10 อันดับ การเสียชีวิตของคนไทย 2564

เล่าให้ฟังกันก่อนดีกว่าว่า ในปัจจุบันสถิติการเสียชีวิตของคนไทย ซึ่งมีสาเหตุมาจาก 5 กลุ่มโรคร้ายแรง กำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มโรคร้ายแรงที่มีผู้ป่วยอยู่ในระดับสูง ได้แก่

  • กลุ่มโรคมะเร็ง 
  • โรคหัวใจ 
  • โรคปอด 
  • โรคหลอดเลือดในสมอง 
  • โรคเบาหวาน 

ทั้งนี้จากสถิติการเสียชีวิต ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (NESDB) พบว่า ในช่วงปี พ.ศ. 2537 - 2560 อัตราการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งและเนื้องอกทุกชนิดของคนไทยเป็นสาเหตุอันดับ 1 โดยในปี พ.ศ. 2537 โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทย 48.9 คน ต่อประชากร 100,000 คน และเพิ่มขึ้นเป็น 120.5 คน หรือเกือบ 3 เท่าตัว ในปี พ.ศ. 2560 เช่นเดียวกับกลุ่มโรคร้ายแรงอื่นๆ ที่อัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ โดยอัตราการเสียชีวิตของคนไทยจากกลุ่มโรคปอดเพิ่มขึ้นจาก 13.8 คน เป็น 45.3 คน นอกจากนี้จำนวนคนที่เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดในสมองและเบาหวานก็เพิ่มขึ้นเช่นกันจาก 10.6 คน และ 7.2 คน ในปี พ.ศ. 2537 เป็น 47.8 คน และ 22 คน ในปีพ.ศ.2560 ตามลำดับ ต่อประชากร 100,000 คน ดังแสดงในแผนภาพที่ 1

แผนภาพที่ 1: อัตราการเสียชีวิตของคนไทย (พ.ศ. 2537 - 2560) จากการเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงต่อประชากร 100,000 คน

10 อันดับ การเสียชีวิตของคนไทย 2564

ที่มา: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (NESDB)

จากแผนภาพที่ 1 จะเห็นได้ว่ามีแค่โรคหัวใจเท่านั้นที่อัตราการเสียชีวิตของคนไทยลดลงในช่วง พ.ศ. 2537 - 2560 แต่แนวโน้มการเสียชีวิตของคนไทย ด้วยโรคร้ายแรงอื่นๆ ก็ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องและรวดเร็ว

ไม่เพียงเท่านี้ เมื่อมาดูค่ารักษาพยาบาลในกลุ่มโรคร้ายแรงต่างๆ จะพบว่าค่ารักษาพยาบาลอยู่ในระดับที่สูงมากทุกกลุ่มโรค

แผนภาพที่ 2: ตารางแสดงการเปรียบเทียบตัวอย่างค่ารักษาพยาบาลสำหรับโรคร้ายแรงระหว่างโรงพยาบาลรัฐฯ และโรงพยาบาลเอกชน

10 อันดับ การเสียชีวิตของคนไทย 2564

ที่มา: Posttoday, สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.), Gettogo, AIA Manage Care รพ.บำรุงราษฎร์, Ccit.go.th, Bangkok Hospital

จะเห็นได้ว่า ในแผนภาพที่ 2 นั้น ค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาพยาบาลใน “โรงพยาบาลเอกชนชั้นนำ” สูงกว่าค่ารักษาของโรงพยาบาลของรัฐฯ อย่างมาก ยกตัวอย่างเช่น ค่าผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจในโรงพยาบาลรัฐฯ ซึ่งหากรักษาในโรงพยาบาลเอกชน จะต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงกว่าค่ารักษาจากโรงพยาบาลของรัฐฯ ถึง 3 - 6 เท่าเลยทีเดียว

ดังนั้น ด้วยปัจจัยด้าน แนวโน้มอัตราการเสียชีวิตจากโรคร้ายแรงเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง รวมกับค่ารักษาพยาบาลที่อยู่ในระดับสูงมาก ผู้ป่วยด้วยโรคเหล่านี้ จึงจำเป็นที่จะต้องเตรียม “เงินก้อน” ไว้เป็นค่ารักษาพยาบาล หรือไว้รองรับค่าใช้จ่ายในครอบครัว ระหว่างที่ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลจนไม่สามารถหารายได้สำหรับการใช้จ่ายได้ 

การทำ “ประกันโรคร้ายแรง” จึงน่าจะเป็นทางเลือกที่สามารถตอบโจทย์ได้ดีในเรื่องนี้ เพราะประกันโรคร้ายแรงมักจะมีระดับค่าเบี้ยประกันที่ไม่สูงนัก แต่ได้วงเงินความคุ้มครองในระดับที่สูง ซึ่งอาจเพียงพอกับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่อาจเกิดขึ้นไดั

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้จัดทำหนังสือ “สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2563” เผยแพร่ผ่านทาง https://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/2563_0.pdf โดยหนึ่งในเนื้อหาสำคัญคือ “จำนวนและอัตราการตายต่อประชากร 1 แสนคน จำแนกตามสาเหตุที่สำคัญ พ.ศ. 2559-2563” ซึ่งจำแนกออกเป็น 10 สาเหตุการตาย (Causes of Death)

สำหรับข้อมูลปี 2563 พบว่า 10 สาเหตุการตายของคนไทย ได้แก่ 1.มะเร็งทุกชนิด 2. โรคหลอดเลือดในสมอง 3. ปอดอักเสบ 4. โรคหัวใจขาดเลือด 5. อุบัติเหตุจากการคมนาคมขนส่งทางบก 6. เบาหวาน 7. โรคเกี่ยวกับตับ 8. โรคทางเดินหายใจส่วนล่างเรื้อรัง 9. วัณโรคทุกชนิด 10. โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องเนื่องจากไวรัส

นอกจากนี้ หนังสือ “สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2563” ยังได้เผยแพร่สถิติ “จำนวนและอัตราส่วนมารดาตาย ต่อเกิดมีชีพ 1 แสนคน” โดยจำแนกตามกลุ่มสาเหตุ ตามบัญชีจำแนกโรคระหวางประเทศ ฉบับแก้ไข ครั้งที่ 10 พ.ศ. 2559-2563

สำหรับข้อมูลล่าสุด ปี 2563 พบว่า มีผู้เสียชีวิตจากการตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอด รวม 143 ราย แบ่งเป็น ท้องแล้วแท้ง 11 ราย การบวม การมีโปรตีนในปัสสาวะและความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์การคลอดและหลังคลอด 9 ราย การดูแลมารดาที่เกี่ยวข้องกับเด็กและถุงน้ำคร่ำและปัญหาที่อาจเกิดเมื่อคลอด 9 ราย โรคแทรกของการเจ็บครรภ์และการคลอด 23 ราย โรคแทรกในระยะอยู่ไฟ 23 ราย สภาวะการคลอดที่ไม่ได้ระบุไว้อีก 68 ราย

  • จำนวนผู้ป่วยใน จำแนกตามกลุ่มสาเหตุป่วย 75 โรค จากสถานบริการสาธารณสุข ของกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2546 - 2555 :

ข้อมูลเป็นรายภาค

ข้อมูลเป็นรายจังหวัด

  • จำนวนผู้ป่วยนอก จำแนกตามกลุ่มสาเหตุป่วย 21 โรค จากสถานบริการสาธารณสุข ของกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2548 - 2557

ข้อมูลเป็นรายภาค

ข้อมูลเป็นรายจังหวัด

  • จำนวนการตาย จำแนกตามสาเหตุการตาย และเพศ พ.ศ. 2550 - 2557 :

ข้อมูลเป็นรายภาค

ข้อมูลเป็นรายจังหวัด

  • อัตราการตาย ต่อประชากร (100,000 คน) จำแนกตามสาเหตุการตาย และเพศ พ.ศ. 2550 - 2557:

ข้อมูลเป็นรายภาค

ข้อมูลเป็นรายจังหวัด