B 20 ใช้ กับ รถ อะไร ได้ บ้าง

B 20 ใช้ กับ รถ อะไร ได้ บ้าง

ก่อนจะดูว่าต่างกันอย่างไรเรามารูจัก B10 และ B20 กันก่อนดีกว่า

น้ำมันดีเซล B10 คืออะไร

ดีเซล B10 คือการผสมไบโอดีเซลลงไปในน้ำมัน 10% โดยไบโอดีเซลนี้ได้จากปาล์มน้ำมัน ซึ่งเป็นพืชปลูกได้ในประเทศ ข้อดีคือมีปริมาณออกซิเจนในตัวมากกว่าดีเซลธรรมดาอยู่ร้อยละ 10 ทำให้เกิดการเผาไหม้ดี หมดจรดมากขึ้น เหลือเขม่าในไอเสียน้อยลง เกิดก๊าซ CO2 น้อยลงตามไปด้วย

ถ้ามันดีจริง ทำไมไม่ใช้ไบโอดีเซลเพียว ๆ

แม้จะมีข้อดีเรื่องมลพิษ กับราคาถูก แต่ข้อเสียของไบโอดีเซลก็ต้องแลกมาด้วย การปลดปล่อยแก๊สไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) สูงกว่าน้ำมันดีเซลมาตรฐาน เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคทางเดินหายใจหากรับเข้าไปในระยะยาว และข้อเสียอีกอย่างคือ วัสดุยางในระบบเชื้อเพลิงรถยนต์ เช่น ปั๊มติ๊กน้ำมัน ที่จะเสื่อมคุณภาพเร็วขึ้นอีกด้วย

น้ำมัน B20 คืออะไร

น้ำมันดีเซล B20 คือ เชื้อเพลิงทางเลือกที่สร้างขึ้นโดยการผสมน้ำมันดีเซลปกติ กับ ไบโอดีเซล ที่ผลิตจากผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เช่น ถั่วเหลืองคาโนลา, คาเมลีนาดรีม (เป็นพืชโบราณชนิดหนึ่ง), เมล็ดมัสตาร์ด, น้ำมันปรุงอาหารและผลิตภัณฑ์อินทรีย์อื่น ๆ

ซึ่งน้ำมันไบโอดีเซลที่นำมาผสมเป็น B20 เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำ B100 (น้ำมันประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน) มาผสมในอัตราส่วน 20% โดยตัวอักษร B แสดงถึงเปอร์เซ็นต์ของไบโอดีเซล นั่นหมายถึง B20 คือเชื้อเพลิงที่ผสมระหว่างไบโอดีเซล 20% กับน้ำมันดีเซลปกติ 80% นั่นเอง

ทำไมไม่ใช้ ไบโอดีเซล 100%

ถึงแม้ว่าไบโอดีเซลจะสามารถใช้งานได้กับทุกเครื่องยนต์ รวมถึงน้ำมันไบโอดีเซล 100% ก็สามารถใช้งานได้ แต่ส่วนผสม B20 (20%) นั้นถือเป็นส่วนผสมที่ปลอดภัยสำหรับการใช้งานปกติในเครื่องยนต์ดีเซลในท้องตลาดขณะนี้

เรามาดูความต่างกัน

ตามที่กระทรวงพลังงานได้ให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมนโยบายพลังงานเพื่อประชาชนทุกระดับตามนโยบาย Energy For All และได้มีการส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซลผสมในน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้น ทั้งในส่วนของน้ำมนดีเซล B20 และน้ำมันดีเซล B10 และได้มีกิจกรรมรณรงค์เชิญชวนให้ผู้ใช้รถหันมาใช้น้ำมัน B20 และ B20 กันมากขึ้น

โดยล่าสุดได้ประกาศให้น้ำมัน B10 เป็นดีเซลพื้นฐานของประเทศแทน B7 ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2563 เป็นต้นไป โดยที่น้ำมันดีเซล B7 เป็นทางเลือกสำหรับรถเก่าและรถยุโรปที่ยังรองรับไม่ได้ และมี B20 เป็นทางเลือกสำหรับรถบรรทุกขนาดใหญ่ ซึ่งการผลักดันให้มีการใช้น้ำมันไบโอดีเซลสำหรับทั้ง B10 และ B20 นั้นจะทำให้การใช้ไบโอดีเซลเพิ่มขึ้นราว 2.1 ล้านลิตรต่อวัน หรือเพิ่มประมาณ 40% จากปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 13 พ.ย.62) ที่มีปริมาณการใช้ไบโอดีเซล 5.15 ล้านลิตรต่อวัน จะเพิ่มเป็นประมาณ 7 ล้านลิตรต่อวันในปี 2563

นอกจากนี้ เพื่อลดข้อกังวลของการใช้น้ำมัน B10 และ B20 ที่มีผลต่อเครื่องยนต์ของค่ายรถยนต์ต่างๆ และเพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้รถ กระทรวงพลังงานได้จับมือกับค่ายรถยนต์ต่างๆ จัดกิจกรรมรณรงค์สร้างความเชื่อมั่นในการใช้น้ำมัน B20 และ B10 พร้อมทั้งได้จัดทำเอกสารเผยข้อมูลรุ่นรถ ที่ผู้ผลิตรถยนต์ให้การรับรองว่าสามารถใช้กับน้ำมันดีเซล B10 และ B20 ได้อย่างปลอดภัยกับรถยนต์ดีเซลหลายรุ่น ไม่ว่าเป็นค่ายรถยนต์จาก โตโยต้า อีซูซุ นิสสัน มิตซูบิชิ สแกนเนีย ฮีโน่ เป็นต้น

สำหรับผู้ใช้รถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลและไม่ทราบว่ารถของท่านสามารถใช้น้ำมันดีเซล B10 และ B20 ได้หรือไม่ สามารถตรวจสอบว่ารถรุ่นไหน ที่ใช้น้ำมันดีเซล B10 และ B20 ได้ ที่เว็บไซต์ของกรมธุรกิจพลังงาน www.doeb.go.th หรือดาวน์โหลดเอกสาร รายชื่อรุ่นรถยนต์ ที่ผู้ผลิตรถยนต์รับรองให้สามารถใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B10 / B20 ได้ที่นี่

เติมดีเซล B10 หรือ B20 แตกต่างกันอย่างไร By jobusedcar

รถยนต์ฟอร์ด ที่ติดตั้งเครื่องยนต์ ดีเซล 2.0 ลิตร ทั้งเทอร์โบเดี่ยวและเทอร์โบคู่ รองรับการใช้น้ำมันไบโอดีเซล

การใช้ไบโอดีเซล

รถของคุณเหมาะสำหรับการใช้งานไบโอดีเซลที่ผสมไม่เกิน 20% (B20) คุณจะได้รับสมรรถนะและความทนทานของเครื่องยนต์ในแบบที่ยอมรับได้โดยใช้ B20 โดยการปฏิบัติตามแนวด้านล่างนี้
อย่าเติมเชื้อเพลิงที่มีไบโอดีเซลที่มีการผสมเกินกว่า 20% ในถังเชื้อเพลิง

หมายเหตุ:  อย่าใช้น้ำมันดิบ ไขมันหรือเศษไขมันสัตว์จากการประกอบอาหาร เนื่องจากสารเหล่านี้ไม่ใช่ไบโอดีเซล

หมายเหตุ:  หากรถของคุณประสบปัญหาน้ำมันเชื้อเพลิงกลายเป็นไขที่อุณหภูมิต่ำ โปรดพิจารณาใช้น้ำมันดีเซลยี่ห้ออื่นหรือน้ำมันดีเซลที่มีสารไบโอดีเซลในปริมาณที่ต่ำกว่าเดิม

หมายเหตุ:  เราไม่แนะนำให้ใช้สารเติมแต่งต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำมันเชื้อเพลิงกลายเป็นไข

การไม่ใช้รถยนต์เป็นเวลานาน

เชื้อเพลิงดีเซลส่วนใหญ่มีไบโอดีเซล อย่าจอดรถที่เติมน้ำมันเชื้อเพลิงไบโอดีเซลทิ้งไว้เป็นเวลานานกว่า 1 เดือน เนื่องจากน้ำมันเชื้อเพลิงดีเซลที่มีสารไบโอดีเซลอาจจะมีประสิทธิภาพลดลงอย่างรวดเร็ว เมื่อถูกเก็บไว้เป็นระยะเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่ออยู่ในสภาวะที่อุ่นและชื้น เราขอแนะนำให้คุณขอคำแนะนำจากผู้จำหน่ายที่ได้รับอนุญาต

การขับรถในช่วงฤดูหนาว

สามารถปรับแต่งน้ำมันดีเซลตามฤดูกาลสำหรับอุณหภูมิที่หนาวเย็น เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีสุดในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 2°C ขอแนะนำให้ใช้น้ำมันดีเซลที่มีการปรับแต่งตามฤดูกาลสำหรับสภาวะของท้องถิ่น

รถยนต์ฟอร์ด ที่ติดตั้งเครื่องยนต์ ดีเซล 2.0 ลิตร ทั้งเทอร์โบเดี่ยวและเทอร์โบคู่ รองรับการใช้น้ำมันไบโอดีเซล

การใช้ไบโอดีเซล

รถของคุณเหมาะสำหรับการใช้งานไบโอดีเซลที่ผสมไม่เกิน 20% (B20) คุณจะได้รับสมรรถนะและความทนทานของเครื่องยนต์ในแบบที่ยอมรับได้โดยใช้ B20 โดยการปฏิบัติตามแนวด้านล่างนี้
อย่าเติมเชื้อเพลิงที่มีไบโอดีเซลที่มีการผสมเกินกว่า 20% ในถังเชื้อเพลิง

หมายเหตุ:  อย่าใช้น้ำมันดิบ ไขมันหรือเศษไขมันสัตว์จากการประกอบอาหาร เนื่องจากสารเหล่านี้ไม่ใช่ไบโอดีเซล

หมายเหตุ:  หากรถของคุณประสบปัญหาน้ำมันเชื้อเพลิงกลายเป็นไขที่อุณหภูมิต่ำ โปรดพิจารณาใช้น้ำมันดีเซลยี่ห้ออื่นหรือน้ำมันดีเซลที่มีสารไบโอดีเซลในปริมาณที่ต่ำกว่าเดิม

หมายเหตุ:  เราไม่แนะนำให้ใช้สารเติมแต่งต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำมันเชื้อเพลิงกลายเป็นไข

การไม่ใช้รถยนต์เป็นเวลานาน

เชื้อเพลิงดีเซลส่วนใหญ่มีไบโอดีเซล อย่าจอดรถที่เติมน้ำมันเชื้อเพลิงไบโอดีเซลทิ้งไว้เป็นเวลานานกว่า 1 เดือน เนื่องจากน้ำมันเชื้อเพลิงดีเซลที่มีสารไบโอดีเซลอาจจะมีประสิทธิภาพลดลงอย่างรวดเร็ว เมื่อถูกเก็บไว้เป็นระยะเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่ออยู่ในสภาวะที่อุ่นและชื้น เราขอแนะนำให้คุณขอคำแนะนำจากผู้จำหน่ายที่ได้รับอนุญาต

การขับรถในช่วงฤดูหนาว

สามารถปรับแต่งน้ำมันดีเซลตามฤดูกาลสำหรับอุณหภูมิที่หนาวเย็น เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีสุดในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 2°C ขอแนะนำให้ใช้น้ำมันดีเซลที่มีการปรับแต่งตามฤดูกาลสำหรับสภาวะของท้องถิ่น

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ น้ำมันดีเซล B20 และน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับฟอร์ด

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ น้ำมันดีเซล B20 และน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับฟอร์ด