม่แน่ใจก็ใช้แบบ B7 ชัวร์ที่สุด

น้ำมันดีเซล B10

เครื่องดีเซลเติม B10 ได้ไหม

น้ำมันดีเซล B10 ขยับขึ้นมาเรียกว่า ดีเซล เฉยๆ โดยมีสัดส่วนไบโอดีเซลผสมอยู่ในน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 9 – 10% เท่ากับมีน้ำมันดีเซลสัดส่วนลดลงไปจากเดิม ซึ่งตอนนี้ถือเป็นน้ำมันดีเซลเกรดมาตรฐานของไทย เหมาะสำหรับรถกระบะที่ไม่เก่ามาก เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการใช้น้ำมันดีเซลที่มีราคาถูกลงกว่าเดิม แต่ต้องมั่นใจว่ารถของเราสามารใช้ B10 ได้

คุณสมบัติของไบโอดีเซลที่แตกต่างจากดีเซลปกติ

  • มีคราบไขมันสูง เพราะสกัดจากปาล์มน้ำมัน
  • จับตัวเป็นก้อนไขหากเจออุณหภูมิเย็น
  • มีอัตราเกิดน้ำในถังน้ำมันสูงกว่าน้ำมันดีเซลปกติ เป็นต้นเหตุของสนิมในถังน้ำมัน
  • การเจอกับน้ำที่เกิดในถังน้ำมันจะทำให้เกิด “ชั้นคราบไขมัน” หรือที่เรียกกันว่า แว๊กซ์ (Wax)
  • อัตราเชื้อราและแบคทีเรียในชั้นคราบไขมันสูง เนื่องจากสกัดจากพืช (น้ำมันปาล์ม )
  • เกิดเมือกเหนียว Biofilm จากการย่อยสลายน้ำมันไบโอดีเซลของเชื้อราและแบคทีเรียซึ่งเมือกเหนียวนี้มีความเป็นกรดสูง และจะเกาะติดกับเครื่องยนต์ ตะกอน คราบสนิม หรือผิวชิ้นส่วนก่อเป็นก้อนอุดตันในเครื่องยนต์ รวมถึงกัดกร่อนชิ้นส่วนสัมผัสในเครื่องยนต์ด้วย
    (ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก fortron)

เลือกใช้น้ำมันแบบไหนดี?

  • ถ้าเป็นรถกระบะทั่วไป และไม่ได้เป็นรถเก่า ก็สามารถใช้น้ำมันดีเซล B10 ได้ หรือที่เปลี่ยนชื่อเป็น ดีเซล เช่น Toyota, Izusu, Nissan, Ford, Chevrolet, Mitsubishi เป็นต้น
  • ถ้าเป็นรถเก่า หรือรถยุโรป และไม่แน่ใจว่ารถของเราจะใช้ B10 ได้หรือเปล่า แนะนำให้เลือกใช้ ดีเซล B7 ชัวร์กว่า เพราะเป็นน้ำมันแบบเดิมที่เราเคยเติมอยู่ปกติก่อนเปลี่ยนชื่ออยู่แล้ว อีกทั้งได้สัดส่วนของน้ำมันดีเซลมากกว่าแบบ B10 เช่น Benz, Hyundai, Tata, Bmw, Honda, Mazda, Audi เป็นต้น
  • แถมให้อีกนิด ถ้าใครอยากใช้น้ำมันที่พรีเมียมกว่าเพื่อความมั่นใจ ให้เลือก ดีเซล B7 พรีเมียม

สนใจช้อปผลิตภัณฑ์น้ำมันเครื่องยูคอน ได้ที่

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์

เครื่องดีเซลเติม B10 ได้ไหม

เปลี่ยนชื่อ 1 ต.ค. นี้ B10 = ดีเซล = B7 เติมให้ถูก อย่าสับสน มาทำความรู้จัก B10 คืออะไร แล้ว B7 กับ B20 ล่ะ รถรุ่นไหนใช้ได้บ้าง

เริ่มแล้วกับการดำเนินการสื่อสารผู้บริโภคให้รับทราบข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2563 กับการที่กรมธุรกิจพลังงานได้ออกประกาศให้ น้ำมัน ดีเซล บี10 (B10) เป็นน้ำมันดีเซลเกรดมาตรฐานของประเทศ และให้เรียกชื่อน้ำมันว่า ดีเซล ส่วนน้ำมัน ดีเซล บี7 (B7) ที่จำหน่ายในชื่อ ดีเซล อยู่นั้นจะต้องเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น ดีเซล บี7 (B7) โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 เป็นต้นไป

นายบุญมา พนธนกรกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ธุรกิจค้าปลีกน้ำมัน บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (โออาร์) เปิดเผยว่า ได้เตรียมความพร้อมในการเปลี่ยนป้ายชื่อผลิตภัณฑ์กลุ่มดีเซลที่ตู้จ่าย และป้ายสัญลักษณ์ต่างๆ ให้เป็นไปตามประกาศ โดยจะเริ่มดำเนินการและสื่อสารให้ผู้บริโภครับทราบข้อมูลให้แล้วเสร็จครบทุกสถานีบริการทั่วประเทศภายในวันที่ 1 ต.ค. โดยชื่อผลิตภัณฑ์ที่เปลี่ยนไป มีดังนี้

- น้ำมัน อัลตร้าฟอร์ซ ดีเซล บี10 (UltraForce Diesel B10) เปลี่ยนชื่อเป็น อัลตร้าฟอร์ซ ดีเซล (UltraForce Diesel)

- น้ำมัน อัลตร้าฟอร์ซ ดีเซล (UltraForce Diesel) เปลี่ยนชื่อเป็น อัลตร้าฟอร์ซ ดีเซล บี7 (UltraForce Diesel B7)

- น้ำมัน อัลตร้าฟอร์ซ ดีเซล พรีเมียม (UltraForce Diesel Premium) เปลี่ยนชื่อเป็น อัลตร้าฟอร์ซ ดีเซล พรีเมียม บี7 (UltraForce Diesel Premium B7)

ทั้งนี้ หลังจากรัฐบาลประกาศให้น้ำมัน ดีเซล หมุนเร็ว B10 เป็นน้ำมันดีเซลเกรดมาตรฐานของประเทศไทย โดยมีน้ำมัน ดีเซล หมุนเร็ว B7 เป็นน้ำมันทางเลือกสำหรับรถเก่าและรถยุโรป และน้ำมัน ดีเซล หมุนเร็ว B20 เป็นน้ำมันทางเลือกสำหรับรถบรรทุกขนาดใหญ่ ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป ทำให้ผู้ใช้รถยนต์ดีเซลต่างตั้งคำถามว่า รถที่ตัวเองมีอยู่สามารถใช้ได้หรือไม่ และแตกต่างจากของเดิมอย่างไร

รถยนต์รุ่นไหนสามารถใช้น้ำมัน B10 ได้บ้าง ??

ที่ผ่านมา กระทรวงพลังงานออกมาสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้รถยนต์อย่างต่อเนื่อง ยืนยัน การใช้น้ำมัน ดีเซล B10 กับเครื่องยนต์ที่สามารถรองรับการใช้งานจะไม่มีผลกระทบกับเครื่องยนต์ เนื่องจากผู้ผลิตรถยนต์ให้การรับรองการใช้งานไว้เรียบร้อยแล้ว

จากข้อมูล ณ ปัจจุบัน ประเทศไทยมีรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงพลังงานดีเซลกว่า 10 ล้านคัน เป็นรถที่ใช้น้ำมัน ดีเซล B10 ได้กว่า 5 ล้านคัน หรือคิดเป็นครึ่งหนึ่งของรถดีเซลที่มีอยู่ทั้งหมด ส่วนที่เหลือจะเป็นรถยนต์ดีเซลราคาแพง และรถเก่ามากๆ ที่ใช้งานมานานมาก ซึ่งรถรุ่นที่ไม่สามารถเติมน้ำมัน B10 ได้ ก็ยังสามารถเติมน้ำมัน ดีเซล B7 ได้เหมือนเดิม และยังมีจำหน่ายตามสถานีบริการน้ำมันทั่วไป

รถยนต์ดีเซลทั่วไปที่ใช้ B10 ได้ อาทิ โตโยต้า อีซูซุ นิสสัน ฟอร์ด เอ็มจี เชฟโรเลต มิตซูบิชิ วอลโว่ (ใหญ่) ฮีโน่ บีเอ็มดับบลิว (ใหญ่) เดมเลอร์ เบนซ์ (ใหญ่) ส่วน B7 ใช้กับรถเก่า รถยุโรป อาทิ เบนซ์ ฮุนได ทาทา บีเอ็มดับบลิว ฮอนด้า มาสด้า ออดี้ เปอโยต์ วอลโว่ (เล็ก) ขณะที่ B20 ใช้กับรถบรรทุกขนาดใหญ่

สำหรับผู้บริโภคที่ไม่ทราบข้อมูลรุ่นรถ และต้องการทราบรถยนต์ที่ตนเองมีอยู่ใช้กับน้ำมัน B10 ได้หรือไม่ สามารถตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์กรมธุรกิจพลังงาน www.doeb.go.th หรือติดต่อสอบถามโดยตรงที่ศูนย์บริการหรือศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ของผู้ผลิตรถยนต์แต่ละยี่ห้อ

อ่านมาถึงบรรทัดนี้แล้ว หลายคนอาจจะมีคำถามตามมาว่า ในเมื่อน้ำมัน ดีเซล ธรรมดา B7 ใช้งานได้อยู่แล้ว เหตุใดรัฐบาลต้องกำหนดให้ B10 เป็นน้ำมันดีเซลเกรดมาตรฐานใหม่ … คราวนี้ เราลองมาไล่เลียงกันดูทีละข้อๆ

ประการแรก ข้อดีของการใช้น้ำมัน ดีเซล B10 ก็เพื่อสร้างสมดุลปาล์มน้ำมันทั้งระบบในประเทศ คือ ปริมาณการใช้ ภาคพลังงานและเพื่อการบริโภค

ประการที่ 2 การใช้ B10 จะช่วยสร้างเสถียรภาพราคาปาล์มน้ำมัน ทำให้ราคาสูงขึ้น พี่น้องชาวสวนปาล์มจะได้ประโยชน์เป็นอย่างมาก เห็นได้จากภายหลังรัฐบาลประกาศผลักดันน้ำมัน B10 เป็นน้ำมันดีเซลเกรดมาตรฐาน ส่งผลให้ราคาปาล์มพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ประการสุดท้าย การใช้ B10 จะช่วยลดมลพิษ (ปริมาณฝุ่น PM 2.5) เนื่องจากการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพในสัดส่วนที่สูงขึ้น เราก็จะหายใจได้โล่งปอดกันมากขึ้น

ท้ายที่สุด สิ่งที่ทุกคนอยากรู้ก็คือ น้ำมัน ดีเซล B10 ราคาจะถูกลงกว่าของเดิมหรือไม่ ซึ่งปัจจุบันราคาน้ำมัน B10 ขายอยู่ที่ 18.79 บาท / ลิตร B7 21.79 / ลิตร และ B20 18.54 บาท / ลิตร มีส่วนต่างจาก B7 ถึง 3 บาท (อ้างอิงจาก ปตท. ณ วันที่ 1 กันยายน 2563) ซึ่งในระยะยาวอาจจะลดลงได้อีก