ไทยส่งออกข้าว เป็นอันดับ ที่ เท่าไร ของโลก

นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ปี 63 ไทยส่งออกข้าวได้เพียง 5.72 ล้านตัน ลดลง 24.54% จากปี 62 ที่ส่งออกได้ 7.58 ล้านตัน โดยมีมูลค่า 3,727 เหรียญสหรัฐฯ ลดลง 11.41% ส่งผลให้ไทยกลายเป็นผู้ส่งออกข้าวปริมาณมากที่สุดอันดับ 3 ของโลก รองจากอันดับ 1 อินเดีย 14 ล้านตัน ตามด้วยเวียดนาม 6.3 ล้านตัน ส่วนอันดับ 4 ปากีสถาน 4 ล้านตัน และอันดับ 5 สหรัฐฯ 3.05 ล้านตัน ส่วนตลาดส่งออกหลักของไทย อับดับ 1 แอฟริกาใต้ 672,777 ตัน สัดส่วน 11.75% ของการส่งออกข้าวทั้งหมดของไทย ตามด้วยสหรัฐฯ 672,183 ตัน สัดส่วน 11.74%, เบนิน 476,290 ตัน สัดส่วน 8.32%, จีน 381,363 สัดส่วน 6.66% และอังโกลา 347,292 สัดส่วน 6.07%

“สาเหตุที่ทำให้การส่งออกในปี 63 ลดลง มาจากค่าเงินบาทแข็งค่า ส่งผลให้ราคาข้าวไทยสูงกว่าคู่แข่ง, จีนซึ่งเดิมเป็นประเทศผู้นำเข้ากลายมาเป็นผู้ส่งออก และส่งออกไปแย่งตลาดไทยในแอฟริกา, ข้าวไทยไม่มีพันธุ์ที่ตอบสนองความต้องการของตลาดเท่าที่ควร โดยเฉพาะข้าวพื้นนุ่ม และช่วงปลายปีขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ขนส่งข้าว”

ส่วนปี 64 หลังจากกรมได้หารือกับสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยแล้ว เห็นชอบร่วมกันกำหนดเป้าหมายส่งออกข้าวที่ 6 ล้านตัน ซึ่งเป็นเป้าหมายท้าทาย เพราะยังมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ทั้งค่าเงินบาทแข็งค่า ทำให้ข้าวไทยราคาสูงกว่าคู่แข่งสำคัญ เช่น อินเดีย และเวียดนาม, ตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน และผู้นำเข้าหลายประเทศยังคงได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้กำลังซื้อลดลง สำหรับกิจกรรมต่างๆที่จะใช้สนับสนุนการขยายตลาดข้าว มีทั้งเร่งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ข้าวไทย ปี 63-67 เพื่อพัฒนาพันธุ์ข้าวให้ตรงกับความต้องการของตลาด, เร่งปรับปรุงกฎระเบียบให้เอื้อต่อการส่งออกข้าว และเร่งประชาสัมพันธ์ข้าวไทยให้เป็นที่รู้จักและต้องการเพิ่มขึ้น

“ในการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยจะปรับรูปแบบจากออฟไลน์มาเป็นออนไลน์มากขึ้น เพื่อรักษากลุ่มลูกค้าเดิมและหากลุ่มลูกค้าใหม่ โดยมีกิจกรรม เช่น สร้างความเชื่อมั่นผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์กับคู่ค้าสำคัญ อย่างฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย อิรัก บังกลาเทศ เป็นต้น และหารือกับประเทศผู้ส่งออกข้าว เช่น เวียดนาม แลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์การผลิตและตลาดข้าว รวมถึงจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ข้าวไทยเผยแพร่ผ่านออนไลน์ เป็นต้น”.

ยอดส่งออกข้าวไทย อาการน่าเป็นห่วง วิเคราะห์ฟันเฟืองตลาดข้าวกับความท้าทายที่รออยู่

ไทยส่งออกข้าว เป็นอันดับ ที่ เท่าไร ของโลก

ตลาดข้าวส่งออกของประเทศไทยเจอความท้าทายรอบด้าน

แม้ตลาดส่งออกข้าวไทยจะเคยรุ่งเรืองมาอย่างยาวนานในอดีต แต่ในปีที่ผ่านมาการส่งออกข้าวไทยประสบกับฝันร้าย จากจำนวนปริมาณการส่งออกที่เหลือเพียง 7.58 ล้านตัน และเป็นยอดการส่งออกที่ต่ำสุดในรอบ 6 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ปี 2556 ที่ประเทศไทยส่งออกข้าวได้เพียง 6.61 ล้านตัน มูลค่า 133,839 ล้านบาท อ้างอิงจากสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

ยอดส่งออกข้าวไทย ได้เท่าไร

2561

11.23 ล้านตัน

182,082 ล้านบาท

2562

7.58 ล้านตัน

130,544 ล้านบาท

มกราคม-มีนาคม 2563

1.47 ล้านตัน

28,497 ล้านบาท

การส่งออกข้าวของไทยในปีนี้ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย มีความกังวลว่า ประเทศไทยอาจจะต้องเสียแชมป์อันดับสองการส่งออกข้าวให้กับเวียดนาม ที่มีการพัฒนาพันธุ์ข้าวให้มีความหอมนุ่มจนเป็นที่ยอมรับของตลาดโลก

ในปีที่ผ่านมา ข้อมูลจากสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยพบว่าไทยมีการส่งออกข้าวอันดับสอง 7.58 ล้านตัน ส่วนเวียดนามอันดับสาม 6.37 ล้านตัน ส่วนอินเดียอันดับหนึ่ง 9.77 ล้านตัน

3 ประเทศที่ส่งออกข้าวสูงสุดปี 2562

อินเดีย 9.77 ล้านตัน

ไทย 7.58 ล้านตัน

เวียดนาม 6.37 ล้านตัน

ดูแล้วการส่งออกข้าวเวียดนามยังตามไทยอยู่ประมาณล้านตันกว่า แต่ถ้านำตัวเลขการส่งออกข้าวไทยในเดือนมกราคม ปี 2563 เปรียบเทียบกับมกราคม 2562 พบว่า เวียดนามมีการเติบโตของยอดส่งออกข้าวอย่างก้าวกระโดด ส่วนไทยและอินเดียมียอดการส่งออกที่ลดลงกว่าที่ผ่านมา

2562 2563
อินเดีย 0.98 ล้านตัน 0.71 ล้านตัน ลดลง 27.6%
ไทย 0.95  ล้านตัน  0.57 ล้านตัน ลดลง 40.1%
เวียดนาม 0.37 ล้านตัน 0.71 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 51%

*เฉพาะมกราคม

การที่ข้าวไทยส่งออกลดลงมาจากอะไร

1.คนทั่วโลกต้องการรับประทานข้าวที่นุ่มมากขึ้น แต่เวียดนามก็มี

ในวันนี้พฤติกรรมคนทั่วโลกเริ่มเปลี่ยนไป จากการรับประทานข้าวที่แข็ง หรือข้าวอะไรก็ได้ เป็นข้าวที่มีความนุ่มหอมมากขึ้น ซึ่งพฤติกรรมนี้แทนที่จะเป็นโอกาสอันดีของประเทศไทย ประเทศที่มีการส่งออกข้าวหอมมะลิอันดับต้นๆ ของโลก

ไทยส่งข้าวอะไรไปขาย

ข้าวขาว 3.21 ล้านตัน ลดลง 45.9%

ข้าวนึ่ง 2.23 ล้านตัน ลดลง 20.4%

ข้าวหอมมะลิ 1.41 ล้านตัน ลดลง 15.6%

ข้าวหอมไทย 0.51 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 13.3%

ข้าวเหนียว 0.22 ล้านตัน ลดลง 43.6%

อ้างอิงปี 2562

แต่โอกาสนี้กับมีความท้าทายคือเวียดนามมีการพัฒนาสายพันธุ์ข้าวใหม่ๆ เช่น ข้าวนางฮวา สายพันธุ์ ST21, ST24 และ DT8 ให้มีความหอมนุ่มยิ่งขึ้นใกล้เคียงกับข้าวหอมมะลิเข้ามาแข่งขันในตลาด จากเดิมที่เวียดนามมีเพียงข้าวขาวธรรมดาเท่านั้น และมีราคาจำหน่ายที่ถูกกว่าประเทศไทย โดยเฉพาะในช่วงที่ประเทศไทยมีค่าเงินบาทที่แข็งตัว

และทำให้ไทยต้องสูญเสียตลาดข้าวที่สำคัญอย่างฟิลิปปินส์ จีน ฮ่องกง มาเลเซีย ให้กับเวียดนาม

จากเดิมที่ไทยเคยขายข้าวให้

ฟิลิปปินส์ จาก 1.03 ล้านตันในปี 2561 เหลือเพียง 0.33 ล้านตันในปี 2562

จีน 1.00 ล้านตัน ในปี 2561 เหลือเพียง 0.47 ล้านตันในปี 2562

มาเลเซีย จาก 0.48 ล้านตัน ในปี 2561 เหลือ  0.92 ล้านตันในปี 2562

ฮ่องกง จาก 0.19 ล้านตัน ในปี 2561 เหลือ  0.17 ล้านตันในปี 2562

นอกจากนี้ เวียดนามยังได้เซ็นสัญญาข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป (EVFTA) และเป็นสมาชิกหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) ทําให้เวียดนามมีโอกาสขยายตลาดส่งออกข้าวไปยังสหภาพยุโรปและประเทศสมาชิกในกลุ่ม CPTPP มากขึ้น จากโควตาที่สหภาพยุโรปให้กับเวียดนามสามารถนำเข้าข้าวได้ปีละ 80,000 ตัน ในอัตราภาษี 0% มาจำหน่าย

ยอดส่งออกข้าวไทย ส่งไปไหนกัน

แอฟริกา 3.99 ล้านตัน ลดลง 24.2%

เอเชีย 1.78 ล้านตัน ลดลง 56.5%

อเมริกาและแคนาดา  0.68 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 5.6%

ตะวันออกกลาง 0.48 ล้านตัน ลดลง 4.6%

ยุโรป 0.36 ล้านตัน ลดลง 5.4%

ออสเตรเลียและอื่นๆ 0.16 ล้านตัน ลดลง 25.2%

5 ประเทศซื้อข้าวไทยสูงสุด

เบนิน 1.07 ล้านตัน มูลค่า 13,000 ล้านบาท

แอฟริกาใต้ 0.73 ล้านตัน มูลค่า 9,168 ล้านบาท

สหรัฐอเมริกา 0.56 ล้านตัน มูลค่า 19,269 ล้านบาท

แคเมอรูน 0.53 ล้านตัน มูลค่า 6,708 ล้านบาท

จีน 0.47 ล้านตัน มูลค่า 9,336 ล้านบาท

อ้างอิงในปี 2562

ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

2.ค่าเงินบาทที่แข็งค่า

ในปีที่ผ่านมา ค่าเงินบาทไทยแข็งค่าขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และการแข่งค่าของเงินบาท เป็นความท้าทายที่สำคัญในธุรกิจส่งออกไทยในทุกๆ มิติ รวมถึงการส่งออกข้าวไทยที่มีราคาจำหน่ายที่สูงขึ้น โดยข้อมูลจากสมาคมส่งออกข้าวไทยพบว่าประเทศไทยมีราคาจำหน่ายข้าวสูงกว่าประเทศคู่แข่ง 80 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน หรือประมาณ 2,570 บาทต่อตัน จนในบางประเทศเปลี่ยนจากการสั่งข้าวไทยมาเป็นข้าวจากประเทศอื่นๆ ทดแทน เพื่อต้นทุนที่ถูกลงจากเดิม

ประเทศไทยปลูกข้าวได้เท่าไร

2559

นาปี 25.236 ล้านตัน

นาปรัง   3.109

2560

นาปี 24.934

นาปรัง 6.620

2561

นาปี 25.178

นาปรัง 7.964

2562

นาปี 24.304

นาปรัง 7.754

และนอกจากนี้ การที่ประเทศไทยประสบกับปัญหาภัยแล้ง ส่งผลให้ผลผลิตข้าวลดลง และราคาข้าวในประเทศสูงขึ้นตามดีมานด์ความต้องการบริโภคในประเทศ และทำให้การแข่งขันกับคู่แข่งยากลำบากขึ้นเช่นกัน



อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่ Website: Marketeeronline.co
Facebook: www.facebook.com/marketeeronline

ติดตาม Marketeer Online ทาง Line@ : @marketeer

ไทยส่งออกข้าว เป็นอันดับ ที่ เท่าไร ของโลก
ไทยส่งออกข้าว เป็นอันดับ ที่ เท่าไร ของโลก


ประเทศอะไรส่งออกข้าวเป็นอันดับ 1 ของโลก

ในปี 2565 (ม.ค.- ส.ค.) อินเดียส่งออกข้าวได้มากเป็นอันดับ 1 ของโลก ประมาณ 11.23 ล้านตัน รองลงมาได้แก่ ไทย 4.75 ล้านตัน เวียดนาม 4.25 ล้านตัน ปากีสถาน 2.47 ล้านตัน และสหรัฐฯ 1.49 ล้านตันตามลำดับ เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน ไทยส่งออกมากขึ้น ล้านกว่าตัน

ไทยส่งออกข้าวไปประเทศใดมากที่สุด

สำหรับตลาดหลักข้าวหอมมะลิไทย คือ ตลาดสหรัฐอเมริกา สัดส่วน 38% เมื่อปีที่ผ่านมาส่งออกอยู่ที่ 4.4 แสนตัน ฮ่องกง 1.33 แสนตัน จีน 1.30 แสนตัน แคนาดา 6 หมื่นตัน รวมตลาดอื่น ๆ ด้วย

แนวโน้มการส่งออกข้าวของประเทศไทยเป็นอย่างไร และประเทศไหนที่มีการส่งออกข้าวสูงที่สุดในโลก

ข้าวหอมมะลิ ปริมาณการส่งออกของไทยอยู่ที่ 1.19 ล้านตันข้าวสาร คิดเป็นสัดส่วน 20.7% ตลาดส่งออกหลัก คือ สหรัฐฯ (สัดส่วน 41.0% ของปริมาณส่งออกข้าวหอมมะลิของไทย) รองลงมาเป็นจีน (11.6%) ฮ่องกง (10.8%) และแคนาดา (6.8%) ตามลำดับ

ไทยส่งออกข้าวกี่ตันต่อปี

สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย แจ้งว่า การส่งออกข้าวของไทยปี 2564 มีปริมาณ 6.11 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 6.7% มูลค่า 1.07 แสนล้านบาท ลดลง 7.1% โดยไทยส่งออกเป็นอันดับสามของโลก รองจากอินเดียที่เป็นผู้ส่งออกอันดับหนึ่งปริมาณ 19.55 ล้านตัน และเวียดนาม 6.24 ล้านตัน